ปืนไม่ทำงาน เหตุติดขัด วิธีแก้ไข และการบำรุงรักษา ปก.M60

ปืนไม่ทำงาน

การที่ปืนไม่ทำงานคือ การที่เครื่องกลไกของปืนทำงานบกพร่อง ติดขัดไม่เป็นไปตามปกติ การที่กระสุน ผิดรูป หรือการที่พลประจำปืนปฏิบัติต่อปืนไม่ถูกต้อง จะไม่นับว่าเป็นสาเหตุของปืนไม่ทำงาน แต่สาเหตุที่ปืนไม่ ทำงานมีอยู่ ๒ ประการ สาเหตุทั่วไปของ ปก.เอ็ม.๖๐ คือ การทำงานของปืนฝืดช้า และการทำงานของปืน ติดต่อกันเรื่อยไป

๑. การที่ปืนทำงานฝืดช้าและวิธีแก้ไข การที่ปืนเกิดการทำงานช้า ตามปกติมีสาเหตุเกิดจากมีการ เสียดสีของชิ้นส่วนต่าง ๆ ของปืนมากขึ้น โดยปืนสกปรก มีเขม่า ขาดการหล่อลื่นที่ถูกต้องชิ้นส่วนชำรุดสึกหรอ หรือเนื่องจากแก๊สระบายออกมามากเกินไป ตามธรรมดาการที่แก๊สออกมากเกินไปนั้นจะเนื่องจาก จุกรูแก๊สหลวม หรือหลุดหาย การแก้ไขก็คือ การทำความสะอาดและหล่อลื่นปืนเสีย ตรวจแก้ชิ้นส่วนที่ชำรุดสึกหรอโดยตลอด แล้วเอาชิ้นส่วนอะไหล่ใส่เข้าใหม่ตามความจำเป็น

๒. การที่ปืนทำงานติดต่อกันเรื่อยไป (ปืนไม่หยุดยิง) และวิธีแก้ไข ถ้าปืนเกิดบกพร่องในกรณีเช่นนี้ก็คือ การที่ปืนยังคงยิงเรื่อยไปทั้ง ๆ ที่ได้ปล่อยไกแล้ว ซึ่งสาเหตุจะเนื่องมาจากกระเดื่องไกสึกหรอ หรือแง่ยึด กระเดื่องสึก หรือปืนถอยข้างหลังน้อย คือส่วนที่ถอยมาข้างหลังพอที่จะป้อนกระสุนใหม่และยิงนัดใหม่เท่านั้น ไม่ ถอยมาข้างหลังอีกพอที่จะให้กระเดื่องไกเข้ายึดกับแง่ยึดกระเดื่องไก สาเหตุจากแรงดันของแก๊สน้อยไป หรือตัว ก้านสูบมีเขม่ามากเกินไป

ถ้าปืนเกิดบกพร่องในกรณีเช่นนี้ (ในขณะทำการยิง) ให้ยังคงเล็งปืนอยู่เช่นนั้นจนกว่ากระสุนจะ หมดหรือปืนหยุดการป้อนกระสุนวิธีแก้ไขที่ดีที่สุดในการที่จะให้ปืนหยุดยิงอย่างเช่นกับปัจจัยหลายประการเช่น จำนวนกระสุนที่เหลืออยู่ในสายกระสุนปืนตั้งยิงในลักษณะไหน จัดให้มีพลยิงผู้ช่วยหรือไม่ในขณะนั้น ตัวอย่างเช่น ในการยิงตลุมบอนโดยใช้กระเป๋ากระสุนติดอยู่กับปืน พลยิงยังคงเคลื่อนที่ไปข้างหน้าและรักษาระดับให้เล็งตรง ต่อเป้าหมายจนกว่ากระสุนจะหมด ในกรณียิงอื่น ๆ ควรพิจารณาใช้ขั้นต้นคือ รักษาระดับของปืนให้ยิงไปยังเป้า หมาย อย่างไรก็ดี พลยิงหรือพลยิงผู้ช่วยอาจปฏิบัติต่อปืนให้หยุดยิงได้โดย

๑. ยกฝาปิดห้องลูกเลื่อนขึ้น จะเป็นการหยุดการป้อนกระสุน

๒. จับสายกระสุนบิดขวางหรือถอดกระสุนออกจากสายเพื่อหยุดการป้อนกระสุน

๓. จับคันรั้งลูกเลื่อนให้แน่นแล้วดึงมาข้างหลังเพื่อหยุดลูกเลื่อนไม่ให้เคลื่อนไปข้างหน้า

เมื่อปืนหยุดยิงแล้วให้ถอดปืนออกแล้วตรวจดูกระเดื่องไก และแง่ยึดกระเดื่องไกว่าชำรุดสึกหรอแค่ไหน ตรวจดูระบบของแก๊สว่าจุกรูแก๊ส ท่อต่อกระบอกสูบ และแป้นเกลียวกระบอกสูบขันแน่นหรือไม่ ทำความ สะอาดก้านสูบ เปลี่ยนชิ้นส่วนใหม่เท่าที่จำเป็น

เหตุติดขัด

เหตุติดขัดคือ การที่วงรอบของการทำงานของปืนไม่เป็นปกติ สาเหตุจากปืนทำงานไม่ถูกต้องหรือเนื่อง จากกระสุนผิดรูป เหตุติดขัดแบ่งออกตามความสัมพันธ์เกี่ยวข้องของวงรอบการทำงานของปืนต่าง ๆ ได้แสดงไว้ ในตาราง โดยบอกถึง สาเหตุ วิธีแก้ไข ไว้แล้ว



การแก้ไขเหตุติดขัดทันทีทันใด

การแก้ไขเหตุติดขัดทันทีทันใดคือ การปฏิบัติต่อปืนเพื่อลดเหตุติดขัดลง โดยปราศจากการตรวจสอบถึง สาเหตุ การแก้ไขแบบนี้ต้องกระทำทันทีภายในเวลา ๑๐ วินาที รวมทั้งเวลาที่ต้องคอยในขณะเมื่อลำกล้องมีความร้อนสูงอาจเป็นสาเหตุให้กระสุนลั่นออกไปเอง การยิงกระสุนจำนวน ๑๕๐ นัด ในเวลา ๒ นาที อาจจะ ทำให้ลำกล้องร้อนสูงพอที่จะเป็นสาเหตุให้กระสุนลั่นออกไปได้เอง

๑. ถ้าเกิดการติดขัดขึ้น ให้รอคอยประมาณ ๕ วินาที (ลูกเลื่อนยังคงต้องอยู่ข้างหน้าสุด เพื่อรอดูว่าปืน อาจจะเกิดการลั่นช้า)

๒. หลังจากรอแล้ว ๕ วินาที ให้ยกฝาปิดห้องลูกเลื่อนขึ้น แล้วถอดกระสุนและสายกระสุนออกจาก เครื่องป้อนกระสุน

๓. ดึงคันรั้งลูกเลื่อนมาข้างหลัง ตรวจให้แน่ใจว่ากระเดื่องไกเข้าขัดกับแง่ยึดกระเดื่องไกที่ก้านสูบแล้ว ปิดฝาห้องลูกเลื่อนทันที แล้วผลักคันรั้งลูกเลื่อนให้อยู่ในตำแหน่งหน้าสุด

๔. ในระหว่างที่ดึงลูกเลื่อนให้ถอยมาข้างหลัง จงสังเกตว่ามีกระสุนถูกรั้งและคัดออกมาหรือไม่

- ถ้ากระสุนไม่ถูกรั้งออกมา ให้เหนี่ยวไกพยายามยิงกระสุนออกไปใหม่ (ถ้ากระสุนไม่ลั่น) และ ลำกล้องร้อนต้องคอยอย่างน้อย ๕ นาที ในขณะนั้นลูกเลื่อนยังคงอยู่ในตำแหน่งหน้าสุด เพื่อป้องกันความเสียหาย หรือเกิดการบาดเจ็บ (ในกรณีกระสุนลั่นเอง) ภายหลังการรอ ๕ นาทีแล้วให้ถอดกระสุนนัดนั้นออกโดยใช้แส้ ทำความสะอาดแยงเข้าไปทางปากลำกล้องปืนดันออกมา

- ถ้ากระสุนถูกรั้งออกมาหรือเมื่อกระสุนหลุดออกมาจากรังเพลิงแล้ว ให้ตรวจปืนและกระสุนเพื่อ ค้นหาสาเหตุการติดขัด

๕. ภายหลังจากตรวจอาวุธแล้ว ให้บรรจุกระสุนใหม่ ทำการเล็งไปยังเป้าหมายและพยายามยิงออกไป การบำรุงรักษา

การบำรุงรักษาปืนกลแบบ เอ็ม.๖๐ นั้น หมายรวมถึงการตรวจการทำความสะอาด และการเปลี่ยนทดแทนชิ้นส่วนปืน เจ้าหน้าที่ และการจัดในการบำรุงรักษาอย่างสมบูรณ์

๑. การตรวจ การตรวจจะเริ่มต้นเมื่อได้ถอดปืนออกมาเป็นชิ้นส่วนใหญ่ ๖ ส่วนแล้ว

๑.๑ พานท้าย

- ต้องไม่แตกร้าว สวมพอเหมาะกับโครงลูกเลื่อน

- ร่องสวมพานท้ายต้องไม่แตกร้าวคดงอหรือชำรุด

- เหล็กพาดบ่าและกลอนยึดควรจะทำงานได้ถูกต้อง

- ยางรองพานท้ายและชิ้นส่วนอื่น ๆ ของปืน ควรจะได้ทำการตรวจ อย่าให้ทำความสะอาดด้วย วัตถุทำความสะอาดที่ห้ามทำ ส่วนต่าง ๆ เหล่านี้ทำความสะอาดด้วยวัสดุที่ห้ามจะทำให้ยางนุ่มและจะไม่สามารถ ใช้งานได้

๑.๒ ชุดเครื่องรับแรงถอย

เครื่องรับแรงถอยจะบรรจุอยู่ด้านในตรงกับแผ่นยางรองพานท้าย ไม่ควรมีน้ำหนักอยู่ข้างใน

- แผ่นกันเครื่องรับแรงถอยและร่องแผ่นกันเครื่องรับแรงถอยต้องไม่ชำรุดแตกร้าวหรือคดงอ

- แกนเครื่องรับแรงถอยต้องสวมเข้าในช่องแกนหัวแหนบส่งก้านสูบอย่างง่าย

๑.๓ ชุดเคลื่อนที่

- แง่ยึดกระเดื่องไกต้องไม่ปรากฏร่องรอยว่าเกิดสึกหรอ (การสึกหรอมากบางทีจะแสดงถึงการ ลั่นไกกระทำไม่ถูกต้อง)

- ลูกเบี้ยว ลูกเลื่อน สลักแผ่นลูกเลื่อน และโครงลูกเบี้ยวควรได้รับการตรวจดูว่ายังคงใช้ได้อยู่

- เข็มแทงชนวน ควรจะตรวจดูความสึกหรอของปลายเข็มแทงชนวน

- ก้านสูบ แหนบส่งก้านสูบ และแหนบเข็มแทงชนวน จะต้องไม่คดงอหรือหัก

- เหล็กคัดปลอกกระสุนและขอรั้งปลอกกระสุนจะต้องได้รับการตรวจดูว่าชิ้นส่วนนั้น ๆ อยู่ในลักษณะมีแหนบดันอยู่ และไม่บิ่นหรือสึกหรอ

๑.๔ ชุดเรือนเครื่องลั่นไก

- กระเดื่องไกต้องไม่ปรากฏร่องรอยว่ามีการสึกหรอมาก (การสึกหรอมากบางทีจะแสดงถึงว่าการลั่นไกกระทำไม่ถูกต้อง)

- ควรจะได้ทำการตรวจหาการแตกร้าวใกล้ ๆ กับสลักเรือนเครื่องลั่นไก

- ดูให้แน่ใจว่าใบแหนบมีลักษณะคดงออย่างถูกต้อง

- แผ่นห้ามไกควรจะทำงานเป็นปกติ ( เมื่อแผ่นห้ามไกอยู่ในตำแหน่ง " ห้ามไก " แล้วเหนี่ยวไก กระเดื่องไกต้องไม่เคลื่อนตัว และเมื่อตั้งแผ่นห้ามไกที่ "ยิง" จะต้องเคลื่อนตัวได้)

๑.๕ ชุดลำกล้องปืน

- ปลอกป้องกันแสงต้องขันแน่น (ต้องตรวจดูทั้งสองลำกล้อง (ลำกล้องอะไหล่)..) ศูนย์หน้าและแกนยึดลำกล้องต้องไม่คดงอ แตกร้าวหรือว่าชำรุด

- ชุดขาทรายต้องตรวจว่าทำงานอย่างถูกต้อง

- รูแก๊สที่กระบอกสูบต้องสะอาด

- ลูกสูบและกระบอกสูบต้องไม่ชำรุด และลูกสูบต้องเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระ ความกว้างระหว่างผนังกระบอกสูบด้านในกับลูกสูบจะต้องเล็กพอที่การเคลื่อนที่ของลูกสูบเป็นการทำความสะอาดตัวเองด้วย ระบบแก๊สควรจะทำการถอดและทำความสะอาดในเมื่อปืนเกิดอาการฝืด-ช้าเท่านั้น และสาเหตุอย่างอื่นที่ทำให้เกิดอาการยิงฝืด-ช้ามักจะไม่ค่อยพบนัก หรือการถอดเพื่อการฝึกสอนไม่บ่อยครั้งนัก

๑.๖ ชุดโครงลูกเลื่อน

- ไม้รองลำกล้องปืน เหล็กปิดฝาห้องลูกเลื่อน เครื่องป้อนกระสุน คันรั้งกระสุน คันรั้งลูกเลื่อนต้องไม่แตกร้าวหรือคดงอ

- แผ่นคันเลื่อนสายกระสุนและก้านต่อแผ่นคันเลื่อนสายกระสุน เครื่องช่วยป้อนกระสุนเครื่องยึดสายกระสุน และกลอนยึดลำกล้องปืน ต้องตรวจดูว่าทำงานเรียบร้อยหรือไม่

- แผ่นศูนย์หลัง ระยะยิง ต้องมองเห็นชัดหมุดเกลียวแผ่นระยะยิงต้องไม่สึกหรอหรือชำรุด รวมถึงว่าต้องไม่หลวมและขันแน่น

๑.๗ เครื่องยึดปืน

- เรือนควงมุมส่ายและควงมุมสูง ต้องไม่ฝืด ตัวเลขมาตราควรอ่านได้ง่าย

- เดือยปืนต้องสวมพอดี และกลอนยึดเดือยปืนต้องยึดปืนเข้ากับช่องยึดเดือยปืนอย่างแน่น

- กลอนยึดปลอกขาหยั่งทำงานปกติ และคานราวส่ายปืนแน่นมั่นคง

๑.๘ ถุงลำกล้องอะไหล่

- เครื่องมือบำรุงรักษาปืน จะต้องมีการตรวจดูว่ามีอยู่อย่างสมบูรณ์ และสามารถใช้การได้

- ถุงลำกล้องอะไหล่ จะต้องไม่ล้างมากเกินไป เพราะการล้างบ่อย ๆ จะทำให้ไม่กันน้ำเพราะผ้าใบจะเสื่อม

การทำความสะอาดและการหล่อลื่น

๑. การทำความสะอาด

๑.๑ ภายหลังจากการยิงปืนไปแล้ว ต้องทำความสะอาดทันที และต้องทำความสะอาดติดต่อกันไปอีก ๒ วัน หลังจากนั้น โดยทำความสะอาดลำกล้องโดยตลอด รังเพลิงและชิ้นส่วนต่าง ๆ ที่เปรอะเปื้อนเขม่าปืนด้วย น้ำมันล้างลำกล้อง
( น้ำมันทำความสะอาด ซี.อาร์. ) อย่าเช็ดแห้งจนถึงวันที่สามหลังจากยิงให้ทำความสะอาด ด้วยน้ำมันล้างลำกล้อง เช็ดออกให้แห้งแล้วทาน้ำมันใสบาง ๆ ทั่วไป

๑.๒ ภายหลังจากนั้นทุก ๆ สัปดาห์เมื่อปืนไม่ได้ทำการยิง ต้องทำความสะอาดลำกล้อง รังเพลิง ด้วยน้ำมันล้างลำกล้อง
เช็ดออกให้แห้งแล้วทาน้ำมันใส

๑.๓ ที่ติดตั้งปืนควรจะทำความสะอาดด้วยน้ำมันทำความสะอาดเช็ดแห้ง ( เอส.ดี. )ทันทีหลังจากทำการ ยิงแล้ว หลังจากนั้นทำเป็นรายสัปดาห์เช็ดออกให้แห้งแล้วทาน้ำมันใส

๑.๔ อย่าทำความสะอาดภายในกระบอกแก๊ส เว้นแต่ทำการยิงด้วยกระสุนซ้อมรบมาแล้ว หรือปืนทำงาน ฝืด-ช้า ภายหลังที่ได้ตรวจแล้วมีเหตุผลที่เชื่อว่าปืนทำงานช้า

๒. การหล่อลื่น

๒.๑ สภาพอากาศหนาว ( อุณหภูมิต่ำกว่า ๐ องศาฟาเรนไฮด์เสมอ ) ให้หล่อลื่นด้วยน้ำมันทาปืน ( แอล. เอ.ดับบลิว. ) และต้องเก็บคลุมปืนเอาไว้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

๒.๒ สภาพอากาศเฉลี่ยทั่วไป ( อุณหภูมิระหว่าง ๖๐ - ๘๐ องศาฟาเรนไฮด์ ) ให้หล่อลื่นปืนด้วยน้ำมัน ทาปืนอรรถประโยชน์ ( พี.แอล.สเป๊กเชี่ยล )

๒.๓ สภาพอากาศร้อน ชุ่มชื้น ต้องตรวจปืนบ่อย ๆ เพื่อตรวจดูสนิม ให้เก็บปืนให้ห่างจากความชื้น และ ทาน้ำมันใสบาง ๆ
( พี.แอล.สเป๊กเชี่ยล ) ถ้าปืนต้องอยู่ในสภาพที่มีละอองเต็ม ความชื้นสูงหรือถูกน้ำ ต้องทำ ความสะอาดและทาน้ำมันบ่อย ๆ เพื่อขจัดสิ่งสกปรกที่ติดอยู่

๒.๔ สภาพอากาศร้อน แห้งแล้ง ต้องทำความสะอาดปืนทุกวันเมื่อจำเป็นต้องทำความสะอาดบ่อย ๆ ใน พื้นที่มีทรายหรือฝุ่นต้องเก็บรักษาปืนให้ปราศจากน้ำมัน เพื่อป้องกันทรายหรือฝุ่นมาจับเกาะอยู่ที่ชิ้นส่วนเคลื่อนที่ ของปืน

๓. เครื่องมือในการบำรุงรักษา

เครื่องมือทั้งหลายเท่าที่จำเป็นในการบำรุงรักษาในขั้นต้น คือ เครื่องประกอบต่าง ๆ ที่ได้จ่ายให้ในถุง ลำกล้องอะไหล่


การปฏิบัติต่อปืนก่อนและหลังการยิง

๑. ก่อนการยิง

๑.๑ เช็ดลำกล้องให้แห้ง

๑.๒ ตรวจอาวุธตามหัวข้อในการฝึกพลประจำปืน

๑.๓ ปฏิบัติตามระเบียบที่ได้กำหนดไว้เมื่อใช้ลำกล้องอะไหล่

๑.๔ ต้องแน่ใจว่าปืนได้หล่อลื่นแล้วอย่างถูกต้อง

๒. ภายหลังการยิง

๒.๑ เปลี่ยนลำกล้องการเปลี่ยนลำกล้องปืนเป็นการยืดอายุลำกล้องปืนออกไป และทำให้ลำกล้องสึกหรอ เท่า ๆ กัน

๒.๒ ต้องมีการตรวจอาวุธตามระยะเวลา เพื่อให้มั่นใจได้ว่าปืนได้มีการหล่อลื่นอย่างถูกต้อง

๒.๓ เมื่อปืนเกิดอาการไม่ทำงาน หรือเกิดเหตุติดขัดขึ้น ให้ปฏิบัติการแก้ไขตามที่กล่าวมาแล้ว

การบำรุงรักษาภายในสภาพสงคราม คชร.

๑. ถ้าคาดล่วงหน้าว่าจะต้องสกปรกจาก คชร.ให้ทาน้ำมันทาปืนตามชิ้นส่วนที่เป็นโลหะด้านนอกของปืน ให้ทั่ว อย่าทาน้ำมันที่กระสุน เก็บรักษาอาวุธโดยคลุมเอาไว้เท่าที่จะทำได้

๒. ถ้าอาวุธได้รับความสกปรกจากเชื้อโรค ให้ขจัดสิ่งสกปรกจากเชื้อโรคออก

ภาพประกอบปืนกล เอ็ม.๖๐