บทที่ ๑๐ การฝึกพลประจำปืน ค.๘๑ เอ็ม.๒๙

บทที่ ๑๐

การฝึกพลประจำปืน ค.๘๑ เอ็ม.๒๙

ความมุ่งหมาย

           เพื่อฝึกให้พลประจำเครื่องยิงลูกระเบิดขนาด ๘๑ มม. เอ็ม.๒๙ ได้มีความรู้ความสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างถูกต้องเป็นแบบเดียวกัน มีความเข้าใจในแนวทางเดียวกัน เพื่อให้บังเกิดประสิทธิภาพในการใช้อาวุธ

           การฝึกจะมีประสิทธิภาพขึ้นอยู่กับเครื่องมือเครื่องใช้ในการฝึกต้องมีพร้อม ครูและครูผู้ช่วยมีความรู้ความสามารถและมีการเตรียมการในการฝึก โดยเฉพาะครูผู้ช่วยจะต้องมีครบตามหมู่ปืนที่ฝึก เพื่อให้การควบคุมตรวจสอบการปฏิบัติ การปฏิบัติที่ไม่ถูกต้องหรือผิดพลาดต้องได้รับการแก้ไขทันทีทันใด ซึ่งจะทำให้ผู้รับการฝึกเข้าใจและปฏิบัติได้ถูกต้อง การกระทำซ้ำหลายครั้งผู้รับการฝึกจะเกิดความชำนาญเป็นผลให้การปฏิบัติงานเป็นทีมเป็นไปอย่างอัตโนมัติ

การปฏิบัติการฝึก แบ่งเป็น ๒ ขั้น

           ๑. ขั้นการฝึก

           ๒. ขั้นการตรวจสอบการฝึก

ขั้นการฝึก

           ๑. การฝึกพลประจำปืนเบื้องต้น

           ๒. การฝึก การเปลี่ยนมุมทิศและมุมสูงเป็นจำนวนน้อย

           ๓. การฝึก การเปลี่ยนมุมทิศและมุมสูงเป็นจำนวนมาก

           ๔. การฝึก การตั้งปืนตรงทิศและการจำลองทิศ

           ๕. การฝึก การปฏิบัติตามคำสั่งยิง

           ๖. การฝึกในเวลากลางคืน

ขั้นการตรวจสอบ ตรวจสอบการฝึกดังกล่าวตามตารางตรวจสอบ

๑. การฝึกพลประจำปืนเบื้องต้น

           (จากการสัมมนา ๙ ส.ค.๓๔) วัตถุประสงค์เพื่อพลประจำปืนได้รู้ถึงการวางเครื่องมือเครื่องใช้,การแถวเพื่อรอรับการฝึก,การแถวท้ายปืน,การประจำที่,การตรวจเครื่องมือเครื่องใช้,การเปลี่ยนตำแหน่ง,การตั้งเครื่องยิงและเก็บเครื่องยิง

           ก. เครื่องมือเครื่องใช้ในการฝึก มีพร้อม

           ข. เงื่อนไขการฝึก

                ๑) มีพื้นที่กว้างพอในการฝึกปืนหลายหมู่ ที่ตั้งปืนเป็นพื้นที่ราบเรียบได้ระดับ

                ๒) ครูผู้ช่วย มีประจำทุกหมู่ปืน

                ๓) ครูผู้ช่วยต้องกำกับดูแลใกล้ชิด เพ่งเล็งในเรื่อง

                     ก) ขั้นตอนในการปฏิบัติ

                     ข) ความถูกต้องในการประกอบและถอดปืนในการตั้งรับและเลิกตั้งยิง

                     ค) ความสัมพันธ์ในการปฏิบัติ

                     ง) วินัยการฝึก

                ๔) ครูฝึกชี้แจงตำแหน่งหน้าที่ภายในหมู่

                     ก) ผบ.หมู่มีหน้าที่ควบคุมบังคับบัญชา ตรวจตรารับผิดชอบให้หมู่ปืนปฏิบัติโดยถูกต้อง รวดเร็วปลอดภัย และเป็นผู้ใช้โทรศัพท์

                     ข) พลยิง มีหน้าที่ตั้งมุมทิศ,มุมสูง แต่งหวอดระดับปรับควงสูง

                     ค) พลยิงผู้ช่วย มีหน้าที่ช่วยพลยิงตั้งมุมทิศ,มุงสูง,แต่งหวอดระดับแก้เอียงและบรรจุกระสุน

                     ง) พลกระสุน ๑ มีหน้าที่ทวนคำสั่งส่วนบรรจุ เตรียมกระสุนและจัดส่วนบรรจุ

                     จ) พลกระสุน ๒ มีหน้าที่เตรียมกระสุน,ตั้งชนวนและวัดอุณหภูมิส่วนบรรจุ

                     ฉ) พลกระสุน ๓ มีหน้าที่ปักหลักเล็ง,เตรียมกระสุน และช่วยพลกระสุน ๒ ตั้งชนวน

                     ช) พลกระสุน ๔ มีหน้าที่เตรียมกระสุนและทำลายส่วนบรรจุที่เหลือ

           ค. การวางเครื่องมือเครื่องใช้ (จากด้านหน้าไปด้านหลัง)

                - หลักกำหนดทิศทางยิงเบื้องต้น (หลักขาว-แดง) อยู่ในลักษณะปัก

                - กล่องกล้องเล็ง ห่างจากหลักกำหนดทิศทางยิงเบื้องต้นประมาณ ๒๕ เมตร หูหิ้วอยู่ด้านขวา

                - หลักกำหนดที่ตั้งยิง อยู่ทางด้านขวาของกล่องกล้องเล็งห่างประมาณ ๑ เมตร (ให้อยู่ในแนวเดียวกันกับหลักกำหนดทิศทางยิงเบื้องต้น)

                - แผ่นฐาน วางหลังระหว่างกล่องกล้องเล็งและหลักกำหนดที่ตั้งยิง ห่างประมาณ ๓ เมตร ให้ปากของช่องรับเดือยท้ายลำกล้องหันตรงไปตามทิศทางยิง

                - ขาหยั่ง วางหลังแผ่นฐานห่างประมาณ ๒ เมตร ให้พลั่วขาหยั่งหนไปทางซ้าย และปลอกสวมลำกล้องอยู่ด้านบน

                - ลำกล้อง วางหลังขาหยั่งประมาณ ๒ เมตร ให้ปากลำกล้องหันไปทางขวา แหวนรัดลำกล้อง ให้ห่วงใส่สลักอยู่ด้านบน

                - หลักเล็งขาว-แดงที่เหลือ วางหลังลำกล้องห่างประมาณ ๒ เมตร ให้ปลายแหลมอยู่ด้านซ้าย

                - กล่องไฟหลักเล็ง อยู่เหนือหลักเล็งประมาณกึ่งกลาง ใกล้หลักเล็ง

                - ลูกระเบิดยิง วางด้านหลังหลักเล็งห่างประมาณ ๒ เมตร โดยหันหัวลูกระเบิดยิงไปทางขวา (ลูกระเบิดยิงที่เหลือ วางหลังอีกตำแหน่งละ ๒ เมตร)

           ง. การแถวรอรับการฝึก

           - คำบอกคำสั่ง "พลประจำปืน แถวรอรับการฝึก แถว"

                - ผู้รับการฝึกทั้งหมด แถวหน้าผู้เรียกเป็นรูปหน้ากระดาน โดยให้หัวแถวอยู่ห่างจากผู้เรียกประมาณ ๓ ก้าว (ถ้าฝึกเกิน ๑ หมู่ ให้หมู่แรกอยู่แถวหน้า)

                - ผู้ฝึกสั่ง "พลประจำปืน นับ"

                - ผบ.หมู่ทวนคำสั่ง "หมู่.....นับ"

                - แต่ละแถวนับ โดยเริ่มนับจากพลประจำปืนคนถัดไปจาก ผบ.หมู่ (คนที่ ๒ ถึง ๗)

                - ผู้ฝึกกำหนดตำแหน่งแต่ละหน้าที่ให้กับหมายเลขต่าง ๆ


หมายเลข  ๑  เป็น   พลกระสุน ๑        ผู้รับการฝึกทวนคำสั่ง

                     "       "     พลยิง                         "

                     "       "     พลยิงผู้ช่วย            "

                     "        "     พลกระสุน ๒               "

                     "       "     พลกระสุน ๓          "

                     "        "     พลกระสุน ๔            "

           จ. การแถวท้ายปืน

                - ผู้ฝึกสั่ง "พลประจำปืน แถวท้ายปืน แถว"

                - ผู้รับการฝึกทั้งหมดทำท่าตรง

                - ผบ.หมู่ทวนคำสั่ง "หมู่.....แถวท้ายปืน แถว"

                - ผู้รับการฝึกทั้งหมดทำขวาหัน ยกมือขึ้นระดับอก (กำมือ) แต่ละแถววิ่งเป็นแถวตอนเรียงหนึ่งโดยพร้อมเพรียงกัน ไปที่ ค.กระบอกที่กำหนดให้

                - หันแถวไปหยุดยืนอยู่ห่างจากเครื่องมือเครื่องใช้ชิ้นสุดท้ายประมาณ ๖ ก้าว ในลักษณะแถวตอนระยะต่อระหว่างบุคคล ๑ ก้าว

                - คนสุดท้ายของแต่ละแถวชิดเท้าเสียงดัง ทั้งหมดนำมือลงมาอยู่ในท่าตรง แล้วทำท่าตามระเบียบพักพร้อมกัน

           ฉ. การประจำที่

                - ผู้ฝึกสั่ง "พลประจำปืน ประจำที่"

                - ผู้รับการฝึกทำท่าตรงพร้อมกัน

                - ผบ.หมู่ทวนคำสั่ง "หมู่.……....ประจำที่"

                - ผู้รับการฝึกยกมือขึ้นระดับอก (กำมือ) วิ่งไปทางซ้ายของเครื่องมือเครื่องใช้

                - ผบ.หมู่ ไปหยุดยืนอยู่ระหว่างกล่องกล้องเล็ง กับ หลักกำหนดที่ตั้งยิง

                - คนต่อ ๆ มาเข้าไปหยุดยืนอยู่หลังกึ่งกลางเครื่องมือเครื่องใช้ ห่าประมาณ ๑ ก้าว

                - คนสุดท้ายชิดเท้าเสียงดัง ทุกคนนำมือลงอยู่ในท่าตรง


ช. การตรวจเครื่องมือเครื่องใช้

                - ผู้ฝึกสั่ง "พลประจำปืน ตรวจเครื่องมือเครื่องใช้"

                - ผบ.หมู่ทวนคำสั่ง "หมู่.....ตรวจเครื่องมือเครื่องใช้"

                - ผู้รับการฝึกทุกคนตะโกนพร้อมกัน "ตรวจ" พร้อมกับนั่งคุกเข่าสูง (เข้าซ้ายจรดพื้นพร้อมกัน)


ผบ.หมู่ตรวจ

                - กล้องเล็งไม่ชำรุด และใช้งานได้

                - ไฟกล้องเล็งไม่ชำรุด และใช้งานได้

                - หลักกำหนดที่ตั้งยิงไม่ชำรุด และใช้งานได้

           หมายเลข ๑ (พลกระสุน) ตรวจ

                - ช่องรับเดือยท้ายลำกล้องสะอาด ไม่ชำรุด และใช้งานได้

                - พลั่วฐาน, ริ้วพลั่วฐาน ไม่ชำรุด และใช้งานได้

           หมายเลข ๒ (พลยิง) ตรวจ

                - โครงส่าย และรองเพลาโครงส่ายอยู่กึ่งกลางหรือไม่

                - ปลอกสวมลำกล้องสะอาดและปราศจากฝุ่นผง

                - เครื่องผ่อนอาการสะเทือนทำงานได้ ไม่ชำรุด

                - แกนควงสูงทำงานได้สะดวก ไม่ชำรุด และใช้งานได้

                - จัดควงแก้เอียงให้ห่างจากหัวขาหยั่งประมาณ ๒ นิ้ว

                - ควงยึดคานแก้เอียง ไม่ขันแน่นหรือหลวมเกินไป

                - โซ่ขาหยั่งไม่พันยุ่ง และพันรอบขาหยั่งเรียบร้อย

           หมายเลข ๓ (พลยิงผู้ช่วย) ตรวจ

                - ภายในลำกล้องสะอาด เข็มแทงชนวนโผล่ ไม่หัก

                - แหวนรัดลำกล้องไม่ชำรุด และจัดให้อยู่ระหว่างเส้นสีขาวทั้งสอง

                - เครื่องปิดท้ายลำกล้องขันแน่น เดือยท้ายลำกล้องสะอาด ไม่ชำรุด

                - เข็มแทงชนวนขันแน่นไม่คลายเกลียว

           หมายเลข ๔ (พลกระสุน ๒) ตรวจ

                - หลักเล็งสะอาด ไม่ชำรุด และมีครบจำนวน

                - ไฟหลักเล็งไม่ชำรุด และใช้งานได้

                - ลูกระเบิดยิงสะอาด ไม่ชำรุดหรือผิดรูป และมีครบจำนวน

           หมายเลข ๕ (พลกระสุน ๓) ตรวจ

                - ลูกระเบิดยิงสะอาด ไม่ชำรุดหรือผิดรูป และมีครบตามจำนวน

           หมายเลข ๖ (พลกระสุน ๔) ตรวจ

                - ลูกระเบิดยิงสะอาด ไม่ชำรุดหรือผิดรูป และมีครบตามจำนวนเมื่อทุกคนตรวจเครื่องมือเครื่องใช้ของตนเสร็จเรียบร้อยแล้ว วางเครื่องมือเครื่องใช้ในลักษณะเดิมและอยู่ในท่านั่งคุกเข่าเช่นเดิม โดยวางมือซ้ายบนเข่าซ้าย มือขวาบนเข่า

                - เมื่อ ผบ.หมู่เห็นว่าทุกหมายเลขตรวจเครื่องมือเครื่องใช้เสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้ลุกขึ้นยืนในท่าตรง คนอื่น ๆ ให้ลุกขึ้นตาม ผบ.หมู่พร้อมกัน แล้วรายงานตามลำดับจากหลังขึ้นมาข้างหน้า

 

 

 

                - หมายเลข  ๖ รายงาน      ลูกระเบิดยิงเรียบร้อย

                -    " ๕  "        ลูกระเบิดยิงเรียบร้อย

                -    " ๔  "            หลักเล็ง ไฟหลักเล็ง ลูกระเบิดยิงเรียบร้อย

                -    " ๓  "         ลำกล้องเรียบร้อย

                -    " ๒  "         ขาหยั่งเรียบร้อย

                -    " ๑  "       แผ่นฐานเรียบร้อย

                - ผบ.หมู่ รายงาน              หมู่…………....พร้อม

        ซ. การเปลี่ยนตำแหน่ง

                - ผู้ฝึกสั่ง "พลประจำปืน เปลี่ยนตำแหน่ง"

                - ผบ.หมู่ทวนคำสั่ง "หมู่.....เปลี่ยนตำแหน่ง"

                - ผู้รับการฝึก (เว้น ผบ.หมู่) ตะโกนหมายเลขเดิมและหมายเลขที่จะเปลี่ยนใหม่ของแต่ละคนโดยพร้อมเพรียงกัน ดังนี้  หนึ่งไปหก, สองไปหนึ่ง, สามไปสอง, สี่ไปสาม, ห้าไปสี่, หกไปห้า

                - เมื่อทุกคนตะโกนเปลี่ยนหมายเลขแล้ว ก็วิ่งไปประจำที่ในตำแหน่งใหม่ดังนี้

                     * หมายเลข ๑ วิ่งอ้อมแผ่นฐานทางขวาไปประจำที่แทนหมายเลข ๖

                             * หมายเลขอื่นที่เหลือ วิ่งอ้อมเครื่องมือเครื่องใช้ทางซ้ายไปเข้าประจำตำแหน่ง ณ หมายเลขใหม่

                - เมื่อเข้าประจำตำแหน่งใหม่แล้วยังยกมือระดับอกค้างไว้ จนกระทั่งหมายเลขสุดท้ายในตำแหน่งใหม่ชิดเท้าเสียงดัง ทุกคนจึงนำมือลงพร้อมกัน อยู่ในท่าตรง

                     * ให้เริ่มนับจากหน้าไปหลังทันที

                     * ผู้ฝึกมอบหน้าที่ใหม่ให้แต่ละหมายเลข

                     * ถาม - ตอบ หน้าที่ หมายเลข

           ณ. การตั้งเครื่องยิง

                - ผู้ฝึกสั่ง "พลประจำปืน ตรงหน้า……....ก้าว ตั้งยิง"

                - ผบ.หมู่ทวนคำสั่ง "หมู่.……..ตรงหน้า…......ก้าว ตั้งยิง"

                - ผบ.หมู่ก้มลง มือซ้ายหิ้วหูกล่องกล้องเล็ง มือขวาหยิบถือหลักกำหนดที่ตั้งยิง วิ่งไปตามคำสั่ง วางกล่องกล้องเล็งไว้ทางซ้าย ห่างประมาณ ๑ ก้าว ตรงที่จะตั้งยิง ปักหลักกำหนดที่ตั้งยิงตรงที่จะตั้งยิง แล้ว ผบ.หมู่ไปยืนอยู่ทางซ้ายของกล่องกล้องเล็ง มือขวาชี้ที่ตั้งยิง มือซ้ายชี้ทิศทางยิง แล้วสั่ง "หมู่….ตรงนี้ตั้งยิง"

                - หมายเลข ๑ (พลกระสุน ๑) ใช้สองมือจับขอบแผ่นฐานยกขึ้นระดับอก โดยหันพลั่วฐานอยู่ข้างหน้า วิ่งไปวาง ณ ที่ซึ่ง ผบ.หมู่ชี้ (หลักกำหนดที่ตั้งยิง) โดยให้ช่องแนวสันฐานช่องใดช่องหนึ่งตรงกับหลักกำหนดที่ตั้งยิง ถอนหลักกำหนดที่ตั้งยิงแล้วเคลื่อนที่ไปอยู่ด้านหลังทางขวาของแผ่นฐาน ห่างประมาณ ๑ ก้าว วางหลักกำหนดที่ตั้งยิงรวมไว้กับหลักเล็ง

                - หลังจากที่หมายเลข ๑ วางแผ่นฐานเรียบร้อยแล้ว หมายเลข ๒ (พลยิง) ยกขาหยั่ง โดยมือซ้ายจับที่จานควงส่าย มือขวาจับที่แท่นรับกล่องเล็ง โดยหงายมือทั้งสอง ยกขาหยั่งไว้ทางด้านซ้ายของลำตัว เคลื่อนที่ไปทางขวาของแผ่นฐาน ไปหยุดอยู่ด้านหน้าและหันหน้าเข้าหาแผ่นฐาน วางขาหยั่งตรงมุมขวาแผ่นฐานห่างประมาณ ๒ ฟุต นั่งคุกเข่าขวาลงหน้าขาหยั่ง ใช้มือซ้ายจับที่กระปุกเฟืองควงสูง มือขวาจับโซ่ขาหยั่งเกี่ยวโซ่ข้อที่ ๑๕-๑๘ กับ ขอเกี่ยวโซ่ยึดขาหยั่ง มือขวายกขาหยั่งซ้ายให้พ้นจากพื้น กางขาหยั่งซ้ายออกไปจนโซ่ตึง จัดแบ่งระยะห่างระหว่างขาหยั่งทั้งสองให้เท่ากับขอบหน้าแผ่นฐาน จัดกระบอกเกลียวควงสูงให้อยู่กึ่งกลาง โดยเลื่อนกระบอกเกลียวควงสูงไปทางซ้ายจัดควงแก้เอียงให้อยู่ห่างจากหัดขาหยั่งประมาณ ๒ นิ้ว ขันควงยึดคานแก้เอียงให้แน่น ลุกขึ้นยืนคร่อมขาหยั่งซ้าย ให้ขาซ้ายอยู่หน้าขาหยั่งซ้าย แล้วใช้มือซ้ายจับตรงกลางกระบอกแหนบเครื่องผ่อนอาการสะเทือน มือขวาดึงสลักยึดห่วงแกนเครื่องผ่อนอาการสะเทือน แล้วยกให้ปลอกสวมลำกล้องอยู่ในตำแหน่งได้ระดับ


๒. การฝึกเปลี่ยนมุมทิศและมุมสูงจำนวนน้อย

           วัตถุประสงค์ เพื่อให้พลยิงและพลยิงผู้ช่วยมีความรู้ความสามารถตั้งมุมทิศ - มุมสูงและใช้เส้นเล็งในการเล็งต่อหลักเล็งเบื้องต้นได้อย่างถูกต้อง

           ก. เครื่องมือเครื่องใช้ในการฝึก  มีพร้อม

           ข. เงื่อนไขการฝึก

                ๑) มีพื้นที่กว้างพอในการฝึกหลายหมู่ปืน ที่ตั้งปืนเป็นพื้นที่ราบเรียบได้ระดับ

                ๒) ตั้งเครื่องยิงและจำลองทิศ ๒๘๐๐ ปักหลักเล็งแล้ว

                ๓) ครูฝึก (ผู้ฝึก) สั่งเปลี่ยนมุมทิศไม่เกิน ๖๐ มิล และไม่น้อยกว่า ๒๐ มิล มุมสูงไม่เกิน ๙๐ มิล และไม่น้อยกว่า ๓๕ มิล

                ๔) จุดมุ่งหมายของการฝึก ฝึกเฉพาะพลยิงและพลยิงผู้ช่วยเท่านั้น การเปลี่ยนมุมทิศใหม่ประสงค์ให้เลื่อนขาหยั่งปืน

                ๕) ครูผู้ช่วยต้องมีประจำทุกหมู่ปืน

                ๖) ครูผู้ช่วยต้องกำกับดูแลใกล้ชิด และเพ่งเล็งในเรื่อง

                     ก) ความถูกต้องในการตั้งมุมทิศและมุมสูงที่กล้องเล็ง

                     ข) หวอดระดับแก้เอียงและหวอดระดับมุมสูง

                     ค) การเล็ง เส้นเล็งแตะขอบซ้ายของหลักเล็งทั้งสองไม่หนาหรือบางเกินไป

                     ง) ตรวจสอบเวลา ได้ตามกำหนดหรือไม่ จากตารางตรวจสอบถ้าไม่ได้ควรฝึกซ้ำบ่อย ๆ

                     จ) ความสัมพันธ์ในการปรับเส้นเล็งของพลยิงและพลยิงผู้ช่วย

                     ฉ) เปลี่ยนตำแหน่งหมุนเวียนให้ทุกคนได้ทำหน้าที่

                     ช) วินัยการฝึก


๔. การฝึกตั้งปืนตรงทิศและการจำลองทิศ

           วัตถุประสงค์ เพื่อให้พลยิง  พลยิงผู้ช่วย และพลกระสุน ๓ มีความรู้และความเข้าใจในการตั้งปืนตรงทิศวางพื้นยิง และการจำลองทิศปักหลักเล็งได้อย่างถูกต้อง

           ก. เครื่องมือเครื่องใช้ในการฝึก มีพร้อม

           ข. เงื่อนไขการฝึก

                ๑) มีพื้นที่การฝึกกว้างพอในการฝึกปืนหลายหมู่ ที่ตั้งปืนเป็นพื้นที่ราบเรียบได้ระดับ

                ๒) ตั้งเครื่องยิงเรียบร้อยแล้ว มุมทิศตั้งที่ ๐ มิล มุมสูงตั้งที่ ๑๑๐๐ มิล ควงส่ายอยู่กึ่งกลาง หวอดระดับแก้เอียงและหวอดระดับมุมสูงอยู่กึ่งกลาง

                ๓) ครูฝึกนำกล้องวัดมุม (เอ็ม.๑ หรือ เอ็ม.๒) ตั้งกล้องวัดมุมห่างจากปืน ๒๐ เมตร การตั้งกล้องวัดมุดถ้าทำได้ควรตั้งหลังปืน ตรงกลางระหว่างหมู่ปืน ถ้ามีความจำเป็นต้องตั้งข้างหน้าปืน ควรตั้งเยื้องไปทางซ้ายของหมู่ปืน เพื่อขจัดปัญหาลำกล้องปืนบังเส้นเล็ง หลังจากนั้นดำเนินการทำให้ ๐-๓๒๐๐ มิล ของกล้องวัดมุมชี้ไปทิศทางยิง

                ๔) ครูผู้ช่วย มีประจำทุกหมู่ปืน

                ๕) ครูผู้ช่วยต้องกำกับดูแลอย่างใกล้ชิด และเพ่งเล็งในเรื่อง

                     ก) ความถูกต้องในการตั้งมุมทิศและมุมสูง

                     ข) หวอดระดับแก้เอียงและหวอดระดับมุมสูง

                     ค) ควงส่ายอยู่กึ่งกลาง

                     ง) ความสัมพันธ์ของพลยิงและพลยิงผู้ช่วยในการปรับเส้นเล็ง

                     จ) การปักหลักเล็งถูกต้อง เส้นเล็งแตะขอบซ้ายของหลักเล็งทั้งสองตลอดทั้งหลักไม่หนาหรือบางเกินไป ควรเน้นในเรื่องหลักเล็งอันใกล้ให้พยายามอยู่ตรงกึ่งกลางระหว่างหลักเล็งอันไกลกับปืน เพื่อไม่ให้เสียผลความถูกต้องในการเล็งแก้ไขชั่วคราว

                     ฉ) ความสัมพันธ์ของพลยิงกับพลกระสุน ๓ ในการใช้สัญญาณปักหลักเล็ง

                     ช) ตรวจสอบเวลาได้ตามกำหนดหรือไม่จากตารางตรวจสอบ ถ้าไม่ได้ควรฝึกซ้ำบ่อย ๆ

                     ซ) วินัยการฝึก


๕. การฝึกการปฏิบัติตามคำสั่งยิง

           วัตถุประสงค์ เพื่อให้พลประจำปืนรู้หน้าที่และสามารถปฏิบัติตามคำสั่งได้ทุกขั้นตอน

           ก. เครื่องมือเครื่องใช้ในการฝึก มีพร้อม

           ข. เงื่อนไขการฝึก

                ๑) ผู้รับการฝึกได้เรียนรู้เรื่องคำสั่งยิงมาก่อน

                ๒) เครื่องยิงตั้งยิงและทำการวางพื้นยิงจำลองทิศ ๒๘๐๐ ปักหลักเล็งแล้ว

                ๓) ครูฝึกทบทวนเรื่องคำสั่งยิง และหน้าที่การปฏิบัติพลประจำปืน,คำสั่งยิงเริ่มแรก และคำสั่งยิงต่อมา

                ๔) ครูผู้ช่วย มีประจำทุกหมู่ปืน

                ๕) ครูผู้ช่วยควบคุมการปฏิบัติใกล้ชิด และเพ่งเล็งในเรื่อง

                     ก) ขั้นตอนในการปฏิบัติ

                     ข) การทวนคำสั่งของแต่ละบุคคลในหน้าที่

                     ค) ความปลอดภัยในการจับถือและการบรรจุ ลย.

                     ง) วินัยการฝึก

           ค. การปฏิบัติการฝึก ให้คำสั่งยิงเริ่มแรก และคำสั่งยิงต่อมา,การทวนคำสั่งตามหน้าที่,การปฏิบัติตามคำสั่งยิงในหน้าที่ที่ได้กล่าวในขั้นการฝึกต่าง ๆ

๖. การฝึกในเวลากลางคืน

           วัตถุประสงค์ เพื่อให้พลประจำปืนมีสมรรถภาพในการใช้เครื่องยิงระเบิดได้ทุกสภาพกาลเวลา การฝึกในเวลากลางคืนเหมือนกับการฝึกในเวลากลางวัน ผู้รับการฝึกมีความรู้ความชำนาญและผ่านการตรวจสอบมาแล้วจะทำให้การฝึกในเวลากลางคืนได้ผลดี และยังสามารถประเมินค่าการฝึกในเวลากลางวันได้ด้วย

           ก. เครื่องมือเครื่องใช้ในการฝึกเวลากลางคืน มีพร้อม

           ข. เงื่อนไขการฝึก ทำการฝึกพลประจำปืนทุกขั้นตอนเช่นเดียวกับในเวลากลางวัน

                ๑) เครื่องให้แสงต้องสมบูรณ์ ครูฝึกต้องตรวจสอบความพร้อม ตั้งแต่เวลากลางวัน ถ้ามีข้อขัดข้องต้องรีบแก้ไขก่อนค่ำมืด

                ๒) ครูผู้ช่วยมีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะกำกับดูการปฏิบัติอย่างใกล้ชิด

                ๓) ครูผู้ช่วยควรเน้นในเรื่อง

                     - วินัยการฝึก

                     - ความปลอดภัย

                     - การใช้แสงและเสียง

                     - ความถูกต้องในการปฏิบัติ

           ค. ครูฝึก และผู้รับการฝึก ปฏิบัติเช่นเดียวกับในเวลากลางวันนอกจาก เส้นเล็ง,หลักเล็งและ สัญญาณใช้แสงไฟแทนสัญญาณมือ

หมายเหตุ คำเตือนในการปฏิบัติการยิง

           เมื่อพลประจำปืนพบข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นในการยิง รีบแจ้ง ผบ.หมู่ทราบโดยทันทีและ ผบ.หมู่ต้องรีบแจ้ง ผบ.ตอน (หมวด) ผบ.ตอน (ผบ.หมวด) แจ้งข้อผิดพลาดต่าง ๆ เช่น การตั้งมุมทิศ,มุมสูง,เวลาชนวน,การจัดส่วนบรรจุ,การเล็งที่ผิดไปจากคำสั่งยิง หรือข้อผิดพลาดใดก็ตาม รายงานให้ ศอย.ทราบ เพื่อลดการสูญเสียเวลาในการค้นหาสาเหตุ เพื่อหาทางแก้ไขและขจัดหนทางแก้ไขผิด ๆ ในโอกาสต่าง ๆ ไปอีก

การทดสอบพลประจำปืน

การทดสอบพลประจำปืน ค.๙๓ ขนาด ๘๑ มม. มีอยู่ด้วยกัน ๖ ขั้น

           ๑. การตั้งเครื่องยิง                                         ๔๐ คะแนน

           ๒. การเปลี่ยนมุมทิศและมุมสูงจำนวนน้อย         ๓๐ คะแนน

           ๓. การจำลองทิศปักหลักเล็ง                            ๓๐ คะแนน

           ๔. การเปลี่ยนมุมทิศและมุมสูงจำนวนมาก         ๔๐ คะแนน

           ๕. การวางพื้นยิง                                           ๓๐ คะแนน

           ๖. การยิงส่าย                                           ๓๐ คะแนน

                                                                     รวม   ๒๐๐ คะแนน


คะแนนและเวลาในการทดสอบ (ปฏิบัติสองครั้ง)

๑. การตั้งเครื่องยิง                                                 ๔๐ คะแนน

           เวลา ๖๕ วินาที หรือน้อยกว่า                           ๒๐ คะแนน

                     ๖๖ - ๗๐                                        ๑๘ คะแนน

                     ๗๑ - ๗๕                                            ๑๖ คะแนน

                     ๗๖ - ๘๐                                            ๑๔ คะแนน

                     ๘๑ - ๘๕                                            ๑๒ คะแนน

                     ๘๖ - ๙๐                                            ๑๐ คะแนน

                     ๙๑ วินาทีหรือมากกว่า                         ๐ คะแนน

๒. การเปลี่ยนมุมทิศและมุมสูงจำนวนน้อย  ๓๐ คะแนน เปลี่ยนมุมทิศไม่เกิน ๖๐ มิลเลียม และไม่น้อยกว่า ๒๐ มิลเลียม มุมสูงไม่เกิน ๙๐ มิลเลียม และไม่น้อยกว่า ๓๕ มิลเลียม

           เวลา ๒๐ วินาที หรือน้อยกว่า                           ๑๕ คะแนน

                     ๒๑ - ๒๓                                            ๑๓ คะแนน

                     ๒๔ - ๒๖                                            ๑๑ คะแนน

                     ๒๗ - ๒๙                                            ๙ คะแนน

                     ๓๐ - ๓๑                                            ๗ คะแนน

                     ๓๒ - ๓๕                                            ๕ คะแนน

                     ๗๐ วินาที หรือมากกว่า                         ๐ คะแนน

๓. การจำลองทิศ ๓๐ คะแนน

           ๒๕ มิลเลียม และไม่น้อยกว่า ๕ มิลเลียม

           เวลา ๖๐ วินาที หรือน้อยกว่า                           ๑๕ คะแนน

                     ๖๑ - ๖๓                                        ๑๓ คะแนน

                     ๖๔ - ๖๖                                        ๑๑ คะแนน

                     ๖๗ - ๖๙                                            ๙ คะแนน

                     ๗๐ - ๗๒                                            ๗ คะแนน

                     ๗๓ - ๗๕                                            ๕ คะแนน

                     ๗๖ วินาที หรือมากกว่า                         ๐ คะแนน

๔. การเปลี่ยนมุมทิศและมุมสูงจำนวนมาก  ๔๐ คะแนน เปลี่ยนมุมทิศไม่เกิน ๓๐๐ มิลเลียม และไม่น้อยกว่า ๒๐๐ มิลเลียม มุมสูงไม่เกิน ๒๐๐ มิลเลียม และไม่น้อยกว่า ๑๐๐ มิลเลียม

           เวลา ๓๕ วินาที น้อยกว่า                            ๒๐ คะแนน

                     ๓๖ - ๔๐                                            ๑๘ คะแนน

                     ๔๑ - ๔๕                                            ๑๖ คะแนน

                     ๔๖ - ๕๐                                            ๑๔ คะแนน

                     ๕๑ - ๕๔                                            ๑๒ คะแนน

                     ๕๖ - ๖๐                                        ๑๐ คะแนน

           ๖๓ วินาทีหรือมากกว่า                                   ๐ คะแนน

๕. การวางพื้นยิง ๓๐ คะแนน

           เวลา ๖๕ วินาที หรือน้อยกว่า                       ๑๕ คะแนน

                     ๖๖ - ๗๐                                        ๑๔ คะแนน

                     ๗๑ - ๗๕                                            ๑๓ คะแนน

                     ๗๖ - ๘๐                                            ๑๒ คะแนน

                     ๘๑ - ๘๕                                            ๑๑ คะแนน

                     ๘๖ - ๙๐                                            ๑๐ คะแนน

                     ๙๑ - ๙๕                                            ๙ คะแนน

                     ๙๖ - ๑๐๐                                          ๘ คะแนน

                     ๑๐๑ - ๑๐๕                                       ๗ คะแนน

                     ๑๐๖ - ๑๑๐                                        ๖ คะแนน

                     ๑๑๑ - ๑๑๕                                       ๕ คะแนน

                     ๑๑๖ วินาที และมากกว่า                       ๐ คะแนน

๖. การยิงส่าย   ๓๐ คะแนน

           เวลา ๕๐ วินาที หรือน้อยกว่า                           ๑๕ คะแนน

                     ๕๑ - ๖๐                                        ๑๓ คะแนน

                     ๖๑ - ๗๐                                        ๑๒ คะแนน

                     ๗๑ - ๘๐                                            ๙ คะแนน

                     ๘๑ วินาที หรือมากกว่า                         ๐ คะแนน

           คะแนนคุณวุฒิ

           ๑. พลยิงชั้นผู้เชี่ยวชาญ                                  ๑๘๐ - ๒๐๐ คะแนน ๙๐ - ๑๐๐ %

           ๒. พลยิงชั้นหนึ่ง                                            ๑๖๐ - ๑๗๙ คะแนน ๘๐ - ๘๘ %

           ๓. พลยิงชั้นสอง                                            ๑๔๐ - ๑๕๙ คะแนน ๗๐ - ๗๙ %

           ๔. ไม่ได้ผลน้อยกว่า                                       ๑๔๐ คะแนนลงมา ต่ำกว่า ๗๐ %

 

-------------------------