บทที่ ๒ คุณลักษณะ

บทที่ ๒

คุณลักษณะ

๑. ลักษณะของเครื่องยิงลูกระเบิด ๙๓ ขนาด ๘๑ มม. แบบ เอ็ม ๑. และ เอ็ม ๒๙

           ก.เครื่องยิงลูกระเบิด ๙๓ ขนาด ๘๑ มม. มีอยู่ด้วยกัน ๒ แบบ คือ แบบ เอ็ม  ๑ และ แบบ เอ็ม ๒๙  ทั้งสองแบบนี้มีลักษณะคล้ายกันจะผิดกันบ้างก็ที่ลำกล้องและแผ่นฐาน เครื่องยิงทั้งสองแบบที่กล่าวนี้เป็นเครื่องยิงที่มีภายในลำกล้องเกลี้ยงไม่มีเกลียว บรรจุลูกระเบิดยิงทางปากลำกล้องทำการยิงด้วยมุมสูง (มุมยิงใหญ่) เครื่องยิงนี้ประกอบด้วยชิ้นส่วนสำคัญ ๓ ชิ้นส่วน คือ ลำกล้อง,ขาหยั่ง แผ่นฐาน สามารถแยกทั้งสามส่วนออกจากกันได้ แต่ละชิ้นส่วนพลประจำเครื่องยิงสามารถนำไปในภูมิประเทศได้เพียงคนเดีย

ข. รายการขนาดน้ำหนักดังต่อไปนี้.-

                                             แบบ เอ็ม ๑                    แบบ เอ็ม ๒๙

                -ค.เครื่องหมาย                 ๑๓๖.๕  ปอนด์                       ๙๓  ปอนด์

                     ลำกล้อง                     ๔๔.๕ ปอนด์                       ๒๘.๐ ปอนด์

                     ขาหยั่ง                       ๔๗.๐ ปอนด์   เอ็ม ๒๓ เอ ๑  ๓๑.๐ ปอนด์

                                                                            เอ็ม ๒๓ เอ ๓  ๔๐.๐ ปอนด์

                     แผ่นฐาน                    ๔๕.๐ ปอนด์   เอ็ม ๒๓ เอ ๑  ๔๘.๐ ปอนด์

                                                                            เอ็ม ๓            ๒๕.๐ ปอนด์

                -ความยาวของลำกล้อง      ๔๙.๕ นิ้ว                               ๕๑.๐ นิ้ว

                -ความกว้างในการบรรทุก   ๑๔.๓ นิ้ว                               ๒๑.๘ นิ้ว

                -เส้นผ่าศูนย์กลางแผ่นฐาน                                         ๒๑.๐  นิ้ว

                -สามารถใช้มุมสูงได้ตั้งแต่   ๔๐-๘๕ องศา                         ๔๐-๘๕ องศา

                                             หรือ  ๗๑๒-๑๕๑๓ มิลเลียม              ๘๐๐-๑๕๐๐ มิลเลียม

                -หมุนควงสูง ๑ รอบ มุมทางสูงจะเปลี่ยนไป ๑/๒ องศา             ๑๐ มิลเลียม

                -ส่ายควงส่ายจากกึ่งกลางไปทาง ขวา-ซ้าย ได้ข้างละ

                                                        ๙๐ มิลเลียม                          ๙๕ มิลเลียม

                -หนึ่งรอบควงส่าย             ๑๐ มิลเลียม                           ๑๐ มิลเลียม

                -ย้ายพื้นที่ยิงด้วยการยกขาหยั่ง

                  ไปทาง ขวา-ซ้าย ได้ข้างละ ๗๕๐ มิลเลียม                         ๖๔๐๐ มิลเลียม

                -หมุนควงส่ายตลอดแกนควงส่าย  ๑๘ รอบ                            ๑๙ รอบ

                -ระยะยิงไกลสุด(ขึ้นอยู่กับ ลย.) ๓,๓๐๐ หลา                         ๔,๗๓๗ เมตร

                -อัตราการยิงสูงสุด                                                             ๓๐ นัด/นาที

                -ต่อเนื่อง                                                                         ๑๘ นัด/นาที

                อัตราเร็วในการยิง แบบเอ็ม 29

                ชนิด ลย.     ชนิด ค.      สูงสุดนัดต่อนาที      ต่อเนื่องนัดต่อนาที

                   เอ็ม ๓๖๒       เอ็ม ๒๙         ๑๕ ในเวลา ๒ นาที                  ๔

                                                                ๒๗ ในเวลา ๑ นาที

                   เอ็ม ๓๖๒       เอ็ม ๒๙ อี ๑   ๒๕ ในเวลา ๒ นาที                  ๕

                                                                ๓๐ ในเวลา ๑ นาที

                   เอ็ม ๓๗๔,๓๗๕  เอ็ม ๒๙         ๑๘ ในเวลา ๒ นาที                  ๕

                                                                ๓๐ ในเวลา ๑ นาที

                   เอ็ม ๓๗๔,๓๗๕  เอ็ม ๒๙ อี ๑   ๒๕ ในเวลา ๒ นาที                  ๘

                                                                ๓๐ ในเวลา ๑ นาที

หมายเหตุ ถ้ายิงด้วยอัตราการยิงสูงสุดนานเกินกว่ากำหนดจะทำให้แก๊สรั่วออกมาทางท้ายลำกล้อง

 

๒. รายละเอียดของส่วนประกอบ

           ก. ลำกล้อง

                ๑) ลำกล้องภายในเรียบสม่ำเสมอ ภายนอกเป็นเกลียวถี่และหนาทำหน้าที่คล้ายลวดพันลำกล้องเพื่อเพิ่มความแข็งแรงทั้งเป็นที่ยึดและปรับให้วงแหวนรัดลำกล้องเลื่อนขึ้นลงได้

              ๒) เครื่องปิดท้ายและเข็มแทงชนวน เป็นเรือนเกลียวขันปิดท้ายลำกล้อง ประกอบด้วยตัวเรือนเกลียวเครื่องปิดท้าย และเดือยสำหรับยึดกับฐาน ที่กลางเดือยท้ายลำกล้องสร้างเป็นเรือนเกลียวเข็มแทงชนวนซึ่งเข็มแทงชนวนจะถูกขันให้ติดแน่นอยู่ในเรือนเกลียวโดยปลายเข็มแทงชนวนโผล่เข้าไปภายในเครื่องปิดท้ายลำกล้อง

                ๓) วงแหวนรัดลำกล้อง เป็นวงแหวนที่ติดอยู่กับภายนอกลำกล้องด้วยเกลียวรัดลำกล้อง สามารถหมุนเลื่อนปรับตำแหน่งที่อยู่ได้โดยหมุนไปตามเกลียวภายนอกลำกล้องโดยปกติจะอยู่กึ่งกลางระหว่างขีดสีขาว ๒ ขีดที่ทำไว้บนเส้นเกลียว ซึ่งอยู่ห่างจากปากลำกล้องปืน ๑๗ นิ้ว และ ๒๓ นิ้ว ตามลำดับ


การประกอบลำกล้องเข้ากับขาหยั่ง

ข. ชุดขาหยั่ง ชุดขาหยั่ง ส่วนประกอบของขาหยั่งประกอบด้วย ขาหยั่งเหล็กเหนียวเป็นขาหยั่ง ๒ ขา เครื่องให้มุมทิศ  (เครื่องส่าย), เครื่องให้มุมสูง, เครื่องปรับแก้เอียง, เครื่องผ่อนแรงกระเทือนและที่ยึดขาหยั่งติดกับลำกล้อง พลั่วขาหยั่ง ช่องรับกล้องเล็ง

                ๑) ที่ปลายพลั่วขาหยั่งที่ทั้งสองข้างมีโซ่ขาหยั่ง ที่ปลายโซ่ข้างหนึ่งจะสร้างเป็นแหนบรับแรงสะเทือนปกติใช้โซ่ระหว่างข้อที่ ๑๕ ถึง ๑๘  ขาหยั่งขวาเป็นขาหยั่งคงที่ ส่วนขาหยั่งซ้ายประกอบด้วยเครื่องแก้เอียงโดยมีปลอกเลื่อนคานแก้เอียงและควงยึดคานแก้เอียงสำหรับใช้ปรับแก้ปืนเอียง

                ๒) เครื่องให้มุมสูง ประกอบด้วยเรือนควงสูง ซึ่งมีควงสูงสามารถหมุนปรับให้ส่วนบนของชุดขาหยั่งขึ้นลงได้ด้วยเฟืองและเกลียวในกระปุกและหลอดเครื่องให้ทางสูง

                ๓) เครื่องให้มุมทิศ (เครื่องส่าย) ประกอบด้วยควงส่ายซึ่งจะอำนวยให้ปลอกสวมลำกล้องส่าย ซ้าย,ขวาได้ตามต้องการไปตามสะพานโครงส่าย ที่ปลายสะพานโครงส่ายด้านซ้ายมีช่องรับกล้องเล็ง

                ๔) ปลอกสวมลำกล้อง  (เอ็ม.๒๙) ติดอยู่กับส่วนบนของสะพานโครงส่าย เลื่อนไปมาทางระดับตามควงส่าย เป็นที่สำหรับยึดลำกล้องติดกับส่วนบนของขาหยั่งสลักยึดวงแหวนรัดลำกล้องกับก้านสูบเครื่องผ่อนอาการสะเทือน ขาหยั่งที่ใช้กับ เอ็ม.๒๙ มีเครื่องผ่อนอาการสะเทือนประกอบอยู่


ขาหยั่ง เอ็ม ๒๓ เอ ๑

ค. แผ่นฐาน ค.เอ็ม.๒๙ แผ่นฐานแบบกลมมี ๒ ชนิด คือ เอ็ม.๓ และ  เอ็ม.๒๓ เอ๑

                ๑). แผ่นฐาน เอ็ม.๓ เป็นโลหะชิ้นเดียวลักษณะกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๒๑ นิ้ว ตรงกลางมีช่องรับเดือยท้ายลำกล้องรูปตัวยู  (U) สามารถหมุนได้รอบตัว (๖,๔๐๐  มิลเลียม) โดยไม่ต้องเลื่อนแผ่นฐานเดือยท้ายลำกล้องจะสวมยึดติดกับแผ่นฐานด้วยการหมุนลำกล้อง ให้ด้านมนของเดือยท้ายลำกล้องขัดตัวกับช่องรับเดือย ช่องรับเดือยท้ายลำกล้องต้องให้ชี้ไปทางทิศทางยิงเสมอ โดยทั่วไปที่ตั้งแผ่นฐานต้องขุดหลุม เมื่อเครื่องยิงตั้งบนพื้นดินที่แข็งมาก ๆ การขุดให้ขุดเป็นรูปกากบาทลึก ประมาณ ๒ นิ้ว  เพื่อให้พลั่วแผ่นฐานฝั่งตัวแผ่นฐานจะมั่นคงหลังจากยิงไปแล้ว ๒-๓ นัด ในสถานการณ์เร่งด่วน อาจจะไม่ต้องขุดหลุมก็ได้

                ๒) แผ่นฐาน เอ็ม๒๓ เอ๑ บางหน่วยยังคงมีแผ่นฐาน เอ็ม.๒๓ เอ๑ ใช้อยู่การติดตั้งคล้ายกับ เอ็ม.๓ ลักษณะทั่วไป แผ่นฐาน เอ็ม.๒๓ เอ๑ เป็นรูปวงกลมซ้อนกัน ๒ วง  แผ่นฐานวงในจะอยู่กึ่งกลางของแผ่นฐานวงนอก ทั้ง ๒ วง  จะมีหูหิ้วแผ่นฐานวงในสามารถแยกใช้ยิงแผ่นฐานเดียวได้เมื่อใช้ส่วนบรรจุต่ำทำการยิงหรือเมื่อพื้นดินสามารถใช้แผ่นฐานได้มั่นคงแผ่นฐาน ๒ วงจะมีน้ำหนัก ๔๘ ปอนด์


แผ่นฐาน M 3

แผ่นฐาน M23 A1

๓. การทำงานของเครื่องกลไก

           เครื่องยิงลูกระเบิดขนาด ๘๑ มม.ไม่ยุ่งยากเหมือนปืนอย่างอื่นเพราะลักษณะของเครื่องกลไกที่สร้างขึ้นไม่ซับซ้อน ดังนั้นจะกล่าวเฉพาะส่วนสำคัญเท่านั้นโดยแบ่งการทำงานดังนี้คือ

           ก. การทำงานของเข็มแทงชนวนและเครื่องลั่นไก

           ข. การทำงานของชุดผ่อนอาการสะเทือน และปลอกสวมลำกล้อง

           ค. การทำงานของเครื่องส่าย

           ง. การทำงานของเครื่องให้ทางสูง

           จ. การทำงานของคานแก้เอียง

           ๑). การทำงานของเข็มแทงชนวน เมื่อประกอบเข็มแทงชนวนเข้าไปในช่องเข็มแทงชนวน เข็มแทงชนวนจะโผล่เข้าไปในลำกล้องรอรับการกระแทกของเครื่องเริ่มจุด เมื่อบรรจุลูกระเบิดยิงเข้าไปทางปากลำกล้องลูกระเบิดยิงจะเลื่อนตัวลงไปยังท้ายลำกล้อง ปลายเข็มแทงชนวนจะกระทบกับเครื่องเริ่มจุดโดยแรงจะทำให้เกิดการจุดดินส่งกระสุนและเมื่อดินส่งกระสุนถูกจุดกำลังดันของก๊าซที่เกิดขึ้นจากการเผาไหม้จะขับ ลย.ให้วิ่งออกไปจากปากลำกล้องทันที

           ๒). การทำงานของเครื่องผ่อนอาการสะเทือนและปลอกสวมลำกล้อง แรงสะท้อนถอยหลังเกิดขึ้นทันทีที่ ลย.พ้นจากปากลำกล้อง ลำกล้องจะถูกกดให้ต่ำลง ทำให้ปลอกสวมลำกล้องเคลื่อนที่มาทางปากลำกล้อง แหนบเครื่องผ่อนอาการสะเทือนที่อยู่ในกระบอกเครื่องผ่อนอาการสะเทือนจะถูกอัดตัวด้วยแกนแหนบเครื่องผ่อนอาการสะเทือนซึ่งติดอยู่กับสลักแหวนรัดลำกล้อง เมื่อแรงดันอากาศธาตุหมดไปแหนบเครื่องผ่อนอาการสะเทือนจะคลายตัวและผ่อนอาการ เลื่อนกลับของลำกล้องเข้าที่เดิม

           ๓). การทำงานของเครื่องส่าย ถ้าหมุนควงส่ายตามเข็มนาฬิกา เกลียวควงส่ายและปลอกเกลียวควงส่ายจะเคลื่อนที่ไปทางซ้ายแต่ถ้าหมุนทวนเข็มนาฬิกาเกลียวควงส่ายและปลอกเกลียวควงส่ายจะเคลื่อนที่ไปทางขวา เมื่อเกลียวควงส่ายเคลื่อนที่ไปทางข้าง (ขวาหรือซ้าย)นั้น จะทำให้โครงส่ายเคลื่อนที่ตามไปด้วยในทิศทางแห่งการเคลื่อนที่ของปลอกเกลียวควงส่าย การที่โครงส่ายสามารถเคลื่อนที่ไปได้นั้นเพราะปลายซ้ายของปลอกเกลียวควงส่ายยึดติดกับปลายซ้ายของโครงส่ายด้วยข้อต่อยึดปลอกเกลียวควงสูง เมื่อโครงส่ายเคลื่อนที่ไปบนสะพานโครงส่ายมันจะพาปากลำกล้องให้เคลื่อนที่ไปด้วย เพราะโครงส่ายกับปลอกสวมลำกล้องนั้นยึดติดต่อถึงกัน ดังนั้นเมื่อหมุนควงส่ายตามเข็มนาฬิกาเกลียวควงส่ายและปลอกเกลียวควงส่ายจะเคลื่อนที่ไปทางซ้าย โครงส่ายและปลอกสวมลำกล้องจะเคลื่อนที่ไปทางซ้ายด้วยและในทางตรงกันข้ามเมื่อหมุนควงส่ายทวนเข็มนาฬิกาเกลียวควงส่ายและปลอกเกลียวควงส่ายจะเคลื่อนที่ไปทางขวา โครงส่ายและปลอกสวมลำกล้องจะเคลื่อนที่ไปทางขวาเช่นกัน

           ๔). การทำงานของเครื่องให้ทางสูง เมื่อหมุนควงสูงจะทำให้เฟืองควงสูง ซึ่งปลายข้างหนึ่งขันเกลียวติดกับควงสูง หมุนตามไปด้วยอาการหมุนของเฟืองควงสูงเป็นอาการหมุนอยู่กับที่คือหมุนรอบแกนตัวเองซึ่งเป็นแกนคงที่  การที่เฟืองควงสูงหมุนไปจะทำให้กระบอกเกลียวควงสูงซึ่งปลายด้านหนึ่งมีฟันเฟืองสัมผัสอยู่กับฟันเฟืองควงสูงหมุนตามไปด้วย จึงเป็นผลทำให้เกลียวควงสูงหมุนตามไปด้วย ทั้งนี้เพราะปลายด้านหนึ่งของเกลียวควงสูงจะไปขบกันกับกระบอกเกลียวควงสูงอาการหมุนของเกลียวควงสูงนี้ จะทำให้ปลอกเกลียวควงสูงเลื่อนขึ้นลงได้ และการที่ปลอกเกลียวควงสูงเลื่อนขึ้นลงนี้เองจะไปยกปากลำกล้องให้สูงขึ้น  หรือกดปากลำกล้องให้ต่ำลงได้ ทำให้สามารถเปลี่ยนแปลงมุมสูงของเครื่องยิงลูกระเบิดได้

           ๕). การทำงานของคานแก้เอียง เมื่อหมุนควงแก้เอียงจะทำให้เกลียวควงแก้เอียง ซึ่งประกอบอยู่เป็นแกนเดียวกันเกิดการหมุนตามไปด้วย เกลียวควงแก้เอียงซึ่งเป็นเกลียวตัวผู้จะหมุนอยู่กับที่ โดยมีปลอกเกลียวควงแก้เอียงซึ่งเป็นเกลียวตัวเมียเลื่อนเข้า-ออกได้ โดยการเดินไปตามร่องเกลียวที่ปลายของปลอกเกลียวควงแก้เอียงจะมีรองปลอกเกลียวควงแก้เอียง ซึ่งทำด้วยทองเหลืองสวมอัดติดอยู่ รองปลอกเกลียวควงแก้เอียงนี้จะเป็นตัวที่สัมผัสกับผิวภายในของเรือนคานแก้เอียงดังนั้นเมื่อหมุนควงแก้เอียงจะทำให้ปลอกเกลียวควงแก้เอียงเกิดการเลื่อนเข้า – ออกได้จากภายใน เรือนคานแก้เอียงก็จะเลื่อนตามไปด้วย โดยจะเลื่อนอยู่ภายในเรือนคานแก้เอียงเท่านั้นที่ปลายของปลอกเกลียวควงแก้เอียงจะมีหัวปลอกเกลียวคานแก้เอียงติดอยู่ ซึ่งหัวปลอกเกลียวคานแก้เอียงนี้เวลาใช้งานจะเกาะติดกับแท่นรับคานแก้เอียงที่ชุดเครื่องให้ทางสูง ดังนั้นเมื่อหมุนควงแก้เอียงก็จะทำให้ปลอกเกลียวควงแก้เอียงไปดันหรือดึงให้ชุดเครื่องให้ทางสูงเอียงไปทางขวาหรือทางซ้ายได้ตามต้องการ สำหรับทิศทางการหมุนของควงแก้เอียงถ้าหมุนตามเข็มนาฬิกาจะทำให้ลำกล้องปืนเอียงไปทางซ้าย ถ้าหมุนทวนเข็มนาฬิกาจะทำให้ลำกล้องปืนเอียง ไปทางขวา

 

เครื่องมือเครื่องใช้

           - แส้ทำความสะอาดลำกล้อง เอ็ม ๘                  - แปรงทำความสะอาดรังเพลิง เอ็ม ๖

           - เครื่องมือทำความสะอาดช่องเข็มแทงชนวน      - กระป๋องอัดน้ำมันขนาดเล็ก

           - ย่ามลูกระเบิด เอ็ม ๑                                    - กระเป๋าผ้าใบใส่เครื่องอะไหล่

           - ฝาครอบลำกล้อง เอ็ม ๓๐๗                           - ย่ามลูกระเบิด เอ็ม ๒เอ ๑

                                                                                 - นวมรองบ่า เอ็ม ๓

           - สายสะพายฐานลำกล้อง เอ็ม ๑                  - ไขควงปลายงอ

           - ไขควงหน้าใหญ่                                          - ไขควงหน้าเล็ก

           - เหล็กตอกสกัด                                         - ถุงสมุดประวัติ

           - ประแจปากตาย                                           - ผ้าใบห่อเครื่องมือ

เครื่องอะไหล่ประกอบด้วย

           - เข็มแทงชนวน                                         - สลักแกนควงสูง

           - สลักแกนด้ามควงสูง                                     - สลักแกนปลอกสวมลำกล้อง

           - หมุดเกลียวยึดจุกเกลียวกระบอกแหนบเครื่องผ่อนอาการสะเทือน

 

 

คุณลักษณะและขีดความสามารถ ค.๘๑ มม.ศอว.ทบ.แบบต่าง ๆ

๑. คุณลักษณะและขีดความสามารถ

           ๑.๑ เครื่องยิงลูกระเบิดขนาด ๘๑ มม. ศอว.ทบ.  ทุกแบบเป็นอาวุธที่มีลำกล้องเกลี้ยงไม่มีเกลียวบรรจุกระสุนทางปากลำกล้องทำการยิงทีละนัดเครื่องยิงนี้ประกอบด้วยชิ้นส่วนสำคัญ ๓ ชิ้นส่วนคือ ลำกล้องและโครงเครื่องปิดท้าย,ขาหยั่ง,ฐานรับลำกล้อง  ชิ้นส่วนเหล่านี้สามารถแยกจากกันได้ นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์ประกอบที่สำคัญอีก คือ กล้องเล็งและหลักเล็ง เป็นต้น

           ๑.๒ แบบของ ค.๘๑ มม. ศอว.ทบ. ค.๘๑ มม. ศอว.ทบ.ที่สร้างและผลิตขึ้นซึ่งถือเป็นมาตรฐานการสร้างของ ศอว.ทบ.มีอยู่ ๓ แบบ (รูป ที่ ๑) โดนเรียกชื่อตามรหัสของโรงงาน คือ

                ๑.๒.๑ ค.๘๑ มม. ศอว.ทบ.แบบ ๘ ป.๑ แบบนี้เป็นแบบธรรมดาทั่ว ๆ ไป  ทำการยิงทีละนัดโดยการบรรจุลูกระเบิดยิง(กระสุน)  เข้าทางปากลำกล้อง  เมื่อลูกระเบิดยิงเคลื่อนลงไปในลำกล้องปืนจนกระทั่งกระทบกับเข็มแทงชนวน ดินส่งกระสุนจะทำงานเป็นการยิงกระสุนหรือ ลย./ค. ออกไปจากปากลำกล้องรูปร่างลักษณะตามรูปที่ ๑

                ๑.๒.๒ ค.๘๑ มม. ศอว.ทบ.แบบ ๘ ป.๒ แบบนี้เป็นแบบที่มีเครื่องลั่นไกสามารถทำการยิงได้โดยวิธีลั่นไก หรืออาจทำการยิงได้แบบเดียวกับ ค.ทั่ว ๆ ไป (ตามข้อ ๑.๒.๑ ข้างบนนี้)ทั้งนี้โดยการตั้งคันบังคับที่โครงเครื่องปิดท้ายว่าจะยิงแบบใด รูปร่างลักษณะ ตามรูปที่ ๑

                ๑.๒.๓ ค.๘๑ มม. ศอว.ทบ.แบบ ๘ ป.๓ เป็นแบบที่สามารถแยกลำกล้อง (SPLIT TYPE)ออกจากกันได้เป็น ๒ ท่อน ทั้งนี้เพื่อสะดวกในการนำไปภูมิประเทศที่ยากลำบากส่วนประกอบต่าง ๆ เหมือนกันกับ ค.๘๑ มม. ศอว.ทบ.แบบ ๘ ป.๒ รูปร่างลักษณะตามรูปที่ ๑

           ๑.๓ รายการขนาดน้ำหนัก และขีดความสามารถของ ค.๘๑ มม. ศอว.ทบ.

                ๑.๓.๑ ขนาด (มม.)                                               บ.๘ ป.๑   บ.๘ ป.๒ บ.๘ ป.๓

                         - กว้างปากลำกล้อง                                      ๘๑.๐ ๘๑.๐      ๘๑.๐

                         - ความยาวลำกล้องไม่รวมเครื่องปิดท้าย          ๑๒๐๐   ๑๒๐๐     ๑๑๒๙

                         - ความยาวลำกล้องรวมเครื่องปิดท้าย              ๑๓๐๖   ๑๓๔๒      ๑๒๗๑

                     - ความยาวขาหยั่งขณะเก็บปกติ                 ๙๖๐       ๙๖๐        ๙๖๐

                         - ความยาวขาหยั่งขณะยืดออกสุด                  ๑๓๔๐     ๑๓๔๐   ๑๓๔๐

                         - เส้นผ่าศูนย์กลางฐานรับลำกล้อง                  ๕๗๐      ๕๗๐       ๕๗๐

                         - ความสูงของฐานรับลำกล้อง                        ๑๔๕      ๑๔๕      ๑๔๕

                ๑.๓.๒ น้ำหนัก (กก.)

                         - ลำกล้องไม่รวมเครื่องปิดท้าย                       ๒๑         ๒๑     ๒๔

                         - ลำกล้องรวมเครื่องปิดท้าย                           ๒๔    ๒๖.๓         ๒๙.๘

                         - เครื่องปิดท้ายแบบไม่มีเครื่องลั่นไก                ๓.๑          -              -

                         - เครื่องปิดท้ายแบบมีเครื่องลั่นไก                   -               ๕.๘   ๕.๘

                         - ขาหยั่ง                                                    ๒๖          ๒๖           ๒๖

                 - ฐานรับลำกล้อง                                         ๑๙    ๑๙          ๑๙

                         - ค. ทั้งกระบอกพร้อมขาหยั่งและฐาน             ๖๙.๑         ๗๑.๘         ๗๔.๘

                ๑.๓.๓ ขีดความสามารถ

                         - ยกมุมสูงได้ตั้งแต่                                       ๗๕๐  ถึง  ๑,๕๐๔  มิลเลียม

                         - หมุนควงสูงหนึ่งรอบมุมสูงเปลี่ยน                 ๔  มิลเลียม

                         - ส่ายปืนทางทิศจากกึ่งกลางได้ข้างละ             ๗๒  มิลเลียม

                         - หมุนควงส่ายหนึ่งรอบมุมทิศเปลี่ยน              ๘  มิลเลียม

                         - ย้ายพื้นยิงด้วยการยกขาหยั่งได้                ๖,๔๐๐  มิลเลียม

                ๑.๓.๔ ระยะยิงไกลสุดตามตารางยิง

                         - ยิงด้วยกระสุนระเบิด M ๒๖๒                   ๔,๔๕๐  เมตร

                         - ระยะยิงใกล้สุด                                          ๗๕  เมตร

                         - อัตรายิงสูงสุด                                            ๑๒ นัด/นาที

                         - อัตรายิงต่อเนื่อง                                        ๓ นัด/นาที

 

กล้องเล็ง

           กล้องเล็งที่ใช้กับ ค.๘๑ มม. เครื่องยิงลูกระเบิดทั้ง ๒ ชนิดมีอยู่ ๓ แบบ คือกล้องเล็งเอ็ม ๔ ,เอ็ม ๓๔ และ เอ็ม ๕๓ เฉพาะกล้องเล็ง เอ็ม ๔ ได้กล่าวในวิชา ค.แบบ ๘๘ ขนาด ๖๐ มม.แล้ว

 

๑. กล้องเล็ง เอ็ม.๓๔

           ก. กล้องเล็ง เอ็ม.๓๔ ประกอบด้วยแท่นรับกล้อง บ.๗๙ กล้องส่องรูปข้อศอก บ.๖๒ ฐาน กล้องส่อง บ.๙ ไฟฉายกล้องเล็ง บ.๔๒ และกล่องใส่กล้อง บ.๗๘ กล้อง บ.๓๔ นี้เป็นกล้องมาตรฐานสำหรับใช้กับ ค.๙๕ เพื่อช่วยเล็งเครื่องยิงในทางมุมทิศและมุมสูง เฉพาะตัวกล้องเอ็ม ๓๔ หนัก ๔ ปอนด์

           ข. กล้องส่อง บ.๖๒ รูปข้อศอก มีกำลังขยายเป็น ๓ เท่า ภายในประกอบด้วยแก้วสามเหลี่ยมกล้องส่องสอดอยู่ในช่องรัดกล้องส่อง  ซึ่งอยู่ตอนบนของฐานกล้องส่องภายในเลนส์จะเป็นเส้นกากบาททางดิ่งและทางระดับ เส้นดิ่งใช้สำหรับวางพื้นยิงของ ค.ให้ตรงทิศทางควงบังคับกล้องสำหรับบังคับกล้องส่องให้อยู่ที่ถ้าคายออกก็จะสามารถหมุนกล้องส่องได้ การหมุนกล้องส่องมาอยู่ในแนวระดับก็เพื่อป้องกันน้ำขังช่องมองในขณะฝนตกควงบังคับแกนกล้องส่องใช้สำหรับยกเส้นแกนกล้องส่องให้สูงหรือต่ำลงในทางดิ่งเพื่อปรับให้เห็นภาพในสนามได้ดีตอนเหนือของลำกล้องทำรางรับไฟฉายหัวหลักเล็งในเวลากลางคืน

           ค. ฐานรับกล้องส่อง บ.๙ ประกอบด้วยเครื่องวัดมุมทิศ หลอดระดับแก้เอียง (หลอดระดับทางข้าง) ศูนย์เปิดและช่องรัดกล้องส่อง (สาแหรกรัดลำกล้อง)

                ๑) เครื่องวัดมุมทิศ ประกอบด้วยมาตรามุมทิศส่วนย่อยและดรรชนีมาตรามุมทิศส่วนใหญ่แบ่งออกเป็น ๖๔ ช่อง ๆ ละ ๑๐๐ มิลเลียมทุก ๆ ๔ ช่อง เขียนตัวเลขกำกับไว้ตั้งแต่ ๒๘ ถึง ๐ ไปทางซ้าย และ  ๐  ถึง ๒๘ ไปทางขวา (๓๒ หรือ ๐) เขียนไว้ที่เดียวกัน รวมเป็น ๖๔ ช่อง มาตรามุมทิศส่วนย่อยแบ่งออกเป็น ๑๐๐ ช่อง ๆ ละ ๑ มิลเลียม เขียนเลขกำกับไว้ทุก ๆ ๑๐  มิลเลียม  เมื่อดันควงมาตรามุมทิศไปข้างหน้าก็จะปลดมาตรามุมทิศส่วนใหญ่ให้เป็นอิสระหมุนไปมาก ๆ  ได้ หลอดระดับแก้เอียงเป็นเครื่องช่วยให้วางพื้นยิงตรงทิศทาง ติดอยู่กับฐานกล้องเล็ง

                ๒) ศูนย์เปิด ติดอยู่ด้านซ้ายช่องรัดกล้องส่องตรึงแน่นและขนานกับเส้นแกนหลอดลำกล้องเครื่องยิงใช้ในกรณีการเล็งอย่างคร่าว ๆ หรือแทนกล้องซึ่งเสียไป

                ๓) ช่องรัดกล้องส่องประกอบด้วยสาแหรกและท่อรัดกล้องส่อง มีควง ๒  อัน  บนสาแหรกคือควงบังคับกล้องส่องสามารถหมุนกล้องมาทางข้างได้ ๙๐ องศา ควงบังคับแกนกล้องสามารถยกกล้องให้สูงขึ้นหรือต่ำลง ๓๐ องศา

           ง. แท่นรับกล้อง บ.๗๙ ประกอบด้วยเครื่องวัดมุมสูงและก้านเครื่องเล็งสำหรับติดกล้องเข้ากับเครื่องเล็ง

                ๑) เครื่องวัดมุมสูงประกอบด้วยควงมุมสูง  และมาตรามุมสูงส่วนย่อย  มาตรามุมสูงส่วนใหญ่และดรรชนีชี้มาตรา หลอดระดับปรับมุมสูง

                มาตรามุมสูงส่วนใหญ่แบ่งเป็นช่องละ ๑๐๐ มิลเลียม แต่เขียนด้วยตัวอักษร ๒ ช่อง ๑ ครั้ง  ตั้งแต่ลบ ๒๐๐ ถึง ๑,๖๐๐ มาตรามุมสูงส่วนย่อย ๑ รอบ แบ่งออกเป็น ๑๐๐ ช่อง ๆ ละ ๒ มิลเลียม เขียนด้วยจำนวนตัวเลขจำนวนสิบ ตั้งแต่ ๐ ถึง ๙๐ (๑๐๐ นี้ เป็นเลข ๐ ใหม่) แล้วขึ้น ๐ ไปถึง ๙๐ อีกครั้งจึงครบรอบรวมมี ๐ ถึง ๙๐ สองครั้ง หลอดระดับปรับมุมสูงติดอยู่ตอนกลางด้านซ้ายของกล้องห้ามหมุนควงมุมสูงเมื่อหมุนไปสุดแล้ว

                ๒) แหนบกระเดื่องก้านเครื่องเล็งและกลอนกระเดื่องก้านเครื่องเล็ง จะบังคับกล้องให้ติดอยู่กับแท่นรับกล้องเล็ง เมื่อกดกลอนกระเดื่องก้านเครื่องเล็งก็จะถอนกล้องออกจากแท่นรับกล้องเล็งได้

           จ. ไฟฉายเครื่องเล็ง บ.๔๒ ให้แสงด้วยหลอดไฟในไฟฉายกล้องสอบการเล็ง ใส่ถ่านไฟสองก้อนในกระบอกไฟฉาย การติดไฟฉายกล้องสอบการเล็งเข้ากับกล้องส่องให้สอดครีบหัวไฟฉายกล้องสอบการเล็งเข้าก่อนตามร่องให้ใส่จากด้านหลอดระดับมีสวิตซ์ปิดเปิดที่หัวกระบอกไฟฉายและสามารถปรับให้สว่างหรี่ได้หมุนสวิตซ์ไปทางขวาเร่งไฟให้สว่าง ถ้าจะเก็บไฟฉายเครื่องเล็งเข้ากล่องให้ถอดถ่านไฟฉายเสียก่อนแล้วเก็บไฟฉายเครื่องเล็งเข้าที่ในกล้องเล็ง

การใช้เครื่องเล็ง

           ก. ติดกล้องเล็งเข้ากับ ค.โดยถอดกล้องออกจากกล่องติดเข้าที่แท่นรับกล้องจนเข้าที่สนิท

           ข. ตั้งมุมทิศและมุมสูงที่มาตราตามที่ต้องการ

           ค. ปรับมุมสูงของเครื่องยิงจนหวอดระดับปรับมุมสูงอยู่กึ่งกลาง  ปรับมุมทิศของเครื่องยิงจนเส้นดิ่งในกล้องทับขอบซ้ายของตำบลเล็งต้องตรวจดูว่าหวอดระดับแก้เอียงอยู่กึ่งกลางตลอดเวลาที่ปฏิบัติ (หวอดระดับทั้งสองต้องอยู่ในกึ่งกลาง) ตอนนี้แสดงว่าเครื่องยิงได้ตั้งมุมสูงและมุมทิศตามที่ต้องการแล้ว

           ง. ถอดกล้องเล็งออกเก็บ กดกระเดื่องก้านเครื่องเล็ง ถอดเครื่องเล็งออกจากแท่นรับกล้องเล็งตั้งมุมสูง ๑,๖๐๐ มุมทิศ ๐ ใส่กล่องเสียบก้านเครื่องเล็งเข้าแท่นรับกล้องเล็งในกล่องถ้าไม่ทำดังนี้กล้องจะเสียเมื่อปิดฝากล่อง

การระมัดระวังและการบำรุงรักษา

           กล้องเล็ง เอ็ม.๓๔ นี้เป็นเครื่องมือที่ทนทานอันหนึ่งแต่อย่างไรก็ดีถ้ามีการปฏิบัติอย่างไม่ถูกต้องไม่ปราณีปราศรัยก็อาจชำรุดเสียหายได้ วิธีบำรุงรักษาให้กระทำดังนี้.-

           ก. อย่าให้กระทบหรือตก อย่าทำบุบหรือเอาก้านกล้องเล็งไปเคาะเล่นอย่ากระแทกควงมาตราต่างรวมทั้งฐานกล้องส่องด้วย

           ข. เมื่อยังไม่ใช่ให้เก็บไว้ในกล่อง พยายามทำให้แห้งเท่าที่จะทำได้อย่าเก็บทิ้งไว้ให้เปียกหรือชื้น

           ค. ถ้ากล้องทำงานไม่เรียบร้อย ให้ส่ง สพ.ซ่อม ห้ามพลประจำเครื่องยิงถอดกล้องเล็ง

           ง. ต้องรักษาเลนส์ให้แห้งสะอาด เช็ดฝุ่นผงจากเลนส์ด้วยแปรงขนอูฐ หรือใช้กระดาษเช็ดเลนส์เท่านั้นอย่าใช้น้ำยาอื่น ๆ มาล้างเป็นอันขาด ใช้สบู่สำหรับล้างเลนส์ ล้างจาระบีหรือน้ำมันออกจากเลนส์

           จ. บางครั้งก็ทาน้ำมันใสที่ส่วนเคลื่อนที่บาง ๆ  แต่เพื่อป้องกันฝุ่นผงที่มันสะสมมากขึ้นให้เช็ดน้ำมันที่ซึมออกจากส่วนเคลื่อนที่ออกเสีย

๒. กล้องเล็ง เอ็ม ๕๓

           กล้องเล็ง เอ็ม ๕๓ นี้ เป็นกล้องมาตรฐานที่ใช้อยู่กับเครื่องยิงลูกระเบิดขนาด ๘๑ มม.และ ๑๒๐ มม.ได้ถูกนำมาใช้แทนกล้องเล็ง เอ็ม ๓๔ เอ ๒ ทั้งนี้ก็เพราะว่า การผลิตใช้เพียงแบบเดียวนั้นซึ่งนับวันที่กล้องเล็ง เอ็ม ๓๔ เอ ๒ จะไม่สามารถใช้อีกต่อไป หลายหน่วยอาจมีทั้ง ๒ แบบ กล้องเล็งอย่างใดอย่างหนึ่งใน ๒ แบบนี้สามารถใช้แทนกันได้

           ก. กล่าวทั่วไป กล้องเล็ง เอ็ม ๕๓ ประกอบด้วยฐานกล้อง เอ็ม ๑๒๘  และกล้องส่องรูปข้อศอกเป็นกล้องเล็งของเครื่องยิง ฐานกล้องจะทำให้กล้องรูปข้อศอกอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องในส่วนที่เกี่ยวกับแกนมุมภาคแกนมุมสูงของเครื่องยิง

           ข. กล้องส่องรูปข้อศอก เอ็ม ๑๐๙

                ๑) กล้องส่องรูปข้อศอกมีน้ำหนักเบามีกำลังขยาย ๔ เท่า เป็นกล้องที่มีจุดรวมแสงคงที่ขอบเขตการมองเห็นกว้าง  ๑๐  องศา (ประมาณ ๑๗๐ มิลเลียม)  ทำการเล็งด้วยตา  ใช้มุมภาคและมุมสูงให้ทิศทางแก่เครื่องยิง

                ๒) กล้องส่องรูปข้อศอก ภายในแว่นแก้วมีรูปกากบาท และมีมาตรามิลเลียมกำกับไว้จากจุดกึ่งกลางและแบ่งออกเป็น ๑๗ ช่อง ทั้ง ๔ ด้าน ๑ ช่อง มีค่าเท่ากับ ๕ มิลเลียม และจะเขียนเลขกำกับไว้ทุก ๑๐  มิลเลียม

                ๓) กล้องเล็งรูปข้อศอกนี้สามารถใช้ได้ ๓ ท่าด้วยกันคือ ในท่าที่ช่องมองอยู่ทางด้านซ้าย ด้านขวาและท่าตรง(ด้านบน) โดยสาแหรกยึดกล้องส่องจะทำหน้าที่ยึดอยู่ในท่านั้น ๆ  ดัชนีของกล้องส่องรูปข้อศอกแสดงถึงท่าที่อยู่ในทางระดับและทางดิ่งของรูปกากบาทในแว่นแก้วขณะที่ปรับเส้นเล็ง ไม่ว่าในท่าใดถ้าดรรชนีไม่อยู่ในเส้นเล็งเดียวกันแล้วภาพการเห็นจะเอียง

                ๔) มาตรามุมพื้นที่ จากพื้นระดับสามารถวัดมุมพื้นที่ได้ - (ลบ) ๓๐๐ มิลเลียม ถึง (บวก) ๓๐๐        มิลเลียม โดยหมุนที่มาตรามุมพื้นที่ส่วนย่อย

                ๕) ช่องมองได้จัดทำไว้ให้บังเกิดความสะดวกสบายแก่ผู้ใช้เป็นอย่างมาก

ค. ฐานกล้อง เอ็ม ๑๒๘ 

๑) กล่าวทั่วไป ฐานของกล้องส่งประกอบด้วยส่วนใหญ่ ๆ ๓ ส่วนคือ ส่วนล่าง ส่วนกลางและส่วนบนส่วนล่างประกอบด้วยกลอนคานยึดควงมุมสูงและมาตรามุมสูง และควงยึดมาตรามุมสูง ส่วนกลางประกอบด้วยปลอกแกนมุมสูง ควงมาตรามุมทิศ และควงยึดมาตรามุมทิศ มาตรามุมทิศอยู่กับที่  (มาตราสีแดง)มาตรามุมทิศเลื่อนได้ (มาตราสีดำ)กับหลอดระดับมุมทิศและหลอดระดับมุมสูง ส่วนบนประกอบด้วยส่วนรองรับกล้องส่องรูปข้อศอก ติดตั้งอยู่บนส่วนกลางแกนระดับของกล้องส่วนรับรองแนบสนิทอยู่กับศูนย์เปิดซึ่งแยกออกมาเล็กน้อยและมาตรามุมพื้นที่

                ๒) ส่วนล่าง

                     ก) ก้านกล้องเล็ง ตั้งอยู่บนด้านขวาของฐาน ซึ่งสอดเข้าไปอยู่ในช่องรับของกล้องเล็งบนฐานกล้องเพื่อยึดกล้องเข้ากับเครื่องยิง

                     ข)  กระเดื่องยึดกล้องเล็งที่อยู่ในส่วนล่างของฐาน มีวัตถุประสงค์อยู่ ๒ ประการคือ ยึดก้านกล้องเล็งเข้าไปในช่องรับกล้องของฐานกล้อง และกระเดื่องจะคลายออกเมื่อต้องการจะแยกก้านกล้องออก

                     ค) มาตรามุมสูงส่วนใหญ่รูปครึ่งวงกลม ทางด้านซ้ายแบ่งออกเป็น ๑๙ ช่องเท่า ๆ กันแต่ละช่องมีค่าเท่ากับ ๑๐๐ มิลเลียม และจะเขียนเลขกำกับไว้ทุก ๆ ๒๐๐ มิลเลียม เริ่มต้นจาก-(ลบ) ๓๐๐  มิลเลียม ไปจนถึง + (บวก) ๑,๖๐๐ มิลเลียม มาตราลบสีแดง ใช้สำหรับมุมต่ำกว่าพื้นระดับ มาตราบวกสีดำ ใช้สำหรับอ่านและตั้งค่ามุมสูง ดรรชนีมาตรามุมสูงที่ใช้อ่านอยู่บนส่วนล่างของเหล็กหล่อถ้ามาตรามุมสูงคลาดเคลื่อนสามารถปรับได้โดยการคลายหมุดเกลียวยึดออกตั้งมาตราให้ถูกต้องแล้วขันให้แน่นตามเดิม

                     ง) ควงมุมสูงใช้สำหรับตั้งมาตรามุมสูงใช้สำหรับเปลี่ยนแปลงค่ามุมไปครั้งละมาก ๆ ที่ควงมุมสูงนี้มีมาตรามุมสูงส่วนย่อยติดอยู่ด้วย ประกอบด้วยมาตราที่ใช้อ่านในทางบวกและทางลบ  คือตัวเลขมาตราสีดำในช่องอ่านทางบวก ตัวเลขสีแดงใช้อ่านทางลบ มาตรามุมสูงส่วนย่อยนี้แบ่งออกเป็น ๑๐ ช่องเท่า ๆ กัน ๑ ช่องมีค่าเท่ากับ  ๑ มิลเลียม และมีตัวเลขกำกับไว้ทุก ๆ ๑๐ มิลเลียม จาก ๐ ถึง  ๙๐  ดรรชนีชี้มาตราส่วนสูงย่อยอยู่บนเหล็กหล่อแท่งใหญ่  ถ้าต้องการปรับมาตรามุมสูงส่วนย่อยให้คลายหมุดเกลียว ๒  ตัวที่อยู่ทางด้านหน้าควงมุมสูงออกเครื่องกลไกต่าง ๆ จะถูกควบคุมโดยควงยึดมาตรามุมสูง (ควงสีแดง)เพื่อป้องกันควงมุมสูงเลื่อนไปมาขณะทำการยิง

           ๓) ส่วนกลาง

                     ก) มาตรามุมทิศอยู่กับที่ (มาตราสีแดง)ไม่สามารถเลื่อนไปมาได้แบ่งออกเป็น ๖๔ ช่องเท่ากัน ๑ ช่องทีค่าเท่ากับ ๑๐๐ มิลเลียม และเขียนเลขกำกับไว้ทุก ๆ ๔๐๐ มิลเลียม โดยเริ่มจาก ๐ ถึง ๖๐  มาตรานี้จะหมุนไปตามส่วนบนของฐานกล้องเมื่อหมุนควงมุมทิศ ควงมุมทิศติดอยู่ที่ด้านหน้าควงมุมทิศดรรชนีมาตรามุมทิศส่วนใหญ่ซึ่งยื่นออกมายึดอยู่กับเหล็กหล่อแท่งใหญ่ มาตรามุมทิศส่วนย่อยแบ่งออกเป็น ๑๐๐ ช่อง เท่า ๆ กัน ๑  ช่องมีค่าเท่ากับ  ๑ มิลเลียม และเขียนเลขกำกับไว้ทุก ๆ ๑๐ มิลเลียม เริ่มจาก ๐ ถึง ๙๐  มาตรานี้ถูกยึดแน่นอยู่กับควงมุมทิศ ในการปรับมาตรามุมทิศส่วนย่อยให้คลายหมุดเกลียว ๒ ตัว  ซึ่งอยู่หน้าควงมุมทิศแล้วหมุนไปยังตัวเลขที่ต้องการจะตั้ง

                     ข) มาตรามุมทิศเลื่อนได้ (มาตราสีดำ) มาตรามุมทิศส่วนใหญ่เป็นมาตราที่ทำไว้เป็นรูปวงกลมมันจะถูกยึดไว้โดยระบบแรงเสียดทานและอยู่ใกล้กับมาตราสีแดง มาตรามมุมทิศเลื่อนได้นี้แบ่งออกเป็น ๖๔ ช่อง เท่ากัน ๑ ช่องมีค่าท่ากับ ๑๐๐ มิลเลียม และมีตัวเลขกำกับไว้ทุก ๆ ๒๐๐ มิลเลียม  ดรรชนีมาตรามุมทิศส่วนใหญ่อยู่บนเหล็กหล่อแท่งใหญ่ การตั้งมาตรามุมทิศส่วนใหญ่สามารถตั้งได้โดยการกดลงข้างล่างแล้วหมุนไป

                     ค) มาตรามุมทิศเลื่อนได้ส่วนย่อยอยู่บนควงมุมทิศเหมือนกัน แบ่งออกเป็น ๑๐๐ ช่อง เท่ากัน ๑ ช่อง มีค่า  ๑ มิลเลียม และมีตัวเลขกำกับไว้ทุก ๆ ๑๐ มิลเลียม เริ่มจาก ๐ ถึง ๙๐  การปรับมาตรามุมส่วนย่อยนี้ปรับโดยมือหนึ่งจับควงมาตรามุมทิศและอีกมือหนึ่งจับที่ลายกันลื่นที่มีมาตราสีดำดันไปทางกล้องเล็งแล้วหมุนมาตราสีดำไปตามตัวเลขที่ต้องการจะตั้ง

                     ง) หลอดระดับ ๒ หลอด ตั้งอยู่ทำมุม ๙๐ องศา ใช้สำหรับปรับระดับกล้องเล็ง หลอดระดับทั้งคู่มีฝาโลหะปิดเพื่อป้องกันการแตกชำรุด

                ๔) ส่วนบน เป็นส่วนรองรับกล้องส่องรูปข้อศอก จัดทำไว้ประกอบกับศูนย์เปิด และมาตรามุมพื้นที่

           ง. การใช้กล้องเล็ง เอ็ม ๕๓

                ๑) การประกอบกล้องเล็งเข้ากับเครื่องยิง  สอดก้านกล้องเล็งเข้ากับแท่นติดกล้องเล็งที่เครื่องยิง กดกระเดื่องยึดกล้องเล็งเข้าข้างในจนกล้องเล็งเข้าที่มั่นคงและปล่อยกระเดื่องยึดกล้องเล็ง

หมายเหตุ จำต้องนำกล้องเล็งออกจากเครื่องยิงก่อนที่จะยิงแต่ละนัดจนกว่าฐานเครื่องยิงจะมั่นคง

                ๒) การใช้กล้องเล็ง เอ็ม ๕๓

                     ก) การตั้งมุมทิศ

                         (๑) ในการตั้งมุมทิศบนกล้องเล็ง ให้หมุนควงมุมทิศ การหมุนครั้งนี้จะทำให้กล้องส่องรูปข้อศอก,มาตรามุมทิศส่วนใหญ่ และมาตรามุมทิศส่วนย่อยหมุนตามไปด้วย  ก่อนที่จะตั้งมุมทิศบนกล้องเล็งต้องคลายควงยึดมาตรามุมทิศ (ควงสีแดง)ให้เป็นอิสระและขันเมื่อตั้งแล้ว เพื่อป้องกันการเลื่อนไปเลื่อนมาของมาตราขณะทำการยิง ในการตั้งมุมทิศนั้นจำเป็นจะต้องตั้งมาตรามุมทิศส่วนใหญ่และมาตรามุมทิศส่วนย่อยเพื่อให้ได้มุมทิศตามต้องการ การตั้งต้องตั้งตัวเลข ๒ ตำแหน่งแรกของมุมทิศบนมาตรามุมทิศส่วนใหญ่และเลข ๒ ตำแหน่งหลังบนมาตรามุมทิศ ส่วนย่อย

                         (๒) การตั้งค่ามุมทิศบนมาตรามุมทิศ จงอย่าได้เปลี่ยนแปลงทิศทางที่ลำกล้องปืนกำลังชี้ไป (การตั้งเครื่องยิงให้ตั้งยิงตรงทิศ) คงกระทำโดยเลื่อนเส้นใยแนวดิ่งออกไป (ไปทางขวาหรือทางซ้าย) จากแนวเส้นเล็งเท่านั้น มุมทิศที่ตั้งบนกล้องเล็ง คือมุมที่ได้จากคำสั่งยิงนั้นเองมุม ทิศนี้จะต้องตั้งก่อนมุมสูง

                     หมายเหตุ มาตราสีดำใช้สำหรับการจำลองทิศโดยทั่วไป มาตราสีแดงใช้สำหรับวางพื้นยิงและจำลองทิศ

                     ข) การตั้งมุมสูง

                         (๑) ในการตั้งมุมสูงให้หมุนควงมุมสูง  ซึ่งจะทำให้มาตรามุมสูงทั้งส่วนใหญ่และส่วนย่อยหมุนตามไปด้วย จะต้องตั้งมาตรามุมสูงทั้งสองส่วนให้ถูกต้องเพื่อจะได้มุมสูงที่ต้องการ ตัวอย่าง เช่น ต้องการจะตั้งมุมสูง ๑,๐๖๕ มิลเลียม ให้หมุนควงมุมสูงจนกระทั่งดรรชนีมุมสูงส่วนใหญ่ชี้อยู่ระหว่าง ๑,๐๐๐และเศษที่เหลืออีก ๖๕ มิลเลียม ตั้งที่มุมสูงส่วนย่อย (สีดำ)

                         (๒) ก่อนที่จะตั้งมุมสูงบนกล้องเล็ง  ให้คลายควงยึดมาตรามุมสูงเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายจากการบิดควงมุมสูง

           จ. การระมัดระวังรักษากล้องเล็ง ถึงแม้กล้องเล็ง  เอ็ม ๕๓ จะแข็งแรงทนทานสักปานใด แต่ก็มิอาจดำรงอยู่ได้ในการใช้ผิด ๆ  หรือปราศจากการระวังรักษา ความผิดพลาดและความผิดปกติเป็นผลที่เกิดขึ้นจากการระวังรักษาอย่างไม่ถูกต้อง

           จงสังเกตคำเตือนล่วงหน้าต่อไปนี้

                ๑) หลีกเลี่ยงการกระทบแตก เพื่อป้องกันส่วนหนึ่งส่วนใดของกล้องเล็งชำรุด จงระวังให้เป็นพิเศษอย่าให้มีอะไรไปติดอยู่ที่ก้านกล้องเล็ง หรือมีรอยเว้าแหว่งเกิดขึ้น อย่าให้เกิดการกระแทกต่อมาตราส่วนย่อย เครื่องปรับกล้องเล็ง และหลอดระดับเมื่อจะใช้ศูนย์เปิดจงปิดฝาครอบหลอดระดับเสมอ

                ๒) เมื่อไม่ได้ใช้กล้องเล็งจงเก็บมันไว้ในกล่อง และให้อยู่ในสภาพที่แห้งเท่าที่จะทำได้ถ้าเปียกอย่าเก็บเข้ากล่องเด็ดขาด

                ๓) เมื่อกล้องเล็งเกิดความไม่ถูกต้อง อย่านำไปใช้จงส่งไปยังหน่วยซ่อมบำรุงที่สนับสนุนโดยตรงเพื่อรับการซ่อมแซมเสีย พลประจำเครื่องยิงจะไม่ได้รับอนุญาตให้ถอดชิ้นส่วนของกล้องเล็งออกจากกัน

                ๔) การเก็บรักษาส่วนต่าง ๆ เกี่ยวกับช่องมองของกล้อง (แว่นแก้ว)ให้สะอาดและแห้งอยู่เสมอเช็ดฝุ่นผงออกจากกล้องเล็งด้วยแปรงขนอูฐที่สะอาดใช้กระดาษเช็ดเลนซ์ถูกส่วนต่าง ๆ เหล่านี้ อย่าใช้น้ำยาเช็ดถูแบบธรรมดาหรือใช้เศษผ้าทั่ว ๆ ไป  หรือกระดาษทรายกับชิ้นส่วนที่เกี่ยวกับช่องมองเหล่านี้ใช้น้ำยาทำความสะอาดเช็ดเลนซ์ตามที่อนุมัติให้เพื่อกำจัดไขหรือน้ำมันออกไปจากเล็นซ์

                ๕) ชะโลมน้ำมันที่เครื่องยึดตามวาระด้วยการใช้น้ำมันหล่อลื่นป้องกันสนิมทาแต่เพียงเบา ๆ ในการป้องกันของการจับตัวของฝุ่นผง  ใช้น้ำมันหล่อลื่นให้มากพอ  เพื่อที่ให้การไหลซึมของน้ำมันกำจัดฝุ่นผงออกไปจากส่วนที่เคลื่อนที่ได้ ควรระวังอย่าให้มีน้ำมันหยดอยู่บนมาตรามุมทิศและมาตรามุมสูงเพราะน้ำมันจะทำให้สีทาตัวเลขลบออก

ฉ. เครื่องให้แสง เอ็ม ๕๓

                ๑) เครื่องให้แสง เอ็ม ๕๓ นี้ จะให้ความสว่างแก่มาตราประจำแว่นแก้วของกล้องส่องรูปข้อศอก เอ็ม ๑๐๙ และมาตราที่ฐานกล้อง เอ็ม ๑๒๘ ระหว่างการปฏิบัติในเวลากลางคืนเครื่องให้แสงแบบนี้เป็นแบบมาตรฐาน

                ๒) เครื่องให้แสงประกอบด้วยชิ้นส่วนสำคัญ คือ ถ่านไฟฉาย ๒ ก้อน กระบอกถ่านไฟฉาย  ปุ่มเร่งไฟและจุดให้แสงสว่างซึ่งแยกจากกัน ๒ ชุด โดยมีลวดตะกั่วอ่อน ๑ คู่ ต่อออกจากปลายข้างหนึ่งของกระบอกถ่านไฟฉายลวดนี้ขดเป็นวงธรรมดามีความยาวประมาณ ๒ ถึง ๖ ฟุต

                ๓) ชุดให้แสงชุดหนึ่งประกอบด้วยก้านยึด สามารถติดแน่นอยู่กับด้ามยึดดวงโคมสำหรับให้แสงสว่างแก่มาตราประจำแว่นแก้วของกล้องส่องรูปข้อศอก  แสงสว่างนี้ได้รับการเปิดโดยปุ่มเร่งไฟ  ปุ่มนี้ใช้เพิ่มหรือลดความเข้มของแสงขณะทำการเปิดไฟ ชุดให้แสงชุดที่ ๒ เป็นกระบอกไฟฉายชนิดจับถือด้วยมือ ซึ่งสามารถให้แสงสว่างโดยตรงบนมาตราที่ฐานกล้อง หรือหลอดระดับความต้องการ ปุ่มปิดเปิดสวิทซ์สำหรับแสงสว่างนี้ติดอยู่กับกระบอกไฟ

                ๔) ในการใส่เครื่องให้แสงเพื่อใช้งาน ให้กดฝาครอบตรงปลายกระบอกถ่านไฟแล้วหมุนฝาครอบทวนเข็มนาฬิกาไปจนเป็นอิสระ ใส่ถ่านไฟฉายแบบธรรมดา ๒ ก้อน โดยให้ท้ายของถ่านไฟเข้าไปก่อนแล้วจึงปิดฝาครอบหมุนให้แน่นติดกระบอกถ่านไฟ ของชุดให้แสงไว้ในหีบกล้องเล็ง  และจุดปุ่มเร่งไฟให้อยู่กับที่ที่จับต้องได้สะดวก เปิดฝาครอบกันฝุ่นออกจากควงยึดควงโคมของกล้องส่องรูปข้อศอกเปิดฝาปิดออกจากปลายของชุดให้แสงสอดเข้าในช่องบนกล้องส่องรูปข้อศอกเพื่อให้แสงสว่างแก่มาตราประจำแว่นแก้วเก็บโคมกระบอกจับถือไว้ในหีบจนกว่าจะต้องการใช้

           ช. หีบกล้องเล็ง เอ็ม ๑๖๖ หีบกล้องเล็ง เอ็ม ๑๖๖ มีน้ำหนักเบามีความแข็งแรงทนทานประกอบด้วยเบาะรองทำด้วยฟองเทียมซึ่งทำไว้สำหรับเก็บรักษากล้องเล็ง เอ็ม ๕๓ และเครื่องให้แสง เอ็ม ๕๓

การเก็บกล้องเล็ง

           ๑. ตั้งมาตรามุมทิศที่ ๓๘๐๐ มิลเลียม (มาตราสีแดง)

           ๒. ตั้งมาตรามุมสูงที่ ๐ มิลเลียม

           ๓. บิดกล้องส่องรูปข้อศอกมาทางหวอดระดับมุมสูง

           ๔. เก็บเครื่องให้แสง โดยให้สวิทซ์ เปิด-ปิด อยู่ด้านบน วางสายไฟข้างกระบอกเครื่องให้แสงนำสายไฟส่วนที่เหลือพันรอบ ๆ ควงหมุนมาตรามุมทิศและเก็บไฟฉายในช่องว่าง