ลูกจรวดนำวิถีต่อสู้รถถังโทว์

ตอนที่ ๑ ลูกจรวดนำวิถีต่อสู้รถถังโทว์

(ENCASED MISSILE)

กล่าวทั่วไป

         เพื่อให้ทราบลูกจรวดนำวิถีต่อสู้รถถังโทว์ ชนิดต่าง ๆ การทำงาน การตรวจ การเก็บรักษาและการปรนนิบัติบำรุง 

ก. คุณลักษณะทั่วไป

              ลูกจรวดที่บรรจุอยู่ในท่อแล้วบรรจุไว้ในหีบไม้ สามารถทราบได้ว่าเป็นลูกจรวดชนิดใดโดยดูจากชื่อ, หมายเลข,แบบ,สีที่ใช้เป็นสัญลักษณ์และหมายเลขสต๊อก ด้วยการใช้เครื่องหมายและสัญลักษณ์ต่าง ๆ ดังกล่าว ข้างต้น จึงสามารถทราบชนิดของลูกจรวดได้โดยง่าย

              ๑. จรวดนำวิถีซ้อมยิง BTM71 A หรือ BTM71 A1 เป็นจรวดที่ใช้ในการฝึกและมีหัวรบจำลอง ซึ่งจะไม่ระเบิดเนื่องจากไม่มีดินระเบิดบรรจุไว้ภายใน อย่างไรก็ตามลูกจรวดชนิดนี้มีลักษณะเหมือนลูกจรวดชนิด ระเบิดต่อสู้รถถังเกือบทุกประการ กล่าวคือ มีมอเตอร์ขับจรวด,มีระบบอิเล็กทรอนิกส์ และขีปนะวิธีเหมือนกันทุก ประการเมื่อลูกจรวดบรรจุอยู่ในหีบไม้สังเกตได้ง่ายโดยมีเครื่องหมายรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสสีฟ้า จำนวน ๖ รูปอยู่บน หีบ และด้านท้ายของลูกจรวดจะมีเครื่องหมายรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสสีฟ้า อยู่จำนวน ๔ รูป

              ๒. จรวดนำวิถีสำหรับยิงเป้าหมายบนพื้นดิน BGM71 A หรือ BGM71 A1 เป็นลูกจรวดใช้ในทางยุทธวิธี หัวรบบรรจุดินระเบิดชนิดดินโพรง หนัก ๕.๓ ปอนด์ สังเกตได้ง่ายคือ บนหีบไม้บรรจุลูกจรวดมีเครื่องหมายรูป สี่เหลี่ยมจัตุรัสสีดำ ขนาด ๔ นิ้ว จำนวน ๖ รูป ด้านท้ายลูกจรวดมีเครื่องหมายสี่เหลี่ยมจตุรัสสีเหลืองขนาด ๒ นิ้วจำนวน ๔ รูป

              ๓. ลูกจรวดทั้งสองชนิดนี้จะถูกบรรจุไว้ในท่อบรรจุลูกจรวดทรงกระบอกทำด้วยไฟเบอร์กลาส ซึ่งใช้เป็นภาชนะบรรจุลูกจรวดในการนำไปใช้ และใช้เป็นส่วนหนึ่งของท่อยิงจรวดไปในตัวด้วยลูกจรวดที่บรรจุไว้ในท่อ บรรจุจรวดเรียกว่า "ท่อจรวด"

ข. ลักษณะรายละเอียดและการทำงาน

              ๑. ท่อจรวดมีที่จับรูปวงแหวนสำหรับหิ้ว หรือยกท่อจรวด อยู่บนปลายทั้งสองด้าน ก่อนที่จะบรรจุท่อจรวดเข้าไปในท่อยิง ต้องปลดที่จับอันหน้าออกเสียก่อน ส่วนที่จับอันหลังห้ามถอด  เนื่องจากใช้เป็นกรวยบังคับเปลว เพลิงที่พ่นออกทางด้านท้าย ท่อจรวดใช้เป็นรังเพลิงของท่อจรวดเมื่อทำการยิง  ลูกจรวดจะวิ่งออกจากท่อจรวด หลังจากยิงไปแล้ว จึงต้องปลดท่อจรวดออกทิ้ง

              ๒. สายไฟต่าง ๆ ภายในท่อจรวดทำหน้าที่เชื่อมโยงวงจรต่าง ๆ ระหว่างลูกจรวดกับเครื่องให้ทางสูง และเครื่องให้ทางทิศ และสายไฟของวงจรมอเตอร์ขับจรวดจะอยู่ในลักษณะลัดวงจร จนกว่าบรรจุท่อจรวดเข้า ในท่อยิง และขัดกลอนตรงท่อจรวด และยกกระเดื่องต่อวงจรขึ้นแล้ว (ARMING LEVER) จึงจะพ้นจากสภาพลัด วงจร

              ๓. ลูกจรวดจะถูกยึดไว้ในท่อจรวดด้วยสลักยึด เมื่อปิดครอบท่อจรวด  สลักยึดจรวดจะถูกกดให้ต่ำลงไป อยู่ในตำแหน่งล่าง และจะถูกมอเตอร์ขับจรวดผลักให้กลับเข้าที่เดิมเมื่อจรวดถูกยิงออกไป

หมายเหตุ ส่วนประกอบและการทำงานของลูกจรวดนำวิถีต่อสู้รถถังโทว์ ใช้ยิงเป้าหมายบนพื้นดิน แบบ BGM71

              ลูกจรวดประกอบด้วยชิ้นส่วนหลักดังต่อไปนี้คือ

                     - มอเตอร์จับจรวด (LAUNCH MOTOR)

                     - เครื่องกำเนิดแสงอินฟราเรด (INFRARED SOURCE)

                     - หางบังคับนำวิถี จำนวน ๔ อัน (CONTROL SURFACES)

                     - มอเตอร์ขับเคลื่อน (FLIGHT MOTOR)

                     - เครื่องนิรภัยและพร้อมจุดระเบิด (SAFETY AND ARMING DEVICE)

                     - เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ (ELECTRONIC COMPONENTS)

                     - หัวรบ (WAR HEAD)

                     - ขดลวดแบบโรยออกได้ ๒ เส้น (WIRE DISPENSERS)

                     - แบตเตอรี่ ๒ ชุด (MISSILE BATTERY)

                     - ไยโร (GYRO)

                     - หางนำทิศ ๔ อัน (WING)

ค. การทำงาน

              ๑. หัวรบประกอบด้วย

                     - เรือนหัวรบทำด้วยอลูมินั่ม

                     - สวิตช์ต่อวงจรหัวรบ

                     - เครื่องนิรภัยและพร้อมจุดระเบิด

                     - สายไฟ

                     - หัวรบแบบระเบิดต่อสู้รถถัง

              ๒. สวิตช์ต่อวงจรหัวรบ ปกติอยู่ในตำแหน่งตัดวงจร จะต่อวงจรได้ด้วยเปลือกนอกและเปลือกในของ เรือนหัวรบ เมื่อลูกจรวดกระทบเป้าหมายทำให้เปลือกนอกยุบตัวเข้าแตะกับเปลือกใน ทำให้เกิดการต่อวงจรจุด ระเบิด สวิตช์ต่อวงจรนี้จะทำงานถึงแม้มุมกระทบจะเฉียงถึง ๖๕ องศา

 

 

                  ๓. ก่อนที่หัวรบจะอยู่ในลักษณะที่พร้อมจะจุดระเบิดนั้น การทำงานของลูกจรวดจะเป็นขั้นตอนดังนี้.-

                     ก) หางบังคับนำวิถีจะกางออกและถูกบังคับให้อยู่กับที่ ในลักษณะกางอยู่เป็นการต่อวงจรให้มอเตอร์ ขับเคลื่อนพร้อมถูกจุด เมื่อได้รับสัญญาณบังคับ

                     ข) เมื่อมอเตอร์ขับเคลื่อนทำงาน จะเพิ่มความเร็วต้นของลูกจรวดให้เร็วขึ้น เมื่อจรวดมีความเร็ว ต้นถึงความเร็วที่กำหนดไว้ จะมีกลไกบังคับให้จุดมอเตอร์ขับจรวด ตามระยะเวลาที่ต้องการตามขั้นตอนที่ได้แผน แบบไว้

                     ค) เมื่อการจุดมอเตอร์เต็มขั้นจนสมบูรณ์แล้ว หัวรบจะพร้อมที่จะจุดระเบิด ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อจรวด เคลื่อนที่ออกจากท่อยิงไปแล้วประมาณ ๖๕ เมตร

              ๔. การควบคุมจรวดด้วยอากาศพลศาสตร์ กระทำได้โดยการบังคับหางบังคับนำวิถี ๔ อันที่ท้ายจรวด และขณะที่จรวดบรรจุอยู่ในท่อ หางบังคับนำวิถีและหางนำทิศ ถูกพับเก็บไว้ในตัวจรวด เมื่อทำการยิงครีบหาง และหางบังคับนำวิถีจะกางออกด้วยแรงดันของแหนบ และถูกยึดให้เข้าที่ เมื่อกางออกแล้วหางบังคับนำวิถีจะถูก บังคับแบบง่าย ด้วยโซลินอย์ซบังคับหางนำวิถี แบบทำงาน ๒ หาง เมื่อได้รับสัญญาณบังคับจากเครื่อง อิเล็กทรอนิกส์ภายในตัวจรวด

              ๕. การใช้ระบบขับเคลื่อนลูกจรวด ๒ ระยะ โดยแยกใช้มอเตอร์เป็นสองขั้นตอน เพื่อให้เกิดระยะ ปลอดภัยกับพลยิง ที่จะได้รับจากแก๊สจากดินขับจรวด

                     ก) มอเตอร์ขับจรวดติดตั้งอยู่ตรงด้านท้ายของลูกจรวด บรรจุดินขับจรวดหนัก ๑.๒ ปอนด์ จะถูกจุด และเผาไหม้หมดไปก่อนที่ลูกจรวดจะเคลื่อนที่พ้นออกจากท่อยิงจรวด

                     ข) มอเตอร์ขับเคลื่อนใช้ดินขับแบบแข็ง ซึ่งกล่าวได้ว่าแทบไม่มีควันและไม่มีเปลวเพลิง ติดตั้งอยู่ตรงส่วนใกล้กับจุดศูนย์ถ่วงของลูกจรวดและท่อกรวยขับเคลื่อน จำนวน ๒ ท่อ จะทำมุมประมาณ ๓๐ องศากับตัว ลูกจรวด เพื่อมิให้กีดขวางการโรยเส้นลวดบังคับนำวิถี และเพื่อทำให้จุดศูนย์ถ่วงของลูกจรวดเปลี่ยนแปลงไป น้อยที่สุด เมื่อดินขับได้ถูกเผาไหม้แล้ว มอเตอร์ขับเคลื่อนนี้จะเริ่มจุดเมื่อจรวดเคลื่อนที่พ้นปากท่อยิงจรวดออกไป แล้วประมาณ ๑๒ เมตร และเป็นการเผาไหม้อยู่เพียงระยะหนึ่งเท่านั้น แต่มีแรงขับมากพอที่จะขับลูกจรวดจนถึง เป้าหมาย

              ๖. เส้นลวดนำวิถีประกอบด้วยเส้นลวด ๒ เส้น เป็นเส้นลวดเดียวมีความเหนียวไม่ขาดง่าย เส้นลวด หุ้มด้วยฉนวนนี้จะถูกโรยออกทางท้ายจรวด ด้วยหลอดขดลวดยาว ๕ นิ้ว และคร่อมเกาะเส้นลวด ๒ อันที่ติดตรง ท้ายจรวด เส้นลวดนี้ทำหน้าที่สื่อกระแสคลื่นบังคับนำวิถี ที่ส่งออกมาจากเครื่องยิงไปยังลูกจรวด เมื่อลูกจรวดถูกยิงออกไปแล้ว และเมื่อยกครอบท่อจรวดออกจากตำแหน่งขัดกลอน  เส้นลวดนำวิถีจะถูกตัดขาดออกจากลูกจรวด

              ๗. เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ที่ท้ายลูกจรวดจะรับสัญญาณบังคับนำวิถีส่งมาตามเส้นลวดเข้าไปบังคับนำวิถีผ่านไยโร ซึ่งจะแปลงเป็นกระแสคลื่นบังคับเครื่องกระตุ้นหางบังคับนำวิถีทั้ง ๔ อันกระแสคลื่นจากไยโรนี้จะถูกส่ง เป็นสัญญาณบังคับการทรงตัวของลูกจรวด และลดผลกระทบกระเทือนจากลมพัดทางข้าง

              ๘. พลังงานไฟฟ้าที่จ่ายให้กับเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องกำเนิดแสงอินฟราเรด และโซลินอยซ์กระตุ้นบังคับนำวิถีได้จากแบตเตอรี่ จำนวน ๒ ก้อน แบตเตอรี่จะไม่จ่ายกระแสไฟจนกว่าจะได้รับความร้อนจากแผ่น คามร้อนที่ถูกเผาไหม้เมื่อลั่นไก

              ๙. เครื่องกำเนิดแสงอินฟราเรด จะผลิตแสงอินฟราเรดส่งออกมาให้เครื่องรับแสงอินฟราเรดภายใน ศูนย์เล็งแบบกล้องตรวจจับ เพื่อให้ทราบตำแหน่งของลูกจรวดขณะเคลื่อนที่

              ๑๐. เมื่อลั่นไกจะมีการหน่วงเวลาอยู่ประมาณ ๑.๕ วินาที ก่อนที่มอเตอร์ขับจรวดจะถูกจุดในระยะเวลา ๑.๕ วินาที ไยโรจะทำงานเพิ่มความเร็วขึ้น และแผ่นความร้อนจะถูกเผาไหม้ เพื่อให้แบตเตอรี่เริ่มจ่ายกระแส ไฟ หลังจาก ๑.๕ วินาที ชุดบังคับนำวิถีจะส่งสัญญาณไปจุดมอเตอร์ขับจรวด เพื่อขับเคลื่อนจรวดออกจากท่อยิง

              ๑๑.  ลักษณะอีกประการหนึ่งของลูกจรวดคือ  เส้นลวดนำวิถีของจรวด BGM71 A1 และจรวดซ้อมยิง BTM71 A1 ยาว ๓,๗๕๐ เมตร แต่ระยะยิงหวังผลของจรวดจำกัดไว้เพียง ๓,๐๐๐ เมตรเนื่องจากวงจร ภายในชุดบังคับนำวิถีกำหนดให้บังคับได้เพียงเท่านั้น

การทำงานของลูกจรวด จะเป็นไปตามขั้นตอนดังนี้.-

              ๑. เมื่อลั่นไก สัญญาณถูกส่งผ่านขดลวดไปยังชุดบังคับนำวิถี และกระตุ้นให้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ของระบบอาวุธเริ่มทำงาน

              ๒. แบตเตอรี่ภายในลูกจรวดเริ่มจ่ายกระแสไฟและไยโรเริ่มทำงานโดยชุดบังคับนำวิถีส่งคลื่นสัญญาณ ผ่านเข้ายังแบตเตอรี่ของลูกจรวดและไก ทำให้ไยโรเริ่มหมุนและเพิ่มความเร็วขึ้นไปถึง ความเร็วที่กำหนด

              ๓. มอเตอร์ขับจรวดทำงานเมื่อ ๑.๕ วินาทีหลังจากลั่นไก ชุดบังคับนำวิถีจะส่งกระแสไฟจุดมอเตอร์ขับจรวด

              ๔. จรวดถูกขับจากท่อยิง เมื่อดินขับในมอเตอร์ขับจรวดถูกจุดและเผาไหม้หมดสมบูรณ์ภายในท่อยิงจรวดจะขับจรวดให้เคลื่อนที่ออกจากท่อไปได้ไกลกว่า ๗ - ๑๒ เมตร

              ๕. การกางของครีบหางและครีบบังคับนำวิถี เมื่อลูกจรวดเคลื่อนที่พ้นออกจากท่อยิง ครีบหางจรวดและ ครีบหางบังคับนำวิถีจะกางออก เพื่อการทรงตัว และการบังคับนำวิถี ขณะนี้เองสวิตช์สองอันที่อยู่ในมอเตอร์ขับ เคลื่อนจะต่อวงจรมอเตอร์ขับเคลื่อน (๗ - ๑๒ เมตรจากเครื่องยิง)

              ๖. การเริ่มต้นบังคับนำวิถีลูกจรวด จะเริ่มเมื่อเครื่องกำเนิดแสงอินฟราเรดทางท้ายจรวดเริ่มทำงาน และลวดนำวิถีเริ่มโรยออกทางท้ายลูกจรวด

              ๗. การเริ่มต้นพร้อมจุดระเบิดขั้นแรก เมื่อกระแสไฟไหลผ่านเข้าสวิตช์หน่วงเวลา เป็นเหตุให้เริ่มปลดกลอนนิรภัย และพร้อมจุดระเบิดและเริ่มจุดมอเตอร์ขับเคลื่อน

              ๘. การทำงานของมอเตอร์ขับเคลื่อน หลังจากลูกจรวดได้ถูกขับออกมาจากท่อยิงได้ประมาณ ๗-๑๒ เมตร มอเตอร์ขับเคลื่อนจะเริ่มทำงานด้วยการต่อวงจรของสวิตช์หน่วงเวลา

              ๙. การเริ่มต้นพร้อมจุดระเบิดในขั้นที่ สอง การทำงานของมอเตอร์ขับเคลื่อนทำให้เครื่องนิรภัยปลด กลอน และพร้อมจุดระเบิดอย่างสมบูรณ์ เมื่อจรวดขับเคลื่อนออกมาได้ประมาณ ๖๕ เมตร

ง. การเก็บรักษาและการปรนนิบัติบำรุง

              ๑. คลังเก็บลูกจรวดต้องมีสายล่อฟ้า และป้องกันกระแสคลื่นไฟฟ้าจากแหล่งต่าง ๆ เข่น เครื่องส่งวิทยุ ฯลฯ ได้การลำเลียงขนส่งท่อจรวดต้องหันด้านหัวจรวดไปในทิศทางที่จะทำความเสียหายสิ่งต่าง ๆ ให้น้อยที่สุดในกรณีที่จรวดลั่นออกไปโดยอุบัติเหตุ คลังเก็บต้องป้องกันชิ้นส่วนได้อย่างมิดชิดที่สุด และมีช่องทางระบายน้ำที่ดีสามารถให้การระวังป้องกันและเฝ้าตรวจได้ง่าย และต้องยกพื้นสูงอย่างน้อย ๖ นิ้วเพื่อให้มีการถ่ายเทของ อากาศได้ได้ ต้องไม่เก็บส่วนประกอบของโทว์ โดยวางไว้บนพื้นดิน ต้องเก็บท่อจรวดไว้ในหีบไม้ หรือบนชั้นวาง ที่ทำไว้เป็นพิเศษ หากไม่ได้นำท่อจรวดออกจากหีบไม้ก็สามารถเก็บรักษาจรวดไว้ใช้งานได้ถึง ๑๐ ปี  ถ้านำท่อ จรวดออกจาหีบไม้แล้วจะสามารถเก็บรักษาไว้ใช้งานได้เพียง ๑ ปี

              ๒. การปรนนิบัติบำรุงจรวด โดยผู้ใช้กำหนดให้กระทำได้เพียงการตรวจสภาพทั่วไป และการเก็บรักษาเท่านั้น ไม่ว่ากรณีใด ๆ ห้ามพยายามถอดลูกจรวดออกจากท่อบรรจุจรวด