ความหมายของ Public Management

Post date: 09-Aug-2010 12:26:35

“Public Management” หมายถึง แนวคิดในการนำเอาหลักการบริหารงานแบบเอกชนมาใช้ในการบริหารงานหน่วยงานภาครัฐ หรือปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริหารงานภาครัฐให้เป็นเหมือนเอกชน เกิดจากการที่หน่วยงานภาครัฐเล็งเห็นถึงปัญหาของการทำงานของหน่วยงานภาครัฐภายใต้กรอบของ Public Administration และได้เห็นผลความสำเร็จของเอกชนอันเนื่องมาจากการนำเอาหลักการบริหารต่างๆ ตามกรอบของ Public Management มาใช้

สำหรับในมุมมองของนักวิชาการ มีความคิดเห็นที่แตกต่างกันไปหลายด้าน ทั้งที่คิดว่า Public Management มีขอบเขตที่กว้างกว่า Public Administrator (Henri Fayol) หรือคิดว่า Public Management เหมือนหรือเป็นเรื่องเดียวกันกับ Public Administrator และที่คิดว่า Public Management เป็นเพียงส่วนหนึ่งของ Public Administrator (Ott, Hyde และ Shafritz)

Donald F.Kettl ได้นำเสนอขอบเขตของ Public Management ว่าเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ การเพิ่ม Productivity ของการทำงานของหน่วยงานภาครัฐ การใช้กลไกตลาด การให้บริการกับประชาชนในฐานะลูกค้าที่มารับบริการ การกระจายอำนาจ (Decentralization) ลงไปสู่ท้องถิ่น และการให้ความสำคัญกับการวัดผลสัมฤทธิ์ของงาน

ในความเข้าใจของผมเห็นว่า Public Management เป็นส่วนหนึ่งของ Public Administrator ซึ่งทั้งสองแนวคิดต่างก็มีข้อดีข้อเสียในตัว การที่จะบริหารจัดการประเทศได้อย่างดีเพื่อให้เกิดความผาสุกของประชาชนนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องใช้กรอบความคิดทั้งของ Public Management และ Public Administrator ไปควบคู่กัน โดยพิจารณาจากบริบทของสังคมไทยให้เหมาะสม เช่น การนำเอาแนวความคิดเรื่องการกระจายอำนาจมาใช้เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารงาน แต่เพิ่มความเข้มข้นในการตรวจสอบผู้ที่ได้รับมอบอำนาจ หรือการปรับเปลี่ยนบทบาทของภาครัฐให้เป็นเพียงผู้กระตุ้นให้เกิดการบริการ (Catalyst) แล้วให้เอกชนเป็นผู้รับผิดชอบด้านการให้บริการประชาชนในบริการสาธารณะบางประเภท เช่น รถเมล์ รถไฟ โทรศัพท์ เป็นต้น