บทที่ ๑  กล่าวทั่วไป

บทที่ ๑

กล่าวทั่วไป

การยิงเล็งจำลอง

           ชุดปฏิบัติการยิง ค.(GUNNERY TEAMS) ได้รับการพัฒนาขึ้นเนื่องจากพลประจำปืนมักจะไม่สามารถเห็นเป้าหมายที่ตนทำการยิงได้ เพื่อเป็นการชดเชยข้อจำกัดอันนี้ จึงได้ใช้ชุดปฏิบัติการยิงให้เป็นไปตามแนวความคิดในการยิงเล็งจำลองขึ้น เพื่อให้บังเกิดผลในการยิงสนับสนุนเครื่องยิงลูกระเบิดของทหารราบ เป็นอาวุธที่บรรจุกระสุน(ลูกระเบิด)ทางปากลำกล้อง ใช้มุมยิงใหญ่ ภายในลำกล้องเรียบไม่มีเกลียว ยิงแบบเล็งจำลอง เพื่อช่วยให้เกิดความกระจ่างชัดจึงได้แยกออกเป็นส่วนต่าง ๆ ให้ชัดเจนได้ดังนี้

           ก. การบรรจุทางปากลำกล้อง อาวุธเกือบทั้งสิ้น ตั้งแต่ปืนพกซึ่งมีลำกล้องขนาดเล็กขึ้นไปจนถึงปืนใหญ่ที่สุดที่ใช้ยิงปรมาณู ทำการบรรจุกระสุนทางท้ายหรือส่วนฐานของลำกล้องซึ่งหมายถึงลูกเลื่อนหรือเครื่องปิดท้าย เครื่องยิงลูกระเบิดไม่มีเครื่องปิดท้ายหรือลูกเลื่อนจึงบรรจุลูกระเบิดเข้าทางปากลำกล้องหรือด้านหน้าของลำกล้อง

           ข. มุมยิงใหญ่ เพื่อให้เกิดความเข้าใจยิ่งขึ้น วิธีการใช้มุมยิงใหญ่ที่นับว่าเป็นความจำเป็นเพื่อให้รู้ว่าเครื่องยิงและกระสุน มีลักษณะทำหน้าที่อย่างไรดังนี้คือ เครื่องยิงลูกระเบิดเป็นอาวุธที่ใช้มุมยิงใหญ่เป็นมูลฐานด้วยการขับกระสุนให้ทะยานพุ่งขึ้นไปส่วนการขับกระสุนของอาวุธชนิดอื่น ๆ นั้นมีลักษณะเกือบเป็นวิถีราบตัวอย่างเช่น กระสุนปืนเล็กยาวเป็นต้น


ภาพโค้งของกระสุนวิถี

๑) เครื่องกระสุน เครื่องกระสุนของเครื่องยิงลูกระเบิดมีหลายชนิดทุกชนิดเป็นประเภทกึ่งรวม (ข้อแตกต่างของกระสุนแต่ละชนิดจะได้เรียนในรายละเอียดภายหลัง) กระสุนกึ่งรวมเป็นลักษณะของการทำให้ถอดแยกส่วนบรรจุที่ไม่ต้องการออก ซึ่งอำนวยให้ส่วนบรรจุแตกต่างกันได้ทำให้เกิดความอ่อนตัวสูงขึ้นในการใช้แบบของวิถีกระสุน กระสุนที่สมบูรณ์ คือกระสุนหนึ่งนัดซึ่งมีส่วนประกอบที่จำเป็นครบถ้วนทำการยิงได้ ชิ้นส่วนประกอบเหล่านี้รวมถึงถุงหรือแผ่นวัสดุเพิ่มแรงเผาไหม้ ซึ่งติดอยู่กับส่วนหาง กระสุนนัดหนึ่งที่มีส่วนประกอบทั้งหมด  เรียกว่า กระสุนครบนัด โดยไม่ต้องคำนึงถึงชนิดของเครื่องยิงลูกระเบิดจะประกอบด้วยส่วนสำคัญ 5 ส่วน  ได้แก่เปลือกนอก,วัสดุภายใน,ส่วนหาง,ชนวน  และส่วนดินขับ

                      ก) ตัวกระสุน (เปลือกนอก)  เป็นเสมือนกับภาชนะสำหรับบรรจุวัสดุภายในสำหรับกระสุนระเบิดแรงสูง (HE) ยังออกแบบให้แตกออกเป็นสะเก็ดเมื่อกระสุนระเบิดอีกด้วย

                       ข) วัสดุภายใน เป็นวัสดุที่ใช้บรรจุไว้ภายในตัวกระสุนอาจเป็น วัตถุระเบิด เคมี หรือ พลุส่องแสงที่ติดไว้กับร่ม

                       ค) ส่วนหาง ทำให้กระสุนมีการทรงตัวขณะแล่นไปในอากาศ มีลักษณะใกล้เคียงเหมือนหางของลูกธนู

                       ง) ชนวน เป็นตัวที่ทำให้วัสดุภายใน และตัวลูกระเบิดเกิดระเบิดขึ้นในเวลาและสถานที่ที่ต้องการ

                         จ) ส่วนดินขับ ใช้ขับให้กระสุน (ลย.) ออกไปจากลำกล้องของเครื่องยิงไปยังเป้าหมายถ้าพิจารณาดูให้ชัดเจนดังรูปที่ 2 จะเห็นได้ว่า ส่วนดินขับแบ่งแยกออกได้เป็น 3 ส่วนด้วยกัน คือเชื้อปะทุ จอกกระทบแตก และดินส่วนบรรจุเพิ่ม เชื้อปะทุติดอยู่กับฐานของจอกกระทบแตก  ทำหน้าที่เช่นเดียวกันกับเชื้อปะทุของกระสุนปืนเล็กอื่น ๆ เมื่อเข็มแทงชนวนกระทบเข้ากับจอกกระทบแตกก็จะไปจุดเชื้อปะทุให้ระเบิดขึ้น การขยายการปะทุจะเข้าไปจุดดินส่วนบรรจุเพิ่มซึ่งแนบคิดอยู่กับส่วนหาง อันได้แก่ ถุงบรรจุวัสดุซึ่งเป็นวัตถุระเบิดแรงต่ำที่ติดเอาไว้ที่ด้านนอกของส่วนหางนั้น

                ๒) การทำงาน (ดูรูป) เครื่องยิงลูกระเบิดทำการยิงด้วยการใส่ (บรรจุ)  กระสุนเข้าไปทางปากลำกล้องของเครื่องยิง เมื่อปล่อยลงไปแรงดึงดูดของโลกและการทำมุมของลำกล้องจะทำให้กระสุนไหลลงไปที่ฐานของลำกล้อง ทำให้เข็มแทงชนวนที่ฐานของลำกล้องแทงที่จอกกระทบแตกและจุดเชื้อปะทุตามลำดับ จากนั้นเชื้อปะทุก็จุดดินส่วนบรรจุเพิ่มทำให้เกิดการขยายตัวของแก๊สเพิ่มขึ้นอย่างมากมาย เป็นแรงดันให้กระสุนออกไปจากลำกล้อง ยิ่งใช้ดินส่วนบรรจุเพิ่มที่ส่วนหางของกระสุนมากเท่าใด แรงผลักดันก็จะมีมากขึ้นไปอีกเท่านั้น แรงผลักดันนี้จะเป็นบ่อเกิดของอัตราความเร็วต้นของกระสุน และเป็นผลในทางระยะมุมสูงของลำกล้องจะเป็นผลให้กระสุนไหลลงไปที่ฐานของลำกล้องได้ง่ายประการหนึ่ง ยิ่งมุมสูงของลำกล้องใกล้ตั้งฉากกับพื้นดินมากเท่าใด การไหลลงของกระสุนจะยิ่งง่ายมากขึ้นซึ่งจะกลับกันกับมุมสูงที่ลดเข้าหาแนวขนานกับพื้นดินมากขึ้นเท่านั้นจึงเห็นได้ว่าความต้องการให้การทำงานของเครื่องยิงที่พึงประสงค์นั้นลำกล้องของเครื่องยิงต้องตั้งเป็นมุมใหญ่อันเป็นผลที่ทำให้วิถีของกระสุนสูงขึ้นไปจึงนับได้ว่าเครื่องยิงลูกระเบิดเป็นอาวุธที่ยิงด้วย "มุมใหญ่" ประเภทหนึ่ง


ค. ยิงแบบเล็งจำลอง คำจำกัดความว่า ยิงแบบเล็งจำลองหมายถึงการยิงโดยที่ไม่เห็นเป้าหมายจากที่ตั้งยิง  ด้วยเหตุลักษณะที่พึงประสงค์ของการใช้วิถีกระสุนที่เป็นมุมใหญ่นี้เอง  จึงมีความจำเป็นต้องยิงแบบเล็งจำลองเกือบทั้งสิ้นนับเป็นข้อได้เปรียบตรงที่เป้าหมายก็ไม่สามารถเห็นที่ตั้งยิงได้เช่นกัน ประการแรกเครื่องยิงออกแบบสำหรับให้ทหารราบใช้ต่อข้าศึกในระยะใกล้ พลประจำปืนสามารถนำข้อได้เปรียบนี้จากที่กำบังและซ่อนพรางเท่าที่ใช้ได้และที่มีอยู่ให้พ้นจากการตรวจการณ์หรือถูกข้าศึกตรวจพบได้ พลประจำปืนสามารถทำการยิงได้จากหลุมต่าง ๆ คูสนามเพลาะ หลังกำแพงตัวตึก แนวไม้หรือเนินต่าง ๆในทางตรงกันข้ามแม้ว่าข้าศึกจะหลบซ่อนในคูสนามเพลาะหรือหลังเนิน เครื่องยิงก็ยังคงทำการยิงได้จากที่ตั้งซึ่งมีความปลอดภัย การยิงแบบเล็งจำลองที่เครื่องยิงใช้อยู่นี้ทำให้เป็นการป้องกันจากอาวุธยิงเล็งตรงของข้าศึก  และในขณะเดียวกันก็ทำการยิงอย่างได้ผลต่อข้าศึกที่มีการป้องกันได้

           ง. สรุป การยิงโดยไม่เห็นเป้าหมาย(ยิงแบบเล็งจำลอง) สามารถทำได้เพราะแบบของเครื่องยิงและการทำงานของกระสุนต่าง ๆ เป็นแบบหนึ่งที่ทำให้วิถีกระสุนออกจากลำกล้องเกือบเป็นแนวตั้งฉากกับพื้นดินพุ่งขึ้นสู่อากาศก่อนที่จะลงสู่พื้นเป็นมุมเช่นเดียวกันกับที่กระสุนออกจากลำกล้องการที่พลประจำปืนสามารถทำการยิงได้จากที่กำบังและซ่อนเร้นต่อข้าศึกใด ๆ ในที่มีการป้องกันที่ปรากฏขึ้น ความมุ่งหมายของชุดปฏิบัติการยิงจะได้อธิบายในบทต่อไปอันเป็นการอำนวยการให้  เครื่องยิงทำการยิงลงบนเป้าหมายจากที่ตั้งยิงที่ไม่สามารถมองเห็นได้

 

ชุดปฏิบัติการยิง

           ก. ปัญหาของชุดปฏิบัติการยิง ปกติเครื่องยิงทำการยิงจากที่หลบบัง  (DEFILADE)  จากความสามารถอันนี้ทำให้พลประจำปืนเกิดข้อได้เปรียบด้านการกำบังและซ่อนพรางซึ่งยังคงใช้มุมใหญ่ที่มีขีดความสามารถในการยิงแบบเล็งจำลองไปยังข้าศึกได้ ในบทเรียนนี้จะได้กล่าวถึง เครื่องยิงลูกระเบิดทำการยิงไปยังเป้าหมายในที่หลบซ่อนจากพลยิงได้อย่างไรประการหนึ่ง ต่อจากนั้นเราจะได้เรียนถึงรายละเอียดของกลไกต่าง ๆ ที่จะทำให้ทำการยิงแบบเล็งจำลองได้

           ข. ชุดปฏิบัติการยิง หน่วยเครื่องยิงลูกระเบิดก็มีลักษณะการจัดเช่นเดียวกันกับหน่วยรบต่าง ๆ ที่มีการจัดออกเป็น หมวด, ตอน และหมู่การจัดหน่วยเช่นนี้ก็เพื่อให้มี  ความสามารถในการยิงแบบเล็งจำลองให้กับการร้องขอที่เราจะส่งไปยังชุดปฏิบัติการยิงเหล่านี้ ชุดปฏิบัติการยิงจึงต้องมีความสามารถกระทำได้ในเรื่องต่อไปนี้

                ๑) การตรวจการณ์ กำหนดที่ตั้งเป้าหมาย ขอยิงและปรับการยิงลงบนเป้าหมายต่าง ๆ

                ๒) อำนวยการยิง ได้แก่ แปลงสิ่งที่ผู้ตรวจการณ์เห็นให้เป็นข้อความที่พลประจำปืนนำไปใช้ได้

                ๓) การยิง หน่วยยิงทำการยิงไปยังเป้าหมาย