ความรู้เรื่องจรวดดรากอนทั่วไป

อาวุธนำวิถีต่อสู้รถถังดรากอน เอ็ม.๔๗

 

ความรู้เรื่องจรวดดรากอนทั่ว ๆ ไป

           เมื่อ ๑๐ กว่าปีที่แล้ว คือตั้งแต่ปี ๑๙๗๐ - ๑๙๘๐ กองทัพบกสหรัฐฯ ไม่มีอาวุธที่ยิงได้ด้วยทหารเพียงคนเดียว และสามารถปราบรถถังข้าศึกได้อย่างเด็ดขาด และรวมทั้งสามารถทำลายเป้าหมายที่แข็งแรงได้ด้วย ดังนั้น ทบ.สหรัฐฯ จึงได้คิดค้นจรวดนำวิถีดรากอนขึ้นใช้

           จรวดดรากอนเป็นจรวดที่ใช้ต่อสู้รถถังได้อย่างสมบูรณ์แบบ,เบา สามารถใช้ยิงได้ด้วยคน ๆ เดียว สามารถใช้ปราบรถถังได้ทุกขนาด,ทุกสนามรบ เป้าหมายที่แข็งแรง,ป้อมปืน,โรงเก็บรถถังหรือรวมทั้งรถถังที่ จอดรวมกันเป็นกลุ่มก้อนได้อย่างเด็ดขาด ถ้าพลยิงจรวดได้รับการฝึกที่ถูกต้อง จะยิงชนิดนัดเดียวได้ผล (FIRST ROUND HIT) นั้น ทำได้ถึง ๙๐% แม้แต่พลประจำปืนใหม่ ๆ ไม่เคยฝึกเลย เพียงแต่แนะนำนิด ๆ หน่อย ๆ ก็ยิงได้แม่นยำถึง ๔๐% ทบ. สหรัฐฯ ได้สร้างอาวุธต่อสู้รถถังเพื่อให้เป็นมาตรฐาน (CATEGORIZE) และใช้เป็นแนวความคิดที่ถูกต้องร่วมกันแยกจัดเป็นระยะและอาวุธเป็นหลักดังนี้คือ.-

           ๑. อาวุธต่อสู้รถถัง ขนาดหนัก มี

                  - ปรส.๑๐๖ มม.

                  - โทว์ (คือจรวดยิงจาก "ท่อ" ๑ ควบคุมด้วยกล้องเล็ง คือ เส้นกากบาทในกล้องและบังคับด้วย เส้นลวด ๒ เส้น)

           จรวดโทว์ สามารถยิงให้ถูกเป้าหมายชนิดนัดเดียวได้ผล (ENGAGE) ได้ถึงระยะ ๓,๗๕๐ เมตร

           ๒. อาวุธต่อสู้รถถัง ขนาดกลาง มี

                  - ปรส. ๙๐ มม.

                  - จรวดดรากอน เอ็ม ๔๗

           อาวุธดังกล่าวยิงนัดเดียวได้ผล (ENGAGE TARGETS) ในระยะ ๑,๐๐๐ เมตร

           ๓. อาวุธต่อสู้รถถัง ขนาดเบา มี

                  - จรวดขนาด ๖๖ มม.หรืออาวุธชนิดเดียวกันนี้ แม้จะใช้ยิงจากปืนเล็กและรวมทั้งกระสุนชนิด ๔๐ มม. 

           ถ้าหาก ผบ.หน่วยได้ใช้อาวุธดังที่กล่าวมาแล้วอย่างถูกต้อง  ก็จะสามารถต่อสู้รถถังได้เป็นอย่างดีและลึกซึ้ง (คือลึกซึ้งทั้งความคิด และลึกซึ้งทั้งในภูมิประเทศในการรบด้วยวิธีรับ)

           ดังกล่าวมาแล้วจรวดดรากอนเป็นอาวุธต่อสู้รถถังขนาดกลาง

                  - บังคับควบคุม (COMMANDS) เข้าหาเป้าหมายเส้นกาบาทในกล้องเล็ง

                  - และนำเข้า (DIRECTED TO) เข้าหาเป้าหมายด้วยคำสั่งของเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ (ELECTRICALCOMMANDS) ที่ส่งผ่านทางสาย ๓ สาย (เคลือบติดกัน) ที่คลี่ออกจากทางด้านท้ายของลูกจรวดในขณะที่แล่นไปในอากาศ

 

           ลูกจรวดมี ๒ ส่วนคือ

                  - เครื่องเล็งและควบคุมวิถี (TRACKER)

                  - ตัวลูกจรวด (ROUND)

 

ระบบอาวุธนำวิถีต่อสู้รถถัง เอ็ม.๔๗ (DRAGON)

รูปที่ ๑ อาวุธนำวิถีต่อสู้รถถังดรากอน เอ็ม.๔๗