การใช้งานทางยุทธวิธี

การใช้งานทางยุทธวิธี

 

ก. ที่ตั้งยิงจรวดดรากอน (DRAGON FIGHTING POSITIONS)

           ที่ตั้งยิงก็คือที่ที่ปืนหันทิศทางไป เพื่อให้สามารถยิงคลุมทิศทางยิงนั้น ก่อนอื่นเมื่อเลือกที่ตั้งยิงหรือก่อนที่จะสร้างที่ตั้งยิง มีสิ่งที่ควรพิจารณาคือ

         เปลวเพลิงที่พุ่งออกทางด้านหลัง จรวดดรากอนเมื่อทำการยิงจะมีแก๊สร้อน, เปลวไฟ เศษวัสดุปลิวออกมาทางด้านหลังเป็นจำนวนมาก นอกจากนั้นอาจจะมีฝุ่นละออง ใบไม้ กิ่งไม้ ฯลฯ ปลิวออกมาทางพื้นดิน สิ่งทั้งหมดนี้เรารวมเรียกว่าเปลวเพลิง (BACK BLAST) ที่พุ่งออกทางด้านหลัง สิ่งนี้จะกระทบกระเทือนต่อ พลยิงสามทางคือ

           ๑. สิ่งแรกคือ พื้นที่อันตรายฉกรรจ์  มีความยาว ๓๐ เมตร ไปทางด้านหลัง และเปลวเพลิงนี้จะพุ่ง ออกไปได้อีก ๒๐ เมตร ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อทหารที่มิได้อยู่ภายในกำบัง นอกจากการระเบิดและเปลวไฟแล้ว ยังมีเสียงเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากการระเบิดนี้ ฉะนั้นสิ่งแรกที่เป็นผลจากการระเบิดนี้คือ

                  - การบาดเจ็บ ซึ่งไม่ใช่บาดเจ็บเฉพาะแต่พลยิงแต่รวมถึงทหารที่อยู่ใกล้เคียงด้วย

           ๒. ถ้าหากพื้นที่อันตรายที่เปลวเพลิงพุ่งออกไปถึงนั้น มีสิ่งกีดขวางทิศทางการพุ่งกระจายแล้ว เปลวเพลิงนี้จะย้อนกลับมาทำอันตรายต่อด้านหลังของพลยิง ซึ่งจะเป็นสาเหตุให้พลยิงไม่สามารถควบคุมเส้นเล็งได้ ทำให้เกิดผลกระทบกระเทือนมากคือ ความไม่สามารถในการติดตามเป้าหมายนั้นหมายความว่าพลยิงไม่สามารถจะติดตามเป้าหมายได้เลย เมื่อที่ตั้งยิงได้ถูกขัดขวางหรือรบกวนในที่ตั้งยิงเช่นกัน

           ๓. ในขั้นสุดท้าย จากเสียงที่ดังมากและเศษวัสดุที่เข้ามารบกวนอาจจะทำให้พลประจำปืนต้องเปิดเผยตัวเองโดยออกมานอกที่ตั้ง เพราะฉะนั้นจะเป็นการเปิดเผยที่ตั้งยิง อันนี้เป็นผลขั้นสุดท้ายของเปลวเพลิงที่พุ่งออกมาข้างหลัง

           การขุดหลุมก็ควรจัดให้มีการกำบังและการปกปิด การกำบังคือการป้องกันจากการยิงของข้าศึก ส่วนการปกปิดคือการป้องกันจากการตรวจการณ์ของข้าศึกที่ตั้งยิง ถ้าหากได้สร้างขึ้นอย่างถูกต้องแล้วจะทำให้ข้าศึกไม่ สามารถตรวจการณ์เห็นได้  แม้จะใช้กล้องส่องสองตาในระยะอย่างน้อยถึง ๑,๐๐๐เมตร  "จำไว้ว่าสนามรบใน ปัจจุบันนี้ ถ้าหากสามารถมองเห็นเป้าหมายก็สามารถยิงถูกเป้าหมายได้"

           เขตการยิง (SECTOR OF FIRE) จะต้องเป็นที่โล่งแจ้ง แต่จะต้องไม่ใช่เป็นจุดที่แสดงให้เห็นอย่างเด่นชัด นอกจากนี้แล้วต้องพิจารณาว่า ครีบหางอาจจะกระทบเข้ากับกิ่งไม้หรือมูลดินข้างหน้าที่ตั้งยิงได้

           เพื่อป้องกันไม่ให้สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น จะต้องขจัดสิ่งกีดขวางทางวิ่งของลูกจรวดจากหน้าปากเครื่องยิงโดยให้ปากกระบองเครื่องยิงสูงจากสิ่งกีดขวาง ๖ นิ้ว (๑๔.๒๔ ซม.) และมีสิ่งสำคัญที่ควรทราบคือ ครีบของลูก จรวดจะทำงานต่อเมื่อจรวดได้วิ่งไปแล้ว ๓๐ เมตร พร้อมกับลูกจรวดเริ่มทำงาน ในช่วงนี้ลูกจรวดจะตกลงมาจากทางวิ่งอีก ๖ นิ้ว ดังนั้นจึงควรให้พื้นที่ด้านหน้าที่ตั้งยิงเป็นที่ไม่มีสิ่งกีดขวางทางวิ่งของจรวดเป็นเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๘ นิ้ว ในระยะ ๓๐ เมตร เพื่อป้องกันมิให้ลูกจรวดตกลงมาชนกับสิ่งกีดขวางนั้น

           ข้อพิจารณาสุดท้ายในการเลือกที่ตั้งยิงคือ ที่ตั้งยิงมีอยู่ ชนิด คือที่ตั้งยิงแบบเร่งด่วน (HASTY)กับที่ ตั้งยิงแบบดัดแปลง (PREPARED) พื้นที่ใด ๆ ก็ตามที่เข้ากับลักษณะทั้งสามประการที่กล่าวมาแล้วเลือก สำหรับการตั้งปืนถือว่าเป็นที่ตั้งยิงแบบเร่งด่วนดีทั้งสิ้น สำหรับการสร้างที่ตั้งยิงแบบดัดแปลงจะต้องมีสิ่งกำหนดเฉพาะตัวโดยเฉพาะเกี่ยวกับสิ่งที่ได้กล่าวมาแล้วคือ ที่ตั้งนี้จะต้องสามารถยิงคลุมเขตการยิงได้รับมอบตามกฎทั่ว ๆ ไปแล้วที่ตั้งยิงแบบนี้จะมีความกว้างไม่เกิน ๒ ช่วงหมวกเหล็ก และมีความยาวเท่ากับช่วงความ ยาวของปืน เอ็ม.๑๖สำหรับหลุมบุคคลแต่ละคน และความลึกเท่ากับความสูงของบุคคลนั้นวัดจากเท้าถึงแนวรักแร้ของแต่ละบุคคล มูลดินจากหลุมจะวางไว้ทางด้านหน้าและทางด้านข้างเพื่อกำบังการยิงด้วยอาวุธประจำกายจากข้าศึก ขั้นต่อไปให้ดูร่องสำหรับวางขาทราย หันไปยังเขตการยิง มีความกว้างเท่ากับ ๑ ช่วงหมวกเหล็กและมีความยาวมากพอที่จะทำให้พลประจำปืนสามารถยิงที่หมายที่เกิดขึ้นภายในเขตการยิงของตนและลึกพอที่พลประจำปืนจะสามารถใช้อาวุธอย่างคล่องแคล่ว ในที่สุดก็จะต้องมีการพรางซึ่งเมื่อเสร็จแล้วเราก็สามารถจะใช้ที่ตั้งยิง ได้ ในขั้นสุดท้ายก็จะทำที่กำบังเหนือศีรษะเพื่อป้องกันจากการยิงด้วยอาวุธวิถีโค้งและทำการปกปิดเส้นทาง ถอนตัวด้วย  และเมื่อเราได้สร้างที่ตั้งยิงจริงเสร็จแล้ว  งานลำดับต่อไปคือการสร้างที่ตั้งยิงสำรอง ซึ่งที่ตั้งยิง สำรองนี้จะคลุมเขตการยิงอื่น ๆ ที่แตกต่างออกไปจากเขตการยิงที่ตั้งยิงทั้งสองที่กล่าวมา

           อย่าคิดว่าเราจะสร้างที่ตั้งยิงขึ้นเพียง ๓ แห่งเท่านั้น ในเมื่อที่ตั้งยิงจริงเป็นที่ตั้งยิงที่ดีที่สุด เรา สามารถจะสร้างที่ตั้งยิงสำรองขึ้นมากเท่าใดก็ได้เท่าที่เราต้องการ ถ้าหากเราสามารถจะยิงคลุมพื้นที่เต็มเขต การยิงได้

แผ่นจดระยะของอาวุธต่อสู้รถถังดรากอน

รูปที่ ๖ แผ่นจดระยะ

ข. การปฏิบัติการเข้าตี

           ๑. ในการใช้อาวุธนำวิถีต่อสู้รถถังดรากอนของหมวดปืนเล็กในการเข้าตีนั้น จะต้องพิจารณาถึงเรื่อง ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้คือ

                  ก) ลักษณะของการคุกคามที่เกิดขึ้น ณ ที่หมายหรือบริเวณใกล้เคียงกับที่หมายและที่เกิดขึ้นตามเส้น ทางของการเข้าตี ตัวอย่างเช่น ที่ตั้งของเป้าหมายที่เหมาะสมที่เห็นอย่างเด่นชัด หรือที่คาดว่าจะเป็นที่ตั้งของ เป้าหมายที่เหมาะสม,และยานเกราะของข้าศึกที่เคลื่อนที่เข้ามายังเส้นทางรุก เป็นต้น

                  ข) การตรวจการณ์และพื้นที่การยิงจากแนวออกตีไปยังเส้นทางต่าง ๆ ที่มุ่งเข้าไปสู่ที่หมายของหมวด

                  ค) ที่ตั้งยิงซึ่งมีการตรวจการณ์และพื้นที่การยิงดี ที่มีอยู่ตามเส้นทางเคลื่อนที่ต่าง ๆ และบนที่เป้าหมาย

                  ง) การยิงต่อสู้ยานเกราะที่จะได้รับการสนับสนุนจากหน่วยอื่น

           ๒. ถ้าแนวออกตีอยู่ใกล้ชิดกับที่หมายขั้นแรก และมีที่ตั้งยิงที่ดี อาจจะกำหนดให้อาวุธนำวิถีต่อสู้รถถัง ดรากอนบางส่วนเข้าประจำที่ตั้งยิงไว้บนแนวออกตี หรือในบริเวณที่ใกล้เคียงกับแนวออกตีก็ได้ แต่อย่างไรก็ตามก็ควรจะต้องกำหนดให้มีอาวุธนำวิถีต่อสู้รถถังดรากอนร่วมเคลื่อนที่ไปกับส่วนดำเนินกลยุทธของหมวดด้วย อย่าง น้อยที่สุดหนึ่งกระบอก ทั้งนี้เพื่อให้สามารถทำการป้องกันต่อสู้รถถังจากการเข้าตีโต้ตอบของข้าศึกในระหว่างที่ทำการเสริมสร้างความมั่นคง ณ ที่หมายได้อย่างต่อเนื่อง เมื่อปฏิบัติการเข้าตี ณ ตำบลซึ่งแนวออกตีอยู่ห่างจากที่หมายมากเกินไป หรือเมื่อไม่มีที่ตั้งยิงที่เหมาะสมอยู่ ณ บริเวณแนวออกตี พลยิงอาวุธนำวิถีต่อสู้รถถังดรากอน ควรจะเคลื่อนที่ผ่านแนวออกตีไปพร้อมกับส่วนดำเนินกลยุทธ แล้วแข้าไปประจำที่ตั้งยิงต่าง ๆ ที่อยู่ในพื้นที่ข้าง หน้าแนวออกตีตามที่ได้เลือกไว้ล่วงหน้า เพื่อให้สามารถปฏิบัติการยิงต่อสู้ยานเกราะได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับในหน่วยทหารราบยานเกราะนั้น จะใช้อาวุธนำวิถีต่อสู้รถถังดรากอนทำการยิงคุ้มครองจากตำบลลงรถก็ได้ เมื่อผู้บังคับหมวดใข้การควบคุมแบบรวมการ โดยธรรมดาแล้วผู้บังคับหมวดมักจะต้องกำหนดให้อาวุธนำวิถีต่อสู้รถถังดรากอนทำการเปลี่ยนย้ายที่ตั้งยิงขึ้นไปเป็นห้วง ๆ เพื่อให้สามารถเฝ้าตรวจการรุกของส่วนดำเนิน กลยุทธได้อย่างต่อเนื่อง

           ๓. ในระหว่างที่หมวดปฏิบัติการตะลุมบอน ควรจะกำหนดให้อาวุธนำวิถีต่อสู้รถถังดรากอนเข้าประจำอยู่  ในที่ตั้งยิง เพื่อให้ทำการช่วยเหลือการรุกคืบหน้าของหมู่ปืนเล็กต่าง ๆ ได้ดีที่สุด โดยการกำหนกให้อาวุธนำวิถีต่อสู้รถถังดรากอนตั้งล้ำขึ้นไปข้างหน้าให้มากที่สุดเท่าที่สามารถจะกระทำได้ โดยไม่เป็นผลกระทบ กระเทือนต่อขีดความสามารถในการทำการยิงในระหว่างการตะลุมบอนอย่างแม่นยำของตนเองด้วย ในการนี้ อาจจะใช้อาวุธนำวิถีต่อสู้รถถังดรากอนเป็นบางส่วน ปฏิบัติการในบทบาทของการเฝ้าตรวจด้วยก็ได้ แต่ อย่างไรก็ตามก็ควรจะต้องกำหนดให้มีอาวุธนำวิถีต่อสู้รถถังดรากอนหนึ่งชุดหรือมากกว่า ร่วมเคลื่อนที่ไปกับกำลังส่วนที่เข้าปฏิบัติการตะลุมบอนด้วย ทั้งนี้เพื่อให้สามารถทำการยิงในระยะไกลที่ห่างที่หมายออกไปได้อย่างต่อ เนื่อง อาวุธนำวิถีต่อสู้รถถังดรากอนที่กำหนดให้ปฏิบัติหน้าที่ในบทบาทของการเฝ้าตรวจนั้น จะต้องใช้ร่วมกับชุด ยิงใดชุดยิงหนึ่งของหมู่เพื่อให้มีการติดต่อสื่อสารและการระวังป้องกันที่ดี ผู้บังคับหมวดควรจะกำหนดให้พลยิง อาวุธนำวิถีต่อสู้รถถังดรากอนเข้าประจำที่ตั้งอยู่กับกำลังส่วนที่จะเข้าตะลุมบอน ณ ตำบลที่ตนจะสามารถควบคุม และสั่งยิงไปยังพลยิงต่าง ๆ เหล่านั้นได้ดีที่สุด ในที่มั่นเฝ้าตรวจต่าง ๆ ควรจะกำหนดรายละเอียดต่าง ๆ ไว้สำหรับใช้ในการกำหนดเป้าหมายและควบคุมการยิงของอาวุธนำวิถีต่อสู้รถถังดรากอนด้วย ซึ่งอาจจะกระทำได้โดยการใช้วิทยุ,พลุสัญญาณ หรือจะกำหนดเป็นเขตการยิงให้ก็ได้

ค. การเสริมสร้างความมั่นคง ณ ที่หมายและการจัดระเบียบใหม่

           ๑. ในทันทีกำลังส่วนดำเนินกลยุทธได้ยึดที่หมายได้แล้ว พลยิงอาวุธนำวิถีต่อสู้รถถังดรากอนจะต้อง เปลี่ยนย้ายที่ตั้งยิงไปยังที่ตั้งยิงซึ่งสามารถจะทำการยิงต่อเป้าหมายในระยะไกล ที่อยู่ห่างจากที่หมายออกไปได้ เพื่อจัดให้มีการป้องกันต่อสู้ยานเกราะในทางลึกและเพื่อคุ้มครองเส้นทางต่าง ๆ ที่คาดว่าน่าจะเป็นเส้นทาง เคลื่อนที่เข้ามายังที่มั่นของยานเกราะข้าศึก เพื่อให้การเปลี่ยนย้ายที่ตั้งยิงของอาวุธนำวิถีต่อสู้รถถังดรากอนดัง กล่าวนี้กระทำได้อย่างรวดเร็ว และฉับไวก็ควรจะได้ใช้วิธีส่งคนนำทาง ลงมานำพลยิงอาวุธนำวิถีต่อสู้รถถัง ดรากอนที่ประจำอยู่ในที่มั่นเฝ้าตรวจต่าง ๆ ให้เปลี่ยนที่ยิงไปยังที่ตั้งยิงแห่งใหม่

           ๒. กรรมวิธีที่จะต้องกระทำต่อไปนี้ก็คือ การจัดระเบียบใหม่ซึ่งถือได้ว่าเป็นงานที่จะต้องเน้นหนักกระทำเป็นพิเศษภายหลังจากการที่ได้ทำการยึดที่หมายได้แล้ว ในการจัดระเบียบใหม่นี้จะต้องมอบที่ตั้งยิงและเขตใน การป้องกันให้แก่พลยิงอาวุธนำวิถีต่อสู้รถถังดรากอน และเริ่มต้นเตรียมการในเรื่องการป้องกันต่อสู้ยานเกราะ โดยรอบตัว

รูปที่ ๗ การเฝ้าตรวจของอาวุธนำวิถีต่อสู้รถถังดรากอนในการเข้าตี


ง. การตั้งรับของจรวดดรากอน

               เมื่อทหารราบทำการตั้งรับ ก็จะต้องทำการรบหรือต่อสู้กับสงคราม ๒ อย่างในเวลาเดียวกัน คือ

           ๑. สู้กับรถถัง

           ๒. สู้กับทหารราบที่เดินเท้า (ที่มากับรถถัง) การกำหนดยิงรถถังในระยะไกลต้องกำหนดให้เป็นหน้าที่ของจรวดดรากอน ส่วนการวางระเบิดดักรถถังและอาวุธต่อสู้รถถังขนาดเล็กหรือเบานั้นเป็นเรื่องยุทธวิธีของ หมวดในการตั้งรับ เมื่อหมวดได้รับภารกิจเป็นกองรักษาด่านรบ โดยปกติแล้วจะได้รับการเพิ่มเติมกำลังหรือเพิ่มอำนาจใน การยิงให้ด้วยยานเกราะ, ชุด ลว. หรืออาวุธจรวดโทว์

           เมื่อ ผบ.มว.ได้รับภารกิจอย่างนั้น ผบ.มว.จะต้องใช้ยุทธวิธีและเทคนิคของการรบแบบรั้งหน่วงหรือ รวมทั้งทำการล่าสังหารรถถังไปด้วย พื้นยิงหลักและพื้นยิงรองในพื้นที่ตั้งรับนั้น (SECTOR OF FIRE) จะยิงคุ้มครองโดยจรวดดรากอนประจำหมวดโดย ผบ.ร้อย.เป็นผู้แบ่งมอบ

           โดยหลักการ (INDEALLY) การวางจรวดดรากอนในพื้นยิง จะต้องยิงจากทางเฉียงเพื่อป้องกันให้ฝ่ายเดียวกันที่ถูกยิงจากข้าศึกมาตรงหน้านั้นคือ การยิงป้องกันช่วยกันทางเฉียงของหน่วยข้างเคียงของฝ่ายเรา คือหลักการยิงของจรวดดรากอน

           อย่าลืมว่าเรามีจรวดดรากอนไว้ใช้เพื่อต่อสู้และป้องกันรถถังโดยเฉพาะแต่บางครั้งเราก็ต้องใช้จรวด ดรากอนเพื่อยิงตรงหน้าหรือเฉียงนิดหน่อยเราก็ใช้ยิงได้

           แต่อย่าลืมว่าการยิงตรงหน้าเป็นการเสี่ยงภัย (CRITICAL) เพราะว่าการยิงจรวดดรากอนตรงไปข้างหน้า จะทำให้ข้าศึกมองเห็นที่ตั้ง และการพุ่งของเปลวเพลิงจากท้ายจรวดทำให้เป็นการเปิดเผยที่ตั้งยิง

           ผบ.ร้อย.จะสั่ง ผบ.มว.ให้จัดตั้งชุดล่าสังหารทั่วพื้นที่การรบของกองร้อย เพื่อทำลายพื้นที่อับกระสุน (DAED SPACE) เพิ่มความลึกให้กับพื้นที่การรบ เพิ่มอำนาจการยิงจากทางเฉียงเพื่อป้องกันเส้นทางการเคลื่อนที่ของข้าศึกที่เข้ามาหาฝ่ายเรา และสามารถให้การช่วยเหลือซึ่งกันและกันระหว่างหมวดได้

           ชุดล่าสังหารรถถังนั้น จะต้องมีจรวดดรากอนและอาวุธต่อสู้รถถังขนาดเบาด้วย

               ที่ตั้งยิงจรวดดรากอนของ มว.จะต้องเปลี่ยนที่ตั้งยิงบ่อย ๆ ให้แตกต่างจากที่ตั้งของปืนกลและปืนเล็ก

           การวางกำลังตั้งรับของปืนกลและปืนเล็ก เป็นการวางกำลังเพื่อป้องกันการเข้าตีของทหารราบเดินเท้าของข้าศึก

           ส่วนการวางกำลังของจรวดดรากอน (ที่ตั้ง) นั้นวางเพื่อต่อสู้รถถังของข้าศึกที่จะเข้ามาในพื้นที่ของ มว.และกองร้อยของเรา

           ผบ.มว.จะต้องวางที่ตั้งยิงของจรวดดรากอนให้พ้นจากการโจมตีของทหารราบเดินท้าของข้าศึกและของรถถังข้าศึก

ผบ.มว.กระทำได้โดย

           ๑. ใช้ชุดล่าสังหารรถถัง และจะต้องพิจารณาที่ตั้งยิงจรวดดรากอนให้ดีที่สุด (เมื่อไม่มีจรวดดรากอน ของหมวดยืนยิงสนับสนุน)

           ๒. วางที่ตั้งของจรวดดรากอนให้ใกล้กับหมู่ต่าง ๆ เพื่อให้หมู่ ปล.ช่วยทำการคุ้มครอง

           ๓. ให้จัดอาวุธต่อสู้รถถังขนาดเล็กไว้ เพื่อป้องกันรถถังของข้าศึกที่จะเข้าตีต่อหมู่ต่าง ๆ การพิจารณา เรื่องการวางที่ตั้งยิงจรวดดรากอนนั้น จะต้องพิจารณาเรื่องการพรางและการซ่อนเร้นเป็นเรื่องสำคัญ การใช้ลาดหลังเป็นที่ตั้งยิงนั้นจะทำให้เพิ่มการยิงจากทางด้านข้างได้เป็นอย่างดี   และมีการปกปิดกำบังซ่อนเร้นดีด้วย อย่าใช้ยิงที่เนินหน้าผา แต่ให้ยิงที่เนินใดก็ได้ ที่ไม่แสดงที่ตั้งยิงให้ข้าศึกทราบ ที่ปกปิดกำบังซ่อนเร้นและปกปิด การพุ่งของเปลวเพลิงท้ายจรวดและจะต้องปกปิดการย้ายที่ตั้งยิงไปที่ใหม่

           ในเวลากลางคืนจะทำให้มองไม่เห็นสภาพแวดล้อมได้ เช่น หมอก, ควัน

           ดังนั้น ผบ.มว. จะต้องย้ายที่ตั้งยิงใหม่เพื่อให้จรวดตั้งใกล้เส้นทางการเคลื่อนย้ายของรถถังข้าศึก

           จงจำไว้ว่า ในเวลากลางคืนเส้นทางการเคลื่อนย้ายของข้าศึกสามารถจะเปลี่ยนแปลงได้ ดังนั้นไม่ว่า ข้าศึกหรือฝ่ายเราก็จะเปลี่ยนเส้นทางการเคลื่อนย้ายทั้งหลายในเวลากลางคืนมาเป็นหนทางทั้งหมดหรือพื้นที่ โล่งแจ้ง และพื้นที่ที่จำได้ง่าย (DISTING TIVC) เพราะว่าป่าละเมาะเล็ก ๆ ในเวลากลางวันก็จะกลาย เป็นสิ่งกีดขวางในเวลากลางคืน การเพิ่มเติมกระสุนในเวลาข้าศึกเข้าตีเป็นเรื่องยาก ถ้าทำได้ (IF NOTIM POSSIBLE) ผบ.มว.ก็ควรจะเตรียมการสะสมกระสุนไว้ก่อนการเข้าตีของข้าศึก และเตรียมเก็บไว้ในที่ตั้ง สำรอง, ที่ตั้งเพิ่มเติมด้วย

รูปที่ ๘ การใช้ดรากอนเฝ้าตรวจในการระวังป้องกัน (กองรักษาด่านรบ) 

รูปที่ ๙ ที่ตั้งยิงจริง ที่ตั้งยิงสำรอง และที่ตั้งยิงเพิ่มเติม