กรอบในการวิเคราะห์ระบบการเมือง 5: กรอบระบบพรรคการเมือง

Post date: 05-Nov-2010 07:03:30

เมื่อความต้องการของประชาชนมีหลากหลาย และในหลายครั้งความต้องการของต่างกลุ่มก็มีความขัดแย้งกันเอง รัฐบาลไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนทั้งหมดได้ รัฐบาลจึงมักเลือกตอบสนองต่อปัญหา/ความต้องการของประชาชนตามแนวนโยบายของตน นโยบายของพรรคการเมืองจึงเป็นตัวที่จะบอกกับประชาชนว่า ถ้าพรรคการเมืองนั้นได้เป็นรัฐบาล จะเลือกดำเนินนโยบายสำหรับประชาชนแต่ละกลุ่มอย่างไร

การวิเคราะห์ระบบการเมืองโดยใช้การพิจารณาจากระบบพรรคการเมืองนั้น แบ่งได้เป็น 4 ประเภท ได้แก่

  1. ระบบสองพรรคใหญ่ คือ มีสองพรรคใหญ่ที่สลับสับเปลี่ยนกันเข้ามากุมอำนาจทางการเมือง ทั้งสองพรรคมีโอกาสในการเข้ามากุมอำนาจได้ทั้งคู่ ขึ้นอยู่กับ political mood ตัวอย่างเช่น ในสหรัฐอเมริกา ที่มีพรรคเดโมแครต กับพรรครีพับลิกัน
  2. ระบบรัฐบาลผสม มีพรรคการเมืองมากกว่าหนึ่งพรรคร่วมกันจัดตั้งรัฐบาล เช่น ประเทศไทย
  3. ระบบพรรคเดียวกุมอำนาจยาวนาน มีหลายพรรค แต่มีพรรคเดียวที่ได้รับการเลือกตั้งยาวนาน เช่น สิงคโปร์ (ประเทศไทยก็เกือบเป็นแบบนี้ สมัยพรรคไทยรักไทย)
  4. ระบบพรรคเดียว คือ พรรคคอมมิวนิสต์ ไม่เปิดโอกาสให้พรรคอื่นแข่งขัน เพราะไม่ต้องการให้ถ่วงดุลอำนาจ ซึ่งเหมือนกับ ไม่มีพรรคการเมืองเลย เพราะไม่มีทางเลือกให้ประชาชน

สำหรับของประเทศไทย พรรคการเมืองยังขาดอุดมการณ์ทางการเมืองที่ชัดเจน ทำให้ขาดความชัดเจนให้กับประชาชน ที่ผ่านมามีพรรคไทยรักไทยที่แสดงจุดยืนอย่างชัดเจนในเรื่องประชานิยม ซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนกลุ่มฐานรากของประเทศได้ จึงได้รับคะแนนเสียงไปเป็นจำนวนมาก