บทที่ ๑ คุณลักษณะและข้อมูลโดยทั่วไป

บทที่ ๑

คุณลักษณะและข้อมูลโดยทั่วไป

           ๑  คุณลักษณะ

           เครื่องยิงลูกระเบิด ขนาด  ๖๐  มม. เอ็ม ๒๒๔ เป็นเครื่องยิงลูกระเบิดขนาดเบา ออกแบบให้ทำการยิงด้วยมุมยิงใหญ่ (มุมสูงตั้งแต่ ๘๐๐ มิลเลียมขึ้นไป) มีลักษณะทั่วไปดังนี้คือ

                  ๑.๑  มีน้ำหนักเบา

                  ๑.๒ มีความคล่องตัวสูง

                  ๑.๓ ง่ายต่อการปรนนิบัติบำรุง

                  ๑.๔ ส่องสว่างได้ด้วยตัวเอง

                  ๑.๕ ทำการยิงโดยวิธีใช้มือถือได้

                  ๑.๖ ไม่มีเกลียวภายในลำกล้อง

           ๒  ส่วนประกอบหลักที่สำคัญ แบ่งออกเป็น ๔ ส่วน คือ

                  ๒.๑  ลำกล้อง เอ็ม ๒๒๕

                  ๒.๒ ขาหยั่ง เอ็ม ๑๗๐

                  ๒.๓ แผ่นฐาน เอ็ม ๗ (วงกลม)และแผ่นฐาน เอ็ม ๘ (สี่เหลี่ยม)

                  ๒.๔ กล้องเล็ง เอ็ม ๖๔ และ เอ็ม ๖๔ เอ ๑


๓  ข้อมูลทั่วไป

                  ๓.๑  น้ำหนัก

                         ๓.๑.๑ เครื่องยิงฯ พร้อมอุปกรณ์

                                 -  การยิงแบบปกติ (ใช้ขาหยั่ง)      ๔๖.๕๐ ปอนด์ (๒๑.๑ กก.) 

                                 -  การยิงแบบใช้มือถือ                     ๑๘ ปอนด์ (๘.๒ กก.)

                         ๓.๑.๒ ลำกล้อง เอ็ม ๒๒๕

                                 -  น้ำหนัก                                ๑๔.๔ ปอนด์ (๖.๕ กก.)

                                 -  ความยาว                                    ๔๐  นิ้ว  (๑ เมตร)

                         ๓.๑.๓ ขาหยั่ง เอ็ม ๑๗๐

                                 -  น้ำหนัก                                    ๑๕.๒ ปอนด์ (๖.๙ กก.)

                                 -  ความยาวเมื่อพับเก็บ                     ๒๘  นิ้ว (๐.๗ เมตร)

                                 -  ย่านการส่ายทางทิศ                      ๒๕๐ มิลเลียม (๑ รอบควงส่าย= ๑๐ มิลเลียม)

                                 -  ย่านการยกมุมทางสูง              ๘๐๐–๑,๕๑๑ มิลเลียม (๑ รอบควงสูง=๑๐ มิลเลียม)

                         ๓.๑.๔ แผ่นฐาน

                                 -  เอ็ม ๗ (วงกลม) น้ำหนัก         ๑๔.๔  ปอนด์ (๖.๕ กก.)

                                 -  เอ็ม ๘ (สี่เหลี่ยม) น้ำหนัก         ๓.๖  ปอนด์ (๑.๖ กก.)

                         ๓.๑.๕ กล้องเล็ง เอ็ม  ๖๔ และ เอ็ม ๖๔ เอ ๑

                                 -  น้ำหนัก                                  ๒.๕  ปอนด์ (๑.๑ กก.)

                                 -  ย่านการมองเห็น                    ๓๐๒  มิลเลียม (๑๗ องศา)

                                 -  กำลังขยาย                              ๑.๕  เท่า

                                 -  เครื่องให้แสงสว่างใช้แก๊ส Tritium (H 3) อายุการใช้งาน ๔-๖ ปี

                  ๓.๒ ระยะยิง  ใกล้สุด  ๗๐  เมตร (๓๒๑ ฟุต)  ไกลสุด  ๓,๔๙๐  เมตร (๑๑,๕๑๗ ฟุต)

                         ๓.๒.๑ ลูกระเบิดยิงชนิดแรงสูง (HE) เอ็ม ๗๒๐ และ เอ็ม ๘๘๘

                                 -  เมื่อทำการยิงแบบปกติ ระยะยิง  ๓,๔๙๐  เมตร

                                 -  เมื่อทำการยิงแบบใช้มือถือ ระยะยิง  ๑,๓๐๐ เมตร

                         ๓.๒.๒ ลูกระเบิดยิงชนิดแรงสูง (HE) เอ็ม ๔๙ เอ ๑

                                 -  เมื่อทำการยิงแบบปกติ ระยะยิง  ๑,๙๕๐ เมตร

                                 -  เมื่อทำการยิงแบบใช้มือถือ ระยะยิง ๑,๓๐๐ เมตร

                         ๓.๒.๓ ลูกระเบิดยิงชนิดควัน (WP) เอ็ม ๓๐๒ เอ ๑

                                 -  เมื่อทำการยิงแบบปกติ ระยะยิง  ๑,๖๒๕ เมตร

                                 -  เมื่อทำการยิงแบบใช้มือถือ ระยะยิง  ๑,๒๐๐ เมตร

                         ๓.๒.๔ ลูกระเบิดยิงชนิดส่องแสง (ILL) เอ็ม ๘๓ เอ ๓

                                 -  เมื่อทำการยิงแบบปกติ ระยะยิง  ๑,๐๐๐ เมตร

                                 -  เมื่อทำการยิงแบบใช้มือถือ ระยะยิง  ๘๐๐ เมตร

                  ๓.๓ อัตราเร็วในการยิง

                         ๓.๓.๑ ลูกระเบิดยิงชนิดแรงสูง (HE) เอ็ม ๗๒๐ และ เอ็ม ๘๘๘

                                 -  อัตราเร็วในการยิงสูงสุด  ๓๐ นัด/นาที (ยิงติดต่อได้นาน ๔ นาที)

                                 -  อัตราเร็วในการยิงต่อเนื่อง  ๒๐ นัด/นาที

                         ๓.๓.๒ ลูกระเบิดยิง เอ็ม ๔๙ เอ ๔ เอ็ม ๘๓ เอ ๓ และ เอ็ม ๖๙

                                 -  อัตราเร็วในการยิงสูงสุด ๑ นาทีแรก            ๓๐ นัด/นาที

                                 -  อัตราเร็วในการยิง  ๔ นาทีต่อมา                 ๑๘ นัด/นาที

                                 -  อัตราเร็วในการยิงต่อเนื่อง                            ๘ นัด/นาที

           ๔  การทำงานของเครื่องยิงลูกระเบิดขนาด  ๖๐  มิลลิเมตร เอ็ม ๒๒๔

                  ๔.๑ การยิงโดยวิธีปล่อยลงทางปากลำกล้อง (แบบปกติ)

                         ๔.๑.๑ ใช้มือจับที่ตัวลูกระเบิดยิง ให้หัวลูกระเบิดยิงอยู่ด้านบน (1) ค่อยๆ หย่อนทางด้าน    หางนำทิศของลูกระเบิดยิงลงที่ปากลำกล้องเครื่องยิงฯ (2) ตั้งคันบังคับการยิงไว้ที่ D (3) คือการยิงโดยวิธีปล่อยลงทางปากลำกล้อง


๔.๑.๒ ลูกระเบิดจะเลื่อนลงไปในลำกล้องด้วยน้ำหนักของตัวมันเอง จนกระทั่งส่วนบรรจุหลัก  ที่อยู่ด้านหางของลูกระเบิดยิง (4) กระแทกเข้ากับเข็มแทงชนวนที่ติดอยู่กับฐานของลำกล้อง (5) 

๔.๑.๓ ส่วนบรรจุหลักเกิดลุกไหม้แล้วลุกลามไปยังส่วนบรรจุเพิ่ม เกิดระเบิดเป็นแก๊ส (6) ผลักดันให้ลูกระเบิดถูกขับออกไปทางปากลำกล้องอย่างรวดเร็ว


๔.๑.๔ ลูกระเบิดยิงที่ถูกขับออกไป จะรักษาทิศทางด้วยหางนำทิศ ที่อยู่ทางด้านท้ายของ      ลูกระเบิดยิง (7)


๔.๒ การยิงโดยวิธีลั่นไก (แบบปกติ) 

ข้อควรระวัง

           การลั่นไกโดยไม่มีลูกระเบิดยิงอยู่ในลำกล้องอาจทำให้กระเดื่องไกชำรุดได้ การลั่นไกโดยไม่มีลูกระเบิดยิงอยู่ในลำกล้องจะกระทำได้เฉพาะในการตรวจอาวุธอย่างเป็นทางการเท่านั้น

                         ๔.๒.๑  ตั้งคันบังคับการยิงไว้ที่ T (1) คือการยิงโดยวิธีลั่นไก

                         ๔.๒.๒ ใช้มือจับที่หัวลูกระเบิดยิง ให้หัวลูกระเบิดยิงอยู่ด้านบน (2) แล้วค่อย ๆ หย่อนลูกระเบิดยิงโดยให้ทางด้านหางนำทิศลงที่ปากลำกล้องเครื่องยิงฯ

                         ๔.๒.๓ ลูกระเบิดยิงจะเลื่อนลงไปในลำกล้อง (3) ด้วยน้ำหนักของตัวมันเอง จนถึงฐานของ

ลำกล้อง

                         ๔.๒.๔ ลูกระเบิดยิงจะถูกยิงออกไปต่อเมื่อบีบไกที่เครื่องลั่นไก (4)

                         ๔.๒.๕ การลั่นไกเมื่อยิงลูกระเบิดยิงจะทำได้ทั้งการยิงแบบปกติและการยิงแบบใช้มือถือ


๔.๓ การยิงแบบใช้มือถือ

                         ๔.๓.๑ วางแผ่นฐาน เอ็ม ๘ ลงบนพื้นดินที่ไม่แข็งหรืออ่อนจนเกินไป โดยให้ลาดด้านหน้าแผ่นฐาน ชี้ไปยังทิศทางยิง ประกอบลำกล้องเข้ากับเบ้ารับเดือยท้ายลำกล้องที่แผ่นฐาน ใช้มือซ้ายกำรอบลำกล้อง มือขวากำรอบด้ามมือถือ


๔.๓.๒ การยิงนัดแรกให้ตั้งคันบังคับการยิงไว้ที่  “D” นัดต่อไป ให้ตั้งคันบังคับการยิงไว้ที่ “T” 

๕  รายละเอียดของส่วนประกอบ

                  ๕.๑ ลำกล้อง เอ็ม ๒๒๕

ภายในลำกล้องเรียบไม่มีเกลียว ด้านท้ายของลำกล้องปิดไว้ด้วยเครื่องปิดท้ายลำกล้อง ส่วนล่างของลำกล้องด้านนอกมีครีบระบายความร้อน ซ้อนเป็นชั้นเกลียวลดหลั่นกัน เพื่อช่วยระบายความร้อนของลำกล้องขณะทำการยิง  ที่ท้ายลำกล้องมีด้ามหิ้วและเครื่องลั่นไก  เครื่องลั่นไกประกอบด้วย ไก  คันบังคับการยิงและเข็มแทงชนวน ที่บริเวณลำกล้อง มีร่องรับปลอกรัดลำกล้องอยู่ ๒ ตำแหน่ง คือ ตำแหน่งที่อยู่ด้านล่างใช้ประกอบกับขาหยั่งเมื่อยิงด้วยมุมสูงตั้งแต่ ๑,๑๐๑ - ๑,๕๑๑ มิลเลียม และตำแหน่งที่อยู่ด้านบน ใช้ประกอบกับขาหยั่ง เมื่อยิงด้วยมุมสูงตั้งแต่ ๘๐๐ - ๑,๑๐๐ มิลเลียม ด้านขวาของเครื่องปิดท้ายลำกล้องมีกลอนสำหรับยึดติดกับแผ่นฐาน เอ็ม ๘ สำหรับใช้ในเวลาเคลื่อนย้ายเครื่องยิงฯ ปากลำกล้องทำเป็นขอบไว้ สำหรับติดตั้งกล้องสอบศูนย์ เอ็ม ๑๑๕               

แผ่นฐาน เอ็ม ๗ มีลักษณะเป็นวงกลม ทำจากอลูมินั่มชิ้นเดียว ตรงกลางของแผ่นฐานเป็นชุดเบ้ารับเดือยท้ายลำกล้องและกลอนขัดเดือยท้ายลำกล้อง กลอนนี้สามารถหมุนได้รอบตัว ชุดเบ้ารับเดือยท้ายลำกล้องนี้จะถูกยึดไว้ด้วยควงเกลียว ๔ ตัว และวงแหวนสวมเกลียว ดังนั้นจึงสามารถย้ายยิงได้รอบตัวโดยการเลื่อนขาหยั่ง ด้านล่างของแผ่นฐานมีพลั่วแผ่นฐานอยู่  ๔  อัน  เพื่อยึดแผ่นฐานให้มั่นคงขณะทำการยิง  แผ่นฐาน เอ็ม  ๗ นี้  ใช้ประกอบกับเครื่องยิงฯ เมื่อยิงด้วยวิธียิงแบบปกติ (ใช้ขาหยั่ง) ซึ่งจะใช้ยิงโดยวิธีปล่อยลูกระเบิดยิงลงทางปากลำกล้อง หรือยิงด้วยการลั่นไกก็ได้ 

๕.๓ แผ่นฐาน เอ็ม ๘ 

แผ่นฐาน เอ็ม ๘ มีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดเล็ก ทำจากอลูมินั่มชิ้นเดียว ใช้ประกอบกับเครื่องยิงฯ เมื่อทำการยิงด้วยวิธียิงแบบใช้มือถือ การยิงโดยใช้แผ่นฐาน เอ็ม ๘ รองรับลำกล้องนั้นจะย้ายยิงได้เป็นมุมกว้าง ทางซ้าย  ๘๐๐ มิลเลียม ทางขวา  ๘๐๐ มิลเลียม จากกึ่งกลางเขตการยิง บนแผ่นฐานมีเบ้ารับเดือยท้ายลำกล้อง และกลอนยึดเดือยท้ายลำกล้อง ให้ติดอยู่กับเบ้าในขณะทำการยิง  ด้านใต้ของแผ่นฐาน มีพลั่วแผ่นฐาน ๔ อัน เพื่อยึดแผ่นฐานให้มั่นคงขณะทำการยิง บริเวณลาดด้านหน้าแผ่นฐานทำเป็นช่อง ภายในช่องจะมีแหนบ  ๒  ตัว สำหรับยึดแผ่นฐานให้ติดกับลำกล้อง เมื่อจะทำการเคลื่อนย้าย

                  ๕.๔ ขาหยั่ง เอ็ม ๑๗๐   ประกอบด้วยส่วนย่อย  ๗  ส่วน คือ

                         ๕.๔.๑ ปลอกรัดลำกล้อง  มีลักษณะเป็นปลอกครึ่งวงกลม สองชิ้นด้านบนและด้านล่างประกบกัน ยึดด้วยบานพับติดอยู่ที่ด้านซ้ายซึ่งสามารถเปิด-ปิดได้ ควงขันปลอกรัดลำกล้องอยู่ที่ด้านขวา ปลอกรัดลำกล้องนี้จะประกอบกับลำกล้อง เอ็ม ๒๒๕ โดยการสวมเข้ากับอานรับปลอกรัดลำกล้อง(Saddle)ด้านบนหรือด้านล่างที่   ลำกล้อง ซึ่งขึ้นอยู่กับมุมสูงที่ใช้ยิง (ข้อ ๕.๑)

๕.๔.๒ เครื่องผ่อนการสะเทือน  ทำหน้าที่ป้องกันขาหยั่งและกล้องเล็ง มิให้ได้รับการสะเทือน อันเกิดจากแรงถอยขณะทำการยิง เครื่องผ่อนการสะเทือนมีรูปร่างเป็นกระบอกสองกระบอก ติดอยู่ด้านล่างปลอกรัดลำกล้อง

                         ๕.๔.๓ ชุดควงส่าย  ทำหน้าที่บังคับให้ปลอกรัดลำกล้องเคลื่อนที่ไปทางซ้ายหรือทางขวา เมื่อหมุนจานควงส่ายตามเข็มนาฬิกา ลำกล้องจะหันไปทางซ้าย เมื่อหมุนจานควงส่ายทวนเข็มนาฬิกา ลำกล้องจะหันไปทางขวา ด้านซ้ายของชุดควงส่ายทำเป็นช่องสำหรับติดตั้งกล้องเล็ง การหมุนควงส่ายจะทำให้ลำกล้องและกล้องเล็ง (เส้นเล็ง) หันตามกันไปด้วย

                         ๕.๔.๔ ชุดควงสูง  ทำหน้าที่ยกลำกล้องให้สูงขึ้นหรือต่ำลงโดยการหมุนที่ด้ามควงสูงซึ่งอยู่ด้านล่างของกระบอกแกนควงสูง ชุดควงสูงนี้ประกอบด้วย กระบอกแกนควงสูง แกนควงสูง ด้ามควงสูงและเรือนควงสูง ซึ่งจะอยู่ในกระบอกแกนควงสูง ที่ด้านหลังของเรือนควงสูงมีขอยึดชุดเครื่องผ่อนอาการสะเทือนและปลอกรัด    ลำกล้องให้ติดกันกับเรือนควงสูง เพื่อความสะดวกในการนำพาขาหยั่งในการเคลื่อนที่ เมื่อหมุนควงสูงตามเข็มนาฬิกา จะทำให้ลำกล้องถูกยกสูงขึ้น และเมื่อหมุนทวนเข็มนาฬิกาจะทำให้ลำกล้องลดต่ำลง

                         ๕.๔.๕ ขาหยั่งข้างขวา  ไม่มีส่วนที่เคลื่อนไหวได้ ประกอบด้วย พลั่วขาหยั่ง กระบอกขาหยั่ง และบานพับที่ยึดติดกับชุดควงสูง ขาหยั่งข้างขวาเรียกได้ว่าเป็น “ขาตาย”

                         ๕.๔.๖  ขาหยั่งข้างซ้าย  ประกอบด้วย พลั่วขาหยั่ง กระบอกขาหยั่ง บานพับที่ยึดติดกับชุดควงสูง คานแก้เอียง ปลอกเกลียวเลื่อนคานแก้เอียง ควงแก้เอียงและควงยึดคานแก้เอียง

                                             ๕.๔.๗ ลวดขาหยั่ง  ถูกหุ้มไว้ด้วยพลาสติก ปลายทั้งสองด้านของสายลวด ยึดติดกับขาหยั่งทั้งสองข้าง เมื่อกางขาหยั่งขณะทำการยิงสายลวดนี้จะต้องตึงอยู่ตลอดเวลา  เมื่อขาหยั่งอยู่ในตำแหน่งพับเก็บ จะต้องพันสายลวดรอบขาหยั่งทั้งสองและใช้ขอเกี่ยวซึ่งคล้องอยู่กับสายลวด เกี่ยวสายลวดไว้เพื่อยึดขาหยั่ง ไม่ให้กางออกเอง ขณะนำพาเคลื่อนที่