การปฏิบัติต่อปืนและการทำงานของปืน

๑. กล่าวทั่วไป

ปืนกลแบบ เอ็ม.๖๐ เมื่อบรรจุทำการยิง เลิกบรรจุ และตรวจปืนนั้น จะต้องปฏิบัติในขณะที่ลูกเลื่อนอยู่ ในตำแหน่ง เปิดลูกเลื่อน ก่อนที่จะดึงลูกเลื่อนมาข้างหลัง แผ่นห้ามไกจะต้องเลื่อนอยู่ในตำแหน่ง " ยิง " ( FIRE ) เสียก่อน

๒. การบรรจุ

๒.๑ จัดแผ่นห้ามไกให้อยู่ในตำแหน่ง " ยิง "

๒.๒ ดึงลูกเลื่อนมาข้างหลัง โดยดึงที่คันรั้งลูกเลื่อน

๒.๓ ในเมื่อลูกเลื่อนถูกยึดอยู่ข้างหลังด้วยกระเดื่องไกแล้ว ให้เลื่อนคันรั้งลูกเลื่อนกลับไปข้างหน้า แล้วจัด แผ่นห้ามไกให้อยู่ในตำแหน่งห้ามไก ( SAFE )

๒.๔ ยกฝาปิดห้องลูกเลื่อนขึ้นตรวจดูว่าเครื่องป้อนกระสุน โครงลูกเลื่อน และรังเพลิง สะอาดหรือไม่

๒.๕ วางกระสุนนัดแรกของสายกระสุนลงบนร่องเครื่องป้อนกระสุน แล้วปิดห้องลูกเลื่อน

๓. การเลิกบรรจุ

ดึงลูกเลื่อนมาข้างหลัง จัดแผ่นห้ามไกให้อยู่ในตำแหน่ง " ห้ามไก " แล้วดันคันรั้งลูกเลื่อนกลับไปข้างหน้า ยกฝาปิดห้องลูกเลื่อนขึ้นแล้วถอดกระสุนหรือสายกระสุนออกจากเครื่องป้อนกระสุน

๔. การตรวจปืน

๔.๑ ภายหลังจากการที่ปืนเลิกบรรจุแล้ว

- ตรวจดูฝาปิดห้องลูกเลื่อน เครื่องป้อนกระสุน โครงลูกเลื่อน และรังเพลิงว่าปลอดภัยดี ไม่มี อะไรตกค้างอยู่

- จัดแผ่นห้ามไกให้อยู่ในตำแหน่ง " ยิง " แล้วเหนี่ยวไก เสร็จแล้วเลื่อนแผ่นห้ามไกให้อยู่ในตำแหน่ง ห้ามไก

๔.๒ ในระหว่างการฝึกเรื่องเครื่องกลไก ปืนจะปลอดภัยเมื่อลูกเลื่อนอยู่ข้างหน้าสุดห้ามไกตั้งอยู่ที่ " ห้ามไก " และยกฝาปิดห้องลูกเลื่อนขึ้น ในระหว่างการฝึกยิงด้วยกระสุนจริง ควรใช้แส้ทำความสะอาดปืนสอด เข้าไปในลำกล้องจนกระทั่งแลเห็นปลายแส้อยู่ในด้านในของโครงลูกเลื่อนแล้วถอดออก

การทำงานของเครื่องกลไก

ถ้าจะกล่าวถึงความรู้เบื้องต้นของการทำงานของเครื่องกลไกปืนกล เอ็ม.๖๐ แล้ว ชุดพลประจำปืน ต้องมีความรู้ดีกว่า โดยสามารถจะจดจำการทำงานของปืน และสามารถแก้ไขเหตุติดขัดซึ่งเกิดขึ้นในระหว่าง การยิงปืนได้

อาวุธปืนกลได้ออกแบบให้มีการทำงานของเครื่องกลไกอย่างอัตโนมัติปืนจะลั่นออกไปนานเท่านาน ตราบเท่าที่กระสุนยังป้อนเข้าไปในปืนอยู่และเหนี่ยวไกไว้ ทุก ๆ ครั้งที่ยิงกระสุนออกไป ๑ นัด ชิ้นส่วนต่าง ๆ ของปืนจะทำงานพร้อมกันในเวลาเดียวกัน และจะแบ่งออกเพื่อความมุ่งหมายในการสอนให้เข้าใจเท่านั้น ขั้นของการทำงานของปืนเราเรียกว่า วงรอบของการทำงานของปืน

เพื่อให้เกิดความง่ายในการเข้าใจถึงวงรอบของการทำงานของปืน จึงแบ่งวงรอบของการทำงาน ออกเป็น ๘ ขั้น คือ

๑. การป้อนกระสุน กระสุนนัดหนึ่งจะต้องอยู่ที่ร่องเครื่องป้อนกระสุน

๒. การบรรจุกระสุน กระสุนนัดหนึ่งจะถูกดันออกจากสายกระสุนและเข้าสู่รังเพลิง

๓. การขัดกลอน ลูกเลื่อนจะขัดกลอนอยู่ที่ด้านในของช่องขัดกลอนที่ลำกล้อง

๔. การยิง เข็มแทงชนวนจะกระแทกและจุดจอกกระทบแตกที่จานท้ายปลอกกระสุน

๕. การปลดกลอน ลูกเลื่อนจะปลดกลอนออกจากช่องขัดกลอนที่ลำกล้องปืน

๖. การรั้งปลอกกระสุน ปลอกกระสุนเปล่าจะถูกดึงออกจากรังเพลิง

๗. การคัดปลอกกระสุน ปลอกกระสุนเปล่าจะกระเด็นออกจากโครงลูกเลื่อน

๘. การขึ้นนก กระเดื่องไกจะเข้าขัดแง่ยึดกระเดื่องไกที่ก้านสูบ

วงรอบของการทำงานของเครื่องกลไก

วงรอบของการทำงานจะเริ่มขึ้นเมื่อใส่กระสุนนัดแรกเข้าไปยังช่องเครื่องป้อนกระสุน แล้วเหนี่ยวไกมา ข้างหลังเพื่อปลดกระเดื่องไกให้หลุดจากแง่ยึดกระเดื่องไก ปืนจะหยุดยิงต่อเมื่อปล่อยไก และกระเดื่องไกจะเข้าขัดกับแง่ยึดกระเดื่องไกที่ก้านสูบ เมื่อยังคงเหนี่ยวไกมาข้างหลังอยู่ ด้านหลังของกระเดื่องไกจะต่ำลงพ้น จากแง่ยึดของกระเดื่องไก จึงทำให้ก้านสูบและลูกเลื่อนเคลื่อนที่ไปข้างหน้าได้ด้วยแรงขยายของแหนบส่งก้านสูบขณะที่ปืนเริ่มทำงาน วงรอบของการทำงานจะเริ่มต้น

การป้อนกระสุน

๑. ขณะที่ลูกเลื่อนเริ่มต้นเคลื่อนที่ไปข้างหน้า คันเลื่อนสายกระสุนจะถูกบังคับให้เลื่อนไปทางขวา ทำให้ก้านคันเลื่อนสายกระสุนหมุนตัวไปอยู่ในทิศทางตรงกันข้ามและบังคับให้เหล็กรั้งกระสุนเคลื่อนที่ไปเกาะบน กระสุนนัดต่อไปที่อยู่ในสายกระสุน พร้อมที่จะดึงกระสุนมาวางตรงร่องเครื่องป้อนกระสุนในเมื่อส่วนเคลื่อนที่ถอย มาข้างหลัง

๒. ขณะที่ลูกเลื่อนเคลื่อนที่ถอยมาข้างหลังเมื่อลั่นไกแล้ว ลูกเบี้ยวบนส่วนบนของลูกเลื่อนจะบังคับ เลื่อนส่วนกระสุนให้มาอยู่ทางด้านซ้าย ก้านคันเลื่อนสายกระสุนก็จะบังคับคันเลื่อนสายกระสุนให้มาอยู่ทางซ้าย ก้านคันเลื่อนสายกระสุนก็จะบังคับให้เหล็กรั้งกระสุนเคลื่อนที่มาทางขวาเพราะมีจุดหมุน แล้วเลื่อนกระสุนนัดต่อ ไปให้เข้าอยู่ในช่องเครื่องป้อนกระสุน

การบรรจุกระสุน

๑. ขณะที่ลูกเลื่อนเคลื่อนที่ไปข้างหน้า แง่ขัดกลอนลูกเลื่อนตอนบนจะดันเข้ากับขอบจานท้ายปลอกกระสุน แรงกดของช่องบังคับกระสุนด้านหน้าและด้านหลังจะบังคับกระสุนเอาไว้ ขณะเมื่อแง่ขัดกลอนตอนบนของลูกเลื่อน สัมผัสเข้าช่องบังคับกระสุนด้านหน้า จะป้องกันการเคลื่อนไหวด้านหน้าของสายกระสุนในขณะที่สายกระสุนถูกถอด ออกจากสายกระสุน

๒. แง่ขัดกลอนลูกเลื่อนตอนบนจะนำกระสุนเคลื่อนไปข้างหน้า ลาดด้านหลังรังเพลิงจะบังคับให้ปลายหัว กระสุนกดต่ำลงเข้าสู่รังเพลิง เมื่อกระสุนเข้ารังเพลิงจนสุดแล้วขอรั้งปลอกกระสุนจะอ้าออกจับจานท้ายปลอก กระสุน และเหล็กคัดปลอกกระสุนซึ่งอยู่ที่หน้าลูกเลื่อนจะถูกกดให้จมลง

การขัดกลอน

ขณะเมื่อกระสุนเข้าสู่รังเพลิงแล้ว ลูกเลื่อนก็เข้าขัดกลอนที่ท้ายลำกล้องปืน แง่ขัดกลอนอันบนและอันล่าง จะสัมผัสเข้ากับพื้นรองลูกเลื่อนภายในช่องขัดกลอนลูกเลื่อน และแล้วลูกเลื่อนจะหมุนตัวตามเข็มนาฬิกา ก้านสูบ ยังคงเคลื่อนที่ไปข้างหน้าต่อไป เพราะเดือยก้านสูบสวมอยู่ในช่องรับที่ลูกเลื่อน เมื่อลูกเลื่อนหมุนตัวตามเข็ม นาฬิกา ๑/๔ รอบ จะเป็นการขัดกลอนอย่างสมบูรณ์

การยิง

หลังจากลูกเลื่อนเคลื่อนไปข้างหน้าจนสุด และอยู่ในลักษณะขัดกลอนแล้ว ก้านสูบยังคงเคลื่อนที่ไปข้าง หน้าโดยอิสระได้อีกชั่วระยะสั้น ๆ เดือยก้านสูบที่ยันอยู่ระหว่างขอบจานเข็มแทงชนวนจะดันเข็มแทงชนวนให้ เคลื่อนที่ไปข้างหน้า ปลายเข็มแทงชนวนจะโผล่ผ่านรูที่หน้าลูกเลื่อนออกไป เข็มแทงชนวนจะกระแทกเข้ากับ จอกกระทบแตกของกระสุนและจุดชนวนขึ้น

การปลดกลอน

๑. หลังจากกระสุนถูกจุดและขับดันลูกกระสุนผ่านพ้นรูแก๊สไปแล้ว แก๊สบางส่วนจะขยายตัวไหลไปใน กระบอกแก๊สโดยผ่านรูแก๊ส แก๊สจะเกิดขยายตัวอย่างรวดเร็วเข้าดันต่อหัวลูกสูบให้เคลื่อนที่ถอยมาข้างหลังด้วย

๒. ขณะที่ก้านสูบเคลื่อนที่ถอยมาข้างหลังต่อไปนั้น เดือยก้านสูบซึ่งสวมอยู่ในช่องรับเดือยที่ลูกเลื่อนจะบังคับให้ลูกเลื่อนเริ่มต้นหมุนทวนเข็มนาฬิกาแง่ขัดกลอนอันบนและอันล่างที่ลูกเลื่อนจะสัมผัสเข้ากับร่องด้านใน ของช่องขัดกลอน ลูกเลื่อนจะหมุนไป ๑/๔ รอบ (ทวนเข็มนาฬิกา) อันนี้เป็นการปลดกลอนลูกเลื่อนออกจากช่อง ขัดกลอนที่ท้ายลำกล้อง การปลดกลอนจะเริ่มเมื่อเดือยก้านสูบสัมผัสกับส่วนโค้งของช่องเดือยที่ลูกเลื่อนจะสิ้นสุดลง เมื่อลูกเลื่อนพ้นออกจากปลายของช่องขัดกลอน

การรั้งปลอกกระสุน

การรั้งปลอกกระสุนขณะเมื่อกำลังปลดกลอนอยู่ ขอรั้งจะเริ่มต้นทำงาน อาการหมุนของลูกเลื่อน ( ตอน ปลดกลอน ) ทำให้ปลอกกระสุนหลวมจากรังเพลิง ขณะที่ก้านสูบและลูกเลื่อนเคลื่อนที่ถอยไปข้างหลัง ขอรั้งปลอก กระสุน ( จับอยู่ที่ท้ายปลอกกระสุน ) จะดึงปลอกกระสุนเปล่าออกจากรังเพลิง

การคัดปลอกกระสุน

ขณะที่ปลอกกระสุนถูกถอนออกจากรังเพลิง แหนบเหล็กคัดปลอกกระสุนจะขยายตัว เหล็กคัดปลอกกระสุน จะดันจานท้ายปลอกกระสุน บังคับให้ด้านหน้าของปลอกกระสุนเบนหัวออกจากด้านขวาของโครงลูกเลื่อน ขณะที่ ลูกเลื่อนยังคงเคลื่อนที่ถอยมาข้างหลัง อาการดันของเหล็กคัดปลอกกระสุนต่อจานท้ายปลอกกระสุนและขอรั้ง ปลอกกระสุนจับขอบจานท้ายไว้ทางขวา จึงทำให้ปลอกกระสุนกระเด็นออกจากปืนเมื่อปลอกกระสุนเคลื่อนที่มาถึง ช่องคัดปลอกกระสุน สายกระสุนจะถูกบังคับให้กระเด็นออกตรงช่องคัดสายกระสุน ในขณะเมื่อลูกเลื่อนเคลื่อนที่ ถอยมาข้างหลัง จึงทำให้กระสุนนัดต่อไปเข้าอยู่ในร่องเครื่องป้อนกระสุน

การขึ้นนก

๑. ขณะที่แก๊สขยายตัวเข้าไปดันลูกสูบมาข้างหลัง ก้านสูบจะเคลื่อนที่มาอย่างเดียวในขั้นต้นโดยลูกเลื่อน ไม่ถอย เมื่อเดือยของก้านสูบสัมผัสกับขอบจานของเข็มแทงชนวนด้านหลังจะทำให้เข็มแทงชนวนถอยตัวออก จากจอกกระทบแตกของปลอกกระสุนที่ยิง แล้วเดือยของก้านสูบยังคงเคลื่อนที่ถอยมาข้างหลังต่อไปจนกดขอบ จานเข็มแทงชนวนอย่างเต็มที่ โดยดันแหนบเข็มแทงชนวนให้อัดตัว

๒. ตราบเท่าที่ยังเหนี่ยวไกมาข้างหลังอยู่ ปืนยังจะคงเริ่มต้นทำงานตามลำดับขั้นทั้ง ๘ ขั้นต่อไปอีกเป็น อัตโนมัติ เมื่อปล่อยไกกระเดื่องไกจะเข้ายึดอยู่กับแง่ยึดกระเดื่องไก วงรอบของการทำงานจะสิ้นสุดลง และปืน จะยังขึ้นนกอยู่