Foreign body GI tract

FB ingestion, FB in GI tract

วัตถุแปลกปลอมในทางเดินอาหาร

ในเด็กส่วนใหญ่วัตถุแปลกปลอมที่พบ 80-90 % จะหลุดออกมาได้เอง

ส่วนน้อยประมาณ 10% ที่ต้องคีบออกมา และน้อยกว่า 1% ที่ต้องผ่าตัดเอาออก

อายุที่พบ

ส่วนใหญ่แล้วมักพบในเด็กเล็ก น้อยกว่า 3 ปี(60%) รองลงมา 3-6ปี(20%) เนื่องจากชอบหยิบของเข้าปากเล่นตามวัย

ส่วนน้อยเกิดในเด็กโต จากการอมเล่น อุบัติเหตุ ทำตามผู้ใหญ่ หรือติดกับอาหารโดยไม่ตั้งใจ

6-9 ปี(6%) 9-12 ปี(6%) ช่วงวัยรุ่นจะพบน้อยมาก(1%)

แบ่งตามตำแหน่งที่พบ

1.Hypopharynx 5-10%

2.Foreign Body in Esophagus วัตถุแปลกปลอมในหลอดอาหาร 20%

3.Foreign Body in Stomach วัตถุแปลกปลอมในกระเพาะอาหาร 60%

4.Foreign Body in small bowel or colon วัตถุแปลกปลอมในลำไส้เล็กหรือลำไส้ใหญ่ 10%

Foreign Body in Esophagus วัตถุแปลกปลอมในหลอดอาหาร

วัตถุที่พบ เหรียญ ก้างปลา อาหารชิ้นใหญ่

ตำแหน่งที่ติด จะติดบริเวณรอยคอดที่มีอยู่ 3 ตำแหน่ง

1.Cricopharyngeal area

2.Aortic arch

3.distal esophagus บริเวณ diaphragmatic hiatus หรือ esophagogastric junction

ปัญหาของหลอดอาหาร

หากติดที่หลอดอาหาร ทำให้เด็กกลืนลำบาก ปวด รู้สึกแน่นหน้าอก น้ำลายไหล

หากติดอยู่นานทำให้หลอดอาหารเป็นแผล ทะลุ เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆได้ จึงแนะนำให้เอาวัตถุแปลกปลอมทุกชนิดที่ติดออกมาทุกราย

ภาวะแทรกซ้อน

Esophageal ulcer, perforation, esophagobronchial fistula, aortoesophageal fistula, mediatinitis และ abscess formation

การรักษา

Esophagoscopy and remove FB with forcep/rat tooth forcep กรณีเป็นเหรียญ

Foreign body in stomach

วัตถุแปลกปลอมที่ลงมามักมีขนาดไม่ใหญ่นักเนื่องจากผ่านหลอดอาหารลงมาได้การรักษา

การรักษาจึงขึ้นกับชนิดของวัตถุแปลกปลอมเป็นหลัก

ก.Blunt object เช่น เหรียญ เศษก้อนหิน เป็นต้น

การรักษา แนะนำให้สังเกตอาการ ส่วนใหญ่มักจะหลุดออกมาได้เองภายใน 2-3 วัน ส่วนน้อยอาจใช้เวลานานถึง 2 สัปดาห์

ข.Botton battery หากตกค้างนานฝ่าครอบเปิดออก สารเคมีก่ออันตรายได้ เช่น

การรักษา

-แนะนำให้คีบออกทุกรายเพื่อป้องกันการแตกรั่วของสารเคมีหากทิ้งอยู่นาน

-หากการส่องกล้องคีบออกไม่พร้อมหรือทำได้ลำบาก อาจใช้วิธีสังเกตอาการก่อนได้ เว้นว่าหากขนาดกว้างกว่า 2 เซยติเมตร หรือ อยู่ในกระเพาะอาหารนานกว่า 72 ชั่วโมง ต้องคีบออก

-หากผ่านลงไปในลำไส้เล็กแนะนำให้สังเกตุอาการจะออกได้เองในที่สุด แต่ต้องสังเกตอาการในโรงพยาบาล

-การรักษาด้วยการผ่าตัดไม่แนะนำ เว้นแต่มีภาวะแทรกซ้อน

ค.Sharp objects เช่น เข็มหมุด เข็มกลัดปลายเปิด กระดูกแหลม เป็นต้น

ส่วนใหญ่แล้วสามารถออกมาได้เองทางอุจจาระ ยกเว้นเข็มที่ยาวอาจก่อให้เกิดการทิ่มตำ หรือทะลุ เกิดภาวะแทรกซ้อนได้พบ 35%

การรักษา

แนะนำให้ส่องกล้องคีบออกทุกราย

3.Foreign Body in small bowel or colon

วัตถุแปลกปลอมที่ผ่านหลอดอาหารและกระเพาะมาได้มักผ่านลำไส้ถูกขับออกมาได้เอง

มักให้ผู้่ป่วยกลับไปดูอาการที่บ้านแล้วนัดมาดูอาการ

ยกเว้นกรณีเป็นของแหลม หรือวัตถุอันตรายเช่น ถ่านกระดุม เป็นต้น ให้นอนสังเกตอาการในโรงพยาบาล เอ็กซเรย์ดูตำแหน่งวันละครั้ง ผ่าตัดเมื่อมีภาวะแทรกซ้อน

Indication การผ่าตัดเปิด มักทำเฉพาะกรณีที่มีภาวะแทรกซ้อนเท่านั้นเช่น

- Peritonitis

- GI bleeding จาก FB

- Perforation

- Retain FB ในตำแหน่งเดิมเกิน 2 วัน อาจเป็นไปได้ว่าไปตำหรือทิ่มติดในผนังลำไส้

Ref.

http://dlibrary.childrenhospital.go.th/bitstream/handle/6623548333/603/qsnich-thai-pediatric-journal-17-1-2010-p16.pdf?sequence=2

http://www.si.mahidol.ac.th/th/publication/2009/Vol92_No.1_17_6418.pdf

http://www.poison.org/battery/guideline.asp

http://www.wongkarnpat.com/viewpat.php?id=320#.VER45CKUfIc