Food allergy

Food allergy

Qx Dx: กินแล้วมีอาการ ดู 3 ระบบ ผื่นผิวหนัง ไอแน่นคอสำลักหอบ ปวดท้องคลื่นไส้อาเจียนท้องเสีย

Qx Ix: skin prick test, food challenge test หรือ งด, ส่องกล้อง+ Bx

CBC: Eo สูง

Adverse reaction หรือ อาการไม่พึงประสงค์ จากการกินอาหาร เกิดได้ 2 แบบ

1.Food allergy/hypersensitivityจะเป็นในส่วนของ immune-mediated

2.Food intoleranceไม่เกี่ยวกับ immune-mediated

-สารพิษปนเปื้อน เช่น food poisoning etc.

-คุณสมบัติของอาหารเอง เช่น กาแฟทำให้ใจสั่น etc.

-ขาด enzyme ในการย่อย เช่น lactase deficiency etc.

Etc.

Prevalence

Food allergy ในเด็กน้อยกว่า 3 ปี พบ 6-8%, ผู้ใหญ่พบ 3.5-4% แต่หากนำผู้ป่วยที่มีประวัติแพ้มาทำ food challenge test จะพบว่าอัตราการแพ้น้อยกว่าความเป็นจริงมาก

Food allergy จะพบสูงในเด็กที่มีภูมิแพ้อื่นร่วมด้วย เช่น ในเด็กที่เป็น moderate-severe atopic dermatitis พบแพ้อาหารถึง 37%

อาหารที่แพ้บ่อย

นมวัว ไข่ ถั่วเหลือง แป้งสาลี อาหารทะเล ถั่วลิสง และ tree nut

เด็กเล็ก แพ้ นมวัวและไข่ มากกว่าผู้ใหญ่

เด็กโต ผู้ใหญ่ แพ้ อาหารทะเลและ tree nut มากกว่าเด็กเล็ก

อัตราการแพ้อาการในเด็ก

แพ้นมวัว 2.5%(ใน infant) ไข่(1.6%) ถั่วลิสง(0.8%) ผลไม้และtree nut(0.1-4.3%) แป้งสางี ถั่วเหลือง งา(<1%)

แพ้สารปรุงแต่ง(1-2%)

กลไกการแพ้มี 3 แบบ

1.IgE-mediated

2.Non- IgE-mediated

3.Mixed ทั้งสองแบบ

อาการและอาการแสดงขึ้นกับปฏิกิริยาการแพ้

อาการมักอยู่ที่ 4 ระบบเป็นหลัก

ลักษณะแต่ละอาการที่พบ

ก.อาการทั่วไป

1. Anaphylaxis : เป็นอาการที่มีความรุนแรงมากสุด

อาหารที่เป็นสาเหตุ อาการทะเล(กุ้ง) ถั่วลิสง treenut มักเป็นใน 1 ชั่วโมงหลังกินอาหาร

2. Food dependent exercise induced anaphylaxis:

เกิดอาการแพ้รุนแรงหลังกินอาหารแล้วออกกำลังกายใน 2-4 ชั่วโมง มักพบในผู้หญิง ช่วงวัยรุ่นตอนปลาย-30ปี

อาหารทีเป็นสาเหตุ แป้งสาลี ผัก ข้าวโพด ถั่ว ไข่ ปลา เห็ด กระเทียม หมู วัว ข้าว

อาการ ทั้งทางผิวหนัง(urticaria, angioedema) ทางเดินหายใจ(dyspnea ,รู้สึกสำลักในลำคอ) ปวดท้อง อ่อนเพลียและหมดสติได้

ข.อาการทางผิวหนัง

1. urticaria และ angioedema

ในเด็กพบอาหารเป็นสาเหตุให้เกิดลมพิษในเด็ก 7-10% ผู้ใหญ่พบน้อยเพียง 1%

2. Atopic dermatitis

มักพบในเด็กเล็กตั้งแต่วัยทารก ผู้ป่วย atopic dermatitis ที่มีอาการมาก จะพบว่ามีการแพ้อาหารร่วมด้วย ประมาณ 35-40% และส่วนใหญ่หายได้เองเมื่ออายุ 2-3 ปี

ค.อาการทางระบบอาหาร

1. Pollen food allergy syndrome / oral allergy syndrome

คันปา่กบวม

อาการแพ้เมื่อเยื่อบุช่องปากถูกสัมผัสกับผักหรือผลไม้สด เป็นอาการแพ้แบบ contact dermatitis คันบวมในปากลำคอ อาจมีคันหู แน่นในคอร่วมด้วย มักเป็นในผู้ใหญ่เป็นเร็วหายเร็ว

อาการที่ทำให้แพ้ มะเขือเทศ เมลอน กีวี แต่หากทำให้สุกจะไม่มีอาการผิดปกติ

2. Allergic eosinophillic esopahgitis(AEE)

ท้องเสีย ปวดท้อง ฺBx พบ Eo

เกิดการอักเสบและมี Eo ไปสะสมในทางเดินอาหาร เป็นได้ตั้งแต่หลอดอาหารถึงสำไส้

อาการ ขึ้นกับตำแหน่งและความรุนแรง

เช่น ปวดท้อง คลื่นไส้ เบื่ออาหาร กลื่นลำบาก หงุดหงิด อาเจียน ถ่ายเหลว หรืออาการคล้ายกรดไหลย้อน

อาหารที่พบ นมวัว นมถั่วเหลือง ไข่ แป้งสาลี และปลา

การวินิจฉัย ต้องทำ biopsy ถึงบอกได้ชัดเจน

การรักษา ต้องงดอาหารนั้นๆ 8 สัปดาห๋อย่างน้อยจึงจะหาย

3. Food protein-induced enterocolitis syndrome

เด็กเล็กๆ กินนมกระป๋อง ท้องเสีย

พบบ่อยในเด็กทารก 1wk-3mo

อาการ อาเจียนร่วมกับถ่ายเหลว อาจรุนแรงจนช็อคได้ มักเป็นหลังกิน 1-4 ชั่วโมง อาจมีถ่ายเป็นเลือด ซีด ท้องอืด ไม่โต hypoalbuminemia ได้ อาจถ่ายเหลวต่อเนื่องหลังหยุดอาหารที่แพ้แล้ว 1-2 สัปดาห์

อาหารที่แพ้ นมวัว นมถั่วเหลือง ส่วนนมแม่ไม่มีรายงาน

4. Food protein-induced colitis syndrome

เด็กเล็กๆ กินนม(ได้ทั้ว นมป๋อง/นมแม่) ท้องเสีย ถ่ายเป็นเลือด

พบบ่อยในเด็กทารกน้อยกว่า 4 mo เด็กโตพบน้อย

อาการ ถ่ายเป็นเลือดเป็นๆหายๆ โดยไม่มีอาการอื่นผิดปกติ อุจจาระมักปกติ อาจมีภาวะซีด hypoalbuminemia และ CBC มี Eo ขึ้นเล็กน้อย

อาหารที่แพ้ นมวัว นมถั่วเหลือง นมแม่(เกิดการส่งผ่านโปรตีนนมวัวได้)

การวินิจฉัยงดอาหารที่แพ้ อาการจะดีใน 72-96 ชั่วโมง

5. Dietary protein induced enteropathy

มักพบในเด็กอายุน้อยกว่า 2 ปี ถ่ายเหลวเรื้อรัง

อาการ ถ่ายเหลวเรื้อรัง น้ำหนักไม่ขึ้น อาเจียนบ่อย อุจจาระมีไขมันมาก ซึด hypoalbuminemia พบ alpha1 antitrypsin สูง

อาหารที่แพ้ นมวัว รองลงมา ถั่วเหลือง ไข่ ปลา ข้าว ไก่ ธัญพืช อาหารทะเล

การวินิจฉัย reducing substance +, steatorrhea, D-xylose test + บ่งว่าการดูดซึมผิดปกติ

ต้องส่องกล้อง ทำ biopsy พบ patchy villous atrophy , crypt hyperplasia

ง.อาการทางเดินหายใจ

พบได้น้อย ได้แก่ rhinitis, wheezing , asthma เป็นต้น

การวินิจฉัย

1.เลี่ยงอาหารที่แพ้หรือสงสัย

2.skin prick test(SPT) ถ้าผลลบบอกได้เลยว่าไม่มีอาการแพ้แบบ IgE mediated

แต่หากผลบวก แค่อาจแพ้แต่อาจไม่แพ้จริงก็ได้

3.Food specific IgE ความไวน้อยกว่า SPT แต่แพงกว่าและใช้เวลาตรวจนานกว่า มักใช้กรณีที่ไม่สามารถทำ SPT ได้ ผลที่ได้แปลเหมือน SPT

อาหารที่ตรวจได้ ไข่ นม ถั่วลิสง ปลา ถั่วเหลือง แป้งสาลี และ tree nut

4.Oral food challenge test ทดสอบโดยการกินอาหารที่สงสัยเข้าไป

การรักษา

หลีกเลี่ยงอาหารที่แพ้ กินอาหารอื่นทดแทน

Ref.

http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMcp0800871

https://www.aaaai.org/Aaaai/media/MediaLibrary/PDF%20Documents/Practice%20and%20Parameters/Food-allergy-guidelines-Dec-2010.pdf

http://www.rcot.org/datafile/_file/_doctor/ca50a9d10a6972158c430e6cf172e49e.pdf

http://www.pthaigastro.org/Topicreview.aspx

http://emedicine.medscape.com/article/930971-overview

http://www.med.cmu.ac.th/etc/cme/exam/foodallergy.htm