Influenza H5N1

โรคไข้หวัดนก Avian influenza หรือ bird flu

Influenza A H5N1หริอ เชื้อไข้หวัดนก

คือ ไข้หวัดนกที่แพร่จากสัตว์มาสู่คน

ที่เคยมีรายงานการระบาดคือ H5N1,H7N7 และ H9N2 อาการจะต่างกัน

แต่ H5N1 เป็นเชื้อที่ทำให้เกิดอาการรุนแรงที่สุด

H5N1 ไข้ ไอ หอบ ปอดบวมและเกิด ARDS เสียชีวิตสูงมาก

H7N7 เยื่อบุตาอักเสบ บางรายตาอักเสบร่วมกับอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ โอกาสเสียชีวิตน้อย

H9N2 ไข้หวัดใหญ่อย่างอ่อนๆ

ชนิด ของInfluenza virus มี 3 ชนิด คือ A,B,C

A สำคัญสุด ก่อโรคในคน&สัตว์(หมู สัตว์ปีก ม้า แมวน้ำ แม้แต่ปลาวาฬก็ได้) และเป็นตัวทำให้ระบาดทั่วโลก

B และ C ก่อโรคในคน เท่านั้น

B ทำให้ระบาดในระดับภูมิภาค

C มักมีอาการน้อยหรือไม่มีอาการและไม่เกิดการระบาด

เป็น RNA virus ในตระกูล Orthomyxoviridae

ดังนั้นเชื้อที่มีปัญหาเป็น Influ A ทั้งหมด ทั้งของหมู คน นก

โครงสร้างไวรัส

ด้านในมี matrix protein(M) เป็น internal antigen มี 7-8 ท่อน (A,B มี 8 ท่อน ส่วน C มี 7 ท่อน)

เปลือกนอกหรือ envelope มี surface antigen 2 ชนิด: H(haemagglutinin) และ N(neuraminidase)

จึงทำให้เกิดได้หลายสายพันธุ์ เช่น H1N1,H2H2,H5N1 เป็นต้น

H= Hemagglutinin ทำปฏิกิริยาให้ RBC จับกลุ่มได้

N= Neuraminidase เป็นโปรตีน enzyme ย่อย receptor site ที่เยื่อหุ้มเซลล์ ของ host ได้ ทำให้ virions หลุดไปเป็นอิสระได้

Suptype ของเชื้อ Influenza A

แบ่งโดย surface antigen H มี 16 subtype(H1-H16), N มี 9 subtype(N1-N9) ดังนั้นจะมีเชื้อ เป็นร้อยสายพันธุ์

เชื้อ Influ.A ที่ทำให้เกิดในคน คือ H1-3,N1-2 และที่พบเป็นสาเหตุส่วนใหญ่คือ H1N1,H3N2 ปัจจุบันไม่พบ H2

เชื้อ Influ.A ที่ทำให้เกิดในนก คือ H1-16,N1-9 ไข้หวัดนกที่มีการระบาดมาสู่คน ส่วนใหญ่คือ H5N1

B และ C ยังไม่มีการแบ่ง subtype

การระบาด

ทั่วโลก 2546-2554: ผู้ป่วยยืนยันไข้หวัดนก 562 ราย ตาย 329 ราย

ไทย : มียืนยันรายแรก 23/1/2547 เด็ก 7 ปีจากสุพรรณบุรี

2547: ผู้ป่วยยืนยัน 17 ราย เสียชีวิต 12 ราย [ไทยมีการปิดข่าว นายกกินไก่โชว์]

2548: ผู้ป่วยยืนยัน 5 ราย เสียชีวิต 2 ราย

2549: ผู้ป่วยยืนยัน 3 ราย เสียชีวิตทั้ง 3 ราย

15 รายเลี้ยงไก่ไว้ในที่อยู่อาศัย 15 รายสัมผัสซากไก่ตาย 4 รายชำแหละไก่

สรุป พบได้น้อยแต่อาการรุนแรง

การระบาดในไทยเกิดจาก เชื้อไข้หวัดนกโดยตรง Avian H5N1 ไม่ใช่เชื้อลูกผสมระหว่างเชื้อไข้หวัดนกกับคน

และเป็นคนละตัวกับการระบาดที่ฮ่องกงHong Kong/97 H5N1 virus ส่วนไทยคือ Thailand/04 H5N1 viruses

ฮ่องกงเป็นลูกผสม คือ reassortment ของเชื้อไวรัสของห่าน นกเป็ดน้ำ และนกกระทา

ซึ่ง H5N1 นั้นมีหลาย genotype มากและเกิดใหม่เรื่อยๆ

ระยะฟักตัว

≤ 7 วัน เฉลี่ย 2-5 วัน

ระยะติดต่อ

โดยการสัมผัสกับสัตว์ที่ติดเชื้อโดยตรง ส่วนคนสู่คนต้องสัมผัสอย่างไกล้ชิดเป็นเวลานาน

เส้นทางติดต่อที่ชัดเจนไม่ทราบแน่ชัด แต่คาดว่า สูดเอาละอองฝอยเข้าไปในทางเดินหายใจส่วนล่าง หรือสัมผัสเยื่อเมือกหรือกลืนเข้าไป

อาการและอาการแสดง

ไข้สูงกว่า 38c ไอ และหอบ 100%

อาการURI เจ็บคอ 71% น้ำมูก แน่นจมูก จะพบน้อย

อาการLRI หายใจลำบาก หอบ ปอดอักเสบ หายใจล้มเหลวเฉียบพลัน โดยใช้เวลาเฉลี่ย 4 วัน และเสียชีวิต 9-10 วัน

อาการGI มีไข้ร่วมกับท้องเสีย 41% โดยมาด้วยท้องเสีย คลื่นไส้อาเจียน ตามมาด้วยปอดบวม หรือ ท้องเสีย แล้วชักหมดสติ และเสียชีวิต

แต่อาการสำคัญ คือ อาการปวดบวมที่เลวลงอย่างรวดเร็ว และเกิด ARDS

ปอดอักเสบพบทุกราย และ 80% จะเกิด ARDS

การวินิจฉัย

ต้องการการตรวจที่จำเพาะเพื่อยืนยันสายพันธุ์

สามารถแยกเชื้อไวรัสได้จาก น้ำไขสันหลัง อุจจาระ ลำคอ และ ซีรั่มของผู้ป่วย

เบื้องต้นต้องยืนยันก่อนว่าเป็น type A แล้วค่อยหา subtyping ต่อ โดย RT-PCR , viral culture, IF

การรักษา

ต้องให้ Oseltamivir อย่างรวดเร็ว จะช่วยเพิ่มโอกาสรอดชีวิต

หรือให้ยาร่วมกันหลายตัวเช่น Oseltamivir+ Amantadine

การรักษาอื่นๆ

การใช้ Ventilator :IPPV แนะนำให้ใช้ low tidal volume และ low pressure ventilation ในช่วงแรก

คำแนะนำ

1.เลี่ยงสัมผัสไก่นกตาย กินสุก ล้างมือทุกครั้งหลังสัมผัสสัตว์ปีกสิ่งคัดหลั่ง

2.ผู้มีอาการไอ ไข้ ควรซักประวัติ อาชีพเลี้ยง ขาย ชำแหละ ขนส่ง ทำลายซาก ที่เกี่ยวข้องสัตว์ปีก

วัคซีน

วัคซีนชนืดเชื้อตาย สำหรับ H5N1 มีแล้ว แต่ยังไม่ค่อยมีที่ใช้

Ref.

http://www.pidst.net/knowledge_detail.php?id=443

http://www.sirirajmedj.com/content.php?content_id=51