ปืนตั้งขาหยั่ง

ปืนตั้งขาหยั่ง

การตรวจเครื่องมือเครื่องใช้ก่อนการยิง

การตรวจเครื่องมือเครื่องใช้ก่อนการฝึกตั้งยิงด้วยขาหยั่ง คงทำการฝึกคล้ายคลึงกับการตั้งยิงด้วยขา ทรายเว้นแต่บางประการดังนี้

๑. คำสั่งขั้นต้นของ ผบ.หมู่ในการตรวจเครื่องมือเครื่องใช้ สั่งว่า " ตรวจเครื่องมือเครื่องใช้ก่อนการ ยิงด้วยขาหยั่ง "

๒. พลยิงจัดขาทรายให้พับแนบลำกล้องปืนหลังจากการตรวจเรียบร้อยแล้ว

การนำปืนเข้าที่ตั้งยิง

ผบ.หมู่ออกคำสั่งและให้สัญญาณ " ตรงนี้...ข้างหน้าตั้งยิง " ปฏิบัติเช่นเดียวกับการฝึกตั้งยิงด้วยขาทราย

๑. เมื่อได้รับคำสั่ง " ตั้งยิง " พลกระสุนลุกขึ้นยืนมือขวาหยิบขาหยั่ง แล้วเคลื่อนที่ไปข้างหน้าเข้าที่ตั้งยิง โดยเคลื่อนที่ขึ้นทางด้านซ้ายของพลยิง เมื่อมาถึงที่ตั้งปืน คุกเข่าขวาลงแล้ววางพลั่วขาหยั่งหลังลงกับพื้น โดยให้ ตัวขาหยั่งตั้งดิ่งขึ้น มือขวาจับใกล้หัวขาหยั่งให้แน่น มือซ้ายยกขาหยั่งหน้าออก เสร็จแล้วใช้มือขวาจับขาหยั่งขวา มือซ้ายกำขาหยั่งแล้วยกขาหยั่งสูงระดับอก แยกขาหยั่งออกโดยกระตุกเร็ว ๆ ให้ตรวจดูว่ากลอนปลอกขาหยั่ง เข้าที่ แล้ววางขาหยั่งลงกับพื้นให้ขาหยั่งหน้าชี้ออกไปในทิศทางยิง เสร็จแล้วลุกขึ้นยืนเหยียบพลั่วขาหยั่งลงฝัง กับพื้น ถอดสายสะพายกระเป๋ากระสุนออกวางลงในแนวของขาหยั่งหน้า โดยอยู่ทางด้านซ้ายห่างประมาณ ๑๐ เมตร ปลดปืนออกจากการสะพายขวาง ทำท่านอนยิงและเตรียมการยิงไปยังบริเวณที่หมาย

๒. พลยิงผู้ช่วย รอเวลาเพื่อที่จะเข้าประจำที่ตั้งยิง ในเมื่อพลกระสุนอยู่ตามที่เรียบร้อยแล้วพลยิงผู้ช่วย วางถุงลำกล้องอะไหล่ลง ( ให้ด้านเปิดไปทางปืนโดยให้ขนานและอยู่ในแนวเดียวกับปืน ) ในเมื่อปืนตั้งเสร็จ เรียบร้อยแล้วทำท่านอนตะแคงสะโพกซ้ายลง โดยให้สะโพกอยู่ตรงพลั่วขาหยั่งซ้ายปลดซิปถุงลำกล้องอะไหล่ แล้วนำลำกล้องอะไหล่และเรือนควงมุมส่ายและควงมุมสูงออกวางลำกล้องอะไหล่บนถุงโดยให้ศูนย์ปืนหันไปทาง ปืน

๓. พลยิงรอเวลาเพื่อที่จะเข้าประจำที่ตั้งยิง ในเมื่อพลยิงผู้ช่วยทำท่านอนลงแล้ว พลยิงจะลุกขึ้นยืนมือ ซ้ายจับกำอยู่ที่ด้ามหิ้วปืน มือขวาจับอยู่ที่พานท้ายปืนยกปืนขึ้นอยู่ในท่ายกปืน (ปากลำกล้องไปข้างหน้า) แล้วเคลื่อนที่ไปข้างหน้าเข้าที่ตั้งยิง เมื่อมาถึง ณ ที่ตั้งยิงไห้วางปืนสวมเดือยฐานปืนอันหน้าแล้วใส่สลักยึดปืนตัวหน้า อยู่ในร่องลำกล้องปืน กดด้านหลังของปืนลงจนกระทั่งสลักยึด

ปืนตัวหลังติดอยู่กับกลอนยึดฐานปืน เสร็จแล้วจัดด้ามหิ้วปืนให้อยู่ในลักษณะที่ไม่บังการเล็งและยิง ยกศูนย์หลังขึ้นแล้วลดตัวลงในท่านอน

๔. พลยิงขยับตัวไปทางขวายกกลอนบังคับฐานปืนขึ้น แล้วเบนท้ายปืนกระดกไปทางซ้ายมือ พลยิงผู้ช่วย ส่งเรือนควงมุมส่ายและเรือนมุมสูงให้พลยิงแล้วเอาไปติดที่ด้านหลังปืน พลยิงอยู่ในท่ายิงใส่สลักยึดควงมุมส่าย และควงมุมทิศที่ปืน และกดคันยึดเลื่อนราวสายปืนให้แน่น

๕. พลยิงยกฝาปิดห้องลูกเลื่อนขึ้น พลยิงผู้ช่วยนำกระสุนนัดแรกวางลงบนร่องเครื่องป้อนกระสุนแล้วช่วย จับสายกระสุน ในขณะที่พลยิงปิดฝาห้องลูกเลื่อน พลยิงทำท่ายิงให้ถูกต้องแล้วตั้งแผ่นห้ามไกอยู่ที่ "ยิง" รายงาน "พร้อม" พลยิงผู้ช่วยให้สัญญาณ "พร้อม" ไปยัง ผบ.หมู่

การเปลี่ยนลำกล้องปืน

ระเบียบปฏิบัติในการเปลี่ยนลำกล้อง กระทำตามลำดับดังนี้

๑. เมื่อพลยิงรายงาน "พร้อม" และพลยิงผู้ช่วยให้สัญญาณ "พร้อม" แล้ว ผบ.หมู่สั่ง "เปลี่ยนลำกล้อง"

๒. พลยิงดันแผ่นห้ามไกตั้งไว้ที่ "ห้ามไก" และวางมือซ้ายลงด้านบนของฝาปิดห้องลูกเลื่อนมือขวายก กลอนยึดลำกล้องขึ้น และให้มือจับอยู่ในท่านี้ก่อน

๓. พลยิงผู้ช่วยจับกำที่ขาทราย ถอดลำกล้องออกจากปืน แล้วนำไปใส่ไว้ในถุงลำกล้อง อะไหล่เสร็จ แล้วจับลำกล้องที่จะเปลี่ยนใหม่ที่ขาทรายแล้วสอดเข้าไปในร่องลำกล้องปืน

๔. พลยิงพับกลอนยึดลำกล้อง เลื่อนแผ่นห้ามไกไปตั้งที่ "ยิง" ทำท่ายิงที่ถูกต้องแล้วรายงาน "พร้อม "พลยิงผู้ช่วยให้สัญญาณ "พร้อม" ไปยัง ผบ.หมู่

การเลิกตั้งยิง

๑. เมื่อได้รับคำสั่ง "เลิกยิง" พลยิงตรวจดูว่าลูกเลื่อนต้องอยู่ข้างหลัง ตั้งแผ่นห้ามไกอยู่ที่ "ห้ามไก" และยกฝาปิดห้องลูกเลื่อนขึ้น พลยิงผู้ช่วยถอดกระสุนออกจากเครื่องป้อนกระสุนนำเข้าเก็บในกระเป๋ากระสุน พลยิงตรวจดูรังเพลิงว่าปลอดภัย แล้วปิดฝาห้องลูกเลื่อนตั้งแผ่นห้ามไกไว้ที่ "ยิง" เหนี่ยวไกแล้วเลื่อนแผ่น ห้ามไกมาอยู่ที่ "ห้ามไก" ตามเดิม ยกเลื่อนราวส่ายปืนออกจากราวส่ายปืนมือซ้ายรองรับปืน เลื่อนศีรษะไปทาง ขวาแล้วยกด้านท้ายของปืนขึ้น

๒. พลยิงผู้ช่วย ถอดเรือนควงมุมส่ายและควงมุมสูง นำเข้าเก็บในถุงลำกล้องอะไหล่ เอาลำกล้อง อะไหล่เข้าถุงแล้วปิดฝา เพียงที่จะเก็บลำกล้องอะไหล่และเรือนควงมุมส่ายและควงมุมสูงไว้ ลุกขึ้นเคลื่อนที่ไปข้างหลังที่ตั้งยิงประมาณ ๑๐ ก้าว แล้วทำท่านอนหันหน้าไปข้างหน้า ในขณะที่พลยิงผู้ช่วยใช้เวลาในการปิดฝา ถุงลำกล้องอะไหล่ให้เรียบร้อย ถ้าไม่สามารถจะทำได้ทัน ณ ที่ตั้งยิง

๓. เมื่อพลยิงผู้ช่วยถอดเรือนควงมุมส่ายและควงมุมสูงออกแล้ว พลยิงเคลื่อนที่มาทางด้านหลังของท้าย ปืนอยู่ในท่าปกติ พับกลอนบังคับฐานปืนลง ลุกขึ้นใช้มือซ้ายพับศูนย์หลังลง แล้วจับที่ด้ามหิ้วใช้มือขวาปลดกลอนฐาน ปืนแล้วยกด้านหลังของปืนขึ้น ยกปืนออกจากขาหยั่งมือขวาจับที่พานท้ายปืนหมุนตัวไปทางขวา เช่นเดียวกับยกปืน อยู่ในท่าถือปืน แล้วกลับไปเข้าที่เดิม

๔. พลกระสุนลุกขึ้นยืน นำอาวุธประจำกายสะพายขวางเข้ามายังที่ตั้งยิง โดยรอเวลาเมื่อพลยิงและพลยิงผู้ช่วยได้ผละออกจากขาหยั่งแล้ว จึงมาเก็บกระเป๋ากระสุนใช้มือซ้ายจับขาหยั่งแล้วกลับเข้าที่เดิมเมื่อมาถึงที่ วางตัวให้คุกเข่าขวาลง วางขาหยั่งให้อยู่ในลักษณะตั้งโดยให้พลั่วขาหยั่งหลังวางอยู่บนพื้น มือขวาจับใกล้หัวขา หยั่ง แล้วใช้มือซ้ายพับขาหยั่งหน้าลง เลื่อนมือขวาต่ำลงตามขาหยั่งขวา ปลดกลอนยึดขาหยั่งมือซ้ายจับขาหยั่ง ซ้ายให้ใกล้พลั่วขาหยัง พับขาหยั่งซ้ายเข้าหาขาหยั่งขวา แล้ววางขาหยั่งลงกับพื้นให้หัวขาหยั่งอยู่ทางด้านซ้ายมือ ทำท่านอนลงหลังขาหยั่งหลัง จากการปฏิบัติตามนี้เสร็จเรียบร้อยแล้ว พลกระสุนรายงาน "พร้อม"

หลักการยิงและการใช้

พลประจำปืนแต่ละคนจะต้องได้รับการฝึกในเรื่องวิธีปฏิบัติการยิงแบบมาตรฐานทั้งขณะที่เป็นชุดพลประจำปืนหรือเป็นบุคคล และจะต้องปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบได้อย่างอัตโนมัติ และอย่างมีประสิทธิภาพ

ความง่าย ความรวดเร็ว และการยิงอย่างได้ผลมากที่สุด ในเมื่อปืนตั้งยิงด้วยขาทรายขาหยั่งหรือติดตั้งบนยานพาหนะ จะต้องจัดแนวศูนย์ปืนตรงไปยังที่หมาย และปฏิบัติการยิงอย่างถูกต้อง

การยิง

๑. กระสุนวิถี คือทางเดินของลูกกระสุนที่วิ่งออกไปซึ่งเกือบจะราบในระยะ ๓๐๐ เมตรแรกหรือน้อย กว่า หลังจากระยะ ๓๐๐ เมตรไปแล้ว กระสุนวิถีจะเริ่มโค้ง และความโค้งของกระสุนวิถีจะมากขึ้นตามระยะที่ไกลขึ้น

๒. ยอดกระสุนวิถี คือจุดที่สูงที่สุดของกระสุนวิถี ซึ่งตั้งอยู่บนเส้นสมมุติจากปากลำกล้องปืนไปยังฐานของเป้าหมาย ซึ่งจะเกิดขึ้น ณ จุดประมาณ ๒ ใน ๓ ของระยะจากที่ตั้งปืนกับเป้าหมาย ยอดกระสุนวิถีจะสูงมากขึ้นตามระยะที่เพิ่มขึ้น

๓. กรวยการยิง เมื่อทำการยิงกระสุนหลาย ๆ นัดออกไปจากปืน ลูกกระสุนจะแล่นออกไปเป็นกระสุน วิถีแตกต่างกันเล็กน้อย ทั้งนี้สาเหตุมาจากการสั่นสะเทือนของปืน และการเปลี่ยนแปลงของกระสุนตามสภาพ อากาศ กระสุนวิถีของแต่ละนัดที่ยิงออกไปจึงเกิดเป็นรูปร่างขึ้นมา เรียกว่า กรวยการยิง

๔. รูปอาการกระจาย และกึ่งกลางกระสุนตก พื้นที่ซึ่งกรวยการยิงไปตกยังพื้นดินหรือบนที่หมาย เรียกว่า รูปอาการกระจาย

๔.๑ ขนาดและรูปร่างของรูปอาการกระจายจะเปลี่ยนไป เมื่อระยะยิงถึงเป้าหมายเปลี่ยนไป และ เมื่อปืนยิงไปยังภูมิประเทศที่มีลักษณะแตกต่างกันบนพื้นที่ลาดเสมอ หรือพื้นระดับรูปอาการกระจายจะมีรูปร่าง เป็นรูปยาวรี (ยาวและแคบ) เมื่อระยะยิงถึงเป้าหมายเพิ่มมากขึ้นเกินกว่า ๕๐๐ เมตร รูปอาการกระจายจะ สั้นและกว้างกว่า เมื่อทำการยิงลงบนพื้นที่ลาดต่ำ รูปอาการกระจายจะยาว เมื่อทำการยิงลงบนพื้นที่ลาดขึ้นรูปอาการกระจายจะสั้น เรื่องความกว้างของรูปอาการกระจายนั้น ลักษณะของภูมิประเทศไม่ค่อยจะมีผล กระทบกระเทือนมากนัก

๔.๒ กึ่งกลางรูปอาการกระจายจะเรียกว่า กึ่งกลางกลุ่มกระสุนตก กึ่งกลางกลุ่มกระสุนตกอยู่ ณ ตำบลเล็งในเมื่อปืนได้ทำการปรับศูนย์ได้อย่างถูกต้องแล้ว

๕. ย่านอันตราย คือพื้นที่ระหว่างปืนและเป้าหมาย ซึ่งกระสุนวิถีจะสูงไม่เกินความสูงเฉลี่ยของคนยืน (๑.๘ เมตร) ทั้งนี้รวมทั้งพื้นที่ของรูปอาการกระจายเข้าไว้ด้วย

๕.๑ เมื่อปืนกลทำการยิง (บนขาทรายหรือขาหยั่ง) บนภูมิประเทศเป็นพื้นระดับหรือพื้นที่ลาดเสมอต่อเป้าหมายที่ระยะน้อยกว่า ๗๐๐ เมตร ยอดกระสุนวิถีจะไม่สูงเกินความสูงเฉลี่ยของคนยืน เรียกว่า ย่านอันตรายโดยตลอด

๕.๒ เมื่อทำการยิงต่อเป้าหมายในระยะที่มากกว่า ๗๐๐ เมตร ยอดกระสุนวิถีจะสูงเกินความสูงเฉลี่ยของคนยืน จึงทำให้เกิดเป็นย่านอันตรายบางส่วน และมีย่านอับกระสุน

ประเภทการยิง

การยิงของปืนกล แบ่งประเภทการยิงเกี่ยวกับพื้นที่ เป้าหมาย และเกี่ยวกับปืน

๑. การยิงเกี่ยวกับพื้นที่

๑.๑ การยิงกวาด คือเมื่อกึ่งกลางกรวยการยิงสูงไม่เกิน ๑ เมตรในเมื่อทำการยิงบนพื้นระดับและ พื้นที่ลาดเสมอ ระยะ ๖๐๐ เมตร เป็นระยะไกลสุดที่จะทำการยิงกวาด

๑.๒ การยิงมุมกระสุนตกใหญ่ เกิดขึ้นเมื่อพื้นที่อันตรายมีขอบเขตจำกัดเฉพาะรูปอาการกระจายการ ยิงมุมกระสุนตกใหญ่จะเกิดขึ้นเมื่อทำการยิงระยะไกล ๆ เมื่อยิงจากที่สูงไปยังพื้นที่ต่ำ และเมื่อยิงไปยังพื้นที่สูง ลาดชัน

๒. การยิงเกี่ยวกับเป้าหมาย ได้แก่

๒.๑ การยิงตรงหน้า คือเมื่อแกนทางยาวของรูปอาการกระจายตั้งฉากกับด้านหน้าของเป้าหมาย

๒.๒ การยิงทางปีก คือ การยิงที่กระทำทางปีกของเป้าหมาย

๒.๓ การยิงเฉียง คือ เมื่อแกนทางยาวของรูปอาการกระจายทำมุมไม่ตั้งฉากกับเป้าหมาย

๒.๔ การยิงตามแนว คือ เมื่อแกนทางยาวของรูปอาการกระจายทับหรือเกือบทับแกนทางยาวของ เป้าหมาย การยิงประเภทนี้อาจจะกระทำตรงหน้าหรือทางปีกก็ได้ การยิงย่อมได้ผลมากที่สุด เพราะได้ใช้ ประโยชน์ของรูปอาการกระจายมากที่สุด

๓. การยิงเกี่ยวกับปืน แบ่งการยิงออกเป็น ๖ แบบ คือ

๓.๑ การยิงเฉพาะตำบล คือการยิงที่กระทำต่อเป้าหมาย ซึ่งเป็นตำบลเล็งอันโดดเดี่ยวอันหนึ่ง

๓.๒ การยิงกราดทางข้าง คือการยิงกระจายออกทางกว้างโดยการเปลี่ยนมุมทิศ เมื่อปืนตั้งบนขา หยั่งจะเปลี่ยนด้วยควงมุมส่ายครั้งละ ๔-๖ มิลเลียม เพื่อให้แน่ใจว่าเป้าหมายถูกยิงครอบคลุมอย่างเพียงพอ ต้องยิงออกไปหนึ่งชุดหลังจากการแก้ทิศทางแล้วทุกครั้ง

๓.๓ การยิงกราดทางลึก คือการยิงกระจายออกไปทางลึกโดยการเปลี่ยนมุมสูงเมื่อปืนตั้งบนขาหยั่ง ทำการยิงบนพื้นระดับหรือพื้นที่ลาดเสมอ การเปลี่ยนมุมสูงของปืนจะเปลี่ยนครั้งละ ๒ มิลเลียม ที่ลาดชัน มาก กว่า ๒ มิลเลียม ที่ต่ำน้อยกว่า ๒ มิลเลียม ทุก ๆ ครั้ง หลังจากเปลี่ยนมุมสูงแล้วต้องยิงกระสุนออกไป ๑ ชุด

๓.๔ การยิงกราดผสม คือการยิงออกทางกว้างและทางลึกโดยการเปลี่ยนมุมทิศและมุมสูงเปลี่ยนมุม ทิศที่ควงส่ายครั้งละ ๔-๖ มิลเลียม ส่วนจำนวนการแก้ทางมุมสูงย่อมขึ้นอยู่กับความลาดของภูมิประเทศและมุม ของที่หมาย เพื่อให้แน่ใจว่าที่หมายถูกยิงครอบคลุมอย่างเพียงพอ ต้องยิงออกไป ๑ ชุด ทุก ๆ ครั้งที่แก้เปลี่ยน มุมทิศและมุมสูงแล้ว

๓.๕ การยิงกราดตลอด คือการยิงกระทำต่อที่หมายที่กว้างมากโดยใช้ควงมุมส่าย และที่หมายกำลัง เคลื่อนที่อย่างรวดเร็วผ่านข้างหน้า พลยิงไม่สามารถจะยิงอย่างได้ผลเมื่อใช้ควงมุมส่าย การยิงประเภทนี้ พลยิงต้องปลดคันยึดเลื่อนราวส่ายปืนให้หลวมพอเลื่อนอิสระบนราวส่ายปืน

๓.๖ การยิงกราดคลายปืน คือการยิงต่อเป้าหมายที่ต้องการความเร็ว การแก้ทางทิศและทางระยะ ส่วนใหญ่ไม่สามารถใช้เรือนควงมุมส่ายและควงมุมสูงได้ ในการยิงวิธีนี้จากปืนที่ติดตั้งบนขาหยั่งพลยิงต้องปลดคัน เลื่อนราวส่ายปืนปล่อยให้ปืนเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระทุกทิศทาง


การควบคุมการยิง

๑. การควบคุมการยิง หมายถึงการกระทำทั้งมวลของผู้บังคับหมู่และพลประจำปืนซึ่งเป็นการเชื่อมต่อใน การเตรียมการและการปฏิบัติการยิงอย่างได้ผลไปยังเป้าหมาย และกำหนดเคลื่อนย้ายการยิงจากเป้าหมายหนึ่ง ไปยังอีกเป้าหมายหนึ่งเมื่อจะให้ปืนหยุดยิง

๒. ความสามารถในการควบคุมการยิงนั้น ขึ้นอยู่กับความสามารถขั้นต้นของ ผบ.หมู่ วินัยในการยิงและ การฝึกพลประจำปืน ความล้มเหลวในการควบคุมการยิงเป็นผลให้การใช้ปืนกลไม่ได้ผลเต็มที่ และจะกระทบ กระเทือนให้หน่วยเดียวกันได้รับอันตราย เปิดเผยที่ตั้งยิง ทำการยิงที่หมายที่ไม่คุ้มค่า เสียเวลาในการปรับการ ยิงและสิ้นเปลืองกระสุนโดยใช่เหตุ

วิธีควบคุมการยิง

การควบคุมการยิงมีวิธีการควบคุมหลายวิธี ผบ.หมู่จะต้องเลือกวิธีที่ดีที่สุด หรือใช้วิธีการผสมเพื่อให้ สำเร็จตามความมุ่งหมาย คือ

๑. ด้วยวาจา

๒. ด้วยแขนและท่าสัญญาณ

๓. สัญญาณที่เตรียมไว้ล่วงหน้า

๔. การติดต่อด้วยบุคคล

๕. ระเบียบปฏิบัติประจำ

คำสั่งยิง

๑. เมื่อ ผบ.หมู่ตกลงใจที่จะยิงต่อเป้าหมายซึ่งพลยิงเห็นได้ไม่ชัด ต้องให้รายละเอียดพอที่พลประจำปืน ต้องการเพื่อจะวางการยิงอย่างได้ผลไปยังที่หมาย

๒. คำสั่งยิงที่ให้ต้องตามลำดับโดยรวดเร็วปราศจากข้อสงสัย คำสั่งยิงอาจจะให้เป็นคำสั่งยิงเริ่มแรก หรือเป็นคำสั่งยิงต่อมา คำสั่งยิงเริ่มแรกเป็นการให้คำสั่งยิงต่อเป้าหมายหนึ่งส่วน คำสั่งยิงต่อมาเป็นการปรับ การยิง การเปลี่ยนจังหวะการยิง การหยุดยิง เลื่อนหรือย้ายการยิงไปยังเป้าหมายใหม่

หัวข้อคำสั่งยิง

คำสั่งยิงสำหรับอาวุธยิงด้วยวิธีเล็งทุกชนิดย่อมมีแบบของคำสั่งตามหัวข้อต่างๆ คล้ายคลึงกัน คำสั่งยิงของปืนกล มีหัวข้อคำสั่งอยู่ ๖ หัวข้อ ดังนี้

๑. คำสั่งเตือน

๒. ทิศทาง

๓. ลักษณะเป้าหมาย

๔. ระยะยิง

๕. วิธีการยิง

๖. คำสั่งเริ่มยิง

คำสั่งเตือน หัวข้อคำสั่งยิงข้อนี้เพื่อเตือนให้พลประจำปืนทุกคนพร้อมที่จะรับคำสั่งต่อไป ผบ.หมู่ อาจจะให้คำสั่งเตือนแก่พลประจำปืนทั้ง ๒ กระบอก หรือเพียงกระบอกเดียวก็ได้ย่อมขึ้นอยู่กับสถานการณ์ เมื่อ ได้รับคำสั่งเตือนพลยิงผู้ช่วยต้องตรวจดู ผบ.หมู่เสมอ เพื่อสื่อคำสั่งของ ผบ.หมู่ ต่อไปยังพลยิง คำสั่งเตือนด้วย วาจาประกอบด้วย "ภารกิจการยิง" เพื่อประกาศเตือนพลยิงว่าได้ตรวจพบที่หมายแล้วและจะทำการยิง

ทิศทาง หัวข้อคำสั่งยิงนี้บ่งถึงทิศทางทั่วไป ของเป้าหมายและอาจจะบอกด้วยวิธีเดียวหรือบอก ผสมวิธีก็ได้ดังนี้

- บอกด้วยวาจา

- บอกด้วยการชี้

- บอกด้วยกระสุนส่องวิถี

- บอกด้วยตำบลหลัก

ตัวอย่าง

- ภารกิจยิง ภารกิจยิง

- ข้างหน้า ข้างหน้า

- หลุมที่ตั้งปืน ตำบลหลัก ต้นสนเดี่ยว

- คอยดูกระสุนส่องวิถีข้าพเจ้า เป้าหมายรถยนต์บรรทุก

ลักษณะเป้าหมาย ลักษณะของเป้าหมายเป็นการวาดภาพของที่หมายให้พลปืนกลเกิดมโนภาพ พลประจำปืนต้องเรียนรู้แบบต่าง ๆ ของเป้าหมาย เพื่อที่จะทำการยิงได้อย่างถูกต้องเช่นตัวอย่าง

- ข้าศึกลงรบเดินดิน ใช้คำว่า ทหารยึดเป็นแนว ทหารราบ

- อาวุธอัตโนมัติ ใช้คำว่า ปืนกล

- ยานยนต์ไม่หุ้มเกราะ ใช้คำว่า รถยนต์บรรทุก

- ยานยนต์หุ้มเกราะ ใช้คำว่า รถถัง

- เครื่องบินหรือ ฮ. ใช้คำว่า เครื่องบิน

ระยะยิง ระยะยิงไปยังเป้าหมายต้องบอกพลประจำปืนได้ทราบเพื่อให้พลประจำปืนได้มอง ตรวจดูว่าเป้าหมายไกลเท่าใด และจะได้รู้ทันทีว่าควรจะตั้งศูนย์หลังของปืนเท่าใด ระยะยิงควรบอกเป็นเมตร ในเมื่อได้ใช้หน่วยในการวัดมาตรฐานเป็นเมตรอยู่แล้ว คำว่า "เมตร" ไม่ต้องสั่ง ระยะที่หาได้แล้วจะต้องสั่ง เป็นจำนวน ร้อย - พัน เช่น สามร้อย หนึ่งพันหนึ่งร้อย

วิธีการยิง หัวข้อคำสั่งยิงนี้หมายรวมถึงการปฏิบัติต่อปืนและวัดจังหวะการยิง

๑. การปฏิบัติต่อปืนต้องปฏิบัติตามที่อธิบายไว้ในประเภทการยิงซึ่งจะต้องเกี่ยวกับปืนโดยต้องสั่ง ดังนี้ ยิงเฉพาะตำบล, ยิงกราดทางข้าง, ยิงกราดทางลึก, ยิงกราดผสม, ยิงกราดตลอด, หรือยิงกราดคลายปืน

๒. จังหวะการยิง เพื่อควบคุมจังหวะการยิง มีจังหวะการยิงอยู่ ๓ จังหวะ ที่อาจจะต้องสั่งแก้ ปืน คือ ยิงต่อเนื่อง ยิงเร็ว และยิงเร็วสูงสุด

คำสั่งเริ่มยิง ถ้าต้องหวังผลในการยิงจู่โจม คำสั่งเริ่มยิงจะต้องออกไปเลยไม่ต้องหยุดชงักเพื่อ ให้บังเกิดผล ผบ.หมู่ อาจจะใช้คำสั่งให้เริ่มยิงด้วยคำว่า "คอยฟังคำสั่งข้าพเจ้า" เมื่อพลยิงพร้อมที่จะ ยิงต่อเป้าหมายจะรายงาน "พร้อม" พลยิงผู้ช่วยเป็นผู้ให้สัญญาณ "พร้อม" แก่ ผบ.หมู่ ผบ.หมู่จะให้คำสั่ง "เริ่มยิง" เช่นตัวอย่าง

- ภารกิจยิง

- ข้างหน้า

- แถวทหาร

- คอยฟังคำสั่งข้าพเจ้า

- เริ่มยิง

คำสั่งยิงต่อมา

ถ้าพลยิงปรับการยิงเป้าไม่ถูกเป้าหมาย ผบ.หมู่ต้องพยายามแก้ไขโดยออกคำสั่งหรือให้สัญญาณแก้ไขตาม ต้องการ ในเมื่อได้รับคำสั่งการแก้ไขแล้ว พลยิงต้องแก้ไขปืนและทำการยิงติดต่อกันไปโดยไม่ต้องรอฟังคำสั่ง ใด ๆ อีก เมื่อทำการยิงอยู่ภายใต้การควบคุมของ ผบ.หมู่ พลยิงผู้ช่วยจะต้องคอยเฝ้า ผบ.หมู่จะสั่งการแล้วส่ง คำสั่งไปยังพลยิง

จังหวะการยิง

จังหวะการยิงของปืนกลมีอยู่ ๓ จังหวะคือ จังหวะต่อเนื่อง จังหวะเร็วและจังหวะยิงเร็วสูงสุด จังหวะ การยิงเหล่านี้กำหนดไว้เพื่อเป็นเครื่องแนะแนวทางเบื้องต้นในการฝึก และเป็นการบ่งชี้ว่าจะเปลี่ยนลำกล้องเมื่อไร

๑. การยิงต่อเนื่อง คือการยิงกระสุน ๑๐๐ นัดต่อนาที โดยทำการยิงเป็นชุด ๖ ถึง ๙ นัด ในเวลา ๔-๕ นาที ใช้คำบอกคำสั่งว่า "ยิงต่อเนื่อง" (การเปลี่ยนลำกล้องใหม่จะกระทำเมื่อยิงจังหวะต่อเนื่องไปแล้ว ๑๐ นาที)

๒. การยิงเร็ว คือการยิงกระสุน ๒๐๐ นัดต่อนาที โดยทำการยิงเป็นชุด ๖-๙ นัด ในเวลา ๒ ถึง ๓ นาที ใช้คำบอกคำสั่งว่า "ยิงเร็ว" (การเปลี่ยนลำกล้องใหม่จะกระทำเมื่อยิงไปแล้ว ๒ นาที)

๓. การยิงเร็วสูงสุด หมายถึงการยิงกระสุนออกไปให้มากที่สุดของปืนกระบอกหนึ่งภายใน ๑ นาทีอัตรา ยิงเร็วสูงสุดของ ปก.เอ็ม.๖๐… ๕๕๐ นัดต่อนาที (การเปลี่ยนลำกล้องควรจะกระทำหลังจากที่ปืนได้ยิงจังหวะใด ก็ตามเกินจังหวะยิงเร็วไปแล้ว ๑ นาที)

การยิงตะลุมบอน

- บทบาทของปืนกลมักไม่มีข้อจำกัดในการยิงสนับสนุนการเข้าตีในสถานการณ์บ่อยครั้ง ผบ.หมู่ จะได้รับผลเต็มที่จากปืนกล โดยกำหนดให้ปืนกลเข้าอยู่ในแนวตะลุมบอน คือการใช้เมื่อเข้ารบประชิด เป็นแนว เช่น ระหว่างเข้าตีในเวลากลางคืน หรือในขั้นสุดท้ายของการตะลุมบอนในเวลากลางวัน เมื่อต้องการอำนาจการยิง ให้เหนือข้าศึก

- เพื่อให้การตะลุมบอนเกิดผลสำเร็จ พลประจำปืนต้องเรียนรู้ถึง

๑. การยิงอย่างได้ผลโดยไม่ต้องจัดเส้นเล็ง

๒. การเคลื่อนที่อย่างรวดเร็วและรักษาแนว เพื่อให้ถึงที่หมายในเวลาที่สั้นที่สุดเท่าที่จะทำได้

๓. บรรจุกระสุนใหม่อย่างรวดเร็ว เพื่อป้องกันมิให้การยิงชะงักลง

๔. ดำรงการยิงลงบนพื้นที่ของที่หมายตลอดเวลา

๕. การกระจายการยิงอย่างถูกต้องแน่นอน

ท่ายิงตะลุมบอนมีอยู่ ๓ ท่า อาจจะนำมาใช้ได้จะใช้ท่ายิงแต่ละท่า ณ โอกาสที่เหมาะสมที่พลยิงจะทำ การยิงอย่างแม่นยำลงที่ข้าศึกยึดอยู่ โดยปราศจากการเล็งศูนย์ปืน ท่ายิงตะลุมบอนทุกท่านี้พลยิงจะปรับการยิงได้ ด้วยการตรวจดูกระสุนส่องวิถี และกลุ่มการยิงของกระสุน ณ พื้นที่ที่หมาย สายสะพายที่ติดอยู่กับตัวปืนจัดไว้เพื่อ ช่วยเหลือในการนำปืนเข้าตะลุมบอน โดยการวางพาดไหล่ของพลยิงไว้ซึ่งจะช่วยรองรับปืนในเมื่อนำไปมาหรือ เมื่อยิงในท่ายิงใต้แขน และท่ายิงประทับสะโพก

๑. ท่ายิงประทับสะโพก การยิงด้วยท่ายิงประทับสะโพกจะใช้ต่อเมื่อต้องการปริมาตรการยิงอย่างแน่นอนลง ณ พื้นที่เป้าหมาย และต้องการเคลื่อนที่อย่างรวดเร็วไม่เป็นเรื่องสำคัญท่ายิงประทับสะโพกจะมีการทรงตัวดี แต่จะชักช้าในการใช้ในเวลาเคลื่อนที่ การยิงแต่ละชุดต้องไม่น้อยกว่า ๙ นัด เมื่อทำการยิงจากท่ายิงนี้ จะต้อง

๑.๑ กางขาทรายออก เพื่อเอาไว้ใช้เมื่อต้องการ

๑.๒ พับศูนย์หลังลง

๑.๓ มือซ้ายจับอยู่ที่ใต้รองลำกล้องปืน

๑.๔ มือขวาจับกำรอบด้ามปืน นิ้วชี้มือขวาอยู่ที่ไกปืน

๑.๕ พานท้ายปืนด้านหลังยันแน่นอยู่กับส่วนหน้าของต้นขาขวา

๑.๖ เท้าซ้ายชี้ไปข้างหน้าในทิศทางที่หมายในขณะที่ยิง

๑.๗ เท้าขวาอยู่ข้างหลังเพื่อให้ท่ายิงยึดมั่นคง

๑.๘ ก่อนการยิงและในขณะทำการยิง พลยิงต้องโน้มตัวไปข้างหน้ายังเป้าหมาย

๒. ท่ายิงประทับบ่า ท่ายิงประทับบ่า จะใช้ในเมื่อพลยิงต้องการยิงให้ถูกยังตำบลเฉพาะอันหนึ่งในพื้นที่ เป้าหมาย และเมื่อต้องการเคลื่อนที่อย่างรวดเร็วไม่สำคัญนัก เมื่อก้าวเดินไป ๒ หรือ ๓ ก้าว เท้าซ้ายถึงพื้น พลยิงจะหยุดชั่วขณะแล้วทำการยิงออกไป ๑ ชุด แต่ละชุดที่ยิงออกไปอย่างมากที่สุดใช้กระสุน ๖ นัด ท่ายิงนี้จะมี ความแม่นยำมากที่สุด ในเมื่อทำการยิงจากท่านี้จะต้อง

๒.๑ พับศูนย์หลังและกางขาทรายออก เมื่อทำการเล็งให้พลยิงวางศูนย์หน้าลงบนกึ่งกลางฐานของ เป้าหมาย

๒.๒ มือทั้งสองและเท้าทั้งสองของพลยิง จับและวางอยู่เช่นเดียวกันกับเมื่อทำการยิงด้วยท่าประทับสะโพก

๒.๓ พานท้ายปืนประทับแน่นติดกับไหล่ก่อนเริ่มยิง และในขณะยิงพลยิงต้องโน้มตัวไปข้างหน้ายังเป้าหมาย

๓. ท่ายิงใต้แขน การยิงในท่ายิงใต้แขนจะใช้เมื่อเข้าอยู่ในระยะใกล้ข้าศึก และเมื่อต้องการปริมาณ การยิงอย่างหนาแน่นและความรวดเร็วในการเคลื่อนที่ด้วย ในระหว่างระยะเวลาที่ทัศนะวิสัยจำกัดต้องใช้ท่ายิงนี้ตลอดการเข้าตะลุมบอน การเคลื่อนที่ของพลยิงยังคงติดต่อกันเรื่อย ๆ และเมื่อเท้าซ้ายก้าวถึงพื้นทุกครั้งให้ยิงกระสุนออกไป ๑ ชุด ชุดหนึ่งใช้กระสุนอย่างมาก ๖ นัด ในเมื่อทำการยิงจากท่านี้จะต้อง

๓.๑ พับศูนย์หลังลงและกางขาทรายออก

๓.๒ มือทั้งสองและเท้าทั้งสองของพลยิง จัดและวางอยู่เช่นเดียวกันกับเมื่อทำการยิงด้วยท่าประทับสะโพก

๓.๓ ปืนประทับอยู่ในลักษณะยึดแน่นระหว่างมือขวาและหน้าอกด้านขวา พลยิงโน้มตัวไปข้างหน้าในขณะทำการยิง