การตรวจ ปก.93

๑๒. การตรวจ ปก.๙๓

              ก) กล่าวทั่วไป ผู้ใช้ ปก.๙๓ จำเป็นต้องหมั่นตรวจสภาพของปืนอยู่เสมอ เพราะการยิงปืนโดยที่ปืนไม่อยู่ใน สภาพเรียบร้อยสมบูรณ์นั้น มิได้หมายความว่ายิงไม่ได้ผลแต่อย่างเดียว แต่ทว่าหมายความว่าจะเกิดอันตรายแก่ผู้ ยิงได้และอาจจะทำให้ปืนชำรุดเสียหาย นอกจากนั้นยังอาจจะทำให้ปืนซึ่งชำรุดอยู่เพียงเล็กน้อยชำรุดเสียหาย มากกว่าเดิมอีกด้วย

         ฉะนั้นผู้ใช้ ปก.๙๓ จะต้องตรวจสภาพของปืนที่ตนประจำอยู่ได้ ตามรายละเอียดซึ่งจะได้กล่าว ต่อไป และควรจะกระทำการตรวจในระดับต่อไปนี้

                  ๑) เมื่อรับจากคลัง

                  ๒) ตรวจเป็นครั้งคราวทุก ๆ ระยะเวลาที่กำหนดขึ้นโดยผู้บังคับบัญชา

                  ๓) ตรวจหลังจากยิงและการใช้ในถิ่นที่มีสภาพอากาศผิดปกติ

              ข) ความมุ่งหมายในการตรวจ

                  ๑) การตรวจสภาพของปืนนั้น มุ่งหมายที่จะตรวจว่าปืนนั้นอยู่ในสภาพที่ใช้การได้หรือไม่ หากปืน อยู่ในสภาพที่ไม่เรียบร้อยแล้ว จะต้องดำเนินการแก้ไขซ่อมแซมอย่างไร จึงจะทำให้ปืนนั้นอยู่ในสภาพใช้การได้ ต่อไป เป็นความมุ่งหมายหลัก ความมุ่งหมายรองได้แก่การตรวจว่าปืนอยู่ในสภาพที่จะเริ่มเสื่อมโทรมหรือไม่และ การบำรุงรักษาเป็นอย่างไร

                  ๒) ในกรณีที่ตรวจพบว่าปืนอยู่ในสภาพที่ใช้การไม่ได้ หรือกำลังจะชำรุดจะต้องตรวจค้นให้พบต้นเหตุ และความมากน้อยของการชำรุด ให้ดำเนินการซ่อมให้ถูกต้องทั้งทางเทคนิคและระเบียบการ

                  ๓) ในบางครั้งจะต้องพิจารณาสภาพทั่ว ๆ ไปของปืน โดยไม่ต้องถอดชิ้นส่วนต่าง ๆ ออกจากปืนเพราะเหตุว่าการถอดปืนออกตรวจไม่สามารถจะทำได้ หรือไม่เป็นสิ่งอันบังควรในกรณีที่ปืน เกิดติดขัดขึ้น ก่อนที่จะถอดปืนออกตรวจจะต้อง จดเรื่องราวและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะ ปืนชำรุดให้ละเอียดเสียก่อนเพราะเหตุการณ์เหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญ ที่จะช่วยให้ค้นพบสาเหตุและดำเนินการแก้ไขได้อย่างถูกต้อง

         ๑๓. ข้อควรระวังในการตรวจ

              ก) เพื่อป้องกันมิให้เกิดอันตรายขึ้นในขณะทำการตรวจสภาพของปืน ให้เปิดฝาปิดห้องลูกเลื่อนออก แล้วดึงคันรั้งลูกเลื่อนมาข้างหลังตรวจดูให้เป็นที่แน่นอนว่าไม่มีกระสุนตกค้างอยู่ในช่องป้อนกระสุนในรังเพลิง และในร่องหน้าลูกเลื่อน

              ข) เมื่อถอดเหล็กปิดท้ายห้องลูกเลื่อนออกจากห้องลูกเลื่อนแล้ว ห้ามมิให้ขึ้นนกปืน เพราะเหตุว่า แหนบส่งลูกเลื่อนอาจจะหลุดกระเด็นออกมาข้างหลังทำให้เกิดอันตรายได้

              ค) ก่อนที่จะทำการตรวจปืน จะต้องล้างไขน้ำมัน หรือสิ่งสกปรกอื่น ๆ  ซึ่งอาจจะปกปิดสภาพอันแท้ จริงของปืนไว้ หรืออาจจะขัดขวางการทำงานที่ถูกต้องของปืนออกเสียให้หมด

         ๑๔. วิธีตรวจสอบความเรียบร้อยทั่วไป การตรวจสอบความเรียบร้อยทั่ว ๆ ไปของปืน หมายถึงการตรวจปืนที่คุมทั้งกระบอก โดยยังไม่ต้อง แยกออกตรวจสภาพของชิ้นส่วนโดยละเอียด วิธีตรวจให้กระทำดังนี้.-

              ก) ตรวจสภาพความเรียบร้อยทั่ว ๆ ไปของวัตถุ

                  ๑) การทำและการบำรุงรักษาถูกต้องตามหลักการหรือไม่

                  ๒) ถ้าหากทางราชการได้สั่งให้เปลี่ยนชิ้นส่วนหรือเครื่องมือเครื่องใช้แล้วให้ตรวจดูว่าสิ่ง เหล่านั้นได้รับการเปลี่ยนแปลงตามคำสั่งหรือไม่

                  ๓) อักษรและตัวเลขต่าง ๆ ที่ตีไว้บนตัวปืนหรือบนแผ่นป้ายที่ติดไว้กับตัวปืนต้องชัดเจนและถูกต้องไม่ลบเลือน

                  ๔) โลหะต่าง ๆ และรอยเชื่อมต่อไม่แตกร้าว

                  ๕) หมุด เกลียว ควง และสลักต่าง ๆ ต้องไม่ขาดหาย

                  ๖) สีที่ทาหรือรมปืนไว้ต้องไม่ลอก

                  ๗) เครื่องมือเครื่องใช้ เครื่องอะไหล่ของปืน ต้องอยู่ครบไม่ขาดหายและต้องอยู่ในสภาพที่ใช้ การได้ด้วยทั้งนี้รวมทั้งหีบห่อและสิ่งของเหล่านี้ด้วย

              ข) ตรวจความเรียบร้อยทั่ว ๆ ไปของปืน

                  ๑) ตรวจความเรียบร้อยภายนอกทั่ว ๆ ไป

                  ๒) ตรวจความเรียบร้อยของการทำงานของเครื่องกลไก โดยดึงคันรั้งลูกเลื่อนมาข้างหลังแล้ว ปล่อยไปข้างหน้า

                  ๓) ตรวจควงปรับเครื่องรับแรงกระแทก ว่าขันแน่นเรียบร้อยหรือไม่

                  ๔) ฝาปิดห้องลูกเลื่อนต้องปิดแน่นไม่หลวมคลอน เปิดฝาปิดห้องลูกเลื่อนออกตรวจดูการทำงาน ของฝาปิดห้องลูกเลื่อน

                  ๕) เลื่อนคันเลื่อนสายกระสุนไปมา เพื่อตรวจดูว่าเครื่องป้อนกระสุนทำงานเรียบร้อยหรือไม่

                  ๖) ตรวจดูว่าลูกเลื่อนเป็นสนิมหรือไม่ และตรวจความเรียบร้อยของขอรั้งกระสุนและเหล็กคัด ปลอกกระสุน

                  ๗) ตรวจกลอนเหล็กปิดท้ายห้องลูกเลื่อนและแผ่นบังคับกลอนเหล็กปิดท้ายห้องลูกเลื่อนว่าทำงาน เรียบร้อยหรือไม่

                  ๘) ถ้าหากจะทำการยิงให้ตรวจเพิ่มเติมว่า ไม่มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดตกค้างอยู่ในลำกล้องและรังเพลิง ด้ามหิ้วลำกล้องติดแน่นกับลำกล้อง ปลอกประคองลำกล้องไม่เปรอะเปื้อนสกปรกสายกระสุนสะอาดเรียบร้อยและกระสุนบรรจุอยู่ในสายกระสุนเรียบร้อย เครื่องมือเครื่องใช้และเครื่องอะไหล่มีครบสมบูรณ์

                  ๙) ตรวจการปรับหน้าลูกเลื่อน การปรับสะพานไก ว่าถูกต้องเรียบร้อยหรือไม่

         ๑๕. วิธีตรวจความเรียบร้อยของชิ้นส่วนต่าง ๆ

              ก) วิธีตรวจความเรียบร้อยของลำกล้องและโครงต่อท้ายลำกล้อง

                  ๑) ตรวจดูความเรียบร้อยของโครงต่อท้ายลำกล้อง พนังทั้งสองของโครงต่อท้ายลำกล้องต้อง ไม่บุบหรือคด

                  ๒) ช่องทางเดินของลูกเลื่อนและกลอนลูกเลื่อนต้องไม่สึกหลวมคลอนหรือเป็นรอย

                  ๓) เมื่อประกอบเดือยโครงต่อท้ายลำกล้องเข้ากับโครงต่อท้ายลำกล้องแล้ว แง่ของเดือยโครง ต่อท้ายลำกล้องต้องเสมอกับพื้นของโครงต่อท้ายลำกล้องทั้งด้านบนและด้านล่าง

                  ๔) แหนบยึดลำกล้องต้องติดแน่นอยู่ในร่องด้านข้างของโครงต่อท้ายลำกล้องด้านปลายที่ใช้ยึด ลำกล้องต้องไม่หลวมคลอน

                  ๕) ในขณะที่ขันลำกล้องเข้าในโครงต่อท้ายลำกล้องนั้นต้องขันเข้าไปได้โดยสะดวกและไม่ถึง กับหลวมคลอน

                  ๖) ตรวจกลอนลูกเลื่อนกลอนลูกเลื่อนต้องไม่คดงอ หรือเป็นรอย สลักกลอนลูกเลื่อน ณ ตำบล ที่สัมผัสกับเหล็กปลดกลอนลูกเลื่อนต้องไม่สึกแหนบสลักกลอนลูกเลื่อนต้องไม่หักหรือหลุดหาย

                  ๗) ตรวจร่องรับแหนบยึดลำกล้องบนลำกล้องว่าสึกหรือไม่เพราะถ้าหากว่าร่องรับแหนบยึด ลำกล้องสึกหรอแล้ว จะทำให้ลำกล้องเคลื่อนได้ในขณะทำการยิงซึ่งจะทำให้การปรับหน้าลูกเลื่อนคลาดเคลื่อนไป

                  ๘) ตรวจลำกล้องด้วยสายตาโดยจับลำกล้องยกขึ้นให้แสงสว่างส่องเข้ามาในลำกล้องได้และ ตรวจดูว่าลำกล้องคดบวมเป็นแผลหรือไม่ สันเกลียวลำกล้องต้องไม่สึกหรอ ถ้าหากห่างจากท้ายลำกล้องเข้าไป ประมาณ ๖-๘ นิ้ว สันเกลียวสึกจนกระทั่งสันเกลียวลบแล้วลำกล้องนั้นใช้การไม่ได้ และถ้าหากแผลในลำกล้อง กว้างมากจนกระทั่งกินถึงสันเกลียวใหญ่ พอที่จะทำให้แก๊สรั่วมาข้างหลังได้แล้วไม่ช้าลำกล้องนั้นจะขาดความ แม่นยำในการยิง จนกระทั่งต้องทิ้งไป

          หมายเหตุ

              อย่าใช้แบบวัด ๆ รังเพลิงขณะลำกล้องร้อนจัด เพราะเหตุว่าขณะที่ลำกล้องเย็นลงลำกล้องจะหดตัว รัดแบบวัดได้ ทำให้ไม่สามารถเอาแบบวัดออกจากรังเพลิง โดยแบบวัดหรือรังเพลิงไม่ชำรุดไม่ได้

              เมื่อได้ตรวจความสะอาดของลำกล้องและแบบวัดเสร็จเรียบร้อยแล้วให้วางลำกล้องลงในแนวระดับ แล้วสอดแบบวัดเข้าไปในรังเพลิงให้ท้ายแบบวัดด้านที่ยาวกว่าหันลงข้างล่าง ถ้าหากรังเพลิงยังไม่สึกแล้ว ท้ายแบบวัดด้านสั้นจะต้องอยู่เสมอกับท้ายรังเพลิงพอดี ถ้าหากรังเพลิงของลำกล้องสึกไปบ้างแล้ว ท้ายแบบวัดจะเลย เข้าไปข้างในรังเพลิง เพื่อที่จะวัดให้ทราบว่ารังเพลิงนี้สึกไปมากน้อยเท่าใดให้หมุนแบบวัดจนกระทั่งปลายเกย ยันสันเกลียวพอดี แล้วอ่านหมายเลขที่อยู่ตรงกับท้ายแบบวัดที่ยาวกว่า ถ้าหากหมุนแกนแบบวัดเข้าไปจนถึง ๒ นิ้ว แล้ว รังเพลิงนั้นสึกจนกระทั่งจะทำให้ความเร็วลดลงไป ๒๐๐ ฟุต/วินาที และนับว่าชำรุดจนกระทั่งใช้การไม่ได้แม้ว่าลำกล้องที่สึกหรอขนาดนี้อาจจะยิงต่อไปได้อีกหลายพันนัดก็ตาม แต่จะทำให้ไม่มีความแม่นยำเพียงพอ และสิ้นเปลืองกระสุนไปโดยเปล่าประโยชน์  รังเพลิงสามารถใส่แบบวัดเข้าไปได้ลึกถึง ๑.๓ นิ้ว ขึ้นไป แต่ไม่ถึง ๒ นิ้ว อาจจะใช้ลำกล้องนั้นสำหรับฝึกยิงได้ แต่ใช้ในการรบไม่ได้

                  ๙) ตรวจลำกล้องด้วยแบบวัดลำกล้อง หลังจากตรวจสภาพของลำกล้องด้วยสายตาแล้วปรากฏ ว่าลำกล้องไม่ชำรุดสึกหรอ จะต้องตรวจรังเพลิงด้วยแบบวัดอีกครั้งหนึ่ง วิธีตรวจให้ถอดลำกล้องปืนออกจากตัว ปืนแล้วทำความสะอาดลำกล้องและแบบวัดให้เรียบร้อย

          หมายเหตุ

              อย่าใช้แบบวัด ๆ ลำกล้องขณะลำกล้องร้อนจัด เพราะเหตุว่าขณะที่ลำกล้องเย็นลงจะหดตัวรัดแบบวัดไว้ ทำให้ไม่สามารถจะเอาแบบวัดออกจากลำกล้องได้โดยลำกล้องหรือแบบวัดไม่ชำรุด

         เมื่อได้ตรวจความสะอาดของลำกล้องและแบบวัดเรียบร้อยแล้ว ให้วางลำกล้องลงในแนวระดับแล้วสอด แบบวัดเข้าไปในลำกล้องได้ลึกถึง ๒ นิ้วแล้ว ลำกล้องนั้นจะลึกจนกระทั่งให้ความเร็วต้นตกลงประมาณ ๒๐๐ ฟุต/วินาที และนับว่าลำกล้องนั้นลึกจนกระทั่งใช้การไม่ได้

              ข) วิธีตรวจความเรียบร้อยของพนังข้างห้องลูกเลื่อนและรองลำกล้อง

                  ๑) ตรวจความเรียบร้อยของพนังข้างห้องลูกเลื่อนและรองลำกล้อง ตรวจสลักแท่นเหล็กหยุด ลูกเลื่อนว่าหลวมคลอนหรือไม่ และตรวจโครงเหล็กยึดสายกระสุนว่า คดและหลวมคลอนหรือไม่

                  ๒) ตรวจความเรียบร้อยของพนังข้างห้องลูกเลื่อน พนังข้างห้องลูกเลื่อนต้องไม่แตกร้าวช่อง ระหว่างลูกเลื่อนและพนังทั้งสองของห้องลูกเลือนในขณะที่ลูกเลื่อนบิดท้ายรังเพลิงสมิทและขัดกลอนเรียบร้อย และจะต้องไม่เกิน ๐.๐๑๒ - ๐.๐๓๐ นิ้ว

                  ๓) ตรวจพนังขวาห้องลูกเลื่อน

                  ๔) ตรวจความเรียบร้อยของรางขอรั้งกระสุน แหนบรางขอรั้งกระสุน แป้นเกลียวยึดรางขอรั้ง กระสุน และการทำงานของรางขอรั้งกระสุน

                  ๕) ตรวจแท่นบังคับกลอนลูกเลื่อนว่าสึกหรอและเป็นรอยหรือไม่ แท่นบังคับกลอนลูกเลื่อนควรจะ สูงกว่าพื้นพนังใต้ห้องลูกเลื่อนระหว่าง ๐.๐๐๑ - ๐.๐๐๘ นิ้ว และถ้าหากวัดทางด้านหน้าของแท่นบังคับกลอน ลูกเลื่อน แท่นบังคับกลอนลูกเลื่อนอาจจะสูงกว่าพนังใต้ห้องลูกเลื่อนระหว่าง ๐.๐๐๑ - ๐.๐๑๒ นิ้ว นอกจากนั้น ให้ตรวจความสกปรกภายใต้แท่นลูกเลื่อน และแท่นบังคับกลอนลูกเลื่อนติดแน่นเรียบร้อยดีหรือไม่

                  ๖) ตรวจความเรียบร้อยของสะพานไก สะพานไกต้องไม่สึกหรอไม่คดงอหรือเป็นรอยเมื่อคุม เข้ากับปืนแล้วให้ตรวจเวลาลั่นไกด้วย ในขณะที่ลูกเลื่อนเคลื่อนที่ไปมาในขณะทำงานนั้น สะพานไกต้องไม่กด ลูกเลื่อนหนักมากไป

                  ๗) ตรวจเครื่องปรับสะพานไกต้องติดแน่นกับพนังห้องลูกเลื่อน แหนบบังคับแป้นปรับสะพานไก ต้องไม่อ่อน ล้า หรือแตกหัก

                  ๘) ตรวจเหล็กกันกระสุน และเหล็กแยกสายกระสุน เหล็กกันกระสุนและเหล็กแยกสายกระสุน ต้องติดตั้งถูกที่ ตรวจขอจัดกระสุน และแหนบกระเดื่องขอจัดกระสุน ต้องมีสภาพเรียบร้อย แหนบกระเดื่องขอจัด กระสุนมี ๑๑ ๑/๔ ขด ยาวอย่างน้อย ๔๓/๖๔ นิ้ว

                  ๙) ตรวจเหล็กยึดสายกระสุน เหล็กยึดสายกระสุนต้องไม่สึกหรอและต้องไม่มีสิ่งสกปรกตกอยู่ใน รูรับแหนบ แหนบเหล็กยึดสายกระสุนมี ๑๐ ขด และยาว ๓/๔ - ๑/๓๒ นิ้ว

                  ๑๐) ตรวจเดือยกันฝาปิดห้องลูกเลื่อนตก และแหนบเดือยกันฝาปิดห้องลูกเลื่อนตกแหนบฝาปิดห้อง ลูกเลื่อนตกมี ๘ ๑/๔ - ๙ ๑/๔ ขด ยาว ๑๓/๑๖ นิ้ว

                  ๑๑) ตรวจกลอนรองลำกล้องว่าคดงอสึกหรอหรือไม่ แหนบกลอนรองลำกล้องมี ๑๑ ๑/๔  ๑๒ ๓/๔ ขด และยาว ๒๕/๓๒ นิ้ว

                  ๑๒) ตรวจศูนย์หน้า ศูนย์หน้าต้องติดแน่นไม่หลวมคลอน เสร็จแล้วศูนย์หลัง ควงยึดแท่นศูนย์หลัง ต้องไม่หลวมคลอน ตรวจการทำงานควงมุมสูงและควงมุมทิศ ตรวจแหนบใบศูนย์หลังและการทำงานของเดือยยึด กล้องเล็ง

                  ๑๓) ตรวจรองลำกล้อง รองลำกล้องต้องติดแน่นอยู่กับแท่นรองลำกล้อง ไม่สึกหรอหรือหลวม คลอนเมื่อรวมลำกล้องเข้าไปแล้ว ลำกล้องต้องไม่เบียดกับรองลำกล้อง

                  ๑๔) ตรวจเลื่อนผลักปุ่มลูกเลื่อนว่าสึกหรอหรือไม่ ตรวจความเรียบร้อยของควงเกลียวต่าง ๆ ตรวจแหนบคันรั้งลูกเลื่อนและแหนบกระเดื่องบังคับเลื่อนผลักปุ่มลูกเลื่อน ตรวจแกนด้ามคันรั้งลูกเลื่อนและตรวจดู ว่าด้ามหิ้วลำกล้องแตกหรือไม่

              ค) วิธีตรวจความเรียบร้อยของฝาปิดห้องลูกเลื่อน

                  ๑) ตรวจความเรียบร้อยของกลอนฝาปิดห้องลูกเลื่อน ต้องไม่แตกร้าวเป็นรอยแหนบกลอนฝาปิด ห้องลูกเลื่อนต้องไม่อ่อนล้า หรือเป็นสนิมปุ่มยึดแหนบกลอนฝาปิดห้องลูกเลื่อนต้องไม่ชำรุดแหนบกดขอรั้งกระสุน ต้องไม่แตกหรือเป็นสนิม

                  ๒) ตรวจความเรียบร้อยของลาดบังคับขอรั้งกระสุนลาดบังคับขอรั้งกระสุนต้องไม่สึกหรอและ เป็นรอยขรุขระ นอกจากนั้นลาดขอรั้งกระสุนต้องติดแน่นกับฝาปิดห้องลูกเลื่อนต้องไม่หลวมคลอนตรวจ่ความ เรียบร้อยของร่องทางเดินของโครงเลื่อนสายกระสุน ร่องทางเดินโครงเลื่อนสายกระสุน ร่องทางเดินโครง เลื่อนสายกระสุนต้องไม่สึกหรอหรือเป็นรอยขรุขระและจุดที่กระเดื่องคันเลื่อนสายกระสุนสัมผัสกับฝาปิดห้อง ลูกเลื่อนต้องไม่สึกหรออีกเช่นเดียวกัน

                  ๓) ตรวจความเรียบร้อยของคันเลื่อนสายกระสุน คันเลื่อนสายกระสุนต้องไม่แตกร้าวหรือคดงอ เมื่อรวมเข้ากับฝาปิดห้องลูกเลื่อนแล้ว จะต้องหมุนรอบแกนคันเลื่อนสายกระสุนได้โดยสะดวก ตรวจกระเดื่องคัน เลื่อนสายกระสุนว่าหายหรือชำรุดหรือไม่ แหนบกระเดื่องคันเลื่อนสายกระสุนต้องไม่เป็นสนิมหรือตาย (ไม่ยืด หรือหดตัว) แหนบกระเดื่องคันเลื่อนสายกระสุนมี ๑๑-๑๒ ขดยาว ๑๑/๑๖ นิ้ว

                  ๔) ตรวจความเรียบร้อยของโครงเหล็กเลื่อนสายกระสุน โครงเหล็กเลื่อนสายกระสุนต้องไม่ สึกหรอ สลักเหล็กเลื่อนสายกระสุนต้องไม่โผล่ยื่นออกไปจากด้านข้างของโครงเหล็กเลื่อนสายกระสุน ตรวจสลัก เหล็กเลื่อนสายกระสุนว่าแตกหักหรือไม่ แหนบสลักเหล็กเลื่อนสายกระสุนต้องอยู่ครบไม่หักหรือหาย

                  ๕) ตรวจความเรียบร้อยของเหล็กเลื่อนสายกระสุน เหล็กเลื่อนสายกระสุนต้องไม่ชำรุดสึกหรอ แหนบเหล็กเลื่อนสายกระสุนไม่อ่อนล้า แหนบเหล็กเลื่อนสายกระสุนมี ๗ ๓/๔ - ๙ ๑/๔ ขดยาว ๑ ๑/๑๖ นิ้ว ตรวจเหล็กผลักกระสุนว่า จะคดงอหรือไม่

              ง) วิธีตรวจความเรียบร้อยของลูกเลื่อนและแหนบส่งลูกเลื่อน

                  ๑) ตรวจความเรียบร้อยของปุ่มลูกเลื่อน ปุ่มลูกเลื่อนต้องไม่สึกหรอ คดงอ หรือเป็นรอยขรุขระ ปลายด้านที่ฝังตัวลงไปในลูกเลื่อนต้องยาว .๕๘๕ นิ้ว

                  ๒) ตรวจความเรียบร้อยของแกนแหนบส่งลูกเลื่อน แกนแหนบส่งลูกเลื่อนต้องไม่เป็นสนิมคดงอ ขรุขระ สลักแกนแหนบส่งลูกเลื่อนต้องไม่ชำรุดหรือคดงอเช่นกัน ตรวจแหนบส่งลูกเลื่อนอันในแหนบส่งลูกเลื่อน อันในมี ๑๙๓- ๑๙๗ ขด ยาว ๒๑ นิ้ว แหนบส่งลูกเลื่อนอันนอกมี ๑๔๖ - ๑๔๒ ขด ยาว ๒๑ นิ้ว

                  ๓) ตรวจร่องทางเดินของปุ่มคันเลื่อนสายกระสุนบนลูกเลื่อน และร่องทางเดินของปุ่มคันเลื่อน สายกระสุน บนแผ่นเปลี่ยนทางป้อน ว่าชำรุดและเป็นรอยขรุขระหรือไม่

                  ๔) ตรวจขอรั้งกระสุนและเหล็กคัดปลอกกระสุนว่าสึกหรอชำรุด และบุบสลายหรือไม่ สลักเหล็ก คัดปลอกกระสุนต้องย้ำติดแน่นไม่หลวมคลอนแหนบเหล็กคัดปลอกกระสุนต้องไม่อ่อนล้าแหนบเหล็กคัดปลอก กระสุนมี ๖ - ๗ ขด ยาว ๑๑ / ๓๒ นิ้ว

                  ๕) ตรวจความเรียบร้อยของคันขึ้นนก คันขึ้นนกต้องไม่ชำรุดผิดรูป และสลักคันขึ้นนกไม่หลวม คลอนโดยเฉพาะอย่างยิ่งปลายด้านข้างที่งัดกับหลอดต่อท้ายเข็มแทงชนวนต้องไม่สึก

                  ๖) ตรวจแผ่นบังคับกระเดื่องไก แผ่นบังคับกระเดื่องไกต้องไม่ชำรุด และหลวมคลอน

                  ๗) ตรวจความเรียบร้อยของแผ่นยึดกระเดื่องไก แผ่นยึดกระเดื่องไกต้องมีขนาดพอดีกับห้อง ท้ายลูกเลื่อน ไม่หลวมคลอนจนเกินไปนอกจากนั้นแผ่นยึดกระเดื่องไกต้องไม่ชำรุด คดงอหรือสึก

                  ๘) ตรวจความเรียบร้อยของกระเดื่องไก กระเดื่องไกต้องไม่คดหรือสึกหรอเป็นรอยขรุขระ และสามารถเคลื่อนที่ไปมาในลูกเลื่อนได้โดยสะดวก แหนบเข็มแทงชนวนต้องไม่เป็นสนิมหรือตายตัว (ไม่ยืดและ ไม่หด) แหนบเข็มแทงชนวนมี ๓๕ - ๓๙ ขด ยาว ๑ ๕/๓๒ นิ้ว

                  ๙) ตรวจความเรียบร้อยของเข็มแทงชนวน เมื่อรวมเข็มแทงชนวนเข้ากับหลอดต่อท้ายเข็มแทง ชนวนแล้วจะต้องเคลื่อนที่ไปมาภายในลูกเลื่อนได้โดยสะดวกเข็มแทงชนวนต้องไม่สึกหรอหรือคดงอในเมื่อเข็ม แทงชนวนเคลื่อนที่ไปข้างหน้าจนสุดอยู่ในท่าลั่นไกนั้นปลายเข็มแทงชนวนจะต้องโผล่ออกไปจากหน้าห้อง ลูกเลื่อนระหว่าง ๐.๐๗๔ - ๐.๐๗๙ นิ้ว

                  ๑๐) ตรวจรูเข็มแทงชนวนรูเข็มแทงชนวนที่หน้าห้องลูกเลื่อนต้องไม่เกิน ๐.๐๘๔ นิ้ว วิธีวัดความ กว้างของรูเข็มแทงชนวนให้ใช้แบบวัดรูเข็มแทงชนวน ถ้าหากแบบวัดเข้ารูเข็มแทงชนวนได้นับว่ารูเข็มแทง ชนวนกว้างเกินไป ต้องเปลี่ยนแหวนรองรูเข็มแทงชนวนใหม่

                  ๑๑) ตรวจร่องหน้าลูกเลื่อนว่าสึกหรือบิ่น และเป็นรอยหรือเปล่า ปุ่มขอรั้งกระสุนต้องไม่ชำรุด ตอนท้ายของรูรับแหนบส่งลูกเลื่อนต้องลาดประมาณ ๖๐ องศา

              จ) วิธีตรวจความเรียบร้อยของเรือนเครื่องผ่อนแรงสะท้อนถอยหลังและเครื่องผ่อนแรงสะท้อน ถอยหลัง

                  ๑) ตรวจความเรียบร้อยของแหนบยึดเรือนเครื่องผ่อนแรงสะท้อนถอยหลัง แหนบยึดเรือนเครื่องผ่อนแรงสะท้อนถอยหลังต้องไม่อ่อนล้า ชำรุด และยึดติดแน่นอยู่กับเรือนเครื่องผ่อนแรงสะท้อนถอยหลัง

                  ๒) ตรวจความเรียบร้อยของแหนบยึดเครื่องผ่อนแรงสะท้อนถอยหลัง แหนบเรือนเครื่องผ่อน แรงสะท้อนถอยหลังต้องไม่สึก บุบ หรืออ่อนล้า ปุ่มยึดเครื่องผ่อนแรงสะท้อนถอยหลังไม่สึกตัวแหนบยึดเครื่อง ผ่อนแรงสะท้อนถอยหลังต้องติดแน่นอยู่กับเรือนเครื่องผ่อนแรงสะท้อนถอยหลัง

                  ๓) เหล็กปลดกลอนลูกเลื่อนต้องไม่สึกหรือคดผิดรูปและติดแน่นอยู่กับเรือนเครื่องผ่อนแรง สะท้อนถอยหลัง

                  ๔) ตรวจบานพับหัวเรือนเครื่องผ่อนแรงสะท้อนถอยหลัง ปลายของบานพับหัวโครงเครื่องผ่อน แรงสะท้อนถอยหลังต้องไม่สึก หรือบิ่น สลักบานพับหัวโครงเครื่องผ่อนแรงสะท้อนถอยหลัง ต้องไม่เป็นสนิมหรือ เป็นรอยขรุขระแหนบสลักบานพับหัวโครงเครื่องผ่อนแรงสะท้อนถอยหลังต้องไม่หลุดหายหรือหัก

                  ๕) ตรวจแหนบส่งลำกล้องกลับเข้าที่ ลิ่มแหวนแหนบส่งลำกล้องกลับเข้าที่ต้องไม่สึกหรอบิ่น หรือหักแหนบส่งลำกล้องกลับเข้าที่ต้องไม่อ่อนล้า หรือตายตัว แหนบส่งลำกล้องกลับเข้าที่ มี ๑๒ ๑/๔ - ๑๓ ๓/๔ ขดยาว ๕ ๑/๒ นิ้ว

                  ๖) ตรวจความเรียบร้อยของหัวก้านสูบหัวก้านสูบ ณ บริเวณที่สัมผัสกับเดือยโครงต่อท้าย ลำกล้องไม่สึก ก้านสูบต้องไม่คดงอและสามารถเคลื่อนที่ได้สะดวก

              ฉ) วิธีตรวจความเรียบร้อยของเหล็กปิดท้ายห้องลูกเลื่อน

                  ๑) เหล็กปิดท้ายห้องลูกเลื่อนต้องฝังตัวอยู่ในร่องของพนังทั้งสองของห้องลูกเลื่อนโดยสนิทแน่น ไม่หลวมคลอน สันของเหล็กปิดท้ายห้องลูกเลื่อนที่สวมลงไปในร่องของพนังซ้ายและพนังขวาห้องลูกเลื่อนต้องไม่ สึกหรือเป็นรอยขรุขระ

                  ๒) แท่นรับแรงกระแทก จะต้องเคลื่อนที่ไม่ติดตายอยู่ในหลอดเครื่องรับแรงกระแทกแท่นรับ แรงกระแทกจะต้องโผล่ยื่นออกมาจากแผ่นปิดท้ายห้องลูกเลื่อนประมาณ ๓/๑๖ นิ้ว

                  ๓) เกลียวของควงปรับเครื่องรับแรงกระแทกจะต้องไม่สึกจนหลวมคลอนกระเดื่องจุกปิดท้าย เครื่องรับแรง ต้องไม่ชำรุดหรือเสียหาย แหนบกระเดื่องควงปรับแท่นเครื่องรับแรงมี ๑๐ ๑/๔ - ๑๑ ๓/๔ ขด ยาว ๕/๘ นิ้ว

                  ๔) ตรวจจานผ่อนแรงกระแทก จานแผ่นแรงกระแทกต้องอยู่ในสภาพเรียบร้อยไม่แตกร้าวแผ่น ผ่อนแรงกระแทกมี ๒๓ แผ่น เมื่อคุมควงปรับเครื่องรับแรงกระแทกเข้าที่แล้ว ควงปรับเครื่องรับแรงกระแทก จะโผล่ออกมาจากท้ายหลอดเครื่องรับแรงกระแทกได้ไม่เกิน ๑/๑๖ นิ้ว

                  ๕) กลอนเหล็กปิดท้ายห้องลูกเลื่อนและแผ่นบังคับกลอนเห็กปิดท้ายห้องลูกเลื่อนต้องทำงานได้ เรียบร้อยไม่สึกหรอ สลักผ่ายึดแกนแผ่นบังคับกลอนเหล็กปิดท้ายห้องลูกเลื่อนต้องไม่หักหรือหายแหนบกลอนเหล็ก ปิดท้ายห้องลูกเลื่อนต้องไม่เป็นสนิมและอ่อนล้า แหนบกลอนเหล็กปิดท้ายลูกเลื่อนมี ๑๑ ๑/๔ - ๑๒  ๓/๔  ขด ยาว ๑๓/๓๒ นิ้ว

                  ๖) ไกต้องไม่สึกหรือบุบเป็นรอย เมื่อรวมแล้วต้องทำงานได้สะดวก ไม่ขัดตัว แหนบไกต้องไม่ เป็นสนิมหรืออ่อนล้า แหนบไกมี ๘ ๑/๔ ขด ยาว ๒๗/๓๒ นิ้ว

                  ๗) ตรวจคันบังคับการยิงว่าชำรุดหรือไม่ ปลอกเก็บคันบังกับการยิงต้องทำงานได้เรียบร้อยและ ติดแน่นอยู่กับหลอดเครื่องรับแรงกระแทก

                  ๘) ตรวจด้ามปืน และโครงด้ามปืน ด้ามปืนต้องไม่แตกร้าวโครงด้ามปืนต้องติดแน่นอยู่กับเหล็ก ปิดท้ายห้องลูกเลื่อน