แนวคิด/ทฤษฎีที่น่าสนใจทางด้านวิจัย

Post date: 19-May-2011 01:30:25

1. การวิจัยที่เป็นวิทยาศาสตร์ (Scientific Research) หมายถึง การค้นหาหรือการศึกษาหาคำตอบต่อเหตุการณ์หรือพฤติกรรมบางอย่าง โดยอาศัยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Process) การวิจัยจึงเป็นการพิสูจน์ความจริงก่อนที่เราจะเชื่อในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งสอดคล้องกับหลักกาลามสูตร ที่สอนให้เราอย่าด่วนเชื่ออะไรหรือผู้ใดก่อนที่เราจะได้ทำการพิสูจน์ด้วยตัวเอง

2. วิธีวิจัย และข้อดีข้อเสียของแต่ละวิธี

  1. การวิจัยจากห้องสมุด
  2. การวิเคราะห์ข้อมูลจากแหล่งทุติยภูมิ
  3. การทดลอง
  4. การสังเกตุ
  5. การวิเคราะห์เนื้อหา
  6. การวิเคราะห์การปฏิสังสรรค์
  7. การสำรวจโดยการสุ่มตัวอย่าง: เป็นวิธีที่ได้รับความนิยมที่สุด แต่มีข้อเสียคือ อาจทำให้เกิดผลกระทบกับกลุ่มตัวอย่างทั้งในทางบวกและทางลบ เช่น ทำให้กลุ่มตัวอย่างต้องเสียเวลาในการตอบแบบสอบถาม เป็นต้น

3. กรอบแนวคิดในการวิจัย คือ ... กรอบแนวคิดในการวิจัยนั้น เป็นผลพวงที่ได้จากการทบทวนวรรณกรรม ตัวอย่างการเขียนกรอบแนวคิดในการวิจัย เช่น ถ้าผู้วิจัยต้องการทำการวิจัยเพื่อประเมินผลโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้า โดยต้องการวัดความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อโครงการ สามารถเขียนกรอบแนวคิดในการวิจัยได้ดังนี้

4. สมมติฐานวิจัย คือ ... สมมติฐานวิจัยที่ดีจะต้องมีอย่างน้อยสองตัวแปร คือ ตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม มีการระบุถึงทิศทางของความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทั้งสองตัวแปร และนำไปสู่การพิสูจน์ในอนาคต ตัวอย่างการตั้งสมมติฐาน (จากตัวอย่างโครงการเดิม) เช่น

  1. หญิง น่าจะมีความพึงพอใจต่อโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้ามากกว่า ชาย
  2. ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป น่าจะมีความพึงพอใจต่อโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้ามากกว่า ผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 40 ปี
  3. ผู้ที่มีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาทต่อเดือน น่าจะมีความพึงพอใจต่อโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้ามากกว่า ผู้ที่รายได้มากกว่า 15,000 บาทต่อเดือน

5. การสุ่มตัวอย่าง คือ ... มี 2 วิธี คือ ไม่ได้อาศัยความน่าจะเป็น และอาศัยความน่าจะเป็น โดยทั่วไปวิธีการสุ่มตัวอย่างที่ได้รับความนิยมคือ การสุ่มตัวอย่างที่อาศัยความน่าจะเป็น โดยจะเลือกใช้วิธีไหน จะต้องพิจารณาตามความเหมาะสมต่อไป

  1. การสุ่มตัวอย่างที่ไม่ได้อาศัยความน่าจะเป็น คือ... มี 5 วิธี ได้แก่ แบบบังเอิญ แบบโควต้า แบบเจาะจง แบบ Snow ball และแบบคำแนะนำ
  2. การสุ่มตัวอย่างที่อาศัยความน่าจะเป็น คือ ... มี 5 วิธี ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย การสุ่มตัวอย่างเป็นระบบ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น การสุ่มตัวอย่างตามกลุ่ม/พื้นที่ และการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน

6. ขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่เหมาะสมนั้น Neuman ได้ให้คำแนะนำไว้ดังนี้

ประชากรจำนวนต่ำกว่า 1,000 คน ให้ใช้กลุ่มตัวอย่าง 30% ของจำนวนประชากร

ประชากรจำนวน 10,000 – 150,000 คน ให้ใช้กลุ่มตัวอย่าง 15% ของจำนวนประชากร

จะสังเกตุว่า ข้อแนะนำของ Neuman นั้น ยังมีช่องว่างอยู่ ได้แก่ ช่วงประชากร 1,000 – 10,000 คน ด้วยเหตุนี้ ศ.ดร.พิชิต พิทักษ์เทพสมบัติ จึงได้ให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมไว้ว่า ถ้ามีประชากรจำนวน 1,000 – 10,000 คน ให้ใช้กลุ่มตัวอย่าง 20% ของจำนวนประชากร

7. การเขียนแบบสอบถาม ผู้วิจัยควรออกแบบแบบสอบถามให้... โดยผู้วิจัยควรดูข้อแนะนำในการเขียนคำถามวิจัย จากหนังสือ “ควรทำและไม่ควรทำ ในงานวิจัยทางสังคม” ของ ศ.ดร.พิชิต พิทักษ์เทพสมบัติ เช่น ไม่ควรใช้คำถามนำ (Leading Question) คำถามชี้ช่อง (Loading Question) คำถามที่เป็นการสมมติ (Hypothetical Question) คำถามที่มีมากกว่าหนึ่งคำถามในข้อเดียว (Double Barrel Question) หรือในคำถามหนึ่งข้อไม่ควรใช้คำเกิน 20 คำ เป็นต้น อีกข้อแนะนำหนึ่งที่สำคัญซึ่งผู้วิจัยควรจะตระหนักถึงอยู่เสมอในการเขียนคำถามวิจัย ได้แก่ ข้อแนะนำของ ศ.ดร.พิชิต พิทักษ์เทพสมบัติ 3 ประการ ดังนี้

  1. อย่าไปทำให้ข้อมูลที่ละเอียดอยู่แล้ว นั่นคือ ระดับช่วง (Interval Level) หรืออัตราส่วน (Ratio Level) หยาบลงเป็นระดับอันดับ (Ordinal Level) หรือกลุ่ม (Nominal Level) ตัวอย่างที่ผู้วิจัยมักทำผิดพลาด เช่น คำถามเกี่ยวกับ อายุ ที่เรามักเห็นผู้วิจัยทำเป็นช่องให้กลุ่มตัวอย่างเลือกตอบ เช่น ¨ น้อยกว่า 20 ปี ¨ 21-40 ปี ¨ 41-60 ปี ¨ มากกว่า 60 ปี เป็นต้น ซึ่งเป็นการทำให้ข้อมูลอายุที่อยู่ในระดับอัตราส่วน หยาบลงจนกลายเป็นระดับอันดับ ที่ถูกต้องควรออกแบบคำถามให้เป็น อายุ ____ ปี เพื่อให้กลุ่มตัวอย่างได้ใส่อายุที่ถูกต้องของตัวเองลงไป ซึ่งจะทำให้ข้อมูลอายุยังคงความละเอียดอยู่ในระดับอัตราส่วนเหมือนเดิม
  2. อย่าไปเอาคำตอบ “ไม่แน่ใจ” ไว้ตรงกลางเดี๋ยวจะผิดเป็นระบบ
  3. เมื่อถาม indirect, objective question แล้ว อย่าลืมถาม direct, subjective question ด้วย ตัวอย่างเช่น การศึกษาระดับความเครียดของพนักงานในองค์การแห่งหนึ่ง เนื่องจากคำว่า ความเครียด มีความเป็นนามธรรมสูง การจะทำการศึกษาได้นั้นจึงจะต้องแปลงคำว่า ความเครียด ให้กลายเป็นตัวแปรที่สามารถวัดได้ชัดเจนเสียก่อน เช่น ใช้คำถามว่า ท่านนอนหลับสนิทหรือไม่ ท่านรับประทานอาหารได้เป็นปกติหรือไม่ ท่านมีอาการปวดหัวบ่อยๆ หรือไม่ แทนการถามโดยตรงว่า ท่านมีความเครียดหรือไม่ เป็นต้น อย่างไรก็ดี สิ่งที่ผู้วิจัยต้องไม่ลืมก็คือ เมื่อถามคำถามทางอ้อมแล้ว ก็ควรที่จะถามคำถามทางตรงในตอนท้ายด้วย เช่น ใช้คำถามว่า ท่านคิดว่าท่านมีความเครียดหรือไม่ เป็นต้น

8. การรวบรวมข้อมูล มี 4 วิธี ได้แก่

  1. สัมภาษณ์ตัวต่อตัว
  2. สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์
  3. ส่งแบบสอบถามไปทางไปรษณีย์ สำหรับวิธีส่งแบบสอบถามไปทางไปรษณีย์นั้น ควรจะมีอัตราการตอบแบบสอบถามกลับมาไม่น้อยกว่า 80% การวิจัยนั้นจึงจะดูน่าเชื่อถือ
  4. เอามาให้ตอบถึงที่

9. การประมวลผล มี 2 วิธี ได้แก่ การประมวลผลด้วยมือ และ การประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ โดยใช้โปรแกรม SPSS

10. การวิเคราะห์และใช้สถิติ การวิเคราะห์ คือ .... หลักเกณฑ์ในการวิเคราะห์ มีดังนี้

  1. วัตถุประสงค์ 4 ข้อ
  2. การกระจายของข้อมูลตามกฎของ James A.Davis และข้อเสนอของ อ.พิชิต

11. Fallacy Trap : กับดักของงานวิจัย

  1. Fallacy of Composition : จริงใน Micro อาจไม่จริงใน Macro
  2. Fallacy of Division : จริงใน Macro อาจไม่จริงใน Micro
  3. Post-hoc Fallacy : เหตุและผลไม่สัมพันธ์กัน
  4. Tautology : ใช้คำซ้ำซาก ไม่มีความหมาย
  5. Faith : ใช้ความเชื่อส่วนตัวในการทำวิจัย
  6. Romanticism / Nostalgia : ถามคำถามที่เป็นความรู้สึกเปรียบเทียบอดีตกับปัจจุบัน