บทที่ ๕ คำสั่งยิง

บทที่ ๕

คำสั่งยิง

กล่าวทั่วไป

           คำสั่งยิงเป็นคำสั่งทางเทคนิค กำหนดให้เป็นแบบเดียวกันและความเข้าใจในแนวเดียวกัน เพื่อให้บังเกิดผลต่อการยิง ความรวดเร็วและความถูกต้อง คำสั่งเหล่านี้กำหนดขึ้นโดย ศอย. คำสั่งยิงมี ๒ แบบ

           ๑. คำสั่งยิงเริ่มแรก สั่งออกไปเพื่อเริ่มภารกิจ

           ๒. คำสั่งยิงต่อมา สั่งออกไปเพื่อเปลี่ยนหลักฐานยิง

การส่งคำสั่งยิง

           ๑. ต้องเชื่อถือได้

           ๒. กระจ่างชัดและรวมด้วยส่วนย่อยของคำสั่งที่จำเป็น เพื่อให้เกิดผลสำเร็จในภารกิจและสั่งเมื่อส่วนย่อยหามาได้แล้ว

           ๓. เพื่อลดความบกพร่องในการส่งคำสั่ง ผู้ที่รับคำสั่งต้องทวนคำสั่งทุกขั้นตอนทุกครั้ง

           ๔. วิธีการส่งคำสั่งยิง คำสั่งอาจสั่งด้วยวาจา, โทรศัพท์, วิทยุ, พลนำสารหรือสัญญาณมือ และแขน

           ๕. การส่งคำสั่งตัวเลข

                     เลข               เลขที่อ่าน

                     ๙ ๖/๘           เก้า หกส่วนแปด

                     ๕.๔              ห้า จุด สี่

                     ๑๐            หนึ่งศูนย์

                     ๒๕               สองห้า

                     ๓๐๐             สามร้อย

                     ๑๔๐๐           หนึ่งสี่ร้อย

                     ๑๙๒๕           หนึ่งเก้าสองห้า

                     ๔๐๐๐           สี่พัน

           หมายเหตุ มุมทิศให้บอกเป็นเลขสี่ตัว เพื่อลดค่าบกพร่อง

 

คำสั่งยิงเริ่มแรก

           ขั้นตอนของการส่งคำสั่งกำหนดไว้ดังนี้

           ๑. เครื่องยิงที่ปฏิบัติตาม ความประสงค์สองประการ เพื่อเตือนตอน (หมวด) ยิงในภารกิจ เพื่อให้เครื่องยิงทุกกระบอกในตอน (หมวด) ปฏิบัติคามคำสั่ง ถ้าเป็นการยิงเป็นกระบอกหรือเป็นคู่ ให้สั่งเป็น หมู่ ๑, หมู่ ๒

           ๒. ระเบิดชนวน บ่งเฉพาะชนิดกระสุนและชนวน เช่น ระเบิดสังหาร,ชนวนกระทบแตกไว หรือระเบิดสังหาร,ชนวนเวลา

           ๓. เครื่องยิงที่ปฏิบัติการยิง กำหนดให้กระบอกเดียวหรือหลายกระบอก ให้บอกหมายเลขเครื่องยิงเช่น หมู่ ๒, หมู่ ๓ หรือ หมู่ ๔ โดยปกติข้อนี้จะบ่งถึงปืนที่ปรับการยิง

 

           ๔. วิธียิง ทำการยิงเป้าหมายอย่างไร และการควบคุมการยิงเป็นพิเศษตามที่ต้องการ

                ก. การระดมยิง

                     ๑) ยิงด้วย ค. กระบอกเดียวหรือมากกว่า

                     ๒) เริ่มยิงเมื่อตอน (หมวด) ให้คำสั่ง "ยิง"

                     ๓) ยิงตามจำนวน ลย.ที่บอกไว้โดยรวดเร็ว ประณีต และปลอดภัย

                     ๔) ไม่ต้องรอและไม่ต้องคำนึงถึง ค.หมู่อื่น

                     ๕) การระดมยิง ถ้าจำกัดช่วงเวลาและจำนวนของ ลย.เช่น "จำนวนนัด...กี่วินาที " หรือ "จำนวนนัดต่อนาที" กรณีเช่นนี้ ๑ นัดต่อ ค. ๑ กระบอก ตามช่วงเวลาที่บ่ง ผบ.ตอน (หมวด) สั่งยิง ปกติใช้เสริมฉากควันหรือส่องสว่าง

                ข. การยิงเป็นรอบ

                     ๑) จะกำหนดจำนวนของ ลย. ช่วงเวลาแต่ละนัด (ปกติ ๑๐ วินาที) กำหนดลำดับการยิงจากขวาหรือซ้าย ปกติจะใช้ยิงทั้งตอน (หมวด)

                     ๒) ใช้ในกรณีปรับกรวยพื้นยิงและภารกิจยิงฉากควัน

                     ๓) การทำการยิงหลังจากหมู่ ค.ทั้งหมดรายงานเครื่องยิงพร้อม ผบ.ตอน (หมวด) ให้คำสั่งว่า "ยิง"

                ค. การยิงต่อเนื่อง เป็นอันดับการยิงของการระดมยิง

                     ๑) การยิงต่อเนื่องเพื่อเสริมฉากควัน และการยิงส่องสว่างในเวลากลางคืน

                     ๒) การยิงต่อเนื่องอาจจะเป็นการยิงต่อเนื่องจากขวาหรือซ้าย ถ้าการยิงใช้ ค.หมู่เดียวก็ตัดคำว่าขวาหรือซ้าย

                     ๓) การเปลี่ยนหลักฐานการยิงที่ใช้กับเครื่องยิง มิได้หยุดยิงหรือทำให้การยิงต่อเนื่องต้องชะงักลง การเปลี่ยนมุมทิศหรือระยะจะใช้ควงส่ายและควงสูง

                ง. การยิงเป็นพื้นที่ คือยิงลงไปบนพื้นที่แห่งหนึ่ง มีความลึกทางระยะยิง ปกติจะใช้ตอน (หมวด) ทำการยิง โดยมีห้วงความลึกของกระสุนแต่ละนัดห่างกัน ๒๕ หรือ ๕๐ เมตร

                จ. การยิงส่าย คือการยิงลงไปบนพื้นที่ของเป้าหมายที่มีความกว้างเกินกว่าที่จะยิงกรวยขนานคู่ โดยหาหลักฐานเปิดกรวยและการคำนวณจำนวนกระสุน กับจำนวนควงส่ายที่ใช้

                ศอย.อาจยิงคลุมเป้าหมาย โดยแบ่งส่วนของเป้าหมายตามความกว้างของกรวยขนานคู่ คำนวณมุมทิศย้ายยิงทั้งตอน (หมวด) หรืออาจจะคำนวณการใช้ควงส่ายก็ได้

                ฉ. ตามคำสั่งข้าพเจ้า ศอย.ส่งเพื่อควบคุมการยิง จะสั่ง "ตามคำสั่งข้าพเจ้า" หรือ "ตามคำสั่งข้าพเจ้า, เวลา ณ เป้าหมาย (กี่นาที) จากขณะนี้" ตอน (หมวด) รายงานเครื่องยิงพร้อมเพื่อให้ได้ผลการยิงจู่โจม กระสุนนัดแรกจะควบคุมการยิงพร้อมกัน ศอย.ให้คำสั่งยิง

                ช. ไม่ต้องยิง โดยปกติจะใช้กับตอนที่ไม่ต้องปรับการยิง แต่ต้องยิงหาผลในการยิงของหมวดแต่เพื่อความรวดเร็วในการยิงหาผลจึงต้องตั้งหลักฐานตาม

           ๕. มุมทิศ มุมทิศจะสั่งเป็นเลข ๔ ตัวเสมอ เช่นมุมทิศ ๐๑๕๐ คำว่า "มุมทิศ" ต้องบอกนำหน้าตัวเลขเสมอ

           ๖. ส่วนบรรจุ กำหนดการใช้ส่วนบรรจุ ซึ่งมีความสัมพันธ์กับระยะยิง

           ๗. การตั้งชนวน ใช้กับกระสุนที่ใช้ชนวนเวลาแตกอากาศ สั่งเวลา (กี่วินาที) ตัวอย่าง "เวลาหนึ่งแปดจุดสี่"

           ๘. มุมสูง มีความมุ่งหมายสองประการ

                ก. เพื่อให้ตั้งมุมสูงที่แน่นอน ถึงแม้จะต้องตรวจความถูกต้องและระดับมุมสูง

                ข. ใช้เป็นคำสั่งเพื่อยิง ถ้าไม่มีกำกับอยู่ในหัวข้อวิธียิง เช่น "ตามคำสั่งข้าพเจ้า" เมื่อตั้งมุมสูงแล้วทำการยิงไปได้เลย

คำสั่งยิงต่อมา

           ก. เป็นคำสั่งยิงที่ส่งเฉพาะส่วนที่เปลี่ยนแปลง ยกเว้นมุมสูง

           ข. มุมสูงจะเปลี่ยนแปลงหรือไม่ จะต้องสั่งเสมอ เพื่อเตือนให้พลประจำปืนตั้งมุมสูงหรือตรวจความถูกต้อง เช่นหวอดระดับ และอีกประการหนึ่งถ้ามีการควบคุมในหัวข้อวิธียิง เช่น "ตามคำสั่งข้าพเจ้า" เมื่อ ค.พร้อมแล้วจะต้องรายงาน และจะทำการยิงได้ต่อเมื่อได้รับคำสั่ง "ยิง"

           ค. ในข้อวิธียิง ไม่มีการควบคุมการยิง เมื่อปืนพร้อมให้ทำการยิง เมื่อยิงไปแล้วจึงรายงาน "หมู่ ๑ ๑ นัด ยิงไปแล้ว"

           ง. การยับยั้งการยิง เป็นคำสั่งที่ใช้คำว่า "หยุดยิง" หรือ "พักการยิง"

                ๑) หยุดยิง บ่งถึงว่าสิ้นสุดภารกิจการยิงนั้น เตรียมการยิงภารกิจต่อไป

               ๒) พักยิง หมายถึงหยุดยิงชั่วคราว และอาจจะต้องยิงใหม่ด้วยหลักฐานเดิม จะสั่งว่า "หลักฐานยิงเดิม - ยิง" หรือโดยใช้คำสั่งยิงต่อมา

           จ. คำสั่งว่า "หยุดยิง จบภารกิจ" พลประจำปืนพักผ่อนได้ระหว่างภารกิจยิง เป็นการสิ้นสุดการเตรียมตัวยิง พลยิงตั้งเครื่องยิงไปยังทิศทางที่ ศอย.กำหนดไว้

ทวนคำสั่งและแก้ไขคำสั่งยิง

           ก. ถ้า ผบ.ตอน (หมวด) ไม่เข้าใจส่วนใดส่วนหนึ่งของคำสั่งยิง ก็ร้องขอส่วนที่ไม่เข้าใจ ตัวอย่างเช่น "ส่งใหม่มุมทิศ, ส่งใหม่มุมสูง" เป็นต้น ผู้สั่งต้องใช้คำพูดว่า "ข้าพเจ้าส่งใหม่ มุมทิศ..." เพื่อหลีกเลี่ยงการเข้าใจผิด

           ข. การแก้

                ๑) ในคำสั่งยิงเริ่มแรก ส่วนคำสั่งที่สั่งไม่ถูกต้อง ผู้สั่งจะต้องกล่าวว่า "ผิดหยุด" แล้วบอกส่วนที่ถูก

                ๒) ในคำสั่งยิงต่อมา ส่วนคำสั่งที่ส่งไม่ถูกต้อง ผู้ส่งจะต้องกล่าวว่า "ผิดหยุด" แล้ว บอกทวนคำสั่งยิงต่อมาทั้งหมด

คำสั่งนายทหารอำนวยการยิง

           ก. นอย.เป็นผู้ใช้คำสั่ง ศอย.กำหนดให้เป็นขั้นตอน เพื่อหลีกเลี่ยงการสับสนและประหยัดเวลาดังต่อไปนี้

                ส่วนย่อยของคำสั่ง                        ตัวอย่าง

                ๑) หน่วยยิงหาผล                         ตอน (หมวด)

                ๒) หน่วยยิงปรับ                           หมู่ ๑ (ตอน ๑)

                ๓) วิธียิงปรับ                                หมู่สอง ๑ นัด

                ๔) หลักฐานการแก้                       ย้ายการยิงจากจุดยิงหาหลักฐานที่ ๑

                ๕) การแก้มุมทิศ                           ใช้มาตราแก้มุมทิศ

                ๖) การแก้กรวยพื้นยิง                ปิดกรวยต่อหมู่สอง

                ๗) ลูกระเบิดยิงและชนวน               ระเบิดสังหารกระทบแตกไว

                ๘) วิธียิงหาผล                              ๖ นัด

                ๙) การยิงต่างระยะ                        ระยะเดียว

                ๑๐) เวลาเริ่มยิง                            ตามคำสั่งยิงข้าพเจ้า

                ๑๑) หมายเลขตำบลยิง                  หมายเลขตำบลยิง เออีเก้าหนึ่งสาม

           ข. อธิบาย

                ๑) หน่วยยิงหาผล ข้อตกลงใจว่าจะใช้ตอน (หมวด) ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่อไปนี้

                     (ก) จำนวนอาวุธที่มีอยู่

                     (ข) ขนาดของพื้นที่ซึ่งจะยิงให้ครอบคลุมและความแน่นอนของที่ตั้งเป้าหมาย

                     (ค) บ่งให้มีการยิงจู่โจม หรือไม่ต้องการ

                     (ง) ความสำคัญของเป้าหมาย

                     (จ) ระยะยิง (หรือระยะการยิงสนับสนุนใกล้ชิดเมื่อช่วยเหลือหน่วยทหารที่เข้าตะลุมบอน)

                     (ฉ) อาการกระจาย

                     (ช) ดำรงการรักษาการยิงตัดรอนกำลัง, การยิงรบกวน, หรือการยิงขัดขวาง

                     (ซ) การยิงหาหลักฐาน

                     (ฌ) ลูกระเบิดที่มีอยู่

                ๒) หน่วยยิงปรับ เพื่อหาหลักฐานหรือสำหรับภารกิจที่ต้องยิงเพื่อปรับก่อนที่จะยิงหาผล

                ๓) วิธียิงปรับ เป้าหมายเป็นพื้นที่การปรับการยิงเพื่อความรวดเร็วจะใช้ปืนคู่กลางของตอนหรือหมวด ภารกิจยิงทำลายจะใช้ปืนหมู่หลักหมู่เดียวปรับการยิง

                ๔) หลักฐานการแก้ ตำบลอ้างที่เพ่งเล็งเพื่อให้ความแม่นยำ

                ๕) การแก้มุมทิศ ใช้ภารกิจยิงทั้งสิ้น เมื่อ นอย.สั่งใช้มาตราแก้มุมทิศ

                ๖) การแก้กรวยพื้นยิง บอกถึงเรื่องการใช้แบบกรวยพื้นยิงที่ต้องการ (นอกเหนือไปจากกรวยขนานคู่) เป้าหมายที่มีรูปร่างและทรวดทรงไม่เป็นไปตามปกติ

                ๗) ลูกระเบิดยิงและชนวน ให้เลือกมาใช้ให้เหมาะสมกับภารกิจและลักษณะเป้าหมาย เว้นไว้แต่ว่าผู้ตรวจการณ์ร้องขอแบบของลูกระเบิดและชนวนเป็นพิเศษ

                ๘) วิธียิงหาผล ภารกิจ, ลักษณะเป้าหมาย, กระสุนที่มีอยู่และคำสั่งที่กำหนดมาจาก บก.หน่วยเหนือจะครอบคลุมถึงจำนวนกระสุนที่ใช้ยิงหาผล

                ๙) การยิงต่างระยะ จำนวนพื้นที่การยิงต่างระยะหามาได้โดยขนาดของพื้นที่เป้าหมาย

                ๑๐) เวลาเริ่มยิง ภารกิจลักษณะเป้าหมาย และผลที่ต้องการ เช่น "พร้อมแล้วยิงได้" "เวลา ณ ที่หมาย" "ตามคำสั่งยิงข้าพเจ้า" หรือเวลากำหนดเฉพาะซึ่งขึ้นกับตารางการยิงตามกำหนดเวลา

                ๑๑) หมายเลขตำบลยิง หมายเลขนี้เลือกมาใช้แต่ละตำบล จากหมู่หมายเลขที่ได้รับมอบให้หมวด (ตอน) เว้นไว้แต่ว่าหมายเลขนั้นได้บ่งเฉพาะมาจากผู้ประสานการยิง