การทำงานและเครื่องเล็ง

ตอนที่ ๒ การทำงานและเครื่องเล็ง

ก. การทำงาน

เปิดลำกล้องเพื่อบรรจุกระสุนโดยกดลกอนยึดลำกล้องและเลื่อนลำกล้องไปข้างหน้าบนรางเลื่อน ต่อจากนั้นก็เลื่อนลำกล้องกลับเข้าที่เดิม กลอนยึดลำกล้องจะยึดลำกล้องและรางเลื่อนเข้าด้วยกัน

ข. เครื่องเล็ง

เครื่องยิงลูกระเบิด เอ็ม.๒๐๓ มีศูนย์สำหรับเล็งอยู่ ๒ ศูนย์ คือศูนย์เสี้ยววงกลม(QUADRANT SIGHT)และศูนย์ใบ (SIGHT LEAF ASSEMBLY)

๑. ศูนย์เสี้ยววงกลม (QUADRANT SIGHT) ติดตั้งเข้าที่ด้านซ้ายด้ามมือถือของ ปลย.เอ็ม.๑๖ หรือ ปลย.เอ็ม.๑๖ เอ.๑ ศูนย์เสี้ยววงกลมประกอบด้วย ควงยึดฐานศูนย์ (MOUNTING SCREW), ฐานศูนย์(QUADRANT SIGHT ASSEMBLY CLAMP), เหล็กยึดฐานศูนย์ (SIGHT BRACKET ASSEMBLY) (SIGHT LATCH), ศูนย์หลัง, ก้านศูนย์หลัง, ศูนย์หน้า และก้านศูนย์หน้า

ก) ฐานศูนย์และเหล็กยึดฐานศูนย์ จะทำหน้าที่เป็นฐานให้กับศูนย์เสี้ยววงกลม ประกอบเข้ากับมือถือ ของ ปลย.เอ็ม.๑๖ และ เอ็ม.๑๖ เอ.๑ โดยควงยึดฐานศูนย์สอดเข้าไปด้านขวาของฐานศูนย์ผ่านเหล็กยึดฐาน ศูนย์ยึดติดแน่นกับมือถือ

ข) แกนฐานศูนย์ (QUADRANT SIGHT ARM) และมาตราระยะยิง (RANGE QUADRANT) (รูปที่ ๑)แกนฐานศูนย์มีหน้าที่ ๒ อย่างคือ เป็นฐานให้กับศูนย์หลัง (ซึ่งมีวงกลมศูนย์หลังอยู่ด้านบน) และเป็นฐานให้กับ ศูนย์หน้า (ซึ่งมียอดศูนย์หน้าอยู่ด้านบน) ซึ่งจะอำนวยให้สามารถเลื่อนศูนย์ไปตามมาตราระยะยิงที่ต้องการได้ มาตราระยะยิงนี้จะเริ่มตั้งแต่ ๕๐ เมตร ถึง ๔๐๐ เมตร โดยแบ่งขีดย่อยทุก ๆ ๒๕ เมตร

ในการตั้งศูนย์ให้ตรงระยะยิงที่ต้องการบนมาตราระยะยิง ทำได้โดยดึงเหล็กยึดเลื่อนระยะ (SIGHT LATCH) มาด้านหลัง จะทำให้ก้านศูนย์เป็นอิสระเลื่อนขึ้นลงได้ตามระยะที่ต้องการ โดยให้ระยะที่ต้อง การอยู่ตรงร่องที่เจาะไว้ที่ก้านศูนย์ เมื่อตั้งระยะได้ตามที่ต้องการแล้วก็เลื่อนเหล็กเลื่อนระยะไว้ตามเดิม

ค) ศูนย์หน้า ศูนย์หน้าตั้งอยู่บนก้านศูนย์หน้า ซึ่งสามารถเลื่อนเปิดออกมาเพื่อใช้งานและเมื่อไม่ ได้ใช้ปิดลงไปได้ ทั้งนี้ป้องกันมิให้ใบศูนย์หน้าเสียหาย ศูนย์หน้าสามารถเลื่อนขึ้นลงได้เล็กน้อยเพื่อทำการปรับ ศูนย์ เมื่อทำการปรับเส้นตั้ง (แนวดิ่ง) หมุนควงปรับศูนย์หน้าไปตามเข็ม

นาฬิกา ศูนย์หน้าจะสูงขึ้นถ้าหมุนทวนเข็มนาฬิกา ศูนย์หน้าจะลดลง เลื่อนขึ้นหรือลง ๑ รอบ เมื่อทำการยิงจะทำให้วิถีโคจรของกระสุนผิดไป ๕ เมตร ในระยะยิง ๒๐๐ เมตร

ง) ศูนย์หลัง ศูนย์หลังตั้งอยู่บนก้านศูนย์หลัง โดยอยู่ทางส่วนท้ายแกนฐานศูนย์ ทำหน้าที่เหมือนก้าน ศูนย์หน้า ศูนย์หลังสามารถปรับเลื่อนได้ในการปรับทางข้าง ทำได้โดยกดปุ่มแล้วเลื่อนศูนย์หลังไปตามร่องด้าน ซ้าย๑ บากของศูนย์หลังจะทำให้การโคจรของกระสุนผิดไปทางขวาหรือซ้าย ๑ ๑/๒ เมตร ในระยะยิง ๒๐๐ เมตร

๒. ศูนย์ใบ ศูนย์ใบติดตั้งอยู่ที่ส่วนป้องกันความร้อน และศูนย์หน้าของ ปลย.เอ็ม.๑๖ ทางด้านบนมีส่วนประกอบดังนี้ ใบศูนย์, ฐานศูนย์, รองฐานศูนย์ ควงปรับมุมสูงและควงปรับมุมทิศ มาตราระยะของมุมสูงและมุมทิศจะบอกไว้ที่รองฐานสูง ศูนย์ใบสามารถใช้ได้เมื่อทำการยิงในจังหวะเร็วโดยไม่ต้องทำการตั้งศูนย์ ซึ่งเรียกว่าศูนย์รบ เมื่อทำการยิงโดยใช้ศูนย์ใบจะใช้ศูนย์หน้าของ ปลย.เอ็ม.๑๖ หรือ เอ็ม.๑๖ เอ.๑ เป็นศูนย์หน้า

ก) ฐานศูนย์ใบ (รูปที่ ๒) จะติดตั้งอย่างมั่นคงถาวรบนกรอบกันความร้อนของ ปลย.เอ็ม.๑๖ ด้วย หมุด ๒ ตัว ฐานศูนย์ใบมีหน้าที่ป้องกันศูนย์ไม่ให้เสียหายเมื่อไม่ใช้ โดยพับลงมาอยู่ในท่านอน

ข) รองฐานและใบศูนย์ รองฐานเป็นส่วนที่ติดกับฐานศูนย์ มีหน้าที่ในการเลื่อนใบศูนย์ขึ้นหรือลง มีมาตราระยะยิงตั้งแต่ ๕๐ - ๒๕๐ เมตร โดยเลื่อนได้ช่องละ ๕๐ เมตร

ค) ควงปรับมุมสูงและมาตราส่วนมุมสูง (รูปที่ ๓) ควงปรับมุมสูงจะสัมผัสกับรองฐานในการปรับมุม สูง ทำได้โดยการคลายควงให้หลวมแล้วเลื่อนใบศูนย์ตามระยะที่ต้องการ เสร็จแล้วหมุนควงยึดให้แน่น ขอบฐานของกระสุนขนาด ๔๐ มม.สามารถนำมา ใช้ในการหมุนควงมุมสูงได้ เพื่อเพิ่มระยะยิงหรือลดระยะยิงลงให้มากหรือน้อยกว่าปกติได้ มาตราระยะมุมสูงจะ มี ๕ ขีด แบ่งเป็นช่องเท่า ๆ กัน ปรากฏอยู่ทางด้านซ้ายของศูนย์ใบ เมื่อเลื่อนขึ้นหรือลง ๑ ขีด วิถีกระสุนจะ ผิดไป ๑๐ เมตร ในระยะ ๒๐๐ เมตร

ง)ในการปรับมุมทิศ หมุนควงมุมทิศตามเข็มนาฬิกาจะเปลี่ยนไปทางซ้าย ถ้าหมุนทวนเข็มนาฬิกาจะเปลี่ยนไปทางขวาหมุน ๑ รอบ มุมทิศจะเปลี่ยนไป ๑.๕ เมตร ในระยะ ๒๐๐ เมตร