การวิเคราะห์สถานการณ์โดยตัวแบบ Core "Design School" Model of Strategy Formation

Post date: 18-Feb-2011 15:53:56

หนึ่งในแนวคิดเกี่ยวกับการวิเคราะห์สถานการณ์ที่สอดคล้องกับแนวคิดของซุนวู และได้รับการยอมรับไปทั่วโลกนั้น ได้แก่ แนวคิดของ Harvard Business School ซึ่งนำโดยไมเคิล อี.พอตเตอร์ (Michael E.Potter) ได้แก่ SWOT Analysis ซึ่งมีสาระสำคัญอยู่ที่การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมภายนอกกับสภาพแวดล้อมภายในองค์การ เพื่อนำมาใช้สร้างชุดของกลยุทธ์ โดยใช้ SWOT Matrix เป็นเครื่องมือในการช่วยสร้างสรรค์ชุดกลยุทธ์ขึ้นมา เพื่อนำเสนอให้ผู้บริหารได้ทำการตัดสินใจเลือกทางเลือกกลยุทธ์ที่จะนำพาองค์กรสู่ความสำเร็จ หรือแก้ไขวิกฤตขององค์การต่อไป

แนวทางในการทำ SWOT Analysis และ SWOT Matrix ให้กับองค์การ สามารถแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 ทำการทบทวนข้อมูลองค์การ ได้แก่ วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย วัตถุประสงค์ กลยุทธ์และกลวิธี รวมไปถึงโครงสร้างองค์การ และวัฒนธรรมองค์การ เพื่อให้ทราบทิศทางและนโยบายที่ผู้บริหารต้องการขับเคลื่อนองค์การไป และทราบบริบทแวดล้อมที่ควรนำมาใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาในขั้นตอนต่อๆ ไป อย่างไรก็ดี ในกรณีที่ผู้ทำการวิเคราะห์มีข้อมูลและความเข้าใจเกี่ยวกับองค์การดีอยู่แล้ว ขั้นตอนนี้สามารถข้ามไปได้

ขั้นตอนที่ 2 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก เพื่อประเมินโอกาส และอุปสรรคหรือข้อจำกัด ซึ่งถือเป็นปัจจัยหลักแห่งความสำเร็จขององค์การ (Key Success Factor)

การเริ่มต้นการจัดทำ SWOT Analysis ควรเริ่มทำการวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกก่อนวิเคราะห์ปัจจัยภายใน เนื่องจากปัจจัยภายนอกเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อสถานการณ์ภายใน และสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงปัจจัยภายในได้ นอกจากนี้ปัจจัยภายนอกเป็นปัจจัยที่องค์การควบคุมได้ยาก ในขณะที่ปัจจัยภายในสามารถควบคุมได้ง่ายกว่า กรอบแนวคิดแบบ Outside-In before Inside-Out ได้รับการยอมรับจากนักวางกลยุทธ์จำนวนมาก ยกตัวอย่างเช่น Philip Kotler กูรูด้านการตลาด ได้พูดถึงการทำ SWOT Analysis ในผลงานด้านการตลาดในช่วงหลัง อาทิเช่น Rethinking Marketing โดยได้เปลี่ยนคำเรียก SWOT Analysis เป็น TOWS Analysis เพื่อให้เห็นถึงลำดับการวิเคราะห์อย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น เป็นต้น

การวิเคราะห์ปัจจัยภายนอก ควรจะทำการวิเคราะห์ทั้งสภาพแวดล้อมทั่วไป และสภาพแวดล้อมของงาน สำหรับสภาพแวดล้อมทั่วไป ใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์ ได้แก่ PEST Analysis ซึ่งประกอบด้วยสภาพแวดล้อม 4 ด้านหลักๆ ดังนี้

  • P = Political components หมายถึง สภาพแวดล้อมทางการเมือง นโยบายหรือกฎเกณฑ์ของรัฐ
  • E = Economic components หมายถึง สภาพแวดล้อมด้านเศรษฐกิจมหภาค
  • S = Socio-cultural components หมายถึง สภาพแวดล้อมด้านสังคมและวัฒนธรรม
  • T = Technological components หมายถึง สภาพแวดล้อมด้านเทคโนโลยี รวมไปถึงวิทยาการต่างๆ

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของงาน ใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์ คือ Five Forces Model of Competition ของ Michael E.Porter ในการวิเคราะห์ถึงสภาพการแข่งขันและความร่วมมือ ดังนี้

  1. ภาวะคุกคามจากคู่แข่งปัจจุบัน ที่อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน
  2. ภาวะคุกคามจากคู่แข่งรายใหม่ที่มีศักยภาพ
  3. ภาวะคุกคามจากสินค้าหรือบริการทดแทน
  4. อำนาจต่อรองของผู้ซื้อ
  5. อำนาจต่อรองของผู้จัดหาสินค้าหรือวัตถุดิบ

จากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกข้างต้น สามารถสรุปเป็นโอกาสและอุปสรรคได้ ตามตารางดังนี้

ขั้นตอนที่ 3 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน เพื่อประเมินจุดแข็ง และจุดอ่อนขององค์การ เพื่อกลั่นกรองสมรรถนะที่โดดเด่นขององค์การ (Distinctive Competency)

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน ให้ทำการประเมินโดยพิจารณาถึงความพร้อมหรือความพอเพียงของทรัพยากรด้านต่างๆ ได้แก่ ระบบคน ระบบทุนและปัจจัยการดำเนินงาน และระบบสารสนเทศ ประกอบกับการพิจารณาสมรรถนะของการจัดการทรัพยากรโดยการประยุกต์ใช้กรอบแนวคิด Balanced Scorecard โดยการเปรียบเทียบจะเน้นที่ประวัติการดำเนินงานเป็นหลัก กล่าวคือ ใช้มาตรฐานการดำเนินงานในอดีตเป็นฐานในการวัด ดังแสดงได้ตารางนี้

ขั้นตอนที่ 4 การจำลองสถานการณ์ (Scenario Planning) ลงใน SWOT Matrix