บทที่ ๒ กล้องเล็ง เอ็ม ๖๔ และ เอ็ม ๖๔ เอ ๑

บทที่ ๒

กล้องเล็ง เอ็ม ๖๔ และ เอ็ม ๖๔ เอ ๑

           กล้องเล็ง เอ็ม ๖๔ และ เอ็ม ๖๔ เอ ๑  เป็นกล้องเล็งมาตรฐานที่ใช้กับ ค.๖๐ มม. เอ็ม ๒๒๔ มีส่วนประกอบใหญ่ๆ สองส่วนคือ  กล้องส่องรูปข้อศอก เอ็ม ๑๐๙ และตัวเรือนกล้องเล็ง เอ็ม ๑๒๘

             ๑  กล้องส่องรูปข้อศอก เอ็ม ๑๐๙  ขยายภาพการมองเห็นได้ ๑.๕ เท่า ขอบเขตการมองเห็น กว้าง ๑๗ องศา ( ๓๐๒ มิลเลียม )  ที่แว่นแก้วของกล้องส่อง  ทำเป็นเส้นเล็งกากบาท และมีมาตรามิลเลียมกำกับไว้ทั้งสี่ด้าน  จากจุดกึ่งกลาง ด้านละ ๑๗ ช่อง ๆ ละ ๕ มิลเลียม และมีเลขกำกับทุกๆ ๒๐ มิลเลียม เส้นเล็งมีแสงสว่างในตัวเองโดยใช้แก๊ส Tritium (H3) เพื่อการเล็งในเวลากลางคืน กล้องส่องรูปข้อศอกสามารถปรับได้สาม ตำแหน่งคือ ช่องมองอยู่ด้านซ้าย ด้านขวา และตั้งขึ้นด้านบน โดยการคลายเกลียวควงผีเสื้อ (กล้องเล็ง เอ็ม ๖๔ เอ ๑) และปรับตำแหน่งของกล้องส่องให้อยู่ในตำแหน่งที่ต้องการโดยการปรับให้ขีดสีขาวอยู่ตรงกัน จากนั้นจึงขันเกลียวควงผีเสื้อให้แน่นพอประมาณ หน้าแว่นแก้วของกล้องส่องสามารถยกให้สูงขึ้นหรือต่ำลงได้โดยการปลดคันยึดกล้องส่องด้วยการยกคันยึดขึ้นแล้วปรับหน้ากล้องตามความต้องการ 

๒   ตัวเรือนกล้องเล็ง เอ็ม ๑๒๘ ประกอบด้วยมาตรามุมทิศส่วนใหญ่และมาตรามุมสูงส่วนใหญ่ ควงมุมทิศและมาตรามุมทิศส่วนย่อย ควงมุมสูงและมาตรามุมสูงส่วนย่อย ควงยึดมาตรามุมทิศ ควงยึดมาตรามุมสูง (ควงสีแดง) หลอดระดับแก้เอียงและหลอดระดับทางสูง ก้านกล้องเล็งและกระเดื่องกล้องเล็ง

                  ๒.๑ แผ่นมาตรามุมทิศส่วนใหญ่แบ่งออกเป็น ๖๔ ช่อง เท่าๆ กัน แต่ละช่องมีค่าเท่ากับ ๑๐๐ มิลเลียม มีเลขกำกับไว้ทุก ๒๐๐ มิลเลียม (๒ ช่อง) โดยเริ่มจาก ๐–๖๒ (๐-๖๒๐๐) แผ่นมาตรามุมทิศส่วนใหญ่สามารถหมุนเลื่อนได้โดยการกดแผ่นมาตราให้ยุบตัวลง เมื่อหมุนควงมุมทิศแผ่นมาตรานี้จะหมุนเลื่อนไปพร้อมกันกับหน้าแว่นแก้ว (เส้นเล็ง)  ตรงตัวเลข ๓๒ (๓๒๐๐) ทำเป็นดัชนีหัวลูกศรสีขาวชี้ลงด้านล่าง ส่วนดัชนีหัวลูกศรที่ใช้อ่านค่ามาตรามุมทิศส่วนใหญ่ คือหัวลูกศรสีขาวชี้ขึ้นด้านบน อยู่ระหว่างหลอดระดับแก้เอียง กับหลอดระดับทางสูง แผ่นโลหะสีขาวรูปวงแหวน ซึ่งครอบอยู่ด้านบนของมาตรามุมทิศส่วนใหญ่ มีขีดดัชนีหลัก (สีแดง) อยู่  ๒  แห่ง คือ ที่บนแผ่นโลหะ และที่ควงมุมทิศ ดัชนีทั้งสองแห่งนี้ไม่สามารถหมุนเลื่อนได้ถ้าไม่คลายควงเกลียวที่ยึดไว้  ดัชนีหลักนี้ใช้ในการสอบศูนย์ทางทิศของกล้องเล็ง (Boresight) และใช้อ้างในการตั้งมุมทิศ ๓,๒๐๐ มิลเลียม (แนวแกนลำกล้องเครื่องยิงฯ) สำหรับการยิงเล็งตรง โดยการกดเลื่อนแผ่นมาตรามุมทิศส่วนใหญ่ให้เลข “๓๒” ตรงกับดัชนีหลักสีแดงบนแผ่นโลหะ จากนั้นหมุนควงมุมทิศจนกระทั่งเลข “๓๒” ตรงกับดัชนีหัวลูกศรอ่านมาตรา (หัวลูกศรชี้ตรงกัน) และดัชนีหลักสีแดงที่ควงมุมทิศ ตรงกับดัชนีหัวลูกศรสีแดง จากนั้นหมุนปรับเลื่อนมาตรามุมทิศส่วนย่อยให้ เลข “0” ตรงดัชนีหัวลูกศรสีดำ

                  ๒.๒ มาตรามุมทิศส่วนย่อยและควงมุมทิศ มาตรามุมทิศส่วนย่อยอยู่ที่ควงมุมทิศ แบ่งเป็นช่องเล็กๆ ช่องละ ๑ มิลเลียม จำนวน ๑๐๐ ช่อง และมีเลขกำกับไว้ทุกๆ  ๑๐ มิลเลียม จาก ๐–๙๐ ที่ควงมุมทิศมีดัชนีหัวลูกศรอยู่  ๒  ดัชนี คือสีแดงและสีดำ ชี้สวนทางกัน ดัชนีสีแดงเป็นดัชนีหลักคงที่ได้กล่าวแล้ว  ส่วนดัชนีสีดำ เป็นดัชนีชี้อ่านมาตรามุมทิศส่วนย่อย มาตรามุมทิศส่วนย่อยสามารถปรับเลื่อนได้โดยจับที่ลายกันลื่น แล้วหมุนปรับให้มาตรามุมทิศส่วนย่อยที่ต้องการตรงกับดัชนีสีดำ เมื่อต้องการเปลี่ยนมุมทิศเป็นจำนวนมาก ให้กางด้ามควงมุมทิศออก ก่อนหมุนควงมุมทิศให้ดึงปลอกดัชนีหลักเพื่อปลดกลอนก่อน แล้วจึงหมุน เมื่อหมุนตามเข็มนาฬิกา มุมทิศจะมีค่าเพิ่มขึ้น หน้ากล้อง (เส้นเล็ง) จะส่ายไปทางขวา หมุนควงมุมทิศ ๑ รอบ จะทำให้มาตรามุมทิศส่วนใหญ่เปลี่ยนไป ๑๐๐ มิลเลียม ควงยึดมาตรามุมทิศ (ควงสีแดง) อยู่บริเวณด้านหน้าเรือนกล้องเล็ง ก่อนหมุนควงมุมทิศทุกครั้งต้องคลายควงยึดมาตรามุมทิศเสียก่อน

                  ๒.๓ แผ่นมาตรามุมสูงส่วนใหญ่ อยู่บริเวณกระเดื่องกล้องเล็งมาตรานี้แบ่งออกเป็น  ๙  ช่อง เท่าๆ กัน แต่ละช่องมีค่า ๑๐๐ มิลเลียมเริ่มจาก ๗๐๐-๑,๖๐๐ มีเลขกำกับทุกๆ ๒ ช่อง (๒๐๐ มิลเลียม) ตั้งแต่ ๘–๑๖(๘๐๐-๑,๖๐๐) ด้านซ้ายของแผ่นมาตรามุมสูงส่วนใหญ่คือดัชนีหัวลูกศรอ่านมาตรามุมสูงส่วนใหญ่ แผ่นมาตรามุมสูงส่วนใหญ่ถูกยึดติดกับโลหะโดยการย้ำหมุด และโลหะนี้ถูกยึดติดกับเรือนกล้องเล็งโดยควงเกลียวสองตัว ถูกขันแน่นและตรึงควงเกลียวไว้ด้วยกาวชนิดพิเศษเพื่อป้องกันมิให้คลายเกลียวขณะทำการยิง  มาตรามุมสูงส่วนใหญ่นี้ได้ตั้งค่ามุมสูงมาแล้วจากโรงงานผลิต พลประจำเครื่องยิงฯ ไม่ควรปรับตั้งอีก ในการสอบศูนย์มุมสูง (Boresight) ที่มุมสูง ๘๐๐ ถ้าดัชนีหัวลูกศรอ่านมาตรามุมสูงส่วนใหญ่ มีค่าผิดพลาดถึง ๒๐ มิลเลียม ควรส่งให้หน่วยสรรพาวุธดำเนินการปรับตั้งให้ เนื่องจากเกลียวยึดมาตรามุมสูงทั้งสองตัวนี้  มีการคลายออก จึงต้องทำให้แน่นเข้าที่อย่างเดิมมิฉะนั้นมาตรามุมสูงส่วนใหญ่อาจจะเลื่อนเองได้ขณะทำการยิง   (ภาพหน้า ๑๑)


๒.๔ มาตรามุมสูงส่วนย่อยและควงมุมสูง มาตรามุมสูงส่วนย่อยอยู่ที่ควงมุมสูง แบ่งออกเป็น    ๑๐๐ ช่อง เท่าๆ กัน แต่ละช่องมีค่า ๑ มิลเลียม ทุกๆ ๑๐ มิลเลียมจะมีเลขกำกับไว้ ตั้งแต่ ๐–๙๐ เมื่อต้องการเปลี่ยน ค่ามุมสูงจำนวนมากให้กางด้ามควงมุมสูงออกแล้วหมุน เมื่อหมุนควงมุมสูงตามเข็มนาฬิกา ๑ รอบ จะทำให้มาตรา มุมสูงเพิ่มขึ้น ๑๐๐ มิลเลียม มาตรามุมสูงส่วนย่อยนี้สามารถปรับได้โดยการคลายควงเกลียวทั้งสองตัว ควงยึดมาตรามุมสูง (ควงสีแดง) อยู่ด้านล่างของเรือนกล้องเล็ง ก่อนหมุนควงมุมสูงทุกครั้งต้องคลายควงยึดนี้เสียก่อนและเมื่อตั้ง ค่ามุมสูงเรียบร้อย ต้องขันควงยึดนี้ทุกครั้งเพื่อป้องกันมาตรามุมสูงเลื่อนได้เองขณะทำการยิง

                  ๒.๕ หลอดระดับมีสองหลอด  คือหลอดระดับทางสูงอยู่ด้านซ้ายของดัชนีหัวลูกศรอ่านมาตรามุมทิศส่วนใหญ่ ทางขวานั้นคือหลอดระดับแก้เอียง หลอดระดับทั้งสองมีฝาครอบแบบหมุน ต้องปิดฝาครอบเสมอเมื่อเก็บกล้องเล็งเพื่อป้องกันมิให้หลอดระดับชำรุดเสียหาย

                            ๒.๖ ก้านกล้องเล็งและกระเดื่องกล้องเล็ง  ก้านกล้องเล็งสวมเข้ากันพอดีกับช่องใส่ก้านกล้องเล็งที่ด้านซ้ายของชุดโครงส่าย และใช้ได้กับเครื่องยิงลูกระเบิดแบบมาตรฐานของประเทศสหรัฐฯ ทุกขนาด เมื่อจะนำกล้องเล็งติดเข้ากับขาหยั่งให้ง้างกระเดื่องกล้องออกจนสุดและนำก้านกล้องเล็งใส่เข้าในช่องพร้อมกับกดลงจนเข้าที่สนิท แล้วปล่อย เมื่อต้องการปลดกล้องออกให้ง้างกระเดื่องไปทางลำกล้องจนสุดแล้วยกกล้องเล็งออก 

๔    ข้อควรระวังจากการแพร่รังสีของแก๊ส  Tritium (H3)

                  ๔.๑ อุปกรณ์ที่มีส่วนประกอบของวัตถุซึ่งสามารถแพร่กัมมันตภาพรังสีจะมีสัญลักษณ์และคำเตือนถึงอันตรายของการได้รับกัมมันตภาพรังสีเสมอ เพราะฉะนั้นไม่ควรนำป้ายหรือสัญลักษณ์ดังกล่าวออกจากชิ้นส่วนอุปกรณ์ หากแผ่นป้ายชำรุดหรือลอกเลอะเลือน ควรจะเปลี่ยนแผ่นป้ายหรือทำข้อความแจ้งเตือนไว้ด้วยโดยทันที

๔.๒  กล้องเล็ง เอ็ม ๖๔  และ เอ็ม ๖๔ เอ ๑ ใช้แก๊ส Tritium  ( H3 ) เป็นส่วนประกอบในการทำให้เรืองแสงในเวลากลางคืน แร่นี้ผนึกอยู่ในหลอดแก้วถ้ากล้องเล็งไม่เรืองแสงในเวลากลางคืน ต้องแจ้งไปยังเจ้าหน้าที่สรรพาวุธ (นย.สหรัฐฯ แจ้ง นายทหารนิวเคลียร์ ชีวะ เคมี)

                  ๔.๓ ห้ามทำการซ่อมหรือเปลี่ยนชิ้นส่วนอุปกรณ์ ที่มีส่วนประกอบของสารกัมมันตภาพรังสีถ้า แก๊ส Tritium (H3) สัมผัสถูกผิวหนังให้ล้างออกด้วยสบู่และน้ำทันที

           การตั้งกล้อง เอ็ม ๖๔ และ เอ็ม ๖๔ เอ ๑ 

                  ๕.๑ การตั้งมุมทิศ ต้องตั้งก่อนมุมสูงเสมอ โดยตั้งมาตรามุมทิศส่วนใหญ่ก่อนแล้วจึงตั้งมาตรามุมทิศส่วนย่อย เช่น มุมทิศ  ๒๘๑๐  ตัวเลข  ๒๘  ตั้งที่มาตรามุมทิศส่วนใหญ่ ส่วนตัวเลข  ๑๐  ตั้งที่มาตรามุมทิศส่วนย่อย บนควงมุมทิศ

                         ๕.๑.๑. คลายควงยึดมาตรามุมทิศ (ควงสีแดง) หมุนควงมุมทิศตามเข็มหรือทวนเข็มนาฬิกา จนกระทั่งมาตราตัวเลขสองตัวแรกของมุมทิศที่ต้องการอยู่ตรงดัชนีหัวลูกศรอ่านมาตรามุมทิศส่วนใหญ่

                         ๕.๑.๒.ในขณะที่ตัวเลขตรงดัชนีหัวลูกศรอ่านมาตรามุมทิศส่วนใหญ่ มาตรามุมทิศส่วนย่อย เลข “0” จะต้องตรงดัชนีหัวลูกศรอ่านมาตรามุมทิศส่วนย่อยก่อน

                         ๕.๑.๓.ตัวเลขสองตัวหลังหมายถึง มาตรามุมทิศส่วนย่อยตั้งได้โดยหมุนควงมุมทิศตาม      เข็มนาฬิกา (เริ่มจากเลข “0”) จนกระทั่งตัวเลขที่ต้องการตรงกับดัชนีหัวลูกศรอ่านมาตรามุมทิศส่วนย่อยสีดำ ที่ ควงมุมทิศ จากนั้นขันควงยึดมาตรามุมทิศ (ควงสีแดง)

                  ๕.๒  การตั้งมุมสูง  ตั้งหลังจากตั้งมุมทิศแล้ว และเช่นเดียวกับมุมทิศคือ ตัวเลขมาตรามุมสูงส่วนใหญ่ และตัวเลขสองตัวหลังหมายถึง มาตรามุมสูงส่วนย่อย เช่นมุมสูง ๐๙๘๕ ตัวเลข ๙  ตั้งที่มาตรามุมสูงส่วนใหญ่      ส่วนตัวเลข ๘๕ ตั้งที่มาตรามุมสูงส่วนย่อยบนควงมุมสูง 

                         ๕.๒.๑.คลายควงยึดมาตรามุมสูง (ควงสีแดง) หมุนควงมุมสูงตามเข็มหรือทวนเข็มนาฬิกา   จนกระทั่งมาตราตัวเลขสองตัวแรกของมุมสูงตรงกับดัชนีหัวลูกศรอ่านมาตรามุมสูงส่วนใหญ่  มาตรามุมสูงส่วนย่อยดัชนีชี้ตรงเลข “0” 

                         ๕.๒.๒. มาตรามุมสูงส่วนย่อยตั้งได้โดยการหมุนควงมุมสูงตามเข็มนาฬิกาไปจนกระทั่ง      ตัวเลขสองตัวหลังตรงกันกับดัชนีหัวลูกศร อ่านมาตรามุมสูงส่วนย่อยจากนั้นขันควงยึดมาตรามุมสูง (ควงสีแดง)

                         ๕.๒.๓  เครื่องยิงลูกระเบิดขนาด ๖๐ มม. แบบ เอ็ม ๒๒๔  นี้ จะไม่ยิงด้วยมุมสูงที่ต่ำกว่า ๘๐๐ มิลเลียม การตั้งมุมสูง ๘๐๐ มิลเลียม ที่กล้องเล็งและปรับหวอดระดับให้ได้ระดับ จะทำให้กล้องทำมุม ๔๕ องศา ซึ่งจะเป็นมุมที่ยิงได้ไกลสุด และจะไม่ยิงด้วยมุมสูงที่มากกว่า ๑๕๑๑ มิลเลียม เพราะจะทำให้ไม่ปลอดภัย การยิงด้วยมุมสูงมากกว่านี้ จะใช้ในกรณีฉุกเฉินเท่านั้น

หมายเหตุ

           การอ่านมาตรามุมทิศและมุมสูงให้อ่านเป็นเลขสี่ตัวเสมอ เลขสองตัวหน้าเป็นมาตราส่วนใหญ่ เลขสองตัวหลังเป็นมาตราส่วนย่อย เช่น มุมทิศ/มุมสูง ๙๐๐ มิลเลียม ให้ตั้งมาตราส่วนใหญ่ที่เลข ๙ อ่านมาตราส่วนใหญ่ว่า “ศูนย์เก้า


           การติดตั้งและถอดกล้องเล็ง เอ็ม  ๖๔ และ เอ็ม ๖๔ เอ ๑


๖.๑  ตั้งมุมทิศที่ ๓๒๐๐ มิลเลียม ตั้งมุมสูงที่ ๑๑๐๐ มิลเลียม การติดตั้งกระทำได้โดยนำก้านกล้องเล็งใส่เข้าในช่องรับก้านกล้องเล็งที่ด้านซ้ายของชุดขาหยั่ง (4) จากนั้นง้างกระเดื่องกล้องเล็ง (3) และกดกล้องเล็งลง จนได้ยินเสียง คลิ๊ก ปล่อยกระเดื่องกล้องเล็ง เป็นการเสร็จสิ้นการติดตั้ง

                  ๖.๒ การถอดกล้องเล็งออกจากเครื่องยิงฯ ให้ง้างกระเดื่องกล้องเล็ง (3) ออกไปทางลำกล้อง (1) จนสุดพร้อมกับยกกล้องเล็งขึ้นตรงๆ 

             ๗  การเก็บกล้องเล็งเข้ากล่อง   ก่อนอื่นให้คลายควงยึดมาตรามุมทิศและมุมสูง (ควงสีแดง) ตั้งมุมที่ ๓๒๐๐ ( ใช้เส้นหลักสีแดงเป็นตัวกำหนดในการตั้งมุมทิศ  ๓๒๐๐ ) ตั้งมุมสูงที่ ๑๑๐๐ จากนั้นขันควงยึดมาตรามุมทิศ และมุมสูง  ( อย่าขันให้แน่นมากจนเกินไป ) หมุนปิดฝาครอบหลอดระดับทั้งสอง  คลายเกลียวควงผีเสื้อ  บิดกล้องส่องรูปข้อศอก มาทางหลอดระดับโดยให้อยู่ระหว่างหลอดระดับทั้งสอง ไม่ต้องถอดยางรองตาออก ยกคันยึดกล้องส่องขึ้นเพื่อให้กล้องส่องกระดกได้อย่างอิสระ วางกล้องเล็งลงในช่องที่กล่องกล้องเล็งให้ควงมุมทิศตั้งขึ้น ( ดูตัวอย่างภาพที่ฝากล่อง ) ปิดฝากล่องให้เรียบร้อย 

เครื่องมือเครื่องใช้อื่นๆ

           เครื่องมือเครื่องใช้ที่เป็นอุปกรณ์ประจำเครื่องยิงฯ มี ๑๑ รายการ เครื่องมือเครื่องใช้เหล่านี้มีความจำเป็นที่ต้องใช้ ในการปรนนิบัติบำรุงเครื่องยิงฯ และยังเป็นยุทโธปกรณ์ประจำเครื่องยิงฯ แต่ละเครื่อง พลประจำเครื่องยิงฯ ต้องปรนนิบัติบำรุงรักษาเครื่องมือเครื่องใช้เหล่านี้ ให้พร้อมใช้งานอยู่ตลอดเวลา

           ๑  หลักเล็ง เอ็ม ๑๔ ในแต่ละหมู่เครื่องยิงฯ มีหลักเล็ง เอ็ม ๑๔ หมู่ละ ๘ หลัก หลักเล็งเหล่านี้มีไว้เพื่อเป็นจุดอ้างในการเล็งยิงแบบ “เล็งจำลอง” ทำด้วยอลูมินั่มทาสีขาว – แดง เพื่อให้ง่ายต่อการมองเห็นเมื่อมองผ่านกล้องเล็ง ปลายข้างหนึ่งแหลม หลักเล็งแต่ละหลักสามารถสวมต่อกันให้ยาวได้ตามต้องการ หลักเล็งเหล่านี้บรรจุอยู่ในถุงใส่หลักเล็ง


๒   ถุงใส่หลักเล็ง   ถุงใส่หลักเล็งนี้ มีช่องใส่บรรจุหลักเล็งอยู่สองช่อง  แต่ละช่องสามารถบรรจุหลักเล็ง  เอ็ม ๑๔ ได้ ๔ หลัก และยังมีสายสะพายพร้อมทั้งเข็มขัดรัดหลักเล็งอยู่สองเส้น เพื่อรัดหลักเล็งมิให้หลวมคลอน ใช้เก็บหลักเล็งเมื่อไม่ได้ใช้งาน

           ๓   หลักนำหลักเล็ง  สำหรับเจาะพื้นดินที่แข็งเพื่อช่วยในการปักหลักเล็ง

๔   ถุงมือป้องกันความร้อน  ทำจากแร่ใยหิน  มีไว้สำหรับให้พลยิง  สวมไว้ที่มือซ้ายเมื่อทำการยิง ด้วยวิธีใช้มือถือ จับยกมุมยิง 

๕   แส้แยงลำกล้อง  ที่ปลายของแส้ทำเป็นเกลียวไว้ประกอบติดกับแปรงชำระลำกล้องหรือดอกแส้ตะขอ ใช้ทำความสะอาดลำกล้อง            ๖   แปรงชำระลำกล้อง  ใช้ประกอบติดกับแส้ เพื่อทำความสะอาดลำกล้อง

๗   ดอกแส้ตะขอ  มีไว้สำหรับพันเกี่ยวผ้าสะอาด เพื่อความสะดวกต่อการทำความสะอาดภายในลำกล้อง

๘   ไขควงปากแบน  ใช้กับกล้องเล็ง เอ็ม  ๖๔  ในการปรับมาตรามุมทิศ และมาตรามุมสูงส่วนใหญ่ ในการสอบศูนย์กล้องเล็ง

๙   ไฟหลักเล็ง เอ็ม ๕๘  และ เอ็ม  ๕๙  มีทั้งหมด  ๓  ดวง ไฟสีเขียว เอ็ม ๕๘ จำนวน  ๒  ดวง และไฟสีส้ม เอ็ม ๕๙ จำนวน ๑ ดวง ไฟหลักเล็งแต่ละดวงจะมีปลอกและควงเกลียวหางปลา สำหรับสวมและขันให้ติดกับหลักเล็ง ไฟหลักเล็งนี้จะช่วยให้พลยิงมองเห็นตำแหน่งของหลักเล็ง ในการเล็งยิงในเวลากลางคืน หรือทัศนวิสัยในการมองเห็นจำกัด ไฟหลักเล็งนี้ไม่ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่  แต่จะใช้แก๊ส  Tritium ( H3 ) ในการให้แสงสว่าง

           ไฟสีส้มติดหลักเล็งอันไกล และไฟสีเขียวติดหลักเล็งอันใกล้ ส่วนไฟสีเขียวอีกดวงหนึ่งนั้น เป็นไฟสำรองกรณีไฟดวงใดดวงหนึ่งเสีย  ไฟหลักเล็งนี้ ออกแบบมาเพื่อให้มองตรง ๆ  จากด้านหน้า จึงจะมองเห็นแสงได้  เพื่อป้องกันมิให้ข้าศึกสังเกตเห็นได้ง่าย ไฟหลักเล็งทั้งสามดวงเก็บไว้ในช่องซึ่งทำไว้พอดีกับดวงไฟ อยู่ภายในกล่องกล้องเล็ง

           ๑๐ ฝาครอบปากลำกล้อง ทำจากยางใช้ครอบปิดปากลำกล้อง เพื่อป้องกันไม่ให้สิ่งสกปรกเข้าไปใน     ลำกล้อง ขณะที่ไม่ได้ทำการยิง


๑๑  สายสะพาย มีไว้เพื่อให้พลประจำเครื่องยิงฯ ใช้สะพายในการนำพาลำกล้องในการเคลื่อนที่ สวมคล้องเข้ากับลำกล้อง หรือใช้สะพายเครื่องยิงฯ โดยไม่ต้องถอดแยกชิ้นส่วนของเครื่องยิงฯ ออกจากกัน