การทำงานของเครื่องลั่นไก

ตอนที่ ๔ การทำงานของเครื่องลั่นไก


ก. การปลดกลอน ทำโดยกดกลอนยึดลำกล้องแล้วค่อย ๆ เลื่อนลำกล้องไปข้างหน้า

ข. การขึ้นนก

๑. อาวุธนี้การขึ้นนกลำกล้องจะอยู่ในลักษณะเปิด

๒. เมื่อกดกลอนยึดลำกล้อง เลื่อนลำกล้องออกไปข้างหน้า จะเกิดการปลดกลอน

๓. ในขณะที่เลื่อนลำกล้องออกไปเรื่อย ๆ นั้น จะทำให้คันขึ้นนกเคลื่อนไปข้างหน้า และถูกบังคับให้ต่ำ ลง จะเป็นผลทำให้แหนบเข็มแทงชนวนผลักเข็มแทงชนวนไปข้างหลัง

๔. เมื่อลำกล้องเคลื่อนที่ออกไปข้างหน้าเรื่อย ๆ แหนบบรรจุกระสุนจะขยายตัวตามออกไปด้วย ทำให้ส่วนท้ายของลำกล้องหลุดจากการขัดกันกับคันขึ้นนก แหนบบรรจุกระสุนจะยึดให้คันขึ้นนกอยู่ในตำแหน่งนอน

๕. เมื่อเลื่อนลำกล้องถอยกลับมาข้างหลัง แหนบบรรจุกระสุนจะถอยมาข้างหลังด้วย คันขึ้นนกจะเกี่ยว เข้ากับส่วนท้ายของลำกล้อง ทำให้เข็มแทงชนวนค่อย ๆ เคลื่อนไปข้างหน้า และไปขัดกับกระเดื่องไก และจะ อยู่ในท่าขึ้นนก

ค. การรั้งปลอกกระสุน

๑. การถอนปลอกกระสุนและการขึ้นนกจะเกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน

๒. ในขณะที่ลำกล้องได้เปิดขึ้น แหนบบรรจุกระสุนก็จะถอนปลอกกระสุนที่ยิงแล้วมาติดกับเครื่องรับแรง ถอย จนกระทั่งลำกล้องเลื่อนไปข้างหน้าจนปลอกกระสุนเป็นอิสระ

ง. การคัดปลอกกระสุน จะเริ่มต่อเมื่อลำกล้องได้เลื่อนไปข้างหน้าจนได้ระยะที่ปลอกกระสุนจะหลุดออกแหนบ บรรจุก็จะดันปลอกกระสุนหรือกระสุนที่บรรจุอยู่แล้วยังไม่ได้ยิงออกจากเครื่องรับแรงถอย

จ. การบรรจุ เมื่อลำกล้องเคลื่อนที่ไปข้างหน้าจนสุดแล้ว ก็บรรจุกระสุนเข้าไปในช่องว่างตอนท้ายของลำ กล้อง

ฉ. การเข้าสู่รังเพลิง

๑. การทำงานในรังเพลิงจะเกิดขึ้นเมื่อลำกล้องปิดเรียบร้อยแล้ว

๒. เมื่อตอนท้ายลำกล้องตรงช่องบรรจุปิดแล้ว เหล็กยึดลำกล้องก็จะยึดลำกล้องไว้ คันขึ้นนกก็จะขัดกับ ส่วนท้ายของลำกล้องจนลำกล้องไม่สามารถเคลื่อนที่ได้

ช. การขัดกลอน จะเกิดขึ้นเมื่อพลประจำปืนเลื่อนลำกล้องมาข้างหลังจนกระทั่งเหล็กยึดลำกล้องได้ยึด ลำกล้องไว้ และลำกล้องได้ขัดกลอนกับเครื่องรับแรงถอย

ซ. การยิง เมื่อเหนี่ยวไกมาข้างหลัง กระเดื่องไกจะหลุดจากการขัดกับฐานของเข็มแทงชนวน เข็มแทงชนวน จะวิ่งไปข้างหน้าด้วยแรงขยายของแหนบเข็มแทงชนวน และจะไปกระทบเข้ากับจอกกระทบแตกที่จานท้ายปลอกกระสุน

-----------------------------