แนวคิด/ทฤษฎีที่สำคัญด้านองค์การ

Post date: 15-May-2011 18:01:57

1. องค์การเสมือนจริง (Virtual Organization)

เป็นรูปแบบขององค์การสมัยใหม่ที่เกิดขึ้นมาพร้อมกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคมเป็นสิ่งที่ช่วยเชื่อมโยงบุคคล กลุ่มคน หน่วยงานเข้าด้วยกัน เพื่อประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนทักษะ ทรัพยากร และสินค้า/บริการ ด้วยเหตุที่องค์การเสมือนจริงทำงานบนระบบเครือข่ายโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้ไม่มีข้อจำกัดเรื่องระยะทาง สถานที่ และเวลา ในการติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่เป็นพันธมิตร พนักงานบริษัท รวมถึงลูกค้า ช่วยเพิ่มโอกาสในการที่ธุรกิจขนาดเล็กสามารถแข่งขันกับธุรกิจขนาดใหญ่ได้ อาทิเช่น กรณีศึกษาของ Amazon.com ที่สามารถแข่งขันกับร้านหน้งสือขนาดใหญ่อย่าง Barnes & Nobel ได้ ธุรกิจที่เลือกใช้แนวทางองค์การเสมือนจริงอาจใช้วิธีการผลิตสินค้าหรือบริการให้กับลูกค้าโดยการจ้างบริษัทหรือบุคลากรที่มีความชำนาญเฉพาะด้านแบบรับช่วง (Subcontract) ถึงแม้ธุรกิจจะเติบโตขึ้นแต่อาจไม่จำเป็นที่จะต้องจ้างบุคลากรที่เป็นพนักงานประจำเพิ่มเติม จึงช่วยลดต้นทุนในด้านบุคลากร (ทั้งเงินเดือนและสวัสดิการ) และสถานที่ทำงาน องค์การที่จะนำแนวคิดองค์การเสมือนจริงไปใช้จะต้องออกแบบโครงสร้างองค์การให้มีความเป็นทางการต่ำ เลือกใช้โครงสร้างแบบเครือข่ายและโครงสร้างหลวม ทำให้เกิดความยืดหยุ่นคล่องตัวในการทำงาน ประกอบกับการกระจายอำนาจลงไปยังทีมงานให้สามารถคิดและตัดสินใจได้ โดยอาจต้องนำเอาแนวคิดขององค์การบริหารตนเอง และองค์การแห่งความรู้เข้ามาช่วยเสริมสร้างประสิทธิภาพในการทำงานให้มากยิ่งขึ้น สิ่งที่ควรระวังคือ ในองค์การเสมือนจริง ความสัมพันธ์ของผู้บริหารกับพนักงานและระหว่างพนักงานกับพนักงานจะลดลง ซึ่งอาจส่งผลให้ความผูกพันที่พนักงานมีต่อบริษัทลดลง ส่งผลให้อัตราการลาออกของพนักงานสูงขึ้น รวมถึงพนักงานอาจขาดแรงกระตุ้นจูงใจที่เกิดจากผู้บริหาร นอกจากนี้การทำงานที่บ้านหรือที่ไหนก็ได้ ทำให้ยากที่จะควบคุมเวลาในการทำงานของพนักงานได้ ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นต้องมีการสร้างข้อตกลงร่วมกัน รวมถึงมีการปลูกฝังวัฒนธรรมที่ดีให้กับพนักงานในบริษัทด้วย โดยเฉพาะความจงรักภักดีต่อองค์การ การยอมรับและไว้วางใจกันและกัน และความรับผิดชอบ

2. องค์การแห่งความรู้ (Knowledge Organization)

3. องค์การสมรรถนะสูง (High Performance Organization)

4. BPR : Business Process Reengineering (Hammer & Champy)

เป็นเทคนิคการปรับปรุงองค์การ ซึ่งใช้เมื่อลูกค้ามีความต้องการมากขึ้น การแข่งขันมีสูงตลอดจนสถานการณ์มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และมีความไม่แน่นอนสูง Reengineering มีความหมายว่า การทบทวนความคิดพื้นฐานและการออกแบบกระบวนการใหม่โดยสิ้นเชิง เพื่อให้บรรลุผลการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่ในผลงาน องค์ประกอบที่สำคัญของ Reengineering คือ

  1. การออกแบบใหม่
  2. การปรับปรุงเครื่องมือการทำงานใหม่
  3. การปรับปรุงการทำงานใหม่