รวบรวมคำศัพท์ อ.พิชิต

Post date: 21-Aug-2010 09:55:46

ใกล้สอบเข้ามา จะดูศัพท์ทีละวันคงไม่ทันการณ์ เอาไปทั้งหมดที่ อ.พิชิตเคยออกข้อสอบเลยละกันนะครับ

Alvin Toffler

เป็นนักวิชาการ นักพยากรณ์อนาคตที่มีชื่อเสียง เป็นผู้เขียนหนังสือเรื่อง The Third Wave โดยได้แบ่งอารยธรรมของโลกออกเป็น 3 คลื่น คลื่นลูกที่หนึ่งคือยุคเกษตรกรรม คลื่นลูกที่สองคือยุคอุตสาหกรรม และคลื่นลูกที่สามคือยุคข่าวสารหรือความรู้

Yoneji Masuda

เป็นนักวิชาการชาวญี่ปุ่นที่สนใจศึกษาเรื่องสังคมข่าวสารอย่างจริงจัง เจ้าของงานเขียน The Information Society: As Post Industrial Society ซึ่งกล่าวถึงภาพลักษณ์ของสังคมข่าวสารในอนาคต

Paralysis by Analysis

หมายถึงสภาวะ "เป็นง่อยจากการวิเคราะห์" เกิดจากภาวะที่มีข้อมูลข่าวสารมากเกินไป (Information Overload) จนทำให้ผู้บริหารไม่กล้าตัดสินใจ

0,1 ATCG

0,1 และ ATCG เป็นภาษาใหม่ที่กำลังสร้างความเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ในโลกนี้

0,1 เป็นภาษาของคอมพิวเตอร์ซึ่งไม่ว่าเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดในโลกต่างก็เข้าใจรหัสนี้ ในขณะที่ ATCG เป็นภาษาของยีนซึ่งเป็นภาษาเดียวกันทั้งหมดในสิ่งมีชีวิตทุกชนิด

การเข้าใจใน 0,1 ทำให้เกิดการปฏิวัติดิจิตอล ในขณะที่การเข้าใจใน ATCG จะทำให้เกิดการปฏิวัติทางพันธุกรรม

Digital Divide

หรือความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ซึ่งเป็นปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อก้าวเข้าสู่สังคมข่าวสาร ซึ่งข้อมูลข่าวสารถือเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญที่สุด เมื่อเกิดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารก็จะทำให้ช่องว่างระหว่างประเทศที่ร่ำรวยกับประเทศที่ยากจนมีความห่างกันมากขึ้นไปอีก

Electronic Elite

Participatory Democracy

ระบบประชาธิปไตยที่ประชาชนมีส่วนร่วม เป็นผลกระทบที่เกิดจากสังคมข่าวสารที่มีต่อระบบทางการเมือง การพัฒนาของเทคโนโลยีสารสนเทศได้ช่วยให้ข้อจำกัดในการให้ประชาชนคนธรรมดาเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจหมดไป

Telework

หรือการทำงานทางไกล เป็นวิธีการทำงานที่อาศัยคอมพิวเตอร์และเครือข่ายโทรคมนาคมในการสื่อสาร ทำให้พนักงานไม่จำเป็นที่จะต้องเดินทางมาทำงานที่ออฟฟิศ ช่วยให้เกิดการประหยัดต้นทุนค่าที่ดินและอาคารสถานที่ ช่วยเพิ่มผลผลิต และเพิ่มความพึงพอใจให้กับพนักงาน การทำงานทางไกลทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า “ออฟฟิศเสมือนจริง (Virtual Office)”

อาณาจักรแห่งความคิด

"อาณาจักรในอนาคต คือ อาณาจักรแห่งความคิด" เป็นคำกล่าวของ วินสตัน เชอร์ชิล และเป็นเนื้อหาบทหนึ่งในหนังสือ "เมื่ออนาคตไล่ล่าคุณ (As The Future Catches You)" โดยพูดถึงประเทศที่เน้นการให้การศึกษากับประชากรของตน จนสามารถสร้างเศรษฐกิจความรู้ได้ ซึ่งจะทำให้ประเทศนั้นร่ำรวยยิ่งขึ้นไปในที่สุด ตัวอย่างเช่น ประเทศสิงคโปร์

กฎแห่งสิงคโปร์

ปรากฎในหนังสือ "เมื่ออนาคตไล่ล่าคุณ" ซึ่งพูดไว้ว่า "อนาคตจะเป็นของประชากรกลุ่มเล็กๆ ที่สร้างอาณาจักรแห่งความคิด ประชากรที่ไม่สนใจจะใช้ทรัพยากรธรรมชาติ หรือไม่มีทรัพยากรธรรมชาติให้ผลาญ"

วัฒนธรรมแห่งสารสนเทศ

ในบทความของ ดร.บวร ปภัสราทร ได้พูดถึงวัฒนธรรมแห่งสารสนเทศเอาไว้ ว่าเทคโนโลยีทั้งหลายล้วนมีวัฒนธรรมที่ผูกพันอยู่กับตัวเทคโนโลยีนั้น เมื่อใดก็ตามที่นำเทคโนโลยีนั้นมาใช้ประโยชน์ ก็จะต้องเปิดรับเอาวัฒนธรรมที่ผูกพันอยู่กับเทคโนโลยีนั้นมาเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมในการทำงานด้วย หากนำมาแต่เทคโนโลยีโดยปราศจากการใส่ใจในวัฒนธรรม ก็จะได้ประโยชน์จากการนำเอาเทคโนโลยีนั้นมาใช้ได้ไม่เต็มที่หรืออาจไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย องค์การที่จะถือว่ามีวัฒนธรรมสารสนเทศต้องมีคุณสมบัติสี่ประการ ได้แก่ รู้วิธีที่จะเรียนรู้และใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่มีอยู่ รู้วิธีที่จะจัดเก็บเรียบเรียงข้อมูลเป็นหมวดหมู่ เชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลข่าวสาร รู้ว่าในการทำงานของตนต้องการข้อมูลข่าวสารอะไรและจะหาข้อมูลข่าวสารนั้นมาได้อย่างไร และรู้ว่าจะบอกกล่าว เผยแพร่ ข้อมูลข่าวสารที่ตนมีอยู่ในมือให้กับผู้อื่นรับรู้ข่าวสารและนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไร

วัฒนธรรมแห่งความรู้ (The Culture of Knowledge)

ในบทความของ ศ.นพ.ประเวศ วะสี ได้พูดถึงสังคมไทยกับวัฒนธรรมแห่งความรู้เอาไว้ ว่าสังคมไทยเป็นวัฒนธรรมอำนาจ ซึ่งทำให้มีการเรียนรู้น้อย ในขณะที่สภาพปัญหาปัจจุบันไม่สามารถแก้ไขได้โดยการใช้เพียงอำนาจเท่านั้น ทางแก้ปัญหาในปัจจุบันจำเป็นจะต้องใช้ ความรู้ ดังนั้นสังคมไทยจึงจะต้องเปลี่ยนเป็นวัฒนธรรมแห่งความรู้ ต้องสร้างให้คนไทยเห็นคุณค่าและความสำคัญของความรู้ เน้นการสร้างความรู้ใหม่ที่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน มากกว่าถ่ายทอดความรู้เก่าจากตำราซึ่งนำไปใช้ในการแก้ปัญหาจริงไม่ได้ และเน้นการใช้ความรู้ในการพูดคุยตกลงกัน มากกว่าใช้ความเห็นซึ่งไม่สามารถตกลงกันได้

The Dream Society

Turbocharged Information

คือ การนำข้อมูลข่าวสารที่ไม่ใช้แล้วมาใช้ใหม่

Nanoeconomy

Nanoeconomy เป็นยุคที่เศรษฐกิจจะถูกขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่มีขนาดเล็กมาก หรือ Nanotechnology

Bioeconomy

Bioeconomy เป็นยุคที่เศรษฐกิจจะถูกขับเคลื่อนด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีชีววิทยา (Biotech) ซึ่งถือกำเนิดตั้งแต่ ค.ศ.1953 เมื่อมีการค้นพบรหัสพันธุกรรมของมนุษย์ หรือ DNA และอยู่ในระยะฟักตัวมาจนถึงปัจจุบัน ในยุคต่อไปคือยุคเติบโต จะเป็นการนำเอาความรู้เรื่อง human genome มาประยุกต์ให้เกิดประโยชน์กับมนุษยชาติ ทั้งในภาคการผลิตยา การดูแลสุขภาพ เกษตร และอาหาร

Reengineering

คือการปรับรื้อกระบวนการธุรกิจ เป็นการออกแบบกระบวนการทางธุรกิจใหม่อย่างถอนรากถอนโคนเพื่อให้บรรลุการปรับปรุง

Celera, Microsoft and Intel

Information Overload

การมีข้อมูลข่าวสารมากเกินไป ในขณะที่การมีข้อมูลข่าวสารเป็นสิ่งที่ดี แต่การมีข้อมูลข่าวสารที่มากเกินไปจะทำให้เกิดปัญหาในการเลือกใช้ข้อมูลข่าวสาร ไม่รู้ว่าจะใช้ข้อมูลข่าวสารใดในการตัดสินใจ หรือหาข่าวสารที่ต้องการไม่เจอ และหากมองในแง่บุคคลแล้วการที่เรามีข้อมูลข่าวสารมากเกินไปยังส่งผลต่อสุขภาพร่างกาย เพราะเป็นการเพิ่มความเครียด สุขภาพจิตไม่ดี นอนไม่หลับ เป็นต้น

Information Paradox

หรือ ความขัดแย้งของข้อมูลข่าวสาร ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมข่าวสารที่มีข้อมูลข่าวสารเป็นจำนวนมาก ยิ่งได้รับข่าวสารมาก ก็ยิ่งต้องใช้เวลามากในการหาความหมายจากข้อมูลข่าวสารนั้น ในขณะเดียวกัน ข้อมูลข่าวสารที่ได้รับมาบางครั้งก็มีความขัดแย้งกันเอง และเมื่อมีข้อมูลข่าวสารที่มากเกินจนคนรู้สึกรับไม่ไหว ก็จะเกิดการลำเอียงทางสารสนเทศ คือ เลือกรับเฉพาะข้อมูลข่าวสารที่สอดคล้องกับความเชื่อที่มีอยู่ เลือกรับข้อมูลข่าวสารเฉพาะจากคนใกล้ตัว จนเกิดเป็นอาการพิการด้านแสวงหาข้อมูลข่าวสาร ซึ่งเป็นต้นเหตุแห่งความขัดแย้งในสังคมตามมา

Moore’s Law

กฎของมัวร์ กล่าวไว้ว่า "ทุกๆ 18 เดือน ค่าหรือราคาของคอมพิวเตอร์จะถูกลงร้อยละ 50 แต่ความสามารถในการประมวลผลจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า"

Politics of Information

Pfeffer, J. ได้กล่าวถึงข่าวสารว่า ข่าวสารเป็นแหล่งของอำนาจ สามารถใช้เป็นส่วนสำคัญทางกลยุทธ์ทางการเมือง Alvin Toffler ได้กล่าวงถึงแนวคิดการนำข่าวสารมาใช้ประโยชน์ทางการเมืองไว้ 2 ประการ ได้แก่ Info-Tactics และ Meta-Tactics

Info-Tactics

หมายถึง การเล่นเกมแห่งอำนาจโดยมีพื้นฐานอยู่บนการใช้ข้อมูล สารสนเทศ ให้เป็นประโยชน์ต่อตัวเอง ด้วยการดัดแปลง บิดเบือนข้อมูลข่าวสาร ก่อนที่จะส่งผ่านสื่อต่างๆ ออกสู่ประชาชน

Meta-Tactics

เป็นกลยุทธ์ในระดับที่ลึกกว่า Info-Tactics กล่าวคือ เป็นการเข้าไปจัดการกับกระบวนการผลิตข้อมูล การกำหนดว่าอะไรบ้างที่ควรจะได้รับการบรรจุลงในฐานข้อมูล ตลอดจนการควบคุมวิธีในการจำแนกแจกแจงจัดหมวดหมู่ข้อมูล

ระบบเศรษฐกิจใช้ความรู้

มองโลกด้วยวิธีสังเคราะห์

Power Shift

Asymmetric Information

เป็นแนวคิดที่พูดถึงปัญหาที่เกิดจากคู่ธุรกรรมทางธุรกิจมีข้อมูลข่าวสารไม่เท่าเทียมกัน ในการทำธุรกรรมทางเศรษฐกิจ ฝ่ายหนึ่งมักจะมีข้อมูลข่าวสารดีกว่าอีกฝ่ายหนึ่งจนเกิดเป็นปัญหาขึ้น ส่งผลให้กลไกตลาดทำงานอย่างไม่มีประสิทธิภาพ กรณีตัวอย่างเช่น การทำประกันสุขภาพ ผู้ทำประกันมักมีข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสภาพร่างกายของตนดีกว่าบริษัทผู้รับประกัน เป็นต้น

ข้อมูลเปรียบเสมือนความรู้ ข่าวสารเปรียบเสมือนปัญญา

ข้อมูลมีลักษณะดังต่อไปนี้ คือ ข้อเท็จจริง ตัวเลข สัญลักษณ์ ภาพ ความเห็น เสียง ที่ถูกเก็บรวบรวมไว้ แต่ยังไม่ถูกประมวลผล แปลความหมาย วิเคราะห์ ปรุงแต่ง จึงยังไม่ค่อยมีประโยชน์ ข้อมูลจึงให้ได้แค่ความรู้ ในขณะที่ข่าวสารมีลักษณะดังต่อไปนี้ คือ ข้อมูล ข้อสรุป ข้อเท็จจริง ผลลัพธ์ ที่ผ่านการประมวลผล วิเคราะห์ จัดระเบียบให้อยู่ในรูปแบบที่มีความหมาย เหมาะสมกับการใช้ สามารถใช้เพื่อประโยชน์ในการตัดสินใจและการแก้ปัญหาได้ ข่าวสารจึงให้ได้ถึงปัญญา

Information Security

ความปลอดภัยของระบบข่าวสาร แยกเป็น 2 เรื่องใหญ่ๆ คือ ความเป็นเอกภาพของข้อมูล (Data Integrity) และ ความลับและการเข้าถึง (Confidentiality & Accessibility)

PRIRP

ศ.ดร.พิชิต พิทักษ์เทพสมบัติ ได้กล่าวไวว่า ธรรมนูญที่สำคัญในการบริหารจัดการในยุคสังคมข่าวสาร ได้แก่ PRIRP ซึ่งย่อมาจาก "Put the Right Information on th Right Person" หรือ จงให้ข่าวสารที่เหมาะสมกับบุคคลที่เหมาะสม