แผ่นจดระยะปืนกล เอ็ม.๖๐

แผ่นจดระยะปืนกล เอ็ม.๖๐

๑. แผ่นจดระยะ คือบันทึกหลักฐานการยิงที่จำเป็นในการยิงต่อเป้าหมายที่เลือกไว้ล่วงหน้า ภายในเขต การยิงระหว่างระยะเวลา ทัศนวิสัยจำกัด เช่น พื้นที่สำคัญทางยุทธวิธีในระหว่างระยะเวลาที่กล่าวมาแล้ว พื้นที่ ดังกล่าวหมายถึงเส้นทาง ช่องทางการเข้ามา ที่ตั้งอาวุธสนับสนุนของข้าศึกที่คาดไว้ แนวป้องกันขั้นสุดท้ายและเขตการยิงกวาด แผ่นจดระยะอาจใช้เป็นหลักฐานในการยิงเป้าหมายในระหว่างระยะเวลาทัศนวิสัยดีได้ด้วย และยังเป็นเครื่องช่วยให้ ผบ.หมวด เตรียมการยิงของหมวดอีกด้วย

๒. หลักฐานของพื้นที่ภายในระยะเขตการยิงหลัก ต้องพิจารณาเป็นอันดับแรก ปืนที่ติดตั้งบนขาหยั่งย่อม ต้องใช้เป็นหลักในการที่จะต้องครอบคลุมเขตการยิงหลักนี้ ส่วนเป้าหมายที่เลือกไว้ล่วงหน้าในเขตการยิงรอง จะทำการยิงในระหว่างระยะเวลาที่ทัศนวิสัยจำกัด โดยการใช้วิธีแสวงเครื่อง

๓. แผ่นจดระยะ ประกอบด้วย ๒ ส่วน คือ ภาพร่างของเขตการยิงลากตรงไปยังเป้าหมาย และตอน ของหลักฐานการยิง ซึ่งมีหลักฐานที่จำเป็นในการยิงเป้าหมายเหล่านี้ ในระหว่างระยะเวลาทัศนวิสัยจำกัด ภาพร่างนี้ไม่ต้องให้ถูกมาตราส่วน แต่หลักฐานที่เกี่ยวข้องของพื้นที่นั้นต้องแน่นอนตามความจริง


๔.แผ่นจดระยะทำขึ้น ๒ แผ่น แผ่นหนึ่งอยู่ ณ ที่ตั้งปืนและอีกแผ่นหนึ่งส่งไปให้ ผบ.หมวด แผ่นจดระยะที่ สมบูรณ์จะต้องเตรียมไว้ ณ ที่ตั้งยิงจริง ส่วนแผ่นจดระยะที่สมบูรณ์เป็นบางส่วนจะเตรียมไว้ ณ ที่ตั้งยิงสำรอง และที่ตั้งยิงเพิ่มเติม ในการเตรียมทำแผ่นจดระยะนั้น พลยิงจะได้รับการช่วยเหลือเท่าที่จำเป็นจากพลยิงผู้ช่วย และผู้บังคับหมู่ แผ่นจดระยะจะต้องเตรียมจัดทำทันทีที่เมื่อปืนเข้าที่ตั้งยิง โดยไม่คำนึงถึงระยะเวลาที่อยู่ ณ ที่ตั้ง นั้น แผ่นจดระยะควรจะต้องแก้ไขปรับปรุงอยู่เสมอในระหว่างเวลาที่ยึดที่ตั้งอยู่ สัญลักษณ์ทางทหารตามรูปย่อมนำ มาใช้ในการเตรียมจัดทำแผ่นจดระยะ ลำดับขั้นในการเตรียมจัดทำแผ่นจดระยะจะสำเร็จลงได้โดยทำตาม ลำดับขั้นต่อไปนี้ แต่ไม่จำเป็นต้องทำตามลำดับหัวข้อก็ได้

๔.๑ จัดตั้งเรือนควงมุมส่าย

๔.๒ ตั้งปืนโดยให้ปากลำกล้องหันไปยังแนวป้องกันขั้นสุดท้าย ถ้าแนวป้องกันขั้นสุดท้ายยังไม่ได้รับมอบ ปากลำกล้องปืนควรจะหันไปยังกึ่งกลางเขตการยิง

๔.๓ เขียนสัญลักษณ์ของปืนลงในกึ่งกลางด้านล่างของแผ่นกระดาษ โดยให้ปลายลูกศรชี้ไปยังทิศทางของแนว ป้องกันขั้นสุดท้ายหรือกึ่งกลางเขตการยิงหลักโดยไม่มีแนวป้องกันขั้นสุดท้าย

๔.๔ ถ้าได้รับมอบแนวป้องกันขั้นสุดท้ายแล้ว ให้ลากเส้นไปยังแนวป้องกันขั้นสุดท้าย โดยปฏิบัติตามหัวข้อ ต่อไปนี้

๔.๕ ลากเส้นเขตจำกัดของการยิงหลักโดยไม่ต้องบรรจุแนวป้องกันขั้นสุดท้ายลงไปในร่างนั้น ไม่จำเป็น ต้องบันทึกหลักฐานของจุดจำกัดเขตนี้ลงในตารางบันทึกหลักฐานจนกว่าเป้าหมายจะปรากฏอยู่บนเส้นนี้

๔.๖ ลากเส้นจุดจำกัดของเขตการยิงรอง ซึ่งไม่ต้องมีแนวเขตการยิงหลักอยู่ในแผ่นจดระยะ

๔.๗ ลากเส้นและทำเครื่องหมายที่ตั้งหน่วยทหารฝ่ายเดียวกัน ซึ่งอยู่ข้างหน้าของขอบหน้าที่มั่น และอยู่ ในบริเวณของเขตการยิงของปืนกล

๔.๘ ลากเส้นลูกศรแสดงทิศเหนือแม่เหล็กจากฐานของเครื่องหมายปืนกล ชี้ไปในทางทิศเหนือแม่เหล็ก

๔.๙ จากที่ตั้งปืนวัดมุมภาคของทิศเหนือแม่เหล็กไปยังลักษณะที่สดุดตาสำคัญในภูมิประเทศซึ่งมีในแผนที่แล้ว ระยะห่างเป็นเมตร ระหว่างจุดทั้งสองที่ใส่เครื่องหมายลูกศรบนเส้นนี้ เพื่อเป็นเครื่องแสดงว่าทำมุมกับภาคของ ทิศเหนือแม่เหล็ก ถ้าลักษณะภูมิประเทศไม่สามารถหาได้แล้ว ที่ตั้งยิงอาจจะตั้งโดยใช้พิกัดเลข ๘ ตัว

๔.๑๐ หลักฐานที่ขอบมุมให้บันทึกหมายเลขปืน หน่วยสังกัดและวันเดือนปี ไว้ที่มุมหนึ่งของภาพร่างแผ่นจด ระยะ อย่าบันทึกหน่วยสังกัดให้สูงกว่ากองร้อย เพื่อรักษาความปลอดภัย

๕. การบันทึกหลักฐานพื้นที่เป้าหมาย

๕.๑ เมื่อได้รับแนวป้องกันขั้นสุดท้ายแล้วให้หาระยะการยิงกวาดสูงสุดของแนวป้องกันขั้นสุดท้ายเพื่อ ทำเครื่องหมายของปืน ปลายเส้นทำเป็นหัวลูกศร ระบายเงาให้หนาลงด้านในของแนวป้องกันขั้นสุดท้าย เพื่อเป็นเครื่องหมายแทนการขยาย การยิงกวาด ถ้ามีพื้นที่อับกระสุนในแนวป้องกันขั้นสุดท้าย ให้เว้นว่างไว้บันทึก ระยะจากขอบใกล้และขอบไกลของพื้นที่อับกระสุน หาระยะไกลสุดของการยิงกวาดที่จะทำได้บนแนวป้องกันขั้น สุดท้ายหามุมภาคของทิศเหนือแม่เหล็กของแนวป้องกันขั้นสุดท้าย บันทึกมุมภาคของทิศนี้ลงที่แนวป้องกันขั้นสุดท้าย บันทึกมุมสูงที่อ่านได้และกรอกหลักฐานที่จำเป็นในช่องที่ถูกต้องในตอนหลักฐาน แนวป้องกันขั้นสุดท้ายจะเขียนลง ในตอนหลักฐาน

ตอนบันทึกหลักฐาน


๕.๒ เลือกทิศทางหลักในการยิงในเวลากลางวัน และทิศทางหลักในการยิงในเวลากลางคืน แล้ว หมายกึ่งกลางของพื้นที่เหล่านี้ลงบนแผ่นจดระยะ ด้วยตัวเลขตามที่กล่าวไว้ข้างล่างหามุมทิศที่อ่านได้ของพื้นที่ที่ ได้หมายไว้ และกรอกหลักฐานในช่องที่ถูกต้องในตอนหลักฐาน

๕.๓ ถ้าได้รับเขตการยิงกวาดให้หามุมที่จะต้องตั้ง ซึ่งจะทำให้การยิงกวาดกระทำได้มากที่สุดระหว่าง ปากลำกล้องปืนถึงพื้นที่เปลี่ยนแปลงอันแรกในภูมิประเทศ ในระหว่างจุดจำกัดเขตหลัก บันทึกมุมสูงที่อ่าน ได้ลงในช่องของตอนหลักฐาน

๕.๔ ภายหลังที่ได้วางปืนไปยังที่หมายอื่น ๆ ในเขตการยิงหลัก แล้วหามุมทิศและมุมสูงที่อ่านได้ของ พื้นที่เหล่านั้น แล้วบันทึกลงในตอนหลักฐาน

๕.๕ พื้นที่การยิงกวาด คงปฏิบัติเช่นเดียวกับพื้นที่เป้าหมายและเขียนลงในตอนหลักฐาน

๕.๖ พื้นที่เป้าหมายในเขตการยิงหลักต้องทำเครื่องหมายลงบนแผ่นจดระยะ โดยเขียนตัวเลขในวงกลม เมื่อได้รับมอบแนวป้องกันขั้นสุดท้ายแล้วจะเป็นเป้าหมายหมายเลขหนึ่ง ทิศทางหลักของการยิงเวลากลาง วันเป็นเป้าหมายหมายเลขสอง และทิศทางหลักของการยิงเวลากลางคืนเป็นเป้าหมายหมายเลขสาม ในเมื่อไม่ มีกำหนดแนวป้องกันขั้นสุดท้าย ทิศทางหลักของการยิงเวลากลางวันจะกลายเป็นเป้าหมายหมายเลขหนึ่ง และทิศทางหลักของการยิงเวลากลางคืนจะกลายเป็นเป้าหมายหมายเลขสอง เป้าหมายที่เหลืออยู่จะได้รับหมายเลข ต่อ ๆ มาตามลำดับ ความเร่งด่วนของเป้าหมายทิศทางหลักของการยิงเวลากลางวันและทิศทางหลักของการยิง เวลากลางคืนจะเขียนลงในตอนหลักฐาน

๕.๗ ในเมื่อต้องใช้วิธีการแสวงเครื่องเพื่อใช้ยิงต่อเป้าหมาย ต้องเขียนรูปจำลองแสวงเครื่องลง บนแผ่นจดระยะที่ด้านบนของเป้าหมายที่เขียนไว้แล้ว ใช้คำว่า "หลักเล็ง" แล้วต่อด้วยตัวเลขบันทึกไว้ในตอน หลักฐาน

๕.๘ เป้าหมายที่เลือกไว้ล่วงหน้าในเขตการยิงรอง ให้เขียนอยู่ในแผ่นจดระยะที่ด้านบน เป้าหมาย เหล่านี้ไม่ต้องบันทึกลงไป หลักฐานตัวเลขของเป้าหมายเหล่านี้จะบันทึกไว้ในตอนหลักฐาน

วิธีวางปืนเพื่อยิง

เทคนิคในการวางปืนเพื่อทำการยิงไปยังพื้นที่เป้าหมายที่เลือกไว้แล้ว ในระหว่างระยะเวลาทัศนวิสัย จำกัดจะได้ผลเมื่อหลักฐานถูกต้องเท่านั้น หลักฐานการยิงเหล่านี้จะหาได้จากการวางปืนไปยังเป้าหมาย ถ้าสามารถกระทำได้ การวางปืนต้องทดลองเพื่อให้ได้ความจริงโดยการยิงและปรับการยิงไปยังเป้าหมายที่เลือก ไว้แล้วเหล่านี้ การหาหลักฐานการยิงมี ๒ วิธี เพื่อทำการยิงต่อเป้าหมายที่เลือกไว้แล้วในระหว่างระยะเวลาทัศนวิสัยจำกัดคือ การอ่านหลักฐานจากราวส่ายปืน เรือนควงมุมส่ายและควงมุมสูง และการใช้การแสวงเครื่อง

- ลำดับขั้นการปฏิบัติ เบื้องต้นก่อนที่จะได้หลักฐานทางทิศและทางระยะ

๑ ตำแหน่งที่อยู่ของเรือนควงมุมส่ายและควงมุมสูง ให้หมุนควงมุมสูงเข้าหาตัวให้ได้มากที่สุดเท่าที่ จะหมุนได้ แล้วหมุนกลับ ๒ รอบ ตรวจมาตรามุมส่ายให้ตั้งอยู่ที่ ๐ เสียก่อน แล้วหลังจากนั้นหมุนกลับ ๒ รอบ ควงมุมส่ายอาจจะตั้งตรงตำแหน่งในเวลากลางคืนได้โดยหมุนควงมุมส่ายเข้าหาตัวให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้แล้ว หมุนคืนกลับไป ๕๐ คลิ๊ก (๒ รอบ)

๒) การวางปืนทางทิศ การวางปืนให้ตรงทิศในเมื่อได้รับมอบแนวยิงป้องกันขั้นสุดท้ายแล้ว กระทำโดยยึดคันเลื่อนราวส่ายปืนไปข้างหนึ่งข้างใด คือให้ตั้งทางซ้ายสุดหรือขวาสุด ซึ่งขึ้นอยู่กับด้านข้างของเขตแนวป้องกันขั้นสุดท้ายที่ได้รับมอบ ยกขาหยั่งหลังแล้วเลื่อนขาหยั่งไปจนกว่าปากลำกล้องปืนเล็งไปยังแนวป้องกันขั้นสุดท้าย ถ้าแนวป้องกันขั้นสุดท้ายยังไม่ได้รับมอบ ปืนจะวางอยู่ในทิศทางของกึ่งกลางเขตการยิงหลัก ในกรณีนี้ให้ชิด ขอบซ้ายของเลื่อนราวส่ายปืนให้อยู่ที่ขีด "๐" บนราวส่ายปืน ขอบซ้ายของ เลื่อนราวส่ายปืนย่อมใช้เป็นเครื่องชี้มาตรา เสร็จแล้วยกขาหยั่งหลังและเลื่อนขาหยั่งจนกระทั่งปากลำกล้องปืนวางตรงไปยังกึ่งกลางเขตการยิง

๓) เมื่อปืนได้วางตรงทิศเรียบร้อยแล้ว ต้องทำขาหยั่งให้แน่นโดยกดพลั่วขาหยั่งให้ฝังแน่นกับดินหรือ ใช้กระสอบทรายวางกดทับลงไปบนพลั่วขาหยั่ง การปฏิบัติเช่นนี้เพื่อให้ปืนมีความมั่นคงสูง และเป็นการป้องกัน อุบัติเหตุในการที่ขาหยั่งจะเคลื่อนที่

- การอ่านทิศทาง หลักฐานทางทิศที่ได้รับจะต้องบันทึกไว้ทุกเป้าหมายภายในเขตการยิงหลัก เว้นแต่หลักฐานของแนวป้องกันขั้นสุดท้าย เพราะแนวป้องกันขั้นสุดท้ายไม่ต้องมีหลักฐานทางทิศ เพราะเลื่อนราวส่ายปืน ต้องตั้งอยู่ที่ขวาหรือซ้ายสุดของราวส่ายปืนอยู่แล้ว การที่จะได้มาซึ่งหลักฐานทางทิศที่อ่านได้ของเป้าหมายอื่น ๆ นอกเหนือจากแนวป้องกันขั้นสุดท้าย กระทำดังนี้

๑) ปล่อยคันบังคับเลื่อนราวส่ายปืนไปตามราวส่ายปืนให้หลวม แล้วเลื่อนก้านเลื่อนราวส่ายปืนไป ตามราวส่ายปืน จนกระทั่งปืนวางตรงไปยังกึ่งกลางของเป้าหมายเฉพาะตำบล และปีกข้างหนึ่งข้างใดของเป้า หมายที่เป็นแนว

๒) ขันเลื่อนราวส่ายปืนเข้ากับราวส่ายปืน แล้วอ่านมุมทางทิศจากมาตราบนราวส่ายปืน ถ้าขอบซ้าย ของเลื่อนราวส่ายปืนอยู่ที่ขีดด้านซ้ายของขีด ๐ บนราวส่ายปืน มุมทิศที่อ่านได้จะต้องจะต้องบันทึกไว้ว่า "ขวา" แล้วต่อด้วยจำนวนของมิลเลียม ปากลำกล้องปืนเลื่อนไปทางขวา เมื่อขอบซ้ายของเลื่อนราวส่ายปืนเลื่อนมาอยู่ ทางขวาของขีด ๐ มุมทิศที่อ่านได้จะบันทึกไว้ว่า "ซ้าย" แล้วต่อด้วยจำนวนมิลเลียม (ปากลำกล้องปืนเลื่อน ไปทางซ้าย)

- การอ่านระยะ

๑) หลังจากได้มุมทิศที่อ่านได้ของที่หมายแล้ว ก่อนที่จะเลื่อนไปวัดที่หมายอื่นต่อไป ต้องหามุมสูงที่ อ่านได้ก่อนการที่จะได้มานี้ ปืนต้องวางเล็งตรงฐานของที่หมายเสียก่อน

๒) มุมที่อ่านได้จะได้มาจากมาตรา ๒ มาตรา ส่วนแรกจะได้มาจากมาตราที่สลักไว้บนแกนเกลียวแกนมุมสูงตอนบน ส่วนที่สองจะได้รับจากมาตราที่สลักไว้ที่ควงมุมสูง โดยใช้เข็มเป็นเครื่องชี้บอก มุมสูงที่อ่านได้ ทั้งสองส่วนนี้ แยกกันโดยใช้เส้นแบ่ง (/) เมื่อจะบันทึก

๓) มาตราที่สลักอยู่ที่แกนเกลียวมุมสูงตอนบนเป็นขีด แบ่งไว้ขีดละ ๕๐ มิลเลียม ตั้งแต่ ลบ ๒๐๐ มิลเลียม จนถึง บวก ๒๐๐ มิลเลียม มีเส้นขีดขวางใต้ขอบตัวเลขทุกตัว และเครื่องหมายบวกหรือลบข้างบนทุกตัวเลข ยกเว้น "๐" เพราะศูนย์ไม่ต้องมีเครื่องหมายในการที่ดูมุมสูงที่อ่านได้ พลยิงควรลดศีรษะลงจนกระทั่งแลเห็นขีดด้านบนควงมุมสูง การอ่านส่วนแรกต้องอ่านตัวเลขและเครื่องหมายบวกหรือลบข้างบนของเส้นขีดดรรชนีที่เป็นเส้นแรก

๔) มาตราบนควงมุมสูงเป็นขีด ๆ ละ ๑ มิลเลียม รวมทั้งหมด ๕๐ มิลเลียม โดยนำแบ่งเป็นขีด ๆ ไว้พร้อมกับมีเข็มดรรชนี การอ่านทั้งหมดต้องบันทึกว่า ลบ ๕๐/๓

๕) ในการตั้งมุมสูงที่อ่านได้ ลบ ๕๐/๓ ให้กับเรือนควงมุมส่ายและควงมุมสูงนั้น ให้ใช้มือหมุนควง มุมสูงจนกว่าจะเห็นขีดทางระดับข้างล่าง -๕๐ แล้วตั้งควงมุมสูงให้เข็มดรรชนีชี้ที่ขีด ๓

- เพื่อให้แน่ใจว่ามุมสูงที่อ่านได้ถูกต้องกับเป้าหมาย พลยิงควรจะยิงและปรับการยิงลงบนเป้าหมาย

- หลักฐานการยิงเป้าหมายอาจจะหาได้โดยปราศจากการยิงและการปรับการยิง ตามที่อ้างในข้อ ก่อนก็ได้ เรื่องนี้จะกระทำได้โดยใช้วิธีการยิงโดยไม่ใช้กระสุน ในการวางปืนเมื่อใช้วิธีนี้ระยะระหว่างเป้าหมายจะต้องใช้วิธีกะระยะด้วยสายตา แล้วนำระยะที่กะได้มาตั้งที่ศูนย์หลังของปืน จัดให้ปืนวางเล็งตรงกึ่งกลาง ฐานของเป้าหมาย เสร็จแล้วจะได้มุมทิศและมุมสูงที่อ่านได้ การหาระยะยิงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพราะข้อผิด พลาดใด ๆ จะมีสาเหตุเกิดจากการฝึกในเรื่องทางระยะในเมื่อเป้าหมายนั้นถูกยิงแล้วเสมอ วิธีการยิงไม่ใช้ กระสุนเพื่อทดสอบหลักฐานที่หาได้ จะนำมาใช้ในเมื่อไม่สามารถจะทำการยิงจริงได้เท่านั้น หรือในเมื่อภาวะ- การณ์ที่ถ้ายิงแล้วจะเป็นการเปิดเผยที่ตั้งของปืน

การยิงเป้าหมายในอากาศ

การยิงเป้าหมายในอากาศ ต้องใช้ท่ายิงประทับสะโพก หรือท่ายิงกราดคลายปืน เมื่อปืนติดตั้งบนขาหยั่ง หรือบนยานพาหนะ เมื่อสามารถที่จะหาได้ควรใช้กระสุนส่องวิถีล้วน เพื่อให้มีความง่ายต่อการตรวจการณ์และ การปรับการยิง พลยิงจะยิงเป้าหมายในอากาศให้ถูกเป้าหมาย จะต้องทำการเล็งข้างหน้าของเป้าหมาย ณ จุดหนึ่ง ๆ ซึ่งเป้าหมายและกระสุนวิถีจากปืนจะมาพบกันในเวลาเดียวกัน พลยิงต้องตรวจเส้นทางของกระสุนส่อง วิถี และปรับการยิงตามความจำเป็น

-------------------------