Needle fear

นักวิจัยแคนาดาแนะวิธีล่อหลอกเด็ก เลิกกลัวโดนเข็มฉีดยา

ผู้ใหญ่ทั้งหลายอาจยังไม่รู้ว่า คำปลอบประโลมที่พูดกับเด็กเมื่อพาหนูน้อยไปฉีดวัคซีนว่า "อย่ากลัวนะจ๊ะ" โดยหวังว่าจะทำให้เด็กหายหวาดกลัวกลับทำให้สถานการณ์แย่ลงไปอีก เพราะคำพูดเหล่านั้นที่เปล่งออกมาพร้อมสีหน้าและน้ำเสียงของผู้พูดช่วยตอกย้ำให้เด็กกลัวมากขึ้น นักวิจัยแคนาดาแนะว่าเทคนิคการลดความหวาดกลัวของเด็กที่ดีที่สุดคือเบี่ยงเบนความสนใจให้ลืมการฉีดยาตรงหน้าไปเสีย

เมแกน แมคเมอร์ตี้ คณะจิตวิทยา กุมาเวชศาสตร์และจิตเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยดาลฮูซี กล่าวว่า มันเป็นการโต้ตอบตามสัญชาติญาณว่าการทำให้มั่นใจหรือรับรองให้สบายใจที่แท้มีความเจ็บปวดอยู่แน่นอน คำพูดปลอบใจเด็กที่จะต้องโดนฉีดยาจึงให้ผลตรงกันข้ามกับที่ตั้งใจ

นักวิจัยถ่ายวิดีโอภาพผู้ปกครองที่พาเด็ก 100 คน อายุ 5-10 ปีที่มาตรวจเลือดในห้องทดลอง เพื่อบันทึกพฤติกรรมผู้ปกครองแล้วเปิดให้เด็กดูก่อนจากนั้นให้เด็กดูวิดีโอภาพของนักแสดงที่มีพฤติกรรมอย่างอื่น เพื่อเปรียบเทียบกันทั้งสีหน้าและน้ำเสียงและให้เด็กให้คะแนนสิ่งที่เห็นจากวิดีโอพบว่า ในขณะที่ผู้ปกครองแสดงพฤติกรรมปลอบใจการแสดงออกทางสีหน้าสะท้อนความกลัวและพูดด้วยโทนเสียงที่สูงขึ้นทำให้เด็กกลัวมากขึ้น

ส่วนภาพนักแสดงที่ทำพฤติกรรมเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจแต่ยังแสดงสีหน้าหวาดกลัว ปรากฎว่าเด็กให้คะแนนว่าน่ากลัวไม่แพ้กัน โดยเด็กจะยิ่งกลัวมากขึ้นเมื่อเสียงของนักแสดงต่ำลง นักวิจัยสรุปว่า สีหน้าที่แสดงความวิตกมีอิทธิพลมากที่สุดต่อเด็ก แต่รอยยิ้มก็ไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาเพราะคงไม่ใช่เรื่องธรรมชาติที่ผู้ปกครองจะยิ้มออกมาได้ถ้าลูกกำลังจะต้องเจ็บตัว

หนทางที่เหมาะสมที่สุดคือการเบี่ยงเบนความสนใจเด็ก โดยทำให้เหมาะสมกับวัย ถ้าเป็นเด็กเล็กอาจชวนเป่าลูกโป่งหรือถ้าเป็นเด็กโตอาจชวนคุยเรื่องอื่นๆ ที่เด็กสนใจ งานวิจัยยังแนะด้วยว่าเด็กจะรับมือการได้ดีกว่าถ้าพ่อแม่ไปนั่งในห้องรอ และไม่โผล่มาคอยปลอบใจ

ที่มา Khaosod