กระสุน

กระสุน

 

ก. กล่าวทั่วไป

         ปก.๙๓ ใช้กระสุนขนาด ๑๒.๗ มม.(.๕๐ นิ้ว) กระสุนนี้ใช้ชื่อเต็มว่า "กระสุนปืนกลแบบ ๙๓" ใช้ ชื่อย่อว่า กปก.๙๓

         กปก.๙๓ ชนิดต่าง ๆ ดังจะได้กล่าวต่อไปนี้ นอกจากกระสุนจริงแล้ว อาจจะไม่มีจ่ายในอัตราปกติ แต่ก็ เป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้ใช้จะต้องทราบว่ากระสุนเหล่านี้ใช้ในรายการด้วย เมื่อเกิดความจำเป็น

ข. ประเภทของกระสุน

         กปก.๙๓ แบ่งออกตามความมุ่งหมายในการใช้ไว้ ๓ ประเภทคือ

              - กระสุนประเภทรบ

              - กระสุนประเภทซ้อมรบ

              - กระสุนประเภทฝึก

         ๑. กระสุนประเภทรบ กระสุนประเภทรบนั้น เป็นกระสุนที่ยิงเพื่อหวังผลในการรบ ผลและอำนาจของ ลูกกระสุนที่เกิดจากการยิงนั้นขึ้นอยู่กับชนิดของกระสุนซึ่งแบ่งได้เป็น ๖ ชนิด คือ

              ก) กระสุนจริง กระสุนจริงนี้มีความมุ่งหมายที่จะใช้ยิงยานยนต์และยิงต่อสู้อากาศยานในระยะต่ำ

              ข) กระสุนเจาะเกราะ กระสุนชนิดนี้ใช้แกนเหล็กกล้า มีความมุ่งหมายที่จะใช้ยิงยานยนต์หุ้มเกราะ เครื่องบินหุ้มเกราะ ที่กำบังคอนกรีต และที่หมายอื่น ๆ ที่ทนกระสุนจริงได้

              ค) กระสุนส่องวิถี กระสุนส่องวิถีนี้บรรจุเคมีไว้ที่ท้ายลูกกระสุน วัตถุเคมีนี้จะถูกดินส่งกระสุนจุดให้ ไหม้ขึ้นในขณะที่ลูกกระสุนวิ่งไปในอากาศ ทำให้สามารถเห็นวิถีกระสุนได้ กระสุนส่องวิถีนี้ใช้สำหรับสังเกตผล ของการยิงเป็นความมุ่งหมายหลัก และเพื่อก่อให้เกิดเพลิงหรือให้อาณัติสัญญาณ เป็นความมุ่งหมายรอง

              ง) กระสุนเพลิง กระสุนนี้ใช้สำหรับก่อให้เกิดเพลิงไหม้ขึ้นกับที่หมายที่ถูกยิงกระสุนชนิดนี้เหมาะ สำหรับยิงเครื่องบินมาก

              จ) กระสุนเจาะเกราะ - เพลิง - ส่องวิถี  กระสุนชนิดนี้สร้างขึ้นโดยมีความมุ่งหมายที่จะรวมผล และอำนาจของลูกกระสุนเจาะเกราะและลูกกระสุนเพลิงไว้ในลูกกระสุนเดียวกัน นอกจากนั้นยังให้สามารถ สังเกตวิถีกระสุนได้

         ๒. กระสุนประเภทซ้อมรบ กระสุนประเภทนี้ไม่มีลูกกระสุน  มีแต่ชนวนและดินส่งกระสุนเพื่อให้ยิงแล้วมี เสียงดังคล้ายกระสุนจริง และกระสุนประเภทนี้ใช้ยิงในการซ้อมรบ  ยิงให้เป็นเกียรติแก่บุคคลยิงในงานพิธีและ ยิงให้อาณัติสัญญาณ

         ๓. กระสุนประเภทฝึก กระสุนประเภทนี้ไม่มีชนวนและดินส่งกระสุน ทำขึ้นเพื่อให้พลประจำปืนฝีกหัด บรรจุกระสุนเท่านั้น

ค. ชนิดของ กปก.๙๓

         โดยลักษณะของการแบ่งประเภท และชนิดของลูกกระสุนดังได้กล่าวมาแล้ว กปก.๙๓ แบ่งออกเป็น  ๘ ชนิดคือ

 

ฆ. ส่วนสำคัญของ กปก.๙๓

         คำว่ากระสุน ๑ นัด หมายถึงกระสุนที่ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ครบบริบูรณ์  และพร้อมที่จะทำการยิงได้ ส่วนประกอบของกระสุนดังกล่าวแล้วมีดังนี้ .-

         ๑. ปลอกกระสุน

         ๒. ชนวน

         ๓. ดินส่งกระสุน

         ๔. ลูกกระสุน

ง. ปลอกกระสุน

         กปก.๙๓ ใช้ปลอกกระสุนขอบร่องรูปเรียว มีบ่าแบบคอขวด ทำด้วยทองเหลือง ปลอกกระสุนนี้ทำหน้าที่ ยึดเหนี่ยว ให้ส่วนประกอบต่าง ๆ ของลูกกระสุนติดรวมอยู่ด้วยกัน และป้องกันมิให้น้ำและความชื้นรั่วไหลเข้าไป เปียกดินส่งกระสุน หรือทำให้ดินส่งกระสุนขึ้นได้ นอกจากนั้นยังป้องกันมิให้แก๊สอันเกิดจากการเผาไหม้ของดินส่ง กระสุนรั่วออกมาทางหลังได้ ทั้งนี้เพราะเหตุว่า ในขณะที่ดินส่งกระสุนไหม้จากการเผาไหม้ของดินส่งกระสุนรั่ว ออกมาทางด้านหลังได้  ทั้งนี้เพราะเหตุว่าในขณะที่ดินส่งกระสุนไหม้สลายตัวเป็นแก๊สที่มีแรงดันสูงนั้นแรงดันของ แก๊สจะดันให้ปลอกกระสุนขยายตัวแนบสนิทกับรังเพลิง จนกระทั่งแก๊สไม่สามารถที่จะรั่วออกมาทางด้านหลังได้ ปลอกกระสุนประกอบด้วยส่วนสำคัญ ๆ ดังนี้

         ๑. จานท้ายปลอกกระสุน จานท้ายปลอกกระสุนเจาะร่องสำหรับบรรจุจอกชนวน เมื่ออัดจอกชนวนลงไป ในช่องบรรจุชนวนแล้ว จะต้องเน้นหรือย้ำปากช่องบรรจุชนวนอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้ยึดจอกชนวนได้มั่นคงยิ่งขึ้นนอก จากนั้นจานท้ายปลอกกระสุนนี้ยังเป็นบริเวณที่ตีอักษรชื่อโรงงาน และตัวเลขย่อของปีที่ผลิตกระสุนขึ้นได้อีกด้วย

         ๒. รองท้ายปลอกกระสุน ร่องท้ายปลอกกระสุนทำไว้สำหรับรับกับขอรั้งปลอกกระสุนเพื่อให้ขอรั้งปลอก กระสุนสามารถฝังตัวลงไปจับท้ายปลอกกระสุนได้

         ๓. รูเพลิง รูเพลิงนี้เจาะต่อจากช่องบรรจุชนวนเข้าไปในห้องดินส่งกระสุน  รูเพลิงทำไว้สำหรับให้ เปลวเพลิงซึ่งเกิดขึ้นในขณะที่ชนวนไหม้แลบเข้าไปจุดดินส่งกระสุนในห้องดินส่งกระสุนได้

         ๔. ห้องดินส่งกระสุน ห้องดินส่งกระสุน ซึ่งเป็นที่สำหรับบรรจุดินส่งกระสุนนี้หมายถึงปริมาตรภายในทั้ง หมดของปลอกกระสุน ห้องดินส่งกระสุนนี้นับว่า เป็นส่วนสำคัญของปลอกกระสุนเพราะปริมาตรของห้องดินกระสุน เป็นสิ่งที่กำหนดจำนวนสูงสุดของดินส่งกระสุน ซึ่งสามารถบรรจุลงไปในห้องดินส่งกระสุนได้ฉะนั้น จึงเห็นว่าความดันของแก๊สซึ่งเกิดจากการเผาไหม้ของดินส่งกระสุนนั้นขึ้นอยู่กับปริมาครของห้องดินส่งกระสุน ถ้าหากพื้นที่ วางในห้องดินส่งกระสุนยังเป็นสิ่งหนึ่งของบรรดาสิ่งที่มีอิทธิพลเหนือการเผาไหม้ของดินส่งกระสุน ถ้าหากพื้นที่ ว่างในห้องดินส่งกระสุนนี้เปลี่ยนแล้วจะทำให้การเผาไหม้ของดินส่งกระสุนเปลี่ยนแปลงไปด้วย

         ๕. บ่าปลอกกระสุน บ่าของปลอกกระสุน กปก.๙๓ ซึ่งเป็นกระสุนขอบร่องนี้ เมื่อกระสุนเคลื่อนเข้าไป ในรังเพลิงจนสุดแล้ว บ่าของปลอกกระสุนจะยันกับบ่าของรังเพลิง ทำให้กระสุนหยุดเคลื่อนที่ไปข้างหน้า ฉะนั้นจะเห็นได้ว่าสำหรับกระสุนขอบร่องแล้ว บ่ากระสุนนี้เป็นสิ่งสำคัญในการรักษาช่องท้ายปลอกกระสุนนี้ไม่คงที่จะทำ ให้ปรับหน้าลูกเลื่อนได้ยากมาก

         ๖. คอปลอกกระสุนและปากปลอกกระสุน คอปลอกกระสุนและปากปลอกกระสุนทำหน้าที่ยึดเหนี่ยวลูก กระสุนให้ติดอยู่กับปลอกกระสุน  เมื่อรวมลูกเข้ากับปลอกกระสุนแล้ว  ตรงปากปลอกกระสุนนี้จะเม้มยึดร่องท้าย ปลอกกระสุนไว้

จ. ชนวน

         ชนวนท้ายปลอกกระสุนนี้บรรจุอยู่ภายในจอกชนวนทองเหลือง ซึ่งอัดแน่นอยู่ภายในช่องบรรจุชนวนท้าย ปลอกกระสุนประกอบด้วยจอกชนวนกระดาษปิดหน้าชนวน ซึ่งใช้กระดาษมนิลาชุบแช็ลแล็คและทั่วส่วนประกอบ เหล่านี้บรรจุอยู่ในจอกชนวนเมื่อเข็มแทงชนวนจอกชนวนท้ายปลอกให้หุบเข้าไปข้างใน จอกชนวนท้ายปลอกที่บุบ เข้าไปนี้จะกดบดขยี้กับทั้งและทำให้ชนวนไหม้ขึ้น เปลวเพลิงของชนวนจะแลบเข้าไปในรูเพลิง และจุดคืนส่งให้ไหม้ไฟขึ้น

         ส่วนผสมของชนวนประกอบด้วย ดินกรดปรอทโปรแตสเซี่ยมคลอเรต และแอลติโมนี่ซัลไฟด์และผงแก้ว เป็นตัวประกอบที่สำคัญ

ฉ. ดินส่งกระสุน

         กปก.๙๓ ใช้ดินควันน้อยเป็นดินส่งกระสุน น้ำหนักดินส่งกระสุนของกระสุนแต่ละงวดไม่คงที่เสมอไปแตก ต่างกันบ้างเล็กน้อยทั้งนี้เพื่อให้ความสามารถให้ความเร็วต้นแก่ลูกกระสุนตามที่ต้องการได้ โดยไม่ให้ความดัน มากเกินเขตจำกัดของปืนดินควันน้อยที่ใช้ำดินส่งกระสุนนี้อัดเป็นเส้นกลมเจาะรูกลาง ๑ ผสมด้วยเกลือโปรแตสเซี่ยมบ้างเล็กน้อย เพื่อลดเปลวเพลิงที่ปากลำกล้องให้น้อยลง ผิวนอกของเส้นดินฉาบด้วย กราฟไฟต์

ช. ลูกกระสุน ประกอบด้วยส่วนสำคัญต่อไปนี้.-

         ๑. แกนลูกกระสุน แกนลูกกระสุนใช้โลหะผสมของตะกั่ว - แอนติโมนี่ หรือตะกั่ว - ดีบุก ในการใช้ ตะกั่วทำแกนลูกกระสุนนั้นก็เพื่อต้องการให้ลูกกระสุนสามารถฝังตัวลงในร่องเกลียวในขณะที่ลูกกระสุนหมุนเวียน ไปตามเกลียวของลำกล้องได้ และในการที่ต้องใช้โลหะผสมของตะกั่วนั้นมุ่งหมายที่จะให้ตะกั่วมีความแข็งพอด้วย

         ๒. รองลูกกระสุน ในสมัยโบราณลูกกระสุนไม่มีรองกระสุน คงใช้ลูกตะกั่วเฉย ๆ ต่อมาเมื่อความเจริญ ของปืนสูงขึ้น ลูกตะกั่วนี้ไม่เหมาะสำหรับใช้กับปืนที่มีความเร็วในการยิงสูง เช่นปืนกึ่งอัตโนมัติและปืนกลเป็นต้น เพราะลูกกระสุนตะกั่วอ่อนมาก มักจะชำรุดเสียหายเพราะการทำงานของเครื่องบรรจุกระสุนเข้ารังเพลิงเสมอนอกจากนั้นเมื่อลำกล้องร้อน ผิวนอกของลูกกระสุนตะกั่วจะละลายติดอยู่ในร่องเกลียวทีละเล็กทีละน้อยเสมอเมื่อ เป็นอยู่เช่นนี้นาน ๆ เข้าจะทำให้ร่องเกลียวตันขึ้นได้ ฉะนั้นเพื่อป้องกันความเสียหายเหล่านี้ขึ้น จึงจำเป็นต้องใช้รองกระสุนหุ้มตะกั่วไว้อีกชั้นหนึ่ง รองกระสุนมีหลายอย่างแต่ กปก.๙๓ มักใช้รองกระสุนที่ทำด้วยโลหะผสม ของทองแดงกับสังกะสีซึ่งเรียกกันว่า กิลดิ้ง เมตัล ซึ่งส่วนผสม ทองแดง ๙๐% สังกะสี ๑๐% ตอนท้ายรอง กระสุนทำเป็นร่องรับกับปลอกกระสุนซึ่งเม้มยึดลูกกระสุนไว้ เมื่อเวลารวมลูกกระสุนเข้ากับปลอกกระสุนนอกจาก นั้นในขณะที่ลูกกระสุนวิ่งเข้าไปในลำกล้อง ร่องนี้ยังทำหน้าที่รวมละอองเล็ก ๆ ของฝุ่นผงให้ตกเข้ามาในร่องนี้ ช่วยให้การเคลื่อนที่ของลูกกระสุนในลำกล้องราบเรียบมากขึ้นไม่มีอาการสะดุด

         ๓. รูปร่างของลูกกระสุน ลูกกระสุนมีรูปร่างเป็นทรงกระบอก ปลายเรียว แหลมท้ายของลูกกระสุนแบ่ง ออกเป็น ๒ อย่าง คือ ท้ายตัดแบบหนึ่งและท้ายเรียวอีกแบบหนึ่ง

         ๔. ลักษณะของลูกกระสุน แกนกระสุนรองลูกกระสุนและรูปร่างของกระสุนย่อมมีลักษณะและคุณสมบัติแตก ต่างออกไปตามชนิดของลูกกระสุนดังนี้

              ก) ลูกกระสุนจริง ลูกกระสุนจริงใช้รองกระสุนกิลดิ้งเมตัล แกนในเหล็กอ่อนตอนปลายลูกกระสุน ระหว่างรองกระสุนกับแกนเหล็กอ่อนตัวบรรจุตะกั่ว

              ข) ลูกกระสุนเจาะเกราะ มีลักษณะพึงประสงค์อยู่หลายประการคือ จะต้องมีความแข็งมากพอที่จะ ไม่ให้ลูกกระสุนผิดรูป เมื่อกระทบกับแผ่นเกราะ ผิวภายนอกของลูกกระสุนจะต้องไม่แข็งมากจนกระทั่งเปราะ เพราะจะทำให้ลูกกระสุนแตกร้าวเมื่อกระทบกับแผ่นเกราะ ผิวภายนอกของลูกกระสุนจะต้องอ่อนพอที่จะฝังลงใน ร่องเกลียวของลำกล้องปืนได้เพื่อสนองความต้องการข้างบนนี้ ลูกกระสุนเจาะเกราะประกอบด้วยส่วนสำคัญดังนี้ แกนลูกกระสุนใช้แกนเหล็กกล้าทังเสตน - โครเมี่ยม หรือแมงกานิลโมเดียมและใช้ดิลก์ เมตัล เป็นรองกระสุน พื้นที่ว่างระหว่างแกนในเหล็กกล้ากับรองลูกกระสุนบรรจุตะกั่วเพื่อรักษาดุลย์ของขีปนวิธีไว้นอกจากนั้นตะกั่วยัง ช่วยในการเจาะเกราะได้อีกบ้างในเมื่อมุมกระทบของลูกกระสุนเล็กกว่าธรรมดาลักษณะสำคัญอีกประการหนึ่งก็ คือ เส้นแกนของรองกระสุนต้องเป็นเส้นเดียวกับเส้นแกนของแกนในเหล็กกล้า

              ค) ลูกกระสุนส่องวิถี ใช้แกนในตะกั่ว ตอนท้ายบรรจุวัตถุส่องแสงและตัวจุดวัตถุส่องแสงส่วน ประกอบที่สำคัญของวัตถุส่องแสงได้แก่ (๑) เชื้อจุด (๒) สารให้ออกซิเจน (๓) สารให้สี (๔) สารผนึกและกันน้ำ

              สีที่นิยมใช้กันในขณะนี้คือ สีแดง เนื่องจากว่าเปลวไฟของกลุ่มกระสุนส่องวิถีมีความร้อนสูงฉะนั้น ในบางกรณีอาจใช้แทนกระสุนเพลิงได้

              ง) กระสุนเพลิง กระสุนเพลิงใช้แกนในสารเคมีอย่างหนึ่งอย่างใดต่อไปนี้ อลูมีเนียมแบเรียม- ไนเตรทเทอร์ไมด์ หรือฟอสฟอรัสขาว สารเคมีเหล่านี้ไหม้แล้วจะเกิดความร้อนสูงจนกระทั่งทำให้ที่หมายถูกลูก กระสุนนี้ไหม้

ซ. ลักษณะทั่วไปของ กปก.๙๓ - จริง (บ.๒) เอ็ม.๒

         ๑. กระสุน กปก.๙๓ - จริงนี้เป็นกระสุนมาตรฐาน สำหรับจ่ายประจำ ปก.๙๓ กระสุนทั้งนัดยาว ๑๓.๘๔ ซม.(๕.๔๕ นิ้ว) ที่ตัวลูกกระสุนไม่มีเครื่องหมายอะไร นอกจากตัวอักษรย่อของโรงงานและปีที่ผลิต กระสุนนั้นไว้ที่จานท้ายปลอกกระสุนเท่านั้น

         ๒. ลูกกระสุน ลูกกระสุนประกอบด้วยส่วนสำคัญดังนี้ คือ รองกระสุนกิลดิ้งก์เมตัล แกนในเหล็กอยู่ ระหว่างแกนในเหล็กอ่อนและรองกระสุนบรรจุตะกั่ว - แอนติโมนี่ ลูกกระสุนยาว ๕.๘๖ ซม.(๒.๓๑ นิ้ว)ท้าย ลูกกระสุนเรียว ๙ องศา เริ่มเรียวตั้งแต่ ๐.๙๘ ซม.(๐.๓๘๖ นิ้ว) จานท้ายลูกกระสุน

ฌ. ลักษณะทั่วไปของ กปก.๙๓ - เจาะเกราะ (บ.๒) เอ็ม.๒

         ๑. กระสุน กปก.๙๓ เจาะเกราะ (บ.๒) นี้เป็นกระสุนเจาะเกราะมาตรฐานที่จ่ายให้ใช้กับ กปก.๙๓ ลูกกระสุนนี้ใช้สำหรับยิงอากาศยาน  ยานเกราะที่กำบังคอนกรีตและที่หมายอื่นที่ต้านทานกระสุนจริงได้  กระสุน ทั้งนัดยาว ๑๓.๘๔ ซม.(๕.๔๕ นิ้ว) ที่ปลายลูกกระสุนทาสีดำ เพื่อแสดงให้ทราบว่าเป็นกระสุนเจาะเกราะ

         ๒. ลูกกระสุน ลูกกระสุนประกอบด้วยส่วนสำคัญ ๓ ส่วนคือ  รองกระสุนกิลดิ้งก์เมตัล  ใช้เหล็กกล้า ทังเสตนโครม หรือแมงกานีส - โมลิบเดียม ทำแกนกระสุนระหว่างปลายแกนในเหล็กกับรองกระสุนบรรจุโลหะ ผสมตะกั่วแอนติโมนี่ ลูกกระสุนทั้งนัดยาว ๕.๘๖ ซม.(๒.๓๑ นิ้ว) ท้ายกระสุนเรียว ๙ องศา  เริ่มเรียวตั้งแต่ ๐.๓๘๐ นิ้วจากท้ายกระสุน

ญ. ลักษณะทั่วไปของ กปก.๙๓ - ส่องวิถี (บ.๑) เอ็ม.๑

         ๑. กระสุน กปก.๙๓ ส่องวิถี (บ.๑) นี้เป็นกระสุนเลิกสร้างแล้ว ที่ยังคงมีจ่ายอยู่ก็เพื่อใช้ให้าของเก่า หมดไปเท่านั้น  และใช้ยิงในการฝึกเท่านั้น ในการใช้หัวรบใช้ กปก.๙๓ - ส่องวิถี  (บ.๑๗)  แทนในการยิง กระสุนนี้ผ่านพื้นที่ที่มีหญ้าแห้งมาก ๆ โดยเฉพาะในสนามเป้า จะต้องคอยระวังป้องกันมิให้ลูกกระสุนนี้จุดหญ้าแห้ง ให้ไหม้ขึ้น ที่ปลายลูกกระสุนทาสีแดง เพื่อแสดงให้ทราบว่าเห็นกระสุนส่องวิถี

         ๒. ลูกกระสุน ลูกกระสุนประกอบด้วยส่วนสำคัญ ๓ ส่วนคือ รองกระสุนกิลดิ้งก์เมตัล  หรือรองกระสุน เหล็กเคลือบกิลดิ้งก์เมตัล ตอนปลายรองกระสุนบรรจุโลหะผสมตะกั่ว - แอนติโมนี่ ต่อจากโลหะผสมนี้มาจน กระทั่งถึงท้ายกระสุน บรรจุสารส่องแสงและเชื้อจุดลูกกระสุนส่องวิถีท้ายกระสุนตรงไม่เรียวเหมือนกระสุนจริง หรือกระสุนเจาะเกราะ ตอนท้ายลูกกระสุนเจาะรูเพื่อให้เปลวไฟแลบเข้าไปจุดสารส่องแสงได้ ลูกกระสุนยาว ๖.๐๙ ซม.(๒.๔๐ นิ้ว) กระสุนส่องวิถี จะเริ่มมีแสงสลัวในระยะตั้งแต่ ๒๕๐ ฟุต  และเริ่มสว่างมากขึ้นทุกทีจน กระทั่ง ถึงระยะ ๑๔๖๒ - ๑๖๓๕ ม.(๑๖๐๐ - ๑๘๐๐ หลา) จึงหมดแสงสว่าง

ฎ. ลักษณะทั่วไปของ กปก.๙๓ - ส่องวิถี (บ.๑๐) เอ็ม.๑๐

         ๑. กระสุน กปก.๙๓ (บ.๑๐) นี้เป็นกระสุนมาตรฐานสำหรับ ปก.๙๓  ติดตั้งบนอากาศยานมีความมุ่ง หมายที่จะให้สามารถเห็นกระสุนที่แล่นไปในอากาศได้ ที่ปลายกระสุนทาสีส้ม

         ๒. ลูกกระสุน ลูกกระสุนมีรูปร่างลักษณะและความสามารถทางขีปนะวิธีเช่นเดียวกับ กปก.๙๓  ส่องวิถี (บ.๑)  นอกจากว่าสารส่องแสงจะเริ่มมีแสงสลัวตั้งแต่ระยะ ๔๕.๗๒ ม.(๑๕๐ ฟุต)  ขึ้นไปและเริ่มส่องสว่าง มากขึ้น จนกระทั่งถึงระยะ ๑,๔๖๒ - ๑,๗๔๖ ม.(๑,๖๐๐ - ๑,๙๐๐ หลา) จึงหมดแสงสว่าง

ฏ. ลักษณะทั่วไปของ กปก.๙๓ - ส่องวิถี (บ.๑๗ ท.๙) เอ็ม.๑๗ ที.๙

         ๑. กระสุน กปก.๙๓ - ส่องวิถี (บ.๑๗ ท.๙) นี้เป็นกระสุนที่ใช้แทน กปก.๙๓ เจาะเกราะ -  ส่อง วิถี  (บ.๒๐) ได้ สำหรับ กปก.๙๓ พื้นดินนั้นได้เลิกใช้ กปก.๙๓ ส่องวิถี (บ.๑) เปลี่ยนเป็น กปก.๙๓  ส่อง วิถี  (บ.๑๗ ท.๙) นอกจากนั้นยังใช้กับ ปก.๙๓ พื้นดินได้อีกด้วย กระสุนทั้งนัดยาว ๑๓.๘๔ ซม.(๕.๘๕  นิ้ว) ปลายกระสุนทาสีน้ำตาลแก่

         ๒. ลูกกระสุน ลูกกระสุนมีรูปร่างลักษณะและมีความสามารถทางขีปนะวิธีเช่นเดียวกับ กปก.๙๓ ส่องวิถี นอกจากว่าสารส่องแสงเริ่มมีแสงตั้งแต่ระยะ  ๒๒๘.๕ ม.(๒๕๐ หลา)  ขึ้นไป  และมีแสงส่วางไปจนถึงระยะ ๒,๒๔๙.๓ ม.(๒๔๕๐ หลา) จึงหมดแสงสว่าง

ฐ. ลักษณะทั่วไปของ กปก.๙๓ - ส่องวิถี (บ.๒๑ ท.๑) เอ็ม.๒๑ ที.๑

         ๑. กระสุน กปก.๙๓ - ส่องวิถี (บ.๒๑ ท.๑) นี้เป็นมาตราฐานสำหรับ ปก.๙๓  ติดตั้งบนอากาศยาน เพื่อใช้ยิงต่อสู้อากาศยานด้วยกันเมื่อมองจากทางด้านหน้าของลูกกระสุนส่องวิถี (บ.๒๑ ท.๑) นี้จะสว่างกว่า กปก.๙๓ - ส่องวิถี (บ.๑) ประมาณ ๑ เท่า เพราะเหตุว่าใช้สารส่องแสงสว่างไปจนถึงระยะ ๕๙๔ ม.(๖๔๐ หลา) จึงหมดแสงสว่าง

         ๒. ลูกกระสุน ลูกกระสุนมีรูปร่างลักษณะและความสามารถทางขีปนวิธีเช่นเดียวกับ กปก.๙๓ ส่องวิถี (บ.๒๑)

ฑ. ลักษณะทั่วไปของ กปก.๙๓ - เพลิง (บ.๑) เอ็ม.๑

         ๑. กระสุน กปก.๙๓ - เพลิง (บ.๑) นี้เป็นกระสุนเลิกใช้แล้ว  ยังคงมีจ่ายอยู่ก็เพื่อจ่ายของเก่าให้ หมดไปเท่านั้น กระสุนทั้งนัดยาว ๑๓.๘๔ ซม.(๕.๔๕ นิ้ว) ปลายลูกกระสุนทาสีน้ำเงินอ่อน  และร่องลูกกระสุน มี ๒ ร่อง

         ๒. ลูกกระสุน ลูกกระสุนมีรูปร่างและขนาดเท่ากับ กปก.๙๓ - เพลิง  (บ.๑)  บางรุ่นใช้ลูกกระสุน ท้ายตัดที่มีสัมประสิทธิ์ทางขีปนวิธีต่ำ จึงได้จัดกระสุนนี้ไว้ในชั้น กปก.๙๓ ลูกกระสุนยาว ๕.๙ ซม.(๒.๓๕นิ้ว)

ฒ. ลักษณะทั่วไปของ กปก.๙๓ - เพลิง (บ.๒๓ ท.๔๘) เอ็ม.๒๓ ที.๔๘

         ๑. กระสุน  กปก.๙๓ - เพลิง (บ.๒๓ - ท.๔๘) เป็นกระสุนมาตรฐานสำหรับ ปก.๙๓ ติดตั้งบน อากาศยานเท่านั้น กระสุนเพลิง (บ.๒๓ - ท.๔๘) นี้มีความเร็วสูงกว่ากระสุนเพลิง (บ.๑) และยิงอากาศ ยานได้ผลดีกว่า  กปก.๙๓ - เพลิง (บ.๑) เพราะสามารถจุด ดี โร ซีน ได้ดีกว่ากระสุนเพลิง  (บ.๑)ลูก กระสุนยาว ๑๓.๘๔ ซม.(๕.๔๕ นิ้ว) ปลายลูกกระสุนทาสีน้ำเงินและคาดด้วยสีน้ำเงินอ่อน

         ๒. ลูกกระสุน ลูกกระสุนมีรูปร่างและลักษณะภายนอกเหมือนกับกระสุนเพลิง (บ.๑) ใช้กิลดิ้งก์เมตัล เป็นรองกระสุน เรือนสารเพลิงทำด้วยเหล็กเคลือบกิลดิ้งก์เมตัล ลูกกระสุนยาว ๕.๘๑ ซม.(๒.๒๙๐ นิ้ว)

ณ. กปก.๙๓ - เจาะเกราะ - เพลิง (บ.๘) เอ็ม.๘

         ๑. กระสุน กระสุนนี้เป็นกระสุนมาตรฐานที่จ่ายให้ใช้กับ ปก.๙๓ และนิยมใช้แทน  กปก.๙๓  เพลิง (บ.๑)  กับ กปก.๙๓ - เจาะเกราะ (บ.๒) กระสุนทั้งนัดยาว ๑๓.๘๔ ซม.(๕.๔๕ นิ้ว)  ปลายกระสุนทาสี อลูมิเนียม ลูกกระสุนงวดก่อน ๆ ซึ่งอยู่ในชั้นทดลองซึ่งมีชื่อว่า กปก.๙๓ - เจาะเกราะ - เพลิง (ท.๑๖) ซึ่ง จ่ายในขั้นทดลองนั้น ทาสีน้ำเงินและคาดด้วยสีดำ

         ๒. ลูกกระสุน ลูกกระสุนมีรองลูกกระสุน แกนลูกกระสุนเหมือนกับ กปก.๙๓ - เจาะเกราะ (บ.๒)แต่ ระหว่างปลายแกนลูกกระสุน กับรองลูกกระสุนบรรจุสารเพลิง แกนตะกั่ว ลูกกระสุนยาว ๕.๘๔ ซม.(๒.๓ นิ้ว)

ด. กปก.๙๓ - เจาะเกราะ - เพลิง (ท.๔๖) ที.๔๖

         ๑. กระสุน กระสุนนี้ใช้เฉพาะ ปก.๙๓ ติดตั้งบนอากาศยานเท่านั้น กระสุนนี้มีความเร็วสูงกว่า  กปก. ๙๓- เจาะเกราะ -เพลิง (บ.๘) อีกด้วย เพราะเหตุว่ามีความสามารถทางขีปนะวิธีกระสุนทั้งนัดยาว ๑๓.๘๔ซม.(๕.๔๕ นิ้ว) ปลายกระสุนท้ายตัดและยาว ๓.๘ ซม.(๑.๙๓๙ นิ้ว)

ต. กปก.๙๓ - เจาะเกราะ - เพลิง - ส่องวิถี (บ.๒๘ ท.๒๘) เอ็ม.๒๐ ที.๒๘

         ๑. กระสุน กระสุนเป็นกระสุนมาตรฐานที่จ่ายให้กับ ปก.๙๓ มีลักษณะเหมือนกับ กปก.๙๓ เจาะเกราะ- เพลิง (บ.๘)  ทุกอย่างนอกจากบรรจุสารส่องแสงไว้ที่ตอนท้ายลูกกระสุนเท่านั้นปลายลูกกระสุนทาสีแดงคาด ด้วยอลูมิเนียม

         ๒. ลูกกระสุน ลูกกระสุนมีลักษณะเหมือน กปก.๙๓ - เจาะเกราะ - เพลิง ทุกอย่าง  และสารส่อง แสงจะเริ่มมีแสงสลัวตั้งแต่ ๒๐ ฟุต - ๓๐๐ หลา จากปากลำกล้อง และจาก ๓๑๙ ม.(๓๕๐ หลา)  เป็นต้นไป จะเริ่มสว่างมากขึ้นจนกระทั่งถึงระยะ ๑,๖๐๘ ม.(๑,๗๖๐ หลา) จึงหมดแสงสว่าง

ถ. กปก.๙๓ - ซ้อมรบ (บ.๑ ท.๔๐) เอ็ม.๑ ที.๔๐

         กระสุนซ้อมรบ (บ.๑ ท.๔๐) นี้เป็นกระสุนมาตรฐานที่จ่ายให้ใช้กับ ปก.๙๓ ติดตั้งอยู่บนอากาศยานซึ่งมี เครื่องทวีความถอยหลังสำหรับยิงกระสุนซ้อมรบ  กระสุนทั้งนัดยาว ๙.๙๓ ซม.(๓.๙๑๐ นิ้ว)  กระสุนซ้อมรบนี้ สังเกตได้ง่ายเพราะไม่มีลูกกระสุน และร่องตื้น ๆ ห่างจากปลอกกระสุนประมาณ ๑/๔ นิ้ว ซึ่งทำไว้รับกับหมอน หน้าดิน  หมอนหน้าดินนี้ทำด้วยกระดาษหนา ๑/๑๖ นิ้ว ก่อนที่จะอัดหมอนนี้เข้าไปจะต้องใช้แลคเกอร์  ทาหมอน หน้าดินทากระดาษทั้ง ๒ ข้างเสียก่อน แล้วจึงบรรจุเข้าไปในปลอกกระสุน เมื่อบรรจุเข้าไปในปลอกกระสุนแล้ว จึงทาแลคเกอร์ทับอีกชั้นหนึ่ง และเม้มปากปลอกกระสุน

ท. กปก.๙๓ หัดบรรจุ (บ.๒) เอ็ม.๒

         ๑. กระสุน กระสุนนี้เป็นกระสุนมาตรฐานที่จ่ายให้ใช้กับ ปก.๙๓ ทุกแบบ เพื่อใช้ในการบรรจุและ ทดลองการทำงานของเครื่องกลไก กระสุนทั้งนัดยาว ๑๓.๘๔ ซม.(๕.๔๕ นิ้ว)  กระสุนที่ผลิตออกมาก่อนเดือน มีนาคม  ค.ศ. ๑๙๔๔ นั้นปลอกกระสุน อาบดีบุกและ เจาะรู ๓-๕ รู และไม่มีชนวนท้ายปลอกกระสุน  เพื่อให้ แตกต่างจากกระสุนจริง กระสุนรุ่นหลังจาก ค.ศ. ๑๙๔๔  นั้นปลอกกระสุนไม่ได้อาบดีบุกและกระสุนบางรุ่นก็ใช้ ปลอกกระสุนเหล็ก

         ๒. ลูกกระสุน กระสุนก่อนวันที่ ๗ มกราคม ค.ศ.๑๙๔๓ ประกอบด้วยส่วนสำคัญ ๓ ส่วน  รองกระสุน กิลดิ้งก์เมตัลอาบดีบุก แกนกระสุนเหล็กอ่อนระหว่างปลายแกนกระสุนกับรองกระสุนบรรจุตะกั่วแข็งแต่รุ่นใหม่นี้ไม่ ใช้ตะกั่วแข็ง บรรจุหัวกระสุน คงใช้แต่รองกระสุนกิลดิ้งก์เมตัลหรือรองกระสุนเหล็กอาบกิลดิ้งก์เมตัลเท่านั้น ซึ่ง ทำให้กระสุนทั้งนัดเบาลงประมาณ ๓๑๔ เกรน ลูกกระสุนยาว ๖.๐๙ ซม.(๒.๔๖ นิ้ว)

ธ. การแบ่งขั้นของกระสุน

         ๑. กล่าวทั่วไป เนื่องจากปืนที่ใช้ กปก.๙๓ นี้มีหลายชนิดด้วยกัน แช่น ปก.พื้นดิน, ปก.อากาศ ฯลฯ ปืนเหล่านี้อาจ จะต้องการกระสุนที่มีคุณสมบัติเฉพาะเพื่อให้เหมาะสมกับปืนนั้น ๆ นอกจากกระสุนแต่ละงวดอาจมีคุณสมบัติแตก ต่างกัน เนื่องจากการผลิตเป็นจำนวนมากได้อีกด้วย  เมื่อพิจารณาความแตกต่างกระสุนแต่ละงวดและความต้อง การของปืนแต่ละอย่างแล้ว จะเห็นได้วาถ้าต้องการจะใช้กระสุนที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับปืนแต่ละชนิดได้โดยถูก ต้องแล้ว จำเป็นจะต้องกำหนดชั้นของกระสุน โดยถือเอาคุณสมบัติที่ได้จากการตรวจรับกระสุนเป็นเกณฑ์ใน การกำหนดชั้นของกระสุนหมายความว่ากระสุนชั้นใดมีคุณสมบัติดีก่วาชึนใด โดยทั่วไปไม่เห็นแต่เพียงแสดงให้ ทราบว่ากระสุนชั้นหนึ่งมีคุณสมบัติพิเศษเหมาะกับปืนชนิดหนึ่งมากกว่ากระสุนอีกชนิดหนึ่งเท่านั้นเช่น

         ก) ปืนกลพื้นดิน เป็นปืนที่สร้างขึ้นโดยมีความแข็งแรง ความเร็วในการยิงต่ำ และผู้ยิงสามารถควบ คุมอยู่ใกล้ชิดกับปืนได้ตลอดเวลา ฉะนั้นจึงมีความพิถีพิถันในคุณภาพอื่น ๆ  ของกระสุนน้อยลงไปกระสุนที่สามารถ ให้ความดันและขนาดถูกต้องตามความต้องการแล้ว ก็นับว่าใช้ได้

         ข) ปืนกลอากาศซึ่งยิงลอดใบพสัด หรือติดอยู่ที่ปีกของเครื่องบิน ต้องการกระสุนที่มีความเร็วในการ ไหม้ของดินส่งกระสุนคงที่เสมอตลอดเวลา จะเปลี่ยนแปลงไม่ได้

 

         ๒. วิธีแบ่งชั้นกระสุน

              ก) การแบ่งชั้นกระสุนนั้น กรมสรรพาวุธเป็นผู้แบ่งชั้นกองกระสุน มิได้พิมพ์ติดอยู่บนหรือหีบกระสุน หรือพิมพ์ไว้ในกระดาษในหีบกระสุนแต่อย่างไรก็ตามสัญลักษณ์กระสุนซึ่งทาสีทับไว้บนหีบกระสุนนั้นเป็นสิ่งแสดงให้ ทราบว่ากระสุนภายในหีบนั้นเป็นกระสุนชั้นใด

              ชั้นของกระสุนแบ่งออกได้ดังนี้.-

                  - ปกอ.(A.G.) ใช้กับปืนกลอากาศยาน

                  - ปก.(M.G.) ใช้กับปืนกลพื้นดิน

              ข) กระสุนเสื่อมคุณภาพใช้ยิงไม่ได้

                  - ปืนชนิดหนึ่งอาจกำหนดให้ใช้กระสุนได้หลายขั้นเช่น ปกอ. อาจใช้กับปืนกลตั้งพื้นได้

              ค) เมื่อไม่สามารถจะหาหลักฐานอันแน่นอนได้ว่า  กระสุนที่มีอยู่ในครอบครองเป้นกระสุนชั้นใดแล้ว ให้ถือว่ากระสุนนั้นเป็นกระสุนชั้น ๓และเลิกใช้ราชการทันที แต่อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะกำหนดลงไปได้ว่ากระสุน นัดนั้นเป็นกระสุนชั้นที่ ๓ ได้ ก็ต่อเมื่อได้พยายามหาหลักฐานซึ่งแสดง  กระสุนชั้นนั้นจนสุดความสามารถแล้วเท่า นั้น  นอกจากนั้นกระสุนซึ่งถูกกำหนดให้เป็นกระสุนชั้น ๓  เพราะหลักฐานของกระสุนหายแต่ทว่าปรากฏหลักฐาน แน่นอนว่ากระสุนนั้นอยู่ในงวดเดียวกันกับกระสุนที่หน่วยทหารหน่วยหนึ่งกำลังใช้อยู่แล้ว ให้ตรวจดูความเรียบร้อย ภายนอกด้วยสายตาเสียก่อน เมื่อปรากฏว่าเรียบร้อยก็อาจจะจ่ายกลับไปให้ใหม่ แต่ให้ใช้ในการฝึกเท่านั้น

              ง) กระสุนซึ่งมีเครื่องหมายบอกไว้ว่า "สำหรับยิงฝึกเท่านั้น"  ห้ามยิงข้ามศรีษะทหารฝ่ายเดียวกัน ไม่ว่ากรณีใด ๆ

              จ) กระสุนที่หน่วยทหารส่งคืนมา และถูกกำหนดว่าเป็นกระสุนชั้น ๓ ให้ปฏิบัติดังนี้.-

                  - กระสุนที่มีหลักฐานแน่นอนว่าเป็นกระสุนในงวดเดียวกับกระสุนที่ใช้อยู่หลังจากคัดกระสุนที่ ชำรุดออกแล้ว กระสุนเหล่านี้อาจจะจ่ายออกไป เพื่อใช้ฝึกยิงได้ตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ณ ที่นั้น ๆ

                  - กระสุนที่ไม่ทราบอยู่ในงวดใด ให้ทำเครื่องหมาย "กระสุนชั้น ๓ เพราะไม่มีหลักฐาน"

                  - กระสุนชั้น ๓.

                       กระสุนมีหลักฐานและประวัติครบสมบูรณ์ แต่กรมสรรพาวุธกำหนดให้เป็นกระสุนชั้น ๓. ให้ถือ ว่าเป็นกระสุนชั้น ๓. และเลิกใช้ราชการทันที

น. ลำดับในการจ่ายกระสุน

         ตามคำชี้แจงของกรมสรรพาวุธ การจ่ายกระสุนนั้นต้องจ่ายตามลำดับดังนี้.-

         ๑. กระสุนใช้เฉพาะ กระสุนใช้เฉพาะ (LIMITED STANDARD)  หมายถึงกระสุนที่ทางราชการไม่ได้ถือว่าเป็นกระสุน มาตรฐานที่ใช้อยู่ทั่วไป แต่สามารถใช้กับปืนชนิดหนึ่งชนิดใดได้โดยเฉพาะหรือใช้รวมกับกระสุนมาตรฐานได้ใน บางโอกาส และกระสุนล้าสมัย ซึ่งทางราชการเลิกใช้เป็นกระสุนมาตรฐานแล้วแต่ยังใช้ไม่หมด ยังเหลือตกค้าง อยู่ในคลัง และต้องการจะจ่ายเพื่อใช้ของเก่าให้หมดไปเท่านั้น

         ๒. กระสุนใช้แทน กระสุนใช้แทน (STANDARD) หมายถึงกระสุนที่มิใช้กระสุนมาตรฐานเพราะมีคุณสมบัติและขนาดแตก ต่างไปจากกระสุนมาตรฐานเล็กน้อย แต่ทว่าทางราชการยอมอนุญาตให้ใช้แทนกระสุนมาตรฐานได้ในเมื่อกระสุน มาตรฐานขาดมือ

         ๓. กระสุนมาตรฐาน กระสุนมาตรฐาน หมายถึงกระสุนที่ทางราชการใช้เป็นมาตรฐานการจ่ายกระสุนตามลำดับเช่นนี้จะทำให้สามารถแจกจ่ายกระสุนที่เหลืออยู่ในคลังนานกว่ากระสุนอื่นออกไปก่อนก็ได้ อนึ่งกระสุนที่เปิดหีบหรือบรรจุ เข้าหีบใหม่ โดยมิได้บัดกรีหีบให้เรียบร้อย นับว่าเป็นกระสุนที่ควรจ่ายก่อนกระสุนอื่นเช่นกัน

บ. เครื่องหมายกระสุน

         ชนิด ขนาด งวดกระสุน และสัญลักษณ์ของผู้สร้าง  เป็นเครื่องหมายที่จำเป็นที่จะต้องทำไว้เพื่อให้ผู้ใช้ สามารถทราบลักษณะและคุณสมบัติของกระสุน ปรากฏว่าอยู่ในบริเวณดังต่อไปนี้คือ

         ๑. บนกระสุน

         ๒. บนหีบห่อกระสุน

ป. เครื่องหมายบนกระสุน

         ๑. เครื่องหมายบนลูกกระสุน เครื่องหมายบนลูกกระสุนเป็นเครื่องหมายที่แสดงให้ทราบว่าเป็นกระสุนชนิดใด สีต่าง ๆ ที่ทาไว้บน หัวกระสุนมีความหมายดังต่อไปนี้.-


นอกจากทาบนลูกกระสุนแล้วยังสังเกตชนิดของลูกกระสุนได้จากรูปร่างคือ

              ก) ปลอกกระสุนเจาะรู คือกระสุนฝึกบรรจุ

              ข) ไม่มีหัวกระสุน คือกระสุนซ้อมรบ

         ๒. เครื่องหมายบนจานท้ายปลอกกระสนุ เครื่องหมายบนจานท้ายปลอกกระสุนเป็นเครื่องหมายที่แสดงให้ทราบที่ผลิต และปีที่ผลิตกระสุนนั้นขึ้น เช่น  แสดงให้ทราบว่ากระสุนนั้นผลิตที่ FRANKFORD ARSENAL ใน ค.ศ.๑๙๔๔  มักมีเครื่องหมายแสดงขนาด ของกระสุนอยู่บนจานท้ายปลอกกระสุนด้วย

         ๓. เครื่องหมายบนหีบห่อกระสุน เครื่องหมายต่าง ๆ ที่ปรากฏอยู่บนหีบกระสุนนั้นมักจะเป็นเครื่องหมายที่แสดงจำนวนกระสุนปืนในหีบ ลักษณะการบรรจุกระสุน ชั้นของกระสุน งวดกระสุน ปริมาตรและน้ำหนักของหีบกระสุนนั้น ๆ  เครื่องหมายต่าง ๆ  ที่กล่าวมานี้มักจะทำไว้ตามตำบลต่าง ๆ ดังนี้

 

              ก) บนหีบไม้ชั้นนอก

              ข) บนหีบโลหะชั้นใน

              ค) บนกล่องกระดาษ

ผ. เครื่องหมายบนหีบไม้ชั้นนอก

         หีบไม้ชั้นนอกของ กปก.๙๓ หรือหีบกระสุนสรรพาวุธทั่ว ๆ ไปมักจะทาหรือพ่นสีน้ำตาลแก่เป็นสีพื้นแล้วพ่น เครื่องหมายสีขาวหรือสีเหลืองทับอีกชั้นหนึ่ง

         เครื่องหมายบนหีบชั้นนอกเป็นเครื่องหมายที่ทำไว้เพื่อประโยชน์ในการหาหลักฐานการขนส่งการระวัง รักษา วิธีปฏิบัติและการใช้กระสุนซึ่งบรรจุอยู่ในหีบนั้น ๆ เครื่องหมายต่าง ๆ มีดังต่อไปนี้

         ๑. จำนวนกระสุนที่มีอยู่ในหีบและการบรรจุกระสุน เครื่องหมายแสดงจำนวนของกระสุนนี้มักจะพบบนด้านยาวของหีบและด้านหัวหรือท้ายของหีบด้านใด ด้านหนึ่ง นอกจากจะแสดงจำนวนของกระสุนแล้ว  เครื่องหมายนี้ยังแสดงขนาดของกระสุนและแสดงให้ทราบอีก ด้วยว่ากระสุนในหีบนั้นบรรจุอยู่ ในเครื่องป้อนกระสุนชนิดใด เช่น ๑๑๐ นัดกระสุน ๑๒.๗  บรรจุในสายกระสุน ข้อต่อโลหะ  ๑๑๐ (Cartridges Cal : 50  Linked)  ในบางกรณีแม้จะบอกไว้ด้วยอักษรแล้วยังเขียนรูป แสดงการบรรจุกระสุนในเครื่องป้อนกระสุนไว้เพื่อให้เห็นได้เด่นชัดยิ่งขึ้นว่า กระสุนภายในหีบบรรจุไว้ในเครื่อง ป้อนกระสุนชนิดใด

         . สัญลักษณ์ของกระสุน สัญลักษณ์ของกระสุน (Ammunition Code Symbol) นี้เป็นสัญลักษณ์รหัสโดยมากมีทั้งหมด ๕  ตัว ด้วยกันเช่น T.I ICI. รหัส ๒ ตัวหน้า เป็นชื่อรหัสแสดงบัญชีรายชื่อกระสุน ส่วน อีก ๓ ตัว เป็นชื่อรหัสแสดง ชนิดปืนที่ใช้กับกระสุนนั้น และรหัสชั้นของกระสุน


๓. เรโชของกระสุนชนิดต่าง ๆ ถ้าหากกระสุนภายในหีบบรรจุอยู่ในสายกระสุนแล้ว   ภายในสายกระสุนเดียวกันมีกระสุนหลายชนิด ด้วยกัน เรโชของกระสุนที่บรรจุอยู่ในสายกระสุนมักจะเขียนไว้บนด้านยาวของหีบกระสุนต่อลงมาจากสัญลักษณ์ ของกระสุน  เช่นเจาะเกราะ - เพลิง ๑ นัด เจาะเกราะ - เพลิง ๑ นัด - ส่องวิถี ๑ นัด (IAP  -  I M8EI M1DI 1AB - I M8E1 1ICN.M10E1 1TRACER) แสดงให้เห็นว่าทุก ๆ จำนวนกระสุน ๕ นัด  จะมีรู กระสุน เจาะเกราะเพลิง ๒ นัด กระสุนเพลิง ๑ นัด กระสุนส่องวิถี ๑ นัด และเรียงกันตามลำดับได้ดังแสดง มาแล้ว

         ๔. น้ำหนักและปริมาตร เพื่อความสะดวกในการขนส่งหีบไม้ชั้นนอกของ กปก.๙๓ มักจะพิมพ์ขนาดและน้ำหนักของหีบไว้ที่ด้าน ยาวของหีบกระสุน

         ๕. งวดบรรจุกระสุนใหม่ เนื่องจากกระสุนที่บรรจุอยู่ในสายกระสุนผ้า หรือสายกระสุนข้อต่อโลหะนั้นมีกระสุนหลายชนิดด้วยกัน จึงเป็นการไม่สะดวกที่จะพิมพ์หมายเลข งวดของกระสุนทุกชนิดลงบนหีบกระสุนและบันทึกลงในหลักฐานต่าง ๆ ด้วยเหตุนี้เองบนหีบกระสุนจึงไม่พิมพ์หมายเลขงวดกระสุนทุกชนิดไว้ คงพิมพ์แต่หมายเลขงวดของกระสุนเข้าสาย หรือที่เรียกว่างวดบรรจุกระสุนใหม่ไว้แทนหมายเลขงวดกระสุนเดิม.

         งวดบรรจุกระสุนใหม่ (REPACKED LOT NUMBER) ประกอบด้วยชื่อย่อของโรงงาน ผู้ผลิตกระสุน ชนิดต่าง ๆ เข้าเครื่องป้อนกระสุนและหมายเลขงวดบรรจุใหม่ เช่น REPACKER LOT FA - L 000 นั้น  FA แสดงว่า  FRANKFORD ARSENAL เป็นผู้บรรจุใหม่ L  แสดงว่าบรรจุเข้าสายกระสุนข้อต่อโลหะ  (LINKED) 000  แสดงว่าบรรจุใหม่งวดที่ ๐๐๐

         ๖. แบบของกระสุน ถ้าหากภายในหีบกระสุนบรรจุกระสุนชนิดเดียวกันทั้งหมด เช่น กระสุนที่บรรจุอยู่ภายในกล่อง กระดาษหรือตับกระสุน เครื่องหมายบนหีบกระสุนจะแสดงแบบของกระสุนไว้ด้วยเช่น BALL M2 หมายถึงกระสุน จริง บ.๒

         แบบของกระสุนนั้นมีหลักเกณฑ์ในการตั้งชื่อที่อยู่  ๒ อย่างคือ สมัยก่อน ค.ศ.๑๙๒๕ ให้ชื่อแบบของกระสุนตาม ค.ศ.เช่น กระสุนจริงขนาด ๑๑ มม.(๐.๔๕ นิ้ว) บ.๑๙๑๑ (CARTRIDGE  BALL CAL.45 M1911)หลังจาก ค.ศ.๑๙๒๕ ใช้เรียกแบบกระสุนใหม่คือ บ.๑, บ. ๒ เป็นต้นเช่นเรียกกระสุนจริงขนาด ๗.๖ มม. (๐.๓๐ นิ้ว) บ.๒ (CARTRIDGE BALL CAL.30 M2)

ฝ. เครื่องหมายบนหีบโลหะชั้นใน

         กปก.๙๓ บรรจุอยู่ภายในหีบไม้ชั้นนอกอีกทีหนึ่งหีบโลหะพ่นสีกากีแกมเขียวเป็นสีพืน้ และพ่นเครื่องหมายสี ขาวทับสีพื้นอีกชั้นหนึ่ง เครื่องหมายต่าง ๆ ที่พ่นไว้บนหีบกระสุนมีดังต่อไปนี้.-

         ๑. จำนวนกระสุนและการบรรจุกระสุน บนหีบกระสุนด้านยาวจะปรากฏเครื่องหมายแสดงจำนวนและการบรรจุกระสุนเข้าสาย  เช่น   55 CARTRIDGE CAE.50 LINKED แสดงว่ามี กปก.๙๓ อยู่ในหีบนี้ ๕๕  นัดและบรรจุอยู่ในสายกระสุนข้อต่อโลหะ และ 60 CARTRIDGE CA,50 BALL M2 in CARTONS

         ๒. เรโชซองกระสุน ถ้าหากกระสุนบรรจุอยู่ภายในสายกระสุนแล้ว ที่บนด้านยาว ของหีบโลหะชั้นในมักจะพ่นเครื่องหมาย แสดงเรโชของซองกระสุนชนิดตาง ๆ ไว้ด้วย เช่น แสดงว่าทุก ๆ จำนวนกระสุน ๕ นัดจะมีกระสุนเจาะ เกราะ - เพลิง ๒ นัด กระสุนเพลิง ๒ นัด กระสุนส่องวิถึ ๑ นัด และการบรรจุเข้าในสายกระสุน บรรจุให้ เรียงกันตามลำดับดังได้แสดงไว้แล้ว

         ๓. งวดบรรจุกระสุนใหม่ ถ้าหากกระสุนบรรจุอยู่ในสายกระสุนเรียบร้อยแล้ว จะต้องมีหมายเลขแสดงงวดบรรจุกระสุนใหม่พ่น ติดอยู่บนหีบโลหะนั้นชั้นในด้วย เช่นเดียวกับหีบไม้ชั้นนอก  แต่ถ้าหากกระสุนบรรจุอยู่ในกล่องกระดาษกระสุนภาย ในกล่องมักจะเป็นกระสุนชนิดเดียวกันทั้งหมด ฉะนั้นจึงไม่มีหมายเลขงวดบรรจุกระสุนใหม่ไว้ นอกจากงวดบรรจุ กระสุนใหม่แล้ว ยังอาจจะมีสัญลักษณ์ของกระสุนพิมพ์อยู่อีกด้วย

พ. เครื่องหมายบนกล่องกระดาษ

         เครื่องหมายบนกล่องกระดาษภายในหีบกระสุนเป็นเครื่องหมายที่แสดงจำนวนชนิด ขนาด แบบงวด และ ผู้ผลิตกระสุนนั้น เครื่องหมายเหล่านี้ใช้สีดำพิมพ์ติดอยู่บนป้ายกระดาษซึ่งปิดทับกล่องกระสุนอีกทีหนึ่งนอกจาก กระสุนความดันสูงซึ่งใช้สำหรับ ตรวจความทนทานของปืนเท่านั้น จึงจะพิมพ์เครื่องหมายต่าง ๆ ด้วยสีแดง

ฟ. เครื่องหมายบนรองในสังกะสี

         ในบางครั้ง กปก.๙๓ จะบรรจุอยู่ภายในรองในสังกะสี ซึ่งอยู่ภายในหีบไม้ชั้นนอก บนรองในสังกระสีนี้ ต้องมีเครื่องหมายแสดงหลักฐานของกระสุนด้วยเช่นกัน เพราะเหตุว่า เครื่องหมายบนหีบไม้ชั้นนอกนั้นอาจลบ เลือนไปได้ เครื่องหมายบนรองในสังกะสีมีดังนี้

         ๑. สัญลักษณ์ของกระสุน

         ๒. จำนวนกระสุน

         ๓. ขนาดของกระสุนและเครื่องป้อนกระสุน

         ๔. เรโชของกระสุน

ภ. บัตรรายงานงวดกระสุน

         ๑. ในการขนส่งกระสุนนั้น จำเป็นต้องบรรจุกระสุนลงในหีบห่อให้เรียบร้อยเพื่อความสะดวกในการ ขนส่งและป้องกันมิให้กระสุนตกหล่นสูญหายไป  ทั้งในเวลาขนส่งและในขณะใช้งาน หีบห่อต่าง  ๆ  ที่ใช้ในการ บรรจุ กปก.๙๓ เหล่านี้ได้สร้างขึ้นโดยมีแบบมาตรฐานเพียง ๒ - ๓ แบบเท่านั้น  เพื่อความสะดวกในการวาง หลักเกณฑ์ในการขนส่ง และมีความมั่นคงแข็งแกร่งพอที่จะทนต่อสภาพการใช้งาน การเก็บรักษาและการขนส่งได้ ทุกสภาพ

         โดยทั่ว ๆ ไป กปก.๙๓ มักจะบรรจุอยู่ในหีบโลหะ และหีบโลหะจะบรรจุอยู่ภายในหีบไม้ กระสุนที่อยู่ใน หีบโลหะนั้นอาจจะบรรจุอยู่ในสายกระสุนหรือกล่องกระดาษ

         ๒. หีบห่อที่ใช้บรรจุกระสุนมีดังนี้.-

              ก) หีบไม้ชั้นนอก

              ข) หีบไม้ชั้นใน

              ค) กล่องกระดาษ

              ง) สายกระสุน

ม. หีบไม้ชั้นนอก

         หีบไม้ชั้นนอกของ กปก.๙๓ ใช้สำหรับบรรจุหีบโลหะชั้นในเพื่อให้ความสะดวกขณะทำการขนส่ง  เพื่อ ป้องกันมิให้หีบโลหะชั้นในบุบเบี้ยวเพราะความกระทบกระเทือนเสียก่อนจะได้ใช้งาน  หีบไม้ชั้นนอกแบ่งออกเป็น ๓ ชนิดคือ.-

         ๑. หีบมีหูหิ้ว เมื่อบรรจุกระสุนเต็มจะหนักประมาณ ๒๐ กก.(๔๕ ปอนด์)  หีบนี้ใช้สำหรับบรรจุหีบโลหะ ชั้นใน ๒ หีบ

         ๒. หีบรัดด้วยลวด หีบชนิดที่มีลักษณะคล้ายไม้ประดับ เมื่อบรรจุกระสุนแล้วใช้ลวดรัดข้างนอก  เมื่อต้อง การจะใช้กระสุนก็ตัดลวดรัด แล้วแบะไม้ประดับออก หีบนี้ใช้บรรจุหีบโลหะชั้นใน บ.๒ หีบเมื่อบรรจุเต็มที่หนัก ๔๓ กก.(๘๔.๔ ปอนด์)

         ๓. หีบ บ.๑๙๑๗

ย. หีบโลหะชั้นใน

         หีบโลหะชั้นในนี้เป็นสิ่งที่ใช้สำหรับบรรจุกระสุนเพื่อให้ผู้ใช้สามารถนำพากระสุนเคลื่อนติดไปกับตัวได้โดย สะดวกในขณะใช้งาน นอกเหนือไปกว่านี้ยังสามารถป้องกันมิให้กระสุนถูกความชื้น เปรอะเปื้อนสกปรกชำรุด เพราะถูกกระทบกระแทกและตกหล่นสูญหายได้อีกด้วย กระสุนที่บรรจุอยู่ในหีบโลหะนี้อาจบรรจุอยู่ในสายกระสุน หรือกล่องกระดาษก็ได้ หีบโลหะชั้นในแบ่งออกได้เป็น ๒ ชนิดคือ

         ๑. กระป๋อง บ.๑๐

              ก) กระป๋องนี้เป็นกระป๋องผนึกสนิทอากาศเข้าไปไม่ได้ วิธีเดียวกับวิธีผนึกกระป๋องลูกเทนนิสกล่าว คือใช้แผ่นสังกะสีบาง ๆ คาดทับรอยต่อระหว่างฝากระป๋องกับตัวกระป๋องไว้ แล้วบัดกรีริมทั้งสองของแผ่นคาด รอยต่อนี้แต่เพียงบาง ๆ พอให้ริมทั้งสองของแผ่นคาดรอยต่อติดกับฝาและตัวหีบสนิทจนอากาศเข้าไปไม่ได้เท่านั้น ตรงปลายสุดของแผ่นคาดรอยต่อเหลือปลายโผล่ไว้เล็กน้อยพอให้สอดกุญแจเข้าไปม้วนแผ่นคาดรอยต่อออกได้ใน เมื่อต้องการจะเปิดหีบ

              ข) กระป๋องชนิดนี้ใช้บรรจุ กปก.๙๓ ซึ่งบรรจุอยู่ในกล่องกระดาษกล่องละ ๑๐ นัด ๖ กล่อง หรือ ใช้บรรจุสายกระสุน กปก.๙๓ สายละ ๕๕ นัด ๑ สายก็ได้

         ๒. หีบ บ.๒ หีบชนิดนี้เป็นหีบมาตรฐานสำหรับบรรจุสายกระสุน ปก.พื้นดิน  บนฝาหีบมีแผ่นยางติดอยู่เมื่อปิดฝาหีบ ลงไปแล้ว แผ่นยางนี้จะกดแน่นกับขอบหีบ ทำให้แน่นสนิทอากาศเข้าไม่ได้  เมื่อบรรจุกระสุนเต็มจะหนักประมาณ ๑๗ กก.(๓๕ ปอนด์)

ร. กล่องกระดาษ

         กล่องกระดาษนี้ทำด้วยกระดาษแข็ง บรรจุกระสุนกล่องละ ๓๐ นัด  เมือบรรจุกระสุนเข้ากล่องกระดาษ แล้ว ใช้ป้ายกระดาษปิดผนึกลงไปอีกชั้นหนึ่ง เพื่อป้องกันมิให้อากาศเข้า

 

 

ล. สายกระสุน

         กปก.๙๓ ส่วนมากจ่ายออกไปตามหน่วยต่าง ๆ โดยบรรจุอยู่ในสายกระสุนข้อต่อโลหะ ข้อต่อโลหะนี้มี ลักษณะเป็นห่วงข้อต่อ ๑ อัน มีห่วง ๓ ห่วง เมื่อเวลาบรรจุกระสุนเข้าสาย ห่วงข้อต่อสายกระสุน ๒ ห่วงจะ สวมอยู่รอบกระสุนนัดที่  ๑ และอีกห่วงหนึงสวมอยู่รอบกระสุนนัดต่อไป ลักษณะอันสำคัญอันหนึ่งของข้อต่อไปนี้คือ ต้องไม่เป็นสนิม เมื่อสวมเข้ากับกระสุนแล้วและแรงที่ใช้ในการรั้งลูกกระสุนออกจากสายต้องอยู่ในระหว่าง ๕ กก. ๑๐ กก.(๒๕ ปอนด์)

ว. ข้อควรระวังในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับกระสุน

         ๑. หีบไม้ชั้นนอก

              ก) กระสุนปืนกล ๙๓ มีลักษณะเช่นเดียวกับกระสุนสรรพาวุธทั่วไป ไม่สู้มีอันตรายในขณะปฏิบัติเกี่ยว กับลูกกระสนุนมากนัก นอกจากคอยระวังมิให้หีบกระสุนแตกหรือชำรุดเท่านั้น  ถ้าหีบชำรุดหรือเสียหายจะต้องรับ ซ่อมใหม่ทันทีแล้วเขียนเครื่องหมายต่าง ๆ ของหีบเก่าลงบนหีบใหม่จนครบถ้าหากว่าหีบไม้ที่แตกนั้นกรุด้วยสังกะสี ภายในแล้ว จะต้องตรวจดูว่าสังกะสีรั่วอากาศเข้าได้หรือไม่ ถ้าหากสังกะสีแตกจะต้องรับบัดกรีใหม่ ถ้ามีเครื่อง มือพอจะทำได้

              ข) การเปิดหีบต้องพยายามเปิดด้วยความระมัดระวัง อย่าให้หีบแตก  ชำรุดเสียหายได้เพราะว่า หีบนี้จำเป็นต้องใช้อยู่เป็นเวลานาน

              ค) อย่าเปิดหีบกระสุนชั้นในออกจนกว่าจะถึงเวลาใช้กระสุนนั้นจริง ๆ  กระสุนซึ่งนำออกจากหีบกัน อากาศแล้ว มักจะเป็นสนิมผุกร่อนได้ง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในอากาศซึ่งชื้นแฉะมาก

         ๒. กระสุน

              ก) เมื่อได้เปิดหีบกระสุนออกและจ่ายให้แก่ผู้ใดไปแล้ว ผู้นั้นจะต้องรับผิดชอบในการดูแล บำรุง รักษากระสุนซึ่งอยู่ในความครอบครองดูแลของตน ควรจะระมัดระวังมิให้มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดมากระทบจอกชนวนท้าย ปลอกกระสุนได้ เพราะจะทำให้กระสุนลั่นออกไป

              ข) ต้องระวังป้องกันมิให้กระสุนเปื้อนโคลน ทราย ของสกปรกและเปียกน้ำเป็นอันขาด ถ้าหาก กระสุนสกปรกหรือเปียกน้ำจะต้องรีบเช็ดให้สะอาดทันที

              ค) ถ้าหากปรากฏว่ามีรอยสนิมสีเขียวหรือคราบสนิมชิ้นที่กระสุน จะต้องใช้ผ้าแห้งเช็ดออกให้หมดทันที แต่อย่าขัดกระสุนจนขึ้นมัน เพื่อความสวยงามและห้ามมิให้ทรายหรือของมีคมขัดกระสุนเป็นอันขาด

              ง) อย่าให้กระสุนถูกแดดส่อง เพราะถ้าหากดินส่งกระสุนมีความร้อนเพิ่มมากกว่าเกณฑ์ปกติแล้ว จะ ทำให้ความดันเพิ่มขึ้น และทำให้คุณสมบัติทางขีปนวิธีของลูกกระสุนเปลี่ยนแปลง

              จ) ห้ามมิให้ใช้น้ำมัน หรือไขทากระสุนเป็นอันขาด  การใช้น้ำมันหรือไขทากระสุนซึ่งใช้กับปืนกลจะ ทำให้ผงฝุ่น ทราย หรือสิ่งมีคมอื่น ๆ เกาะติดอยู่ตามลูกกระสุน ซึ่งจะก่อให้เกิดการติดขัดขึ้นได้  ส่วนปืนจำพวก ยิงทีละนัดนั้น ไขหรือน้ำมันจะเกาะติดอยู่ตามผนังรังเพลิงทำให้เกิดความดันต่อหน้าลูกเลื่อนมากเกินกว่าธรรมดา ทั้งนี้เป็นเพราะเหตุว่า ไขและน้ำมันนี้กันมิให้ปลอกกระสุนขยายตัวเบียดสนิทแน่นกับพนังรังเพลิงได้ เมื่อปลอก กระสุนไม่สามารถจะเบียดแน่นกับรังเพลิงได้แล้วเมือแก๊สขยายตัวดันปลอกระสุนเลื่อนตัวมาข้างหลังโดยแรง ทำ ให้ลูกเลื่อนถูกแรงกระแทกมากขึ้นกว่าเดิม

              ฉ) เมื่อนำกระสุนออกจากกล่องกระดาษเข้ามาบรรจุสายกระสุนหรือตับกระสุนเรียบร้อยแล้วต้อง เขียนหมายเลขงวดกระสุนกลัดติดไว้ เพื่อให้ทราบว่าเป็นกระสุนงวดใด

         ๓. กระสุนชำรุด

              ก) กระสุนที่มีรอยบุบรอยร้าว ลูกกระสุนหลวม หรืออีกนัยหนึ่งกระสุนที่ชำรุดนั้นห้ามยิงกระสุนงวดใด ซึ่งมีกระสุนชำรุดโดยมองเห็นด้วยตาเปล่าเกิน  ๕%  ขึ้นไปจะต้องตรวจใหม่ให้หมด ๑๐๐  %  แล้วต้องเลิกใช้ กระสุนงวดนั้นทันที ในการตรวจรอยร้าวนั้น ควรจะระวังรอยร้าวเล็ก ๆ ซึ่งตามธรรมดามองไม่เห็นนอกจากจะ ได้ใช้หัวแม่มือกดลูกกระสุนเข้าไปในปลอก

              ข) ถ้าหากปลอกกระสุนถูกสนิมกัดจนกระทั่งเนื้อโลหะหายไปแล้ว   ห้ามใช้กระสุนนี้ยิงเป็นอันขาด เพราะเหตุว่าจะทำให้เกิดอันตรายได้

ศ. ข้อควรระวังในการเก็บรักษา

         ๑. กล่าวทั่วไป กปก.๙๓ ที่เก็บไว้ในลังจะไม่ระเบิดขึ้นเอง แม้ว่าสภาพการเก็บรักษาจะเป็นไปอย่างไม่ถูกหลักการ ก็ตาม กปก.๙๓ เพียงแต่เกิดลุกไหม้ขึ้นเท่านั้น

         ๒. การกองหีบกระสุน หีบ กปก.๙๓ ควรจะต้องวางแยกชนิดและหมายเลขงวดไว้เป็นกอง ๆ ต้องพยายามอย่างดีที่สุดที่จะ ป้องกันมิให้กระสุนต่างงวดกันเข้าไปปะปนอยู่ในกองเดียวกันได้  เมื่อมีการจับจ่ายกระสุนจะต้องจัดเจ้าหน้าที่จด หมายเลขงวดของกระสุนที่รับหรือจ่ายทุกหีบ

         ๓. การป้องกัน

              ก) กปก.๙๓ จะต้องเก็บไว้ในร่มเสมอ ถ้าหากสามารถจะทำได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระสุนส่องวิถี จะเสื่อมคุณภาพเร็วขึ้น ถ้าหากเก็บไว้ในที่ชื้นแฉะและอับอากาศ

              ข) แม้ว่า กปก.๙๓ จะได้บรรจุอยู่ในหีบเหล็กและมีหีบไม้ภายนอกอีกชั้นหนึ่งก็ตาม มักจะปรากฏ เสมอว่าหีบอาจรั่วเพราะความกระเทือนในการขนส่งได้เสมอและรอยรั่วนี้จะทำให้ความชื้นรั่วไหลเข้าไปในหีบได้

              ค) ถ้าหากมีความจำเป็นจะต้องเก็บกระสุนไว้กลางแจ้งแล้ว จะต้องยกพื้นหรือหรือรองให้หีบกระสุน สูงกว่าพื้นดินอย่างน้อย ๖ นิ้ว และคลุมผ้าใบอาบน้ำยากันน้ำ ๒ ชั้น การคลุมผ้านั้นต้องคลุมให้สามารถป้องกันหีบ กระสุนให้ได้มากที่สุด และในขณะเดียวกัน ให้อากาศถ่ายเทได้อีกด้วย บริเวณรอบ ๆ  กล่องกระสุนต้องขุดร่อง ระบายน้ำไว้เพื่อป้องกันมิให้น้ำไหลเข้ามาขังอยู่ภายใต้กองหีบกระสุนได้

         ๔. ในที่ที่มีอุณหภูมิสูง การเก็บกระสุนต้องพยายามป้องกันมิให้เกิดความร้อนสูง เพื่อป้องกันมิให้ดินส่งกระสุนเสื่อมสลายตัว อุณภูมิสูงสูงและอากาศที่ชื้นอับเป็นสิ่งที่ช่วยทำให้กระสุนเสื่อมสภาพได้ดียิ่งขึ้น

         ๕. หีบกระสุนที่เปิดแล้ว เมื่อกระสุนในหีบใช้ไปแล้วบางส่วน  และส่วนที่เหลือยังคงอยู่ในหีบจะต้องป้องกันมิให้ผู้หนึ่งผู้ใดเข้า มาเกี่ยวข้องกับกระสุนนี้โดยไขควงปิดฝาหีบเสียให้แน่น

         ๖. เมื่อเกิดเพลิงไหม้ ถ้าหากคลังที่เก็บกระสุนเกิดไฟไหม้ กระสุนปืนเล็กจะไม่ระเบิดขึ้นรุนแรงพร้อมกันตามปกติกระสุนจะระเบิดเป็นนัด ๆ การระเบิดของกระสุนแต่ละนัดนี้จะทำให้ปลอกกระสุนและลูกกระสุนปลิวไปคนระทางในระยะ ไม่เกิน ๑๘๒.๔ เมตร (๒๐๐ หลา)

ษ. ข้อควรระวังในการยิงกระสุนจริง

         ๑. ในการยิงกระสุนจริงจะเป็นการยิงเป้าหมายหรืออย่างไรก็ตาม จะต้องปฏิบัติตามหัวข้อแนะนำดังต่อ ไปนี้

              ก) ห้ามมิให้ใช้กระสุนชำรุดยิง

              ข) การวางหรือกองกระสุนไว้สำหรับการทำการยิง  ควรจะไว้ในที่ที่เมื่อเกิดอุปัทวเหตุขึ้นที่ปืนซึ่ง กำลังทำการยิงแล้วไม่กระทบกระเทือนถึงกองกระสุนด้วย

              ค) กระสุนที่สกปรกมีฝุ่น ทรายจับจะต้องทำความสะอาดเสียก่อนจึงจะทำการยิงได้

              ง) เมื่อเกิดอุปัทวเหตุหรือเหตุขัดข้องขึ้น  นายทหารผู้อำนวยการยิงจะต้องแจ้งรายละเอียดให้นาย ทหารฝ่ายการสรรพาวุธทราบทันที

         ๒. ห้ามมิให้กระสุนที่ไม่มีหมายเลขงวดยิง

         ๓. ห้ามมิให้ใช้กระสุนเจาะเกราะยิงแสดงการต่อสู้รถถังในเมื่อใช้รถถังจริง ๆ  เป็นเป้าในการแสดง นั้น ๆ

         ๔. ในการใช้กระสุนเจาะเกราะ ควรจะจำไว้เสมอว่าถ้าหากลูกกระสุนไม่สามารถเจาะเกราะได้แล้ว แกนในของลูกกระสุนจะกระดอนออกไปจากเหล็กแผ่นเกราะ รัศมีที่มีแกนในของกระสุนจะกระดอนออกไปนั้น ขึ้น อยู่กับปัจจัยหลายอย่าง แต่เพื่อความปลอดภัยให้ถือว่าภายในรัศมี ๙๑ เมตร (๑๐๐ หลา) เป็นเขตอันตราย

         ๕. กระสุนที่มีเครื่องหมายเขียนไว้ว่า  "สำหรับการฝึกเท่านั้น"  ห้ามใช้ยิงข้ามศรีษะหน่วยทหารฝ่าย เดียวกันเป็นอันขาดไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น

         ๖. ก่อนทำการยิงผู้ยิงจะต้องตรวจดูปืนของตน ให้เป็นที่แน่นอนเสียก่อนว่าไม่มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดค้างอยู่ใน ลำกล้องปืน ถ้าหากยิงปืนซึ่งมีสิ่งหนึ่งสิ่งใดค้างอยู่ในลำกล้องแล้วจะทำให้ปืนนั้นชำรุดและผู้ยิงอาจได้รับบาดเจ็บด้วย

         ๗. ถ้าหากในขณะส่องปืนลูกกระสุนค้างอยู่ในลำกล้อง  ให้พยายามแยงออกโดยใช้แส้แยงจากทางปาก ลำกล้อง ห้ามมิให้ยิงซ้ำเข้าไปเพื่อให้กระสุนนัดใหม่ดันกระสุนนัดเก่าออกเป็นอันขาด

         ๘. กระสุนด้านหรือดินส่งกระสุนไหม้ช้า

              ก) เมื่อลั่นไกแล้วกระสุนไม่ลั่น  ในขั้นแรกทีเดียวยังไม่สามารถจะบอกได้ว่าเป็นเพราะกระสุนหรือ ดินส่งกระสุนไหม้ช้า ฉะนั้นจึงควรรออยู่อย่างน้อยประมาณ ๑๐ - ๑๕ วินาที ก่อนจะเปิดลูกเลื่อน

              ข) ถ้าหากกระสุนที่ใช้ยิงนั้นดินส่งกระสุนไหม้ช้า ให้เลิกใช้กระสุนงวดนั้นยิงทันทีและต้องให้ทหาร ฝ่ายการสรรพาวุธทราบพร้อมทั้งหมายเลขงวดกระสุน

ส. ข้อควรระวังในการยิงกระสุนซ้อมรบ

         ๑. การยิงข้าศึกสมมุติด้วยกระสุนซ้อมรบในระยะใกล้กว่า ๑๘ ม.(๒๐ หลา) นั้นถือว่าอาจจะเป็น อันตรายเกิดขึ้นได้ เพราะเหตุว่าบางครั้งหมอนรองหน้าอาจจะไม่แตกเป็นชิ้นเล็ก ๆ

         ๒. ห้ามใช้กระสุนซ้อมรบซึ่งมิได้กำหนดไว้ข้างล่างนี้ยิงเป็นอันขาด และให้ปฏิบัติตามคำแนะนำข้างล่างนี้ โดยละเอียด

              ก) หีบห่อ หรือกล่องของกระสุนซ้อมรบที่จะใช้ยิงจะต้องมีเครื่องหมายชัดเจน และจะต้องตรวจ เครื่องหมายเหล่านี้เสียก่อน

              ข) ควรใช้กระสุนซึ่งบรรจุอยู่ในหีบห่ออย่างเดิมอย่างเรียบร้อยยิงเท่านั้น

ห. ข้อควรระวังเกี่ยวกับดินส่งกระสุน

         ๑. การระเหยของตัวทำลาย ภายในดินส่งกระสุนประกอบด้วยตัวทำลายแอลกอฮอล์อีเทอร์ และความชื้นตกค้างอยู่บ้าง ตัวทำลาย ซึ่งยอมให้เหลือตกค้างอยู่นี้เพื่ออัดดินได้เหนียวแน่นตามความต้องการและทำให้ดินสลายตัวได้ช้าลง ถ้าหากดิน เหล่านี้สลายตัวไปหมดโดยการระเหยแล้ว จะทำให้เนื้อดินแข็งเปราะและไหม้เร็วขึ้น ทำให้เกิดความดันสูงและ คุณสมบัติทางขีปนาวิธีเปลี่ยนแปลง

         ๒. ความชื้น จำนวนความชื้นที่ดินส่งกระสุนสามารถดูดเข้าไปได้นั้นขึ้นอยู่กับความชื้นในอากาศ ดังนั้นภายในดินส่ง กระสุนจึงต้องปล่อยให้มีความชื้นและตัวทำลายเหลืออยู่บ้าง เพื่อป้องกันให้เสียได้น้อยที่สุดเมื่อความชื้นของ อากาศเปลี่ยนแปลงไปตามความชื้นของบรรยากาศ จึงจำเป็นต้องเก็บดินไว้ในที่ ๆ ชื้นอับแต่อาจจะทำให้ดินส่ง กระสุนดูดเอาความชื้นและทำให้ดินเสื่อมคุณภาพได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในที่ ๆ มีอากาศร้อน

         ๓. ความร้อน น้ำหนักของดินส่งกระสุนซึ่งบรรจุเข้าไปในปลอกกระสุนได้มาจากการยิงทดลองอุณหภูมิ  ๗๐  องศา ฟาเรนไฮด์ น้ำหนักของดินนี้จะทำให้ลูกกระสุนมีความเร็วต้นอยู่ในเกณฑ์ที่ต้องการ เมื่ออุณหภูมิสูงกว่า ๗๐ องศาฟาเรนไฮด์แล้วจะทำให้ความเร็วต้นลดลง

         ๔. อายุของดินควันน้อย ดินส่งกระสุนมีอายุประมาณ ๕ - ๒๐ ปี ขึ้นอยู่กับการเก็บรักษาและการสร้างดิน เนื้อละเอียดสลายตัวได้ง่ายกว่าเนื้อหยาบ ดินส่งกระสุนซึ่งอยู่ในสภาพที่กำลังสลายตัวนั้น ไม่ปลอดภัยที่จะเก็บไว้ เพราะอาจจะจุดตัวเองลุกขึ้นได้เพราะความร้อนที่เกิดขึ้นในขณะสลายตัว ความร้อนที่เกิดขึ้นในขณะดินส่งกระสุนขยายตัวนั้นจะสูงขึ้นทุกที จนกระทั่งมีอุณหภูมิสูงพอที่จะจุดตัวเองขึ้นได้

ฬ. อาการที่แสดงว่ากระสุนเสื่อมคุณภาพ

         ผู้ที่มีหน้าที่รับจ่ายเก็บรักษาและใช้กระสุนจะต้องมีความรู้พอที่จะตรวจได้ว่ากระสุนที่อยู่ในความรับผิดชอบของตนเสื่อมสภาพหรือไม่ ควรจะได้รับการตรวจกระสุนด้วยตาเปล่า โดยนำกระสุนของแต่ละงวดออกมาตรวจ๑-๕ หีบ สุดแล้วแต่ว่ากระสุนงวดนั้น ๆ มีมากน้อยเท่าใด ถ้าหากกระสุนที่นำออกมาตรวจนั้นชำรุดเกินกว่า ๕ %แล้วจะต้องเอากระสุนดีมาใส่แทนในหีบให้ครบตามจำนวนแล้วรายงานให้กรมสรรพาวุธทราบทันที อาการที่แสดงให้ทราบว่ากระสุนเสื่อมคุณภาพนั้นมี ๒ อย่างคือ

         ๑. แสดงให้เห็นด้วยตาเปล่า

         ๒. แสดงให้เห็นหลังจากการยิง

อ. อาการที่แสดงให้เห็นด้วยตาเปล่า


ฮ. อาการที่แสดงให้เห็นหลังจากการยิง

         ๑. อาการชำรุดของลูกกระสุนหรือรอยแตกร้าวซึ่งเกิดขึ้นหลังจากการยิง

         ๒. กระสุนด้าน

              ก) รอยแทงจอกชนวนท้ายปลอกลึกตามปกติ  แสดงให้เห็นว่าเข็มแทงชนวนนี้ได้แทงชนวนท้ายปลอก กระสุนแรงพอแล้วฉะนั้นให้ถือว่ากระสุนด้านเป็นเพราะกระสุนเสื่อมคุณภาพหรือชำรุดซึ่งเป็นจากสาเหตุดังต่อ ไปนี้.-

                  ๑) จอกชนวนท้ายปลอกกระสุนหนาเกินไป

                  ๒) ชนวนที่บรรจุอยู่ในจอกชนวนหนาเกินไปทำให้กลายเป็นแหนบรับแรงกระแทกของเข็มแทง ชนวนไปเสีย

                  ๓) ไม่มีชนวนในจอกหรือมีชนวนน้อยเกินไป

                  ๔) ไม่มีทั่งในจอกชนวน

                  ๕) ไม่มีรูเพลิง

                  ๖) ชนวนชื้น

              ข) รอยเข็มแทงชนวนเบาไป ซึ่งแสดงให้เห็นวาแรงกระแทกของเข็มแทงชนวนไม่แรงพอ

              ค) เข็มแทงชนวนแทงจอกชนวนท้ายปลอกลึกตามปกติแต่ไม่ตรงศูนย์กลางของจอกชนวนปลอกกระสุนเป็นเพราะเครื่องกลไกของปืนชำรุด

         ๓. เข็มแทงชนวนแทงจอกชนวนท้ายปลอกกระสุนลึกเกินไป

         ๔. ดินส่งกระสุนไหม้ไม่สมบูรณ์

         ๕. ดินส่งกระสุนไหม้ช้า

         ๖. จอกชนวนทะลุ

         ๗. ชนวนรั่ว

         ๘. จอกชนวนหลวม

         ๙. จอกชนวนหลุด

         ๑๐. จอกชนวนกระแทกหน้าลูกเลื่อน

         ๑๑. ปลอกกระสุนรั่ว

         ๑๒. ไม่ถอยปลอกกระสุน

         ๑๓. ปลอกกระสุนแตก

         ๑๔. ตัวปลอกกระสุนแตก

         ๑๕. ปลอกกระสุนยืด

         ๑๖. ปลอกกระสุนขาด

         ๑๗. บ่าปลอกกระสุนบุบ

         ๑๘. ปลอกกระสุนบวม

         ๑๙. รองกระสุนหลุด