การฝึกเบื้องต้น

การฝึกเบื้องต้น

ขอบเขต

         ก. การกำหนดการฝึกเบื้องต้น ประกอบด้วยขั้นต่าง ๆ ดังต่อไปนี้:-

              ๑. ความจำเป็นเกี่ยวกับเครื่องบิน

              ๒. การประมาณระยะและความเร็ว

              ๓. การฝึกท่ายิง

              ๔. การแสดงการยิงให้ดู

              ๕. การฝึกเล็งตาม

              ๖. การฝึกยิง

         ข. ทหารทุก ๆ คน จะต้องได้ฝึกตามกำหนดการฝึกเบื้องต้นที่ได้กล่าวไว้ในข้อ ก. ข้างต้นเสียก่อนให้ เรียบร้อยสมบูรณ์ ก่อนที่จะทำการฝึกยิงต่อเป้าเคลื่อนที่บนอากาศต่อไป และรวมทั้งการฝึกเบื้องต้นที่กล่าวไว้ใน บทที่ ๓ ด้วย ทหารจะต้องฝึกให้เรียบร้อยเสียก่อนที่จะเริ่มทำการฝึกยิงต่อสู้อากาศยาน

ความจำเกี่ยวกับเครื่องบิน

         พลยิงทุก ๆ คนจะต้องได้รับการสอนในเรื่องความจำเกี่ยวกับเครื่องบินโดยตลอด  สอนพลยิงให้รู้จักจำ เครื่องบินในขั้นต้นทั้งก่อนและหลังเริ่มการสอน

การกะระยะและความเร็ว

         ก. การกะระยะ  ความมุ่งหมายของการกะระยะก็เพื่อสอนให้พลยิงรู้ว่าเมื่อใดจึงจะเริ่มยิงได้มี หลักเกณฑ์ประการเดียวเท่านั้นสำหรับกะระยะทางอากาศก็คือ รูปร่างของเครื่องบินที่ปรากฏให้เห็นนั่นเอง เมื่อสามารถทำได้  ให้ใช้เครื่องบินสำหรับฝึกให้ทหารได้รู้จักการกะระยะต่อที่หมายในอากาศให้ทหาร สังเกตเครื่องบินที่บินในลักษณะต่าง ๆ และทราบระยะแล้ว  จนกว่าทหารจะรู้สึกเคยชินกับเครื่องบินที่ปรากฏให้ เห็นในระยะต่าง ๆ กันระยะ ๑,๐๐๐ หลาเป็นระยะหลักที่เหมาะ เพราะเป็นระยะที่พลยิงควรเริ่มทำการยิงได้ ในระยะนี้ ถ้าไม่มีเครื่องบินที่จะทำการฝึกดังกล่าวมาได้ ให้ใช้ตารางที่ ๓ เพื่อช่วยการฝึกได้


ข.การกะความเร็ว เมื่อสามารถทำได้ให้ใช้เครื่องบินเครื่องหนึ่งทำการฝึกทหารเพื่อกะระยะต่อที่หมายในอากาศ ให้ทหารสังเกตดูเครื่องบินซึ่งบินด้วยความเร็ว ที่บอกให้ทหารทราบแล้ว  จนกว่าทหารจะรู้สึกคุ้นเคย 

การฝึกท่ายิง

         ก. ความมุ่งหมายของการฝึกนี้ เพื่อสอนพลยิงให้ปฏิบัติหน้าที่การยิงต่อสู้อากาศยานได้รวดเร็วและถูก ต้องแน่นอน

         ข. ครูจะต้องดูแลกวดขัน เพื่อให้ทหารแต่ละคนเข้าประจำที่อย่างถูกต้อง ความเร็วในการเข้าประจำที่ จะบังเกิดได้ด้วยการฝึกนี้ ท่ายิงของทหารแต่ละคนจะตรวจสอบได้โดยให้ทหารเข้าประจำปืน ยิงด้วยวิธีคลายปืน เป้าที่มีมุมสูงมาก ๆ และที่มีมุมส่ายกว้าง ๆ โดยมิต้องกำหนดเป้าใด ๆ ให้ก็ได้

         ค. ความสามารถในการยิงปืนกลให้ได้ผลนั้น ขึ้นอยู่กับมือ-ตา-เท้าให้สัมพันธ์ประสานกัน  ด้วยการฝึก เท่านั้นที่จะทำให้สิ่งเหล่านี้บังเกิดผลได้ เพื่อทำปืนให้ตรงเป้าที่หมายโดยเร็ว และเพื่อให้ทำการยิงดักได้สม่ำเสมอและถูกต้องแน่นอน พลยิงต้องฝึกซ้อมจนบังเกิดการ "รู้ใจ" ของอาวุธที่ใช้ พลยิงควรเล็งตามเป้าเคลื่อนที่ บนอากาศยานบ่อย ๆ

 

การแสดงการยิงให้ดู

         ก. ความมุ่งหมายของการยิงนี้ เพื่อให้พลยิงคุ้นเคยกับแนวกระสุนส่องวิถี ปรากฏให้เห็นเป็นเส้นโค้ง และเพื่อแสดงให้เห็นวิธีปรับแนวกระสุนวิถีได้ถูกเป้าที่หมาย

         ข. การแสดงการยิงมีดังนี้.-

              ๑. โดยมิต้องกำหนดเป้าที่หมาย ให้ส่ายปืนที่คลายปืนไว้ในขณะทำการยิง แนะนำตักเตือนให้ทำ ศีรษะให้สูงเหนือปืน เพื่อสามารถตรวจดูแนวกระสุนส่องวิถีโดยควันไม่บัง

              ๒. ทำการยิงต่อเป้าที่หมายในอากาศ ซึ่งกำลังบินอยู่ทั้งในลักษณะการบินเข้ามาและการบินผ่าน แสดงให้เห็นว่าจะใช้การยิงดัก

การฝึกเล็งตาม

         ความมุ่งหมายของการฝึกเล็งตามนี้ เพื่อสอนให้รู้จักบังคับปืนที่ยิงด้วยวิธีคลายปืนและเพื่อซ้อมการยิงติด ต่อกันเป้าที่หมายในอากาศ ซึ่งบินอยู่ในลักษณะต่าง ๆ กัน เครื่องบินบังคับด้วยวิทยุ เป็นสิ่งที่เหมาะที่สุดสำหรับ การฝึกชนิดนี้

ความมุ่งหมาย

         ก. ความมุ่งหมาย ความมุ่งหมายของการฝึกยิงนี้ เพื่อสอนให้รู้จักบังคับปืนที่คลายปืนในขณะที่เล็งตาม เป้าที่หมาย และการยิงที่ติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ

         ข. ข้อบกพร่องของวิธีการฝึก การยิงต่อที่หมายที่อยู่กับที่และใช้ระยะยิงย่อ จะใช้ขาหยั่งแบบ บ.๓ หรือ บ.๖๓ ซึ่งเราไม่ใช้สำหรับฝึกทำการยิงต่อสู้อากาศยาน การยิงต่อสู้อากาศยานโดยไม่ใช้กระสุนส่องวิถีเป็นการ เปลืองกระสุน และไม่มีประโยชน์สำหรับการฝึกด้วย ไม่สามารถจะตรวจความคลาดเคลื่อนและแก้ไขให้ถูกต้อง ได้ และถึงแม้ว่ากระสุนบางนัดอาจถูกที่หมาย พลยิงก็ไม่ทราบว่าถูกเมื่อใด และด้วยการยิงดักอย่างไรกระสุนจึง ได้ถูกที่หมาย

         ค. ปัจจัยสำคัญสำหรับการยิง ก่อนที่จะเริ่มฝึกยิง  ครูต้องอธิบายถึงความสำคัญของการรักษาท่ายิงที่ถูก ต้องด้วยการจับปืนให้แน่นในขณะทำการยิง และความจำเป็นของการยิงต่อเนื่องด้วยวิธีคลายปืน ในระหว่างการ ฝึกยิง ครูหรือผู้ช่วยครูจะต้องตรวจตราทหารแต่ละคนด้วยความระมัดระวังทั้งก่อนและในระหว่างการยิงนั้นเพื่อดู ว่าทหารปฏิบัติตามปัจจัยสำคัญที่กล่าวไว้แล้วหรือไม่