Small pox

Small pox ฝีดาษ หรือ ไข้ทรพิษ

เป็นโรคติดต่อร้ายแรง

สาเหตุ

เกิดจากเชื้อ Variola virus เป็นเชื้อในกลุ่มจีนัส Orthopoxvirus แฟมมิลี่ Poxviridae

เชื้อในกลุ่มนี้ทำให้เกิดตุ่มที่ร่างกาย

เชื้อนี้ถูกกำจัดหมดจากโลกตั้งแต่ปี 2522 มีแต่ในห้องปฎิบัติการที่ยังเก็บไว้

{Orthopoxvirus มีหลาย species

ทำให้ติดเชื้อในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม : mousepox, monkeypox, cowpox, vaccinia.smallpox, camel pox}

ระบาดวิทยา

พบผู้ป่วยไข้ทรพิษรายสุดท้ายที่โซมาเลีย 2520

2522 WHO ประกาศว่าไข้ทรพิษถูกกวาดล้างหมดจากโลกแล้ว

2523 ประชุมสมัชชาองค์การอนามัยโลก ประกาศมีผู้ติดเชื้อตาย 1 ราย ในห้องปฎิบัติการม.เบอร์มิงแฮม ปี2521

สถานการณ์ในไทย

กรุงศรีอยุธยา พ.ศ. 2460-2504 มีไข้ทรพิษเกิดขึ้นทุกปี

พ.ศ. 2488-2489 ช่วงสงครามโลก ระบาดครั้งใหญ่สุด จากเชลยพม่าที่มาทำสะพานข้ามแม่น้ำแคว แพร่ยังกรรมกรไทย ผู้ติดเชื้อ 62,837 ราย ตาย 15,621 ราย

ระบาดครั้งสุดท้าย พ.ศ.2504-2505 ที่แม่สาย เชียงราย ติด 34 ราย ตาย 5 ราย

พ.ศ. 2504 กระทรวงเริ่มโครงการกวาดล้างไข้ทรพิษในไทย

พ.ศ. 2523 WHO ประกาศไข้ทรพิษถูกกวาดล้างหมดแล้ว จึงหยุดการปลูกฝีนั้นแต่นั้นมา

2545 WHO ได้ให้ USA และ Rassia เก็บเชื้อไว้ทดลองต่อ

ระยะฟักตัว

7-19 วัน เฉลี่ย 10-14 วัน

การติดต่อ

มักผ่านทางละอองฝอย droplet spread

หรือ ทางผิวหนัง skin inoculation

หรือ เยื่อบุตา conjunctiva

อาการ

เริ่มต้น

มีไขสูงเฉียบพลัน 40 C ปวดเมื่อยกลามเนื้อ ปวดศีรษะ ออนเพลียมาก ปวดหลัง อยางรุนแรง

ในบางรายเกิดอาการปวดในชองทอง และ อาเจียน ซึ่งเปนลักษณะอาการใกลเคียงกับไขหวัดใหญ

ตอมา 2 - 4 วัน

ไขลดลง และมีตุมลักษณะ ฝงลึก deep-seated rash เกิดขึ้น โดยแตละตุมที่เกิด ขึ้นจะมีเชื้อไวรัสซึ่งจะพัฒนาไปเปนจุดดางบนผิวหนัง (macules) ผื่นนูนแข็ง (papules) ตุมนํ้า (vesicles) และ ตุมหนอง (pustules) แลวจึงตกสะเก็ด (crusted scabs) และลอกออกไปภายใน 3 - 4 สัปดาห

ตุ่มเริ่มที่หน้า และกระจายไปส่วนปลายสุดแขนขา ฝ่ามือเท้า และต่อมาที่ลำตัว เรียกว่า centrifugal rash

ผื่นจะต่างกับสุกใส

ความแตกต่าง

ไข้ทรพิษ:

ผื่นเกิดขึ้นในระยะต่าง ตามร่างกายพร้อมกัน

กระจายออก centrifugal

ผื่นจะมีขึ้นพร้อมกับไข้

ผื่นลึก deep seated lesion

มีหลายระยะในบริเวณเดียวกัน

รอยแผลมักเป็นรอยบุ๋ม

ไม่พบที่รักแร้

อีสุกอีไส:

ผื่นมักเกิดในทีปกปิด

มักกระจายเข้าศูนย์กลาง centripetal

ผื่นจะตามมาทีหลังไข้

ผื่นตื้นกว่า

ระยะผื่นใหล่เคียงกัน

รอยแผลตื้นกว่า มักคัน

การวินิจฉัย

ตรวจแยกเชื้อ บน chorioallantoic membrane โดยการขูดตุ่มน้ำไปตรวจ ดูด้วยกล้องจุลทรรศ์อิเลกตรอน

การรักษา

รักษาตามอาการ ทำควาสะอาด ดูแลสารน้ำ

การป้องกัน ควบคุม

หาโรค แยกกักกัน

การปลูกฝี

ปลูกที่หัวใหล่ ใช้ของแหลมขูดให้วัคซีนซึมเข้าไป ต่างกับฉีดวัคซีน

เอาเชื้อ vaccinia ไวรัสที่ทำให้เกิดโรคในวัว ทำให้อ่อนแรงแล้ว เป็น วัคซีนเป็น

มาใช้ปลูกฝี หลังฉีดภูมิอยู่ได้นาน 3-5 ปี

ผู้คิดค้น คือ เอ็ดเวิร์ด เจนเนอร์ แพทย์ชาวอังกฤษ เห็นฝีดาษวัว(Cowpox)ติดในหญิงรีดวัว

หญืงอาชีพนี้ไม่มีใครป่วยเป็นโรคฝีดาษเลย

จึงเอาหนองที่ฝีดาษวัวไปป้ายแผลที่เป็นรอยกรีดเล็กๆให้ติดเชื้อจะได้มีภูมิ ปรากฎว่าได้ผล

การควบคุม

เนื่องจากระยะฟักตัวยาว การให้วัคซีนแก่ผู้สัมผัสใน 4 วัน สามารถป้องกันหรือลดอาการลงได้

Ref.

http://www.pidst.net/userfiles/f26.pdf

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%9D%E0%B8%B5%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A9