ขาหยั่ง

ก. ลักษณะทั่วไป

         ๑. ปก.๙๓ ใช้ขาหยั่ง บ.๓ ขาหยั่งนี้เป็นขาหยั่ง ๓ ขาพับได้  ใช้สำหรับตั้งยิงต่อที่หมายพื้นดินขาหยั่ง ๓ ขาของ ปก.๙๓ มี ๒ ท่อน คือท่อนนอกและท่อนใน ท่อนในสามารถเลื่อนเข้าออกในขาหยั่งท่อนนอกได้  เพื่อ จัดระยะสูงต่ำของขาหยั่ง โดยปกติมักจะตั้งยิงโดยขาหยั่งหน้าทำมุม ๖๐ องศา กับพื้นดินและขาหยั่งท่อนในทั้ง ๓ เลื่อนเข้าข้างในขาหยั่งท่อนนอกจนสุด การตั้งขาหยั่งเช่นนี้จะทำให้หัวขาหยั่งสูงจากพื้นดิน ๑๐ - ๑๒ นิ้ว การ เพิ่มความสูงของขาหยั่งขึ้นไปนี้  ถึงแม้ว่าจะทำให้ความทรงตัวของขาหยั่งน้อยลงไปก็ตาม แต่ทว่าในการเพิ่ม ความสูงของขาหยั่งนี้ จำเป็นต้องขยายขาหยั่งให้แยกออกไปซึ่งเป็นการเพิ่มความทรงตัวไว้ได้ดีพอ นอกจากนั้น ยังมีเครื่องประกอบสำหรับการยิงต่อสู้อากาศยานได้อีกด้วย

         ๒. ขาหยั่งมีส่วนประกอบที่สำคัญ ๆ ดังต่อไปนี้

              - หัวขาหยั่ง

              - ขาหยั่ง

              - เครื่องส่ายปืน

              - เครื่องให้มุมทางสูง


ข. หัวขาหยั่ง หัวขาหยั่งมีรูปร่างลักษณะและมีส่วนประกอบที่สำคัญดังต่อไปนี้

         ๑. ปลอกหัวขาหยั่ง ปลอกหัวขาหยั่งทำด้วย บรอนซ์  ติดอยู่ในรูกลวงของขาหยั่งทำหน้าที่รองเดือยรับ โครงปืน

         ๒. เครื่องยึดโครงรับปืน เครื่องยึดโครงรับปืนติดอยู่ตอนใต้ของหัวขาหยั่ง  เครื่องยึดโครงรับปืนนี้ทำ หน้าที่ยึดโครงรับปืนให้ติดแน่นอยู่กับหัวขาหยั่ง

 

ค. ขาหยั่ง

         ขาหยั่ง บ.๓ มี ๒ ท่อน  คือขาหยั่งท่อนนอกและขาหยั่งท่อนใน  ขาหยั่งท่อนนอกทำด้วยท่อนเหล็กกลม ตอนหัวยึดติดกับหัวขาปยั่งตอนปลายเจาะรูกลวงเพื่อรับขาหยั่งท่อนในและเลื่อนท่อนในเข้าออกในขณะจัดความ ยาวของขาหยั่ง ขาหยั่งท่อนในทำด้วยท่อเหล็ก ตอนปลายเชื่อมติดพลั่วขาหยั่งตอนหัวสอนเข้าไปในขาหยั่งท่อน นอก

ง. เครื่องให้มุมทางสูง

         เครื่องให้มุมทางสูงมีส่วนประกอบดังนี้ หัวของเครื่องให้มุมทางสูงติดอยู่กับพนังใต้ห้องลูกเลื่อน ส่วนล่าง ติดอยู่กับคานมาตรามุมส่ายเครื่องให้มุมทางสูงของขาหยั่ง  สามารถเลื่อนมุมทางสูงได้  ๒๐๐  มิลเลียม  แผ่น มาตรามุมสูงติดอยู่ที่ควงสูง นอกจากนั้นยังมีมาตรามุมสูงขีดไว้ที่จานเลื่อนมุมสูงอีก ๕๐ มิลเลียม  ถ้าหากมุมจานเลื่อนมุมทางสูงไปจนกระทั่งได้ยินเสียง "แกร๊ก" ๑ ครั้งแล้ว มุมทางสูงจะเปลี่ยนไป ๑ มิลเลียม  ถ้าหมุนจานเลื่อนมุมทางสูงไปตามเข็มนาฬิกาจะทำให้ทางสูงลดลง ถ้าหมุนจานเลื่อนมุมทางทวนเข็มนาฬิกาจะทำให้มุมทางสูงเพิ่มขึ้นอีก

จ. เครื่องให้มุมส่าย

         การส่ายปืนจะกระทำได้โดยเลื่อนเรือนเครื่องให้มุมทางสูงไปตามคานมาตรามุมส่ายในเมื่อต้องการจะ ส่ายปืนให้คลายคันบังคับเรือนเครื่องให้มุมทางสูงออกแล้วเลื่อนเรือนเครื่องให้มุมทางสูงไปตามที่ต้องการ  ตรา 

มุมส่ายบนคานมาตรามุมส่ายนี้แบ่งไว้  ๔๐๐ มิลเลียม  นอกจากมาตรามุมส่ายบนคานมาตรามุมส่ายแล้ว  ยังมี มาตรามุมทิศซึ่งแบ่งไว้ที่จานมุมส่ายอีก ๕๐ มิลเลียมแล้วให้ส่ายปืนด้วยจานมุมส่าย  ถ้าหมุนจานมุมส่ายต่อไปจน กระทั่งได้ยินเสียง "แกร๊ก" ๑ ครั้ง แล้วปืนจะส่ายไป ๑ มิลเลียม

ฉ. รายการขนาดน้ำหนักของขาหยั่ง

         ๑. น้ำหนัก

              - ขาหยั่งหนัก ๑๘.๔ กก.(๔๐.๕๐ ปอนด์)

              - เครื่องให้มุมทางสูงหนัก ๑.๙ กก.(๔.๐๐ ปอนด์)

         ๒. ขนาด

              - ความกว้างของขาหยั่งหน้าถึงขาหยั่งหลัง ๑๓๒.๘ ซม.(๕๒.๐๐ นิ้ว)

              - ความกว้างของขาหยั่งหน้าถึงขาหยั่งหลัง (ขยายขาหยั่งท่อนใน) ๑๖๙.๒ ซม.(๗๑.๐๐ นิ้ว)

              - ความกว้างของขาหยั่งซ้ายถึงขาหยั่งขวา ๑๑๒.๘ ซม.(๔๔.๐๐ นิ้ว)

              - ความกว้างของขาหยั่งซ้ายถึงขาหยั่งขวา (ขยายขาหยั่งท่อนใน) ๑๕๒ ซม.(๖๐.๐๐ นิ้ว)

ช. วิธีถอดเครื่องให้มุมทางสูง ให้ปฏิบัติดังนี้.-

         ๑. คลายคันบังคับเรือนเครื่องให้มุมทางสูงออกแล้วถอดเครื่องให้มุมทางสูงออกจากคานมาตรามุมส่าย

         ๒. ดึงแหนบเหล็กยึดเกลียวเลื่อนมุมทางสูงอันล่างออกจากเหล็กเหนียว เลื่อนมุมทางสูงโดยตอกให้หลุดไปข้างหน้า

         ๓. คลายเรือนเครื่องให้มุมทางสูงออกจากเกลียวเลื่อนมุมทางสูงอันล่าง

         ๔. ถอดปลอกเกลียวยึดแป้นกันเกลียวเลื่อนมุมทางสูงอันล่างออก

         ๕. คลายเกลียวเลื่อนมุมทางสูงอันบนออก

         ๖. ถอดเกลแยวกันแหวนบังคับเฟืองเลื่อนมุมสูงออก

         ๗. ถอดเกลียวเลื่อนมุมทางสูงอันล่างออกจากควงมุมทางสูง

         ๘. ใช้ไขควงแงะเข็มชี้มาตรามุมทางสูงออก

         ๙. กดเฟืองควงมุมทางสูงออกทางล่าง (ระวังกระเดื่องบังคับเฟืองมุมทางสูงจะกระเด็นหลุดหาย)

         ๑๐. ถอดเครื่องบังคับเฟืองมุมทางสูงและแหนบออก

         ๑๑. ถอดแป้นเกลียวยึดแกนควงส่าย และแป้นเกลียวยึดควงส่ายออก

         ๑๒. ถอดควงส่ายออก (ระวังลิ่มแกนควงส่ายจะหลุดหาย)

         ๑๓. ถอดเกลียว เลื่อนมุมทางสูงอันบนออกจากโครง เกลียวเลื่อนมุมทางสูง

         ๑๔. ถอดโซ่สลักยึดปืนออกจากสลักยึดปืน

ซ. วิธีถอดขาหยั่ง

         ๑. ถอดควงยึดคานมาตรามุมส่ายออก แล้วถอดคานมาตรามุมส่ายออกจากขาหยั่ง

         ๒. ถอดควงยึดขาหยั่งหลังซ้ายและขวาออก แล้วถอดขาหยั่งหลังซ้ายและขวาออกจากหัวขาหยั่ง

         ๓. ตอกสลักกันแป้นเกลียวยึดขาหยั่งหน้าออก แล้วคลายแป้นเกลียวยึดขาหยั่งหน้าออก

         ๔. ถอดควงยึดขาหยั่งหน้าออก

         ๕. ตอกสลักยึดคันแป้นเกลียวควงยึดขาหยั่งหน้าออก แล้วถอดด้ามแป้นเกลียวควงยึดขาหยั่งหน้าออก

         ๖. ถอดขาหยั่งหน้าออกจากหัวขาหยั่ง

         ๗. ถอดหมุดเกลียวยึ่ดขาหยั่งท่อนล่างออกแล้วคลายคันบังคับขาหยั่งท่อนล่างออก

         ๘. ถอดขาหยั่งท่อนล่างออกจากหัวขาหยั่งท่อนบน

         ๙. ถอดสลักแป้นเกลียวคันบังคับขาหยั่งท่อนล่างออก

         ๑๐. ถอดคันบังคับขาหยั่งท่อนล่างออก

         ๑๑. ตอกสลักคันบังคับขาหยั่งท่อนล่างออก แล้วถอดคันบังคับขอยึดขาหยั่งท่อนล่างออก

         ๑๒. ถอดสลักขอยึดปลอกรับคานมาตรามุมส่ายออก แล้วถอดขอยึดคานมาตรามุมส่ายออก

         ๑๓. ปลดโครงรับปืนออกจากหัวขาหยั่ง

         ๑๔. ถอดหมุดเกลียวยึดครอบกลอนโครงรับปืนออก

         ๑๕. ตอกสลักคันปลดกลอนโครงรับปืนออก

         ๑๖. ถอดกลอนโครงรับปืน และแหนบกลอนโครงรับปืนออก

หมายเหตุ

         วิธีถอดขาหยั่งซึ่งได้อธิบายมานี้เป็นการถอดโดยละเอียด ซึ่งเกินความจำเป็นที่จะต้องถอดคุมเพื่อทำ ความสะอาด ฉะนั้นในการทำความสะอาดจึงไม่จำเป็นจะต้องถอดขาหยั่ง และควรจะทำการถอดก็ต่อเมื่อมีความจำเป็นจะต้องเปลี่ยนชิ้นส่วนของขาหยั่งเท่านั้น

ฌ. วิธีคุม  วิธีคุมให้ทำกลับกันกับการถอด

ญ. วิธีตรวจขาหยั่ง

         ๑. ตรวจควงรับปืน และแป้นเกลียวควงยึดปืนต้องไม่สึกหรือคด สลักแป้นเกลียวควงยึดต้องไม่หลุดหาย

         ๒. ตรวจขาหยั่งว่าสึก แตกร้าวหรือไม่

         ๓. ตรวจการทำงานของโครงรับปืน และกลอนโครงรับปืนต้องไม่อ่อนล้า คันปลดกลอนโครงรับปืนต้องแน่นสนิทไม่หลวมคลอน

         ๔. หมุดเกลียวยึดครอบกลอนโครงรับปืนต้องไม่หลวมคลอน

         ๕. ขาหยั่งต้องไม่คดงอหรือบุบสลาย ขาหยั่งท่อนล่างต้องเลื่อนเข้าออกได้สะดวกตรวจขอยึดขาหยั่งท่อนล่างและแหนบคันบังคับกับขอยึดขาหยั่งท่อนล่างและตรวจรูรับขอยึดขาหยั่งท่อนในบนขาหยั่งท่อนในตรวจการ ทำงานของคันบังคับขาหยั่งท่อนในและเกลียวของคีมบังคับขาหยั่งท่อนใน ขาหยั่งท่อนในต้องเรียบร้อยไม่เป็นสนิม

         ๖. การตรวจการทำงานของควงยึดขาหยั่งหน้า เฟืองหัวขาหยั่งต้องไม่สึกหรอและเมื่อขันควงยึดขาหยั่งหน้าแน่นแล้วต้องสนิทกับเฟืองขาหยั่งหน้า หมุดเกลียวยึดเฟืองหัวขาหยั่งหน้าต้องแน่นต้องแน่นไม่หลวมคลอน สลักกันแป้นเกลียวขาหยั่งหน้าและสลักด้านแป้นเกลียวควงยึดขาหยั่งต้องแน่นสนิทจนไม่หลวมคลอน

         ๗. ตรวจการพับขาหยั่ง ตรวจปลอกกันขาหยั่งหลังและควงยึดปลอกกันขาหยั่งหลัง  ปลอกรับคานมาตรามุมส่ายต้องเคลื่อนที่ได้สะดวกและขอยึดปลอกรับคานมาตรามุมส่ายต้องยึดปลอกรับคานมาตรามุมส่ายแน่นคานมาตรามุมส่ายต้องไม่คดงอ หรือบุบควงยึดคานมาตรามุมส่ายไม่หลวมคลอน ตรวจพลั่วขาหยั่งว่ามีรอยชำรุดแตกร้าวหรือไม่

         ๘. เครื่องให้มุมทางสูงต้องไม่มีรอบบุบหรือคดงอ ถอดเครื่องให้มุมทางสูงออกจากปืนโดยถอดสลักยึดปืนออกแล้วลองหมุนควงสูงดู และสังเกตว่าควงหมุนเลื่อนที่ได้เรียบร้อยดีหรือไม่ เกลียวเลื่อนมุมทางสูงทั้งสองอันต้องไม่หลวมคลอน สลักยึดปืนต้องไม่สึกหรอ และหลวมคลอนตรวจการทำงานของเหล็กยึดเกลียวเลื่อนมุมทางสูงอันล่าง

         ๙. หมุดกับแหนวเกลียวบังคับเฟืองควงสูง ต้องแน่นเรียบร้อง และการตรวจการทำงานของกระเดื่อง บังคับเฟืองควงมุมทางสูงตรวจเข็มชี้มาตรามุมทางสูง

         ๑๐. ตรวจดูว่าเครื่องให้มุมทางสูงสามารถเคลื่อนที่ไปมาบนคานมาตรามุมส่ายได้เรียบร้อยหรือไม่คัน บังคับเครื่องให้มุมสูงต้องทำงานได้เรียบร้อย ตรวจการทำงานของเฟืองบังคับควงส่าย