สรุปรายชื่อนักคิดและแนวคิดสำคัญ

Post date: 08-Aug-2010 12:50:56

ในบทความนี้ ผมได้รวบรวมเอารายชื่อของนักคิด ที่อ.จินดาลักษณ์ได้พูดถึงในชั้นเรียน และแนวคิดที่สำคัญของนักคิดคนนั้น เอาไว้ให้ครับ

    1. Gulick & Urwick
      • นำเสนอขอบเขตของการจัดการภาครัฐ ได้แก่ POSDCORB (Planning / Organizing / Staffing / Directing / Coordinating / Reporting / Budgeting)
      1. Garson & Overman
      • นำเสนอขอบเขตของการจัดการภาครัฐให้เปลี่ยนจาก POSDCORB เป็น PAFHRIER (Policy Analysis / Financial management / Human Resource management / Information management / External Relations)
      1. Graham Allison
      • นำเสนอจุดเหมือนและจุดแตกต่างของการจัดการภาครัฐกับเอกชน โดยบอกว่าเหมือนกันในจุดที่ไม่ใช่ประเด็นสำคัญ ได้แก่ หน้าที่หลักในการบริหารจัดการที่เหมือนกัน เช่น POSDCORB แต่แตกต่างกันในหลากหลายด้าน และส่วนใหญ่จะอธิบายให้เห็นว่าเอกชนดีกว่าภาครัฐ
      1. Henry Mintzberg
      • นำเสนอแนวคิดที่สำคัญหลายอย่าง ได้แก่
        • องค์กร 4 ประเภทที่ค้ำยันสังคม ได้แก่ Privately owned organization (ภาคเอกชน), Publicly owned organization (ภาครัฐ), Cooperatively Owned Organization (กลุ่มสหกรณ์ หรือการรวมกลุ่มในรูปแบบอื่นๆ) และ Nonowned Organization (ไม่มีใครเป็นเจ้าของ เป็นองค์กรอิสระ)
        • หมวก 4 ใบที่คนในสังคมสวม ได้แก่ Customer (ผู้มาติดต่อ/ลูกค้า), Client (ผู้มารับบริการ), Citizen (ประชาชน) และ Subject (วัตถุ)
        • Models for Managing Government รูปแบบการปกครองขององค์การภาครัฐ 5 รูปแบบ ซึ่งองค์การภาครัฐแต่ละแห่งย่อมใช้การปกครองในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง Machine / Network / Performance-Control / Virtual-Government / Normative-Control
        • “Business is not all good, Government is not all bad” การจัดการภาคธุรกิจไม่ได้ดีไปทั้งหมด การจัดการภาครัฐก็ไม่ได้เลวไปทั้งหมด
        • ภาคธุรกิจสามารถเรียนรู้จากการจัดการภาครัฐได้เท่าๆ กับภาครัฐเรียนรู้จากการจัดการภาคธุรกิจ และทั้งภาครัฐและภาคธุรกิจ ต่างก็ต้องเรียนรู้จาก Cooperatively Owned Org. และ Nonowned Org. ด้วย
        • เราต้องภาคภูมิใจและส่งเสริมภาครัฐ เพื่อให้ภาครัฐมีความเข้มแข็ง
        • เราต้องการให้เกิดความสมดุลย์ของการบริหารจัดการ จากทุกภาคส่วนในสังคม
      1. Nicholas Henry
      • นำเสนอพัฒนาการของรัฐประศาสนศาสตร์ โดยเริ่มต้นจากความสัมพันธ์ของระบอบประชาธิปไตยกับข้าราชการประจำ (Big Democracy, Big Bureaucracy) และชี้ให้เห็นว่าแม้ Democracy กับ Bureaucracy จะมีแนวคิดที่แตกต่างกัน แต่จำเป็นต้องเติบโตไปด้วยกัน การพัฒนาการของรัฐประศาสนศาสตร์สามารถแบ่งออกได้เป็น 5 พาราไดม์
        • Paradigm I: The Politics/Administration Dichotomy – Woodrow Wilson เสนอให้แยกการเมืองออกจากการบริหาร และให้บริหารภาครัฐเหมือนภาคเอกชน
        • Paradigm II: The Principles of Administration – รัฐประศาสนศาสตร์แยกตัวออกจากรัฐศาสตร์ ช่วงแสวงหาความรู้ของสาขาวิชา
        • Paradigm III: PA as Political Science – รัฐประศาสนศาสตร์กลับไปอยู่กับรัฐศาสตร์
        • Paradigm IV: PA as Management – รัฐประศาสนศาสตร์อ้างอิงหลักวิชาการบริหารจัดการ
        • Paradigm V: PA as PA – รัฐประศาสนศาสตร์มีชุดความรู้เป็นของตัวเอง ไม่จำเป็นต้องพึ่งพารัฐศาสตร์หรือการจัดการอีกต่อไป จึงแยกตัวออกมาตั้งเป็นคณะรัฐประศาสนศาสตร์ได้สำเร็จ
      1. Jan-Erik Lane
      • นำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับองค์กรของรัฐ (Public Institution) และผลประโยชน์สาธารณะ (Public Interest)
        • คำนิยามของภาครัฐ 5 ความหมาย ได้แก่ (1) กิจกรรมและผลที่เกิดจากการดำเนินการของรัฐ (1’) การตัดสินใจเลือกทำหรือไม่ทำกิจกรรม (2/3) การบริโภค-ลงทุนในภาครัฐ การโยกย้ายโอนย้ายสิ่งที่ได้รับไป และ (4) สิ่งรัฐผลิตขึ้นมาหรือบริการสาธารณะ
        • ให้มองบริการสาธารณะเหมือนสินค้าบริการของเอกชน ต้องคำนึงถึงตลาดคือผู้รับบริการ หากผลิตบริการสาธารณะออกมาแล้วไม่มีผู้มาใช้บริการถือว่าเป็น Policy Failure
        • แบ่งสินค้าออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ Public Goods / Private Goods / Toll Goods (สินค้าสาธารณะที่คิดค่าบริการ เช่น ทางด่วน) / Common Pool Goods (สินค้าส่วนตัวที่เอามาใช้เพื่อประโยชน์สาธารณะ เช่น Car Pool)
        • ภาครัฐเป็นเรื่องของการคลังสาธารณะ คือ จัดเก็บรายได้สาธารณะ จัดสรรทรัพยากรธรรมชาติให้เท่าเทียม กระจายรายได้เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม สร้างสินค้าสาธารณะและให้ประชาชนเข้าถึงได้อย่างเสมอภาค