2. ตัวละครหลักในระบบเศรษฐกิจ

Post date: 21-Jul-2010 18:28:46

ในระบบเศรษฐกิจ ประกอบไปด้วย ตัวละครหลักที่ช่วยกันขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจ 3 ตัวละครหลัก ได้แก่ Households (ภาคครัวเรือน) Firms (ภาคเอกชน) และ Government (ภาครัฐ)

    1. Households
      • บทบาท: ทำงาน --> รับรายได้ --> เก็บออม --> บริโภค
      • การบริโภค (Consumption) : เพื่อให้เกิดประโยชน์และความพึงพอใจสูงสุด (Maximize Utility)
      • เงื่อนไขของการบริโภค: กำลังซื้อ และเหตุผล
        • ประโยชน์ใช้งาน
        • อารมณ์ความรู้สึก
        • ใช้จ่ายมาก เกิดการผลิด เกิดการจ้างงาน
      • ความสัมพันธ์ต่อระบบเศรษฐกิจ:
        • ต่อภาคเอกชน เมื่อครัวเรือนบริโภคมาก ก็จะทำให้เอกชนมีกำไรมาก ทำให้เอกชนเกิดการลงทุนขยายธุรกิจ และจ้างงานเพิ่มขึ้น ครัวเรือนมีงานทำมากขึ้น ทำให้มีรายได้และกำลังซื้อมากขึ้น จึงบริโภคมากขึ้น
        • ต่อภาครัฐ เมื่อครัวเรือนมีรายได้มาก ก็จะเสียภาษีมาก ทำให้รัฐมีงบประมาณมากขึ้น สามารถนำมาใช้พัฒนาประเทศได้มากขึ้น ทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น
      • การเพิ่มกำลังซื้อ:
        • ลดภาษี เป็นการลดรายจ่าย เสมือนมีรายได้และกำลังซื้อมากขึ้น
        • ทำให้เงินเฟ้อต่ำ สินค้าราคาถูก ปริมาณเงินที่เท่าเดิม สามารถบริโภคได้มากขึ้น
        • ทำให้เศรษฐกิจดี เอกชนขยายธุรกิจ มีการจ้างงานเพิ่ม รายได้ครัวเรือนเพิ่มขึ้นด้วย
        • เพิ่ม Productivity แรงงาน ทำให้มีความสามารถในการทำงานมากขึ้น เพิ่มผลผลิตให้กับนายจ้าง จึงได้รับค่าแรงเพิ่มขึ้น
          • การศึกษาขั้นพื้นฐาน
          • การฝึกอบรมฝีมือแรงงาน
          • การฝึกอบรมผู้บริหาร
      1. Firms
      • บทบาท: ทำการผลิต/การค้า --> ได้กำไร --> เก็บออม --> ลงทุน --> จ้างงาน
      • การลงทุน (Investment): เพื่อให้เกิดกำไรสูงสุด (Maximize Profit)
      • เงื่อนไขของการลงทุน: เงินทุน และเหตุผล
        • สภาพเศรษฐกิจ
        • ความต้องการซื้อ
        • ความคุ้มทุน
      • ความสัมพันธ์ต่อระบบเศรษฐกิจ:
        • ต่อภาคครัวเรือน เมื่อเอกชนมีกำไรมาก ก็จะมีความต้องการลงทุนเพิ่มมากขึ้น จึงเกิดการขยายธุรกิจ มีการจ้างพนักงานในสายการผลิต หรือพนักงานในร้านค้ามากขึ้น เกิดการจ้างงาน ทำให้ครัวเรือนมีรายได้มากขึ้น
        • ต่อภาครัฐ เมื่อเอกชนมีรายได้เพิ่มขึ้น ก็ต้องเสียภาษีให้รัฐมากขึ้น รัฐจึงมีงบประมาณในการพัฒนาประเทศและเศรษฐกิจมากขึ้น
      • การเพิ่มเงินทุน:
        • ลดภาษี ลดรายจ่าย ทำให้มีเงินทุนเพิ่มขึ้น
        • ลดดอกเบี้ย เพิ่มแรงจูงใจในการกู้ยืมเงินมาลงทุน ลดแรงจูงใจในการเก็บออม
        • ทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น เกิดความมั่นใจในการลงทุน ครัวเรือนมีรายได้มากขึ้น บริโภคมากขึ้น
        • เพิ่ม Productivity การบริหารจัดการ ทำให้ต้นทุนต่ำลง กำไรเพิ่มขึ้น
        • พัฒนาตลาดทุน เพิ่มทางเลือกให้เอกชนในการลงทุน และการหาแหล่งทุนที่มีต้นทุนต่ำมากขึ้น
      1. Government
      • บทบาท: บริหารประเทศ/เศรษฐกิจ --> จัดเก็บภาษี --> บริหารเงินคงคลัง --> ใช้จ่าย (ลงทุน/รายจ่ายประจำ)
      • การลงทุนภาครัฐ (Government Spending): เพื่อให้ประชาชนมีงานทำ มีรายได้ อยู่ดีกินดี มีความสุข (Maximize Welfare)
      • เงื่อนไขของการลงทุนภาครัฐ: งบประมาณ
      • ความสัมพันธ์ต่อระบบเศรษฐกิจ:
        • เมื่อภาครัฐลงทุนในสาธารณูปโภคพื้นฐาน ทำให้เกิดการจ้างงาน (เช่น ก่อสร้าง จนท.รัฐ) ทำให้ภาคครัวเรือนมีรายได้ เกิดการจับจ่ายใช้สอย เกิดกำไรให้กับภาคเอกชน เกิดการลงทุน เกิดการจ้างงาน
        • เมื่อภาครัฐเก็บภาษีเพิ่ม ครัวเรือนมีกำลังซื้อน้อยลง บริโภคน้อยลง เอกชนมีเงินทุนน้อยลง ลงทุนน้อยลง จ้างงานน้อยลง
      • การเพิ่มงบประมาณ:
        • เพิ่มภาษี เป็นการเพิ่มรายได้ให้ภาครัฐโดยตรง
          • เพิ่มอัตราภาษี
          • ขยายฐานภาษี
          • ปรับโครงสร้างภาษี
        • ทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น เอกชนมีกำไรมากขึ้น จ่ายภาษีมากขึ้น ครัวเรือนมีรายได้มากขึ้น จ่ายภาษีมากขึ้น
        • เพิ่ม Productivity การจัดเก็บภาษี ทำให้จัดเก็บภาษีได้ครบถ้วน
        • เพิ่ม Productivity การบริหารจัดการ ลดต้นทุน งบประมาณเหลือมาก
        • หางบประมาณจากแหล่งอื่น
          • ธุรกิจใต้ดิน
          • หวยใต้ดิน
          • คาสิโน
        • กู้ยืมเงิน
          • ภายในประเทศ
          • ภาคเอกชน
          • ภาคครัวเรือน
          • ภายนอกประเทศ
          • ธนาคารโลก
          • IMF
          • องค์กรการเงิน ตปท.
          • ภาคเอกชน ตปท.
        • รูปแบบ
          • พันธบัตรรัฐบาล (ตราสารหนี้)
          • ตั๋วเงินคลัง