การเคลื่อนย้ายและการใช้ 

กฎแห่งความปลอดภัยทั่วไป

ก. กล่าวทั่วไป

              การปฏิบัติตามกฎแห่งความปลอดภัยช่วยปกป้องอันตรายแก่บุคคลและป้องกันมิให้เกิดความเสียหายแก่อาวุธกฎดังกล่าวนี้ตั้งขึ้นเพื่อป้องกันอุปัทวเหตุในการยกขนอาวุธ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับกระสุนใช้การบุคคลที่ได้รับการฝึกฝนแล้วเท่านั้นที่ควรจะยกขนอาวุธเหล่านี้  กฎของการรักษาความปลอดภัยแต่ละประเทศอยู่เหนือกฎที่แสดงไว้ข้างล่างนี้.-

ข. กฎแห่งการรักษาความปลอดภัยของอาวุธ

              ๑. การเก็บ

              เพื่อป้องการความผิดพลาดอาวุธอาร์มบรุสท์ (EX หรือ DUMMY) นั้นไม่ควรเก็บไว้ในห้องเดียวกันกับอาวุธ HEAT/AT,AD หรือหัวรบ UB/TRAINING  อาวุธใช้การเหล่านี้จะต้องเก็บไว้ในห้องปิดมิดชิดโดยเอาส่วนหัว (ตามลูกศรชี้) หันเข้าหากำแพงหนา ถ้าหากเก็บทางตั้ง ส่วนหัวจะต้องชี้ขึ้นข้างบน จะต้องเก็บอาวุธใช้การทั้งหมดนี้ในสภาพ "ปลอดภัย" นั่นคือพับไกปืนไว้

              ๒. การขนส่ง

              อาวุธอาร์มบรุสท์เหล่านี้เมื่อทำการขนส่ง เคลื่อนย้ายหรือนำเข้าเก็บจะต้องปฏิบัติตามกฎดังต่อไปนี้.

              - ในยานพาหนะ เมื่อไม่มีคนอยู่จะต้องวางอาวุธทางขวางให้ส่วนหัวชี้ไปทางขวางของถนน(ถ้าการจราจรใช้หลีกทางขวา)

              - เมื่อมีคนร่วมเดินทางไปด้วยในการขนส่ง จะต้องวางอาวุธในลักษณะ "ปลอดภัย" ตั้งอาวุธไว้ระหว่างขาทั้งสองและยึดให้มั่นด้วยมือทั้งสองข้าง เอาส่วนหัวชี้ขึ้นข้างบน

              - ในสภาพที่ชิดกัน เช่นการเดินสวนสนาม ตัวอาวุธต้องอยู่ในสภาพ "ปลอดภัย" สะพายอาวุธบนบ่า ชี้ขึ้นข้างบน

              - ในระหว่างการฝึก  ปากกระบอกจะต้องชี้ไปในทิศทางที่ให้ความปลอดภัย  และรักษาไว้ในสภาพ"ปลอดภัย" นี้อยู่ตลอดจนกว่าจะมีการปฏิบัติการหาเป้า

              ๓. การยิง

                     ก) ต้องไม่วางอาวุธลงโดยปลด "เซฟ" ออก (ง้างที่จับปืนออก)

                ข) การใช้อาวุธเล็งเป้าจะต้องปฏิบัติเฉพาะในชั่วโมงฝึกเท่านั้น  และเฉพาะในสนามฝึก ( หรือสนามรบ) การเหนี่ยวไกปืนห้ามเด็ดขาดถ้าไม่มีคำสั่งโดยตรงจากผู้บังคับบัญชา

                     ค) ถ้าหากอาวุธไม่ได้ใช้ยิงในระหว่างการฝึก   จะต้องนำส่งในลักษณะที่ปลอดภัยในการขนส่งและการนำเข้าเก็บ โดยพับเก็บส่วนที่เคลื่อนไหวได้ทั้งหมดโดยเฉพาะที่จับปืน

ข้อควรสนใจ การใช้อาวุธอาร์มบรุสท์ที่เตรียมยิงแล้วครั้งหนึ่งนั้น สภาพของอาวุธจะไม่อยู่ในลักษณะปลอดภัยเท่ากับอาวุธที่จัดส่งโดยโรงงานครั้งแรก

                     ง) เมื่อปลดเซฟออก จะต้องถืออาวุธในลักษณะพร้อม อาจจะลั่นไกขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจโดยไม่ให้กระสุน หรือสารอัดต้านแรงสะท้อนเป็นอันตรายต่อพลปืนได้   เรื่องนี้หมายถึงว่าส่วนท้ายของลำกล้องจะต้องอยู่ในลักษณะดังต่อไปนี้.-

                            (ก) อยู่บนไหล่ขวาเมื่อคุกเข่า

                            (ข) อยู่บนช่วงแขนขวาส่วนบนโดยให้ปลายลำกล้องอยู่ห่างตัวเมื่ออยู่ในลักษณะคลาน

                     จ) เมื่ออยู่ในลักษณะคลาน ลำตัวของผู้ยิงจะต้องเป็นมุม  ๓๐ องศา  กับแนวแกนของลำกล้องเพื่อป้องกันไม่ให้ส่วนใดส่วนหนึ่งของสารอัดต้านแรงสะท้อนเป็นอันตรายต่อผู้ยิง

                     ฉ) เมื่อทำการยิงจากที่แคบหรือตื้น (รังปืนกล คู หรือโครงจากซากสลักหักพัง) ต้องมีที่ว่าอย่างน้อย ๐.๘ ม.หลังอาวุธเพื่อเปิดที่ให้สารอัดต้านแรงสะท้อนกระจายออก

                     ช) บริเวณอันตรายทางด้านหลังของอาวุธในระยะลึก ๔๐ ม. เป็นบริเวณที่ควรระวัง การกระจายของสารอัดต้านแรงสะท้อน โดยปกติแล้วเป็นส่วนโค้งของวงกลมในรัศมี ๑๕ ม.และทำมุม ๙ องศาทางด้านท้ายของอาวุธขนาดจริง ๆ ของส่วนโค้งของวงกลมนี้ขึ้นอยู่กับระดับของอาวุธและการขยายออกในรัศมี ๒๕ ม.ได้ถ้าสภาพของสถานที่ยิงไม่ดีพอ

                     ซ) บริเวณอันตรายทางด้านหน้าของอาวุธ ได้กำหนดให้รวมบริเวณต่าง ๆ ดังต่อไปนี้คือ

                            ๑) ระยะสูงสุดทางขีปนวิทยาของกระสุน (ประมาณ ๑๘๐๐ ม.)

                            ๒) บริเวณที่อาจเกิดแรงอัดได้

                            ๓) บริเวณที่สะเก็ดกระสุนจากหัวกระสุน AT หรือ AP หรือเชื้อประทุกระจายไปถึง

รูปบริเวณอันตรายทางด้านหน้าและด้านหลังอาวุธ

 

               ๔. ปืนด้านและกระสุนด้าน

                     ก) ปืนด้าน

                     ปืนด้านเกิดจากกระสุนไม่ออกจากลำกล้องเมื่อกดไก  ในกรณีดังกล่าวจะต้องเล็งที่เป้าไว้ และเหนี่ยวไกอีก ๓ ครั้ง โดยทิ้งระยะครั้งละ ๕ วินาที ถ้าปืนยังด้านอยู่ให้ขึ้นเซฟ (โดยการพับที่จับปืน) และวางไว้บนพื้นโดยยังคงเล็งที่เป้าไว้ ผู้ยิงจะต้องถอนตัวออกมาโดยไม่ผ่านเข้าไปในบริเวณอันตราย หลังจากคอยแล้ว๑๕ นาที ผู้เชี่ยวชาญเรื่องอาวุธควรจะตรวจสอบและพยายามยิงอีกครั้ง ถ้าหากยังด้านอยู่อีกให้คอยอีก ๑๕ นาทีหลังจากนั้นต้องทำลายอาวุธทิ้ง ณ ที่นั้น

                     ข) กระสุนด้าน

                     กระสุนทุกนัดที่ไม่ระเบิดเมื่อรับแรงกระแทก คือกระสุนด้านซึ่งต้องดำเนินการต่อไปให้ถูกต้องห้ามนำกระสุนด้านออกจากตำแหน่งสุดท้ายที่ของตำบลกระสุนตก หลังจากคอยอยู่ ๔๕ นาทีแล้ว ผู้เชี่ยวชาญเรื่องอาวุธจะต้องทำลายกระสุนด้าน ณ จุดนั้น โดยปฏิบัติตามกฎแห่งการรักษาความปลอดภัยของแต่ละประเทศและตามกฎว่าด้วยการถอดทำลาย  ต้องทำลายตัวอาวุธทั้งตัวและชิ้นส่วนอื่น ๆ ที่มีดินระเบิด (ชนวน, ดินขับชนวนฯลฯ) ด้วยวัตถุระเบิดจะต้องทำลายกระสุนด้านโดยใช้ดินระเบิดพลาสติกอย่างน้อย ๕๐ กรัม  หรือถ้าใช้ดินระเบิดอย่างอื่น  จะต้องใช้ดินระเบิดอัดเป็นรูปเล็ก ๆ ให้มีเส้นผ่าศูนย์กลางอย่างน้อยที่สุด ๓๒ มม.และมีน้ำหนัก๘๐ - ๑๐๐ กรัม ดินระเบิดนี้ใช้จุดด้วยชนวนไฟฟ้า โดยใช้สายจุดชนวน

                     ข้อควรระวัง เมื่อทำลายกระสุนด้านจะต้องปฏิบัติตามกฎแห่งการรักษาความปลอดภัยอย่างเคร่งครัดหลบเข้าที่กำบัง

ตำแหน่งที่ของดินระเบิดทำลาย เมื่อทำลายกระสุนด้าน

               ๕. การปฏิบัติต่ออาวุธที่ยิงแล้ว

                     อาวุธที่ยิงแล้ว

                     ข้อควรระวัง อาวุธที่ยิงแล้วจะมีก๊าซที่มีความดันสูงอยู่เป็นระยะเวลายาวนาน

                     - อาวุธที่มีแผ่นครอบปากกระบอกบิดเบี้ยว  และเปลี่ยนรูปร่างด้วยถือว่าเป็นกระบอกด้านถ้าหากว่าการบิดเบี้ยวเปลี่ยนรูปนั้นเป็นเครื่องกีดขวางการวิ่งออกของกระสุนเมื่อใช้ยิง

                     - อาวุธที่มีรอยบาก หรือรอยบุบที่เห็นได้ชัดในลำกล้อง   จะต้องถือว่าเป็นกระบอกด้านและจะต้องทำลาย

                     - หัวครอบยางท้ายลำกล้องชำรุด   ฝาหัวครอบด้านท้ายชำรุดต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าไม่มีน้ำหรือทรายหลุดเข้าไปถึงส่วนภายในของอาวุธ

                     - อาวุธที่สกปรก

              ถ้าพบทรายหรือน้ำในลำกล้อง จะต้องถือว่าอาวุธกระบอกนั้นด้านและต้องทำลาย

 

การยกขนเคลื่อนย้าย

 

ก. การนำอาวุธออกจากหีบ

              อาวุธอาร์มบรุสท์จะถูกส่งไปถึงผู้ใช้ในหีบกระดาษแข็งแรงแต่ละหีบบรรจุอาวุธสองชุด  การยกอาวุธออกจากหีบให้ใช้มีดกรีดเทปเหนียวที่ติดอยู่บนตะเข็บบนออก

รูปตะเข็บบนหีบบรรจุที่ปิดมิดชิด

              เมื่อเปิดหีบบรรจุออกแล้วจะเห็นแผ่นโลหะบาง ๆ ซึ่งต้องใช้มีดกรีดออก

รูปแผ่นโลหะบาง ๆ ภายในซึ่งต้องกรีดออก

              เมื่อกรีดแผ่นโลหะบาง ๆ ออกแล้ว ก็สามารถยกอาวุธอาร์มบรุสท์สองชุดออกจากหีบได้  โดยยกออกมาเป็นชุดเดียวคู่กัน ตามลักษณะที่มันถูกติดตั้งไว้กับแผ่นพลาสติกที่อัดโฟม

รูปหีบบรรจุที่เปิดแล้ว

              โดยการใช้หูหิ้วของอาวุธชุดใดชุดหนึ่ง ก็สามารถยกอาวุธออกมาจากหีบได้ทั้งสองชุด  และเมื่อถอดแป้นออกแล้วก็ยกอาวุธออกมาเป็นชุดแต่ละชุดได้

ข. การนำอาวุธอาร์มบรุสท์ติดตัว

              ในสถานการณ์ที่ปลอดภัยของการรบหรือการฝึก เราจะหิ้วอาวุธอาร์บรุสท้ด้วยมือหรือสะพายไหล่ก็ได้อีกทางหนึ่งก็คือหิ้วอาวุธสองชุด ซึ่งต่อกันอยู่ด้วยแป้นพลาสติกอัดโฟมด้วยมือเดียว   ด้วยเหตุนี้คนเพียงคนเดียวจึงสามารถหิ้วอาวุธอาร์มบรุสท์ได้ถึงสี่ชุดไปยังจุดยิงหรือไปสู่สนามฝึกได้

การถืออาวุธอาร์มบรุสในลักษณะ "ปลอดภัย"

              ๑. โดยการสะพายอาวุธอาร์มบรุสท์บนไหล่ อาวุธนี้ใช้สะพายบนไหล่ขวาโดยให้ปลายกระบอกปืนชี้ชึ้นข้างบนมือขวาจับที่สายสะพายโดยใช้หัวแม่มือสอดอยู่ใต้สายสะพาย ใช้ข้อศอกดันกระบอกปืนให้แนบกับลำตัว

รูปการสะพายอาวุธอาร์มบรุสท์บนไหล่

 

              ๒. การถืออาร์มบรุสท์ด้วยมือ ถ้าถืออาวุธไม่ว่าจะเป็นชุดเดียวหรือสองชุดคู่กันปกติแล้วให้ใช้หูหิ้ว แต่จะหิ้วสะพายแทนก็ได้ ในทั้งสองกรณีปากกระบอกนั้นจะต้องชี้ไปข้างหน้า

รูปการถืออาวุธอาร์มบรุสท์ด้วยมือ

 

              ๓. การถืออาร์มบรุสท์โดยการสะพายเฉียงด้านหน้า สอดแขนขวาและศีรษะเข้าในสายสะพายอาวุธให้สายสะพายแนบเฉียงกับลำตัวด้านหลัง ปากกระบอกปืนจะอยู่ด้านหน้าของไหล่ซ้ายและชี้ขึ้นข้างบนมือขวาพักอยู่กับแผ่นแนบแก้ม ท่านี้ เปลี่ยนให้ปากกระบอกปืนอยู่ด้านหน้าของไหล่ขวาก็ได้

รูปการสะพายอาวุธอาร์มบรุสท์เฉียงอก

 

              ๔. การสะพายอาวุธอาร์มบรุสท์เฉียงด้านหลัง สอดศีรษะและแขนข้างหนึ่งเข้าในสายสะพายของอาวุธให้สายสะพายพาดเฉียงหน้าอก ตัวอาวุธจะเฉียงอยู่ข้างหลังโดยมีปลายกระบอกชี้ขึ้นข้างบนหลังไหล่

รูปการสะพายอาวุธอาร์มบรุสท์เฉียงหลัง

 

              ๕. การถืออาวุธอาร์มบรุสท์เมื่อเคลื่อนที่ไปทางข้างหน้าในการรบ เมื่อเคลื่อนที่ไปข้างหน้าในการรบผู้ยิงถืออาวุธให้แนบกระชับกับกระดูกสะโพกขวา มือซ้ายช่วยจับอาวุธโดยใช้ที่จับตัวหน้า มือขวาอยู่ที่หูหิ้ว

รูปการถืออาวุธอาร์มบรุสท์เมื่อเคลื่อนที่ไปข้างหน้าในการรบ

 

              ๖. การถืออาวุธอาร์มบรุสท์ขณะคลาน ในสถานการณ์ซึ่งการเคลื่อนที่ต้องใช้การคลาน  ในการสะพายอาวุธอาร์มบรุสท์เช่นเดียวกับการสะพายเฉียงหน้าอกที่ได้อธิบายไว้ ปล่อยให้อาวุธห้อยอยู่ขนานกับพื้น โดยไม่ใช้มือข้างหนึ่งข้างใดช่วยพยุงอาวุธ ปากกระบอกปืนจะชี้ไปข้างหน้า ด้านหน้าของแขนข้างหนึ่ง

รูปการถืออาวุธอาร์มบรุสท์ขณะคลาน


              ๗. การถืออาวุธอาร์บรุสเมื่อเคลื่อนที่ด้วยการคลานศอก เมื่อมีความจำเป็นต้องเคลื่อนที่ให้แนบดินมากที่สุด ให้ใช้มือทั้งสองถืออาวุธอาร์มบรุสท์ โดยให้แผ่นแนบแก้มอยู่บนสุดและปากกระบอกชี้ไปทางด้านซ้าย น้ำหนักตัวให้ทิ้งบนข้อศอกทั้งสอง

รูปการถืออาวุธอาร์มบรุสท์เมื่อเคลื่อนที่ด้วยการคลานศอก


              ๘. การถืออาวุธอาร์บรุสท์เมื่อเคลื่อนที่ด้วยการคลานคืบ จากท่ายืน ผู้ยิงคุกเข่าลงบนเข่าขวา วางอาวุธลงบนพื้นทางด้านหน้าทางซ้าย ถ้าหากเกรงว่าอาวุธจะสกปรกให้ใช้มือซ้ายถืออาวุธไว้ตรงจุดที่น้ำหนักได้ดุลย์ หลังจากนั้นก็ทอดตัวลงบนพื้นโดยใช้เข่าซ้าย มือขวาและข้อศอกซ้ายช่วยให้ลงอยู่ในท่านอนคว่ำ ใช้มือขวาพาดปากกระบอกปืนบนแขนซ้ายด้านใต้ข้อศอก ให้แท่นพานท้ายหันเข้าหาตัว  และแผ่นแนบแก้มและศูนย์เล็งชนิดสะท้อนภาพอยู่ข้างบน

รูปการถืออาวุธอาร์มบรุสท์เมื่อเคลื่อนที่ด้วยการคลานคืบ

ข. ท่ายิง

              เนื่องจากอาวุธอาร์มบรุสท์มีความกระทัดรัดและไร้แรงสะท้อน  จึงสามารถใช้ยิงได้จากทุกท่าแม้แต่การยืนยิงโดยไม่ต้องใช้อะไรช่วยปืน

              ๑. การยืนยิงหลังที่กำบัง จากท่านี้ผู้ยืนยิงอยู่หลังที่กำบังเท่าที่หาได้ หรือในที่ตั้งยิงที่สะดวก ถ้าเป็นการฝึกยิงเมื่อที่กำบังโล่งหรือต้องยิงผ่าน เช่นยิงผ่านหน้าต่างที่ติดกับผนังตึก ผู้ยิงจะต้องชิดตัวเองไว้ทางซ้ายเพื่อลดการเป็นเป้าของตัวเองต่อฝ่ายข้าศึก ดูว่ามีที่ว่างข้างหลังอย่างน้อยที่สุด ๐.๘ ม. เพื่อปล่อยให้สารอัดต้านแรงสะท้อนกระจายออกผู้ยิงวางลำกล้องอาวุธบนไหล่ขวา และวางที่จับอาวุธตัวหน้าลงบนที่กำบัง มือซ้ายดึงอาวุธให้กระชับกับไหล่และใช้มือขวาจับที่จับปืนนิ้วชี้ใช้สำหรับเหนี่ยวไก

         ข้อควรระวัง ต้องป้องกันแรงกระแทกซึ่งติดอยู่ที่ปลายกระบอกปืนนั้นจะต้องไม่วางไว้กับพื้นผิวที่แข็ง 

รูปท่ายิงปืนหลังที่กำบัง


                  ๒. ท่าคุกเข่ายิงในที่แจ้ง ผู้ยิงหันไปทางซ้าย คุกเข่าบนเข่าขวาและนั่งทับบนส้นเท้าตั้งส่วนบนของลำตัวให้ตั้งตรง ข้อศอกซ้ายพักอยู่บนเข่าซ้าย ใช้มือขวาจับปืนและดึงด้ามจับปืนให้กระชับกับบ่า

รูปท่าคุกเข่ายิงในที่แจ้ง

         ๓. ท่าคุกเข่ายิงหลังที่กำบัง ในลักษณะนี้จะต้องปรับตัวเองให้เข้ากับความสูง ของที่กำบังถ้าหากว่าที่กำบังสูงกว่า ๗๐ ซม.จะไม่สามารถพักข้อศอกซ้ายบนเข่าได้แต่อาจจะใช้ที่จับปืนตัวหน้าพาดกับส่วนบนของที่กำบังได้และใช้มือซ้ายช่วยพยุงอาวุธให้ตรงใต้สายสะพายปืน ผู้ยิงจะต้องปรับส่วนบนของร่างกายของเขาให้ตั้งตรง 

รูปท่าคุกเข่ายืนหลังที่กำบัง


              ๔. ท่านอนคว่ำยิงในที่แจ้ง ท่านี้ผู้ยิงต้องนอนเป็นมุมประมาณ ๓๐ องศา  จากแนวยิงและพยุงตัวเองไว้บนข้อศอกทั้งสอง เท้าขวาเหยียดตรงในแนวเดียวกับร่างกายส่วนบนเท้าซ้ายเหยียดออกมาข้างหน้า และงอเล็กน้อย ใช้มือขวาจับที่จับปืนและใช้มือซ้ายพยุงลำกล้องปืนตรงใต้สายสะพายปืน ตัวลำกล้องว่าอยู่บนไหล่ขวา

รูปท่านอนคว่ำยิงในที่แจ้ง


              ๕. ท่านอนคว่ำยิงโดยใช้ที่กำบัง ท่านี้ทำเช่นเดียวกับที่อธิบายไว้ข้างบนนี้ เพียงแต่ใช้ที่จับปืนตัวหน้าพาดอยู่กับที่กำบังกระชับอาวุธให้แน่นกับไหล่ขวา

รูปท่านอนคว่ำยิงโดยใช้ที่กำบัง

 

ง. การเตรียมอาวุธอาร์มบรุสท์ในการยิง

              อาวุธอาร์มบรุสท์จะต้องอยู่ในสภาพ "ปลอดภัย" อยู่เสมอ โดยส่วนประกอบทั้งหมดพับเก็บเข้าที่จนกว่าจะเริ่มมีการหาเป้าจริง ๆ

              ในการเตรียมการใช้ยิงนั้น ผู้ยิงจะต้องปฏิบัติตามที่อธิบายไว้ข้างล่างนี้ตามลำดับ

                     - ดึงแผ่นที่ปิดศูนย์เล็งชนิดสะท้อนภาพออก

                     - ดึงด้ามถือออกไปข้างหน้าและลงมา

                     - ดึงศูนย์สะท้อนภาพออกมาทางด้านหลัง

                     - ดึงที่จับปืนลงมาทางด้านหลัง

                     ข้อควรระวัง เมื่อดึงที่จับปืนลงมาแล้วก็เท่ากับปลดไกปืนออกจากที่ยึดทำให้อาวุธไม่อยู่ในสภาพ"ปลอดภัย" อีกต่อไป