3. คำศัพท์และตัวเลขทางเศรษฐกิจ

Post date: 22-Jul-2010 08:07:45

บทความนี้ ขอรวบรวมคำศัพท์และตัวเลขที่จำเป็นทางเศรษฐกิจไว้บางส่วนครับ

GDP (Gross Domestic Products) ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ

  • เป็นตัวชี้วัดการทำงานตามบทบาทของตัวละครหลักในระบบเศรษฐกิจ
  • วัดเฉพาะการผลิตเพื่อใช้ในเชิงพาณิชย์ จึงเหมาะกับประเทศที่เจริญแล้ว
  • สนใจปริมาณผลผลิตภายในประเทศ ซึ่งอาจเกิดจากคนไทย หรือต่างชาติก็ได้
  • GDP = G + C + I + (X-M)
    • G = Government Expenditure ค่าใช้จ่ายภาครัฐ มาจากฝั่งรัฐบาล
    • C = Consumption การบริโภค มาจากฝั่งครัวเรือน (household)
    • I = Invesment การลงทุน มาจากภาคเอกชน
    • X = Export การส่งออก
    • M = Import การนำเข้า
  • การหาค่า Real GDP ต้องทำการปรับมูลค่าสินค้าเทียบกับมูลค่าในปี 2531 เพื่อไม่ให้มีตัวแปรอื่นมากระทบกับตัวเลขที่ต้องการ เช่น อัตราเงินเฟ้อ
  • G C I X M เรียกรวมกันว่า อุปสงค์มวลรวม การจัดการอุปสงค์มวลรวม (Demand Management Policy) เป็นแนวความคิดหลักของ Keynesian Economics
  • GDP นับเฉพาะการผลิตเชิงพาณิชย์เท่านั้น ไม่นับรวมถึงการผลิตเพื่อบริโภคเอง

GDP per Capita = GDP / Population

  • ดูว่าเติบโตหรือไม่ต้องดูที่ GDP growth rate คือ เปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา
  • ประเทศไทยมีการประมาณการว่า ถ้า GDP growth rate ลดลง 1% จะมีคนตกงานประมาณ 400,000 คน

GNP (Gross National Products) ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ

  • สนใจปริมาณผลผลิตที่เกิดจากคนไทยทั่วโลก
  • GNP = GDP + ปัจจัยการผลิตสุทธิจากต่างประเทศ
  • ปัจจัยการผลิตสุทธิจากต่างประเทศ = ค่าจ้างเงินเดือน ผลกำไรจากการลงุทนและรายได้จากทรัพย์สิน (ดอกเบี้ยและเงินปันผล) ที่คนชาตินั้นได้รับจากการทำงานและการลงทุนในต่างประเทศ หักด้วยรายได้ของชาวต่างประเทศในชาตินั้น
  • Real GNP = (GNP@year x 100) / เลขดัชนีราคา@year

NI (National Income) รายได้ประชาชาติ

  • NI = GNP - ภาษีทางอ้ิอมสุทธิ - ค่าเสื่อมราคา
  • ภาษีทางอ้อมสุทธิ = ภาษีทางอ้อม - เงินอุดหนุนที่รัฐบาลให้กับธุรกิจ

GRP (Gross Regional Products)

GPP (Gross Provincial Products)

GPP per capita

  • เป็นตัวชี้วัดการกระจายรายได้ของประเทศ

CPI (Consumer Price Index : CPI) ดัชนีราคาผู้บริโภค

  • วัดจากราคาสินค้าที่ผู้บริโภคใช้ในชีวิตประจำวัน

Inflation Rate อัตราเงินเฟ้อ

  • Inflation Rate 2552 = CPI2552 - CPI2551
  • CPI ต้องเป็นตัวเลขที่เปรียบเทียบกับฐานเดียวกัน
  • Inflation Rate ที่ได้เป็น Core Inflation ไม่รวมถึงผลของ Cost Push Inflation

ภาวะเงินเฟ้อ (Inflation)

  • หมายถึง ภาวะที่ราคาสินค้าทั้งตลาดปรับตัวสูงขึ้น
  • สาเหตุ
    • Demand Pull เศรษฐกิจดี ครัวเรือนมีรายได้ สินค้ามีจำกัด ราคาจึงสูงขึ้น
    • Cost Push ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ราคาสินค้าจึงต้องสูงขึ้น
  • การวัด
    • Core Inflation วัดเฉพาะ Demand Pull
    • Headline Inflation วัดทั้ง Demand Pull และ Cost Push

ภาวะเงินฝืด (Deflation)

  • หมายถึง ภาวะที่ราคาสินค้าทั้งตลาดปรับตัวลดลง
  • เกิดในช่วงที่เศรษฐกิจไม่ดี ครัวเรือนมีกำลังซื้อน้อย ผู้ขายลดราคาเนื่องจากต้องการระบายสินค้า

ภาวะเงินตึง (Tight Money)

  • หมายถึง ภาวะที่ความต้องการใช้เงินมีมาก แต่เงินในระบบมีน้อย
  • เกิดในช่วงเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว เอกชนต้องการลงทุน

ภาวะชะงักงันทางเศรษฐกิจ (Stagflation)

  • หมายถึง ภาวะที่เงินเฟ้อและเงินฝืดเกิดขึ้นพร้อมกัน
  • เกิดในช่วงที่เศรษฐกิจไม่ดี ครัวเรือนไม่มีกำลังซื้อ แต่ต้นทุนการผลิตสูง เช่น น้ำมันแพง ทำให้สินค้าไม่สามารถขายได้

ภาวะเงินเฟ้อรุนแรง (Hyper Inflation)

  • หมายถึง ภาวะที่เงินเฟ้อมากกว่า 100% ต่อปี

กับดักสภาพคล่อง (Liquidity Trap)

  • เกิดในสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ แต่รัฐบาลเลือกใช้นโยบายการเงินโดยลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อหวังกระตุ้นให้ภาคเอกชนเกิดการลงทุน แต่ภาคเอกชนไม่ลงทุนเนื่องจากสภาพเศรษฐกิจ

ปัจจัยการผลิตและผลตอบแทน

  • ที่ดิน (ทรัพยากรธรรมชาติ เช่น แร่ธาตุ ป่าไม้ น้ำ)
    • ค่าเช่า
  • ทุน (ปัจจัยการผลิตที่สร้างขึ้นมา เช่น โรงงาน เครื่องจักร เครื่องมือ)
    • ดอกเบี้ย
  • แรงงาน (การใช้แรงงานด้านกำลังกายและสติปัญญา)
    • ค่าจ้าง
    • เงินเดือน
  • การประกอบการ (การบริหารงานรับผิดชอบในการรวบรวมปัจจัยต่างๆ เพื่อการผลิตสินค้าและบริการ)
    • กำไร

วัฎจักรเศรษฐกิจ

  • รุ่งเรือง
  • ถดถอย
  • ตกต่ำ
    • ใช้เพิ่ม G
  • ฟื้นตัว
    • ใช้ลด i
    • ตามด้วยลด T