บทที่ ๘ ตรวจการณ์ ตอนที่ ๑ กล่าวนำ

บทที่ ๘

ตรวจการณ์

ตอนที่ ๑ กล่าวนำ

กล่าวทั่วไป อาวุธที่ใช้ในการรบ ไม่ว่าชนิดใดก็ตามจะเกิดประโยชน์หรือได้ผลดีเพียงใดนั้น ย่อมขึ้นกับขีดความสามารถของอาวุธและความเชี่ยวชาญทางเทคนิคหรือยุทธวิธีในการใช้อาวุธ และผู้นำหรือผู้บังคับบัญชาเป็นปัจจัยสำคัญ

ผู้ตรวจการณ์ นับว่าเป็นเจ้าหน้าที่ที่มีความสำคัญของอาวุธเครื่องยิงลูกระเบิดในชุดเล็งจำลอง ส่วนหนึ่ง ที่จะช่วยให้การใช้อาวุธได้ผลตามความมุ่งหมาย

           ลักษณะของการตรวจการณ์ แบ่งได้ ๒ ประเภท

                ๑. ตรวจการณ์โดยตรง

                ๒. ตรวจการณ์โดยอ้อม

           ความมุ่งหมายของการตรวจการณ์

                ๑. ค้นหาเป้าหมาย เพื่อร้องขอการยิง

                ๒. ปรับการยิง

                ๓. ตรวจผลการยิง

                ๔. เฝ้าตรวจสนามรบและรายงานข่าวสาร

           หลักมูลฐานในการอำนวยการยิงของเครื่องลูกระเบิด

                ๑. ยิงได้อย่างแม่นยำ

                ๒. ในเวลาที่เหมาะสม

                ๓. ด้วยความหนาแน่นเพียงพอ

                ๔. จู่โจม

                ๕. ด้วยกระสุนและชนวนที่เหมาะ

           งานหน้าที่หลักของผู้ตรวจการณ์หน้า

                ๑. การเลือกและการใช้ที่ตรวจการณ์

                ๒. การเขียนภาพภูมิประเทศสังเขป

                ๓. การหาทิศทางในบริเวณเป้าหมาย

                ๔. การกำหนดและรายงานที่ตั้งที่ตรวจการณ์

                ๕. การรายงานสถานการณ์ทางยุทธวิธีไปยัง ศอย.และ นยส.

                ๖. การกำหนดที่ตั้งเป้าหมายด้วยวิธีพิกัดตาราง

                ๗. การกำหนดที่ตั้งเป้าหมายด้วยวิธีโปล่าร์

                ๘. การกำหนดที่ตั้งเป้าหมายด้วยวิธีย้ายจากจุดที่ทราบ

                ๙. การเตรียมและส่งคำขอยิง

                ๑๐. การปรับการยิงเป็นพื้นที่โดยวิธีสร้างห้วงควบตามลำดับขั้น

                ๑๑. การปรับการยิงเป็นพื้นที่โดยวิธีสร้างห้วงควบเร่งด่วน

                ๑๒. การขอและปรับการยิงกระสุนส่องแสงโดยวิธีส่องสว่างต่อเนื่อง และประสานส่องสว่าง

                ๑๓. การขอและปรับการยิงโดยการยิงคืบ

                ๑๔. การขอและปรับการยิงฉากป้องกันขั้นสุดท้าย

                ๑๕. การขอและปรับการยิงเป้าหมายรูปร่างผิดปกติ

                ๑๖. การขอและปรับการยิงโดยเทคนิคการใช้เสียง

                ๑๗. การหาทิศทางหรือพิกัดของตำบลใด ๆ โดยใช้เทคนิคการยิงหมายพิกัด

                ๑๘. การดำเนินการยิงควันฉับพลัน

                ๑๙. การดำเนินการยิงฉากควันเร่งด่วน

                ๒๐. การดำเนินการยิงข่มฉับพลัน

                ๒๑. การดำเนินการยิงข่มเร่งด่วน

                ๒๒. การเลือกและกำหนดที่ตั้งจุดยิงหาหลักฐานและจุดอ้าง

                ๒๓. การดำเนินการยิงหาหลักฐานประณีต

                ๒๔. การดำเนินการยิงหาหลักฐานแบบ ABCA

                ๒๕. การดำเนินการยิงโดยวิธีตรวจการณ์ร่วม

                ๒๖. การดำเนินการยิงทำลาย

                ๒๗. การดำเนินการยิงหาหลักฐานของ ค.

                ๒๘. การขอและปรับการยิงปืนเรือ

                ๒๙. การขอและปรับการยิง ๒ ภารกิจพร้อมกัน

                ๓๐. การดำเนินการยิงต่อเป้าหมายที่ปรากฏและหายไปอย่างรวดเร็ว

                ๓๑. การดำเนินการยิงกระสุนพิเศษอื่น ๆ

           ลักษณะของที่ตรวจการณ์

                ๑. สามารถตรวจการณ์ได้กว้างและไกล

                ๒. ง่ายในการซ่อนพราง

                ๓. มีเส้นทางเข้าถึงได้ดี

                ๔. ง่ายในการใช้เครื่องมือสื่อสาร

                ๕. หลีกเลี่ยงภูมิประเทศเด่นชัด

                ๖. ควรจะมีที่ตรวจการณ์สำรอง

           ข้อดีของที่ตรวจการหลังเนิน

                ๑. อาจเข้าประจำที่ได้ในเวลากลางวัน

                ๒. ปฏิบัติการได้เสรีมากขึ้น

                ๓. ง่ายในการติดตั้งและซ่อนเร้นเครื่องมือสื่อสาร

                ๔. ลดอันตรายจากอาวุธเล็งตรงของข้าศึก

           ข้อเสีย

                ๑. เขตตรวจการณ์จำกัด

                ๒. ถ้าข้าศึกยิง ยอดเนินอาจขัดขวางการตรวจการณ์และเป็นอันตราย

           ข้อดีของที่ตรวจการณ์หน้าเนิน

                ๑. ถ้าข้าศึกยิงยอดเนินอาจจะไม่เป็นอันตราย

                ๒. เขตตรวจการณ์กว้าง

                ๓. ช่วยในการพราง เพราะมีฉากหลัง

           ข้อเสีย

                ๑. ต้องเข้าประจำเวลากลางคืน และเสี่ยงต่อการตรวจพบในเวลากลางวัน

                ๒. ยากในการติดตั้งเครื่องมือสื่อสาร และซ่อมบำรุง

                ๓. การใช้วิทยุอาจถูกตรวจจับได้ง่าย

  ๔. ไม่มีการป้องกันจากอาวุธยิงเล็งตรง 

ตอนที่ ๒ แนวตรวจการณ์

แนวตรวจการณ์

           ๑. มุมภาคผู้ตรวจการณ์ - เป้าหมาย

           ๒. แนวปืน - เป้าหมาย

           ๓. ทิศหลัก

 ๔. แนวอ้างอื่น ๆ 

แนวตรวจการณ์เป้าหมาย (ต-ม) กำหนดเพื่อ.-

           - เพื่อให้ ผตน.พิจารณาตำบลระเบิดเป็น ซ้าย-ขวา-หน้า-หลัง ของเป้าหมาย

           - เพื่อให้ ศอย.หมุนแผ่นจากทิศไปในแนว ต-ม กรุยการแก้ของ ผตน.

           - ทำให้ปรับการยิงเร็วขึ้น เปลืองกระสุนน้อย ไม่เสียเวลาปรับการยิง

           - แนว ต-ม บอกเป็นมุมภาค (ปกติบอกมุมภาคตาราง) หน่วยเป็นมิลเลียม (ถ้าเป็นองศาต้องบอก

                คำว่า "องศา")

           - ถ้า ผตน.ตรวจพบความผิดพลาดแนว ต-ม ในขณะปรับ เกิน ๑๐๐ มิลเลียม ต้องบอกแก้ไขให้ ศอย ทราบ

การวัดมุมและการใช้มุมของผู้ตรวจการณ์

           ก. มุมภาค คือ มุมทางระดับวัดเวียนตามเข็มนาฬิกา จากทิศเหนือไปยังเป้าหมาย ปกติเป็นมุมภาคตาราง

                เครื่องมือที่ใช้วัด

                     - เข็มทิศ

                     - กล้องวัดมุม

                ผู้ตรวจการณ์หน้าใช้มุมภาค ดังนี้

                     - กำหนดที่หมายด้วยวิธีโปล่าร์

                     - แสดงทิศทาง ที่ตรวจการณ์ - เป้าหมาย (แนว ต-ม)

                     - หาที่อยู่ของตนเองและเป้าหมาย

           ข. มุมข้าง คือ มุมทางระดับจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง

                เครื่องมือที่ใช้วัด

                     - กล้องสองตา

                     - กล้องวัดมุม

                     - วัดด้วยมือ

                ผู้ตรวจการณ์ใช้มุมทางข้าง ดังนี้

                     - ปรับการยิงทางข้าง

                     - การหาระยะเป้าหมาย

                     - การกำหนดที่ตั้งเป้าหมาย (ย้ายจากจุดที่ทราบ)

           ค. มุมทางดิ่ง คือ มุมทางสูง ระหว่างตำบลหนึ่งไปอีกตำบลหนึ่ง

                เครื่องมือที่ใช้วัด

                     - กล้องสองตา

                     - กล้องวัดมุม

                     - เข็มทิศ เอ็ม.๒

                ผู้ตรวจการณ์ใช้มุมทางดิ่ง ดังนี้

                     - กำหนดที่ตั้งเป้าหมาย (โปล่าร์หรือย้ายจากจุดที่ทราบ)

                     - การปรับการยิงทางดิ่ง หรือสูงกระสุนแตก

วิธีที่ผู้ตรวจการณ์หน้าใช้หาระยะนั้น ได้แก่

           ๑. วิธีเทียบสนามฟุตบอล หรือยิงหมายระยะ

           ๒. วิธีสังเกตลักษณะของวัตถุหรือภูมิประเทศ

           ๓. วิธีแปะ-ปัง (การใช้เสียง) ความเร็วเสียงเฉลี่ยทุกสภาพอากาศ ๓๕๐ ม./วินาที

           ๔. วิธีสูตรสัมพันธ์มิลเลียม

           ๕. วิธีวัดเอาในแผนที่ หรือเปรียบเทียบกับแผนที่

           ๖. วิธีใช้กล้องวัดระยะ ควรผิดพลาดไม่เกิน ๒๐ เปอร์เซ็นต์ ทั้งบวกหรือลบของระยะจริง


ตอนที่ ๓ องค์ประกอบคำขอยิง

องค์ประกอบคำขอยิง

           ๑. การแสดงตนของผู้ตรวจการณ์หน้า

           ๒. คำสั่งเตือน

           ๓. การกำหนดที่ตั้งเป้าหมาย

           ๔. ลักษณะเป้าหมาย

           ๕. วิธีโจมตี

           ๖. วิธียิงและการควบคุม

๑. การแสดงตน  ใช้นามเรียกขานประมวลลับ

๒. คำสั่งเตือน  แสดงความเร่งด่วนในการติดต่อสื่อสาร

 

ประเภทของภารกิจยิง

ผู้ตรวจการณ์เลือกใช้ตามประเภทของภารกิจยิง

           ๑. ปรับการยิง

                - ปรับการยิงก่อนที่จะยิงหาผล

                - อาจเป็นเพราะการกำหนดเป้าหมายไม่แน่นอน

                - ขาดตัวแก้ที่เหมาะสม

                - ระบุในคำสั่งเตือนว่า "ปรับการยิง"

           ๒. ยิงหาผล

                - ผู้ตรวจการณ์หน้าแสวงหาประโยชน์จากการยิงหาผลในนัดแรกเสมอ

                - ความถูกต้องของการยิงหาผลขึ้นอยู่กับขนาด,ลักษณะเป้าหมายและกระสุนที่ใช้ยิงเป็น

                     ประการสำคัญ

                - ผู้ตรวจการณ์หน้าเห็นว่าการกำหนดเป้าหมายถูกต้อง จะยิงหาผลในนัดแรก ระบุใน

                     คำสั่งเตือน "ยิงหาผล"

           ๓. ยิงข่ม

                - ความต้องการยิงอย่างรวดเร็ว

                - เป้าหมายตามคำขอที่วางแผน (ไม่ใช้เป้าหมายตามเหตุการณ์)

                - จะระบุในคำสั่งเตือนด้วยชื่อ หรือหมายเลขเป้าหมาย เช่น "ยิงข่มเป้าหมาย กข. ๐๐๐๑"

                - ปืนจะยิงทันทีภายใน ๒๐ - ๓๐ วินาที

                - เป้าหมายใกล้ฝ่ายเราจะยิง ๑ นัด (ชุด)

                - เป้าหมายอื่น ๆ จะยิง ๒ - ๓ นัด

                - ถ้าผู้ตรวจการณ์หน้าเห็นว่ายังไม่ได้ผล จะปรับการยิงเพื่อยิงซ้ำต่อไปก็ได้

           ๔. ยิงข่มฉับพลัน

                - ผู้ตรวจการณ์หน้าต้องการให้ยิงอย่างรวดเร็วต่อเป้าหมายวางแผนไว้แล้ว หรือเป้าหมาย

                  ตามเหตุการณ์

                - เพื่อยับยั้งไม่ให้ฝ่ายตรงข้ามดำเนินกลยุทธเคลื่อนที่ทางอากาศ

                - ขอยิงข่มฉันพลัน ด้วยหมายเลขเป้าหมาย

                - ยิงข่มฉับพลันยิงเร็วกว่ายิงข่ม ใช้ได้ทั้งเป้าหมายที่วางแผนไว้แล้วและเป้าหมายตามเหตุการณ์

๓. การกำหนดที่ตั้งเป้าหมาย

           ก. ผู้ตรวจการณ์จะต้องคำนึงหลักการดังนี้

                ๑) ปลอดภัยต่อฝ่ายเรา

                ๒) ประหยัดกระสุน (ยิงปรับแต่น้อย)

                ๓) ประหยัดเวลา (ยิงหาผลได้เร็ว)

                ๔) เพิ่มพูนผลการยิงให้ทวีขึ้น (เกิดการจู่โจมมากขึ้น)

           ข. การกำหนดที่ตั้งเป้าหมายโดยวิธีพิกัดตาราง ผู้ตรวจการณ์หน้าหาพิกัดได้โดย

                ๑) การตรวจ คือการเปรียบเทียบลักษณะภูมิประเทศกับแผนที่

                ๒) การกรุยโปล่าร์ ดำเนินการดังนี้

                     ก) หาที่อยู่ของตนเอง

                     ข) วัดมุมภาคไปยังเป้าหมาย

                     ค) ประมาณหรือหาระยะไปยังเป้าหมาย

                     ง)ใช้แผ่นพัดตรวจการณ์วัดมุม ลากเส้นมุมภาคที่วัดได้ลงบนแผนที่

                     จ) ด้วยระยะที่ได้จากข้อ ค. กำหนดที่อยู่ของเป้าหมายลงบนเส้นมุมภาค

                     ฉ) ใช้บรรทัดฉากวัดพิกัดของจุดที่ตั้งเป้าหมายนั้น

                     ช) การเตรียมการต่าง ๆ ไว้ล่วงหน้าจะทำให้ผู้ตรวจการณ์หน้ากำหนดที่ตั้งต่าง ๆ

                         ได้รวดเร็วและถูกต้องยิ่งขึ้น

                     ซ) ในการกำหนดที่ตั้งใด ๆ ลงบนแผนที่นั้นจะต้องพิจารณาลักษณะภูมิประเทศประกอบ

                         แผนที่อย่างรอบคอบเสมอ เพื่อป้องกันความผิดพลาด

           ค. การกำหนดเป้าหมายโดยวิธีพิกัดตาราง

                - เป็นวิธีใช้มากและเป็นประโยชน์มาก

                - ไม่จำเป็นต้องทราบที่อยู่ของผู้ตรวจการณ์หน้า

                - ไม่ต้องอ้างกับจุดอื่นใด ซึ่งอาจจะผิดพลาดหลายต่อ

                - กำหนดที่ตั้งเป้าหมายพิกัดตารางละเอียด ๑๐๐ เมตร (๖ ตำแหน่ง)

                - กำหนดที่ตั้ง จล.และเป้าหมายตามแผนนั้นต้องละเอียด ๑๐ เมตร (๘ ตำแหน่ง)

           ง. การกำหนดที่ตั้งเป้าหมายโดยวิธีโปล่าร์ วิธีโปล่าร์คือ การแสดงที่ตั้งโดยอาศัยระยะ และทิศทางจากจุดหลัก (ที่ตั้งตรวจการณ์) ใช้อ้างไปยังเป้าหมาย

                องค์ประกอบของวิธีโปล่าร์

                ๑) จุดอ้าง (ที่ตั้งตรวจการณ์) ศอย.ต้องทราบ

                ๒) มุมภาค (หรือทิศทาง) จากจุดอ้างไปยังเป้าหมาย (มิลหรือองศา)

                ๓) ระยะจากจุดอ้างไปยังเป้าหมาย (เมตรหรือหลา)

                ๔) แตกต่างสูงของจุดอ้างกับเป้าหมาย (สูงขึ้น-ต่ำลง เมตรหรือหลา)

                ข้อควรระลึกในการกำหนดที่ตั้งเป้าหมายด้วยวิธีโปล่าร์

                ๑) ที่ตั้งของจุดอ้าง (ที่ตั้งตรวจการณ์) ต้องแจ้งให้ ศอย.ทราบ

                ๒) มุมภาคต้องละเอียด ถูกต้องที่สุด ปกติใช้ ๑๐ มิลเลียม

                ๓) ทิศทางอื่น ๆ เช่น ตะวันออก, เหนือ เป็นต้น รวมทั้งมุมภาคเข็มทิศ ก็อาจเป็นข้อ

                     กำหนดที่ตั้งเป้าหมายได้

                ๔) สำหรับทิศทางตรวจการณ์ ถ้าเปลี่ยนที่ตั้งต้องบอกทิศทางใหม่ และถ้าแนวตรวจการณ์

                     เปลี่ยนแปลง หรือใช้จุดอื่นเป็นแนวอ้างต้องบอกทิศทางตรวจการณ์ด้วยเสมอ

                ๕) ระยะใช้เต็ม ๑๐๐ ถ้าทราบระยะถูกต้องละเอียดกว่านี้ได้ ความถูกต้องจะดีขึ้น เช่น

                     มีกล้องเลเซอร์

                ๖) แตกต่างสูง ในกรณีต้องการยิงหาผล ผู้ตรวจการณ์หน้าต้องบอกเสมอ ในกรณีอื่น ๆ

                     เช่น ปรับการยิง หรือไม่แน่ใจในความสูง หรือต้องการความรวดเร็วไม่ต้องบอกก็ได้

                     ถ้าแตกต่างสูงนั้นไม่มากกว่า ๓๐ เมตร

                วิธีโปล่าร์มีข้อดีคือ

                ๑) ผู้ตรวจการณ์หน้าไม่ต้องใช้แผนที่

                ๒) เป็นวิธีที่ง่าย และรวดเร็วมาก

                ข้อเสีย

                ๑) ยุ่งยากในการดำเนินการในขณะเคลื่อนที่

                ๒) ยากและเสียเวลาในการเข้าประมวลรายงานที่อยู่ และเสี่ยงต่อการที่ข้าศึกจะดักจับได้

                วิธีปฏิบัติโดยทั่วไป

                ๑) เมื่อเห็นเป้าหมาย ผู้ตรวจการณ์หน้าใช้เข็มทิศ หรือกล้องสองตาวัดมุมภาคไปยังเป้าหมาย

                ๒) ประมาณระยะไปยังเป้าหมาย

                ๓) ประมาณหรือวัดความสูงของเป้าหมาย (ใช้เข็มทิศ เอ็ม.๒) วัดมุมทางดิ่งคำนวณหาแตก-

                     ต่างสูงโดยใช้สูตรมิลเลียม

           จ. กำหนดที่ตั้งเป้าหมายโดยวิธีย้ายจากจุดที่ทราบที่ตั้ง จุดที่ทราบที่ตั้งคือ จุดที่ ผตน.และ ศอย.ทราบที่ตั้งแล้วและกรุยลงในผังการยิงหรืออาจกรุยลงลงได้ง่าย ๆ เช่น จุดยิงหาหลักฐาน, เป้าหมายที่เคยยิงแล้ว, ยอดเขา หรือภูมิประเทศที่เด่นชัด ซึ่งปรากฏอยู่ในแผนที่

                องค์ประกอบของการกำหนดที่ตั้งเป้าหมาย โดยย้ายจากจุดที่ทราบ

                ๑) จุดทราบที่ตั้งที่ใช้อ้าง

                ๒) แนวตรวจการณ์ที่ใช้อ้างไปยังเป้าหมาย

                ๓) การย้ายทางข้างหรือทางทิศ จากจุดอ้างไปยังเป้าหมาย

                ๔) การย้ายทางระยะ เปรียบเทียบระหว่างจุดอ้างและเป้าหมาย

                ๕) การย้ายทางสูงหรือแตกต่างสูง ระหว่างจุดอ้างและเป้าหมาย

                วิธีปฏิบัติโดยทั่วไป

                ๑) ผตน.กำหนดจุดทราบที่ตั้งที่ใช้อ้าง เช่น จาก จล., จากยอดเนิน ๔๒๔

                ๒) หาทิศทางตรวจการณ์ไปยังเป้าหมาย ด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง

                     - มุมภาค ต-ม เช่น ๑๓๐๐, มุมภาคเข็มทิศ ๖๐

                     - ทิศหลัก เช่น ทิศตะวันออก, ทิศใต้

                     - แนว ป-ม เช่น ทิศทางแนวปืน - เป้าหมาย

                     - แนวที่ทราบง่าย ๆ เช่น ทิศทางถนนสุขุมวิท ไป จันทบุรี

                ๓) หาการย้ายทางข้างจากจุดอ้างไปยังเป้าหมาย

                     - วัดง่ามมุมระหว่างจุดอ้างและเป้าหมาย หรือโดยประมาณ

                     - คำนวณหาการย้ายทางข้างใช้สูตรมิลเลียม ถ้าง่ามมุมน้อยกว่า ๖๐๐ มิล

                     - ถ้าง่ามมุมตั้งแต่ ๖๐๐ มิลเลียมขึ้นไป ใช้สูตรของไซน์

                     - การย้ายทางข้าง (ซ้าย-ขวา) รายละเอียด ๑๐ เมตร

                ๔) การย้ายทางระยะ โดยเปรียบเทียบกับแนวอ้างที่กำหนด ถ้าใช้แนว ต-ม แนวอ้างคงใช้

                     สูตรมิลเลียม และสูตรของไซน์ ดังกล่าวมาแล้ว หากเป็นการใช้แนวอ้างอื่น ๆ ก็ให้

                     พิจารณาว่า เป้าหมายอยู่หน้าหรือหลังจุดอ้างเท่าใด โดยยึดแนวอ้างเป็นหลัก การย้าย

                     ทางระยะ (เพิ่ม-ลด) รายละเอียดใกล้เคียง ๑๐๐ เมตร

                ๕) การย้ายทางสูงนั้น มีข้อพิจารณาเช่นเดียวกับวิธีโปล่าร์ คือ

                     - เมื่อกำหนดที่ตั้งเป้าหมายอย่างละเอียดในภารกิจยิงหาผล ควรหาและรายงานให้

                       ศอย.ทราบเสมอ

                     - ในกรณีต้องการความเร่งด่วน หรือมีการปรับการยิง หากแตกต่างสูงระหว่างเป้าหมาย

                       และจุดอ้างไม่มากกว่า ๓๐ เมตร ผตน.ไม่จำเป็นต้องบอกก็ได้

                     - การย้ายทางสูง (สูงขึ้น-ต่ำลง) รายละเอียด ๕ เมตร

                ข้อดีของการกำหนดที่ตั้งเป้าหมายด้วยวิธีการย้ายยิงจากจุดที่ทราบ

                     - ไม่ต้องใช้แผนที่ประกอบ

                     - มีความถูกต้องพอสมควร

                ข้อเสีย

                     - เป็นวิธีที่ช้าที่สุดในการกำหนดที่ตั้งเป้าหมายทั้ง ๓ แบบ

                ใช้ในกรณีที่ทัศนะวิสัยเลว

                     - แผนที่เชื่อถือไม่ได้

                     - ภูมิประเทศลวงตา

                     - หรือ ผตน.ต้องการเคลื่อนที่เร็ว

                การแก้ปัญหากระทำได้โดย

                     - ยิงหมายพิกัดภูมิประเทศเด่น ๆ

                     - หมายกึ่งกลางเขตปฏิบัติการ

                     - ใช้ตำบลระเบิดนั้นเป็นจุดที่ทราบที่ตั้ง

                     - ทำการกำหนดเป้าหมายด้วยวิธีย้ายจากจุดที่ทราบที่ตั้ง

๔. ลักษณะเป้าหมาย ข้อสำคัญที่ควรจะบอก

           - ชนิดของเป้าหมาย

           - จำนวนเป้าหมาย

           - การเคลื่อนไหวของเป้าหมาย

           - การป้องกันเป้าหมาย

           - รูปร่างและขนาดของเป้าหมาย

 

๕. วิธีโจมตีเป้าหมาย  ขึ้นอยู่กับผลที่ต้องการ ที่มีอิทธิพลต่อวิธีการโจมตีเป้าหมาย มีอยู่ ๔ ชนิด คือ

           ก. การยิงทำลาย   ความมุ่งหมายอย่างเดียว คือ ทำลายยุทโธปกรณ์

           ข. การยิงตัดรอน  ความมุ่งหมายคือ ลดประสิทธิภาพในการรบของข้าศึก ด้วยการ

                - ขัดขวาง, ขัดจังหวะการยิงของข้าศึก

           - ลดความเสรีในการปฏิบัติของข้าศึก

                - ลดขีดความสามารถที่จะทำให้ฝ่ายเราเกิดความสูญเสีย

                - ลดขนาดของการเคลื่อนที่ในพื้นที่หนึ่ง ๆ ของข้าศึก

           ค. การยิงรบกวน ความมุ่งหมายที่จะรบกวนการพักผ่อน, สกัดกั้นการเคลื่อนที่, ลดขวัญข้าศึกด้วยการคุกคามต่อการสูญเสียและการเสียหายของยุทโธปกรณ์

           ง. การยิงขัดขวาง ความมุ่งหมายเพื่อไม่ให้ข้าศึกใช้พื้นที่หนึ่งพื้นที่ใด ตามปกติการยิงขัดขวางมีความรุนแรงน้อยกว่าการยิงตัดรอน

                ก) ชนิดของการปรับการยิง

                     ๑) ปรับการยิงประณีต

                         - เพื่อหาหลักฐาน

                         - เพื่อการยิงทำลาย ระบุในคำขอยิง "ยิงทำลาย"

                     ๒) ยิงเป็นพื้นที่ ปรับการยิงด้วยปืนกระบอกเดียว

                     ๓) อันตรายใกล้ฝ่ายเรา เมื่อเป้าหมายอยู่ห่างแนวทหารฝ่ายเดียวกัน ระยะไม่เกิน ๔๐๐ เมตร

                         ผตน.บอก "อันตรายใกล้ฝ่ายเรา"

                ข) กระสุนวิถี

                     ๑) มุมยิงเล็ก ไม่ต้องบอกไว้ในคำสั่งยิง

                     ๒) ต้องระบุมุมยิงใหญ่ (สำหรับ ป.) ไว้ในคำขอยิง

                ค) กระสุนชนวน ไม่ระบุในคำขอยิง หมายถึงว่ายิงด้วยกระสุนระเบิดชนวนไว

                     ๑) นอกจากกระสุนระเบิด ต้องระบุในคำขอยิงด้วย

                     ๒) ชนวน เมื่อ ผตน.ขอให้ยิงกระสุนที่มีชนวนชนิดเดียวกันอยู่ในตัวของมันเอง ผตน.

                         ก็ไม่ต้องระบุชนวนลงในคำของยิง

                ง) ปริมาณการยิง

                จ) กรวยพื้นยิง

๖. วิธีและการควบคุมการยิง

           - วิธียิง  การยิงเป็นรอบจากขวาหรือซ้าย จังหวะ ๑๐ วินาที ก็จะขอไปว่า "เป็นรอบจากขวา (ซ้าย) จังหวะ ๑๐ วินาที"

           - การควบคุมการยิง  ระบุว่า "ตามคำสั่งข้าพเจ้า"

           - ตรวจไม่ได้  ผตน.ไม่สามารถปรับการยิงได้ แต่เชื่อว่าที่นั้นมีเป้าหมายแน่นอน และมีความสำคัญ จะขอให้ทำการยิงหาผล จะระบุว่า "ตรวจไม่ได้"

           - พร้อมกัน ณ เป้าหมาย  เป็นเทคนิคการยิงพิเศษ เพื่อให้กระสุนไประเบิด ณ เป้าหมายเดียวกันและพร้อมกัน โดยร้องขอว่า "พร้อมกัน ณ เป้าหมาย"

 

-----------------------------

 

องค์ประกอบและลำดับคำขอยิง

            องค์ประกอบ                                 ตัวอย่าง

๑. การแสดงตนของผู้ตรวจการณ์                        ๑. ลพบุรี ๑๘ จาก ลพบุรี ๒๔

๒. คำสั่งเตือน

           ๒.๑ วิธีพิกัด                                       ๒.๑ ปรับการยิง

           ๒.๒ วิธีพิกัด โปล่าร์                              ๒.๒ ปรับการยิง โปล่าร์

           ๒.๓ วิธีย้ายจากจุดที่ทราบ                    ๒.๓ ปรับการยิงจากเนิน ๗๓๒

๓. การกำหนดที่ตั้งเป้าหมาย

           ๓.๑ วิธีพิกัด                                        ๓.๑ พิกัด  ๘๔๕๕๒๖ มุมภาค ๑๖๕๐

           ๓.๒ วิธีพิกัด โปล่าร์                              ๓.๒ มุมภาค ๔๕๒๐ ระยะ ๒๓๐๐ ต่ำลง ๒๕

           ๓.๓ วิธีย้ายจากจุดที่ทราบ                    ๓.๓ มุมภาค ๕๒๑๐ ซ้าย ๓๘๐ เพิ่ม ๔๐๐ ต่ำลง ๒๕

๔. ลักษณะเป้าหมาย                                       ๔. ผกค. ๒๐ คน ในที่แจ้ง

๕. วิธีโจมตี

           ๕.๑ ชนิดของการปรับการยิง                  ๕.๑ อันตรายใกล้ฝ่ายเรา

                  (ยิงประณีต,ยิงเป็นพื้นที่)

           ๕.๒ กระสุนวิถี                                    ๕.๒ มุมใหญ่ใกล้ฝ่ายเรา (เว้นเมื่อยิงมุมเล็ก)

           ๕.๓ กระสุนและขบวน

                ๕.๓.๑ ชนิดกระสุน                                   ๕.๓.๑ กระสุนควันขวา (ใช้กระสุนระเบิด)

                ๕.๓.๒ ชนิดชนวน                                    ๕.๓.๒ ชนวนวิถีในการยิงหาผล

                                                                                             (เว้นเมื่อใช้ชนวนไว)

           ๕.๔ กรวยพื้นยิง                                  ๕.๔  กรวยปิด (เว้นเมื่อใช้กรวยปกติ)

๖. วิธีและการควบคุม

           ๖.๑ วิธียิง                                    ๖.๑  เป็นรอบจากขวา (ซ้าย)

                                                                                 (เว้นเมื่อปรับด้วย ป.๑ กระบอก)

           ๖.๒ การควบคุม                                  ๖.๒  ตามคำสั่งข้าพเจ้า

                                                                                 (เว้นเมื่อไม่มีการควบคุมการยิง)

ตอนที่ ๔ การปรับการยิง

วิธีการปรับการยิง

           การปรับการยิง ค.๘๑ มม.  ผตน.ใช้การกำหนด (จากการตรวจ) ตำบลกระสุน (ลย.) ตก แล้วนำมาพิจารณาเปรียบเทียบความเกี่ยวพันกับเป้าหมาย จากนั้นก็แปลงผลการตรวจตำบลกระสุนตก (ลย.) มาแก้เป็นเมตรในทางระยะและทางข้าง แล้วส่งไปยังศูนย์อำนวยการยิง (ศอย.) โดยไม่ต้องคำนึงว่า ผตน.ใช้การปรับทางระยะแบบอะไร (ทั้งห้วงควบหรือต่อระยะหน้า) ผตน.ทำการแก้ความผิดทางข้าง เพื่อให้ ลย.นัดต่อไปเข้าหาแนวตรวจการณ์ – เป้าหมาย (แนว ต.-ม.) การตรวจทางระยะ, ทางข้าง และการแก้มีดังต่อไปนี้.-

ก. การตรวจ การตรวจคือ กรรมวิธีการคิดที่ทำให้ ผตน.พิจารณาถึงตำบลที่ ลย.ตก กับที่ตั้งเป้าหมายและแนว ต.-ม. ผตน.ทำการตรวจทางระยะก่อนแล้วตรวจทางข้าง

           ๑. การตรวจทางระยะ

                ก) หลัง (+ บวก) ลย.ตกหลังเป้าหมาย ในการเปรียบเทียบกับที่ตั้ง ผตน.

                ข) หน้า (- ลบ) ลย.ตกระหว่าง ผตน.และเป้าหมาย (ลย.ตกหน้าเป้าหมาย)

                ค) ระยะเป้าหมาย ลย.ตกใกล้เคียงเป้าหมาย หรือลงบนเป้าหมาย (อยู่ในรัศมีการระเบิด)

                ง) สงสัย (?) ผตน.ไม่สามารถพิจารณาได้ว่า ลย.ตกหลังหรือหน้า ผตน.จะทำการแก้ทางระยะไม่ได้ เมื่อผลการตรวจสงสัย

           ๒. การตรวจทางข้าง ผตน.ใช้มาตรามิลเลียมประจำกล้องสองตา วัดจากตำบลที่ ลย.ตกเป็นมิลเลียม ทางขวาหรือทางซ้ายจากเป้าหมาย ถ้า ลย.ตกในแนว ต.-ม. ผตน.ให้ผลการตรวจว่า “ตรงทิศ”

 

ข. วิธีปรับการยิงทางข้าง

           ๑. วัตถุประสงค์ในการปรับทางข้าง ก็เพื่อให้ ลย.นัดต่อไปตกบนแนว ต.-ม.  ผตน.กำหนดผลการตรวจตำบลกระสุนตก (ลย.) และหาค่าเป็นมิลเลียมไปทางขวาหรือทางซ้ายจากเป้าหมาย ใช้สูตรของมิลเลียม แล้วแปลงค่ามิลเลียมจากการตรวจได้เป็นเมตร การแก้ทางข้างจะประกอบด้วยทิศทางที่ต้องการย้ายตำบลระเบิดให้ไปทางขวา หรือทางซ้าย เพื่อให้เข้าแนวเป้าหมายและระยะที่ให้ย้ายไปเป็นเมตร การแก้ทางข้างให้ส่งเป็นระยะที่แก้ตำบลกระสุนเป็นจำนวนเต็ม ๑๐ เมตร (น้อยที่สุด ต้องไม่ต่ำกว่า ๑๐ เมตร)

ค. การปรับทางระยะ

           การปรับทางระยะมีข้อแตกต่างอยู่ ๒ ประการ ได้แก่ แบบใช้ห้วงควบและแบบการต่อระยะหน้า การใช้วิธีใดนั้นขึ้นอยู่กับระยะห่างของทหารฝ่ายเดียวกันและเป้าหมายถ้าเป้าหมายอยู่ภายในระยะ๔๐๐ เมตร จากทหารฝ่ายเดียวกัน ผตน.คงใช้แบบวิธีต่อระยะหน้า หากเกินกว่านั้นก็ใช้วิธีสร้างห้วงควบ

           ๑. การปรับแบบห้วงควบ ใช้เมื่อเป้าหมายอยู่ห่างจากหน่วยทหารฝ่ายเดียวกันเกินกว่า ๔๐๐ เมตร วัตถุประสงค์ก็เพื่อให้เป้าหมายตกอยู่ในระหว่าง ลย.๒ นัด คือ นัดหนึ่งตกหลัง อีกนัดหนึ่งตกหน้า จากนั้นก็ทำการแบ่งครึ่งระยะดังกล่าว เมื่อ ผตน.ได้แบ่งครึ่ง ๑๐๐ เมตร, ลย.ถูกเป้าหมาย, หรือบังเกิดผลที่ทำให้เกิดต่อเป้าหมายได้ ก็นับว่าจัดอยู่ในขั้นการยิงหาผล ถ้า ผตน.ทำตามแนวทางของการปรับการยิงแบบห้วงควบอย่างถูกต้อง ก็จะทำให้ ลย.ถูกเป้าหมายได้อย่างไม่มีปัญหา

                เมื่อ ลย.นัดแรกปรากฏผลการตรวจของ ผตน.เป็นหลังหรือหน้าอย่างใดอย่างหนึ่ง ผตน.จะกำหนดการแก้ทางระยะด้วยการให้มีระยะเพียงพอให้ ลย.นัดต่อไปตกในทางตรงข้ามกับเป้าหมาย มักมีคำถามบ่อย ๆ ว่า “ถ้าสามารถรู้ได้ว่า ลย.ตกไกลหรือใกล้เท่าใดแล้ว ทำไมจึงไม่แก้ให้ ลย.ตกลงบนเป้าหมายเสียทีเดียวเลย” จากประสบการณ์ที่ผ่านมา บอกได้ว่าความเปลี่ยนของ ลย.ที่ไม่ได้ผล (ไม่ตกที่เป้าหมาย) เกือบทั้งหมด ยากมากที่จะคาดคะเนได้ว่าตกห่างเป้าหมายเท่าใด และไม่มีวิธีอื่นใดกระทำได้แน่นอนเหมือนกับการพิจารณาทางข้าง (ใช้สูตรมิลเลียม) วิธีใช้ห้วงควบ จึงเป็นวิธีที่ทำให้ใช้กระสุน (ลย.) น้อยที่สุดในการปรับการยิง และไม่มีวิธีอื่นใดที่ดีกว่าวิธีนี้

           ๒. แนวทางการใช้ห้วงควบต่ำสุด เพื่อให้การปรับแบบห้วงควบเป็นไปอย่างถูกต้อง ผตน.ต้องเพิ่ม (ลด) ระยะให้พอที่จะให้ ลย.นัดที่ ๒ ตกหลัง (หน้า) แต่เพราะว่าไม่มีวิธีอื่นใดที่ถูกต้องในการพิจารณาว่าจะเพิ่มหรือลดระยะเท่าใด จึงต้องใช้การกะระยะ เพื่อเป็นเครื่องช่วยในการกะระยะจึงใช้แนวทางการใช้ห้วงควบต่ำสุดตามรูปที่แสดงไว้ถัดไป

                โดยอาศัยแนวทางนี้ ผตน.จะได้การแก้ทางระยะที่มากเพียงพอ เพื่อความแน่ใจว่า ลย.นัดที่ ๒ จะทำให้เกิดห้วงควบได้

ตัวอย่าง ถ้าเป้าหมายอยู่ในระหว่างระยะ ๑,๐๐๐ ถึง ๒,๐๐๐ เมตร จาก ผตน. และ ลย.นัดแรก ปรากฎผลการตรวจเป็น “หลัง” การแก้ทางระยะต่ำสุด (น้อยที่สุด) ควรจะลดระยะ ๒๐๐ ถ้าเห็นว่าการลดระยะ ๒๐๐ จะไม่ทำให้ ลย.นัดที่ ๒ ตกหน้า ผตน.ก็แก้ทางระยะให้มากขึ้นได้ แต่การแก้ทางระยะต่ำสุดที่จะแก้ ได้แก่การลดระยะ ๒๐๐ ทันทีที่สร้างห้วงควบได้ ผตน.ก็ดำเนินกรรมวิธีแบ่งครึ่งห้วงควบจนกระทั่ง ลย.ถูกเป้าหมาย หรือยังเกิดผลต่อเป้าหมายอย่างหนึ่งอย่างใด หรือผ่าห้วงควบ ๑๐๐ เมตร ซึ่งจัดอยู่ในขั้นของการยิงหาผล

        ระยะ ต.-ม.                   การแก้ทางระยะต่ำสุด

           น้อยกว่า ๑๐๐ เมตร                           ๑๐๐ เมตร

           ๑,๐๐๐ ถึง ๒,๐๐๐ เมตร                ๒๐๐ เมตร

           เกิน ๒,๐๐๐ เมตร                              ๔๐๐ เมตร

           ๓. แบบต่อระยะหน้า วิธีปรับการยิงแบบต่อระยะหน้า จะใช้ในกรณีเป้าหมายอยู่ห่างจากทหารฝ่ายเดียวกันไม่เกิน ๔๐๐ เมตร การใช้วิธีนี้มีความต้องการ ลย.และเวลามากกว่าการปรับแบบใช้ห้วงควบ แต่จะเพิ่มความปลอดภัยให้แก่ทหารฝ่ายเดียวกัน เมื่อ ผตน.ตั้งใจใช้วิธีการปรับแบบต่อระยะหน้า ผตน.จะใช้คำว่า “อันตรายใกล้ฝ่ายเรา” รวมไว้ในคำขอยิงด้วย

ก. วิธีปฏิบัติ

                     ๑) ประการแรก ผตน.พิจารณากำหนดที่ตั้งเป้าหมาย (แบบพิกัดหรือย้ายจากจุดที่ทราบ) ที่ตั้งเป้าหมายที่ใช้ในคำขอยิง กำหนดให้เลยไปข้างหลัง ๒๐๐ เมตร ตามแนว ต.-ม. ระยะ ๒๐๐ เมตร คือระยะปลอดภัย เพื่อให้ ผตน.มั่นใจว่า ลย.นัดแรกจะตกไกลกว่าเป้าหมายออกไป และพ้นทหารฝ่ายเดียวกัน

                    ๒) เมื่อ ลย.นัดแรกตกลงพื้น ผตน.ประมาณระยะจาก ลย.ถึงเป้าหมาย ลย.ที่แก้ในช่วงนี้จะเป็น ครึ่งหนึ่ง ของที่กะประมาณได้ ผตน.จะใช้วิธีการแบ่งครึ่งเช่นนี้เรื่อยไป จนกระทั่งถึงลดระยะ ๒๕ ก็ทำการลดครั้งละ ๒๕ จนกระทั่งถูกเป้าหมาย หรือ ลย.มีผลการตรวจเป็นตกหน้า

                     ๓) ผตน.จะดำเนินขั้นการยิงหาผลเมื่อ ลย.ถูกเป้าหมายหรือได้ระยะเป้าหมาย (ทำอันตรายเป้าหมายได้) ถ้าในระหว่างภารกิจ ผตน.ผลการตรวจเป็น ลย.ตกหน้า ผตน.จะเริ่มปรับแบบใช้ห้วงควบ ไม่ใช้การแก้ทางระยะน้อยกว่า ๒๕ เมตร ถ้า ผตน.แก้เป็นลด ๒๕ เมตรแล้ว ลย.ตกหน้าเป้าหมาย ก็จะเข้าขั้นการยิงหาผลเพราะลักษณะนี้การยิงจะทำอันตรายเป้าหมายได้แล้ว


ง. วิธีปรับ ลย.ส่องแสง

           ลย.ส่องแสงขนาด ๘๑ มม. ออกแบบเพื่อให้ ลย.ระเบิดในอากาศและส่องสว่างด้วยพลุที่ติดกับร่ม พลุส่องแสงจะเผาไหม้ประมาณ ๗๕ วินาที และตกด้วยอัตราความเร็วประมาณ ๔ เมตร ต่อวินาที การส่องสว่างทางพื้นดินจะได้มากที่สุดเมื่อ ลย.แตกระเบิดในอากาศสูงพอที่พลุส่องสว่างเผาไหม้จนหมด ก่อนที่จะตกถึงพื้น การแก้ตำแหน่งที่การระเบิดให้สัมพันธ์กันกับพื้นที่ที่ต้องการส่องสว่างขึ้นอยู่กับความเร็วลมและลักษณะภูมิประเทศ หลักมูลฐานที่เกี่ยวข้องกับการปรับการระเบิด จะเกี่ยวพันกับข้าศึกและหน่วยทหารฝ่ายเดียวกันคือ การไม่ให้เกิดภาพเงาของทหารฝ่ายเดียวกันปรากฏแก่ข้าศึกพลุส่องแสงจะตกลงด้วยลักษณะแนวเฉียง ดังนั้น ผตน.ต้องใช้ลักษณะของทิศทางลมและความเร็วลมที่มีอยู่ในขณะนั้นทำการปรับการส่องสว่างที่ดีที่สุดในพื้นที่ที่ต้องการคือ การปรับให้การระเบิดเกิดขึ้นโดยให้พลุส่องสว่างตกเฉียงข้ามพื้นที่และคล้อยไปทางด้านหลัง สัมพันธ์กับตำบลที่อยู่ของ ผตน.

           ๑. การปรับทางระยะและทางข้าง ด้วยเหตุที่การส่องสว่างมีขนาดเกิดพื้นที่อยู่แล้วการแก้ทางข้างและทางระยะจึงไม่ควรน้อยกว่า ๒๐๐ เมตร

           ๒. การปรับสูงกระสุน (ลย.) เพื่อให้ได้ผลสูงสุดในการส่องสว่าง จึงให้ทำการปรับให้ระเบิดเผาไหม้หมดก่อนตกถึงพื้น การแก้ความสูงของการระเบิดควรจะอยู่ในช่วง ๕๐ เมตร การเปลี่ยนแปลงเวลาการเผาไหม้จะมีผลอยู่ในช่วงความสูงของการระเบิด ผตน.การแก้ความสูงของการระเบิดเป็น สูงขึ้น หรือ ต่ำลง เป็นจำนวนเมตร (จำไว้ว่าสูงขึ้นหรือต่ำลงใช้ระยะ ต.-ม. มาคิด) การปรับทางสูงสามารถกระทำได้ ๒ วิธีตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ๒ กรณีได้แก่ การที่พลุส่องสว่างไหม้หมดเหนือพื้น และพลุส่องสว่างยังคงไหม้อยู่เมื่อตกถึงพื้นดิน

                ก) กรณีพลุส่องแสงไหม้หมดในอากาศ ผตน.ทำการวัดมุมเป็นมิลเลียม ที่พลุส่องแสงดับกับพื้นดิน แล้วใช้สูตรมิลเลียมคำนวณหาการแก้ให้ “ต่ำลง” ตัวอย่าง ผตน.อยู่ห่างจากเป้าหมาย ๑,๐๐๐ เมตร วัดมุมที่เกิดขึ้นระหว่างจุดที่พลุส่องแสงดับกับพื้นดินได้ ๘๐ มิลเลียม


ผตน.แก้ ต่ำลง ๑๐๐ เพราะการแก้ใช้ช่วง ๕๐ เมตร และ ๘๐ เมตร มีค่าใกล้เคียง ๑๐๐ เมตร มากกว่าปรับเข้าหา ๕๐ เมตร

                ข) กรณีพลุส่องสว่างดับบนพื้นดิน ผตน.นับเวลาเป็นวินาทีที่พลุส่องแสงลุกไหม้บนพื้นดินจนกระทั่งดับ แล้วคูณด้วยเวลาเป็นวินาที กับอัตราเร็วในการตก ๔ เมตร/วินาที เอาผลที่ใกล้เคียง ๕๐ เมตรมาเป็นการแก้ทางสูง

           ตัวอย่าง ผตน.นับเวลาตั้งแต่พลุไหม้บนพื้นดินถึงดับได้ ๓๐ วินาที ก็เอา ๓๐ คูณ ๔ ได้ ๑๒๐ เมตร การแก้ไข สูงขึ้น ๑๐๐ (เปรียบเทียบ ๑๒๐ กับ ๑๕๐ ค่า ๑๒๐ ใกล้เคียง ๑๐๐ มากกว่าจึงใช้ ๑๐๐)

           การแก้ต่อมา ผตน.ส่งรายการที่เปลี่ยนแปลงจากคำขอยิงเริ่มแรกรวมทั้งการแก้ไขในการปรับการยิงไปยัง ศอย. (ศูนย์อำนวยการยิง) ในแบบฟอร์มข่าวสาร ที่รู้กันว่าเป็นการแก้ต่อมาประกอบด้วยข้อความดังต่อไปนี้.-

                     ๑). การเปลี่ยนแปลงคำขอยิง ทันทีที่มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะเป้าหมายหรือวิธีโจมตี

                     ๒). การแก้ทางข้าง เพื่อย้ายตำบลกระสุน (ลย.) ตก ให้มาอยู่ในแนว ต.-ม.

                     ๓). การแก้ทางระยะ เพื่อสถาปนาหรือดำเนินกรรมวิธีสร้างห้วงควบหรือแบ่งครึ่งระยะระหว่าง ลย.และเป้าหมายเมื่อได้ปรับแบบวิธีต่อระยะหน้า

                     . การเปลี่ยนแปลงวิธีการควบคุม เช่น ยกเลิกตามคำสั่งข้าพเจ้า หรือยิงหาผล

                     . ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ถ้า ผตน.ต้องการให้ยิงเช่นเดียวกับ ลย.ที่ยิงไปแล้ว (หลักฐานเดิม) อีกครั้งให้ใช้คำว่า “ยิงซ้ำ” ถ้าต้องการย้ายการยิงหาผล ให้แจ้งการแก้ไขและติดตามด้วยคำว่า “ยิงซ้ำ” เช่น “ซ้าย ๒๐ เพิ่ม ๕๐ ยิงซ้ำ”

 

 

ฉ. การเฝ้าตรวจ

           กรณีที่ ผตน.ได้ร้องขอการยิงและได้รับการยิงหาผลให้แล้ว หากเห็นว่าไม่จำเป็นต้องแก้ไขอย่างใดอีก ผตน.แจ้งว่า “จบภารกิจ” และแจ้ง ศอย.เพิ่มเติมพิเศษด้วยว่าเป้าหมายได้รับอันตรายอย่างใดบ้าง ตัวอย่าง “จบภารกิจ ข้าศึกสูญเสีย ๒๐ หลุมบุคคล ๔ แห่งถูกทำลาย” ถ้าต้องการให้ ศอย.กำหนดหมายเลขเป้าหมายให้ด้วย เพื่อใช้เป็นจุดอ้างต่อไป ผตน.แจ้งดังนี้ “บันทึกเป้าหมาย จบภารกิจ” และตามด้วยรายการเพิ่มเติมอื่น ๆ ที่จะให้ ศอย.ทราบถึงผลเสียหายที่เป้าหมายได้รับจากผลการยิงนั้น

 

-----------------------