การฝึกการตั้งยิง

การฝึกการตั้งยิง

ตอนที่ ๑  การตั้งยิงทางพื้นดิน

กล่าวทั่วไป

         ก. การฝึกการตั้งยิงนี้กระทำเพื่อความมุ่งหมายให้ปฏิบัติการได้รวดเร็วและถูกต้องแน่นอน

         ข. หน้าที่ต่าง ๆ จะต้องหมุนเวียนผลัดเปลี่ยนกันในระหว่างเวลาฝึก เพื่อให้ทหารแต่ละคนของพวกพล ประจำปืนได้เรียนรู้หน้าที่ ทุก ๆ หน้าที่โดยตลอดทั่วถึงกัน

         ค. การฝึกที่ถูกต้องแน่นอนจะบังเกิดได้ก็ด้วยปฏิบัติไปตามระเบียบที่ได้วางไว้อย่างเข้มงวดกวดขันความ ถูกต้องแน่นอนจะต้องพิจารณาเป็นข้อแรก ส่วนความรวดเร็วจะต้องกวดขันเอาในเวลาฝึก

         ง. พลประจำปืนคนที่ ๑ เป็นผู้ทวนคำสั่งทั้งหมดของครู พลประจำปืนคนที่ ๓ ส่งสัญญาณทั้งหมดให้พล ประจำปืนคนที่ ๑ เมื่อได้รับคำสั่งการเคลื่อนที่เรียบร้อยแล้ว พลประจำปืนจะต้องปฏิบัติตามคำสั่งให้ถูกต้องเสร็จ แล้วรายงานว่า "เรียบร้อย" และพลประจำปืนคนที่ ๒ ให้สัญญาณ "พร้อม"

         จ. ทหารแต่ละคนเคลื่อนที่จากตำบลหนึ่งไปยังอีกตำบลหนึ่งด้วยการวิ่งนอกจากจะสั่งเป็นอย่างอื่น

         ฉ. สำหรับในสนาม การเคลื่อนที่เช่นมีคำสั่งว่า "ตั้งยิง" หรือ "เลิกยิง"  การฝึกให้ปฏิบัติตามสภาพที่ ใกล้เคียงความเป็นจริงมากที่สุด

การตรวจเครื่องมือเครื่องใช้ในการนำปืนเข้าที่ตั้งยิง

         สำหรับเวลาฝึกมีคำว่า "ตรวจเครื่องมือเครื่องใช้" ในสนามใช้คำสั่งว่า "ตั้งยิง" เมื่อได้ยินคำสั่งนี้พล ประจำปืนจะแยกแถวออกละไปตรวจเครื่องมือเครื่องใช้ดังจะกล่าวต่อไปนี้

              พลประจำปืน          ในการฝึก                               ในสนาม

              คนที่

              ๑                         - ขาหยั่ง                                 - ขาหยั่ง

              ๒                         - ห้องลูกเลื่อน (ตัวปืน)              - ห้องลูกเลื่อน  (ตัวปืน)

              ๓                         - ลำกล้องปืน                          - ลำกล้องปืน

                                               และหีบกระสุน                         และหีบกระสุน

              ๔                         - สำหรับพลประจำ                   - หีบเครื่องอะไหล่

                                               ปืนหมายเลขนี้ยก                    และเครื่องประกอบ

                                               เว้นสำหรับการฝึกอื่น ๆ           ตลอดจนหีบกระสุน

              - พลประจำปืนหมายเลขสูงขึ้นไป           - หีบกระสุนคนละ ๒ หีบ

หมายเหตุ

         สำหรับหน่วยซึ่งใช้สัตว์ต่างพลประจำปืนหมายเลข ๓ ตรวจหีบเครื่องอะไหล่ และหีบเครื่องมือเครื่องใช้ซึ่งบรรจุกระสุน ๔๐ นัด อยู่ในสายกระสุนโลหะเรียบร้อยแล้ว แทนการตรวจหีบกระสุน  เมื่อหน่วยนี้อยู่ในสนามพลประจำปืนหมายเลข ๔ อยู่กับสัตว์ต่างตัวนำและถือกระสุน ๒ หีบ ถ้ามี

 

 

การจัดหมู่ (พลประจำปืน) กับเครื่องใช้

         ก. ในการฝึกหมู่จัด แถวตอนเรียงหนึ่งมีระยะต่อ ๕ ก้าว พลประจำปืนหมายเลข ๑ หมอบอยู่ข้างหน้าผู้บังคับบัญชาหมู่ ๕ ก้าว และหันหน้าไปทางผู้บังคับหมู่  พลประจำปืนแต่ละคนวางเครื่องใช้ของตนดังนี้ (รูปที่ ๑)

              ๑. พลประจำปืนคนที่ ๑ วางขาหยั่งทางขวา ขาหันไปทางหลัง

              ๒. พลประจำปืนคนที่ ๒ วางตัวปืนข้างหน้าของตน พนังหลังอยู่ทางขวา

              ๓. พลประจำปืนคนที่ ๓ วางลำกล้องปืนทางซ้ายให้ปากลำกล้องปืน  หันไปข้างหลัง  และวางหีบ กระสุนข้างหน้าให้กลอนฝาหีบอยู่ทางขวา

              ๔. พลประจำปืนคนอื่น ๆ ถ้ามี วางหีบกระสุนไว้ตรงหน้าห่างกันหนึ่งฟุต

         ข. ในสนามพลประจำปืนภายหลังเมื่อได้ตรวจเครื่องมือเครื่องใช้เรียบร้อยแล้ว  กลับจัดแถวเมื่อได้รับ คำสั่งทุกคนประกอบเครื่องมือเครื่องใช้และวางที่พื้นดินดังได้อธิบายไว้ในข้อ ๑. ข้างต้น

การเปลี่ยนตำแหน่งและหน้าที่ในเวลาฝึก

         ก. เมื่อมีคำสั่งว่า "เปลี่ยนตำแหน่ง" การปฏิบัติตามคำสั่งมีดังนี้:-

              ๑. พลประจำปืนคนที่ ๒ เปลี่ยนตำแหน่งมาเป็นพลประจำปืนคนที่ ๑ และรายงานว่า "หนึ่ง"

              ๒. พลประจำปืนคนที่ ๓ เปลี่ยนตำแหน่งมาเป็นพลประจำปืนคนที่ ๒ และรายงานว่า "สอง"

              ๓. พลประจำปืนคนที่ ๑ เปลี่ยนตำแหน่งมาเป็นพลประจำปืนคนที่ ๓ และรายงานว่า "สาม"

         ข. ถ้ามีคำสั่งในระหว่างกำลังเคลื่อนที่ทุก ๆ ครั้งพลประจำปืนแต่ละคนต้องหยุดการปฏิบัติในขณะนั้นและ เปลี่ยนมาปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งใหม่

การตรวจเครื่องมือเครื่องใช้

         ก. สำหรับหมู่ซึ่งมีเครื่องมือเครื่องใช้แล้ว เมื่อผู้บังคับหมู่สั่งว่า  "ตรวจเครื่องมือเครื่องใช้ก่อนยิง"พล ประจำปืนแต่ละคนหมอบลง และปฏิบัติดังนี้ 


ข. ต้องตรวจตราปืนโดยตลอดทั่วถึงตั้งแต่เริ่มต้นจนจบของการฝึกทุก ๆ ครั้ง  ในขั้นแรกของการตรวจ ระมัดระวัง เพื่อดูว่าไม่มีลูกกระสุนเหลืออยู่ในสายกระสุนเลย

การนำปืนเข้าที่ตั้งยิง

         ผู้บังคับหมู่จะต้องชี้จุดที่จะกำหนดให้ปืนเข้าทำการตั้งยิง และจะต้องบอกทิศทางยิงของปืนโดยทั่ว ๆ  ไป และออกคำสั่งหรืออาณัติสัญญาณ "ตั้งยิง" พลประจำปืนหมายเลข ๑,๒ และ ๓ พร้อมกับพลกระสุนแต่ละบุคคลจะ ต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้ 

การบรรจุและกึ่งบรรจุ

         ก.  การบรรจุคำสั่งมีว่า  "บรรจุ" เมื่อได้ยินคำสั่งนี้ พลประจำปืนหมายเลข ๑ และ ๒ ปฏิบัติดัง ต่อไปนี้ 

ข. กึ่งบรรจุ คำสั่งมีว่า "กึ่งบรรจุ" พลประจำปืนหมายเลข ๑ และ ๒ คงปฏิบัติเช่นเดียวกับการบรรจุ ธรรมดาที่กล่าวมาแล้ว เว้นแต่พลประจำปืนหมายเลข ๑ ดึงลูกเลื่อนมาข้างหลังและปล่อยไปครั้งเดียวเท่านั้น

การเลิกบรรจุ

         เมื่อมีคำสั่ง "เลิกบรรจุ" พลประจำปืนหมายเลข ๑ และ ๒ ปฏิบัติการดังต่อไปนี้ 

การตรวจปืน

         เมื่อได้ถูกนำไปตั้งยิงโดยใช้กระสุนจริงเสร็จแล้วปืนจะต้องได้รับการตรวจตราเสียก่อนที่ผู้หนึ่งผู้ใด จะออกไปอยู่ข้างหน้าลำกล้องปืน  คำสั่งในการนี้มีว่า "ตรวจปืน" พลประจำปืนหมายเลข ๑ และ ๒ สอดไม้ ขัดลูกเลื่อนเข้าไป อย่างไรก็ตามพลประจำปืนหมายเลข ๑ จะต้องไม่ปล่อยลูกเลื่อนไปข้างหน้า  หรือกดไกเป็น อันขาด

การเลิกยิง

         ขณะที่ปืนกำลังตั้งยิงอยู่  เมื่อมีคำสั่งว่า "เลิกยิง" ตามคำสั่งนี้พลประจำปืนหมายเลข ๑, ๒ และ ๓ ต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้ 

การนำปืนเข้าที่ตั้งยิงในท่าตั้งยิงสูง

         ก. ในภูมิประเทศที่มีหญ้าขึ้นสูง มักจะบังคับให้ต้องยกปืนขึ้นสูงกว่าท่าตั้งยิงปกติ ก่อนจะออกจากที่กำบัง สุดท้าย ผู้บังคับหมู่จะต้องสั่งพลประจำปืนหมายเลข ๑ ว่า "เตรียมตั้งยิงสูง" ตามคำสั่งนี้พลประจำปืนหมายเลข ๑  คลายสลักยึดขาหยั่งออกทั้ง ๓  ขาโดยกดดันสลักกลอนดึงขาหยั่งแต่ละขาออกจนสุด  เสร็จแล้วปล่อยคันสลัก กลอนตามเดิมและขันสลักยึดขาหยั่งให้แน่น

         ข. ปืนซึ่งตั้งยิงในท่าตั้งยิงสูงนี้คงปฏิบัติเช่นเดียวกับการนำปืนเข้าที่ตั้งยิงธรรมดา

การนำปืนเข้าที่ตั้งยิงบนพื้นลาด

         ที่ใดจะถูกกำหนดให้ปืนตั้งยิง เป็นพื้นลาดแล้วจะต้องจัดขาหยั่งให้ได้ระดับโดย:-

         ก. ดึงขาหยั่งออกขาหนึ่ง หรือสองขา

         ข. ตัดพื้นดินตรงใต้ขาที่สูงออกหรือขาอื่น ๆ

การนำเครื่องมือเครื่องใช้ของปืนไปด้วยมือ

         ขณะที่ปืนกำลังตั้งอยู่เมื่อมีคำสั่งว่า ๑ "เลิกยิง" ๒ "ตรวจเครื่องมือเครื่องใช้"  ตามคำสั่งนี้พลประจำ ปืนทั้งหมดปฏิบัติการ "เลิกยิง" และนำเครื่องมือเครื่องใช้ไปดังนี้:-

         ก. พลประจำปืนหมายเลข ๑ แบกขาหยั่งด้วยไหล่ข้างใดข้างหนึ่ง โดยให้ขาหยั่งหันไปทางข้างหลัง

         ข. พลประจำปืนหมายเลข ๒ แบกปืนด้วยไหล่ข้างใดข้างหนึ่ง โดยเอามือจับด้ามปืนไว้ข้างหน้าปืน

         ค. พลประจำปืนหมายเลข ๓ หิ้วหีบกระสุนด้วยมือขวาและถือลำกล้องด้วยมือซ้าย โดยให้ลำกล้องปืนหัน ไปทางหลัง หรือยกแบกด้วยไหล่ซ้ายโดยให้ลำกล้องปืนหันไปทางข้างหน้า

การนำปืนติดขาหยั่งเคลื่อนที่

         ก. ในระหว่างการปฏิบัติอาจนำปืนเคลื่อนที่ไปได้ในระยะสั้น ๆ ระยะหนึ่งโดยการลากฉุดไป  โดยใช้ คนสองคน หรือสามคนก็ได้ ก่อนที่จะนำปืนไปผู้บังคับหมู่ต้องมีคำสั่งว่า "เลิกบรรจุ"  จะต้องปฏิบัติเลิกบรรจุตาม แบบที่กำหนดไว้  ถ้าไม่มีคำสั่งเลิกบรรจุพลประจำปืนหมายเลข ๑ และ ๒  ก็ปฏิบัติเลิกบรรจุเองในขณะที่ได้รับ คำสั่งให้เคลื่อนที่

         ข. การลากปืน ปืนจะต้องลากไปยัง ที่ ๆ ได้พิจารณาแล้วว่าเป็นที่ ๆ กำบังได้ตามความต้องการ พลประจำปืนเคลื่อนที่ไปด้วยวิธีคลาน  เมื่อมีคำสั่งว่า "ลากปืนตามข้าพเจ้า" (ไปยังพุ่มไม้นั้น)"  พลประจำปืน หมายเลข ๑ และ ๒ ถ้าจำเป็นพลประจำปืนหมายเลข ๓ เข้าช่วยเหลือด้วย ลากปืนติดขาหยั่งไปตามเส้นทางที่ ผู้บังคับหมู่ได้เลือกไว้หรือไปยังที่ตั้งที่ใหม่ที่ได้กำหนดไว้

         ค. การยกด้วยสองคน คำสั่งมีว่า "สองคนยก,ตามข้าพเจ้า" พลประจำปืนหมายเลข ๑ ทางขวา และ พลประจำปืนหมายเลข ๒ ทางซ้ายจับขาหยั่งหน้าด้วยมือข้างหน้า และจับขาหยั่งหลังตรงข้างหน้าควงมาตรามุม ส่าย ด้วนมือหลังพลประจำปืนหมายเลข ๓ ถือหีบเครื่องอะไหล่ และหีบกระสุน

         ง. การยกด้วยคนสองคน

              ๑. เมื่อลำกล้องปืนร้อน มีคำสั่งว่า "สามคนยก,ตามข้าพเจ้า" พลประจำปืนหมายเลข ๑ ไปอยู่ ระหว่างขาหยั่งหลัง จับขาหยั่งหลังข้างละมือ พลประจำปืนหมายเลข ๒ อยู่ทางซ้ายและพลประจำปืนหมายเลข ๓ อยู่ทางขวาแต่ละคนจับด้ามหิ้วลำกล้องปืน พลประจำปืนหมายเลข ๒ ต้องถือหีบกระสุนและพลประจำปืนหมายเลข ๓ถือหีบเครื่องอะไหล่เพิ่มขึ้น การปรับระยะหน้าลูกเลื่อนจะต้องกระทำภายหลังเมื่อได้นำปืนไปแล้ว

              ๒. เมื่อลำกล้องปืนเย็น  คำสั่งคงเหมือนกับข้อ (๑) ที่กล่าวแล้วข้างบน พลประจำปืนหมายเลข ๑อยู่ทางขวาและพลประจำปืนหมายเลข ๒ อยู่ทางซ้าย ยกขาหยั่งอันหลังและหีบกระสุนหนึ่งหีบ พลประจำปืนหมายเลข ๓ อยู่ข้างหน้า ยกลำกล้องปืนใกล้ปากกระบอกด้วยมือข้างใดข้างหนึ่งและถือหีบเครื่องอะไหล่ด้วยมืออีกข้างหนึ่ง

การตั้งปืน

         ในระหว่างการปฏิบัติการตั้งยิง (บรรจุแล้วหรือกำลังบรรจุหลอก) เมื่อมีคำสั่งว่า "๑.๘๐๐ (๑๕๐) ๒.ศูนย์ขวา (ซ้าย) สอง (สาม) ๓.เป้าตรงรูปสี่เหลี่ยม (หรือเป้าที่หมายใด ๆ ก็ได้ที่กำหนดขึ้น)"

         ก. พลประจำปืนหมายเลข ๑ ปฏิบัติตามคำสั่งแรกตั้งศูนย์หลังตามระยะที่กำหนดให้

   ข. พลประจำปืนหมายเลข ๑ ปฏิบัติตามคำสั่งแรกตั้งศูนย์หลังตามระยะที่กำหนดให้

   ค. พลประจำปืนหมายเลข ๑ ปฏิบติตตามคำสั่งที่สามหมุนปืนไปจนกระทั่งปืนตรงที่หมายตามที่ต้องการเสร็จแล้วยกหรือลดปากลำกล้องปืนจนกระทั่งเส้นเล็งถูกต้อง

การเริ่มยิง

         ก.เมื่อได้วางปืนตรงที่หมายแล้ว (บรรจุหรือกำลังบรรจุหลอก) เมื่อมีคำสั่งว่า "๑.(จำนวน) นัด หรือ(จำนวน) นัดต่อนาที ๒.เริ่มยิง

              ๑. พลประจำปืนหมายเลข ๒ ปฏิบัติตามคำสั่งตอนที่ ๒ ปฏิบัติตามคำสั่งตอนที่ ๒  ตบหลังพลประจำ ปืนหมายเลข ๑ และบอกว่า "ยิง"

              ๒. พลประจำปืนหมายเลข ๑ กดไกโดยทันที

         ข. จำนวนกระสุนที่ยิงหรือยิงหลอก จะต้องกำหนดลงไปด้วย พลประจำปืนหมายเลข ๑ ตรวจผลการยิงนั้น

การหยุดยิง

         ก. เมื่อมีคำสั่งว่า "หยุดยิง"

              ๑. พลประจำปืนหมายเลข ๒ ตบหลังพลประจำปืนหมายเลข ๑ และบอกว่า "หยุดยิง"

              ๒. พลประจำปืนหมายเลข ๑ ถอนกลอนบังคับการยิงรั้งลูกเลื่อนมาข้างหลังและปล่อยทิ้งให้ลูกเลื่อน ขัดกลอนอยู่ข้างหลังนั้น

         ข. บัดนี้ปืนพร้อมที่จะทำการยิงได้ใหม่ ตามคำสั่งแต่ไม่มีกระสุนจริงเหลืออยู่ในรังเพลิงที่ร้อนนั้นเลย ถ้า จะไม่ยิงต่อไปชั่วระยะเวลาหนึ่ง คำสั่งสำหรับการหยุดยิง อาจใช้คำว่า "ตรวจปืน,เลิกบรรจุ พัก"

การเริ่มยิงใหม่

         ก.เมื่อได้รับคำสั่งให้ "หยุดยิง" แล้วเพื่อจะทำการยิงใหม่ต่อไปต่อเป้าซึ่งได้ทำการยิงไปแล้วเป็นครั้ง สุดท้ายก็ให้คำสั่งหรือสัญญาณว่า  "เริ่มยิง" อีกครั้งหนึ่ง พลประจำปืนหมายเลข ๑ กดคันบังคับการยิงลง  เพื่อ ปล่อยให้ลูกเลื่อนเคลื่อนที่ไปข้างหน้าและปฏิบัติการ "เริ่มยิง"

         ข. ถ้าที่หมายใหม่เกิดขึ้น ก็จะได้รับคำสั่งการเริ่มยิงใหม่

การตรวจปืนในระหว่างการหยุดยิงชั่วคราว

         เพื่อฝึกให้เกิดนิสัยในการชโลมน้ำมันและตรวจปืนเป็นระยะ ๆ ในระหว่างปฏิบัติการยิงนั้น ครูจะต้อง ออกคำสั่งในระหว่างการฝึกว่า "ตรวจปืน" เมื่อมีคำสั่งนี้แล้วให้

         ก. พลประจำปืนหมายเลข ๑ ตรวจ,และชโลมน้ำมันปืน แล้วต้องปรับขาหยั่งให้ดี ตรวจสลักต่าง ๆ ให้ ขันแน่น,สอบการตั้งศูนย์ให้ถูกต้อง,และตรวจการวางปืนให้ถูกทิศ

         ข. ภายหลังเมี่อได้ตรวจตราปืนเรียบร้อยแล้วให้ทำความสะอาดลำกล้องปืนและตรวจสายกระสุน 

ตอนที่ ๒ การตั้งยิงบนยานยนต์

กล่าวทั่วไป

         ปืนที่ติดตั้งบนยานยนต์นี้ โดยหลักใหญ่ใช้สำหรับป้องกันต่อสู้อากาศยาน และเตรียมพร้อมที่จะใช้ได้รวด เร็วทันเหตุการณ์ พลประจำปืนจะต้องได้รับการฝึกการยิงเพิ่มเติมหรือการฝึกยิงหลอก ในขณะที่กำลังเคลื่อนที่ด้วย

ชนิดของยานยนต์ที่ติดตั้งปืน

         ก. รถบรรทุก รถและรถที่ใช้ในการสงครามยกเว้นพวกที่มีป้อมปืน  มักจัดให้มีขาหยั่งชนิดเป็นห่วงอยู่ ด้วยเสมอมีคนสำหรับยึดปืนให้ติดกับโครงรับปืน ซึ่งสามารถหมุนไปได้รอบตัว  เมื่อถอดสลักยึดปืนออกจากคานปืน ก็จะส่ายเป็นอิสระได้ ปืนจะหมุนไปมาได้ในปลอกแกนรับปืนของโครงรับปืน และสามารถายกขึ้นลงได้ ภายใน ขอบเขตที่ถูกบังคับของขาหยั่งนั้น โครงรับปืนซึ่งขันให้ติดกับร่องนั้น  เมื่อเวลาทำการยิงก็สามารถหมุนไปได้ตาม สภาพที่ต้องการเพื่อให้ทำการยิงได้รอบตัว โครงรับปืนจะต้องขันให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยก่อนทำการยิง

         ข. รถที่มีป้อมปืน คานซึ่งใช้สำหรับยึดปืนนั้นจะต้องประกอบเข้ากับวงแหวนป้อมปืน วงแหวนนี้หมุนได้ อย่างอิสระ ดังนั้นพลประจำปืนจึงมีพื้นที่การยิงได้เต็ม ๒๖๐ ในระหว่างการยิงต้องถือปืนในท่ายิงกราด คลายปืน และขันวงแหวนป้อมปืนให้ยึดปืนไว้

         ค. ขาหยั่งชนิดเป็นแท่น สำหรับรถถังซึ่งมองเห็นป้อมปืนได้อย่างชัดเจน จะไม่ใช้ขาหยั่ง ชนิดเป็นวง แหวนสำหรับติดปืนชนิดนี้  โดยธรรมดาจะใช้ติดไว้บนแท่นขาหยั่งชนิดเป็นแท่นซึ่งมีลักษณะแตกต่างออกไปนี้อาจใช้ กับรถบรรทุกและรถสงครามบางชนิดเช่นเดียวกันกับชนิดอื่นขาหยั่งชนิดเป็นแท่นประกอบด้วยคานสำหรับยึดปืน และสลักซึ่งใช้สำหรับยึดระหว่างคานกับขาหยั่งให้ติดกัน

         ง. สำหรับรายละเอียด ของรูปร่างลักษณะต่าง ๆ สำหรับชิ้นส่วนต่าง ๆ ของขาหยั่งนั้น ให้ดูในแบบ พิมพ์ของฝ่ายการแสดงเกี่ยวกับเรื่องขาหยั่ง

การนำปืนขึ้นประกอบ

         ก. ไม่มีวิธีปฏิบัติประจำในการติดตั้งปืนและปลดปืนบนยานยนต์ชนิดหนึ่งชนิดใด ผู้บังคับยานยนต์นั้นเป็นผู้ รับผิดชอบ และอำนวยการติดตั้งปืนบรรทุกและเครื่องประกอบบนยานยนต์นั้น

         ข. ปืนจะถูกยึดให้ติดกับคานของขาหยั่งด้วยสลักยึดของลำกล้องปืนหรือแกนด้านลำกล้องปืน ในกรณีส่วน มากคานจะถูกสอดไปบนขาหยั่ง และนำปืนมาสวมบนคานอีกทีหนึ่ง

         ค. บนยานยนต์ซึ่งจอดอยู่ในที่จอดในที่พักแรมหรือในขณะที่ เมื่อเห็นว่าเหตุการณ์จะยังไม่เกิดอันตรายขึ้น ปืนต้องขันแน่นให้อยู่ในสภาพเดินทาง  เมื่อคาดล่วงหน้าว่าจะมีเหตุการณ์เกิดขึ้น  จะต้องคลายปืนออกจากสภาพ เดินทางและจัดพลประจำปืน กระสุนและเครื่องประกอบจะต้องวางไว้ในที่ ๆ  สะดวกต่อการหยิบขึ้นมาใช้ให้ทัน ท่วงทีพลยิงต้องเข้าประจำที่และเตรียมพร้อมที่จะต่อสู้โดยฉับพลัน ต่อเป้าหมายที่เหมาะสมที่บังเกิดขึ้น

ท่ายิงของพลประจำปืน

         ก. พลยิงปฏิบัติได้ทุก ๆ ท่า ซึ่งเห็นว่าถนัดเหมาะสมที่จะวางพาดตัวได้ดี ในขณะเดียวกันจะต้องหมุนตัว ได้คล่องและสามารถส่ายปืนไปมาได้สะดวกต่อมุมกว้าง ๆ  ในสภาพเช่นนี้เปลี่ยนแปลงได้สำหรับคนซึ่งมีร่างกาย แตกต่างกันไปและการเหมาะสม และยังขึ้นอยู่กับยานยนต์หรือขาหยั่งที่ใช้นั้นด้วยเหมือนกัน

         ข. ด้ามปืนทั้งสองอันนั้น ต้องจับให้แน่นด้วยทั้งสองข้าง และแขนก็เช่นกันจะต้องบีบไว้ติดกับตัวปืนจะต้อง รั้งไว้โดยหงายเข้าหาตัวหรือดันเอาไว้ ทั้งนี้เพื่อเป็นการลดการสั่นสะเทือนและขาหยั่งและลดอาการกระจาย

         ค. ศรีษะต้องให้ยืดขึ้นเหนือปืนเท่าที่จะทำได้เพื่อมิให้ควันที่เกิดขึ้นขณะทำการยิงบังทางกระสุนส่องวิถี

การส่ายปืน

         ก. การยิงคลายปืนใช้มือตั้งยิงบนยานยนต์พลยิงมีอิสระต่อการหมุนปืนขึ้นหรือลง  ไปทางขวาหรือซ้ายได้ ภายในขอบเขตของขาหยั่ง

         ข. เมื่อกำลังทำการยิงอยู่ ฐานวงแหวนของยานพาหนะที่มีป้อมปืน จะต้องขันให้แน่นและโครงปืนของขา หยั่งบนรถบรรทุก จะต้องขัดอยู่กับวงแหวนเพื่อว่ามิให้โครงรับปืนนั้นหมุนพลิกไปมาได้  แต่ฐานวงแหวนหรือโครง รับปืนก็สามารถหมุนกำหนดให้ได้เสมอไปตามทิศทางที่ต้องการ

การปรับยิง

         ก. เมื่อได้วางปืนให้ตรงต่อเป้าหมายในขั้นแรกและได้ทำการยิงไปแล้ว  การปรับการยิงต่อ  ๆ  ไป กระทำโดยตรวจดูทางกระสุนส่องวิถีหรือโดยตรวจดูตำบลกระสุนตกบนพื้นดิน

         ข. เมื่อทำการยิงที่หมายบนอากาศ พลยิงจะต้องมองดูเหนือลำกล้องปืน และปรับทางยิงของกระสุนส่อง วิถี (ดูรูปที่ ๒)

         ค. เมื่อทำการยิงเป้าที่หมายเคลื่อนที่บนพื้นดิน ในขั้นแรกพลยิงต้องใช้ศูนย์วงกลม  และปรับการยิงของ ปืนโดยตรวจดูทางกระสุนส่องวิถี หรือตำบลกระสุนตกอย่างใดอย่างหนึ่ง

การฝึกตั้งยิงบนพื้นดินเบื้องต้น

ตอนที่ ๑  ขอบเขต

กล่าวทั่วไป

         ปืนกลแบบ ๙๓ นี้ความมุ่งหมาย ใช้สำหรับป้องกันต่อสู้เครื่องบินของข้าศึกที่บินในระยะต่ำ ความมุ่งหมาย รองใช้เตรียมการยิงป้องกันเฉพาะตำบลต่อที่หมายบนพื้น  สำหรับเรื่องที่เกี่ยวกับหลักการยิงที่หมายบนพื้นดิน  ดู รส.๒๓-๕๕

 

ตอนที่ ๒  การฝึกยิงเบื้องต้น

การปฏิบัติขั้นต้น

         ก. ความมุ่งหมายของการฝึกเปื้องต้นนี้เพื่อให้แต่ละบุคคลมีความคุ้นเคยกับนิสัยในการฝึกยิงเบื้องต้นที่ถูก ต้อง ก่อนที่จะไปยิงปืนในสนามยิงปืน การฝึกประกอบด้วยขั้น ๖ ขั้นต่าง ๆ กัน และใช้ฝึกเป็นรายบุคคลในเรื่อง

              ๑. เพื่อให้การวางศูนย์และการเล็งถูกต้องต่อเป้า

              ๒. เพื่อให้ปฏิบัติท่ายิงได้ถูกต้อง

              ๓. เพื่อให้รู้จักการส่ายปืน

              ๔. เพื่อตั้งศูนย์ให้ถูกต้อง

              ๕. เพื่อเล็งดักและเล็งตามต่อเป้าเคลื่อนที่

              ๖. เพื่อแก้ทางปืนสำหรับยิงให้ถูกที่หมาย

         ข. ความคล่องแคล่วในการยิงจะเกิดขึ้นจากการฝึกตามหลักขั้นต้นนี้โดยตลอด ลำดับขั้นของการฝึกซึ่งได้ หยิบยกขึ้นมากล่าวเป็นข้อ ๆ ข้างบนนั้นจะต้องได้ทำการสอบเสียก่อนที่จะลงไปในสนามฝึกยิง

การวางศูนย์และการเล็ง

              ๑. การวางศูนย์ คือการวางสายตาในสภาพที่มองเห็นจากศูนย์หนึ่งไปยังอีกศูนย์หนึ่งอย่างถูกต้องได้ ส่วนสัมพันธ์กัน

              ๒. การเล็ง คือการเลื่อนปืนให้เป้าที่หมายสามารถมองเห็นได้ส่วนสัมพันธ์ถูกต้องกับศูนย์ปืน

         ก.แบบฝึกหัด ความมุ่งหมายของการฝึกหัดการวางศูนย์และการเล็ง  เพื่อสอบทหารให้รู้จักการวางศูนย์ ให้ตั้งตรงต่อเป้าที่หมาย ซึ่งสามารถจะฝึกให้บรรลุผลได้ด้วยการฝึก ๓ แบบฝึกต่อไปนี้

              ๑. แบบฝึกหัดที่ ๑ ทหารแต่ละคนต้อง

                  ก) แสดงแผนผังหรือเครื่องมืออย่างอื่น ให้เห็นรูปการวางศูนย์ที่ถูกต้อง 

                  ข) แสดงการวางศูนย์ที่ถูกต้อง ประกอบกับที่หมาย (ที่หมายนั่งแท่น) 

                  ค) แสดงให้เห็นวิธีปรับให้ได้ภาพศูนย์ที่ถูกต้อง (ที่หมายนั่งแท่น)  ที่บรรทัดเล็งโดยการเลื่อน ศูนย์หลัง

                  ง) ให้ทหารแสดงภาพศูนย์ที่ถูกต้องโดยใช้บรรทัดเล็งและให้ทหารค้นหาความคลาดเคลื่อนเล็ก ๆ น้อย ๆ ซึ่งทหารที่รับการฝึกอื่น ๆ ได้เล็งคลาดเคลื่อนไว้

              ๒. แบบฝึกหัดที่ ๒ ทหารเข้าประจำหน้าที่พลยิง และสั่งให้เลื่อนช้อนเล็ง  บนเป้าที่หมาย  เพื่อให้เห็นภาพศูนย์ที่ถูกต้อง (ที่หมายนั่งแท่น)  เมื่อมองผ่านศูนย์เป้าจะต้องวางห่างจากปืน
๑, ๐๐๐ นิ้ว

ให้ทหารที่รับการฝึกในกลุ่มนั้น ให้ช่วยเหลือการให้สัญญาณหรือเลื่อนช้อนเล็งนั้น

         ครูฝึกหรือครูผู้สอน ต้องตรวจตำบลเล็งนั้นทุกครั้ง และต้องแก้ไขความคลาดเคลื่อนด้วยเสมอ

              ๓. แบบฝึกหัดที่ ๓ แบบฝึกหัดนี้ย้ำถึงความสำคัญและการเล็งที่ถูกต้องแน่นอน  สำหรับแบบหัดที่สอง ต้องกระทำซ้ำกัน ๓ ครั้ง ตำบลที่ทำเครื่องหมายจุดของการเล็งแต่ละครั้ง กระทำโดยสอดปลายดินสอเข้าไปใน รูที่จุดกึ่งกลางของช้อนเล็ง  และทำเครื่องหมายจุดลงบนเป้า  นักเรียนควรจะสามารถปรับการเล็งต่อช้อนเล็ง ด้วยความประณีต เพื่อจะทำจุดสามจุดให้เป็นรูปสามเหลี่ยมที่เล็กที่สุดภายในวงกลม ซึ่งมีเส้นผ่าศูนย์กลาง  ๑/๒ นิ้ว ศูนย์ปืนตัวปืนและเป้าต้องวางไว้ในสภาพเดิมตลอดเวลา ระหว่างการเล็งปรับทั้ง ๓ ครั้งที่ต่อเนื่องกันนั้น

ท่ายิง

         ก. ท่ายิงปืนกระทำได้จาก:-

              ๑. ท่านอนยิง เมื่อปืนตั้งยิงต่ำ

              ๒. ท่านั่งยิง เมื่อปืนตั้งยิงสูง

         ข. ในท่านอนยิง พลยิงนอนอยู่ระหว่างขาหยั่งหลังโดยลำตัวเหยียดยาวตรงไปทางส่วนหลังของปืน

              ๑. ให้ด้านในของรองเท้าราบไปบนพื้นดิน ถ่างขาออกให้มากพอสมควร หัวเข่ามหมุนออกนอกตัว

              ๒. ข้อศอกซ้ายยันติดพื้นดิน มือซ้ายจับอยู่ที่ควงมุมสูง โดยให้หัวแม่มือซ้ายวางอยู่บนคันบังคับการยิงกราด

              ๓. มือขวาจับอยู่ที่ด้ามปืนอันขวาอย่างเบา ๆ โดยให้หัวแม่มือขวาอยู่ในสภาพที่จะกดไก

              ๔. ความสูงต่ำของลำตัวส่วนมาก ย่อมแล้วแต่ความเหมาะสมของแต่ละบุคคลที่จะให้สายตาสามารถ เล็งศูนย์ได้เหมาะดี

              ๕. พลประจำปืนหมายเลข ๒ หมอบลงทางซ้ายของปืนในเมื่อป้อนกระสุนทางซ้าย หรือหมอบลงทาง ขวาของปืนเมื่อป้อนกระสุนทางขวา

         ค. สำหรับท่านั่งยิง พลยิงนั่งอยู่ระหว่างขาหยั่งหลังตรงท้ายปืน  โดยนั่งให้ส่วนขาเหยียดไปทางใต้ขา หยั่งหรือนั่งไขว้ขา ข้อศอกพาดอยู่บนขา มือคงจับอยู่เช่นเดียวกันในท่านอนยิง

การส่ายปืน

         ก. การส่ายปืนหมายถึงการเลื่อนทิศทางของปืนจากตำบลหนึ่งไปยังอีกตำบลหนี่ง  และรวมทั้งการเพิ่ม หรือลดมุมสูงของปืนด้วย

              ๑. การส่ายปืน ทางทิศทางนั้น กระทำโดยคลายคันบังคับการยิงกราดด้ายหัวแม่มือซ้าย  และเลื่อน คันบังคับนั้นไปทางขวาหรือทางซ้าย สำหรับมุมการส่ายเป็นมุมกว้าง ๆ  ถ้าต้องการเลื่อนทิศทางของปืนแต่เพียง เล็กน้อย ก็ให้หมุนควงมุมนทิศด้วยมือซ้าย

              ๒. การส่ายปืนทางมุมสูงต่ำ กระทำโดย หมุนควงทางสูงด้วยมือซ้าย

         ข. ภายหลังที่นักเรียนเข้าใจหลักของการวางศูนย์และการเล็งดีแล้ว และสามารถปฏิบัติท่าทางต่าง  ๆ ให้ถูกต้องก็ให้เริ่มฝึกในเรื่องการส่ายปืนเป็นการฝึกหัดให้ฝึกตั้งแต่เริ่มต้นจนกระทั่งทหารสามารถเล็งปืนต่อเป้า แล้วสามารถเคลื่อนปืนได้ถูกต้องโดยรวดเร็วและง่ายดาย

การตั้งศูนย์

         ก. ศูนย์โลหะ

              ๑. ศูนย์ราบของปืนชนิดนี้ใช้ได้ในระยะ ๗๕๐ หลา ซึ่งเราไม่ต้องทำการขึ้นศูนย์นั้นเลย

              ๒. ศูนย์หลังซึ่งสามารถเคลื่อนที่ไปมาได้  (ศูนย์วงกลม)  นี้จะตั้งได้ตามระยะที่แบ่งไว้ตามความ ต้องการ โดยใช้หมุนควงบนยอดของใบแผ่นศูนย์หลังนั้น

              ๓. มาตราทางข้างซึ่งอยู่ที่ส่วนล่างของแผ่นศูนย์หลังได้แบ่งขีดไว้เป็นมิลเลียมข้างล่าง ๕  มิลเลียม ทั้งทางขวาและทางซ้ายของเลข ๐ ถ้าเราเลื่อนมาตราข้างล่างไปขวา ๑ มิลเลียม หมายถึง ๑ หลา ณ ระยะ ๑,๐๐๐ หลา

         ข. แบบฝึกการตั้งศูนย์

              ๑) แบบฝึกหัดนี้ ขั้นแรกจะต้องปฏิบัติกับศูนย์โลหะ

              ๒) ให้ทหารปฏิบัติหน้าที่เป็นพลยิงครูประจำที่อยู่ทางขวาของทหาร

              ๓) ครูกำหนดระยะและมุมทางข้างให้ เช่นตัวอย่าง "๘๐๐ ศูนย์ขวา ๓"

              ๔) พลยิงทวนคำสั่ง ตั้งศูนย์หลังตามระยะที่กำหนด  หมุนปุ่มมาตราทางข้างไปจนกระทั่งเข็มชี้ตาม ขีดที่กำหนดให้ และรายงาน "พร้อม"

การตั้งศูนย์และการวางปืนให้ตรงที่หมาย

         ก. แบบฝึกหัดนี้คงอำนวยการปฏิบัติเช่นเดียวกับการฝึกหัดการตั้งศูนย์ที่กล่าวมาแล้ว เว้นแต่พลยิงจะต้อง ทำการเล็งปืนให้ตรงที่หมายเมื่อได้ตั้งศูนย์แล้ว

         ข. ครูกำหนดระยะ, มุมทางข้างและเป้าที่หมายให้, และให้คำสั่งการยิงดังตัวอย่างต่อไปนี้  "๑๐๐๐ ศูนย์ซ้ายสอง, พุ่มไม้ตรงหน้าทางขวา, เริ่มยิง"

         ค. ในทันทีทันใดที่พลยิงตั้งศูนย์ และวางปืนตรงต่อที่หมายแล้ว รายงานว่า "พร้อม"  และครูต้องตรวจ การปฏิบัตินั้นดูว่าถูกต้องหรือไม่

         ง. เมื่อได้ปฏิบัติโดยถูกต้องแน่นอนแล้ว ก็ลดเวลาฝึกลงได้  พลยิงสามารถเรียนการตั้งศูนย์และวางปืน ให้ตรงต่อที่หมายอย่างแน่นอนได้โดยง่ายในเวลา ๑๐ วินาที

การแก้ทางปืน

         ก. การแก้ทางปืน เป็นแนวทางซึ่งใช้สำหรับวินิจฉัย  และแก้ไขความคลาดเคลื่อนของเครื่องกลไกของ ลำกล้องปืนและศูนย์ เพื่อให้เส้นเล็งและเส้นกระสุนวิถีจะได้ไปตัดกัน ณ ที่หมาย

         ข. วิธีแก้ทางปืนในระยะ ๑,๐๐๐ นิ้ว

              ๑. ตั้งศูนย์ที่ระยะ ๔๐๐ หลา และมาตราทางข้าง (ศูนย์โลหะ) หรือมุมทางข้าง (กล้องเล็ง) ที่ ๐

              ๒. เล็งไปยังจุดเล็ง

              ๓. ยิงทีละ ๓ นัด โดยใช้เส้นเล็งเดิม ทุก ๆ นัด (เล็งเฉพาะตำบล)

              ๔. ตรวจหาจุดปานกลางมณฑลของตำบลกระสุนทั้งหมด

              ๕. ถ้าจุดปานกลางนั้นอยู่บนจุดเล็ง ปืนนั้นมีทิศทางที่ถูกต้อง

              ๖. ถ้าจุดปานกลางนั้น มิได้อยู่ที่จุดเล็งเดิมให้นำปืนกลับเล็งต่อที่หมายเล็งเดิม  และแล้วโดยมิต้อง เลื่อนปืนเลย ให้เลื่อนศูนย์หลังไปจนกระทั่งเส้นเล็งหมุนไปทับจุดปานกลาง

              ๗. ทดสอบการปรับโดยเล็งใหม่ต่อจุดเล็งและให้ยิงทีละนัดอีก ๓ นัด

              ๘. ถ้าจุดปานกลางยังมิได้อยู่ที่จุดเล็งเดิมอีกให้แก้ไขดังที่กล่าวมาแล้ว  จนกระทั่งจุดปานกลางทับ สนิทกับตำบลเล็ง (จุดเล็ง)

         ค. วิธีแก้ทางปืนในสนามยิงปืน ตั้งระยะและมุมทางข้างที่กะได้พอประมาณบนศูนย์ และปฏิบัติการแก้ไข เช่นเดียวกับที่กล่าวไว้ในข้อ ข.ข้างบน

การเล็งดักและการเล็งตาม

         ก. สำหรับการเล็งดักขั้นต้นต่อเป้าเคลื่อนที่บนพื้นดินให้เล็งดักเท่ากับความยาวของเป้า นับว่าเป็นการ พอเพียงแล้ว  ไม่มีข้อยุ่งยากอันใดในการกำหนดการเล็งดักเช่นนี้เพราะความผิดพลาดใด ๆ  ที่เกิดขึ้นจากการ ยิงครั้งแรกนั้นอาจแก้ไขได้ถูกต้องได้ในทันที โดยการใช้ตรวจด้วยกระสุนส่องวิถี  สำหรับการยิงในที่โล่งแจ้งใน ระยะ ๖๐๐ หลา และเป้าเคลื่อนที่ที่มีความเร็ว ๒๐ ไมล์ต่อ ช.ม. การเล็งดักโดยประมาณต่อรถถังขนาดกลาง (ซึ่งมีความยาว ๖ หลา) ให้ดักหนึ่งเท่าความยาวของเป้าที่ปรากฏขึ้น ตามหลักอันนี้นับว่าใช้ได้ดีเพียงพอสำหรับ เป้าทุก ๆ เป้าที่เคลื่อนที่เป็นมุมใหญ่กว่า ๓๐ องศา ระยะเล็กดักตามเป้าที่ปรากฏ:-

              - เพิ่มขึ้นโดยตรงด้วยระยะและความเร็ว

              - เพิ่มขึ้นด้วยขนาดของเป้าที่ลดลง

              - จะเท่ากับ ๐ ถ้ามุมลาดเป็น ๐

         ดังนั้นถ้าเป็นเป้ายาว ๔ หลาเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว ๑๐ ไมล์ต่อ ช.ม. ในระยะ ๖๐๐ หลา  และมีมุม ลาด ๖๐ องศาการเล็งดักเป้าที่ปรากฏควรเป็น ๑๐/๒๐+๖/๔+๑ = ๓/๔ ความยาวของเป้า

         ข. เพื่อจะให้กระสุนถูกเป้าหมายพลยิงต้อง

              ๑. หมุนปืน ให้ผ่านเป้าออกไปข้างหน้าเป้าโดยคำนวณระยะยิงดักให้แน่นอนจากกึ่งกลางของเป้า

              ๒. รักษาระยะยิงดัก โดยเล็งตามเป้าไปหมายถึงการหมุนปืนไปได้เท่ากับความเร็วของเป้าเคลื่อน ที่นั้นการเล็งดักเริ่มต้นขึ้นและจะต้องให้หยุดในขณะทำการยิง

              ๓. ตารางการเล็งดักให้ใช้ได้พอเป็นแนวทางเท่านั้น

              ในสภาพที่เปลี่ยนแปลงไป เช่นที่หมายเปลี่ยนความเร็วหรือเปลี่ยนมุมเคลื่อนที่ผ่านพื้นยิงโดยกระทันหัน จำต้องปรับการเล็งดักอีกบ้าง จะต้องฝึกพลประจำปืนให้สามารถแก้ไขการยิงนี้ได้อย่างรวดเร็ว  โดยอาศัยการ ตรวจตำบลกระสุนตก การเล็งดักมากเกินไปย่อมดีกว่าที่จะเล็งดักน้อยเกินไป เพราะว่าเป้าอาจเคลื่อนที่เข้ามา ถูกเองได้ และง่ายต่อการตรวจตำบลกระสุนตก และการปรับที่จำเป็นด้วย

              ๔. ไม่มีการเล็งดักต่อเป้าซึ่งเคลื่อนที่ตรงเข้าหาตัวปืนและเคลื่อนที่ออกจากปืนเส้นเล็งซึ่งใช้เล็งต่อ ที่หมายเช่นนี้ให้เล็งต่อจุดกึ่งกลางของเป้า

การฝึกหัดการเล็งดักและการเล็งตาม

         ก.ในสนามระยะ ๑,๐๐๐ นิ้ว พลยิงจะต้องปฏิบัติดังนี้:-

              ๑. หมุนปืนให้ผ่านรูปเป้าดำที่ได้แสดงไว้เป็นเป้ารถถังในระยะ ๑,๐๐๐ นิ้ว  และให้เล็งที่จุดข้าง หน้าเป้าให้เท่ากับระยะเล็งดักที่กำหนดไว้

              ๒. กำหนดผู้ช่วยครูคนหนึ่งให้เลื่อนรูปเป้าดำ (รูปที่ ๗)  ไปจนกระทั่งจุดกึ่งกลางของเป้าอยู่ที่จุด เล็ง (รูปที่ ๘) ครูผู้ช่วยใช้ดินสอจุดลงบนเป้าตรงตำบลนั้น

              ๓. ทบทวนแบบฝึกหัดนี้ซ้ำ ๆ กันจนกระทั่งจุดดินสอซึ่งทำเครื่องหมายไว้บนเป้าแสดงระยะเล็งดัก ของพลยิงซึ่งพยายามปฏิบัติการเล็งทั้ง ๓ ครั้งใกล้ชิดกันอยู่ในวงกลมซึ่งมีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑ นิ้วได้

              ๔. ทบทวนแบบฝึกหัดนี้ โดยให้เล็งดักทั้งทางขวาและทางซ้ายหลาย ๆ ครั้ง

         ข. แบบฝึกหัดการเล็งตาม

              ๑. พลยิงเล็ง ณ จุดที่กำหนดให้ต่อรูปเป้าดำ และรักษาการเล็งนี้ไว้ในระหว่างที่เป้าเคลื่อนที่ไป ด้วยความเร็วสม่ำเสมอ สำหรับความเร็วที่แตกต่างกันของเป้าที่หมายนั้น ใช้เมื่อมีการทบทวนแบบฝึกหัดนี้  และ ในขั้นสุดท้ายให้ใช้ต่อเป้าซึ่งเคลื่อนที่ด้วยความเร็วที่ไม่สม่ำเสมอไม่แน่นอน

                     ๒. ความเร็วซึ่งใช้ต่อเป้าเคลื่อนที่ในระยะ ๑,๐๐๐ นิ้ว เพื่อแทนความเร็วจริงในระยะต่าง ๆ กัน ได้แสดงไว้ตามตารางที่จะกล่าวต่อไปนี้ 


ความเร็วของเป้าสำหรับเป้าเคลื่อนที่ในระยะ ๑,๐๐๐ นิ้ว

 


ตอนที่ ๓  เทคนิคการยิง

กล่าวทั่วไป

         บรรดาการปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับผลของการยิงต่อเป้าหมายอันหนึ่ง ๆ นั้น เรียกว่า เทคนิคการยิง

ประเภทการยิง

         ก. การยิงเฉพาะตำบล ด้วยความมุ่งหมายจะให้ลูกกระสุนทุกนัดถูก ณ  จุดเดียวกันเรียกว่าการยิงเป็น ชุดหรือเฉพาะตำบล

         ข. การยิงดัก การยิงที่ได้เล็งเพื่อให้ถูกเป้าเคลื่อนที่ ซึ่งเรียกว่าการยิงดัก

 

การยิงเป็นชุด

         ก. กลุ่มลูกกระสุนที่ได้ทำการยิงออกไปเป็นอัตโนมัติกลุ่มหนึ่ง ๆ ด้วยการกดไกครั้งหนึ่งนั้น  เรียกว่าชุด หนึ่งของการยิงจำนวนกระสุนซึ่งได้ใช้ในการยิงแต่ละชุดนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะของเป้า,การสม่ำเสมอในการยิง, และการลำเลียงกระสุน

         ข. การปฏิบัติการเล็งอย่างรวดเร็ว โดยยิงทีละนัดต่อเนื่องกัน  เป็นวิธีที่เหมาะสำหรับอาวุธชนิดนี้และ เป็นแบบการยิงซึ่งใช้ได้ทั่ว ๆ ไปต่อเป้าที่หมายทางพื้นดิน

         ค. เมื่อทำการยิงต่อสู้อากาศยาน ให้ยิงติดต่อกันนานเท่าที่ที่เป้าหมายยังอยู่ในระยะ

การกะระยะยิง

         ก. ความแน่นอนในการคาดคะเนระยะและความเร็วของเป้าเคลื่อนที่นั้น จะทราบได้โดยการฝึกหัดบ่อย ๆ ครั้งภายใต้สภาพการณ์ต่าง ๆ กัน การฝึกหัดที่ได้เริ่มขึ้นใหม่ทุก ๆ ครั้งต้องเปลี่ยนที่ทำการใหม่เสมอ โดยให้ ได้ฝึกทุก ๆ การเปลี่ยนแปลงของดินฟ้าอากาศ พฤกษาชาติ, และทุก ๆ พื้นภูมิประเทศซึ่งมีรูปร่างต่าง ๆ กันเพื่อ จะได้เคยชินในการกะระยะได้ถูกต้อง

         ข. ที่จะกล่าวต่อไปนี้เป็นหลักสำหรับฝึกการกะระยะและความเร็ว

              ๑. เมื่อทราบระยะและความเร็วจริงภายหลังที่ทหารได้กะระยะและประมาณความเร็วของที่หมาย นั้นแล้ว จะต้องบอกให้ทหารทราบระยะและความจริงนั้นเสมอ ทั้งนี้เพื่อทหารจะได้แก้ไขความเข้าใจให้ถูกต้องใน ขณะที่ยังอยู่ในความรู้สึกอย่างแจ่มแจ้ง

              ๒. ให้เปลี่ยนที่สอนบ่อย ๆ เท่าที่ทำได้และเลือกหาพื้นภูมิประเทศชนิดใหม่ ๆ ทุก ๆ ครั้ง  ถ้าไม่ ปฏิบัติดังนี้ การกะประมาณก็เป็นการเทียบเคียงต่อระยะที่ทราบแล้วเท่านั้น

              ๓. ใช้เป้าที่เกี่ยวกับการรบ รวมทั้งเครื่องบิน, พุ่มไม้, ภูเขา, สันเขา, แนวป่า, ปืนต่อสู้รถถัง, รถบรรทุก, และชุมทางถนน

              ๔. ฉากหลังต่าง ๆ กัน ใช้ฉากหลังเช่น ท้องฟ้า, ต้นไม้, หรือพวกพฤกษชาติที่โล่งแจ้ง

              ๕. ให้มีระยะสำหรับกะประมาณได้ในระยะต่าง ๆ กันตั้งแต่ ๑๐๐ ถึง ๑,๕๐๐ หลา

              ๖. แยกระยะที่กะประมาณไว้เป็นส่วน ๆ อย่าได้ปะปนกัน ดังนั้น ระยะ ๘๐๐ หลาก็ควรจะมองเห็น เป็น ๘๐๐ หลา สำหรับผู้ฝึกตรวจการณ์ แสดงตัวอย่างให้เห็นว่าระยะ ๘๐๐ หลานั้นมองดูไม่เหมือนกับระยะ ๒๐๐ หลา สี่ครั้งซึ่งเป็นเส้นตรงไปทางตรงหน้าของผู้ตรวจการณ์ และแสดงว่าระยะแรกนั้นไม่เหมือนกับระยะ ๒๐๐ หลา บนเส้นตรงระหว่าง ๖๐๐ หลา กับ ๘๐๐ หลา จากผู้ตรวจการณ์

              ๗. สอนทหารให้รู้จักเพ่งพินิจพิเคราะห์พื้นดินระหว่างตัวทหารและที่หมาย  โดยให้เลื่อนสายตาและ ศรีษะช้า ๆ กลับไปกลับมาจากภูมิประเทศอยู่ใกล้ตัวไปยังเป้าที่หมาย การปฏิบัติเช่นนี้ทำให้การกะระยะได้ดีขึ้น

              ๘. ให้กะระยะได้เร็ว

              ๙. สอนทหารให้รู้ว่าการคิดเฉลี่ยการกะระยะของบุคคลหลาย ๆ คนส่วนมากมักจะใกล้เคียงกับ ระยะที่แท้จริง

         ค. มีสภาพการณ์บางประการซึ่งมีอิทธิพลต่อการกะประมาณระยะ ซึ่งแสดงไว้ตามตารางข้างล่างนี้ดังนั้น ให้ฝึกกะระยะตามสภาพการณ์ดังกล่าวแล้ว 

การประมาณความเร็วของเป้าพื้นดิน

         ก. การฝึก ในการประมาณความเร็วของที่หมายเคลื่อนที่บนพื้นดินนั้น จะต้องกระทำไปพร้อม ๆ กับการ สอนการกะระยะความเร็วอาจประมาณได้ดังนี้:-

              ๑. ช้า - เมื่อมีความเร็วต่ำกว่า ๑๐ ไมล์ต่อ ช.ม.

              ๒. ปานกลาง - เมื่อมีความเร็ว ๑๐ ถึง ๒๐ ไมล์ต่อ ช.ม.

              ๓. เร็ว - เมื่อมีความเร็วเกิน ๕๐ ไมล์ต่อ ช.ม.

         ข. ความสามารถในการประมาณความเร็วจะสำเร็จได้ด้วยการฝึกบ่อย ๆ ตามแบบฝึกหัดต่อไปนี้

              ๑. ใช้รถถังและยานยนต์อื่น ๆ ขับผ่านแนวตรวจการณ์ โดยใช้ความเร็วและระยะต่าง ๆ กัน

              ๒. บอกระยะไปยังที่หมายและความเร็วเช่น ช้า,ธรรมดา,หรือเร็วให้ทราบ

              ๓. ให้ระยะเล็งดักที่จำเป็น เพื่อให้กระสุนถูกที่หมายในความเร็วที่บอกไว้

              ๔. ทบทวนแบบฝึกหัดนี้ โดยให้นักเรียนประมาณระยะ,ความเร็ว,และระยะเล็งดัก

การแก้ทิศทางลม

         ก. ตามตารางต่อไปนี้ แสดงจำนวนแก้ทิศทางลมซึ่งพัดผ่านพื้นยิงตามเข็มนาฬิกา  สำหรับแก้ความเร็ว ของลม ๑๐ ไมล์ต่อ ช.ม. เมื่อทำการยิงต่อเป้าทางพื้นดิน

         ข. สำหรับลมซึ่งมีความเร็วมากกว่า หรือน้อยกว่าที่กล่าวแล้ว  ก็ให้คิดแก้ไขไปตามส่วนสัมพันธ์นั้นด้วย เหตุนี้เมื่อความเร็วของลมเพิ่มเป็นสองเท่า ที่แสดงไว้ในตารางการแก้ไขก็ต้องกระทำเป็นสองเท่าด้วย

         ค. ในการแก้ไขนี้ ให้เลื่อนแผ่นศูนย์หลังไปตามทิศทางของลมนั้น


การเลือกที่หมาย

         ก. ความสามารถในการสังเกต, เลือก, และชี้ที่หมายเป็นความสำคัญประการแรก สิ่งเหล่านี้เกี่ยวกับ ความรู้ในสิ่งที่ปรากฏในสนามรบ, วิธีซ่อนเร้น, และจะเห็นเครื่องบิน ยานยนต์และอาวุธของข้าศึกได้ที่ใด (สำหรับความรู้ในการสังเกตเครื่องบินและยานยนต์นั้น ดูได้จาก รส.๓๐-๓๐ และ ๓๐-๔๐)

         ข. สำหรับที่หมายที่จะให้ปืนชนิดนี้ใช้ทำการยิงด่วนนั้นก็ได้แก่ที่หมายซึ่งจะเป็นอันตรายต่อหน่วยรบ  เมื่อ ปรากฏที่หมายมากกว่าหนึ่งแห่งแล้ว  ให้พลประจำปืนเลือกและยิงไปยังที่หมาย   ซึ่งจะทำอันตรายต่อทหารฝ่าย เดียวกันได้มากที่สุดโดยทันที ถ้าจะกล่าวถึงลำดับความสำคัญของที่หมายโดยทั่ว ๆ ไปดังนี้

         ๑. เครื่องบิน

         ๒. ยานหุ้มเกราะอย่างบาง

         ๓. ปืนต่อสู้รถถังและปืนใหญ่

         ๔. ปืนกล

         ๕. บุคคล

การชี้ที่หมาย

         การชี้ที่หมายให้บอกตามลำดับความจำเป็นเช่น ระยะ, ทิศทาง, ลักษณะ, ซึ่งสามารถให้พลยิงได้ปฏิบัติ การยิงได้ ภูมิประเทศและชื่อภูมิประเทศที่เรียกทางการทหารใช้สำหรับการชี้ที่หมายได้เช่นกัน

วิธีชี้ที่หมาย

         วิธีที่ใช้สำหรับชี้ที่หมาย กระทำได้โดยการบอกด้วยปากเปล่า,ใช้เครื่องชี้หรือยิงด้วยปืนและท่าสัญญาณวิธี ที่จะใช้นั้น คือวิธีที่จะให้ทหารสามารถทำการยิงที่หมายได้ในเวลาอันสั้นที่สุด

         ก. การชี้ที่หมายด้วยปากเปล่า

              ๑. ระยะ จะต้องบอกโดยใช้คำสั่งว่า "๗๕๐" ในกรณีที่ต้องใช้แผ่นศูนย์หลัง เมื่อออกคำสั่งในเรื่อง ระยะแล้ว จะต้องบอกการแก้ไขมุมทางข้างไปด้วยทันที เมื่อจำเป็นและสั่งว่า "ศูนย์ขวา (ซ้าย) สอง"

              ๒. ทิศทางอาจให้โดยวิธีนี้ เมื่อจำเป็นก็ใช้คำบอกต่าง ๆ เช่นตัวอย่าง "ข้างหน้า,  ข้างหน้าทาง ขวา, กึ่งซ้าย, ข้างหลังทางซ้ายหรือข้างหลัง" เมื่อเป้าหมายไม่ชัดเจน เราก็ใช้ตำบลหลักที่เห็นชัดเจน  เช่น แกนและสั่งว่า "ตำบลหลัก เจดีย์ ข้างหน้าทางขวา ซ้าย ๕๐ ปืนกลข้าศึก"

              ๓. ลักษณะที่หมาย คำหนึ่งหรือสองคำก็เป็นการพอเพียงที่จะบอกชนิดที่หมายเช่น ปืนกล,ปืนต่อสู้รถถัง

              ๔. เครื่องบิน สำหรับเครื่องบินมีวิธีเดียวที่ใช้บอกที่หมาย คือคำว่า "เครื่องบิน" แล้วชี้ไปที่เครื่อง บินนั้น

         ข. การชี้ที่หมายโดยยิงด้วยปืน วิธีนี้เป็นวิธีที่ง่ายและรวดเร็วในการชี้ที่หมาย ผู้บังคับหมวดหรือพลยิงสั่ง ว่า "๙๐๐ ข้างหน้าทางขวาดูที่ฉันยิง" แล้วก็ยิงไปที่เป้าหมายนั้นและบอกลักษณะที่หมายต่อไปจนครบถ้วน

         ค. ลักษณะการแสดงท่าสัญญาณ โดยใช้ท่าสัญญาณง่าย ๆ เพื่อชี้บอกที่หมาย ในการนี้จะสำเร็จได้ต้องขึ้น อยู่กับการเข้าใจโดยแจ่มแจ้ง ระหว่างพลยิงกับผู้บังคับหมวด  สำหรับตัวอย่างท่าสัญญาณได้กำหนดไว้ตามตาราง ต่อไปนี้:-


วิธีปฏิบัติการยิงที่หมายบนพื้นดิน

         ก. ที่หมายเป็นจุด การยิงที่หมายอยู่กับที่หรือที่หมายที่เป็นจุด  กระทำโดยยิงตรงไปให้ถูกที่หมายนั้นและ รักษาผลอันนี้ไว้โดยทำการเล็งอย่างต่อเนื่องกันไปใช้ในเวลาที่จำเป็น  กระทำเพื่อตัดรอนหรือทำลายที่หมายนั้น ให้หมดสิ้นไป

         ข. ที่หมายเคลื่อนที่ การยิงต่อที่หมายเคลื่อนที่นี้ จำเป็นต้องใช้การเล็งตามและการเล็งดักด้วย  ถ้าปืน กระบอกเดียวจะทำการยิงต่อขบวนรถยนต์กลุ่มหนึ่งก็ให้รวมกำลังยิงไปที่รถนำ ถ้ามีปืนหลายกระบอกก็ให้ยิงไปยัง รถทุกคันโดยทั่ว ๆ ไป คำสั่งการยิงจะบอกพลยิงว่า จะให้ยิงส่วนใดของที่หมาย

การแบ่งเขตการยิงทางพื้นดิน

         บ่อย ๆ ครั้งที่หน่วยได้แบ่งซอยที่หมาย และพื้นที่ให้พลยิงแต่ละคนรับผิดชอบในขอบเขตของพื้นที่ที่หมาย นั้นโดยแน่นอน เพื่อให้อาศัยที่กำบังได้ดีที่สุด หน่วยมักจะใช้การยิงประสานกัน สำหรับที่หมายพิเศษมักมอบหมาย หน้าที่ให้แก่พลประจำปืนเป็นรายบุคคล

การปรับการยิงทางพื้นดิน

         ก. พลยิงคอยมองดูตำบลกระสุนถูก หรือวิถีกระสุนในพื้นที่ที่หมายและปรับการยิงเพื่อให้กระสุนถูกที่ หมายนั้น ๆ โดยมิต้องรอคำสั่ง

         ข. การปรับการยิงในเวลากลางคืน

              ๑. ปืนอาจทำการยิงต่อที่หมายในเวลากลางคืน  ซึ่งได้หาหลักฐานการยิงไว้ตั้งแต่ในเวลากลางวัน แล้ว  การแก้ปัญหานี้จะต้องตั้งขาหยั่งให้อยู่ในสภาพเดียวกันกับที่ได้ปรับการยิงไว้  และต้องให้สามารถตั้งมุมสูง และมุมทิศเดียวกันได้ ซึ่งมีวิธีที่ปฏิบัติตามนี้ได้อยู่ ๒ วิธี

                  ก) โดยวางเครื่องเล็งแสงไว้ให้อยู่ในแนวเดียวกับเป้าและขึ้นมุมสูงไว้

                  ข) โดยวางปืนตามหลักฐานการยิงที่ได้บันทึกไว้จากคานมาตรามุมส่ายและเฟืองควงสูง

              ๒. ความแม่นยำในการยิงเวลากลางคืน จะได้ผลดียิ่งขึ้นด้วยการปฏิบัติตามรายละเอียดที่จะกล่าว ต่อไปนี้:-

                  ก) วางปืนให้มุมสูงเป็นไปตามที่ได้บันทึกไว้ ในการนี้ควงจะแน่นขึ้นเกิดความพอดีซึ่งกันและกัน โดยจำกัดมิให้ส่วนเคลื่อนที่ต่าง ๆ ทำงานได้

                  ข) ตัวสลักยึดคันบังคับทางทิศเสีย ด้วยเหตุผลเช่นเดียวกัน

                  ค) ป้องกันการโอนเอียงในการตั้งมุมทิศที่ผิดทาง มุมทิศทางขวาให้ตั้งทางด้านซ้ายของคานและ มุมทิศทางซ้ายให้ตั้งทางขวา

                  ง) เทคนิคที่ดีในการยิงเวลากลางคืนนั้น คือ ทำการยิงสักสองสามนัดโดยใช้มุมสูงและมุมทิศ อย่างละ ๒ หรือ ๓ มิลเลียม ทั้งทางสูงและทางต่ำ ทางขวาและทางซ้ายของหลักฐานการยิงนั้น

การยิงข้ามต่อที่หมายทางพื้นดิน

         ก. การยิงข้ามคือ ยิงต่อที่หมายบนพื้นดินซึ่งจะต้องยิงข้ามทหารฝ่ายเดียวกัน  การยิงเช่นนี้ไม่ควรใช้ใน สนามยิงเป้า เว้นแต่จะมีที่กำบังเหนือศรีษะ ซึ่งมีข้อกำหนดการนำไว้ในคู่มือ ๗๕๐ - ๑๐ แล้ว  การยิงข้ามนี้ใช้ เฉพาะเมื่อปืนอยู่ในสภาพดังนี้.

              ๑. ทหารฝ่ายเดียวกันที่จะทำการยิงข้ามอยู่ในที่ ๆ มองเห็นได้

              ๒. ได้กำหนดเขตนิรภัยไว้แล้ว พลยิงสังเกตเขตนิรภัยโดยอาศัยลักษณะภูมิประเทศอันแน่นอนใน เมื่อไม่มีลักษณะภูมิประเทศเป็นเครื่องช่วยในการสังเกตเขตนิรภัยก็จะต้องกำหนดเขตนิรภัยบ่อย ๆ เพื่อให้มั่นใจ ว่าจะต้องไม่ทำการยิงภายหลังที่ทหารฝ่ายเดียวกันเคลื่อนที่ไปถึงเขตนิรภัยนั้น

              ๓. ขาหยั่งจะต้องตั้งบนพื้นดินได้แน่น

              ๔. ถ้าสามารถทำได้ ควรจะได้แจ้งให้หน่วยทหารฝ่ายเดียวกันทราบ เมื่อจะทำการยิงข้ามหน่วย ทหารนั้น

              ๕. ความเร็วในการยิงต้องไม่เกินกว่า ๕๐ นัด/นาที

              ๖. ลำกล้องปืนต้องไม่สึกมาก จะสังเกตได้จากประกายเพลิงที่ปากลำกล้องมีมากเกินควร

         ข. หลักปฏิบัติสำหรับพลยิง

              ๑. เพื่อประกันความปลอดภัย เมื่อจะทำการยิงข้ามทหารฝ่ายตรงข้ามเดียวกัน มุมยิงต่ำหรือมุม นิรภัยจะต้องกระทำอย่างรอบคอบที่สุด  มุมยิงต่ำนี้ใช้สำหรับระยะที่น้อยกว่า ๙๐๐  หลาลงมาอย่างเดียว  และ หน่วยทหารอยู่ห่างอย่างน้อย ๔๐๐ หลา การพิจารณากระทำดังต่อไปนี้:-

                  ก) วางปืนกลให้ตรงกับเป้า โดยตั้งศูนย์ให้ถูกต้อง

                  ข) เมื่อวางปืนแล้วอย่าไปกระทบกระทั่งกับปืนอีก ตั้งโครงเลื่อนศูนย์หลังที่ ๑,๗๐๐ หลา

                  ค) มองผ่านศูนย์และกำหนดจุดในที่ซึ่งเส้นเล็งตัดกับพื้นดิน จะยิงข้ามทหารฝ่ายเดียวกันได้โดยปลอดภัยจนกว่าทหารจะเคลื่อนที่ไปถึงจุดที่กำหนดนี้

การใช้จุดเล็งช่วย

         ในบางกรณีพลยิงไม่สามารถจะมองเห็นที่หมายได้หรือทำการเล็งยากเป็นพิเศษ การยิงก็อาจใช้เล็งต่อที่ หมายเล็งช่วยได้ ผู้บังคับการยิงบอกระยะถึงที่หมายและพลยิงตั้งระยะบนศูนย์ตามที่บอกนั้นเสร็จแล้วผู้บังคับการ ยิงก็เลือกที่หมายที่เห็นได้ชัดเจน ณ ตำบลซึ่งใกล้กับเป้าที่หมายนั้น และใช้มาตรามิลเลียมในกล้องส่องสองตาวัด ความสูงต่างเป็นมิลเลียมระหว่างที่หมายและจุดเล็งช่วย สมมุติว่าอ่านความสูงได้ ๑๐ มิลเลียม  ถ้าจุดเล็งช่วย อยู่ต่ำกว่าที่หมาย จะต้องสั่งให้พลยิงขึ้นศูนย์หลังขึ้นไป ๑๐ มิลเลียม  โดยดูมาตรามิลเลียมซึ่งอยู่ทางซ้ายของใบ ศูนย์หลัง  หรือที่จานมุมสูงของกล้องเล็ง ถ้าจุดเล็งช่วยอยู่เหนือที่หมายก็ให้ตั้งศูนย์ต่ำลงมา ๑๐ มิลเลียม  ด้วย การปรับศูนย์นี้แล้วพลยิงวางปืนให้ตรงจุดเล็งช่วยและทำการยิงกระจายการยิงเป็นไปตามคำสั่ง ถ้าการอ่านมุม มิลเลียมระยะที่กำหนดให้และตั้งศูนย์โดยถูกต้องแล้ว การยิงก็ควรถูกเป้าที่หมายในทำนองเดียวกัน อาจเลือกจุด เล็งช่วยอยู่ทางขวาหรือทางซ้ายของที่หมายก็ได้และตั้งมุมทิศที่ควรแก้ลมหรือจานมุมทิศที่กล้องเล็ง

แผ่นจดระยะ

         ก. แผ่นจดระยะเป็นแผนที่สังเขป แสดงหลักฐานการยิงที่ได้เตรียมไว้แล้ว ซึ่งจะทำการยิงได้ในทันทีทัน ใดจากที่ตั้งปืนในขณะเมื่อมีทัศนะวิสัยเลว แผ่นจดระยะนี้ตามธรรมดา  การใช้ย่อมขึ้นอยู่กับความสามารถในการ ส่ายปืนทั้งทางทิศและทางสูง ด้วยความละเอียดละออของเครื่องนั้น ๆ แผ่นจดระยะใช้ได้อย่างเดียวเมื่อปืนตั้ง อยู่บนขาหยั่งสามขาเท่านั้น

         ข. แผ่นจดระยะทำขึ้นคู่ แผ่นหนึ่งนั้นเก็บไว้ที่ตั้งปืนและอีกแผ่นหนึ่งส่งไปยังผู้บังคับบัญชา ผู้ซึ่งรับผิดชอบ ต่อการประสานการยิงของปืนทั้งหมด

         ค. เรื่องที่จะกล่าวต่อไปนี้มีแสดงไว้ในแผ่นจดระยะเสมอ คือ:-

              ๑. การกำหนดที่ตั้งปืน

              ๒. การวางให้ถูกทิศ โดยใช้ทิศเหนือของเข็มทิศ หรือใช้ลักษณะภูมิประเทศที่เด่นบางตอนก็ได้

              ๓. บริเวณที่คาดว่าเป็นที่หมายยิงนั้นแสดงด้วยเครื่องหมายแผนที่ เขียนชื่อและกำหนดหมายเลขจาก ขวาไปซ้าย

              ๔. หลักเล็ง หรือสิ่งในภูมิประเทศใกล้เคียงซึ่งปืนใช้เป็นที่หมายเล็งในชั้นต้น สำหรับกำหนดทิศและ มุมสูง และอยู่ตรงหรือใกล้กับขีดศูนย์ที่คาดมุมส่าย และควงมุมสูง เพื่อให้สดวกในการสอบการวางปืนได้โดยเร็ว ในระหว่างที่ทัศนะวิสัยไม่สู้ดี ในแผนที่สังเขปให้ลากเส้นจากเครื่องหมายในภูมิประเทศมายังที่ตั้งปืน เป็นเส้น ประและหมาย "ศูนย์" ไว้และเรียกว่า "เส้นศูนย์" จากจุดนี้เมื่อจะวางปืนให้ตรงไปยังตำบลที่น่าจะเป็นที่หมาย อื่น ๆ อีก ก็ให้คำนวณมุมทิศแล้วตรวจสอบดูหลักเล็งนี้ ควรจะอยู่ประมาณกึ่งกลางของคานมาตรามุมส่าย

              ๕. เส้นที่ลากจากที่ตั้งปืนไปยังเป้าที่หมายที่คาดไว้แต่ละแห่งนั้น ปืนจะต้องทำการเล็งไปยังเป้าที่ หมายแต่ละแห่งที่ค่อนข้างจะแน่ โดยตั้งระยะบนศูนย์หรือที่กล้องเล็งตามที่กะประมาณไว้คานมาตรามุมส่ายและ ควงมุมสูงอ่านได้จากที่ตั้งของเป้าที่หมายแต่ละแห่งที่คาดไว้แล้ว และบันทึกลงบนแผ่นจดระยะเมื่อสถานการณ์ อำนวยการยิง และการปรับจะต้องให้ทำหลักฐานไว้ให้เรียบร้อย

การบังคับการยิง

         ก. การบังคับการยิงมีประโยชน์สำหรับ:-

              ๑. ทำการยิงได้ในทันทีที่ต้องการ

              ๒. ปรับการยิงต่อที่หมายได้

              ๓. ย้ายที่หมายยิงจากที่หมายแห่งหนึ่งไปยังที่หมายอีกแห่งหนึ่งได้

              ๔. หยุดยิงได้ตามต้องการหรือตามคำสั่ง

         ข. การหย่อนความสามารถในการบังคับการยิงนี้เป็นผลทำให้สูญเสียการจู่โจม,ยิงต่อที่หมายที่มีความ สำคัญน้อย, และเปลืองกระสุน ตามปกติหน่วยบังคับบัญชามักออกคำสั่งด้วยวาจาแก่ผู้บังคับหมวดและผู้บังคับ หมวดก็สั่งต่อไปยังพลยิง ต้องให้มีการแยกการบังคับบัญชา เพื่อให้บังเกิดผลการยิงต่อที่หมาย ซึ่งบังเกิดขึ้นใหม่ และมิได้คาดหมายไว้ก่อน อันอาจบังเกิดขึ้นได้ภายหลังที่หน่วยได้ทำการปะทะไปแล้ว  อย่างไรก็ตามหน่วยบังคับ บัญชาและผู้บังคับหมวดจะต้องตรวจตราและควบคุมพลยิงอยู่เสมอ

คำสั่งการยิง

         ก.  คำสั่งการยิงเป็นคำสั่งซึ่งทำให้พลประจำปืนสามารถทำการยิงต่อเป้าที่หมายที่ต้องการได้ถูกต้อง คำสั่งการยิงนี้มีอยู่ ๒ ชนิดคือ คำสั่งการยิงขั้นต้น เป็นคำสั่งให้ทำการยิงต่อที่หมาย และคำสั่งการยิงขั้นต้นต่อ ไป เป็นคำสั่งให้ปรับการยิง ให้ย้ายการยิง หรือให้หยุดยิงชั่วคราว

         ข. คำสั่งการยิงจะต้องสั้นและชัดเจนที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่ต้องประกอบหัวข้อต่าง ๆ ที่จำเป็น เพื่อให้ ภารภิจการยิงนั้นเป็นไปโดยสมบูรณ์ คำสั่งการยิงต้องให้เป็นไปตามลำดับขั้น ต้องแจ่มแจ้ง และความเร็วที่จะสั่ง นั้น ต้องให้พลประจำปืนสามารถรับคำสั่ง และปฏิบัติตามได้โดยไม่เกิดการสับสนหัวข้อหลักของคำสั่งการยิงขั้นต้น

         เพื่อฝึกพลประจำปืนให้ปฏิบัติตามคำแนะนำในระเบียบประจำที่แน่นอน และเพื่อให้เข้าใจในการปฏิบัติจึงได้กำหนดคำสั่งยิงขั้นต้นไว้ตามลำดับดังนี้:-

                  หัวข้อ                                                                 ตัวอย่าง

         ๑. เตรียมตัว…...         หน้าที่การยิง                           (เป้าเคลื่อนที่) (ปืน ๑)

         ๒. ทิศทาง.……..         ข้างหน้า                                 (ตรงหน้าทางซ้าย) (เบื้องขวา)

         ๓. ลักษณะของเป้า.…. รถเกราะ                                 (ปืนต่อสู้รถถัง)

         ๔. ระยะ.......              ๘๐๐

         ๕. ระยะยิงดัก (ถ้าจำเป็น ระยะยิงดัก ๒ (ระยะยิงดัก ๑) ต้องใช้)

         ๖. วิธีปฏิบัติการยิง

              ก) การส่ายปืน ปืน ๑ รถยนต์ทางขวา ปืน ๒ (รวมทั้งการแบ่ง รถยนต์ทางซ้าย เฉพาะตำบลที่หมายยิงถ้าจำเป็น (ยิงดัก) และชนิดของการ (กระจายการยิง)

              ข. ความเร็วในการยิง เร็ว,ช้า,ทีละนัด (เร็ว) ขึ้นอยู่กับชนิดของ (ช้า) ที่หมายที่จะทำการยิง

         ๗. คำสั่งเริ่มยิง..……... คอยฟังคำสั่งข้าเจ้า (คอยดูสัญญาณของข้าพเจ้า) (ยิง)

การหยุดยิง

         ก. กล่าวทั่วไป คำสั่ง "หยุดยิง"  นี้ใช้สั่งเมื่อผู้ควบคุมต้องการให้หยุดยิง  คำสั่งนี้แสดงว่าการยิงได้ เสร็จสิ้นลงแล้วโดยสมบูรณ์ ตามหลักฐานของพลยิงด้วยการยิงจะเริ่มใหม่ได้โดยใช้คำสั่งการยิงขั้นต้น

         ข. การหยุดยิงชั่วคราวและการเริ่มยิงต่อไปใหม่ คำสั่ง "พักยิง" ใช้สั่งเมื่อผู้ควบคุมการยิงต้องการให้ หยุดยิงชั่วคราว และถ้าจะให้ทำการยิงต่อไปใหม่โดยใช้หลักฐานเดิมก็ให้ใช้คำว่า "เริ่มยิงต่อไป" หรือโดยการ ใช้คำสั่งยิงขั้นต่อไป หรือโดยสั่งใช้คำสั่งการยิงใหม่

         ค. คำสั่งการยิงขั้นต่อไป คำสั่งการยิงขั้นต่อไปประกอบด้วยหัวข้อบางส่วนที่เปลี่ยนแปลง ยกเว้นระยะ หรือมุมสูง และคำสั่งที่จะทำให้การยิงจะต้องสั่งเสมอ

ยุติการเตรียมตัว

         เพื่อให้พลประจำปืนได้คลายความเคร่งเครียดลงบ้างในระหว่างมีหน้าที่การยิงและเพื่อว่าความรับผิด ชอบในการเตรียมตัวขั้นต่อไปจะได้มีผลดียิ่งขึ้นควรจะได้บอกให้ยุติการเตรียมตัวด้วยคำสั่งว่า "จบการยิง"

การแก้ไขและการยิงปรับการขั้นต่อไป

         การตรวจการณ์และการปรับการยิง เป็นสิ่งสำคัญมากในการบังคับการยิง  ตั้งแต่เริ่มจนตลอดการรบพล ยิงจะต้องได้รับการฝึกและการปรับการยิงด้วยตนเองโดยไม่ต้องสั่ง และจะต้องตรวจการวางปืนเสมอ ๆ จะ ต้องฝึกพลยิงให้สามารถคาดคะเนอากัปกิริยาของข้าศึก ภายหลังที่ได้ทำการยิงไปแล้วและสามารถย้ายยิงเมื่อที่ หมายเปลี่ยนรูปขบวนหรือเปลี่ยนที่อยู่ได้โดยเหมาะสมถ้าพลยิงไม่สามารถจะปฏิบัติการดังที่กล่าวมาแล้วได้ ผู้ บังคับหมู่จะต้องรีบแก้ไขทันทีโดยให้คำสั่งการยิงขั้นต่อไป  ความรับผิดชอบในการปรับการยิงนี้  เป็นไปตามสาย การบังคับบัญชาจนถึงตัวผู้บังคับหมวด  เมื่อได้ให้คำสั่งการยิงขั้นต่อไปแล้ว  พลยิงก็จะต้องแก้ไขหรือปรับการยิง ตามที่กำหนดให้ และเริ่มยิงไปยังที่หมายโดยไม่ต้องคอยคำสั่งต่อไป