Rotavirus infection

Rota virus infection

Qx Vaccine: มีสองตัว

Rotarix® 1ml oral 2,4 เดือน ตัวนี้ให้ 2 ครั้ง [1300b]

RotaTeq® 2 ml/dose oral 2,4,6 เดือน ตัวนี้ให้ 3 ครั้ง [950b]

สาเหตุ

ไวรัสอุจจาระร่วงที่พบบ่อยที่สุด คือ Rotavirus พบประมาณ 30 %

อันดับ 2 Norovirus พบประมาณ 10%

https://sites.google.com/site/pediatricnote/viral-diarrhea

อุจจาระร่วงจาก Rotavirus

-Rota virus เป็นสาเหตุสำคัญสุดที่ทำให้เกิดท้องเสียในเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี

-เด็กทุกคนมักมีอาการท้องเสียอย่างน้อย 1 ครั้งจากเชื้อนี้

-ส่วนใหญ่หายได้เอง ส่วนน้อยต้องเข้าโรงพยาบาล หากรักษาไม่เหมาะสมมีโอกาสเสียชีวิตได้

-โรคอุจจาระร่วงในเด็กที่เกิดจาก Rota virus มักมีอาการรุนแรงกว่าที่เกิดจากเชื้อชนิดอื่น ทั้งไข้สูง อาเจียนมากและขาดน้ำรุนแรงกว่า สาเหตุอื่นๆ

การติดเชื้อครั้งแรกจะรุนแรงสุด ครั้งต่อไปจะค่อยๆลดลงไปเรื่อยๆ จนไม่มีอาการ

สามารถติดเชื้อได้หลายครั้งเนื่องจากมีหลายสายพันธุ์และจะมีการเปลี่ยนสานพันธุ์ทุกๆปี คล้ายกับไข้หวัดใหญ่

ในเด็กที่เกิดมาผ่านสองฤดูหนาว จะพบว่าต้องมีการติดเชื้ออย่างน้อย สองครั้ง

สาเหตุ

-เกิดจากเชื้อ Rota vius ในตระกูล Reoviridae , genus Rotavirus เป็น double-stranded RNA

-เชื้อ Rota แบ่งได้ 7 กลุ่ม A-G มี 2 กลุ่มย่อย A-C(ติดเชื้อในคน),D-G(ติดเชื้อในสัตว์)

-เด็กมักติดเชื้อกลุ่ม A ผู้ใหญ่มักติดกลุ่ม B ส่วนกลุ่ม C เป็นทั้งเด็กและผู้ใหญ่แต่อาการไม่รุนแรง

-นอกจากนี้ยังแบ่งเป็น serotype อีกมาก

ในเอเชียพบว่าเด็กท้องเสียที่รักษาตัวในโรงพยาบาล ตรวจพบ Rotavirus ถึง 45%

ในไทยพบ 30-40% มักเป็นสายพันธุ์ G9(50%) เป็นส่วนใหญ่ ที่พบรองคือ G2(17.2%)G4(5.3%)G1(0.8%)G3(0.1%)

ระบาดวิทยา

พบในช่วง ประเทศไทยพบได้ทั้งปี พบมากช่วงฤดูหนาว ธ.ค.-มี.ค.

อายุที่พบบ่อย 6 เดือน-2 ปี

1/5 ของเด็กที่ติดเชื้อมักต้องรักษาตัวในคลินิก 1/50 ต้องนอนโรงพยาบาล 1/206 ต้องเสียชีวิต

เด็กเกือบทั้งหมด จะเกิดอุจจาระร่วงจากเชื้อนี้อย่างน้อย 1 ครั้ง ก่อนอายุ 2 ปี ที่อายุ 2 ปี พบภูมิคุ้มกัน ถึง 95% ดั้งนั้นหลัง 2 ขวบจึงพบน้อยลง

การติดต่อ คนสู่คน โดย fecal-oral-fecal มีการปนเปื้อนติดมือติดอาหาร และมีรายงานว่าสามารถแพร่กระจายผ่านทางเดินหายใจได้

ระยะการแพร่เชื้อ ทางอุจจาระก่อนและหลังมีอาการ 4-57 วัน

ระยะฟักตัว 1-2 วัน เร็วมาก

อาการไม่ค่อยรุนแรง ในผู้ใหญ่ และทารกน้อยกว่า 3 เดือน(มี่ภูมิจากแม่และกินนมแม)

เชื้อมีหลายสายพันธุ จึงทำให้เกิดท้องเสียได้หลายครั้ง แต่ครั้งแรกจะรุนแรงสุด เป็นช้ำอาการจะลดน้อยลงเรื่อยๆ เด็กเล็กจะมีอาการหนักกว่าเด็กโต ส่วนผู้ใหญ่มักไม่มีอาการ

พยาธิวิทยา

เชื้อเข้าที่ผนังลำไส้เล็กทั้ง jejunum-ilium เกาะติดและเพิ่มจำนวน ทำให้อักเสบตั้งแต่ duodenum จนตลอดลำไส้เล็กทั้งหมด เชื้อทำลายที่ยอด villi ตายและหลุดลอกออกไป แล้วจะมีการสร้างเซลล์อ่อนจากใน crypt มาแทนที่ แต่เซลล์อ่อนมีน้ำย่อย disaccharidase ต่ำ ร่วมถึง lactase ต่ำด้วย จึงเกิดท้องเสียแบบ osmotic diarrhea ทำให้ดูดซึมรวมกันของ glucose-Na ,Na-K ลดลงด้วย

สรุป

1.ทำลายcell ยอด villi

2.NSP4 ขัดขวาง brush border disccharidase และ glucose-stimulated Na absorption

การรักษาด้วย ORS จึงได้ผลไม่ดีเท่าโรคอื่นๆ รวมถึงทำให้เกิด osmotic diuresis

3.มีการเพิ่มขึ้นของ enkephalinase ทำให้ enkephalin ลดลง ทำให้ ca เข้าเซลล์ เกิดการหลั่งน้ำและอีเล็กโตรไลย์เข้าลำไส้

ทำให้เกิด

1.lactase deficiency

2.Osmotic diarrhea และ Malabsorbtion

3.Enteric nervous activation และ เพิ่ม enkephalinase

อาการ

ไข้ ปวดท้อง อาเจียน ถ่ายเป็นน้ำ

ไข้อาเจียนมักพบช่วง 2-3 วันแรก ถ่ายเป็นน้ำ หายได้เอง 3-8 วัน

กรณีอาการรุนแรง ทำให้เกิดการขาดน้ำเสียชีวิตได้

ภาวะแทรกซ้อน

1.ขาดน้ำรุนแรง

2.เกิด lactase deficiency เกิดท้องเสียเริ้อรังตามมา

3.ในผู้เป็นภูมิคุ้มกันบกพร่อง อาการจะรุนแรงและเรื้อรัง และมีการติดเชื้อนอกระบบทางเดินอาหารได้

4.อื่นๆ มีรายงานการติดเชื้อร่วมกับ respiratory infection, NEC, liver abscess, myositis, Kawasaki, seizure, meningitis, encephalitis ได้

การวินิจฉัย

มักไม่สามารถแยกด้วยอาการทางคลินิก

Stool exam: มักไม่พบ RBC,WBC

Confirm diagenosis

1.ตรวจจากอุจจาระ หา antigen : ELISA, Latex agglutination, Polyacrylamide gel electrophoresis

2.หา Antibody ในเลือด : IgM. IgG for Rota virus

อื่นๆไม่นิยม ทำยากแพงซับซ้อน viral culture, PCR

DDx

ดูฤดูกาล อาการของเด็กร่วมกัน

1.Adeno virus มักมีอาการนาน 10-14 วัน

2.Norwalk virus ระยะฟักตัวสั้น 12 ชั่วโมง อาการนาน 1-3 วัน

3.อาหารเป็นพิษ staphylococcus aureus อาการจะอาเจียนมาก

การรักษา

1.รักษาตามอาการ รอโรคหายได้เองใน 1 สัปดาห์

-ให้อาหารอ่อนย่อยง่าย ให้อาหารพวกแป้งจะย่อยดีและดูดซึมได้มากกว่าอาหารประเภทอื่น

-ให้นมที่มี lactose น้อย หรือไม่มีเลย เนื่องจากน้ำย่อย lactase ลดลง

2.ป้องกันการขาดน้ำให้ ORS

3.อาการรุนแรงให้ IV fliud

4.ให้ยายับยั้งการทำงานของ enkephalinase ได้แก่ Hidrasec

5.อื่นๆ การใช้ probiotic ร่วมกับการรักษา อาจช่วยให้อาการหายเร็วขึ้น

การป้องกัน

เลี่ยงยากเนื่องจากเชื้อมักทนทานอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นาน วิธีดีที่สุดคือการฉีดวัคซีน

***การให้วัคซีน ไม่ได้ป้องกันการติดเชื้อแต่ป้องกันความรุนแรง เพราะได้รับเชื้อบ่อยความรุนแรงจะลดลงดังกล่าว***

ดังนั้นการให้จึงต้องให้หลายๆครั้ง จึงจะลดความรุนแรงได้มาก

วัคซีนมี 2 ชนิด

แบบ G1 มีตัวเดียวกับแบบ G1-5 มีหลายสายพันธุ์กว่า

วัคซีน มีสองตัว ในไทย

1.Rotarix®[GLX] 1ml/dose เป็น oral lyophilize, 1.5ml/dose oral suspension

:Human-derived monovalent live-attenuated

:พัฒนามาจากเชื้อไวรัสโรต้าสายพันธุ์ (RIX4414) ของ G1P พบว่ามีประสิทธิภาพและปลอดภัยดี

มีสายพันธุ์เดียว

การให้วัคซีน

2 dose ที่อายุที่แนะนำ 2,4 เดือน

(doseแรก6-15 สัปดาห์, doseสอง ห่างอย่างน้อย 1 เดือน ไม่เกินอายุ 8 เดือน)

2.RotaTeq®[Merck]2ml/dose เป็น live oral suspension vaccine

:Bovine-human reassortant pentavalent live-attenuated

:วัคซีนประกอบด้วยซีโรทัยพ์ G1, G2, G4, G4 และ P8 กิน 3 ครั้ง

มีหลายสายพันธุ์

การให้วัคซีน

3 dose ที่อายุที่แนะนำ 2,4,6 เดือน

(doseแรก6-15 สัปดาห์, แต่ละdose ห่างอย่างน้อย 1 เดือน,doseสาม ให้ไม่เกินอายุ 8 เดือน)

ประสิทธิภาพ ทั้งสองตัว ไม่ต่างกัน ป้องกันอุจจาระร่วงรุนแรงจากRota ได้ 90%, ป้องกันการนอนโรงพยาบาล ได้ 90-100%

ประสิทธิภาพยังขึ้นอยู่กับระดับการพัฒนาของประเทศ

ประเทศที่พัฒนาแล้วการใช้วัคซีนจะได้ผลดีมากกว่าประเทศที่ยังไม่ค่อยพัฒนา

สามารถให้ร่วมดับวัคซีนตัวอื่นได้ เช่น OPV DTaP IPV Hemophillus B vac, HBVvac, meningococcal, pneumococcal etc.

วิธีเก็บ เป็นผงห้ามแช่แข็ง เก็บที่ 2-8c

การให้ร่วมกับตัวอื่นได้เลย เช่น DTwP,DTaP,Hib,IPV,HBV,PCV

การให้ร่วมกับ OPV มีผลต่อการขึ้นภูมิของ Rota ครั้งแรก

แต่หลังให้ Dose 2 แล้วภูมิขึ้นเท่ากันกับให้ปกติ

แต่ไม่มีผลต่อ OPV ไม่รบกวนการขึ้นภูมิของ Polio

ให้OPV กับ Rota vaccine พร้อมกัน ภูมิของโรต้าจะขึ้นได้น้อยกว่าแต่ก็ยอมรับได้

ข้อแนะนำ

ควรให้ห่างจาก OPV อย่างน้อย 2 สัปดาห์ ส่วน dose สองให้พร้อมกันได้

แต่ไม่สะดวกให้พร้อมกันได้เลย

ควรให้หรือไม่

ถ้าไม่ข้อจำกัดทางการเงินควรให้เด็กทุกรายตั้งแต่อายุ 2 เดือน คุ้มค่ามาก

ยิ่งให้หลายครั้งยิ่งดี

สำหรับคนท้อง

วัคซีนนี้เป็นวัคซีนสำหรับเด็ก คนท้องไม่จำเป็นต้องใช้

Ref.

วัคซีนโรตาไวรัส สมาคมติดเชื้อเด็ก

หาหมอ ท้องร่วงจากโรต้า

http://hospital.md.kku.ac.th/ic/ic_manual_2549_aa/ic6_b_15.pdf

http://203.157.15.4/wesr/file/y46/F46282.pdf