การยิงต่อสู้อากาศยาน

การยิงต่อสู้อากาศยาน

ตอนที่ ๑  กล่าวทั่วไป

การต่อสู้เครื่องบินข้าศึก

         ก. หน่วยรบทางพื้นดิน ซึ่งใช้ปืนกลแบบ ๙๓ ขนาด .๕๐ นิ้ว บ.๒ เป็นอาวุธต่อสู้อากาศยานนั้น  โดย ปกติจะไม่ทำการยิงเครื่องบินของข้าศึก นอกเสียจากเครื่องบินนั้นทำการโจมตีที่มั่นของฝ่ายเรา ยกเว้นเครื่อง บินบรรทุกทหารและเครื่องบินตรวจการของปืนใหญ่ข้าศึก ซึ่งบินในระยะต่ำจึงจะทำการยิง

         ข. เมื่อปืนกลแบบ ๙๓ ขนาด .๕๐ นิ้ว บ.๒ ของหน่วยรบทางพื้นดิน  รวมกันเข้าเป็นหน่วยหนึ่งสำหรับ ทำการป้องกันต่อสู้อากาศยานภายในพื้นที่อันหนึ่งภายใต้การควบคุมของผู้บังคับกองป้องกันต่อสู้อากาศยานแล้วจะ สามารถทำการต่อสู้เครื่องบินได้ทุกชนิดซึ่ง-

              ๑. แน่ใจหรือจำได้ว่าเป็นเครื่องบินของข้าศึก

              ๒. แน่ใจว่าเป็นการกระทำของข้าศึก

การยิงต่อสู้อากาศยาน

         ปืนกลแบบ ๙๓ ขนาด .๕๐ นิ้ว บ.๒ จะยิงได้ผลต่อเครื่องบินซึ่งบินในระยะต่ำภายในระยะลาด  ๖๐๐ ถึง ๘๐๐ หลา

ลักษณะของการบิน

         ก. ที่หมายทั้งหลาย อาจทำการบินได้หลายชนิดดังต่อไปนี้:- 

              ๑. บินระดับ ลักษณะการบินระดับเครื่องบินจะบินด้วยระยะสูงคงที่

              ๒. บินดำ ลักษณะการบินดำ เครื่องบินจะบินด้วยการลดระยะสูงลงมาเรื่อย ๆ

              ๓. บินไต่ขึ้น ลักษณะการบินไต่ขึ้นเครื่องบินจะบินด้วยการเพิ่มระยะสูงขึ้น

              ๔. บินเข้ามา ลักษณะการบินเข้ามาเป็นลักษณะการอันหนึ่งซึ่งเครื่องบินบินเข้ามาหาปืน

              ๕. บินออกไป ลักษณะการบินออกไปเป็นลักษณะการบินอันหนึ่งซึ่งเครื่องบินบินออกไป

              ๖. บินผ่าน ลักษณะการบินผ่านคือเป็นลักษณะการทุกชนิดที่ไม่ใช่การบินเข้ามาและบินออกไป

              ๗. บินตรงเข้าหาปืน ลักษณะการบินชนิดนี้เป็นลักษณะอันหนึ่งซึ่งเครื่องบินบินตรงเข้าหากึ่งกลางปืน

              ๘. ด้วยการผสมลักษณะการบินชนิดต่าง  ๆ  ข้างบนนี้   ลักษณะการบินทุกชนิดของเครื่องบินก็จะ สามารถบอกได้เช่นตัวอย่าง "บินดำเข้ามา" "บินระดับผ่าน" หรือ "บินดำตรงเข้าหาปืน"

         ข. จุดตรงทิศทางที่เครื่องบินจะบินผ่าน ใกล้ที่สุดกับแนวที่ตั้งปืนเรียกว่า "จุดผ่านกลาง"  ส่วนของทิศ ทางที่เครื่องบินจะบินเข้าไปยังจุดผ่านกลางเรียกว่า "ขาบินเข้า" ส่วนของทิศทางซึ่งเครื่องบินพ้นออกไปจากจุด ผ่านกลางเรียกว่า "ขาบินเข้า" ส่วนของทิศทางซึ่งเครื่องบินพ้นออกไปจากจุดผ่านกลางเรียกว่า "ขาบินออก" 

         ค. เส้นตรงซึ่งสมมุติขึ้นจากปืนไปยังที่หมายเครื่องบินเรียกว่า "เส้นตรงจากปืนไปยังที่หมาย"

         ง. เส้นตรงตามทิศทางที่เครื่องบินกำลังบินอยู่เรียกว่า "ทิศทางการบิน"

         จ. มุมซึ่งเกิดขึ้นโดยปืน ที่อยู่ปัจจุบันและที่อยู่ต่อ ๆ ไปของที่หมายเรียกว่า "มุมบินผ่าน" มุมที่ผ่าน  ณ จุดผ่านกลางจะเท่ากับ ๑,๖๐๐ มิลเลียมเสมอ


ตอนที่ ๒  การยิงดัก

กล่าวทั่วไป

         ก. ปืนกลแบบ ๙๓ ขนาด .๕๐ นิ้ว บ.๒ ซึ่งตั้งยิงบนขาหยั่ง บ.๓ โดยใช้เครื่องวัดมุมสูง บ.๑ หรือตั้ง ยิง, บนขาหยั่งปืนต่อสู้อากาศยาน บ.๖๓ นี้ไม่มีศูนย์ใช้สำหรับการยิงดักในขั้นต้นได้ ที่กล่าวในตอนที่เป็นข้อความ เบื้องต้นเพื่ออธิบายให้เห็นความสำคัญของการยิงดัก ในการยิงต่อสู้อากาศยาน

         ข. เครื่องบินที่บินด้วยความเร็วสูงมาก ก็จะต้องใช้ระยะเล็งดักมาก เพื่อต้องการให้ยิงถูกที่หมายดัง ตัวอย่างดังนี้ เครื่องบินบินอยู่ด้วยอัตราความเร็ว ๒๐๐ ไมล์ต่อ ช.ม.ในระยะ ๕๐๐ หลาจากที่ตั้งปืนระยะเวลา วิ่งของลูกกระสุนสำหรับปืนแบบ ๙๓ นี้ ในระยะ ๕๐๐ หลาประมาณ ๐.๗ วินาที ความเร็ว ๒๐๐ ไมล์ต่อ ช.ม. ประมาณเท่ากับ ๑๐๐ หลาต่อวินาที ดังนั้นในระหว่างเวลาที่ลูกกระสุนจะวิ่งไปถึงเป้าหมายในระยะ ๕๐๐ หลา ต่อวินาที เครื่องบินก็ควรจะบินได้ ๐.๗ x ๑๐๐ หรือ ๗๐ หลา ซึ่งแสดงว่าปืนควรจะเล็งไปดักหน้าเครื่องบินนั้น ตามทิศทางบินอยู่  ๗๐ หลา ฉะนั้นระยะยิงดักที่จำเป็น ณ จุดผ่านกลาง ก็ควรเท่ากับ ๑๔๐ มิลเลียม (๐๗๐  = ๑๔๐ มิลเลียม ๐.๕


มุมยิงดัก  ณ จุดผ่านกลางสำหรับทุก ๆ ระยะความเร็วของเครื่องบิน ๑๐๐ ไมล์ต่อชั่วโมงเท่ากับ  ๗๐ มิลเลียม วิธีอื่น ๆ ที่จะได้มุมยิงดัก ณ จุดผ่านกลางมาอย่างถูกต้องแน่นอนก็คือ  คูณความเร็วของเครื่องบินโดย ประมาณด้วย ๓/๔

เหตุยังผลในการเล็งดักต่อมุมบิน

         ก. ตารางมุมยิงดัก ถือเอาที่หมายตรงจุดผ่ากลางหรือใกล้จุดผ่ากลางเป็นหลัก  ในขณะที่มุมบินเพิ่มขึ้น เรื่อย ๆ มายังจุดผ่านกลาง จำนวนมุมยิงดักก็จำเป็นจะต้องเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน  เมื่อเครื่องบินบินผ่านจุดผ่าน กลางและบินต่อไปในขาบินออก จำนวนมุมยิงดักก็จะลดลงขณะที่มุมบินเริ่มต้นเพิ่มขึ้น  จำนวนมุมยิงดัก ที่จำเป็น ณ จุดผ่านกลางเรียกว่า "มุมดักเต็มที่"

         ข. ตารางที่ ๒ แสดงถึงส่วนหนึ่งของมุมยิงดักที่จำเป็นสำหรับมุมบินต่าง ๆ


ตอนที่ ๓  เทคนิคการยิง

พลยิง

         ก. ภายหลังที่ได้พิจารณาถึงมุมยิงดักในขั้นต้นแล้วพลยิงก็เริ่มทำการยิงโดยยิงติดต่อกันไป ด้วยการ ตรวจกระสุนส่องวิถีในบริเวณที่หมายยิง พลยิงจัดการแก้ไขเพื่อให้ลูกกระสุนถูกที่หมาย เนื่องด้วยทำการยิงติด ต่อกันจะเกิดควันเป็นจำนวนมาก  พลยิงจะต้องเงยศีรษะและมองให้สูงเหนือปืน เพื่อจะได้สามารถตรวจดูแนว กระสุนส่องวิถีได้ กรวยอาการกระจายจะมีมากเกินไปเมื่อปืนทำการยิงด้วยวิธีคลายปืนพลยิงต้องจับด้ามปืนให้ แน่นด้วยมือทั้งสองข้าง และใช้ลำตัวรองรับปืน

         ข. เมื่อทำการยิงจากขาหยั่ง บ.๖๓ พลยิงต้องยืนตรงและทำการมุมสูง โดยการเลื่อนแขนและมือขึ้น ๆ ลง ๆ สำหรับการเปลี่ยนมุมทิศ พลยิงก็เพียงแต่เลื่อนเท้าและเคลื่อนที่ไปรอบ ๆ ขาหยั่งเท่านั้น  ตลอดเวลาพล ยิงก็จะต้องเงยศีรษะมองเหนือลำกล้องปืนเสมอ เพื่อว่าจะได้ตรวจดูทางกระสุนส่องวิถีได้อย่างถูกต้อง ปืนจะ ต้องยิงด้วยมือซ้าย โดยการหมุนด้ามจับปืนคู่บนใช้สำหรับการยิงด้วยมุมยิงปานกลางและมุมยิงสูง ด้ามปืนคู่ล่างใช้ สำหรับยิงต่อมุมต่ำ

 

 

แนวกระสุนส่องวิถี

         การยิงที่ติดต่อกันใช้ในลักษณะที่ปืนยิงส่ายอย่างเร็วด้วยเหตุที่ตาอาจลวงให้เห็นภาพผิดไปจากที่เป็นจริง ได้ ซึ่งแนวกระสุกนส่องวิถีที่ปรากฏให้เห็นเป็นเส้นโค้งชัดเจนนั้นจะพุ่งตรงไปยังเป้าที่หมาย ซึ่งกำลังเคลื่อนที่ใน ทิศทางตรงกันข้าม พลยิงไม่ต้องตรวจแนวกระสุนส่องวิถีทั้งหมด การที่จะสามารถพิจารณาแนว กระสุนส่องวิถีนั้นได้โดยแน่ชัด พลยิงควรรวมสายตาไปยังที่หมาย  และตรวจแนวกระสุนส่องวิถีในบริเวณที่หมาย นั้นแต่อย่างเดียวพลยิงสวมแว่นตาสีแดง เพื่อตรวจการณ์ดูกระสุนส่องวิถี สำหรับการตรวจกระสุนส่องวิถีได้กล่าว ไว้โดยละเอียดยิ่งขึ้น ปรากฏใน รส.๔๔ - ๒