ระเบียบต่างๆของคำสั่งยิง

ระเบียบต่าง ๆ ของ คำสั่งยิง

ก. กล่าวโดยทั่วไป ระเบียบการใช้คำสั่งยิงในสนามฝึกยิงปืน ปลย.เอ็ม.๑๖ นั้น เป็นการสั่งการให้ทหารที่ยิงปืนที่แนวยิงเป็นผู้ปฏิบัติ เพื่อเป็นการให้ผู้ยิงได้ทราบถึงแนวทางและมีความเข้าใจในคำสั่งจึงเป็นในลักษณะสั้นชัดเจน รัดกุมและได้ยินตลอดแนวยิง

ข. คำสั่งยิงประกอบด้วย

๑. คำสั่งเตือน

๒. คำสั่งยิง

ก) คำสั่งเตือนจังหวะยิงช้า แนวยิงท่ายืนยิงจังหวะยิงช้า ใช้กระสุน ๑๐ นัด ให้แต้มนัดต่อนัด ห้ามไก ๑ นัด บรรจุ

ข) คำสั่งยิง จังหวะช้า

- แนวยิง ขวา พร้อมหรือยัง

- แนวยิง ซ้าย พร้อมหรือยัง

- แนวยิงพร้อมเมื่อเห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างตลอดแนวยิงพร้อมแล้ว "สั่ง"

- "ระวัง (เปิดห้ามไก เริ่มยิง")

ค) คำสั่งเตือนจังหวะยิงเร็ว แนวยิง นอนยิงจากท่ายืนยิง จังหวะยิงเร็วใช้กระสุน ๑๐ นัดเวลา ๖๐ วินาที ซองกระสุน ๒ ซองห้ามไก ๑๐นัด บรรจุ

ง) คำสั่งยิงจังหวะเร็ว

- แนวยิงขวา พร้อมหรือยัง

- แนวยิงซ้าย พร้อมหรือยัง

- แนวยิงพร้อม เมื่อเห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างตลอดแนวยิงพร้อมแล้ว สั่ง

- "ระวัง (ทหารเปิดห้ามไกตามองเป้า)"

- เป้าขึ้น

- ต่อไปเมื่อทหารเห็นเป้ากำลังชักขึ้น ให้ทหารรีบปฏิบัติท่ายิงตามคำสั่งยิงนั้นทันทีตลอดเวลาที่ปฏิบัติท่ายิงตาต้องจับที่เป้า เพื่อป้องกันมิให้ยิงผิดเป้า

ค. คำสั่งยิงนี้เป็นแนวทางปฏิบัติทางปฏิบัติโดยทั่วไปเท่านั้น บางโอกาสจะมีคำสั่งเตือนทั่ว ๆ ไป ถ้าหากยังมีทหารไม่เข้าใจหรือปฏิบัติไม่ถูกตามความเหมาะสม

ง. การปฏิบัติสำหรับพลยิงจังหวะยิงช้า

๑. จัดท่ายิงให้มั่นคง

๒. บรรจุกระสุนเข้ารังเพลิงแล้วห้ามไก

๓. เมื่อปืนขัดข้องให้รายงานโดยยกมือขึ้น

๔. เมื่อสั่งเริ่มยิง ปลดห้ามไกและทำการยิง

จ. การปฏิบัติสำหรับพลยิง จังหวะยิงเร็ว

๑. ทำท่ายิงให้ถูกต้อง แล้วยืนขึ้น

๒. บรรจุกระสุน ห้ามไก

๓. ถ้าปืนขัดข้อง บรรจุไม่ทันให้รายงานโดยยกมือ

๔. เมื่อสั่ง "ระวัง" ให้ย่อตัวลงในท่าพร้อมที่จะปฏิบัติท่ายิง

๕. เมื่อสั่ง "เป้าขึ้น" ปฏิบัติท่ายิง และทำการยิง

๖. เมื่อหมดเวลา เป้าจะลง ปืนขัดข้องให้รายงาน แต่ถ้ายิงไม่ทันเวลาโดยที่ปืนไม่ขัดข้องให้แต้มเฉพาะที่ยิงไปแล้วเท่านั้น