ตอนที่ 1

บทที่ ๑

กล่าวนำเกี่ยวกับปืนกลยิงลูกระเบิด ขนาด ๔๐ มิลลิเมตร MK19 MOD3

ภาพส่วนประกอบภายนอกของปืนกลยิงลูกระเบิด ๔๐ มิลลิเมตร MK19 MOD3 และเปลปืน MK64 MOD4

๑. คุณลักษณะของปืนกลยิงลูกระเบิด ขนาด ๔๐ มิลลิเมตร MK19 MOD3

๑.๑ ปืนกลยิงลูกระเบิด ขนาด ๔๐ มิลลิเมตร MK19 MOD3 เป็นอาวุธกลระบายความร้อนด้วยอากาศ ทำงานด้วยระบบแรงดันก๊าซผลักลูกเลื่อนไปข้างหลัง

๑.๒ ใช้ยิงกับลูกระเบิดยิง ขนาด ๔๐ มิลลิเมตร มีอัตราเร็วในการยิง ๓๒๕ - ๓๗๕ นัด / นาที

๑.๓ ลูกระเบิดยิงแบบ M 430 (HEDP) สามารถเจาะเกราะหนาได้ถึง ๒ นิ้ว (เมื่อลูกระเบิดยิงกระทบเป้าในแนวศูนย์องศา) รัศมีการระเบิดสังหารบุคคล ๕ เมตร และรัศมีทำให้บาดเจ็บ ๑๕ เมตร

๑.๔ ระยะยิงหวังผลสูงสุด ๑,๕๐๐ เมตร

๑.๕ ปืนนี้ได้รับการออกแบบมาเพื่อไม่ให้เกิดการ “ ปะทุในรังเพลิง ” (ระเบิดในรังเพลิง )

๑.๖ น้ำหนักของปืน ๗๕.๖ ปอนด์ และพลประจำปืนสามารถแบกหามไปได้ด้วยตนเอง

- ความยาว ๔๓.๑ นิ้ว

- ความกว้าง ๑๓.๔ นิ้ว

- ความสูง ๘.๘ นิ้ว

๒. คุณลักษณะของเปลปืน MK64

๒.๑ เปลปืน MK64 ใช้สำหรับการติดตั้งกับ ขาหยั่ง M 3 หรือแท่นบนรถ M 4

๒.๒ เปลปืน MK64 ใช้ยึดตัวปืนและทำให้ปืนหมุนรอบแท่นติดตั้ง

๒.๓ ออกแบบให้มีแผ่นโลหะด้านซ้ายเปลปืนสำหรับติดตั้งที่ใส่กล่องบรรจุลูกระเบิดยิง (Ammocan bracket ) และกล่องบรรจุลูกระเบิดยิง (Ammo Can) ได้

๒.๔ ออกแบบให้มีสลักกลอนยึดสำหรับยึดปืนให้ติดกับเปลปืนไว้ ในขณะทำการเคลื่อนย้ายด้วยยานยนต์

๒.๕ น้ำหนักของเปลปืน ๒๑ ปอนด์

- ความยาว ๑๗.๕ นิ้ว

- ความสูง ๙.๕ นิ้ว


การทำงานของปืนกลยิงลูกระเบิด ขนาด ๔๐ มิลลิเมตร MK19 MOD3

๑. การบรรจุลูกระเบิดยิง และ การดึงคันรั้งลูกเลื่อน ( LOADING / CHARGING )

๑.๑ ข้อต่อสายลูกระเบิดยิง ขนาด ๔๐ มิลลิเมตร ( Linked ammo ) ถูกนำไปวางบนถาดป้อน ลูกระเบิดยิง ( Feeder ) ( 1 )

๑.๒ คันรั้งลูกเลื่อนถูกกดให้ต่ำลงและดึงมาข้างหลัง ซึ่งเป็นการดึงลูกเลื่อนให้ถอยหลัง ( 2 ) พร้อมกับเลื่อนลูกระเบิดยิงนัดแรกเข้าไปวางอยู่ในถาดป้อนลูกระเบิดยิง ( 1 )

๑.๓ คันรั้งลูกเลื่อนจะต้องดันกลับไปข้างหน้าสุด และจัดให้ตั้งไว้เพื่อให้ระบบการทำงานของปืน พร้อมทำการยิง การกดไกปืนเป็นการปลดลูกเลื่อนให้กระแทกไปข้างหน้า และลูกเลื่อนจะไปจับท้ายลูกระเบิดยิงนัดแรกให้อยู่ในตัวขอรั้งรองลูกระเบิดยิง ( Extractors ) ( 3 )

๑.๔ การดึงคันรั้งลูกเลื่อนมาข้างหลังครั้งที่สอง จะเป็นการแยกลูกระเบิดยิงให้ออกจากข้อต่อสาย ลูกระเบิดยิง ซึ่งลาดโค้งบนตัวคันลาดบังคับลูกระเบิดยิงให้เลื่อนลงทางแนวดิ่ง ( Vertical cam assembly ) ( 4 ) จะกด ลูกระเบิดยิงให้ต่ำลงไปรออยู่บนหน้าลูกเลื่อน และหลุดจากหน้าขอรั้งลูกเลื่อน

๑.๕ เมื่อลูกเลื่อนถอยมาข้างหลังสุด ( ดังที่แสดงในภาพ ) ขอจับท้ายลูกระเบิดยิง ( Bolt finger ) ที่หน้าลูกเลื่อน จะจับยึดลูกระเบิดยิงเอาไว้

๒. การยิง ( FIRING)

๒.๑ การกดไกเป็นเหตุให้โครงกระเดื่องไก ( Receiver sear ) ( 6 ) ปลดลูกเลื่อน และแหนบรับแรงถอย ( 7 ) จะดันให้ลูกเลื่อนไปข้างหน้า

๒.๒ ขณะที่ลูกเลื่อนกำลังเลื่อนไปทางข้างหน้า คันขึ้นนก ( Cocking lever ) ( 8 ) จะถูกปลด

๒.๓ สลักขัดกระเดื่องไกของลูกเลื่อน ( Bolt sear ) ( 9 ) จะกระแทกแผ่นโครงกระเดื่องไก และ สลักขัดกระเดื่องไกจะถูกผลักไปข้างหลัง จังหวะนี้เองจะเป็นการปลดเข็มแทงชนวนให้ไปกระทบกับจอกกระทบแตกท้ายลูกระเบิดยิง ( Primer ) ทำให้ลูกระเบิดยิงถูกยิงออกไป

หมายเหตุ : ก่อนทำการยิงต้องให้ที่จับคันรั้งลูกเลื่อนทั้งสองข้าง อยู่ด้านหน้าและตั้งขึ้น หากข้างหนึ่งข้างใดไม่ตั้งขึ้น ปืนจะไม่สามารถทำการยิงได้

๓. การถอย และ การสลัดรองลูกระเบิดยิง (RECOIL / EJECTING) กำลังดันที่เกิดจากการไหม้ของดินขับจะดันให้ลูกเลื่อน ถอยไปทางท้ายปืน ( การถอย ) ขณะที่ลูกเลื่อนถอยไปทางข้างหลัง จะเกิดอาการดังนี้.-

๓.๑ ทำการคัดรองลูกระเบิดยิง (10 ) ด้วยขอจับที่หน้าลูกเลื่อน ( Bolt fingers ) จับท้ายลูกระเบิดยิง

๓.๒ ลูกระเบิดยิงนัดต่อไปถูกดึงลงไปข้างล่างตรงหน้าลูกเลื่อน และลูกระเบิดยิงนี้จะดันรองลูกระเบิด ที่ยิงแล้วลงไปทางด้านล่างของตัวปืน

๓.๓ ลูกระเบิดยิงนัดต่อไปจะถูกเลื่อนให้ไปชิดกับ แท่นกั้นลูกระเบิดยิง ( Round positioning block ) ภายในถาดป้อนลูกระเบิดยิง ( Feeder ) เพื่อรอการปลดออกจากข้อต่อสายลูกระเบิดยิง การยิงจะกระทำต่อไปโดยอัตโนมัติตราบใดที่ยังกดไกอยู่

ภาพส่วนประกอบภายในของปืนกลยิงลูกระเบิด ขนาด ๔๐ มิลลิเมตร MK19 MOD3

ส่วนประกอบหลัก ๕ ส่วนใหญ่ คือ

๑. ชุดโครงปืนกลยิงลูกระเบิด (Receiver assembly) เป็นชิ้นส่วนที่ใหญ่ที่สุดที่จะให้ชุดชิ้นส่วนอีก ๔ ชิ้น ตามที่จะกล่าวในข้อต่อไปนำมาประกอบเข้าด้วยกัน โดยลูกระเบิดยิงจะถูกป้อนเข้าไปในถาดป้อนลูกระเบิดยิง(ทางด้านซ้ายของโครงปืน)

๒. ชุดเลื่อนลูกระเบิดยิงและถาดรองรับ (Feed slide assembly and tray) สำหรับยึดลูกระเบิดยิงไว้ใน ถาดป้อนลูกระเบิดยิง (Feeder) จะเป็นตัวนำลูกระเบิดยิงให้เข้าไปในตำแหน่งที่จะทำการยิง

๓. ชุดฝาครอบห้องลูกเลื่อน (Top cover assembly) เป็นตัวติดตั้งชุดเลื่อนลูกระเบิดยิงและถาดรองรับ ( Feed slide assembly and tray ) ฝาครอบห้องลูกเลื่อนจะถูกเปิดได้ด้วยการกดสลักกลอน (อยู่ทางด้านซ้าย) เมื่อต้องการบรรจุ ลูกระเบิดยิง หรือการทำความสะอาดและการตรวจบริเวณด้านหน้าถาดป้อนลูกระเบิดยิง

๔. ชุดกระเดื่องไก (Sear assembly) สำหรับรองรับโครงกระเดื่องไก (Receiver sear) การกดไกจะปลดไกและทำให้ลูกเลื่อน เลื่อนไปข้างหน้า คันห้ามไกติดอยู่กับชุดกระเดื่องไก

๕. ลูกเลื่อนและชุดแผ่นปิดท้ายปืน (Bolt and back plate assembly) ลูกเลื่อน จะเป็นตัวยิงลูกระเบิดยิง เมื่อกระเดื่องไกถูกกดด้วยการทำงานของไก แหนบรับแรงถอยจะขับลูกเลื่อนไปทางข้างหน้า ตามร่องของโครงปืนก้านแหนบรับแรงถอย จะเป็นตัวทำให้แหนบรับแรงถอยเคลื่อนที่อยู่ในแนวนอน ไกและด้ามจับจะติดตั้งอยู่บน ชุดแผ่นปิดท้ายปืน






บทที่ ๒

ขั้นตอนการทำงาน

การตั้งปืนกลยิงลูกระเบิด ขนาด๔๐ มิลลิเมตร MK19 MOD3

๑. การตั้งบนขาหยั่ง

การตั้งขาหยั่งสำหรับใช้งานบนพื้นดิน กางขาหยั่งออกในพื้นที่

จนได้ระดับ ให้พลั่วขาหยั่งจมดินเพื่อให้เกิดความมั่นคงแข็งแรง


คำเตือน

ถ้ากางขาหยั่งในบริเวณพื้นที่ ที่ไม่ได้ระดับ จะทำให้ฝาครอบห้องลูกเลื่อน เลื่อนปิดลงเองอย่างแรงจะก่อให้เกิดอันตรายต่อพลยิงหรือปืนได้

๒. การติดตั้งบนยานยนต์

รายละเอียดการติดตั้งบนยานยนต์จะอธิบาย เมื่อกล่าวถึงเรื่องเปลปืน MK64

อแดปเตอร์ติดตั้งปืนบนยานยนต์ ( Vehicle Mount Adapter )

จงแน่ใจว่าได้ใส่อแดปเตอร์ติดตั้งปืนบนยานยนต์ (Vehicle Mount Adapter) เข้าไปในฐานก่อนติดตั้งเปลปืน

๓. การติดตั้งเปลปืน ( GUN CRADLE )

๓.๑ ใส่เปลปืนเข้ากับฐานติดตั้งปืนโดยให้เดือยเปลปืน ลงตรงรูกึ่งกลาง

๓.๒ กดกลอนยึดเดือยเปลปืนลง (Pintle Lock) เพื่อขัดกลอนไว้กับฐานขาหยั่ง

๔. การติดตั้งตัวปืน

๔.๑ ใส่ตัวปืนลงเปลปืน แล้วเลื่อนตัวปืนเข้าไปข้างหน้าเล็กน้อย โดยให้หมุดนำบนเปลปืนตรงกันกับช่องบาก ร่องบนตัวปืน (1) และให้ช่องใส่สลักท้ายปืนตรงกับช่องใส่สลักเปลปืน (2)

๔.๒ ใส่สลักท้ายปืนกับเปลปืน

๔.๓ ถ้าปืนไม่ได้ติดตั้งควงมุมสูงและควงมุมส่าย

(T&E Mechanism) ให้ใส่สลักเฉพาะตัวหน้าเท่านั้น

๕. การตรวจสอบการทำงานของปืน

๕.๑ หันลำกล้องปืนไปยังสนามยิงปืน

๕.๒ ให้แน่ใจว่าภายในปืนปราศจากลูกระเบิดยิง

- อักษร F แสดงว่าปืนพร้อมยิง

- อักษร S แสดงว่าปืนอยู่ในลักษณะห้ามไก

คำเตือน

จงแน่ใจว่าไม่มีลูกระเบิดยิงอยู่บนหน้าลูกเลื่อนหรือในถาดป้อนลูกระเบิดยิง

๕.๓ ตรวจสอบการทำงานของคันบังคับการยิง เมื่ออยู่ในตำแหน่งห้ามไก S ( SAFE ) และตำแหน่งยิง F ( FIRE ) ขณะที่ฝาครอบห้องลูกเลื่อนอยู่ในตำแหน่งปิด

  • เลื่อนคันบังคับการยิงไปที่ตำแหน่งห้ามไก S (ดันไปทางซ้าย)

  • ดึงคันรั้งให้ลูกเลื่อนมาทางท้ายปืน

  • ดูคำเตือนข้างบน จงแน่ใจว่าไม่มีลูกระเบิดยิงอยู่บนหน้าลูกเลื่อนหรือในถาดป้อนลูกระเบิดยิง

  • กดไก ลูกเลื่อนจะต้องไม่เลื่อนไปข้างหน้า

  • เลื่อนคันบังคับการยิงไปในตำแหน่งยิง F (เลื่อนไปทางขวา)

  • กดไก ลูกเลื่อนจะเลื่อนตัวไปข้างหน้า

  • เลื่อนบังคับการยิงไปในตำแหน่งห้ามไก S

  • ปล่อยลูกเลื่อนไว้ในตำแหน่งข้างหน้าและปฏิบัติต่อไป

๕.๔ เปิดฝาครอบห้องลูกเลื่อน

- ตรวจดูภายในห้องลูกเลื่อนว่าชิ้นส่วนประกอบสูญหาย

หรือว่าเสียหายหรือไม่

- บริเวณที่ต้องเพ่งเล็งเป็นพิเศษ ใช้นิ้วสัมผัสเข็มแทงชนวน (1)

หมายเหตุ หากว่าปลายเข็มแทงชนวนไม่โผล่ยื่นไป ข้างหน้า ให้ดึงคันรั้งลูกเลื่อนใหม่แล้วปล่อย ให้ลูกเลื่อนเลื่อนไปข้างหน้าอีกครั้งหนึ่ง ด้วยแรงดันของแหนบ

- ตรวจดูว่าเข็มแทงชนวนโผล่ยื่นออกมาข้างหน้าหรือไม่ และจะต้องไม่บิ่นหรือหัก

- สัมผัสหน้าลูกเลื่อน (2) ดูว่าเรียบลื่นหรือไม่ และจะต้องไม่แห้งหรือสาก

๖. การตรวจชุดเลื่อนลูกระเบิดยิงและถาดป้อนลูกระเบิดยิง (Feed slide assembly and feeder)

๖.๑ เลื่อนคานส่ายชุดเลื่อนลูกระเบิดยิงตัวที่สอง (1)

เลื่อนกลับไปกลับมา เพื่อดูว่าชุดเลื่อนลูกระเบิดยิงสามารถเคลื่อนตัวได้คล่องตัวหรือไม่ (เลื่อนชุดเลื่อนลูกระเบิดยิงไปทางด้านซ้ายก่อนที่จะปิด

ฝาครอบห้องลูกเลื่อน)

๖.๒ กดขอเลื่อนลูกระเบิดยิง (Pawls) (2) เพื่อตรวจสอบ

การทำงานของแหนบ

๖.๓ ตรวจดูความเรียบ (ไม่ขรุขระ) และความสกปรกของ

ร่องนำข้อต่อสายลูกระเบิดยิง (Link guide) (3)

คำเตือน

ก่อนที่จะปิดฝาครอบห้องลูกเลื่อนจะต้องดูให้แน่ใจเสมอว่า คานส่ายชุดเลื่อนลูกระเบิดยิง ตัวที่สอง ได้เกี่ยวกับแกนในชุดเลื่อนลูกระเบิดยิงแล้ว และ ชุดเลื่อนลูกระเบิดยิงจะต้องอยู่ทางซ้ายมือ ลูกเลื่อนจะต้องอยู่ข้างหน้า

๗. การตรวจคราบเขม่าจับหน้ารังเพลิง

๗.๑ ปิดฝาครอบห้องลูกเลื่อน ปฏิบัติตามคำเตือนที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น

๗.๒ ดึงคันรั้งให้ลูกเลื่อนมาข้างหลัง และเลื่อนคันบังคับการยิงไปที่ห้ามไก S

๗.๓ เปิดฝาครอบห้องลูกเลื่อน

๗.๔ ตรวจดูรังเพลิงเพื่อหาคราบเขม่าดินปืนดูให้ดีว่ามีคราบเขม่าหรือไม่ ให้ทำความสะอาดลำกล้องและ หน้ารังเพลิงด้วยแส้ทำความสะอาดลำกล้องและน้ำยาล้างคราบเขม่า RBC ( RIFLE BORE CLEANER )

๗.๕ ปล่อยลูกเลื่อนให้เลื่อนไปข้างหน้าช้า ๆ โดยกระทำดังนี้.-

  • เลื่อนคันบังคับการยิงไปในตำแหน่งที่ยิง F

  • จับคันรั้งลูกเลื่อนไว้ข้างหนึ่งขณะทำการกดไก

  • บังคับให้ลูกเลื่อนกลับเข้าที่ช้า ๆ

  • เลื่อนคันบังคับการยิงไปในตำแหน่งห้ามไก S

หมายเหตุ ก่อนทำการยิงให้เช็ดน้ำมันที่หล่อลื่นไว้มากเกินความจำเป็นออกจากลำกล้องปืนโดย ใช้ผ้าสะอาดใส่ไปในแส้แล้วทำความสะอาดลำกล้องปืน

๘. การป้อนลูกระเบิดยิง (FEEDING)

๘.๑ การตั้งคอรางเลื่อนสายลูกระเบิดยิง (Feed Theoat) เข้ากับ

ถาดป้อนลูกระเบิดยิง (Feeder)

- กดแหนบกลอนยึด (Spring-Loaded Pin) บนตัวคอราง

เลื่อนสายลูกระเบิดยิง (Feed Throat) (1)

- จัดให้กลอนยึด (2) ตรงกันกับช่องยึดด้านนอกของแท่น

ป้อนลูกระเบิดยิง

คำเตือน

ก่อนที่จะป้อนลูกระเบิดยิงจะต้องไม่มีลูกระเบิดยิงอยู่ในปืนและปืนจะต้องอยู่ในตำแหน่งห้ามไกก่อน ให้ใช้ลูกระเบิดยิงที่ได้รับอนุญาตให้ใช้เท่านั้น และแน่ใจว่าลูกระเบิดยิงจะต้องแห้ง ไม่มีรอยสับของเข็มแทงชนวนและต้องยึดติดอยู่กับข้อต่อสายลูกระเบิดยิงอย่างแน่นหนา

๘.๒ กล่องบรรจุ ลย. (Ammo can) และที่ใส่กล่องบรรจุ ลย. (Brackets)

- ถ้าตั้งปืนบนขาหยั่งที่พื้นดิน การป้อนลูกระเบิดยิงจากกล่องบรรจุ ลย. สามารถทำได้โดยตรง

- ถ้าตั้งปืนบนยานยนต์ ให้ติดตั้งที่ใส่กล่องบรรจุลูกระเบิดยิง (Brackets) และกล่องบรรจุลูกระเบิดยิง (Ammo can) ตามคู่มือการตั้งยิงบนยานยนต์ MK64 ๘.๓ ข้อควรระวังขณะกำลังป้อนลูกระเบิดยิง

- สอดลูกระเบิดยิงนัดแรกเข้าไปในคอรางเลื่อนสายลูกระเบิดยิง (Feed throat) (2) ขณะที่ฝาครอบห้องลูกเลื่อนเปิด

- ใส่ลูกระเบิดยิงนัดแรกเข้าในแท่นป้อนลูกระเบิดยิง โดยสอดข้อต่อสายลูกระเบิดตัวเมีย (3) ก่อน

ดันเลื่อนลูกระเบิดยิงให้เลยพ้นขอเลื่อนลูกระเบิดตัวที่หนึ่ง ห้ามป้อนลูกระเบิดยิงสวนกลับทาง

- ดูให้แน่ใจว่าลูกระเบิดยิงอยู่ในแนวตรงและจัดให้อยู่ในระหว่างขอเลื่อนลูกระเบิดยิงตัวที่หนึ่งและตัวที่สองพอดี

- เลื่อนชุดเลื่อนลูกระเบิดยิงไปทางซ้าย จากนั้นให้ปิดฝาครอบห้องลูกเลื่อนลง

หมายเหตุ ขณะป้อนลูกระเบิดยิง ลูกเลื่อนจะต้องอยู่ข้างหน้า ปลดห้ามไก S และปล่อยคันรั้งไปข้างหน้าอย่างช้า ๆ อย่าปล่อยให้ฝาครอบห้องลูกเลื่อนกระแทกปิดด้วยตัวมันเองอย่างแรง ในขณะที่ทำการเปิดไว้

๙. การดึงคันรั้งและการบรรจุ (CHARGING/LOADING) หันปากลำกล้องปืนไปในทิศทางสนามยิงปืน ปิดฝาครอบห้องลูกเลื่อนก่อนที่จะทำการดึงคันรั้งลูกเลื่อนมาข้างหลัง

๙.๑ ดึงลูกเลื่อนมาทางข้างหลัง

- จับด้ามคันรั้งลูกเลื่อน (1) โดยคว่ำฝ่ามือลงดังแสดงตามรูป กดกลอนยึดบนด้ามคันรั้งทั้งสองตัว(Handle locks) (2) หมุนด้ามคันรั้งลูกเลื่อนลง ดึงคันรั้งลูกเลื่อนให้มาข้างหลังอย่างแรง ดันด้ามคันรั้งกลับเข้าที่ไป ข้างหน้าให้สุดอีกครั้งหนึ่งแล้วหมุนด้ามคันรั้งทั้งสองให้ตั้งขึ้น เพื่อให้อยู่ในตำแหน่งขัดกลอน

๙.๒ บรรจุลูกระเบิดยิงนัดแรก

  • เลื่อนคันบังคับการยิงไปที่ตำแหน่งยิง F

  • กดไก ลูกเลื่อนผลักตัวไปข้างหน้า และลูกระเบิดยิงนัดแรกจะอยู่ที่หน้าลูกเลื่อน

- ดึงคันรั้งลูกเลื่อนมาข้างหลังอย่างแรง จะเป็นการดึงลูกเลื่อนพร้อมกับการบรรจุลูกระเบิดยิง

ให้อยู่ในตำแหน่งพร้อมยิง

  • ดันด้ามคันรั้งลูกเลื่อนไปทางข้างหน้า และจัดด้ามคันรั้งลูกเลื่อนอยู่ในตำแหน่งตั้งขึ้น

หมายเหตุ เพื่อให้ปืนพร้อมทำการยิงได้ จะต้องให้ด้ามคันรั้งลูกเลื่อนอยู่ข้างหน้าสุด และตั้งขึ้น

เลื่อนคันบังคับการยิงไว้ที่ตำแหน่งห้ามไก S จนกว่าจะสั่งให้ทำการยิง

๑๐. การปรับศูนย์หลัง

๑๐.๑ กดแหนบยึดโครงศูนย์หลัง (Plunger) (1) เพื่อให้แผ่นโครงศูนย์หลังตั้งขึ้น (Sight frame)(2) จนขัดกลอนเสียงดัง “คลิ๊ก”

๑๐.๒ คลายน็อตยึด (3) แล้วดันน็อตยึดเพื่อเลื่อนกรอบช่องเล็งหลัง (Aperture carrier)(4) ให้ขึ้นหรือลงเป็นการตั้งมุมสูงตามระยะยิง

๑๐.๓ หมุนปุ่มมุมสูง (5) เพื่อตั้งมุมสูงเป็นองศา

๑๐.๔ หมุนปรับทางทิศ (Windage screw)(6) เพื่อปรับ แก้ทางทิศโดยหมุน ๒ คลิ๊กเท่ากับ ๑ มิลเลียม หมุนตามเข็มนาฬิกา ศูนย์หลังจะเลื่อนไปทางซ้าย

๑๐.๕ ศูนย์รบ (Battle sight)(7) ใช้เล็งควบกับศูนย์หน้า เมื่อใช้ศูนย์รบ ให้พับศูนย์หลังลง

๑๑. กล้องเล็งเวลากลางคืน (NIGHT VISION AN/TVS – 5) รายละเอียดการใช้กล้องเล็งเวลากลางคืนดูตาม คู่มือสำหรับผู้ใช้ TM ll – 5855 – 214 – 10

๑๒. การยิงโดยใช้ชุดเรือนควงมุมส่ายและควงมุมสูง (T & E Mechanism)


คำเตือน

ให้ปืนชี้ไปในสนามยิงปืนเสมอ และแน่ใจว่าแนวยิงไม่มีสิ่งใดกีดขวางอยู่

ข้อควรจำ ก่อนปรับศูนย์ปืนจะต้องติดตั้งชุดเรือนควงมุมส่ายและควงมุมสูงเข้ากับขาหยั่งก่อน ดังแสดงใน คู่มือ TM 08521 – A – 23 P/TM 9 – 1010–231–10 & P

พลยิงจะต้องทำการปรับศูนย์ปืนใหม่ทุกครั้งที่เปลี่ยนชนิดของลูกระเบิดยิง เช่น จาก ลย. M 430 เป็น M 385 เป็นต้น

๑๒.๑ กะระยะยิงโดยประมาณ อาศัยเทคนิคการกะระยะที่ได้ฝึกมา

๑๒.๒ ปลดห้ามไก

๑๒.๓ ดันคันรั้งลูกเลื่อนไปข้างหน้า และจัดให้ด้ามคันรั้งตั้งขึ้น

๑๒.๔ มือทั้งสองจับด้ามท้ายปืนใช้หัวแม่มือกดที่ไก

๑๒.๕ กดไกทำการยิงลูกระเบิดไป ๓ ถึง ๕ ลูก

๑๒.๖ ทำการกะระยะด้วยสายตา โดยอาศัยเทคนิคกะระยะที่ได้เคยฝึกมาแล้ว

๑๒.๗ปรับจุดตำบลกระสุนตกโดยการปรับปุ่มทางทิศ และปุ่มทางระยะ จนกระทั่งลูกระเบิดยิง ถูกเป้าหมายภายในรัศมี ๕ เมตร

๑๓. การยิงกราดคลายปืน (FREE GUN)

เทคนิคการยิงกราดคลายปืน (FREE GUN) จะใช้สำหรับการฝึกยิงและในสนามรบ เป็นบางครั้ง ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ศูนย์หลังหรือชุดเรือนควงมุมส่ายและควงมุมสูง ( T & E Mechanism)


คำเตือน

ก่อนทำการยิงกราดคลายปืน (FREE GUN) จะต้องติดตั้งอุปกรณ์บนเปลปืนสำหรับรองรับการกดของปืนไว้ รายละเอียดตามคู่มือ TM 0868 A – 13 & P/l

การยิง ลย.ในลูกแรกควบคุมได้ยาก เพราะปืนจะถอยมาข้างหลัง พลยิงจะต้องรับแรงถอยนี้มาก จึงยากในการที่จะรักษาจุดเล็งให้ได้ระยะและทิศทางเดิม

ห้ามยิงลูกระเบิดยิงชนิดหัวระเบิดแรงสูง (HE) ไปยังเป้าหมายในระยะต่ำกว่า ๒๐๐ เมตร ในขณะทำการฝึกยิง หรือทำการยิงในระยะ ๗๕ เมตร ในขณะทำการรบ เพราะสะเก็ดระเบิดสามารถกระจายมาถึงพลยิงในระยะต่ำกว่า ๒๐๐ เมตร ได้ เลือกเป้าหมายที่อยู่ในระยะประมาณ ๔๐๐ เมตร ( ในการฝึกยิงไม่ควรยิงในระยะต่ำกว่า ๒๐๐ เมตร)

การจัดทำท่ายิงสำหรับการยิงกราดคลายปืน ( ไม่ใช้ชุดเรือนควงมุมสูงและควงมุมส่าย ) มีดังนี้.-

- เก็บข้อศอกให้ชิดลำตัว

- ใช้มือทั้งสองจับด้ามจับท้ายปืนให้แน่น

- ใช้หัวแม่มือกดที่ไก

- ดึงปืนเข้าชิดหน้าอกให้มากที่สุด

- ดูคำเตือนข้างบน และแน่ใจว่าได้ติดตั้งอุปกรณ์เปลปืนสำหรับรองรับการกดปืนไว้ไม่ให้เกิดการยิงต่ำกว่าระยะ ๒๐๐ เมตร

๑๔. การปฎิบัติภายหลังการยิง (After firing)

๑๔.๑ ปลดลูกระเบิดยิงหรือปลอกลูกระเบิดยิงออกจากลูกเลื่อน

- เลื่อนคันบังคับการยิงไปในตำแหน่งห้ามไก S

ให้หันปากกระบอกปืนไปยังสนามยิงปืน

- ดึงคันรั้งลูกเลื่อนมาข้างหลัง ปล่อยคันรั้งไว้ทาง

ข้างหลังและกดลง

คำเตือน

ห้ามใช้ดาบปลายปืนงัดลูกระเบิดยิงที่ยังไม่ได้ยิงออกจากหน้าลูกเลื่อน

- สอดปลายแส้ทำความสะอาดลำกล้องผ่านร่องรางบนโครงปืนทางด้านขวา สอดเข้าไปให้ถึง หน้าลูกเลื่อนให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

- กดลงบนตัวลูกระเบิดยิงหรือ ปลอกลูกระเบิดยิง ดันให้หลุดจากหน้าลูกเลื่อนออกไปทางด้านล่างของปืนและรับลูกระเบิดยิงไว้อย่าให้ตกลงพื้น

- นำลูกระเบิดที่ยังไม่ได้ยิง ส่งคืนตามระเบียบที่ได้กำหนดไว้

๑๔.๒ ถอดลูกระเบิดยิงที่ยังติดกันอยู่ในข้อต่อสายลูกระเบิดยิง ออกจากถาดป้อนลูกระเบิดยิง

- เปิดฝาครอบห้องลูกเลื่อนดูว่าข้อต่อสายลูกระเบิดยิง

อยู่บนถาดป้อนลูกระเบิดยิงหรือไม่

- ใช้มือข้างหนึ่งสอดเข้าใต้ถาดป้อนลูกระเบิดยิง แล้วกดขอยึดลูกระเบิดยิงที่อยู่ระหว่าง ตัวที่หนึ่ง และตัวที่สอง

(Primary and secondary positioning pawls)

- พร้อมกันนั้นให้เลื่อนลูกระเบิดยิงที่ติดอยู่กับข้อต่อสายลูกระเบิดยิงออกจากถาดป้อนลูกระเบิดยิงแล้วเอาสายลูกระเบิดยิงออกจากคอรางเลื่อนสายลูกระเบิดยิง ( Feed throat )

- นำลูกระเบิดยิงทั้งสายกลับเข้าไปไว้ในกล่องบรรจุลูกระเบิดยิง

๑๕. การทำความสะอาดลำกล้องปืน และรังเพลิง

จงจำไว้ว่ารังเพลิงจะเป็นส่วนที่สกปรกที่สุด ดังนั้นเวลาทำความสะอาด จะต้องใช้แส้แยงลงไปให้ถึงหน้ารังเพลิงให้มากที่สุด

๑๕.๑ นำผ้าดอกแส้มาติดเข้ากับแส้แล้วจุ่มดอกแส้ทำความสะอาดลำกล้อง ลงในน้ำมันชำระลำกล้อง

(RBC) ให้ชุ่ม

๑๕.๒ สอดดอกแส้ทำความสะอาดเข้าทางปากลำกล้อง

๑๕.๓ ดันก้านแส้ทำความสะอาดลำกล้องให้สุดไปจนถึงรังเพลิง

๑๕.๔ จุ่มดอกแส้ทำความสะอาดลำกล้องให้ชุ่มอีกครั้งหนึ่งแล้วปฏิบัติซ้ำจนสะอาด

๑๕.๕ เช็ดลำกล้องและรังเพลิงให้แห้ง

๑๕.๖ ไล้น้ำมันชะโลมลำกล้องบาง ๆ (LSAT) จนทั่ว

๑๖. ตรวจเข็มแทงชนวน

เอาลูกระเบิดยิงออกหมดหรือยังปากลำกล้องปืนหันไปทิศทางที่ปลอดภัยหรือไม่

๑๖.๑ เลื่อนคันบังคับการยิงไว้ที่ตำแหน่งยิง F

๑๖.๒ จับฝาครอบห้องลูกเลื่อนให้อยู่ในตำแหน่งเปิดด้วยมือข้างหนึ่ง

๑๖.๓ กดไกเพื่อปลดลูกเลื่อนให้เลื่อนไปข้างหน้า

๑๖.๔ ตรวจเข็มแทงชนวน เข็มจะต้องโผล่ยื่นออกมาด้านหน้าและไม่บิ่นหรือหัก

๑๖.๓ กดไกเพื่อปลดลูกเลื่อนให้เลื่อนไปข้างหน้า

๑๖.๔ ตรวจเข็มแทงชนวน เข็มจะต้องโผล่ยื่นออกมาด้านหน้าและไม่บิ่นหรือหัก

ข้อควรจำ หากเข็มแทงชนวนไม่โผล่ยื่นออกมา ให้เลื่อนคันบังคับการยิงไว้ในตำแหน่งห้ามไก S ( SAFE )และให้ดึงคันรั้งลูกเลื่อนใหม่ จากนั้นจึงปฏิบัติตามขั้นตอนข้างต้นอีกครั้งหนึ่ง

๑๗. ถอดคุมในสนาม การตรวจ ทำความสะอาดและหล่อลื่น

๑๗.๑ ให้ทำทันทีหลังจากเลิกยิง พร้อมทำความสะอาดและหล่อลื่นเปลปืนและฐานที่ตั้งปืนด้วย

๑๗.๒ รายงานการสึกหรอ ชิ้นส่วนที่ชำรุดให้ช่างซ่อมสรรพาวุธทราบ

ข้อควรจำ ก่อนนำปืนเข้าเก็บคลังทุกครั้งจะต้องตรวจให้แน่ใจว่า เข็มแทงชนวนจะต้องโผล่ยื่นไปข้างหน้าเสมอ เพื่อไม่ให้แหนบเข็มแทงชนวนอัดตัวไว้ตลอดเวลา



บทที่ ๓

สภาวะต่าง ๆ ที่ไม่ปกติ

การถอดคุมในสนาม การทำความสะอาดและการหล่อลื่นจะต้องกระทำบ่อยๆ เมื่อสภาพอากาศที่ไม่ปกติ หากจำเป็นต้องทำการถอดคุมพิเศษ จะต้องกระทำโดยได้รับการกำกับดูแลจากช่างซ่อมสรรพาวุธ

๑. อากาศร้อนชื้น ไอน้ำเค็ม และละอองน้ำทะเล ๑.๑ ให้ทำการตรวจปืนบ่อยขึ้น เพื่อป้องกันการเกิดสนิม ๑.๒ เก็บรักษาปืนให้ปราศจากความชื้นเท่าที่จะทำได้ ๑.๓ การถอดคุมในสนาม การทำความสะอาด และการหล่อลื่นจะต้องทำการบ่อยขึ้น เพื่อรักษาเนื้อโลหะ

๑.๔ ใช้สารหล่อลื่นเคลือบอีกครั้งหนึ่ง เพื่อป้องกันเป็นพิเศษ

๒. อากาศร้อนแห้ง ทราย และ ฝุ่น

๒.๑ ความร้อนที่สูงมากจะทำให้สารหล่อลื่นแห้งเร็วกว่าปกติ ให้ทำความสะอาดและหล่อลื่นบ่อยครั้งขึ้น

๒.๒ให้ทำการหล่อลื่นด้วยสารหล่อลื่นเพิ่มขึ้นมากกว่าปกติตามจุดต่าง ๆ ดังต่อไปนี้.- (ดูจากภาพประกอบ)

จุดหล่อลื่นเมื่อสภาพอากาศร้อนแห้งมีทรายและมีฝุ่น


- ระหว่างแท่นกั้นลูกระเบิดยิง (Round positioning block) (1) กับผนังโครงปืนทางด้านขวา

- ระหว่างชุดแผ่นนำลูกระเบิดยิง (Alignment guide assembly)(2) กับผนังโครงปืนทางด้านหน้า

- ใต้ขอเลื่อนลูกระเบิดยิงตัวแรก (Primary pawl) (3)

- ใต้ร่องกลอนยึดคันรั้งลูกเลื่อน ( Charger Handle locks ) ( 4 ) และระหว่างเรือนคันรั้งลูกเลื่อนกับ

โครงปืน

- ด้านในของถาดป้อนลูกระเบิดยิง ( Feed Tray ) ( 5 ) หลังลูกระเบิดยิงถูกป้อนบรรจุ แล้วให้ หล่อลื่น ถาดป้อนลูกระเบิดยิง ให้มากกว่าปกติ ก่อนที่จะทำการยิง

- ภายในชุดกระเดื่องไก (Sear assembly) (6) ใต้กระเดื่องไก (Sear) และภายในตัวเรือนเครื่องลั่นไก

๓. อากาศหนาวเย็นเป็นน้ำแข็ง และ มีหิมะ

๓.๑ ให้คลุมปืนไว้เมื่ออยู่ภายนอกอาคารสถานที่

๓.๒ หากเก็บปืนไว้ในอาคาร อย่าให้ถูกกับความร้อนโดยตรง

๓.๓ หากโลหะเกิดมีละอองน้ำเกาะเช็ดให้แห้งแล้วทำการหล่อลื่นก่อนจะนำปืนออกนอกอาคาร และ ทำการหล่อลื่นครั้งที่สองบางๆ หากอุณหภูมิต่ำกว่า ศูนย์องศาเซลเซียส ควรใช้สารหล่อลื่น LAW

หมายเหตุ ก่อนทำการหล่อลื่นด้วยน้ำมันหล่อลื่น สำหรับใช้ในสภาพอากาศหนาวเย็น จงแน่ใจว่าได้เช็ด สาร LSAT ออกแล้ว เพราะสารทั้งสองชนิดนี้จะผสมเข้ากันไม่ได้


LAW = Lubricant Automatic Weapons Artic ( สารหล่อลื่นอาวุธกลในเขตหนาว )

LSAT = Lubricant Oil ( สารหล่อลื่น )

RBC = Rifle Bore Cleaner ( น้ำมันชำระลำกล้อง )


บทที่ ๔

การปรนนิบัติบำรุง

(PREVENTIVE MAINTENANCE – PM)

๑. การปรนนิบัติบำรุง

๑.๑ จงแน่ใจว่าปืนกลยิงลูกระเบิด ๔๐ มม. MK19 MOD3 อยู่ในสภาพพร้อมที่จะทำการยิงเสมอ

๑.๒ ตรวจดูว่าส่วนประกอบใด ๆ ในระบบที่ผิดปกติ เมื่อตรวจพบให้รีบทำการแก้ไขทันที ก่อนที่ จะเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดความเสียหาย และปืนไม่สามารถทำการยิงได้

๑.๓ ตารางการปรนนิบัติบำรุงข้างล่างนี้ จะแสดงให้เห็นว่าจะต้องตรวจสอบอะไรและห้วงระยะเวลาใด

๑.๔ บันทึกความผิดปกติที่ตรวจพบระหว่างใช้งานไว้ด้วยเสมอ ให้หยุดยิงทันทีหากเกิดอาการผิดปกติ

เพราะอาจจะก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิตหรือทำให้ชิ้นส่วนต่าง ๆ เสียหายได้

๑.๕ รายงานความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ช่างซ่อมสรรพาวุธ