คุณลักษณะอาวุธ

อาวุธต่อสู้รถถังอาร์มบรุสท์

 

ตอนที่ ๑ คุณลักษณะของอาวุธ

 

                  อาร์มบรุสท์ เป็นอาวุธต่อสู้รถถังขนาดเบา ระยะยิงสูงสุดที่ใช้ต่อสู้รถถังคือ ๓๐๐ เมตร อาวุธนี้ใช้ต่อสู้กับยานพาหนะเปลือกบางชนิดอื่น ๆ หรือพลเดินเท้าได้ในระยะถึง ๕๐๐ เมตร เมื่อใช้หัวกระสุนกระทบแตก

              ภารกิจหลักของอาวุธชนิดนี้คือ สนับสนุนการรบและการป้องกันพื้นที่ในทุกสภาพภูมิประเทศ ทั้งในพื้นที่โล่งแจ้งและในเมือง เราสามารถยิงอาวุธอาร์มบรุสท์ได้จากเนื้อที่ปิดกั้นแคบ ๆ เช่น จากห้องธรรมดารังปืนกลห้องเพดานเตี้ย ๆ หรือหลุมที่เกิดจากซากปรักหักพัง

              ข้อดีของอาร์มบรุสท์เมื่อเปรียบเทียบกับอาวุธต่อสู้รถถังขนาดเบาอื่น ๆ ก็คือ

              - ความสามารถในการยิงได้จากเนื้อที่ปิดกั้นแคบ ๆ

                - แรงระเบิดที่ดันกลับมีน้อย ทำให้ใช้ยิงได้จากทางด้านหน้าของกำแพงและเครื่องกีดขวางอื่น ๆ

              - ไม่มีประกายหรือควันขณะทำการยิง

              - ใช้เครื่องตรวจจับโดยแสงอินฟราเรดจับได้ยาก เพราะใช้ความร้อนน้อย

              - เป็นเป้าเล็ก เนื่องจากติดตั้งศูนย์เล็งแบบสะท้อนภาพด้านข้างทำให้ตรวจจับได้ยาก ข้อดีทั้งหมดข้างบนนี้ทำให้ฝ่ายข้าศึกหาเป้าผู้ยิงอาร์มบรุสท์ได้ยาก และให้โอกาสผู้ยิงได้ยิงเป้าฝ่ายข้าศึกได้หลายนัดจากที่ตั้งยิง (จำนวนสูงกว่าอาวุธต่อสู้รถถังระยะใกล้แบบธรรมดาทั่วไป)

              - ไร้แรงสะท้อนถอยหลัง

              - ไม่ต้องการเครื่องมือตรวจสอบ หรือการตรวจสอบก่อนการยิง

              - ตัวอาวุธทิ้งไปหลังจากการยิงแล้ว

              - อาวุธชนิดนี้ไม่ต้องการการบำรุงรักษา

              - โรงงานจะจัดส่งอาร์มบรุสท์ในลักษณะปิดผนึกมิดชิด (ทั้งอาวุธและกระสุนด้วยกัน)

อาวุธต่อสู้รถถังอาร์มบรุสท์ ประกอบด้วย

              ๑. ตัวอาวุธ

๒. กระสุน 

รูปตัวอาวุธ

รูปกระสุนที่ใช้เลือกยิงได้

๑  ลำกล้องพร้อมศูนย์เล็งแบบสะท้อนภาพ

๒  สารอัดต้านแรงสะท้อนพร้อมดินขับ

๓  ชุดจุดชนวน

๔  พานท้าย

๕  ไก

รูปส่วนประกอบต่าง ๆ ของอาวุธ




๑ ส่วนหัว (หัวกระสุนรบ หรือหัวกระสุนซ้อมรบ

๒ ส่วนท้าย (ตัวกระสุนพร้อมด้วยครีบนำกระสุ

๓ ระบบชนวน 






รูปส่วนประกอบต่าง ๆ ของกระสุน

เครื่องหมายแสดงชนิดของอาวุธและกระสุน

              การทราบชนิดของกระสุนสำหรับอาวุธต่อสู้รถถังอาร์มบรุสท์ ได้ทำเครื่องหมายไว้ที่ตอนท้ายของลำกล้องอาวุธที่ใช้กระสุนรบมีเครื่องหมายวงกลมสีดำและตัวอักษร HEAT หรือ AP สีเหลือง อาวุธที่ใช้กระสุนซ้อมรบจะมีเครื่องหมายวงกลมสีน้ำเงิน และตัวอักษร TARGET PRACTICE (ซ้อมเป้า)

รูปลักษณะของอาวุธที่ใช้กับกระสุนรบ

รูปลักษณะของอาวุธที่ใช้กับกระสุนซ้อมรบ

รายการทางเทคนิค

ก. ขนาด

              ตัวอาวุธ

                     ความยาว ........................................................................๘๕๐ มม.

                     เส้นผ่าศูนย์กลางลำกล้องสูงสุด .............................................๗๕ มม.

                     ความสูงเมื่อบรรจุหีบห่อเพื่อขนส่ง ........................................๑๔๐ มม.

              กระสุน

                     ความยาว .........................................................................๔๑๕ มม.

                     เส้นผ่าศูนย์กลาง (ลำกล้อง) ...................................................๖๗ มม.

ข. น้ำหนัก

              ตัวอาวุธและกระสุน .....................................................................๖.๓ กก.

              กระสุน ......................................................................................๑.๐ กก.

              สารอัดต้านแรงสะท้อน .................................................................๑.๐ กก.

ค. สมรรถนะ

              ความเร็วต้น ............................................................................๒๑๐ เมตร/วินาที

              ช่วงเวลาเข้าเป้า ๓๐๐ เมตร .......................................................๑.๖ วินาที

              ระยะการสู้รบสูงสุด

                     เป้าหุ้มเกราะ ..................................................................๓๐๐ เมตร

                     เป้าเปลือกอ่อน ...............................................................๕๐๐ เมตร

              การทะลุทะลวง ....................................................................๓๐๐ มม. (เหล็กหุ้มเกราะ)

              มุมตกกระทบอย่างน้อย ...........................................................๗๘ องศา

              ระยะยิงไกลสุด .................................................................๑,๘๐๐ เมตร

ง. อุณหภูมิ

              ในการปฏิบัติงาน จาก -๔๐oซ.ถึง +๕๑oซ.(-๔๐oฟ.ถึง +๑๒๓oฟ.)

              การเก็บรักษา   จาก -๑๐oซ.ถึง +๓๕oซ.(-๑๔oฟ.ถึง +๙๕oฟ.)

              การเก็บรักษาช่วงสั้น ๒ วัน ในอุณหภูมิ ๕๒oซ.และอุณหภูมิสูงสุด +๗๑oซ.ได้ ๔ ชม./วัน

                                             ๒ วัน ในอุณหภูมิ -๔๐oซ.และอุณหภูมิต่ำสุด -๕๖oซ.ได้ ๔ ชม./วัน


รายละเอียดทางเทคนิค

 

              อาร์มบรุสท์เป็นอาวุธไร้แรงสะท้อนถอยหลังที่ใช้แล้วทิ้งไป ซึ่งใช้กระสุนเจาะเกราะหรือกระสุนระเบิดสังหารจัดส่งถึงผู้ใช้ในฐานะอาวุธพร้อมรบ และทำลายทิ้งเมื่อใช้เสร็จแล้ว

              เนื่องจากอาวุธนี้จะจัดส่งพร้อมหัวกระสุนที่แตกต่างกันจากโรงงาน ดังนั้นรายละเอียดในเรื่องนี้จึงต้องแบ่งออกเป็น ๒ ตอนคือ ตัวอาวุธ และกระสุน

ก. การออกแบบตัวอาวุธ

              ตัวอาวุธประกอบด้วย

                     - ลำกล้องปล่อยกระสุนพร้อมด้วยส่วนประกอบ

                            ลำกล้องพร้อมด้วยศูนย์เล็งแบบสะท้อนภาพ

                            สารอัดต้านแรงสะท้อนถอยหลังพร้อมด้วยดินขับ

                     - ชุดชนวน

                     - โครงปืนพร้อมด้วยส่วนประกอบชุดเครื่องลั่นไก

              ๑. ลำกล้องครบชุดสมบูรณ์ ตัวลำกล้องของอาร์มบรุสท์  เป็นโลหะรูปทรงกระบอกซึ่งกลึงอย่างละเอียดทั้งภายนอกและภายใน และใช้เป็นตัวหลักในการใช้ติดตั้งกลไกอื่น ๆ เพื่อประโยชน์ในการใช้และการปฏิบัติงานของอาวุธชนิดนั้น รวมทั้งใช้แทนครีบบรรจุกระสุนและสารอัดต้านแรงสะท้อนในระหว่างขนส่ง

              ตัวลำกล้องเป็นตัวนำรูปทรงกระบอกของลูกสูบที่ติดตั้งอยู่ตรงกลาง เมื่อมีการจุดชนวนของดินขับแล้วจะส่งกระสุนหมุนออกไป และขับสารอัดต้านแรงสะท้อนออกไปในทิศทางตรงกันข้าม

รูปลำกล้องพร้อมด้วยเบรค

         ตัวลำกล้องเปลือกบางได้รับการเสริมให้หนาตรงกลาง ตรงที่มีดินขับอยู่และเสริมตรงปลายทั้งสองข้างด้วย ปลอกเบรค (2) สอดอยู่ที่ปลายทั้งสองข้าง ตัวหน้าอยู่กับที่ได้โดยสลักเกลียวที่ยึดปลอกป้องกัน (1) และตัวหลังโดยวงแหวนเกลียวธรรมดา (3) ปลอกนี้มีหน้าที่ให้เบรคลูกสูบที่เคลื่อนด้วยความเร็วโดยการจุดของดินขับตัวปลอกเบรคและตัวลูกสูบช่วยเป็นตัวผนึกกันไม่ให้ก๊าซจากดินขับพุ่งออกมาจากลำกล้อง ตัวดินขับอยู่ตรงส่วนกลางของลำกล้องระหว่างลูกสูบสองสูบสำหรับอาวุธอาร์มบรุสท์ที่ใช้รบนั้นตรงจุดนี้ตัวลำกล้องจะถูกเจาะเป็นรู (4) เพื่อใช้ติดตั้งชุดชนวนตัววงแหวนเกลียวทางตอนหลังที่มีครอบยางสวมอยู่เพื่อป้องกันความเสียหายที่เกิดจากการกระแทกจากภายนอก ตัวหัวครอบยางนี้จะคงอยู่กับตัวอาวุธเมื่อทำการยิง  ซึ่งถูกทะลวงโดยสารอัดต้านแรงสะท้อน 

รูปลำกล้องพร้อมด้วยแผ่นแนบแก้ม และศูนย์เล็งชนิดสะท้อนภาพ

 

              แผ่นแนบแก้มติดด้วยกาวทางด้านซ้ายของลำกล้อง (1)  มีปลอกรัดวงแหวนสองตัว (2)  รอบลำกล้องศูนย์เล็งชนิดสะท้อนภาพ (5)  อยู่ในร่องลักษณะรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า (6) ในแผ่นแนบแก้มและป้องกันไว้ด้วยแผ่นที่ดึงออกได้ (4) เมื่อเตรียมอาวุธนี้พร้อมรบจะต้องดึงแผ่นนี้ออก  และดึงศูนย์โดยถ่างออกมาทางด้านหลัง ศูนย์นี้จะล๊อคเข้าที่ตั้งในตำแหน่งที่พับเข้าหรือดึงออกมาโดยตัวสปริง (4)  ที่ติดอยู่กับตัวบานพับ (3)  ตัวศูนย์เล็งมีที่ครอบป้องกันแสงสะท้อนเข้าตาเมื่อการหาข้าศึกไม่ได้ผล ควรจะพับตัวศูนย์เก็บเข้าร่องอย่างเดิมและป้องกันการเสียหายโดยปิดแผ่นที่ดึงออกได้เข้าไปใหม่

รูปศูนย์เล็งชนิดสะท้อนภาพ

              ส่วนกล้องของศูนย์เล็งชนิดสะท้อนภาพ ประกอบด้วยกระจกเงาชนิดครึ่งใสครึ่งฝ้า (1) ซึ่งให้ทั้งรูปเป้าและแบบที่กำหนดเส้นตารางของกล้องมาให้บรรจบกันในลักษณะเดียวกันตามทางของแสงคือ เลนส์พลาสติก (7)และกระจกเงาเบี่ยงภาพ  (6)  ซึ่งสะท้อนการหักเหเส้นตารางที่มีแสง (5) เข้าไปในเส้นทางของแสงเส้นตารางนี้สลักไว้บนแผ่นกระจกฝ้า  และติดอยู่ขวางเส้นทางที่แสงจะผ่านเข้าไปถึงกระจกเงาเบี่ยงภาพสัญลักษณ์ทั้งหมดที่จำเป็นสำหรับการหาระยะทางและการจับเป้าไม่ได้แสดงไว้แล้วในเส้นตารางของกล้องเพื่อหาเป้า



๑ ลูกศรแสดงทิศทางเป้าเคลื่อนที่

๒ เครื่องหมายที่ปรับแต่งจากโรงงาน

๓ ระยะ

๔ เครื่องหมายจับเป้า (เครื่องหมายนำ) สำหรับเป้าเคลื่อนทางข้างด้วยความเร็ว ๓๖ กม./ชม.

๕ เครื่องหมายจับเป้า (เครื่องหมายนำ) สำหรับเป้าเคลื่อนที่ทางข้างด้วยความเร็ว ๑๘ กม./ชม.

๖ เครื่องหมายจับเป้าสำหรับเป้านิ่ง

๗ กรอบคำนวณระยะ (รูปรถถังด้านหน้า)


รูปเส้นตารางกล้องเล็งของศูนย์เล็งแบบสะท้อนภาพ

รูปสารอัดต้านแรงสะท้อนพร้อมดินขับ

              ๒. สารอัดต้านแรงสะท้อนพร้อมดินขับ สารอัดต้านแรงสะท้อนพร้อมดินขับเป็นกลไกเดียวหน่วยหนึ่งซึ่งสอดใส่อยู่ทางท้ายของลำกล้อง สารอัดต้านแรงสะท้อน (6) ประกอบด้วยแผ่นพลาสติกบาง ๆ ประมาณ ๕,๐๐๐ แผ่นและแบ่งออกเป็นสี่ภาคโดยแผ่นบาง ๆ ยาว ๆ คั่น (7) และรัดให้แน่นเข้ากับสลักต่อ (9) โดยด้ายไนล่อนสารนี้อยู่ตรงกลางของลูกสูบ (5) ได้โดยใช้พลาสติกวงแหวนรูปลิ่มอัดตัวอยู่

         ตัวลูกสูบหน้าและลูกสูบหลัง  (1-5)  ยึดอยู่ด้วยกันได้ด้วยสลักเกลียว  (9) ตัวดินขับที่ใช้เป็นสื่อ (2) ประจุไว้รอบ ๆ สลักเกลียวในช่องที่ประกอบด้วยวงแหวนที่ทำด้วยโลหะเบาสองวง (4) ตัวผงดินขับ (8) ถูกบรรจุไว้ในช่องว่างระหว่างลูกสูบสองตัวและวงแหวน (10) ช่องบรรจุดินขับผนึกให้แน่นโดยมีฝาเกลียว (3) ตัวซเพชเซ่อร์ (โลหะบาง ๆ ที่ทำให้เกิดช่องว่าง) ประกอบด้วยแบริ่งรับแรงผลักนั้นใช้ขันเกลียวเข้าไปในตัวสลักเกลียวจากด้านหน้าของลูกสูบตัวหน้า หน้าที่ของมันก็คือ เป็นหัวต่อสำหรับกระสุนและส่งกำลังผลักจากลูกสูบตัวขับในเมื่ออาวุธนี้ใช้ยิงเข็มกระตุ้นของกลไกที่ให้ความปลอดภัยของระบบจุดชนวนของกระสุนนั้น  ใช้ขันเกลียวเข้าไปในตัวซเพซเซ่อร์นี้ 

รูปชุดจุดชนวนพร้อมชุด

              ๓. ชุดจุดชนวน ประกอบด้วยตัวจุดไฟฟ้า ซึ่งทำให้เกิดประกายไฟกับดินขับตัวนี้ ประกอบด้วยตัวนอกที่เป็นเกลียว (2) ซึ่งหมุนเกลียวเข้าไปในร่องตรงกลางลำกล้องผ่านวงแหวนตัวนอกและดินขับ เข้าไปสุดอยู่ตรงดินขับที่ใช้เป็นสื่อรอบ ๆ สลักต่อตัวลวดนำสองตัว (1) ต่อกับตัวนอกที่เป็นเกลียวตัวหนึ่ง และต่อกับตัวสลักที่ไม่มีหัวซึ่งยื่นเข้าไปถึงตัวลูกปราย (4)

 

รูปโครงปืน

              ๔.โครงปืน ตัวโครงปืนยึดแน่นอยู่ใต้ลำกล้องโดยปลอกรัดสามปลอกมีหน้าที่เป็นฐานอาวุธสำหรับประกอบส่วนต่าง ๆ ทั้งหมดที่จำเป็นในการใช้อาวุธนอกจากศูนย์เล็งชนิดสะท้อนภาพกลไกของปืนและส่วนประกอบในการยิงด้วยไฟฟ้า (1) ติดตั้งภายในแท่นพานท้ายนี้ที่มือถือ (3) อยู่ตรงจุดดุลย์น้ำหนักของอาวุธทางด้านหลังเป็นด้ามซึ่งพับไปข้างหลังและดึงลงมาได้ (2) และทางด้านหน้าเป็นด้ามจับอาวุธ (4) ซึ่งพับไปข้างหน้าและดึงลงมาได้ โครงไกอยู่ตรงส่วนหน้าของด้ามจับ  ด้านหน้าสุดของโครงปืนเป็นที่จับอาวุธด้านหน้า (7) สายสะพายไหล่ที่แต่งสั้นยาวได้ ติดอยู่กับห่วงที่หมุนได้รอบ ๆ ที่ปลายแต่ละข้างของโครงปืน

รูปไกปืน

              ๕. ไกปืน ประกอบด้วยทั้งส่วนกลไกและไฟฟ้า ซึ่งติดตั้งอยู่ในปลอกที่ประกอบกันสองชิ้น (1 และ 2) การทำงานของไกปืน (4) ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวทางกลไกไปถึงส่วนหน้าของปลอก (1)ซึ่งจะแปลงเป็นพลังงานทางไฟฟ้าในส่วนหลัง (2) พลังงานทางไฟฟ้านี้จะไหลผ่าสายไฟสองสายซึ่งมีฉนวนหุ้ม (3) ไปยังตัวเกลียวจุดชนวน

รูปลำกล้องเมื่อบรรจุ

ข. ระบบการทำงาน เมื่อกลไกปืน ผลึกแร่ที่มีคุณสมบัติทาง ไฟอิโซอีเล็กทริค (ไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจากการกด) เมื่อถูกกระตุ้นทางกลไกก็จะผลิตไฟฟ้าออกมา และขยายกำลังทางอีเล็คโทรนิคเข้าไปกระตุ้นลูกปรายในตัวเกลียวจุดชนวน (1) ลูกปรายนี้จะจุดประกายไฟให้ดินขับใช้เป็นสื่อ  (8)  ซึ่งทำให้ตัวดินขับ (10) ไหม้เมื่อความดันระหว่างลูกสูบเพิ่มขึ้นก็จะถึงจุดหนึ่งที่สลักต่อ (3) ขาดเพราะแรงดึง และก๊าซก็จะขยายตัวและดันลูกสูบออกด้านนอกลูกสูบตัวหน้าจะเร่งความเร็วขับกระสุนออกจากลำกล้อง (ความเร็วต้น) ซึ่งทำให้ลูกปืนมีกระสุนวิถีตามหลักขีปนวิทยาไปสู่เป้าได้  ลูกสูบตัวหลังจะผลักสารอัดต้านแรงสะท้อน (6) ไปตามลำกล้องและดันไปข้างหลัง เมื่อโผล่พ้นลำกล้องแรงต้านของอากาศจะหน่วงสารอัดต้านแรงสะท้อนและกระจายมันออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยก่อนที่ลูกสูบทั้งสองจะถึงปลายแต่ละปลายของลำกล้อง ลูกสูบทั้งสองก็จะหยุดอยู่กับที่โดยปลอกเบรค (1) ทำให้มีการผนึกกันก๊าซรั่วออกมาระบบนี้ป้องกันประกายไฟและเสียงของก๊าซที่รั่วออกไป ในขั้นสุดท้ายอาวุธที่ใช้ยิงแล้วจะต้องถูกทำลาย

ค. กระสุน

              ๑. ทั่วไป การออกแบบลูกกระสุน หัวกระสุนสามชนิดที่ต่างกันสามารถจัดได้กับอาวุธอาร์มบรุสท์ และสามารถนำไปใช้ได้ในกรณีที่ต่างกันถึง ๔ กรณี

                     - อาร์มบรุสท์พร้อมด้วยหัวรบบรรจุดินโพรง (AT หรือ HEAT) ใช้กับเป้าหุ้มเกราะในระยะ ๓๐๐ เมตร

                     - อาร์มบรุสท์พร้อมด้วยหัวรบสังหารบุคคล  (AP)  ใช้กับเป้าเปลือกบางและบุคคลในระยะ  ๕๐๐ เมตร

                     - อาร์มบรุสท์พร้อมด้วยหัวรบชนิดเฉื่อยและไม่ระเบิด (VB/TRAINING)  ใช้ในการฝึกยิงเป้าและการผึกการรบในระยะ ๕๐๐ เมตร

                     - อาร์มบรุสท์อาวุธเทียม (EX หรือ DUMMY) สำหรับการฝึกขั้นต้นในการใช้อาวุธและการฝึกฝนแบบนี้ใช้ยิงไม่ได้

              ๒. การออกแบบกระสุนที่มีอยู่

              การออกแบบกระสุนคือหลักของขีปนาวุธ  เป็นรูปทรงกระบอก  ด้านหัวเป็นรูปกรวยเสริมกำลังด้วยโครงไขว้ทะแยงกันและแข็งมาก ครีบหางขนาดเต็มลำกล้องใช้นำเข้าสู่เป้าโดยไม่หักเห

รูปส่วนประกอบของกระสุน

  

              ตัวกระสุนประกอบด้วยส่วนประกอบสามกลุ่มใหญ่ ๆ คือ

                     - ส่วนหัว (หัวรบหรือหัวซ้อมรบ) (2)

                     - ส่วนท้าย (ลำตัวพร้อมครีบนำ) (3)

                     - ระบบจุดชนวน (4)

              มีการประกอบแหวนกันรั่ว (1) ในร่องตรงจุดที่มีเส้นรอบวงใหญ่ที่สุดของส่วนหัวเพื่อทำให้กระสุนและลำกล้องเข้ากันได้พอดี ส่วนท้ายนั้นใช้ขันเกลียวเข้ากับร่องในส่วนหัว เพื่อให้มีช่องว่างเป็นรูปทรงกระบอกเพื่อใช้ติดตั้งระบบจุดชนวน

              ลักษณะแตกต่างของกระสุนนั้นภายนอกเหมือนกันหมด แตกต่างกันเฉพาะแบบของสีที่แสดงชนิดเท่านั้นการออกแบบภายในส่วนหัวขึ้นอยู่กับแบบของหัวกระสุน

              ก) ส่วนหัว  ประกอบด้วย

                     ๑) หัวกระสุนรบบรรจุดินระเบิดโพรง

                            (ก) หัว (1)

                            (ข) ปลอกพร้อมด้วยเกลียวพิเศษสำหรับเข้ากับส่วนท้าย (2)

                            (ค) ที่บรรจุดินระเบิดทำรูปทรงกรวย

                            (ง) ตัวเชื้อประทุ (4)

                            (จ) ระบบจุดชนวน (5)

รูปหัวกระสุนรบบรรจุดินโพรง

 

                     ๒) หัวกระสุนรบสังหารบุคคล

                            (ก) หัวพลาสติก (1)

                            (ข) ปลอกพร้อมด้วยเกลียวพิเศษสำหรับเข้ากับส่วนท้าย (3)

                            (ค) ที่บรรจุดินระเบิด และชั้นที่จัดตามเส้นรอบวงเพื่อบรรจุลูกปรายเหล็ก (2)

                            (ง) ระบบจุดชนวน (4)

รูปหัวกระสุนรบสังหารบุคคล

 

                     ๓) หัวกระสุนรบสำหรับซ้อมรบ

                            (ก) ปลอกกระสุนพร้อมเกลียวพิเศษสำหรับต่อทางส่วนหาง (1)

                            (ข) ที่บรรจุดินระเบิด การจัดและน้ำหนักแบบเดียวกันกับหัวกระสุนรบเพื่อให้เกิดผลทางกระสุนวิถีตามหลักขีปนวิทยา (2)

รูปหัวกระสุนรบสำหรับฝึกชนิดเฉื่อย

รูปส่วนท้าย

 

              ข) ส่วนท้าย ส่วนท้ายทำด้วยอลูมิเนียม ประกอบด้วยท่อ วงแหวนกลมซึ่งมีครีบโดยรอบหกครีบและท่อนหลังรูปกรวย (3)เพื่อการทรงตัวของกระสุนเมื่อใช้ยิงไปแล้วไม่ให้หักเห เกลียวนอก (1) ซึ่งมีไว้ตอนหน้าของส่วนท้ายใช้สำหรับสวมเกลียวเข้ากับส่วนท้ายของหัวกระสุน

              ครีบนำได้ออกแบบให้เกิดการหมุนตามเข็มนาฬิกาของกระสุนในอัตรา ๔ ถึง ๘ รอบต่อวินาทีขณะที่ยิงออกไป

              ค) ระบบจุดชนวน ระบบจุดชนวนประกอบด้วยตัวชนวน (ไวต่อการลดความเร็ว) (1) และอุปกรณ์ป้องกันและให้ความปลอดภัยสองชั้น ตัวชนวนจะทำงานดังนี้

                     - กลับทำงานตามเดิมเมื่อเร่งความเร็วครั้งแรก

                     - ไม่ทำงานตามกลไกเมื่อดึงสลักกระสุน (2) ออก

รูประบบจุดชนวน

 

              ๓. การทำงานของหัวกระสุนรบ

                     ก) กระสุนต่อสู้รถถัง โดยปกติแล้วกระสุนชนิดนี้ใช้ในการต่อสู้กับรถหุ้มเกราะขนาดเบา,ขนาดกลางและขนาดหนักการลดความเร็วหรือแรงกระทบช่วยกระตุ้นธาตุที่มีคุณสมบัติทางโพอีโซเล็คทริค ให้ผลิตแรงเคลื่อนด้วยไฟฟ้าขึ้นซึ่งทำให้เกิดการเริ่มจุดชนวน จากผลอันนี้ทำให้เกิดการจุดชนวน ซึ่งทำให้เกิดการจุดดินขับส่วนใหญ่  และทำให้ดินขับแท่งรูปพิเศษทำงาน

                     ข) กระสุนสังหารบุคคล กระสุนชนิดนี้ใช้กับยานพาหนะเปลือกอ่อนและบุคคล เชื้อประทุจากแรงกระทบจะช่วยขับลูกปรายเหล็กด้วยความเร็วต้นสูงไปยังทุกทิศทาง

                     ค) กระสุนสำหรับฝึก กระสุนชนิดนี้มีคุณสมบัติ ทางขีปนาวุธเช่นเดียวกับกระสุนรบ  เพราะมีรูปร่างการบรรจุและศูนย์ของความต่างจำเพาะเช่นเดียวกัน หน้าที่ของมันก็คือ ใช้ในการฝึกยิงและการประเมินผลในการฝึก

              ๔. การบรรจุหีบห่อ

              การบรรจุอาวุธอาร์มบรุสท์ลงหีบห่อในหลักการนั้นจะบรรจุสองชุดด้วยกัน ในหีบกระดาษย่นชนิดแข็งที่แข็งแรง หีบดังกล่าวนี้มีความแข็งแรงเพียงพอในการขนส่งอาวุธหนักเหล่านี้  รวมทั้งทนทานต่อการยกขนทุกชนิดรวมทั้งใช้เครื่องมือกลในการขนถ่าย หีบห่อดังกล่าวนี้เก็บไว้ได้รวมกันเป็นจำนวนมาก โดยซ้อนรวมกันบนแป้นไม้

              อาวุธสองชุดในหีบห่อเดียวกันนี้จัดวางให้แยกกันโดยใช้แป้นพลาสติกที่มีฟองน้ำอัดคั่นอยู่สองแป้นแป้นที่ว่านี้ทำหน้าที่เป็นเบาะเพื่อกันอาวุธกระทบกัน เมื่อทำการยกขนอย่างกระแทกกระทั้น

รูปอาวุธในแป้นพลาสติกที่มีฟองน้ำอัดคั่นอยู่ และหีบที่ใช้บรรจุที่ตั้งอยู่ข้างหลัง

อาวุธสองชุดจัดบรรจุในหีบเดียวกันและเชี่อมติดกับแผ่นอลูมิเนียมบาง ๆ

ที่ประกอบเข้ารูป เพื่อป้องกันความชื้น

รูปอาวุธสองชุดในหีบบรรจุ (แผ่นอลูมิเนียมที่หุ้มเปิดอยู่)

 

              ตัวหีบบรรจุผนึกกาวเข้าด้วยกัน และมีเทปเหนียวติดที่ปลายทั้งสองข้างและรอยตะเข็บตามยาวตรงกลางข้างบน ข้าง ๆ ติดป้ายตามยาวทั้งสองข้าง (รูป) ที่ปลายหีบทั้งสองข้างติดแผ่นหูหิ้วเพื่อช่วยให้สะดวกในการยกขน

 

ป้ายที่ติดกับหีบบรรจุอาวุธและรูปหีบบรรจุที่ติดป้ายและปิดเรียบร้อยแล้ว

              1 อักษรระบุชื่ออาวุธและแบบของหัวรบ

              2 โค๊ดย่อของโรงงานผลิต

              3 หมายเลขที่ผลิตตามจำนวนครั้ง

              4 ขีดจำกัดของอุณหภูมิที่ใช้งาน

              5 วันที่ผลิต - ปี - เดือน

              6 ขีดจำกัดของอุณหภูมิในการเก็บอาวุธ

              7 รายการน้ำหนักและปริมาตร

              8 อักษรบรรจุจำนวนผลิตและโค๊ดของโรงงานผลิต