บทที่ ๙ ศูนย์อำนวยการยิง

บทที่ ๙

ศูนย์อำนวยการยิง

 

กล่าวทั่วไป การอำนวยการยิงคือ การใช้วิธีการทางเทคนิคในการยิงให้แก่หน่วยยิง

           ก. ศูนย์อำนวยการยิง (ศอย.) เป็นส่วนหนึ่งของหน่วย ค. ซึ่งมีหน้าที่อำนวยการยิงและเป็นที่บังคับการ ศอย.นำเอาคำขอยิงมาคำนวณหาหลักฐานยิงและออกคำสั่งยิงไปยังปืน สามารถเรียกได้ว่าเป็นส่วนสมองหรือศูนย์ประสานของหน่วย ผบ.หมวดใช้การควบคุมหน่วยได้โดยผ่านทาง ศอย.เพื่ออำนวยให้เกิดความสะดวกในการควบคุมการยิง, รวมอำนาจการยิง และการดำเนินกลยุทธทั้งสิ้นของหมวด เมื่อตอน ค.ได้รับมอบภารกิจให้ไปสมทบกองร้อยปืนเล็ก หรือต้องแยกออกไปจากหมวด จะต้องตั้ง ศอย.ของตนเองขึ้น

           ข. ที่ตั้ง ศอย.ควรตั้งใกล้กับส่วนยิงพอสมควร โดยให้สามารถออกคำสั่งด้วยวาจาไปยังปืนได้ในเมื่อการติดต่อทางสายขัดข้อง อย่างไรก็ดีไม่ควรจะอยู่ในที่ที่ขัดขวางต่อการปฏิบัติการยิงของปืนด้วย

การทำงานของ ศอย.

           ก. วงรอบการทำงาน ศอย.เริ่มวงรอบการทำงานเมื่อได้รับคำขอยิงจาก ผตน. ก็นำมาจดบันทึกแล้วทวนคำขอยิงไปยัง ผตน.ด้วยพนักงานวิทยุ/โทรศัพท์ การบันทึกนั้นถูกบันทึกลงบนแผ่นบันทึกเจ้าหน้าที่คำนวณ และกรุยลงไปบนแผ่นกรุยจุด ผู้อำนวยการยิงทำการจดที่ตั้งและลักษณะของเป้าหมายแล้วนำมาพิจารณาในการกำหนดปืนที่จะทำการยิง, จำนวนนัด, ชนิดกระสุนและชนวนที่จะใช้ และออกเป็นคำสั่งยิงไปยังเจ้าหน้าที่คำนวณ เพื่อดำเนินกรรมวิธีต่อไป

           พนักงานวิทยุ/โทรศัพท์ส่งข้อความที่สำคัญในคำสั่งของผู้อำนวยการยิงไปยัง ผตน. (ข่าวถึงผู้ตรวจ การณ์หน้า) เจ้าหน้าที่คำนวณหาหลักฐานยิงแล้วส่งไปยังปืนต่าง ๆ เป็นคำสั่งยิง ผบ.หมวดซึ่งอยู่ที่ ศปยส.เห็นว่าถูกต้อง ผบ.หมวดจะไม่แจ้งอะไร วิธีนี้เรียกว่าระบบ "เงียบรับฟัง"

           ข. การประกอบกำลัง

                ๑. ความต้องการในการปฏิบัติงาน เพื่อให้การทำงานได้ผล จึงแบ่งงานออกเป็น ๓ ส่วน คือ

                     ก) ผู้อำนวยการยิง  มีหน้าที่ในการกำกับดูแลการทำงานของเจ้าหน้าที่ใน ศอย. พิจารณาคำขอยิงเพื่อไตร่ตรองถึงความเหมาะสมต่อเป้าหมายที่หน่วยจะทำการยิง ถ้าตกลงใจว่ายิงก็นำมาตัดสินว่าจะปฏิบัติภารกิจอย่างไร จึงออกคำสั่งให้ทำการยิง ทำการบันทึกลงในแผ่นบันทึกหลักฐานยิง

                     ข) เจ้าหน้าที่คำนวณ ทำการหาหลักฐานยิงจากแผ่นกรุยจุดและสมุดตารางยิง ส่งรายการต่าง ๆ เป็นคำสั่งยิง ทำการบันทึกหลักฐานลงบนแผ่นบันทึกเจ้าหน้าที่คำนวณ จนจบภารกิจ

                     ค) พนักงานวิทยุ/โทรศัพท์ ดำรงการติดต่อสื่อสารระหว่าง ศปยส. และ ผตน. ส่งข่าวไปยัง ผตน. (ข้อความที่ ผตน.จำเป็นต้องทราบ เช่น หมวด กระสุนระเบิด ๓ นัด เป้าหมาย กก. ๑๐๐๑)

                ๒. ศอย.ของหมวด ปกติผู้อำนวยการยิงของ ศอย.ของหมวดจะเป็นพันจ่าหมวดส่วนรอง ผบ.หมวดก็จะทำหน้าที่กำกับดูแลทั้ง ศอย.และส่วนยิง เจ้าหน้าที่คำนวณไม่มีบรรจุในอัตรา ปกติจะคัดเลือกเอาจากบุคคลที่มีความชำนาญในตอนใดตอนหนึ่งภายในหมวด ค.๘๑ มม.

                ๓. ศอย.ของตอน เมื่อตอน ค.แยกออกจากหมวด ผบ.ตอนคือผู้อำนวยการยิง โดยอาจใช้คนหนึ่งภายในตอนทำหน้าที่คำนวณ หรืออาจจะทำเองก็ได้

คำสั่งผู้อำนวยการยิง

           ก. ความมุ่งหมาย ก่อนที่ภารกิจยิงจะดำเนินไปถึงคำสั่งยิง ผู้อำนวยการยิงต้องเป็นผู้ตกลงใจในการใช้ เพื่อให้บังเกิดผลที่ต้องการในทางยุทธวิธี หลังจากนั้นจึงออกคำสั่งไปยังเจ้าหน้าที่คำนวณ

           ข. รูปของคำสั่งผู้อำนวยการยิง

                ๑. หน่วยที่ยิงหาผล จำนวน ค.ที่ใช้ยิงหาผลกำหนดเป็นหน่วย เช่น ตอน

                ๒. หน่วยที่ปรับ ผู้อำนวยการยิงกำหนดหน่วยที่ยิงปรับ

                ๓. ค.ที่ยิงปรับ ผู้อำนวยการยิงกำหนดหมู่ ค.ที่จะยิงปรับ

                ๔. หลักฐานการแก้ ผู้อำนวยการยิงพิจารณาจุดอ้างต่าง ๆ ที่จะใช้อ้างหรือย้ายการยิง ที่จะทำให้ผลการยิงได้ผลดีที่สุด

                ๕. ตัวแก้มุมทิศ มีความจำเป็นต่อการยิงหรือไม่ ผู้อำนวยการยิงพิจารณาการใช้

                ๖. การปรับกรวยพื้นยิง เป็นการกระทำให้กรวยพื้นยิงเป็นไปตามลักษณะของเป้าหมาย เป็นกรวยเปิดหรือย้ายกรวยพื้นยิง หรือเปิดกรวยยิงส่าย บางครั้งต้องปรับกรวยพื้นยิงขนานคู่ถ้ากล้องเล็งไม่ได้ปรับเส้นเล็ง

                ๗. ลูกระเบิดชนวน ที่ใช้ในการยิงเป้าหมายพิจารณาตามความเหมาะสม

                ๘. วิธียิง ในการยิงหาผลจะใช้กระสุนทำลายเป้าหมายจำนวนเท่าใด ผู้อำนวยการยิงเป็นผู้พิจารณาให้เพียงพอกับการทำลายเป้าหมาย

                ๙. ระยะตามทางลึกหรือหมายเขตการยิง ระยะตามทางลึกหมายถึง เป้าหมายเป็นแนวยาวออกไปหรือเข้ามา การยิงเป้าหมายชนิดนี้เราเรียกว่าการยิงตามทางลึก หมายเขตการยิงโดยทั่วไปจะอยู่กึ่งกลางเขตปฏิบัติการ ให้เป็นตำบลอ้างเมื่อ ผตน.ไม่สามารถกำหนดที่ตั้งเป้าหมายได้

                ๑๐. เวลาเริ่มให้ยิง พร้อมแล้วยิงหรือตามคำสั่ง

                ๑๑. หมายเลขจุดระดมยิง หมายถึงชื่อตำบลยิงที่กำหนดให้ใช้ตามแผนการปฏิบัติในภารกิจนั้น ๆ

ข่าวถึง ผตน.

           ก. กล่าวทั่วไป เป็นข่าวสารที่ต้องแจ้ง ผตน. ข่าวสารนี้จะปรากฏอยู่ในคำสั่งผู้อำนวยการยิง และมักมี ๓ หัวข้อท้ายของคำสั่งผู้อำนวยการยิงเสมอ ข่าวสารนี้ส่งทันทีหลังจากได้รับคำสั่งผู้อำนวยการยิง

           ข. ข่าวถึง ผตน.ประกอบด้วย

                ๑. หน่วยที่ใช้ยิงหาผล ผตน.ได้รับแจ้งถึงขนาดของหน่วยที่จะทำการยิงหาผล แต่ไม่ใช่ชื่อของหน่วยที่กำหนดให้ยิง

                ๒. การเปลี่ยนแปลงแก้ไข การเปลี่ยนแปลงแก้ไขจากการร้องขอของ ผตน. ต้องแจ้งให้ ผนต.ทราบตัวอย่าง เช่น ผตน.ร้องขอชนวนวีที หากผู้อำนวยการยิงสั่งยิงด้วยชนวนไวจะต้องแจ้งข่าวให้ ผตน.ทราบด้วย

                ๓. วิธียิง ผตน.ต้องรู้ว่าจะยิงหาผลอย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จำนวนของ ลย.ที่จะทำการยิงในครั้งนั้น ๆ

                ๔. หมายเลขเป้าหมาย กำหนดขึ้นตามคำขอของ ผตน.หรือผู้อำนาจสูงกว่า ใช้เพื่อเป็นจุดอ้างในการยิงต่อไปในอนาคต

 

คำสั่งยิง

           ก. กล่าวโดยทั่วไป คำสั่งยิงเป็นคำสั่งให้พลประจำปืน ทำการยิงโจมตีต่อเป้าหมาย คำสั่งเหล่านี้เกิดจากผลการคำนวณและตรวจสอบโดยผู้อำนวยการยิง คำสั่งยิงต้องเป็นไปตามลำดับ แบ่งออกเป็น ๒ ชนิด ได้แก่ คำสั่งยิงเริ่มแรก และคำสั่งยิงต่อมา

                ๑) คำสั่งยิงเริ่มแรก ประกอบด้วยข้อมูลที่จำเป็นในการยิงกระสุนนัดแรก หลังจากที่ได้รับคำขอยิง

                ๒) คำสั่งยิงต่อมา ประกอบด้วยการเปลี่ยนแปลงข้อมูลในการยิงที่เกิดจากการปรับแก้ตำบลกระสุนตก

           ข. คำสั่งยิงเริ่มแรก แบ่งออกเป็น ๘ ส่วน ดังต่อไปนี้

                ๑) ค.ที่ปฏิบัติตามคำสั่ง เป็นคำสั่งเพื่อให้ปืนต่าง ๆ เตรียมการยิงเช่น "หมวด"

                ๒) ชนิดของกระสุนและชนวน เป็นคำสั่งให้ใช้กระสุนและชนวนในการยิง เช่น "ระเบิดไว"

                ๓) ค.ที่ทำการยิง เป็นคำสั่งที่เจาะจงให้ ค.กระบอกใดกระบอกหนึ่งทำการยิง เช่น หมู่ ๒ หรือตอน

                ๔) วิธียิง เป็นคำสั่งที่บอกจำนวนนัดที่ยิงและคำแนะนำอื่น ๆ ที่ใช้ในการควบคุมการยิง เช่น "๑ นัดตามคำสั่งของข้าพเจ้า"

                ๕) มุมทิศ เป็นคำสั่งให้ ค.ทำการตั้งมุมทิศซึ่งจะทำให้การยิงไปยังทิศทางที่ต้องการ เช่น มุมทิศ ๒๘๒๕

                ๖) ส่วนบรรจุ เป็นคำสั่งให้ใช้ส่วนบรรจุตามที่ต้องการ เช่น "ส่วนบรรจุ ๒"

                ๗) เวลาชนวน เป็นคำสั่งให้ตั้งเวลาชนวนของกระสุนส่องแสง เช่น เวลาชนวนสองศูนย์จุดหกเวลาชนวนนี้ไม่ได้หมายถึงเวลาโคจรของกระสุน

                ๘) มุมสูง ให้เป็นจำนวน มิลเลียม เช่นมุมสูง ๑๑๕๒ เป็นคำสั่งให้ทำการยิงได้ทันที ที่ปืนพร้อมเว้นแต่ ศอย.จะสั่งว่า "ตามคำสั่งข้าพเจ้า"

           ค. คำสั่งยิงต่อมา มีเฉพาะส่วนที่มีการเปลี่ยนแปลงสำหรับมุมสูงจะต้องสั่งเสมอประกอบด้วย

                ๑) ค.ที่ทำการยิงและวิธียิง เมื่อมีการเปลี่ยนแปลง ค.ที่จะทำการยิงและวิธียิง

                ๒) มุมทิศ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงมุมทิศที่ใช้ตั้งกล้อง เช่น มุมทิศ ๒๘๓๕ เว้นมุมทิศเดิมไม่ต้องสั่ง

                ๓) ส่วนบรรจุ สั่งเมื่อมีการเปลี่ยนส่วนบรรจุเท่านั้น

                ๔) มุมสูง จะต้องสั่งเสมอแม้ว่าจะเป็นมุมสูงเดิม

                ๕) จบภารกิจ เมื่อได้ทำการยิงเสร็จสิ้นโดยสมบูรณ์แล้ว ก็จะสั่งว่า "หยุดยิงจบภารกิจ" หมู่ ค.ต่าง ๆ หันปืนไปในทิศทางวางพื้นยิง คือมุมทิศ ๒๘๐๐ มุมสูง ๑๑๐๐ หรือไปที่ฉากการยิงป้องกันที่มั่นขั้นสุดท้าย (ในการตั้งรับ)

           ง. การส่งคำสั่งยิง ส่วนต่าง ๆ ของคำสั่งยิงจะต้องส่งโดยไม่ชักช้า เจ้าหน้าที่คำนวณไม่ต้องคอยให้หาหลักฐานทั้งหมดเสร็จเสียก่อนจึงจะส่ง โดยเฉพาะใน ๔ ส่วนแรกของคำสั่งผู้อำนวยการยิงมุมทิศสั่งได้ทันทีที่อ่านได้จากแผ่นกรุยจุด ส่วนบรรจุและมุมสูงสั่งได้หลังจากอ่านในสมุดตารางยิง

           จ. การทวนคำสั่งและการแก้ไขคำสั่ง

                ๑) การทวนคำสั่ง เมื่อ ผบ.หมู่ไม่เข้าใจในส่วนใดในคำสั่งยิงจะต้องขอซ้ำคำสั่งยิงในส่วนนั้น เช่น ขอซ้ำมุมทิศ และทวนคำสั่งเพื่อความเข้าใจ เช่น "มุมทิศ ๒๘๐๐"

 

 

                ๒) การแก้ไขคำสั่งยิง

                     ก) คำสั่งยิงเริ่มแรก เมื่อเจ้าหน้าที่คำนวณรู้ว่าเกิดการผิดพลาดหลังจากส่งคำสั่งยิงไปแล้วจะต้องแจ้งทันทีว่า "ผิดหยุด...ขอแก้" และติดตามด้วยส่วนที่แก้ไขความผิดพลาดนั้น

                     ข) คำสั่งยิงต่อมา เมื่อเจ้าหน้าที่คำนวณจะแก้ไขคำสั่งยิงต่อมาก็แจ้งว่า "ผิดหยุด" แล้วซ้ำคำ

 

ตอนที่ ๑ ศูนย์อำนวยการยิงและการควบคุมด้วยแผ่นกรุยจุด

๑. กล่าวนำ

           ท่านได้เรียนรู้ถึงคุณลักษณะและขีดความสามารถของเครื่องยิงลูกระเบิดขนาด ๘๑ มม.มาแล้ว บทนี้จะได้กล่าวถึงศูนย์อำนวยการยิง ตลอดจนถึงวิธีการควบคุมการยิงด้วยแผ่นกรุยจุด ซึ่งเป็นเครื่องมือควบคุมการยิงของเครื่องยิงลูกระเบิดขนาด ๘๑ มม.

           ก่อนที่จะกล่าวต่อไปนี้ ขอให้มาทำความเข้าใจถึงเทคนิคการยิงเครื่องยิงลูกระเบิดเสียก่อน การยิง ค.๘๑ มม. มีเทคนิคการยิง ๒ วิธี คือ

           ก. เทคนิคการยิงเมื่อไม่ใช้ศูนย์อำนวยการยิง (ลักษณะเช่นเดียวกับ ค.๖๐ มม.)

           ข. เทคนิคการยิงเมื่อใช้ศูนย์อำนวยการยิง

๒. ชุดปฏิบัติการยิง

           โดยปกติ ค.๘๑ มม. ปฏิบัติการยิงโดยมีศูนย์อำนวยการยิงควบคุมในกรณีเช่นนี้จะมีส่วนในการปฏิบัติร่วมกัน

           การยิงเล็งจำลองประกอบด้วย ผู้ตรวจการณ์หน้า ศูนย์อำนวยการยิงและส่วนยิง (เครื่องยิง) ทั้ง ๓ ส่วนนี้ปฏิบัติการร่วมกัน และมีความสัมพันธ์กัน โดยกำหนดหน้าที่ดังต่อไปนี้.-

           ก. ผู้ตรวจการณ์หน้า (ผตน.) มีหน้าที่.-

                ๑) ค้นหาและกำหนดที่ตั้งเป้าหมาย

                ๒) ร้องขอการยิง

                ๓) แก้ไขหรือปรับการยิง

                ๔) การเฝ้าตรวจผลของการยิงและรายงานผล

           ข. ศูนย์อำนวยการยิง (ศอย.) มีหน้าที่.-

                ๑) แปลงการขอยิงเป็นคำสั่งยิง

                ๒) ให้หลักฐานการยิง

                ๓) ประเมินค่าความสำคัญของเป้าหมาย

                ๔) กำหนดวิธียิง

                ๕) สั่งยิงและควบคุมการยิง

           ค. ส่วนยิง (เครื่องยิง ค.) มีหน้าที่.-

                - ปฏิบัติการเล็งตามคำสั่ง

 

 

๓. ศูนย์อำนวยการยิง (ศอย.)

           ศูนย์อำนวยการยิง หมายถึงคณะเจ้าหน้าที่ชุดหนึ่งที่ควบคุมการยิงให้แก่เครื่องยิงลูกระเบิดขนาด ๘๑ มม. หน้าที่ประการสำคัญที่สุดของศูนย์อำนวยการยิงคือ ใช้เครื่องมือควบคุมการยิง

           ศูนย์อำนวยการยิงเปรียบเสมือนส่วนสมองของเครื่องยิงลูกระเบิด ฉะนั้นย่อมมีความสำคัญในชุดการยิงเล็งจำลอง

           เจ้าหน้าที่ในศูนย์อำนวยการยิงประกอบด้วย

                ก. ผบ.ตอน

                ข. นายสิบ (จ่า) บันทึกหลักฐานยิง

                ค. เจ้าหน้าที่วิทยุ/โทรศัพท์

๔. แผ่นกรุยจุด แผ่นกรุยจุดเป็นเครื่องมือควบคุมการยิงภายใน ศอย.ค.๘๑ มม. และ ค.๖๐ มม.

                ก. แผ่นกรุยจุดที่มีใช้อยู่ในปัจจุบัน มีอยู่ ๒ แบบ คือ

                     ๑) แผ่นกรุยจุด เอ็ม.๑๖

                     ๒) แผ่นกรุยจุด เอ็ม.๑๙ (เหมาะที่จะใช้กับ ค.๖๐ มม.มากกว่า)

                ข. ข้อแตกต่างระหว่างแผ่นกรุยจุด เอ็ม.๑๖ และ เอ็ม.๑๙ คือ

                     ๑) แผ่นกรุยจุด เอ็ม.๑๖ มีรูปร่างคล้ายรูปเกือกม้า

                     ๒) แผ่นกรุยจุด เอ็ม.๑๙ รูปร่างสี่เหลี่ยมจตุรัส การใช้นั้นเหมือนกับ เอ็ม.๑๖

                ค. ประโยชน์ของแผ่นกรุยจุดมี ๒ ประการ คือ

                     ๑) ใช้หาหลักฐานการยิงเริ่มแรก

                     ๒) ใช้เป็นเครื่องมือการควบคุมการยิงให้แก่ ค.๘๑ มม.


บทที่ ๙

ศูนย์อำนวยการยิง

 

กล่าวทั่วไป การอำนวยการยิงคือ การใช้วิธีการทางเทคนิคในการยิงให้แก่หน่วยยิง

           ก. ศูนย์อำนวยการยิง (ศอย.) เป็นส่วนหนึ่งของหน่วย ค. ซึ่งมีหน้าที่อำนวยการยิงและเป็นที่บังคับการ ศอย.นำเอาคำขอยิงมาคำนวณหาหลักฐานยิงและออกคำสั่งยิงไปยังปืน สามารถเรียกได้ว่าเป็นส่วนสมองหรือศูนย์ประสานของหน่วย ผบ.หมวดใช้การควบคุมหน่วยได้โดยผ่านทาง ศอย.เพื่ออำนวยให้เกิดความสะดวกในการควบคุมการยิง, รวมอำนาจการยิง และการดำเนินกลยุทธทั้งสิ้นของหมวด เมื่อตอน ค.ได้รับมอบภารกิจให้ไปสมทบกองร้อยปืนเล็ก หรือต้องแยกออกไปจากหมวด จะต้องตั้ง ศอย.ของตนเองขึ้น

           ข. ที่ตั้ง ศอย.ควรตั้งใกล้กับส่วนยิงพอสมควร โดยให้สามารถออกคำสั่งด้วยวาจาไปยังปืนได้ในเมื่อการติดต่อทางสายขัดข้อง อย่างไรก็ดีไม่ควรจะอยู่ในที่ที่ขัดขวางต่อการปฏิบัติการยิงของปืนด้วย

การทำงานของ ศอย.

           ก. วงรอบการทำงาน ศอย.เริ่มวงรอบการทำงานเมื่อได้รับคำขอยิงจาก ผตน. ก็นำมาจดบันทึกแล้วทวนคำขอยิงไปยัง ผตน.ด้วยพนักงานวิทยุ/โทรศัพท์ การบันทึกนั้นถูกบันทึกลงบนแผ่นบันทึกเจ้าหน้าที่คำนวณ และกรุยลงไปบนแผ่นกรุยจุด ผู้อำนวยการยิงทำการจดที่ตั้งและลักษณะของเป้าหมายแล้วนำมาพิจารณาในการกำหนดปืนที่จะทำการยิง, จำนวนนัด, ชนิดกระสุนและชนวนที่จะใช้ และออกเป็นคำสั่งยิงไปยังเจ้าหน้าที่คำนวณ เพื่อดำเนินกรรมวิธีต่อไป

           พนักงานวิทยุ/โทรศัพท์ส่งข้อความที่สำคัญในคำสั่งของผู้อำนวยการยิงไปยัง ผตน. (ข่าวถึงผู้ตรวจ การณ์หน้า) เจ้าหน้าที่คำนวณหาหลักฐานยิงแล้วส่งไปยังปืนต่าง ๆ เป็นคำสั่งยิง ผบ.หมวดซึ่งอยู่ที่ ศปยส.เห็นว่าถูกต้อง ผบ.หมวดจะไม่แจ้งอะไร วิธีนี้เรียกว่าระบบ "เงียบรับฟัง"

           ข. การประกอบกำลัง

                ๑. ความต้องการในการปฏิบัติงาน เพื่อให้การทำงานได้ผล จึงแบ่งงานออกเป็น ๓ ส่วน คือ

                     ก) ผู้อำนวยการยิง  มีหน้าที่ในการกำกับดูแลการทำงานของเจ้าหน้าที่ใน ศอย. พิจารณาคำขอยิงเพื่อไตร่ตรองถึงความเหมาะสมต่อเป้าหมายที่หน่วยจะทำการยิง ถ้าตกลงใจว่ายิงก็นำมาตัดสินว่าจะปฏิบัติภารกิจอย่างไร จึงออกคำสั่งให้ทำการยิง ทำการบันทึกลงในแผ่นบันทึกหลักฐานยิง

                     ข) เจ้าหน้าที่คำนวณ ทำการหาหลักฐานยิงจากแผ่นกรุยจุดและสมุดตารางยิง ส่งรายการต่าง ๆ เป็นคำสั่งยิง ทำการบันทึกหลักฐานลงบนแผ่นบันทึกเจ้าหน้าที่คำนวณ จนจบภารกิจ

                     ค) พนักงานวิทยุ/โทรศัพท์ ดำรงการติดต่อสื่อสารระหว่าง ศปยส. และ ผตน. ส่งข่าวไปยัง ผตน. (ข้อความที่ ผตน.จำเป็นต้องทราบ เช่น หมวด กระสุนระเบิด ๓ นัด เป้าหมาย กก. ๑๐๐๑)

                ๒. ศอย.ของหมวด ปกติผู้อำนวยการยิงของ ศอย.ของหมวดจะเป็นพันจ่าหมวดส่วนรอง ผบ.หมวดก็จะทำหน้าที่กำกับดูแลทั้ง ศอย.และส่วนยิง เจ้าหน้าที่คำนวณไม่มีบรรจุในอัตรา ปกติจะคัดเลือกเอาจากบุคคลที่มีความชำนาญในตอนใดตอนหนึ่งภายในหมวด ค.๘๑ มม.

                ๓. ศอย.ของตอน เมื่อตอน ค.แยกออกจากหมวด ผบ.ตอนคือผู้อำนวยการยิง โดยอาจใช้คนหนึ่งภายในตอนทำหน้าที่คำนวณ หรืออาจจะทำเองก็ได้

คำสั่งผู้อำนวยการยิง

           ก. ความมุ่งหมาย ก่อนที่ภารกิจยิงจะดำเนินไปถึงคำสั่งยิง ผู้อำนวยการยิงต้องเป็นผู้ตกลงใจในการใช้ เพื่อให้บังเกิดผลที่ต้องการในทางยุทธวิธี หลังจากนั้นจึงออกคำสั่งไปยังเจ้าหน้าที่คำนวณ

           ข. รูปของคำสั่งผู้อำนวยการยิง

                ๑. หน่วยที่ยิงหาผล จำนวน ค.ที่ใช้ยิงหาผลกำหนดเป็นหน่วย เช่น ตอน

                ๒. หน่วยที่ปรับ ผู้อำนวยการยิงกำหนดหน่วยที่ยิงปรับ

                ๓. ค.ที่ยิงปรับ ผู้อำนวยการยิงกำหนดหมู่ ค.ที่จะยิงปรับ

                ๔. หลักฐานการแก้ ผู้อำนวยการยิงพิจารณาจุดอ้างต่าง ๆ ที่จะใช้อ้างหรือย้ายการยิง ที่จะทำให้ผลการยิงได้ผลดีที่สุด

                ๕. ตัวแก้มุมทิศ มีความจำเป็นต่อการยิงหรือไม่ ผู้อำนวยการยิงพิจารณาการใช้

                ๖. การปรับกรวยพื้นยิง เป็นการกระทำให้กรวยพื้นยิงเป็นไปตามลักษณะของเป้าหมาย เป็นกรวยเปิดหรือย้ายกรวยพื้นยิง หรือเปิดกรวยยิงส่าย บางครั้งต้องปรับกรวยพื้นยิงขนานคู่ถ้ากล้องเล็งไม่ได้ปรับเส้นเล็ง

                ๗. ลูกระเบิดชนวน ที่ใช้ในการยิงเป้าหมายพิจารณาตามความเหมาะสม

                ๘. วิธียิง ในการยิงหาผลจะใช้กระสุนทำลายเป้าหมายจำนวนเท่าใด ผู้อำนวยการยิงเป็นผู้พิจารณาให้เพียงพอกับการทำลายเป้าหมาย

                ๙. ระยะตามทางลึกหรือหมายเขตการยิง ระยะตามทางลึกหมายถึง เป้าหมายเป็นแนวยาวออกไปหรือเข้ามา การยิงเป้าหมายชนิดนี้เราเรียกว่าการยิงตามทางลึก หมายเขตการยิงโดยทั่วไปจะอยู่กึ่งกลางเขตปฏิบัติการ ให้เป็นตำบลอ้างเมื่อ ผตน.ไม่สามารถกำหนดที่ตั้งเป้าหมายได้

                ๑๐. เวลาเริ่มให้ยิง พร้อมแล้วยิงหรือตามคำสั่ง

                ๑๑. หมายเลขจุดระดมยิง หมายถึงชื่อตำบลยิงที่กำหนดให้ใช้ตามแผนการปฏิบัติในภารกิจนั้น ๆ

ข่าวถึง ผตน.

           ก. กล่าวทั่วไป เป็นข่าวสารที่ต้องแจ้ง ผตน. ข่าวสารนี้จะปรากฏอยู่ในคำสั่งผู้อำนวยการยิง และมักมี ๓ หัวข้อท้ายของคำสั่งผู้อำนวยการยิงเสมอ ข่าวสารนี้ส่งทันทีหลังจากได้รับคำสั่งผู้อำนวยการยิง

           ข. ข่าวถึง ผตน.ประกอบด้วย

                ๑. หน่วยที่ใช้ยิงหาผล ผตน.ได้รับแจ้งถึงขนาดของหน่วยที่จะทำการยิงหาผล แต่ไม่ใช่ชื่อของหน่วยที่กำหนดให้ยิง

                ๒. การเปลี่ยนแปลงแก้ไข การเปลี่ยนแปลงแก้ไขจากการร้องขอของ ผตน. ต้องแจ้งให้ ผนต.ทราบตัวอย่าง เช่น ผตน.ร้องขอชนวนวีที หากผู้อำนวยการยิงสั่งยิงด้วยชนวนไวจะต้องแจ้งข่าวให้ ผตน.ทราบด้วย

                ๓. วิธียิง ผตน.ต้องรู้ว่าจะยิงหาผลอย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จำนวนของ ลย.ที่จะทำการยิงในครั้งนั้น ๆ

                ๔. หมายเลขเป้าหมาย กำหนดขึ้นตามคำขอของ ผตน.หรือผู้อำนาจสูงกว่า ใช้เพื่อเป็นจุดอ้างในการยิงต่อไปในอนาคต

 

คำสั่งยิง

           ก. กล่าวโดยทั่วไป คำสั่งยิงเป็นคำสั่งให้พลประจำปืน ทำการยิงโจมตีต่อเป้าหมาย คำสั่งเหล่านี้เกิดจากผลการคำนวณและตรวจสอบโดยผู้อำนวยการยิง คำสั่งยิงต้องเป็นไปตามลำดับ แบ่งออกเป็น ๒ ชนิด ได้แก่ คำสั่งยิงเริ่มแรก และคำสั่งยิงต่อมา

                ๑) คำสั่งยิงเริ่มแรก ประกอบด้วยข้อมูลที่จำเป็นในการยิงกระสุนนัดแรก หลังจากที่ได้รับคำขอยิง

                ๒) คำสั่งยิงต่อมา ประกอบด้วยการเปลี่ยนแปลงข้อมูลในการยิงที่เกิดจากการปรับแก้ตำบลกระสุนตก

           ข. คำสั่งยิงเริ่มแรก แบ่งออกเป็น ๘ ส่วน ดังต่อไปนี้

                ๑) ค.ที่ปฏิบัติตามคำสั่ง เป็นคำสั่งเพื่อให้ปืนต่าง ๆ เตรียมการยิงเช่น "หมวด"

                ๒) ชนิดของกระสุนและชนวน เป็นคำสั่งให้ใช้กระสุนและชนวนในการยิง เช่น "ระเบิดไว"

                ๓) ค.ที่ทำการยิง เป็นคำสั่งที่เจาะจงให้ ค.กระบอกใดกระบอกหนึ่งทำการยิง เช่น หมู่ ๒ หรือตอน

                ๔) วิธียิง เป็นคำสั่งที่บอกจำนวนนัดที่ยิงและคำแนะนำอื่น ๆ ที่ใช้ในการควบคุมการยิง เช่น "๑ นัดตามคำสั่งของข้าพเจ้า"

                ๕) มุมทิศ เป็นคำสั่งให้ ค.ทำการตั้งมุมทิศซึ่งจะทำให้การยิงไปยังทิศทางที่ต้องการ เช่น มุมทิศ ๒๘๒๕

                ๖) ส่วนบรรจุ เป็นคำสั่งให้ใช้ส่วนบรรจุตามที่ต้องการ เช่น "ส่วนบรรจุ ๒"

                ๗) เวลาชนวน เป็นคำสั่งให้ตั้งเวลาชนวนของกระสุนส่องแสง เช่น เวลาชนวนสองศูนย์จุดหกเวลาชนวนนี้ไม่ได้หมายถึงเวลาโคจรของกระสุน

                ๘) มุมสูง ให้เป็นจำนวน มิลเลียม เช่นมุมสูง ๑๑๕๒ เป็นคำสั่งให้ทำการยิงได้ทันที ที่ปืนพร้อมเว้นแต่ ศอย.จะสั่งว่า "ตามคำสั่งข้าพเจ้า"

           ค. คำสั่งยิงต่อมา มีเฉพาะส่วนที่มีการเปลี่ยนแปลงสำหรับมุมสูงจะต้องสั่งเสมอประกอบด้วย

                ๑) ค.ที่ทำการยิงและวิธียิง เมื่อมีการเปลี่ยนแปลง ค.ที่จะทำการยิงและวิธียิง

                ๒) มุมทิศ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงมุมทิศที่ใช้ตั้งกล้อง เช่น มุมทิศ ๒๘๓๕ เว้นมุมทิศเดิมไม่ต้องสั่ง

                ๓) ส่วนบรรจุ สั่งเมื่อมีการเปลี่ยนส่วนบรรจุเท่านั้น

                ๔) มุมสูง จะต้องสั่งเสมอแม้ว่าจะเป็นมุมสูงเดิม

                ๕) จบภารกิจ เมื่อได้ทำการยิงเสร็จสิ้นโดยสมบูรณ์แล้ว ก็จะสั่งว่า "หยุดยิงจบภารกิจ" หมู่ ค.ต่าง ๆ หันปืนไปในทิศทางวางพื้นยิง คือมุมทิศ ๒๘๐๐ มุมสูง ๑๑๐๐ หรือไปที่ฉากการยิงป้องกันที่มั่นขั้นสุดท้าย (ในการตั้งรับ)

           ง. การส่งคำสั่งยิง ส่วนต่าง ๆ ของคำสั่งยิงจะต้องส่งโดยไม่ชักช้า เจ้าหน้าที่คำนวณไม่ต้องคอยให้หาหลักฐานทั้งหมดเสร็จเสียก่อนจึงจะส่ง โดยเฉพาะใน ๔ ส่วนแรกของคำสั่งผู้อำนวยการยิงมุมทิศสั่งได้ทันทีที่อ่านได้จากแผ่นกรุยจุด ส่วนบรรจุและมุมสูงสั่งได้หลังจากอ่านในสมุดตารางยิง

           จ. การทวนคำสั่งและการแก้ไขคำสั่ง

                ๑) การทวนคำสั่ง เมื่อ ผบ.หมู่ไม่เข้าใจในส่วนใดในคำสั่งยิงจะต้องขอซ้ำคำสั่งยิงในส่วนนั้น เช่น ขอซ้ำมุมทิศ และทวนคำสั่งเพื่อความเข้าใจ เช่น "มุมทิศ ๒๘๐๐"

 

 

                ๒) การแก้ไขคำสั่งยิง

                     ก) คำสั่งยิงเริ่มแรก เมื่อเจ้าหน้าที่คำนวณรู้ว่าเกิดการผิดพลาดหลังจากส่งคำสั่งยิงไปแล้วจะต้องแจ้งทันทีว่า "ผิดหยุด...ขอแก้" และติดตามด้วยส่วนที่แก้ไขความผิดพลาดนั้น

                     ข) คำสั่งยิงต่อมา เมื่อเจ้าหน้าที่คำนวณจะแก้ไขคำสั่งยิงต่อมาก็แจ้งว่า "ผิดหยุด" แล้วซ้ำคำ

 

ตอนที่ ๑ ศูนย์อำนวยการยิงและการควบคุมด้วยแผ่นกรุยจุด

๑. กล่าวนำ

           ท่านได้เรียนรู้ถึงคุณลักษณะและขีดความสามารถของเครื่องยิงลูกระเบิดขนาด ๘๑ มม.มาแล้ว บทนี้จะได้กล่าวถึงศูนย์อำนวยการยิง ตลอดจนถึงวิธีการควบคุมการยิงด้วยแผ่นกรุยจุด ซึ่งเป็นเครื่องมือควบคุมการยิงของเครื่องยิงลูกระเบิดขนาด ๘๑ มม.

           ก่อนที่จะกล่าวต่อไปนี้ ขอให้มาทำความเข้าใจถึงเทคนิคการยิงเครื่องยิงลูกระเบิดเสียก่อน การยิง ค.๘๑ มม. มีเทคนิคการยิง ๒ วิธี คือ

           ก. เทคนิคการยิงเมื่อไม่ใช้ศูนย์อำนวยการยิง (ลักษณะเช่นเดียวกับ ค.๖๐ มม.)

           ข. เทคนิคการยิงเมื่อใช้ศูนย์อำนวยการยิง

๒. ชุดปฏิบัติการยิง

           โดยปกติ ค.๘๑ มม. ปฏิบัติการยิงโดยมีศูนย์อำนวยการยิงควบคุมในกรณีเช่นนี้จะมีส่วนในการปฏิบัติร่วมกัน

           การยิงเล็งจำลองประกอบด้วย ผู้ตรวจการณ์หน้า ศูนย์อำนวยการยิงและส่วนยิง (เครื่องยิง) ทั้ง ๓ ส่วนนี้ปฏิบัติการร่วมกัน และมีความสัมพันธ์กัน โดยกำหนดหน้าที่ดังต่อไปนี้.-

           ก. ผู้ตรวจการณ์หน้า (ผตน.) มีหน้าที่.-

                ๑) ค้นหาและกำหนดที่ตั้งเป้าหมาย

                ๒) ร้องขอการยิง

                ๓) แก้ไขหรือปรับการยิง

                ๔) การเฝ้าตรวจผลของการยิงและรายงานผล

           ข. ศูนย์อำนวยการยิง (ศอย.) มีหน้าที่.-

                ๑) แปลงการขอยิงเป็นคำสั่งยิง

                ๒) ให้หลักฐานการยิง

                ๓) ประเมินค่าความสำคัญของเป้าหมาย

                ๔) กำหนดวิธียิง

                ๕) สั่งยิงและควบคุมการยิง

           ค. ส่วนยิง (เครื่องยิง ค.) มีหน้าที่.-

                - ปฏิบัติการเล็งตามคำสั่ง

 

 

๓. ศูนย์อำนวยการยิง (ศอย.)

           ศูนย์อำนวยการยิง หมายถึงคณะเจ้าหน้าที่ชุดหนึ่งที่ควบคุมการยิงให้แก่เครื่องยิงลูกระเบิดขนาด ๘๑ มม. หน้าที่ประการสำคัญที่สุดของศูนย์อำนวยการยิงคือ ใช้เครื่องมือควบคุมการยิง

           ศูนย์อำนวยการยิงเปรียบเสมือนส่วนสมองของเครื่องยิงลูกระเบิด ฉะนั้นย่อมมีความสำคัญในชุดการยิงเล็งจำลอง

           เจ้าหน้าที่ในศูนย์อำนวยการยิงประกอบด้วย

                ก. ผบ.ตอน

                ข. นายสิบ (จ่า) บันทึกหลักฐานยิง

                ค. เจ้าหน้าที่วิทยุ/โทรศัพท์

๔. แผ่นกรุยจุด แผ่นกรุยจุดเป็นเครื่องมือควบคุมการยิงภายใน ศอย.ค.๘๑ มม. และ ค.๖๐ มม.

                ก. แผ่นกรุยจุดที่มีใช้อยู่ในปัจจุบัน มีอยู่ ๒ แบบ คือ

                     ๑) แผ่นกรุยจุด เอ็ม.๑๖

                     ๒) แผ่นกรุยจุด เอ็ม.๑๙ (เหมาะที่จะใช้กับ ค.๖๐ มม.มากกว่า)

                ข. ข้อแตกต่างระหว่างแผ่นกรุยจุด เอ็ม.๑๖ และ เอ็ม.๑๙ คือ

                     ๑) แผ่นกรุยจุด เอ็ม.๑๖ มีรูปร่างคล้ายรูปเกือกม้า

                     ๒) แผ่นกรุยจุด เอ็ม.๑๙ รูปร่างสี่เหลี่ยมจตุรัส การใช้นั้นเหมือนกับ เอ็ม.๑๖

                ค. ประโยชน์ของแผ่นกรุยจุดมี ๒ ประการ คือ

                     ๑) ใช้หาหลักฐานการยิงเริ่มแรก

                     ๒) ใช้เป็นเครื่องมือการควบคุมการยิงให้แก่ ค.๘๑ มม.


๕. หลักฐานการยิงเริ่มแรก

           โดยปกติ ค.๘๑ มม. ก่อนที่จะทำการยิงต่อเป้าหมายใดเป้าหมายหนึ่ง จะต้องได้หลักฐานการยิงเริ่มแรกของ ค.๘๑ มม.เสียก่อน หลักฐานการยิงเริ่มแรกหมายถึง ระยะและทิศทางขั้นต้น ที่วางการยิงให้แก่ ค.๘๑ มม.

           หลักฐานการยิงเริ่มแรกประกอบด้วย

           ๑) ระยะยิงเริ่มแรก

           ๒) ทิศทางยิงเริ่มแรก (มุมภาคของทิศ)

๖. การหาระยะยิง มี ๕ ประการ

           การหาระยะยิงเริ่มแรกให้แก่ ค.๘๑ มม. มีหลายวิธี  อาจใช้วิธีใดวิธีหนึ่ง เพื่อหาระยะยิงได้ดังนี้

(เมื่อไม่สามารถหาด้วยวิธีอื่นได้ เราหาด้วยการกะระยะด้วยสายตา)

           ก. แผนที่

           ข. งานแผนที่

           ค. การคำนวณ

           ง. กะระยะด้วยสายตา (ใช้มากที่สุด)

           จ. ใช้เครื่องมือควบคุมการยิง (แผ่นกรุยจุด)

๗. การหาทิศทางยิง

           การหาทิศทางยิงเริ่มแรกให้แก่ ค.๘๑ มม. ย่อมมีความจำเป็น ทั้งนี้เพื่อวางทิศทางยิง หรือวางลำกล้องเครื่องยิงให้ตรงไปยังที่หมายขั้นต้น ทิศทางยิงใช้เป็นมุมภาคของทิศ

           การหาทิศทางยิงขั้นต้น สามารถหาได้ดังนี้

           ก. แผนที่

           ข. เข็มทิศ

           ค. คำนวณ (งานแผนที่)

           ง. เครื่องมือควบคุมการยิง (แผ่นกรุยจุด)

๘. การใช้แผ่นกรุยจุด

           แผ่นกรุยจุด เอ็ม.๑๖ และ เอ็ม.๑๙ เป็นเครื่องมือควบคุมการยิงที่สามารถใช้เป็นประโยชน์ได้ดังต่อไปนี้

           ก. หาหลักฐานการยิงเริ่มแรก (หลักฐานขั้นต้น)

           ข. ใช้เป็นเครื่องมือควบคุมการยิงให้แก่ ค.๘๑ มม.

                ๑). การใช้แผ่นกรุยจุดเพื่อหาหลักฐานการยิงเริ่มแรก

                     แผ่นกรุยจุดสามารถใช้เป็นเครื่องมือเพื่อหาหลักฐานการยิงเริ่มแรกให้แก่ ค.๘๑ มม. ได้เหมาะสมอย่างยิ่ง ในการปฏิบัติการยิงซึ่งไม่สามารถมองเห็นเป้าหมาย ผู้ใช้อาจเป็นเจ้าหน้าที่ภายในศูนย์ อำนวยการยิง หรือผู้ตรวจการณ์ ย่อมกระทำได้ทั้งนั้น

                ๒). การใช้แผ่นกรุยจุดเพื่อเป็นเครื่องควบคุมการยิง

                     โดยปกติใช้กับตอน ค.๘๑ มม. การใช้แผ่นกรุยจุดควบคุมการยิงนี้ วิธีใช้ยึดถือ "ระบบแผ่นตารางทับเป้าหมาย"

                                 ระบบแผ่นตารางทับเป้าหมายคือ การเปลี่ยนแนวการตรวจการณ์-เป้าหมาย (แนว ต-ม) เป็นแนว เครื่องยิง-เป้าหมาย (แนว ค-ม) โดยใช้ประกอบกับบรรทัดวัดระยะทิศ 

ตอนที่ ๒ แผ่นกรุยจุด เอ็ม.๑๙

 

กล่าวทั่วไป

           แผ่นกรุยจุด เอ็ม.๑๙ เป็นเครื่องมือควบคุมการยิง ซึ่งได้ออกแบบขึ้นเพื่อช่วยเจ้าหน้าที่ ศอย.ในการหาหลักฐานการยิง และยังเป็นเครื่องมือที่สามารถช่วยในการหาหลักฐานการยิงเริ่มแรก แผ่นกรุยจุดนี้เป็นเครื่องมือที่สามารถช่วยในการหาหลักฐานการยิงเริ่มแรก แผ่นกรุยจุดนี้เป็นเครื่องมือที่แข็งแรงมาก ใช้ง่ายถูกต้อง แน่นอน และเหมาะที่จะใช้ในสนาม บรรจุอยู่ในถุงผ้าใบ แผ่นกรุยจุดนี้เป็นเครื่องมือควบคุมการยิงของ ค.๖๐ มม. และยังเป็นเครื่องมือในการควบคุมการยิงของตอน ค.๘๑ มม.ในบางโอกาส

           แผ่นกรุยจุด เอ็ม.๑๙ ประกอบด้วยแผ่นหมุนและแผ่นเส้นกริด (แผ่นฐาน)

           ๑. แผ่นเส้นกริด (แผ่นฐาน) มีรูปร่างเป็นแผ่นสี่เหลี่ยม ภายในวงกลมแสดงเส้นตั้งและเส้นนอน จากจุดศูนย์กลางของวงกลมซึ่งเรียกว่าเดือยจุดหมุน จากเส้นศูนย์กลางทุก ๆ ๑๐ ช่องเล็กจะมีเส้นหนากำกับเพื่อแสดงว่าเป็นตารางกริด แต่ละตารางกริดกำหนดให้เป็นระยะ ๑,๐๐๐ เมตร ส่วนช่องเล็กเป็นระยะ ๑๐๐ เมตร (มาตราส่วน ๑/๒๕๐๐๐) ถ้าจะใช้มาตราส่วน ๑/๒๕๐๐๐ จะต้องกำหนดให้เส้นตารางกริด (เส้นหนา) เป็นระยะ ๕๐๐ เมตร และช่องเล็กเป็นระยะ ๕๐ เมตร เส้นหนาที่เริ่มจากศูนย์กลางกำหนดให้เป็นเส้นศรชี้มีหมายเลขกำกับระยะ เริ่มจากจุดศูนย์กลาง ๕๐๐-๑,๐๐๐ จนถึง ๓,๕๐๐ ช่องเล็ก  ใช้แทนจำนวนเต็ม ๑๐๐ เมตร จากเดือยจุดหมุนเหนือเส้นหนักขึ้นไปเป็นลูกศร มีสเกลเวอร์เนียร์ใช้สำหรับอ่านมุมภาคของทิศและมุมทิศ

           ๒. แผ่นหมุน (แผ่นจานทิศ) เป็นแผ่นพลาสติกใส มีขีดเล็ก ๆ โดยรอบแผ่น ทุก ๆ ขีดใช้แทนค่า ๑๐ มิลเลียม ทุก ๆ ๑๐ ขีดมีตัวเลขกำกับตั้งแต่ ๐-๖๓๐๐ ฉะนั้นในแผ่นหมุนมีค่าเป็น ๖๔๐๐ มิลเลียม และขีดที่มีตัวเลขกำกับจึงมีค่า ๑๐๐ มิลเลียม คือมาตราสำหรับอ่านมุมภาคของทิศและมุมทิศดังที่กล่าวมาแล้ว

           ๓. ก้านมาตราระยะ (บรรทัดวัดระยะทิศ) ก้านวัดระยะทำด้วยพลาสติกโปร่งแสง มีเส้นมาตราระยะจากจุดศูนย์กลางของแผ่นฐาน มาตราทางระยะ ๑/๒๕,๐๐๐ ที่ส่วนปลายก้านมาตราระยะมีขีดดรรชนีและมาตรามุมภาคและมุมทิศส่วนย่อย ลักษณะเช่นกับแผ่นฐานก้านวัดระยะจะอำนวยความสะดวกในการหาหลักฐานยิงให้กับปืนโดยไม่ต้องหมุนกลับไปกลับมาตามแนวปืนและแนวผู้ตรวจการณ์

           ก. การกำหนดพิกัด ขั้นต้น กำหนดหมายเลขกริดซึ่งได้จากแผนที่ ที่ใช้ลงบนแผ่นกรุยจุด

                ๑) หมุนแผ่นให้ตรงเลข ๐ บนสเกลเวอร์เนียร์

                ๒) กำหนดหมายเลขพิกัดให้พิกัดที่ตั้ง ค.อยู่ใกล้จุดศูนย์กลางของจุดหมุนเท่าที่จะทำได้

                ๓) กรุยที่ตั้ง ค.ลงบนแผ่นกรุยจุด (เครื่องหมายที่ตั้ง ค.)

           ข. สร้างมาตรามุมทิศ หลังจากทำตามวิธีขั้นต้นแล้ว เขียนมาตรามุมทิศลงบนแผ่นหมุน โดยให้ค่ามุมจำลองทิศ ๒๘๐๐ ซึ่งเป็นค่ามุมจำลองทิศ ค.๘๑ มม. (ค.๑๒๐ มม.) ที่ใช้กล้องเล็ง เอ็ม.๓๔ หรือ เอ็ม.๕๓ ตรงกับค่ามุมภาคตั้งปืนตรงทิศ (วางพื้นยิง) เริ่มต้นเขียนค่ามุมทิศไปทางขวาค่ามุมทิศลดลง (๒๗,๒๖,๒๕...) และเขียนค่ามุมทิศไปทางซ้าย ค่ามุมทิศเพิ่มขึ้น (๒๙,๓๐,๓๑…..)

วิธีกำหนดที่ตั้งเป้าหมาย การกำหนดที่ตั้งเป้าหมายของ ผตน.มีอยู่ ๔ วิธี

           ๑. แบบพิกัด ผตน.จะแจ้งพิกัดของเป้าหมายและทิศทาง (มุมภาค) ศอย.มีความต้องการทราบแต่เพียงมุมทิศและระยะจากที่ตั้ง ค.ไปยังเป้าหมาย

           ๒. ย้ายจากจุดที่ทราบ จุดที่ทราบคือจุดต่าง ๆ ที่ได้ทำการยิงไปแล้ว และ ศอย.ได้ทำการบันทึกระยะและมุมทิศที่ยิงถูกเป้าหมายเอาไว้ และ ผตน.ก็อาจใช้เพื่อเป็นจุดอ้างในการกำหนดที่ตั้งเป้าหมายที่เกิดขึ้นใหม่โดยที่ ศอย.ไม่จำเป็นต้องทราบที่ตั้งของ ผตน.

           ๓. โปล่าร์ เป็นวิธีที่ ศอย.ต้องทราบที่ตั้งของ ผตน. ซึ่งจะใช้ที่ตั้งของ ผตน.เป็นจุดอ้างไปยังเป้าหมาย

           ๔. หมายพิกัด เป็นวิธีการที่ใช้น้อยที่สุดใน ๔ วิธี การปฏิบัติจะยิงกระสุนไปในพื้นที่ที่คาดว่า ผนต.จะตรวจเห็นได้ และปรับกระสุนจนกระทั่งถูกเป้าหมาย หลักการอันนี้ใช้เป็นฐานเริ่มต้นในการยิงแบบเร่ง-ด่วน (OBSERVE FIRE CHATT) อย่างไรก็ดี การยิงหมายพิกัดสามารถใช้กับการยิงแบบการกำหนดที่ตั้งแบบพิกัดได้

 

วิธีกรุยที่ตั้งยิงและเป้าหมายแบบพิกัด

           ก่อนที่จะกรุยที่ตั้งยิงบนแผ่นกรุยจุด จะต้องหมุนแผ่นหมุนให้อยู่ตรงจุด ๐ เสียก่อนการกรุยจุดทำเช่นเดียวกับแผนที่ ด้วยการเขียนหมายเลขเส้นกริดนอนและตั้งในพื้นที่ที่ทำการยิงลงบนแผ่นหมุน

           ๑. วิธีที่ ๑ การกำหนดให้ที่ตั้ง ค.อยู่ที่จุดศูนย์กลางวงกลม กระทำโดยย้ายจุดซึ่งเป็นการแก้เข้าหาจุดหมุน (APPLY PIVOT POINT CORRECTION) สำหรับการแก้เข้าหาจุดหมุนก็เพื่อกำหนดให้จุดหมุนแทนพิกัดของที่ตั้ง ค. ในทำนองเดียวกันเมื่อทำ PPC. จะต้องคำนึงถึงการเลื่อนจุดที่ตั้งเป้าหมายตามไปด้วย ตัวอย่าง สมมุติที่ตั้ง ค.ที่กรุยลงไปอยู่ห่างจากจุดหมุนไปทางซ้าย ๖ ช่องเล็ก ต่ำลงจากเส้นหลักนอน ๓ ช่อง เมื่อเรากรุยพิกัดที่ตั้งเป้าหมายลงไปแล้วจะต้องเลื่อนจุดหมาย คือ กรุยที่ตั้งลงไปใหม่ โดยนับไปทางขวา ๖ ช่อง และขึ้น ๓ ช่อง จากจุดเดิม การอ่านระยะและมุมทิศเมื่อกรุยจุดใหม่ลงไปแล้ว ให้ใช้อ่านที่เส้นตั้งเส้นหลัก คือ การใช้จุดที่กรุยลงไปใหม่ทับบนเส้นหลักแล้วอ่านระยะและมุมทิศ ต้องคำนึงอยู่เสมอว่าการอ่านพิกัด จะอ่านที่จุดเกิดใหม่ไม่ได้ เพราะวิธีนี้ใช้เพื่ออ่านมุมทิศและระยะเท่านั้น ถ้าจะอ่านพิกัดต้องวิธีย้อนกลับ จึงจะได้พิกัดที่ถูกต้อง

           ๒. วิธีที่ ๒ วิธีแนวขนาน เป็นวิธีหนึ่งซึ่งมีความถูกต้องเช่นเดียวกันคือ ทำให้แนวระหว่าง ๒ จุด คือจุดที่ตั้ง ค.และจุดที่ตั้งเป้าหมาย ขนานกับเส้นตั้งเส้นหลักในการอ่านมุมทิศซึ่งเป็นวิธีที่นิยมใช้ ค่ามุมทิศอ่านที่เส้นหลักบนสเกลเวอร์เนียร์ ส่วนระยะอาจใช้วิธีนับช่องหรือไม้บรรทัดที่สร้างขึ้นเอง โดยใช้มาตราส่วนเท่ากับมาตราส่วนบนแผ่นกรุยจุด (วิธีนี้เราอ่านพิกัดต่าง ๆ ที่กรุยลงไปได้ทันที) ซึ่งผู้ใช้อาจเลือกวิธีใดวิธีหนึ่งก็ได้

                ๒.๑ การอ่านมาตราส่วนย่อยบนสเกลเวอร์เนียร์

                     ก) ใช้มาตราส่วนย่อยบนด้านซ้ายบนสเกลเวอร์เนียร์เสมอ ถ้าต้องการอ่านมุมทิศ ส่วนด้าน

ขวาใช้อ่านมุมภาคส่วนย่อย

                     ข) การอ่าน

                         ๑) ดูช่องเล็กซึ่งมีค่าช่องละ ๑๐ มิลเลียม ในช่องหลักเลขกำกับ ๑๐๐ มิลเลียม ว่า เลข ๐ บนสเกล ชี้ที่ขีดเท่าไร

                         ๒) เมื่อเส้นหัวลูกศรชี้ระหว่างขีดเล็กจะเป็นเศษใน ๑๐ มิลเลียม

                                             ๓) ไล่เส้นย่อยถัดไป จากน้อยไปหามาก เส้นใดที่เป็นเส้นตรงบนมาตราสเกลเวอร์เนียร์ก็อ่านมาตราบนสเกลเวอร์เนียร์ ก็จะได้ส่วนย่อยของ ๑๐ มิลเลียม 

ตัวอย่างที่ ๑ เส้น ๐ บนมาตราส่วนย่อยชี้มาตรามุมทิศส่วนใหญ่ ๓๐๐๐ และส่วนย่อยของมาตราส่วนส่วนใหญ่จำนวน ๑๐ อีก ๓ ช่อง หรือ ๓๐ มิลเลียม ส่วนดรรชนีที่อยู่ระหว่างส่วนย่อย ช่อง ๑๐ มิลเลียม ระหว่างขีดที่ ๓ และขีดที่ ๔ ส่วนที่ค่าไม่ถึง ๑๐ มิลเลียม จะอ่านที่สเกลเวอร์เนียร์ เส้นตรงกับเส้นมาตรามุมทิศที่แผ่นหมุนในตัวอย่างนี้ ส่วนย่อยที่ไม่ถึง ๑๐ คือ ๗ มิลเลียม ค่ามุมทิศที่อ่านได้โดยสมบูรณ์คือมุมทิศ ๓๐๒๗ มิลเลียม


ตัวอย่างการใช้มาตรามุมภาคทิศส่วนย่อย (๒)

 

ตัวอย่างที่ ๒ การใช้ การอ่านมาตรามุมภาคทิศส่วนย่อยลักษณะเช่นเดียวกับ (มาตรามุมภาคส่วนย่อยบนสเกลเวอร์เนียร์ด้านขวา) มุมภาคทิศที่อ่านได้คือ มุมภาคทิศ ๑๒๕๔

           ก. ทิศทาง (มุมภาค) จาก ผตน.ไปยังเป้าหมาย ศอย.จะต้องทำเครื่องหมายหัวลูกศรลงบนขอบของแผ่นหมุน ตรงกับค่าของมุมภาคที่ทราบ เพื่อใช้จุดเครื่องหมายนี้เป็นแนวตรวจการณ์ของ ผตน.

           ข. การแก้ทางทิศและทางระยะ ถือแนวตั้งและนอนจากจุดสุดท้าย (กระสุนนัดสุดท้ายที่ยิงออกไป) เป็นหลัก ในการแก้ทางทิศไปทางขวา- ซ้าย ทางระยะเป็น เพิ่ม - ลด ให้ถูกต้องตามมาตราส่วน ข้อควรจำต้องคำนึงอยู่เสมอว่าก่อนที่จะทำการแก้ตำบลกระสุนตก ซึ่งได้รับแจ้งจาก ผตน.นั้น ศอย.จะต้องหมุนแผ่นหมุนให้ทิศทาง (มุมภาค) ของ ผตน.ตรงกับลูกศรชี้ และเลข ๐ บนสเกลเวอร์เนียร์เสียก่อน แล้วจึงกรุยผลการแก้ทางทิศและทางระยะ เสร็จแล้วจึงอ่านมุมทิศและระยะ

 

วิธีกรุยเป้าหมายแบบย้ายจากจุดที่ทราบ

           ปฏิบัติเช่นเดียวกับการแก้ตำบลกระสุนตก สิ่งที่ต้องการทราบจาก ผตน.

           ก. จุดที่ทราบแล้ว (จุดหลัก, หมายเลขตำบลที่ยิงไปแล้ว)

           ข. มุมภาคที่ได้รับแจ้งจาก ผตน.

           ค. การย้ายทางทิศ (ขวา - ซ้าย) และทางระยะ (เพิ่ม - ลด)

 

วิธีโปล่าร์  ศอย.จะต้องทราบพิกัดที่ตั้งของ ผตน. การปฏิบัติ

           ๑. กรุยที่ตั้งของ ผตน.ลงบนแผ่นกรุยจุด

           ๒. สิ่งที่ต้องการทราบจาก ผตน.คือ

                ๒.๑ มุมภาคจาก ผตน.ไปยังเป้าหมาย

                ๒.๒ ระยะจาก ผตน.ไปยังเป้าหมาย

                ๒.๓ ความสูงต่างระหว่างที่ตั้งตรวจการณ์กับเป้าหมาย

           ๓. การหาหลักฐานยิงเริ่มแรก

                ๓.๑ ทำเครื่องหมายหัวลูกศร ตามค่ามุมภาคที่ได้ทราบจาก ผตน.ลงบนขอบมาตรามุมทิศที่ขอบแผ่นหมุน

                ๓.๒ หมุนแผ่นหมุนให้ได้แนว (เครื่องหมายแสดงมุมภาค ผตน.ตรงกับลูกศรชี้และเลข ๐)

                ๓.๓ กรุยที่ตั้งเป้าหมายตามระยะที่ได้รับแจ้งจาก ผตน.

                ๓.๔ อ่านมุมทิศและระยะตามวิธีการ

           ๔. การแก้ตำบลกระสุนตกนัดต่อไปก็ทำเช่นเดียวกับวิธีอื่น ๆ

        การปฏิบัติอื่น ๆ เมื่อต้องการกรุยตำบลยิงหรือจุดยิงหลัก (จล.) หลังจากที่ยิงหาผลแล้ว ศอย.จะต้องแจ้งระบบของกระสุน, ชนวน, วิธียิงและหมายเลขตำบลยิงให้ ผตน.ทราบ เพื่อ ผตน.จะนำหลักฐานนี้ใช้เป็นจุดอ้างในการยิงภารกิจต่อไป ตัวอย่าง การแจ้ง "ข่าวถึง ผตน.ตอนกระสุนระเบิด ๒ นัด ชนวน เวลา ตำบลยิง กก.๑๐๐๑" เมื่อ ศอย.แจ้ง ผตน.ไปแล้ว และหลังจากยิงหาผล ศอย.ก็จะกรุยที่ตั้งจุดที่ยิงหาผลไปพร้อมกับเขียนหมายเลขตำบลยิงและบันทึกหลักฐานต่าง ๆ ลงไปบนแผ่นบันทึกหลักฐาน การยิง ได้แก่ หมายเลขเป้าหมาย, พิกัด (ความสูง) มุมทิศ, ระยะ (รวมทั้งมุมสูงและส่วนบรรจุ) ชนิดกระสุนชนวนและอื่น ๆ ที่เห็นว่าจำเป็น

 

ตอนที่ ๓ การใช้แผ่นกรุยจุดแบบวิธีเร่งด่วน

 

๑. กล่าวทั่วไป

           การยิงแบบเร่งด่วน (ไม่ใช้หลักฐานแผนที่) ใช้ในเหตุการณ์ที่ไม่มีแผนที่หรือไม่มีเวลาเพียงพอในการหาหลักฐานต่าง ๆ เช่น พิกัดที่ตั้งที่แน่นอนของ ค. การปฏิบัติต่าง ๆ กระทำเช่นเดียวกับวิธีที่กล่าวมาแล้ว การกำหนดที่ตั้ง ค.ลงบนแผ่นกรุยจุดนั้น กำหนดให้อยู่บนจุดหมุน จุดอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากที่ตั้ง ค.ต้องกรุยลงไปโดยใช้หลักฐานจากจุดหมุนเป็นหลัก ดังตัวอย่าง ในสถานการณ์ที่เคลื่อนที่ทางยุทธวิธี ผตน.ต้องเคลื่อนที่ไปอย่างรวดเร็ว ตอน ค. เคลื่อนที่ตามในกำลังส่วนใหญ่ การเคลื่อนที่เข้าปะทะเมื่อมีเป้าหมาย ปรากฏขึ้น และได้รับการร้องขอการยิงสนับสนุน ตอน ค. ก็จะต้องเข้าที่ตั้งยิงอย่างรวดเร็ว ผบ.ตอน ค. จะต้องรู้ที่อยู่โดยประมาณของกำลังส่วนหน้า เขาจะต้องทำการยิงด้วยการใช้มุมภาคและระยะที่ทราบโดยประมาณ ในกระสุนนัดแรก จะต้องแน่ใจว่ามีระยะเพียงพอต่อความปลอดภัยต่อหน่วยทหารฝ่ายเดียวกัน โดยที่ ผตน.จะสามารถตรวจการณ์เห็นกระสุนตกได้โดย ศอย.ยังไม่จำเป็นต้องทราบพิกัดของที่ตั้ง ค.แต่จะต้องทราบมุมภาคในการวางพื้นยิงและแนวตรวจการณ์

๒. หลักฐานขั้นต้น

           ในขั้นแรกของการหาหลักฐานยิงจำเป็นต้องรู้ที่ตั้งต่าง ๆ เช่น พิกัด ผตน.หรือพิกัดเป้าหมายประการสุดท้าย ได้แก่ ทิศทางยิงและแนวตรวจการณ์ - เป้าหมาย ก็จะทำให้สามารถปรับการยิงเข้าเป้าหมายได้ด้วยความเป็นจริงที่เกิดจากจุดเกิดความสัมพันธ์เชื่อมโยงซึ่งกันและกัน จุดนั้นคือ ตำบลระเบิดซึ่ง ผตน. สามารถตรวจการณ์เห็นและทำการปรับเข้าหาที่หมาย

๓. การเตรียม การเตรียมแผ่นกรุยจุด ต้องทำตามขั้นตอนดังนี้

           ก. หาค่ามุมภาคแนววางพื้นยิง

           ข. เขียนค่ามุมทิศ ตามวิธีการเช่นเดียวกับการยิงแบบใช้หลักฐานแผนที่ (ประณีต)

(ตัวอย่างมุมภาค ๔๑๐๐ มุมจำลองทิศ ๒๘๐๐ ปักหลักเล็ง)

๔. การยิงนัดแรก

           ก. ที่ตั้งเป้าหมาย อาจส่งคำขอได้หลายวิธี และเจ้าหน้าที่หลักฐานก็นำมาดำเนินกรรมวิธี (หาระยะมุมทิศ) และส่งไปยังเจ้าหน้าที่คำนวณ ตามตัวอย่าง

                "นางนวล" จาก "ฉลาม" ปรับการยิงเปลี่ยน หมายกึ่งกลางเขตปฏิบัติการ มุมภาค ๔๔๐๐ เปลี่ยนทหารราบข้าศึก ๑๕ คน พร้อมด้วยปืนกลกำลังทำการยิง เปลี่ยน

           ข. หาหลักฐานกระสุนนัดแรก ผบ.ตอน วางพื้นยิงไปยังแนวกึ่งกลางเขตปฏิบัติการ (มุมภาค ๔๑๐๐ ตามตัวอย่าง) ระยะ ๙๐๐ (จากการคาดคะเน) เขาจะสั่งมุมภาค ๔๑๐๐ ระยะ ๙๐๐

           ค. กรุยหาหลักฐานยิงเริ่มแรก กระทำดังต่อไปนี้

                ๑) หมุนแผ่นหมุนไปที่มุมภาค ๔๑๐๐

                ๒) กรุยที่ตั้งลงไปที่ระยะ ๙๐๐ ตามเส้นตั้งเส้นหลัก แล้วเขียนหมายเลข ๑ (นัดที่ ๑)

           ง. คำนวณ อ่านมุมทิศ (จะเป็น ๒๘๐๐ เพราะเขียนเลขจำลองทิศลงไปที่มุมภาค ๔๑๐๐ ระยะ ๙๐๐ ตามที่กรุยลงไป) นำค่าทางระยะมาหาส่วนบรรจุและมุมสูงในสมุดตารางยิงหรือบรรทัดตารางยิง

๕. กระสุนนัดต่อไป

           หลังจากยิงนัดแรกไปแล้ว ผตน.ตรวจตำบลกระสุนตกและส่งผลการแก้กลับมายัง ศอย. การปรับจะใช้ระยะเป็นเมตรจากกระสุนนัดสุดท้ายที่ยิงไปแล้ว ศอย.ทำการกรุยกระสุนนัดที่ ๒ ลงไป อ่านระยะและมุมทิศ ก็จะเป็นหลักฐานที่จะใช้เป็นจุดอ้างหรือจุดเริ่มต้นสำหรับการยิงภารกิจอื่น ๆ ต่อไปโดยวิธีการย้ายจากจุดที่ทราบ

 

ตอนที่ ๔ สรุป การใช้แผ่นกรุยจุด

 

๑. วิธีการสร้างผังการยิงตรวจการณ์กำหนดที่ตั้งยิงบนจุดหมุน

           ๑.๑ เขียนมุมจำลองทิศ

                     ก) เขียนมุมจำลองทิศ ๒๘๐๐ ตรงกับมุมภาคทิศตั้งปืนตรงทิศ

                     ข) เขียนมุมทิศ เพิ่มไปทางซ้าย เขียนมุมทิศ ลดไปทางขวา

           ๑.๒ การกรุยเป้าหมาย

                     ก) ตั้งแผ่นหมุนมุมภาคทิศ ค-ม ตรงดรรชนีหัวลูกศร

                     ข) กรุยเป้าหมายระยะ ค-ม (ตามมาตราส่วน) เส้นดรรชนี

                     ค) เป้าหมายอื่น ๆ กระทำเช่นเดียวกัน

           ๑.๓ การปฏิบัติในการหาหลักฐานยิง

                     ก) ตั้งแผ่นหมุนให้ดรรชนีหัวลูกศรตรงมุมภาคทิศ (ภต) ของ ผตน.(ต-ม) ทำเครื่องหมาย

        ตรงดรรชนีหัวลูกศร แนว ต-ม จะต้องอยู่ในลักษณะนี้จนกว่าจะจบภารกิจ

                     ข) วัดมุมทิศและระยะโดยเลื่อนก้านวัดระยะทิศให้ตรงจุดกรุยเป้าหมาย อ่านมุมทิศและระยะ

 

                     ค) ในกรณีที่ตั้งปืนกับเป้าหมายมีความสูงไม่เท่ากัน

                                               ผลแตกต่างสูง            =  ระยะแก้

                                                         2

                         เป้าหมายสูงกว่า ค.ระยะในผัง (ระยะระดับ) + ระยะแก้ = ระยะยิง

                         เป้าหมายต่ำกว่า ค.ระยะในผัง (ระยะระดับ) - ระยะแก้ = ระยะยิง

           ง) เปิดสมุดตารางยิงหรือใช้บรรทัดตารางยิง พิจารณาส่วนบรรจุหาค่าความสูงต่างตามระยะยิงที่หาได้ในข้อ ค)

           จ) ผตน.ส่งผลการแก้ไขการยิง กรุยจุดการแก้ไขการยิงจากจุดนัดสุดท้ายทางทิศและทางระยะโดยยึดถือแนว ต-ม เป็นหลัก ปฏิบัติเช่นนี้ต่อไปจน ผตน.รายงานจบภารกิจยิง

๒. วิธีการสร้างผังการยิงแผนที่ กำหนดที่ตั้งยิงบนจุดหมุน

           ๒.๑ ตั้งแผ่นหมุน มาตรามุมภาค ๐ ตรงดรรชนีและต้องอยู่ในลักษณะนี้จนกว่าจะกรุยจุดต่าง ๆ เรียบร้อย

           ๒.๒ เลือกเส้นกริดตั้งและนอน เมื่อกรุยจุดที่ตั้ง ค.แล้ว จะต้องให้ที่ตั้ง ค.อยู่ใกล้จุดศูนย์กลางมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้ค่าตัวแก้คลาดศูนย์น้อย

           ๒.๓ หาค่าตัวแก้คลาดศูนย์ ที่ตั้ง ค.ห่างจากจุดศูนย์กลาง เป็นค่าตัวแก้ขวา-ซ้าย (เส้นกริดตั้ง) ทางระยะเพิ่ม-ลด (เส้นกริดนอน) จดค่าตัวแก้นำไปใช้แก้จุดพิกัดเป้าหมายและที่ตั้งตรวจการณ์

           ๒.๔ เขียนมุมทิศตามข้อ ๑.๑

           ๒.๕ กรุยเป้าหมายและที่ตั้งตรวจการณ์โดยนำค่าตัวแก้ในข้อ ๒.๓ มาใช้

           ๒.๖ การหาหลักฐานยิง ปฏิบัติตามข้อ ๑.๓

๓. วิธีสร้างผังการยิงแผนที่โดยไม่กำหนดที่ตั้งยิง ค. บนจุดหมุน

           ๓.๑ ตั้งแผ่นหมุนตามข้อ ๒.๑

           ๓.๒ เลือกเส้นกริดตั้งและนอน เมื่อกรุยจุดที่ตั้ง คงแล้วสามารถใช้ระยะยิงได้ไกลสุด

           ๓.๓ เขียนมุมทิศตามข้อ ๑.๑

           ๓.๔ กรุยเป้าหมายและที่ตั้งตรวจการณ์ตามพิกัดที่ทราบ

           ๓.๕ การปฏิบัติในการหาหลักฐานยิง

                     ก) ตั้งแผ่นหมุนตามแนว ต-ม ตามข้อ ๑.๓ ก)

                     ข) ตั้งแผ่นหมุนโดยใช้จุดพิกัดที่ตั้ง ค. และจุดเป้าหมายอยู่บนเส้นตั้งหรือขนานกับเส้นตั้ง (ค.อยู่ด้านล่าง เป้าหมายอยู่ด้านบน)

                     ค) อ่านมุมทิศที่ดรรชนีหัวลูกศร และอ่านระยะโดยเทียบจากมาตราระยะบนแผ่นฐาน ก้านวัดระยะทิศจะใช้วัดหลักฐานไม่ได้ให้นำออก

                     ง) การแก้สูงต่างและหาหลักฐานยิงปฏิบัติตามข้อ ๑.๓ ค) และ ๑.๓ ง)

           ๓.๖ การปฏิบัติการแก้ไขการยิงของ ผตน.จะต้องตั้งแผ่นหมุนตามข้อ ๓.๕ ข) ทุกครั้ง หาหลักฐานยิงแล้วจึงปฏิบัติตามข้อ ๑.๓ จ)

 

ตอนที่ ๕

การปรับกรวยขนานคู่

           การวางพื้นยิงกรวยขนานคู่นั้น ตำบลระเบิดของแต่ละปืนอาจจะไม่ตกห่างกันเท่ากับระยะห่างของปืนตามภาพ ตำบลระเบิดไขว้กันดังภาพ


การปรับกรวยขนานคู่ ผตน.แจ้งผลการยิงไปยัง ศอย.และขอปรับกรวย โดยกระทำต่อจากการยิงหาหลักฐานการยิง หัวข้อวิธียิงจะขอยิงเป็นรอบจากซ้ายหรือขวา เวลา ๕ หรือ ๑๐ วินาที การยิงจะเว้นปืนหมู่หลักการยิงปรับกรวยขนานคู่จะให้ได้ผลดีนั้น ผตน.ต้องพยายามอยู่ใกล้แนวปืน-เป้าหมาย (แนว ป-ม) ให้มากที่สุด

วิธีปฏิบัติของ ผตน.

           ๑. ส่งคำขอยิง ปรับกรวยต่อ จล.

           ๒. ปรับแก้ตำบลระเบิดของแต่ละหมู่ที่ถูกต้องในทางทิศที่ ผตน.ตรวจเห็น

           ๓. ส่งผลการแก้ของแต่ละหมู่ที่ผิดพลาดไปให้ ศอย.

วิธีปฏิบัติของ ศอย.

           ๑. แปลงการแก้ทางทิศของ ผตน.โดยใช้ระยะปืนเป้าหมาย หามุมทิศที่ผิด สร้างความสัมพันธ์กับมุมทิศของปืนหลักที่ยิงถูก จล.ในระบบขนาน

           ๒. สั่งปืนเล็งด้วยมุมทิศของแต่ละหมู่ที่คำนวณได้ต่อหลักเล็ง

           ๓. โดยไม่เลื่อนปืน ตั้งกล้องเล็งด้วยมุมทิศของปืนหลักที่ยิงถูก จล.ปักหลักเล็งในแนวนี้

           ตัวอย่าง สมมุติตอนมี ค. ๓ หมู่ ปืนหลักตั้งอยู่ที่ศูนย์กลางของตอน ยิงหาหลักฐานต่อ จล.ได้หลักฐานกะกำหนด มุมทิศ ๒๘๕๐ มิล ระยะ ๓,๐๐๐ เมตร

 

           ผตน. รายงานผลการแก้ไขกรวยขนานคู่ ดังนี้

                     หมู่ ๑ ขวา ๓๐

                     หมู่ ๒ ซ้าย ๒๐


หมายเหตุ เมื่อเล็งต่อหลักเล็งตามที่สั่ง แต่ละหมู่เมื่อรายงานพร้อม ผบ.ตอน (หมวด) สั่ง ตอน (หมวด) มุมทิศ ๒๘๕๐ จำลองทิศปักหลักเล็งการปฏิบัติเหมือนกับจำลองทิศ ๒๘๐๐

 

กรวยพื้นยิง

           ๑.  กรวยขนานคู่

           ๒.  กรวยปิด

           ๓.  กรวยเปิด

           ๔.  กรวยพิเศษ


ลักษณะของเป้าหมาย

                - เป็นจุด

                - เป็นพื้นที่

 

           เป้าหมายเป็นพื้นที่

                - เป้าหมายที่มีความกว้าง

                - เป้าหมายตามทางลึก


การยิงเป้าหมายที่มีความกว้างด้านหน้า

           ๑.  ย้ายกรวยพื้นยิง

           ๒.  เปิดกรวยยิงส่าย


รายละเอียดเพิ่มเติม

๑. การระวังรักษาแผ่นกรุยจุด เอ็ม.๑๖

           ก. การจับถือ การจับถือแผ่นกรุยจุดนั้นจงจับถือด้วยความระมัดระวัง เพื่อมิให้แผ่นกรุยจุดถูกความร้อนหรือแสงแดดมากเกินไป ซึ่งอาจเป็นเหตุให้แผ่นกรุยจุดบิดเบี้ยวโค้งงอได้ ควรเก็บไว้ในถุงบรรจุวางให้แผ่นฐานอยู่ข้างล่างแบบราบกับพื้น อย่าเก็บแผ่นกรุยจุดโดยตั้งขอบขึ้น และอย่าเอาของอื่นวางทับ

           ข. การทำความสะอาดตามปกติอาจทำความสะอาดบนแผ่นกรุยจุดได้ด้วยยางลบอ่อน ๆ ถ้าแผ่นกรุยจุดสกปรกมาก ให้ทำความสะอาดด้วยกระดาษเช็คเล็นซ์ (หรือผ้าอ่อนนุ่ม) โดยชุบน้ำสบู่ ล้าง เช็ดถูเบา ๆ จนแห้ง การทำความสะอาดผิวหน้าของแผ่นฐานกับแผ่นหมุนที่สัมผัสกันบ่อย ๆ ให้ถอดแผ่นหมุนโดยใช้เครื่องมือที่ไม่มีคม กดจุดหมุนจากด้านหลังจองแผ่นฐาน อย่าพยายามถอดแผ่นหมุนโดยการยกขอบนอกของแผ่นหมุน อย่าทำความสะอาดแผ่นหมุนหรือแผ่นฐานด้วยน้ำมันเบนซิน, น้ำยาซักแห้งหรือน้ำยาที่จะทำให้ละลาย เฉพาะผิวที่เป็นโลหะเท่านั้นที่อาจใช้ของเหลวทำความสะอาดหรือทินเนอร์ทำความสะอาดได้ เมื่อจะกรุยจุดต่าง ๆ ลงบนแผ่นหมุน อย่าใช้เข็มหรือหมุดกรุย อย่าเขียนด้วยน้ำหมึกหรือสิ่งที่ลบไม่ออก

๒. ข้อควรระวังในการใช้แผ่นกรุยจุด

           หลักฐานที่ได้จากแผ่นกรุยจุดจะถูกต้องแน่นอนเพียงใดนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับความละเอียดประณีตของผู้ใช้แผ่นกรุยจุดนี้ใช้สำหรับกรุยที่ตั้งให้มีความสัมพันธ์กันอย่างถูกต้อง ที่ตั้งเหล่านี้ได้แก่ ที่ตั้งของ ค. จุดยิงหาหลักฐานและเป้าหมายต่าง ๆ แผ่นกรุยจุดนี้ยังเป็นเครื่องมือควบคุมการยิงระหว่างที่ตั้งยิงถึงจุดหาหลักฐานหรือเป้าหมาย หลักฐานที่หาได้จะถูกต้องหรือไม่ขึ้นอยู่กับขนาดของจุดที่เขียนลงไปในแผ่นหมุน จงเขียนจุดให้เล็กที่สุดเท่าที่จะทำได้ และให้เขียนวงกลมล้อมรอบจุดที่กรุยไว้เพื่อให้สังเกตได้ง่าย และถ้าจำเป็นก็ให้เขียนเลขกำกับไว้ด้วย การกรุยจุดควรใช้ดินสอดำชนิดอ่อน เหลาให้แหลม ๆ (ไม่ควรแข็งกว่าเอชบี) การหาหลักฐานนั้นจึงต้องระมัดระวังใช้ตรงที่จุดไว้มิใช่วงกลม

 


องค์ประกอบและลำดับคำขอยิง

            องค์ประกอบ                                          ตัวอย่าง

๑. การแสดงตนของผู้ตรวจการณ์                        ๑. ลพบุรี ๑๘ จาก ลพบุรี ๒๔

๒. คำสั่งเตือน

   ๒.๑ วิธีพิกัด                                              ๒.๑ ปรับการยิง

   ๒.๒ วิธีพิกัด โปล่าร์                                                    ๒.๒ ปรับการยิง โปล่าร์

   ๒.๓ วิธีย้ายจากจุดที่ทราบ                                           ๒.๓ ปรับการยิงจากเนิน ๗๓๒

๓. การกำหนดที่ตั้งเป้าหมาย

   ๓.๑ วิธีพิกัด                                              ๓.๑ พิกัด ๘๔๕๕๒๖ มุมภาค ๑๖๕๐

   ๓.๒ วิธีพิกัด โปล่าร์                                                ๓.๒ มุมภาค ๔๕๒๐ ระยะ ๒๓๐๐ ต่ำลง ๒๕

   ๓.๓ วิธีย้ายจากจุดที่ทราบ                                       ๓.๓ มุมภาค ๕๒๑๐ ซ้าย ๓๘๐ เพิ่ม ๔๐๐ ต่ำลง ๒๕

๔. ลักษณะเป้าหมาย                                                   ๔. ผกค. ๒๐ คน ในที่แจ้ง

๕. วิธีโจมตี

   ๕.๑ ชนิดของการปรับการยิง                        ๕.๑ อันตรายใกล้ฝ่ายเรา

       (ยิงประณีต,ยิงเป็นพื้นที่)

   ๕.๒ กระสุนวิถี                                           ๕.๒ มุมใหญ่ใกล้ฝ่ายเรา (เว้นเมื่อยิงมุมเล็ก)

   ๕.๓ กระสุนและชนวน

          ๕.๓.๑ ชนิดกระสุน                                          ๕.๓.๑ กระสุนควันขาว (ใช้กระสุนระเบิด)

          ๕.๓.๒ ชนิดชนวน                                                   ๕.๓.๒ ชนวนวิถีในการยิงหาผล (เว้นเมื่อใช้ชนวนไว)

๕.๔ กรวยพื้นยิง                                                ๕.๔ กรวยปิด (เว้นเมื่อใช้กรวยปกติ)

๖. วิธียิงและการควบคุม

   ๖.๑ วิธียิง                                                 ๖.๑ เป็นรอบจากขวา (ซ้าย)

                                                                                 (เว้นเมื่อปรับด้วย ป.๑ กระบอก)

   ๖.๒ การควบคุม                                         ๖.๒ ตามคำสั่งข้าพเจ้า  (เว้นเมื่อไม่มีการควบคุมการยิง)

 

-----------------------------