การเล็งเป้าและการใช้แบบกำหนดของตาราง 

การเล็งเป้าและการใช้แบบกำหนดของตาราง

 

ก. กล่าวทั่วไป

              การเล็งเป้าต้องการปรับแต่งอาวุธทั้งทางระดับและทางดิ่ง ดังนั้นจุดเล็งในเส้นตารางของกล้องเล็งตั้งฉากและทับกับเป้าในศูนย์เล็ง สำหรับอาร์มบรุสท์นั้น เส้นศูนย์เล็งก็คือเส้นเล็งจากตาของผู้ยิงผ่านเครื่องหมายที่ทำเป็นเป้าในเส้นตารางศูนย์เล็งที่สะท้อนออกมาตรงไปยังเป้าจริง ๆ ที่กำลังค้นหาอยู่

ข. การหาระยะจากเป้า

              กรอบให้ระยะในเส้นตารางของกล้องช่วยให้ระยะโดยประมาณ ของระยะทางของรถถังที่เป็นเป้ากรอบเหล่านี้ทำขึ้นโดยใช้หลักจากการคำนวณโดยเฉลี่ยของความสูง ความยาว และความกว้างของรถถังสมัยใหม่ต่างขนาด ที่ยาวกว่าของกรอบแต่ละกรอบนั้นใช้สำหรับการจับเป้ารถถังทางด้านข้างและขอบที่ยกสูงตรงกลางของแต่ละกรอบนั้น ใช้สำหรับการจับเป้าที่หันหัวเข้ามา

รูปรถถังด้านข้าง ระยะประมาณ ๑๕๐ เมตร

รูปรถถังวิ่งตรงมา ระยะประมาณ ๒๐๐ เมตร

ระยะที่แท้จริงนั้นใช้คำนวณโดยการเปรียบเทียบขนาดจริงของเป้ากับโครงรูปเป้าในเส้นตารางโดยการเลือกรูปร่างของเป้าที่เข้ากับกรอบ หรือถ้าหากไม่เป็นเช่นนั้น ช่วงระหว่างกรอบสองกรอบที่เข้ากันได้ใกล้ที่สุดก็เอามาใช้คำนวณ กรอบแต่ละกรอบให้ระยะ ๆ หนึ่งระหว่าง ๑๕๐ - ๓๐๐ ม.ซึ่งแสดงทางขวามือในเส้นตารางความแม่นยำของระยะดังกล่าวนี้มีประมาณ +-๒๕ เมตร หรือไม่ก็ใช้คำนวณเอาเมื่อจับเป้าได้ระหว่างกรอบสองกรอบ

              เครื่องหมายสำหรับเป้าระยะ ๔๐๐ และ ๕๐๐ ม.ได้รวมเอาไว้ด้วยสำหรับใช้ในเรื่องทำลายบุคคล

ค. ทิศทางการเคลื่อนที่ของเป้า

              ลูกศรสองรูปตอนบนสุดของแบบเส้นตาราง ใช้สำหรับช่วยในการใช้เครื่องหมายนำให้ถูกต้อง เมื่อเป้าเคลื่อนที่ไปในทิศซึ่งชี้โดยลูกศรอันซ้ายจะต้องใช้เครื่องหมายนำทางซ้าย ถ้าเป็นลูกศรอันขวาก็ใช้ตรงกันข้าม

ง. ความเร็วของเป้า

              ในการคำนวณความเร็วของเป้านั้น ผู้ยิงจะต้องจำจนขึ้นใจในเรื่องตัวเลข โดยใช้ความยาวของรถถังเป็นหลัก โดยทราบว่าภายใน ๒ วินาที รถถังจะวิ่งผ่านไปกี่เท่าของความยาวของรถถังเมื่อกำหนดความเร็วได้ทั้งนี้โดยคำนวณว่าวิ่งผ่านทางข้างไปตรง ๆ และวิ่งเฉียงเข้ามา โดยวิธีนี้ผู้ยิงก็เล็งเครื่องหมายจับเป้าตัวกลางเข้ากับขอบด้านหน้าของเป้าจริง รักษาแนวของอาวุธไว้กับที่ และนับ "ยี่สิบและหนึ่ง,ยี่สิบและสอง"(เท่ากับสอง วินาที) จากนี้เขาก็จะทราบว่าเป้าเคลื่อนไหวในความเร็วที่สัมพันธ์กับจุดเดิมที่เขาเล็งไว้อย่างไร เพื่อเป็นแนวทางผู้ยิงจะต้องจำไว้ว่าภายใน ๒ วินาทีนั้นรถถังจะเคลื่อนที่ดังนี้

              ๑. เคลื่อนทางขวางตรง ๆ

                     - ด้วยความเร็ว ๑๘ กม./ชม.  ประมาณ ๑.๕ เท่าของความยาวรถถัง

                     - ด้วยความเร็ว ๓๖ กม./ชม.  ประมาณ ๓ เท่าของความยาวรถถัง

รูประยะทางที่เกิดจากการวิ่งขวางตรง ๆ

             

๒. การวิ่งทางขวาเยื้อง ๆ

                     - ด้วยความเร็ว ๑๘ กม./ชม.  ประมาณ ๓.๗๕ เท่าของความยาวของรถถัง

                     - ด้วยความเร็ว ๓๖ กม./ชม.  ประมาณ ๑.๕ เท่าของความยาวรถถัง

รูประยะทางที่เกิดจากการวิ่งทางขวางเยื้อง


จ. การจับเป้านิ่ง,เป้าวิ่งเข้ามาหา หรือรถถังที่กำลังวิ่งกลับไป

              ๑. เมื่อเล็งเป้ารถถังที่จอดอยู่กับที่ ให้ใช้เครื่องหมายจับเป้าตัวกลางที่ใช้ระยะพอดี  จับเป้าตรงกลางของเป้าจริง

รูปรถถังอยู่กับที่ระยะ ๒๕๐ เมตร

 

              ๒. เมื่อเล็งเป้ารถถังที่กำลังวิ่งเข้ามา ให้ใช้เครื่องหมายจับเป้าตัวกลางที่ได้ระยะพอดีจับเป้าตรงฐานของเป้าจริง

รูปรถถังที่กำลังวิ่งเข้ามาในระยะ ๒๕๐ เมตร


              ๓. เมื่อเล็งเป้ารถถังที่กำลังวิ่งออกไป ให้ใช้เครื่องหมายจับเป้าตัวกลางที่ได้ระยะพอดีจับเป้าตรงส่วนบนสุดตรงกลางของเป้าจริง

รูปรถถังที่กำลังวิ่งออกไปในระยะ ๑๕๐ เมตร


ฉ. การเล็งเป้ารถถังที่วิ่งผ่านขวางตรง ๆ หรือวิ่งผ่านขวางเยื้อง ๆ

              การเลือกใช้เครื่องหมายจับเป้าจะขึ้นอยู่กับระยะของเป้าทิศทางที่เคลื่อนที่และความเร็ว ในการนี้ระยะเดินทางของขีปนาวุธ (กระสุน) เมื่อยิงไปแล้ว ในช่วงเวลาที่วิ่งไปจะต้องนำมาคำนวณเผื่อไว้ด้วย

              เมื่อคำนึงถึงเรื่องความเร็วที่ต้องเผื่อไว้นี้   เครื่องหมายจับเป้าตัวกลางก็จะต้องจับเป้าดักไว้ข้างหน้าเป้าในทิศทางที่เป้ากำลังเคลื่อนที่ไป ในขณะทำการยิง

              นั่นคือ ขึ้นอยู่กับความเร็วของเป้าที่ได้คำนวณไว้ว่า วิ่งผ่านขวางตรง ๆ หรือวิ่งผ่านขวางเฉียง ๆ และใช้เครื่องหมายนำตัวใดตัวหนึ่งในเส้นตาราง

                     - สำหรับเป้าที่เคลื่อนจากทางขวา ใช้เครื่องหมายนำทางขวา

                     - สำหรับเป้าที่เคลื่อนจากทางซ้าย ใช้เครื่องหมายนำทางซ้าย

              เมื่อเล็งเป้าผู้ยิงเลือกเครื่องหมายนำที่เข้ากับระยะทาง ที่คำนวณไว้และความเร็วของเป้าที่วิ่งผ่านทางขวางและจับเป้าตรงกลางของเป้าจริง

              ๑. การเล็งเป้ารถถังที่วิ่งผ่านทางขวางตรง ๆ

              ในกรณีนี้ผู้ยิงต้องเล็งดักหน้าปล่อย ให้ศูนย์กลางของเป้าจริงอยู่ห่างจากศูนย์เล็ง ตามความเร็วของเป้าที่วิ่งผ่านทางขวางตามความเหมาะสมดังนี้

                     - ๑๘ กม./ชม.ของความเร็วที่วิ่งผ่าน - ระยะหนึ่งช่วงความยาวของเป้า

                     - ๓๖ กม./ชม.ของความเร็วที่วิ่งผ่านทางขวาง - ระยะสองช่วงความยาวของเป้า

รูปรถถังที่วิงผ่านทางขวางตรง ๆ เคลื่อนจากทางขวา ระยะ ๒๐๐ ม.ความเร็ว ๓๖ กม./ชม.


              รถถังที่วิ่งผ่านทางขวางตรง ๆ  ที่มีความเร็วต่ำกว่า  ๑๘ กม./ชม. ให้ใช้เครื่องหมายจับเป้าตัวกลางจับเป้าดักหน้าให้เหมาะสมกับระยะหรือจับที่ขอบเป้าที่โผล่ออกมา

รูปรถถังที่วิ่งผ่านทางขวางตรง ๆ เคลื่อนจากทางขวา ระยะ ๓๐๐ ม.

ความเร็วน้อยกว่า ๑๘ กม./ชม.


              ๒. การเล็งเป้ารถถังที่วิ่งผ่านทางขวางเยื้อง ๆ

              ในกรณีนี้การเล็งดักหน้าให้ใช้ระยะเพียงครึ่งเดียวของความเร็วจริงของรถถัง ( คือดักหน้าเท่ากับระยะที่เคลื่อนไปที่ปรากฏ ไม่ใช่ระยะที่รถถังรถถังใช้ความเร็วจริงเคลื่อนที่ไป) นอกจากนี้การเล็งเป้าก็ต้องคิดเผื่อระยะทางที่เปลี่ยนไปในขณะที่ขีปนาวุธ (กระสุน)  ใช้เวลาวิ่งเข้าเป้าด้วย  ให้เล็งตรงกลางและต่ำที่ฐานของเป้าสำหรับรถถังที่วิ่งออกไป

รูปรถถังที่วิ่งผ่านทางขวางเยื้อง ๆ ใกล้เข้ามา,เคลื่อนจากทางขวา ระยะ ๒๕๐ ม.

ความเร็วจริง ๓๖ กม./ชม. (ความเร็วที่ปรากฏที่ผ่านในลำกล้อง ๑๘ กม./ชม.)

รูปรถถังที่วิ่งผ่านทางขวางเยื้อง ๆ ที่ไกลออกไป,เคลื่อนจากทางซ้าย ระย ๒๐๐ ม.

ความเร็วจริง ๓๖ กม/ชม.(ความเร็วทางขวางที่ปรากฏ ๑๘ กม./ชม.)


              รถถังที่วิ่งผ่านทางขวางเยื้อง ๆ  ที่วิ่งเร็วน้อยกว่า  ๓๖ กม./ชม. ต้องใช้เครื่องหมายจับเป้าตัวกลางที่เหมาะกับระยะ จับเป้าจริงตรงขอบเป้า จุดที่เล็งเป้าให้ใช้ฐานของเป้าถ้ากำลังวิ่งเข้ามา และตรงส่วนบนของเป้าถ้ากำลังวิ่งออกไป

รูปรถถังที่วิ่งผ่านทางขวางเยื้อง ๆ ใกล้เข้ามา,เคลื่อนจากทางขวา ระยะ ๓๐๐ ม.

ความเร็วจริงน้อยกว่า ๓๖ กม./ชม.(ความเร็วทางขวางที่ปรากฏน้อยกว่า ๑๘ กม./ชม.)


ช. การเล็งเป้าในสถานการณ์พิเศษ

              เมื่อพบรถถังที่กำลังเคลื่อนที่ขึ้นเขาหรือลงเขา จะต้องนำระดับที่ต่างกันของเป้าในขณะที่กระสุนใช้เวลาวิ่งออกไป เอามาคิดด้วย

              เมื่อเป้ากำลังเคลื่อนที่

                     - ขึ้นเขาชัน จุดที่เล็งเป้าต้องอยู่สูง

                     - ลงเขาชัน จุดที่เล็งเป้าต้องอยู่ต่ำ

รูปรถถังเคลื่อนขึ้นเขาทางขวางตรง ๆ จากทางซ้ายระยะ ๒๐๐ ม.

ความเร็วประมาณ ๑๘ กม./ชม.


              ถ้าหากผู้ยิง ยิงผิดเป้าแม้ว่าจะแก้เผื่อด้วยแล้ว หมายถึงว่าจากลมและอุณหภูมิ ในกรณีนี้ผู้ยิงจะต้องเลือกเครื่องหมายเล็งเป้าหรือจุดเล็งเป้าที่ต่างออกไป สุดแต่ว่าเขายิงผิดไปอย่างไร

การยิงของอาวุธอาร์มบรุสท์

              เมื่อผู้ยิงหาเป้าได้ กำหนดระยะทางความเร็วของเป้า เลือกเครื่องหมายเล็งเป้าในเส้นตารางและวางไว้กับจุดเล็งแล้ว ก็เหนี่ยวไกด้วยนิ้วชี้ขวาทำให้เกิดลำดับการทำงานในการยิงขึ้น กลไกทางเมคานิคส์ของระบบการยิงจะกระแทกกับธาตุที่มีคุณสมบัติทางไพอีโซอิเล็กทรอนิกส์ และให้กำเนิดพลังงานทางไฟฟ้าขึ้นพลังงานนี้จะได้รับการขยายกำลังจากธาตุทางอิเล็กโทรนิกส์ที่ใช้ในระบบอาวุธ และส่งกำลังไปยังตัวเกลียวจุดชนวน ณ จุดนี้ลูกปรายชั้นต้นจะทำงาน ซึ่งทำให้ดินขับที่ใช้เป็นสื่อไปจุดชนวนดินขับหน้ากำลังดันที่เกิดจากผลของการกระทำอันนี้ซึ่งเกิดจากการขยายตัวของก๊าซอย่างรวดเร็ว จะทำให้สลักต่อขาด และทำให้ลูกสูบเคลื่อนออกไปภายนอกตัวกระสุนและสารอัดต้านแรงสะท้อนจะถูกขับออกไปจากตัวอาวุธโดยลูกสูบทั้งสองตัวคนละทาง

 

การขนส่งและการจัดเก็บ

ก. การขนส่ง

              การขนส่งอาวุธอาร์มบรุสท์อาจจะบรรจุในหีบ ซึ่งจัดให้โดยโรงงานส่งเป็นหีบ ( แต่ละหีบมีอาวุธอาร์มบรุสท์สองชุด) อาร์มบรุสท์ ๑๘ หีบ วางบนแผ่นแพลเล็ทมาตรฐาน EURO โดยทางรถไฟ, เรือ, ทางน้ำ, ทางอากาศ ข้อควรระมัดระวังคือ ในระหว่างการส่งนั้นต้องไม่ให้อาวุธนี้พลิกคว่ำลงมาหรือไม่ลื่นตกลงไปอาวุธนี้จะต้องขนส่งโดยวางทางราบ และในการขนส่งหรือการบรรจุลงในคอนเทนเนอร์ จะต้องวางขวางกับทิศทางที่จะเดินทางไปโดยให้ปลายกระบอกปืนชี้ไปทางขวา

              จะต้องปฏิบัติตามกฎแห่งการรักษาความปลอดภัยที่ระบุไว้ในตอนที่ ๒ ข้อ ข.อย่างเคร่งครัด ยิ่งกว่านี้จะต้องปฏิบัติตามกฎแห่งการรักษาความปลอดภัยทุกข้อ ของแต่ละประเทศ  ที่เกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายอาวุธและวัตถุระเบิดเมื่อทำการเคลื่อนย้ายโดยเรือโดยเฉพาะเมื่อเป็นสินค้าปากระวางจะต้องมีการป้องกันอาวุธนี้โดยสมควรให้ปลอดจากฝอยน้ำและกระเซ็นน้ำ

              เมื่อทำการขนส่งทางอากาศ ระดับของความสูงจะต้องไม่เกิน ๑๒,๐๐๐ เมตร (๓๙,๓๗๐ ฟุต)ขีดจำกัดของอุณหภูมิในการขนส่งอาวุธนี้มีดังนี้

              - ๒ วัน อุณหภูมิสูงสุด ๕๒oซ.(๑๒๕.๖oฟ.) และ ๗๐oซ.(๑๕๙.๘oฟ.) ไม่เกิน ๔ ชม./วัน

              - ๒ วัน อุณหภูมิต่ำสุด -๔๐oซ.(-๔๐oฟ.) และ -๕๖oซ.(-๖๘.๘oฟ.) ไม่เกิน ๔ ชม./วัน

ข. การเก็บรักษา

              จะต้องเก็บอาวุธอาร์มบรุสท์ไว้ในหีบบรรจุซึ่งจัดให้โดยโรงงานซึ่งแต่ละหีบมีอาวุธสองชุด หีบเหล่านี้อาจใช้ในการเก็บอาวุธจำนวนน้อยแล้วแต่กรณี หากว่าปฏิบัติตามกฎแห่งการรักษาความปลอดภัยที่ระบุไว้

              ในการเก็บอาวุธอาร์มบรุสจำนวนมากในคลังแสงสรรพาวุธนั้น วิธีเก็บที่ดีที่สุดก็คือ เก็บในแผ่น แพลเล็ทตามมาตรฐาน EURO ซึ่งบรรจุได้ ๑๘ หีบ การซ้อนกันของแผ่นแพลเล็ททางตั้ง ต้องไม่เกินสามชุด

              ห้องเก็บจะต้องแห้งและมีหลังคา  ถ้าเก็บในหลุมหรือสนามเพลาะต้องมีการถ่ายเทอากาศอย่างเพียงพอเพื่อป้องกันความชื้นสูง  ห้องเก็บทุกห้องฉนวนที่ป้องกันความร้อนนั้น จะต้องป้องกันความเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิไม่ให้แตกต่างกันเกินกว่า ๒๕oซ.(๗๗oฟ.) อุณหภูมิที่ใช้เก็บอาวุธต้องอยู่ระหว่าง -๑๐oซ.(-๑๔oฟ.)และ๓๕oซ. (๙๕oฟ.) และต้องไม่เกิน ๕๒oซ.(๑๒๕.๖oฟ.)อุณหภูมิที่เหมาะสมที่แนะนำในการเก็บอาวุธนี้อยู่ระหว่าง ๑๕oซ. (๕๙oฟ.) ถึง -๑๐oซ.(+-๕๐oฟ)

              สำหรับการเก็บอาวุธระยะสั้นนั้น ขีดจำกัดทางอุณหภูมิเป็นดังนี้

              - ๒ วันอุณหภูมิสูงสุด ๕๒oซ.(๑๒๕.๖oฟ.) และ ๗๑oซ.(๑๕๙.๘oฟ.) ไม่เกิน ๔ ชม./วัน

              - ๒ วันอุณหภูมิต่ำสุด -๔๐oซ.(-๔๐oฟ.) และ -๕๖oซ.(-๖๘.๘oฟ.) ไม่เกิน ๔ ชม./วัน

              ในระหว่างการฝึกหรือสถานะคล้ายกัน  การเก็บอาวุธอาร์มบรุสท์ภายนอกในระยะเวลาจำกัดนั้นจะต้องวางบนผ้าใบกันน้ำ และมีเครื่องป้องกันจากความชื้นและแสงอาทิตย์ที่แผดจ้า

              ควรจะยกอาวุธออกจากหีบบรรจุในช่วงเวลาสั้น ๆ ก่อนการใช้เท่านั้นอาวุธที่ยกออกจากหีบบรรจุและไม่ได้ใช้ยิงนั้นอาจจะเก็บไว้ได้ในลักษณะนี้เป็นเวลา  ๑ เดือน  หากจะต้องการเก็บในระยะยาวนานกว่านี้จะต้องเปลี่ยนและเชื่อมแผ่นโลหะบาง ๆ ที่หุ้มใหม่ และบรรจุเข้าไปในหีบบรรจุใหม่และผนึกด้วยเทปเหนียวเหมือนเดิม

              จะต้องปฏิบัติตามกฎแห่งการรักษาความปลอดคับที่ใช้อยู่เมื่อทำการเชื่อมแผ่นโลหะบาง ๆ ที่ใช้หุ้มเครื่องมือที่ใช้เชื่อมต้องเป็นแบบป้องกันการระเบิด ระยะเวลาสูงสุดในการเก็บอาวุธนี้ที่ผนึกมาอย่างดีแล้วตามที่ระบุจะเป็นเวลา ๑๐ ปี ภายใต้สภาพอากาศโดยปกติ

 

การขจัดอันตรายของอาวุธด้วยวิธีทำลาย

              การทำลายเป็นวิธีเดียวที่ทำให้อาวุธอาร์มบรุสไม่มีอันตราย เพราะว่าวิธีที่ใช้กับของใหญ่ ๆ นั้นนำเอามาใช้กับกรณีนี้ไม่ได้

              ไม่ควรพยายามทำลายอาวุธนี้ด้วยมือ เช่นการทำให้ลำกล้องบิดเบี้ยวเพราะเหตุว่ามีดินขับและดินระเบิดประกอบอยู่

              ยิ่งกว่านี้การทำลายเพราะเชื่อว่ามีความเข้าใจการสร้างและการปฏิบัติงานของอาวุธชนิดนี้นั้นเป็นเรื่องเป็นไปไม่ได้ วิธีเดียวที่ประกันได้คือการใช้ดินระเบิด

              ดินระเบิดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๓๒ มม.จำนวน ๘๐ - ๑๐๐ กรัม ใช้ในการนี้โดยวางอัดกับลำกล้องด้านตรงกันข้ามกับกระสุน และให้ทำงานโดยเชื้อประทุและชนวนระเบิด

              ข้อควรระวัง เมื่อทำลายอาวุธด้วยดินระเบิด จะต้องปฏิบัติตามกฎแห่งการรักษาความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด เข้าที่กำบัง