ตอนที่ 2

๓.๗ ถอดคันลาดบังคับลูกระเบิดยิงให้เลื่อนลงในแนวดิ่ง (Vertical Cam Assembly)

- สอดมือเข้าใต้ส่วนบนของห้องลูกเลื่อนเพื่อคลำหา กลอนยึดคานส่าย (1) (ซึ่งอยู่ที่ชุดคันลาดบังคับ ลูกระเบิดยิงให้เลื่อนลงในแนวดิ่ง) เลื่อนกลอนยึดคานส่ายไปทางข้างหลัง ( ประมาณ ๑/๔ นิ้ว )

- กดแกนหมุน (2) ของคานส่ายชุดเลื่อนลูกระเบิดยิงตัวที่หนึ่ง ซึ่งจะเป็นการปลดคานส่ายชุดเลื่อน

ลูกระเบิดยิงตัวที่หนึ่งและชุดคันลาดบังคับลูกระเบิดยิงให้เลื่อนลงในแนวดิ่ง ให้แยกออกจากกัน

- ดึงคานส่ายชุดเลื่อนลูกระเบิดยิง และชุดคันลาดบังคับลูกระเบิดยิงให้เลื่อนลงในแนวดิ่ง (ออกทางไหนก็ได้) (3)

๓.๘ ถอดชุดแผ่นนำลูกระเบิดยิง (Alignment Guide Assembly)

- เลื่อนชุดแผ่นนำนำลูกระเบิดยิง (2) ไปทางช่องทางป้อนลูกระเบิดยิงดึงชุดแผ่นนำลูกระเบิดยิงมาทางข้างหลัง และยกออก

๓.๙ ถอดชุดหยุ่นรับหัวลูกระเบิดยิง (Ogive Plunger)

- จะต้องถอดชุดแผ่นนำลูกระเบิดยิงออกเสียก่อน

- ดึงชุดหยุ่นรับหัวลูกระเบิดยิงออกตรง ๆ



๓.๑๐ ถอดแท่นกั้นลูกระเบิดยิง (Round Positioning block)

- ถอดชุดแผ่นนำลูกระเบิดยิงออกเสียก่อน

- เลื่อนแท่นกั้นลูกระเบิดยิงเข้าหาปลายปากลำกล้อง

- ดึงแท่นกั้นลูกระเบิดยิงออกจากผนังโครงปืน

๓.๑๑ ถอดชุดคันรั้งลูกเลื่อนทั้งสองข้าง (Charger Assembly)

- หมุนคันรั้งลูกเลื่อนขึ้นบน

- เกี่ยวขอบปลอกลูกระเบิดยิงที่ใช้เข้ากับด้านใต้แผ่นแหนบยึดกลอน (Lock Plunger) (1)

- ดึงแผ่นแหนบยึดกลอนเพื่อปลดออกและเลื่อน

- ดึงแผ่นแหนบยึดกลอนเพื่อปลดออก และเลื่อน

ชุดคันรั้งลูกเลื่อน (2) มาข้างหลังจนสุด

- ดึงชุดคันรั้งลูกเลื่อนออกจากห้องลูกเลื่อน

๓.๑๒ ถอดชุดเรือนกระเดื่องไก (Sear Housing Assembly)

- กลับโครงปืนให้ด้านล่างขึ้น เลื่อนคันบังคับการยิงไปที่ตำแหน่งยิง F

- ยกสลักยึดขึ้นเล็กน้อยโดยใช้ข้อต่อสายลูกระเบิดยิง

- บีบโครงกระเดื่องไก (อยู่ใต้ห้ามไก) และห้ามไกเข้าด้วยกัน หมุนชุดเรือนกระเดื่องไก ๙๐ องศา ทางใดทางหนึ่งก็ได้ ( ดูหมายเหตุ ) - กดด้านบนของกระเดื่องไกให้ยุบตัวลง ในขณะเดียวกันให้เลื่อนคันบังคับการยิงไปที่ห้ามไก (S) ทำให้กระเดื่องไกถูกขัดตัวอยู่ข้างล่าง

- ยกชุดเรือนกระเดื่องไกออก

หมายเหตุ: กดห้ามไกค้างไว้ขณะหมุนชุดเรือนกระเดื่องไก เพราะจะทำให้ถอดง่ายขึ้น

๔. การประกอบปืน

๔.๑ ประกอบชุดเรือนกระเดื่องไก ( Sear Housing Assembly )

- เลื่อนคันบังคับการยิงไปที่ตำแหน่งยิง F บีบกระเดื่องไก

และห้ามไกไว้ด้วยกัน (1) ขณะทำการประกอบชุดเรือนกระเดื่องไก

- จัดแนวชุดเรือนกระเดื่องไกไว้ในตำแหน่งตั้งฉากกับเส้น

ศูนย์กลางของลำกล้อง (2)

- บิดชุดเรือนกระเดื่องไก ๙๐ องศา กระทั่งยึดเข้าที่ (3)

หมายเหตุ : กดห้ามไกค้างไว้ขณะทำการหมุนเรือนกระเดื่องไกจนกระทั่งชุดเรือนกระเดื่องไกเข้าที่

๔.๒ ประกอบชุดคันรั้งลูกเลื่อน ( Charger Assembly )

- หมุนด้ามคันรั้งลูกเลื่อนให้ตั้งตรง (1)

- ปรับสันของคันรั้งลูกเลื่อนให้ตรงกับร่องของรางบนโครงปืนแล้วสอดสันคันรั้งลูกเลื่อนให้เข้าไป ในร่อง (2)

- จับคันรั้งเข้ากับรางให้แน่นแล้วเลื่อนคันรั้งไปข้างหน้าจนกระทั่งขัดกลอนในที่ของมัน (3)

๔.๓ ประกอบแท่นกั้นลูกระเบิดยิงให้อยู่ในตำแหน่ง

( Round Positioning Block )

- สอดแท่นกั้นลูกระเบิดยิงเข้าไปในร่อง

โดยให้ปลายแหลมอยู่ด้านหน้า

- ดันแท่นกั้นลูกระเบิดยิงให้เลื่อนไปทางข้างหลัง

จนกระทั่งแท่นกั้นลูกระเบิดยิงขัดตัวในที่ของมัน

๔.๔ ประกอบชุดหยุ่นรับหัวลูกระเบิดยิง ( Ogive Plunger Assembly )

- สอดชุดหยุ่นรับหัวลูกระเบิดยิง ดังแสดงในรูป

๔.๕ ใส่ชุดแผ่นนำลูกระเบิดยิงให้ได้แนว (Alignment Guide Assembly)

- จัดชุดแผ่นนำลูกระเบิดยิงให้ตรงตำแหน่ง เพื่อให้สลักอยู่ในแนวร่องในผนังถาดป้อนลูกระเบิดยิง(1)

- กดแผ่นแหนบ(2)ขณะที่กำลังเลื่อนชุดแผ่นนำลูกระเบิดยิงเข้าไปในถาดป้อนลูกระเบิดยิงจนกระทั่งมีเสียงดัง “ คลิ๊ก ”

๔.๖ประกอบชุดคันลาดบังคับลูกระเบิดยิงให้เลื่อนลงในแนวดิ่ง (Vertical cam assembly )

- สอดคันลาดบังคับลูกระเบิดยิงให้เลื่อนลงในแนวดิ่งไปทางด้านท้ายโครงปืน (ส่วนห้องลูกเลื่อน) โดยส่วนที่ยกตัวขึ้นมาต้องเลื่อนจัดให้บากตรงกันกับช่องบนโครงปืน (1) และแผ่นกลอนยึดคันลาดบังคับลูกระเบิดยิงจะต้องอยู่ข้างใต้

- จัดให้ช่องบากตอนปลายคันลาดบังคับลูกระเบิดยิงขัดเข้ากับร่องยึด ( 2 )

- จับคันลาดบังคับ ลย.ไว้ในที่ขณะสอดคานส่ายชุดเลื่อนลูกระเบิดยิงตัวที่หนึ่ง (ดูหัวข้อ ๔.๗)

๔.๗ ประกอบคานส่ายชุดเลื่อนลูกระเบิดยิง ตัวที่หนึ่ง (Primary Drive Lever) ต้องกระทำขณะกำลังจับคันลาดบังคับลูกระเบิดยิง ให้เลื่อนลงในแนวดิ่ง

- สอดคานส่ายชุดเลื่อนลูกระเบิดยิง ตัวที่หนึ่ง เข้าไปในโครงปืน ( 3 )

- จัดให้แกนหมุน ( Pivot Post ) ของคานส่ายลูกระเบิดยิง ตรงกับช่องบนโครงปืนและคันลาดบังคับลูกระเบิดยิง ( 4 )

- เลื่อนคานส่ายชุดเลื่อนลูกระเบิดยิงให้ลงในร่องข้างหน้า ( คันลาดบังคับลูกระเบิดยิงอยู่ในแนวดิ่งและอยู่ข้างใต้ด้านบนของโครงปืน ๔.๘ ประกอบถาดป้อนลูกระเบิดยิงและชุดเลื่อนลูกระเบิดยิง (Feed Tray and Feed slide Assembly)

- วางถาดชุดเลื่อนลูกระเบิดยิงลงไปบนถาดป้อนลูกระเบิดยิง โดยพลิกด้านล่างขึ้นและให้ช่องบากของถาดป้อนลูกระเบิดยิงตรงกันกับแง่บากบนโครงปืน ( 1 )

- จัดวางชุดเลื่อนลูกระเบิดยิงให้ตรงตำแหน่ง เพื่อให้สันแนวตรงกับร่องรางบนถาดป้อน ลย. ( 2 )

- สอดสันแนวเข้าไปในร่องราง แล้ววางชุดเลื่อนลูกระเบิดยิงลงบนถาดป้อนลูกระเบิดยิง

๔.๙ ประกอบชุดฝาครอบห้องลูกเลื่อน ( Top Cover Assembly )

ข้อควรระวัง

เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงการทำให้สลักยึดฝาครอบห้องลูกเลื่อน (4) หักจงแน่ใจว่าได้สอดสลักดังกล่าวเข้าไป

จนสุดในห้องลูกเลื่อนก่อนที่จะปิดฝาครอบห้องลูกเลื่อน

- ถาดชุดเลื่อนลูกระเบิดยิงจะต้องอยู่ในที่ของมัน (ดูข้อ ๔.๘)

- จัดแนวรูใส่สลักถาดชุดป้อนลูกระเบิดยิง ตรงกับรูใส่สลักฝาครอบห้องลูกเลื่อนและรูใส่สลักบนโครงปืน (1)

- จับฝาครอบห้องลูกเลื่อนให้ตั้งขึ้น (2) แล้วสอดสลักฝาครอบห้องลูกเลื่อน (3) ทั้งสองข้าง จงแน่ใจว่าได้สอดสลักยึดฝาครอบห้องลูกเลื่อน (4) เข้าไปในโครงปืนจนสุด

- ปิดฝาครอบห้องลูกเลื่อนลง และจงแน่ใจว่าสลักทั้งสองไม่ขัดตัวกับฝาครอบห้องลูกเลื่อน

( ชุดเลื่อนลูกระเบิดยิง ( Feed Slide Assembly ) ไม่แสดงไว้ในภาพนี้ เพื่อให้ดูชัดเจนยิ่งขึ้น )

๔.๑๐ การใส่คานส่ายชุดเลื่อนลูกระเบิดยิง ตัวที่สอง ( Secondary Drive Lever )

คำเตือน

หากคานส่ายชุดเลื่อนลูกระเบิดยิง ตัวที่สอง (Secondary Drive Lever) ไม่ประกอบเข้าที่อย่างเหมาะสมกับสลักแกนชุดเลื่อนลูกระเบิดยิงแล้วปืนจะไม่ลั่นและอาจก่อให้เกิดอันตรายได้

- ยกชุดเลื่อนลูกระเบิดยิง และถาด ( Feed Slide and Tray ) (1) ขึ้น

- ประกอบคานส่ายชุดเลื่อนลูกระเบิดยิง ตัวที่สองเข้ากับชุดเลื่อนลูกระเบิดยิงโดยให้ปลายคานสายเกี่ยวเข้ากับสลักแกนชุดเลื่อนลูกระเบิดยิง (2)

- กดแกนหมุน (Pivot Post) ที่โผล่ออกมาให้ผ่านรูบนฝาครอบห้องลูกเลื่อน (3)

- กดถาดเข้ากับฝาครอบห้องลูกเลื่อนไว้ให้แน่น

๔.๑๑ การใส่ชุดลูกเลื่อนและชุดแผ่นปิดท้ายปืน Bolt and Back Plate Assembly)

ข้อควรระวัง

ก่อนที่จะสอดชุดฝาปิดท้ายปืน ให้ดันคันขึ้นนกไปในตำแหน่งข้างหน้าก่อน

- จงแน่ใจว่าคันขึ้นนก (1)อยู่ในตำแหน่งขึ้นนกและอยู่ข้างหน้า

- เลื่อนคันบังคับการยิงไปที่ตำแหน่ง F สอดลูกเลื่อนและชุดฝาปิดท้ายปืนข้าไปในห้องลูกเลื่อน เมื่อมันหยุดอยู่กับที่ ให้กดโครงกระเดื่องไก (2) แล้วเลื่อนลูกเลื่อนกับชุดแผ่นปิดท้ายปืนไปข้างหน้าจนสุดระยะ ( ระวัง นิ้วหัวแม่มือ )

- สอดสลักยึดฝาปิดท้าย (3)เพื่อที่จะยึดชุดแผ่นปิดท้ายให้อยู่กับที่

๕. การตรวจสอบหลังการประกอบปืน

ท่านได้ประกอบปืนของท่านกลับเข้าที่ได้อย่างถูกต้องหรือไม่ ถ้าไม่แน่ใจให้ตรวจดูก่อนที่จะเกิดความ ผิดพลาด ก่อนปิดฝาครอบห้องลูกเลื่อน ดังนี้.

๕.๑ คานส่ายชุดเลื่อนลูกระเบิดยิง ตัวที่สอง(1) เกี่ยวเข้ากับแกนสลักชุดเลื่อนลูกระเบิดยิงหรือไม่

๕.๒ ชุดเลื่อนลูกระเบิดยิง (2)อยู่ด้านซ้ายสุดหรือไม่

๕.๓ ลูกเลื่อน (3) อยู่ทางข้างหน้าหรือไม่ และคันรั้งลูกเลื่อนตั้งขึ้นอยู่ด้านบนหรือไม่ ถ้าทุกอย่าง เรียบร้อยดี จึงค่อย ๆ ปิดฝาครอบห้องลูกเลื่อนลงจากนั้นให้

- ดึงคันรั้งลูกเลื่อนมาข้างหลัง

- ทดสอบคันบังคับการยิงในตำแหน่งห้ามไกและตำแหน่ง F

- ตรวจเข็มแทงชนวนเมื่อลูกเลื่อนอยู่ในตำแหน่งไปข้างหน้า

- เลื่อนคันบังคับการยิงไปที่ห้ามไก S

- ให้แน่ใจว่าชุดเลื่อนลูกระเบิดยิงอยู่ทางด้านซ้ายมือ แล้วปิดฝาครอบห้องลูกเลื่อนลง

๖. การทำความสะอาด การตรวจ และการหล่อลื่น

๖.๑ กระทำหลังการยิงเสมอ

๖.๒ ถ้านำปืนออกมาใช้งานแต่ไม่ได้ยิง ให้ทำความสะอาดเป็นประจำทุกครั้งหลังใช้งาน

๖.๓ ถ้าเก็บไว้ในคลัง จะต้องทำความสะอาดเป็นประจำทุกสัปดาห์

- ทำความสะอาดเครื่องมือต่าง ๆ ให้ละเอียดถี่ถ้วน

- ตรวจหา ข้อขัดข้อง รายงานการสึกหรอ การชำรุด ชิ้นส่วนเสียหาย หรือชิ้นส่วนหลุดหาย ให้ช่างซ่อมสรรพาวุธทราบ

- ทำการหล่อลื่นปืนและอุปกรณ์ประกอบปืนด้วยน้ำมันทำความสะอาดสารกึ่งของเหลวหรือ LSAT ตามคำแนะนำในบทนี้ สำหรับเขตหนาวจัด ที่อุณหภูมิต่ำกว่า ศูนย์ องศาให้ใช้ LAW

๗. การหล่อลื่น

๗.๑ อย่าลืมว่าต้องรักษาปืนให้สะอาดและหล่อลื่นเสมอ

๗.๒ เลือกใช้น้ำมันหล่อลื่นให้เหมะสมกับอุณหภูมิ

ข้อแนะนำการทำความสะอาดและการหล่อลื่น

- เช็ดหรือปัดสิ่งสกปรกหรือคราบต่าง ๆ ออกให้หมด

- มีน้ำยาซักแห้ง P – D 680 อยู่หรือไม่ ถ้ามีให้นำมาล้างชิ้นส่วนต่าง ๆ ให้สะอาด ( ดูข้อควร

ระวังสำหรับชุดลูกเลื่อน) แล้วเช็ดชิ้นส่วนต่าง ๆ ให้แห้ง

- จากนั้น ให้ทำการหล่อลื่นชิ้นส่วนแต่ละชิ้น และเอาใจใส่ต่อจุดที่ทำความสะอาดยากเป็นพิเศษ

- ใช้น้ำมันชะโลมให้ทั่ว โดยการพลิกชิ้นส่วนไปมา

การหล่อลื่นอย่างหนา ใช้ไขข้นให้มากพอที่จะละเลงด้วยนิ้วมือได้ การหล่อลื่นบาง ๆ ใช้น้ำมันชะโลมบาง ๆ ไว้แทบจะมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า

๘. การทำความสะอาด การตรวจ และการหล่อลื่นโครงปืน (Receiver Assembly)

๘.๑ การทำความสะอาด

- เช็ดหรือปัดฝุ่นออกจากส่วนต่างๆ ให้หมด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโครงปืน (1) ร่องรางโครงปืน (2) และถาดป้อนลูกระเบิดยิง (3) หยดน้ำยาทำความสะอาด (ถ้ามี)ใส่ผ้าหรือแปรงทำความสะอาด

- เช็ดถูลำกล้องและรังเพลิงโดยการใช้แส้ชำระลำกล้องและน้ำยาทำความสะอาด (RBC)

- เช็ดชิ้นส่วนต่าง ๆ ให้แห้ง

๘.๒ การตรวจ (ดูภาพหน้า ๓๘ ล่าง)

- ตรวจโครงปืน (1) ว่าแตกร้าว (แม้เป็นแค่รอยขีดข่วน) และมีสนิมหรือไม่

- ตรวจร่องรางในโครงปืน (2) ว่าสกปรกหรือไม่

- ตรวจลำกล้อง (4) มีรอยบุบหรือแตกร้าวหรือไม่

- ปลอกบังแสง (5) มีรอยบุบหรือแตกร้าวหรือไม่

๘.๓ การหล่อลื่น

- ลูบไล้ส่วนประกอบต่าง ๆ ด้วยน้ำมันบาง ๆ ควรทำเป็นพิเศษในพื้นที่ เช่น ร่องรางในโครงปืน (2) และถาดป้อนลูกระเบิด (3) ลูบไล้น้ำมันเล็กน้อยที่ขอเลื่อนลูกระเบิดยิง (ขยับขอเลื่อนไปมาหลาย ๆ ครั้งเพื่อให้น้ำมันกระจายทั่วพื้นที่)

๙. การทำความสะอาด การตรวจ และการหล่อลื่นชุดโครงกระเดื่องไก (Sear Housing Assembly)

ข้อควรระวัง

อย่านำชุดโครงกระเดื่องไกจุ่มลงไปในน้ำยาล้างปืน เพราะน้ำยาล้างปืนจะไปละลายน้ำมันที่อยู่ในตัวรับ แรงถอยชุดกระเดื่องไก (Sear Buffer)

๙.๑ การทำความสะอาด

- เช็ดหรือปัดสิ่งสกปรกออกให้หมด ใช้แปรงหรือผ้าทำความสะอาดเท่านั้น ชุบน้ำยาทำความสะอาด จากนั้นทำความสะอาดแล้วเช็ดให้แห้ง

๙.๒ การตรวจ

- มีสิ่งสกปรกติดอยู่บนชิ้นส่วนต่าง ๆ หรือไม่ โดยเฉพาะที่แง่ท้ายกระเดื่องไก (1)

๙.๓ การหล่อลื่น

- ชะโลมน้ำมันบาง ๆ บนกระเดื่องไก (1) และส่วนอื่น ๆ ด้วย

๑๐. การทำความสะอาดการตรวจและการหล่อลื่นชุดแผ่นนำลูกระเบิดยิง (Alignment Guide Assembly)

๑๐.๑ การทำความสะอาด

- เช็ดหรือปัดสิ่งสกปรกออกให้หมด จุ่มชุดแผ่นนำลูกระเบิดยิง ลงในน้ำยาทำความสะอาดให้ชุ่ม แล้วเช็ดให้แห้ง

๑๐.๒ การตรวจ

- ดูแหนบชุดแผ่นนำลูกระเบิดยิง (1) ว่าผิดรูปและหักหรือไม่

- มีรอยแตกรอบแกนสลักหรือไม่ (2)

- แกนสลัก (2) หลวมหรือไม่ ถ้าหลวมคลอนให้รายงานช่างซ่อมสรรพาวุธทราบ

๑๐.๓ การหล่อลื่น

- ชะโลมด้วยน้ำมันบาง ๆ

๑๑. การทำความสะอาด การตรวจ และการหล่อลื่นชุดหยุ่นรับหัวลูกระเบิดยิงและแท่นกั้นลูกระเบิดยิง (Ogive Plunger Assemble and Round Positioning Bock)

๑๑.๑ การทำความสะอาด

- เช็ดหรือปัดสิ่งสกปรกออกให้หมด

๑๑.๒ การตรวจ

- ชุดหยุ่นรับหัวลูกระเบิดยิง(1)เพื่อหาแรงหยุ่นของแหนบ(โดยกดหัวชุดหยุ่นเข้ากับพื้นเรียบแข็ง)

- แท่นกั้นลูกระเบิดยิง (2) เพื่อหาดูว่าแหนบอ่อนหรือไม่

๑๑.๓ การหล่อลื่น

-ให้ชะโลมน้ำมันบาง ๆ บริเวณพื้นที่พิเศษ เช่น แหนบในแท่นกั้นลูกระเบิดยิง (2)

๑๒. การทำความสะอาด การตรวจ และ การหล่อลื่นชุดคันรั้งลูกเลื่อน ( ด้านซ้าย- ขวา )

( Charger Assembly LH,RH )

๑๒.๑ การทำความสะอาด

- เช็ดหรือปัดสิ่งสกปรกออกให้หมดและชะโลมด้วยน้ำมันทำความสะอาด(ถ้ามี)แล้วเช็ดให้แห้ง

๑๒.๒ การตรวจ

- รอยบิ่นที่ขอบร่อง (1)

๑๒.๓ การหล่อลื่น

- ชะโลมน้ำมันบาง ๆ บริเวณพื้นที่พิเศษ เช่น ขอบร่องของรางเลื่อน (1)

๑๓. การทำความสะอาด การตรวจ และการหล่อลื่นคันลาดบังคับลูกระเบิดยิงให้เลื่อนลงในแนวดิ่งและ คานส่ายชุดเลื่อนลูกระเบิดยิง ตัวที่หนึ่ง (Vertical Cam Assembly & Primary Lever)

๑๓.๑ การทำความสะอาด

- จุ่มลงในน้ำมันทำความสะอาด (ถ้ามี) แล้วเช็ดให้แห้ง

๑๓.๒ การตรวจ

- คันลาดบังคับลูกระเบิดยิง ให้เลื่อนลงในแนวดิ่งว่ามีรอยบิ่น รอยขีดข่วน หรือคราบอลูมิเนียม จับตัวบนผิวเคลือบ (1) หรือไม่

- คานส่ายชุดเลื่อนลูกระเบิดยิงตัวที่หนึ่งว่ามีรอยบิ่นหรือไม่ เพ่งเล็งโดยเฉพาะแกนหมุน (2)

๑๓.๓ การหล่อลื่น

- ชะโลมน้ำมันบาง ๆ บริเวณพื้นที่พิเศษ เช่น แกนหมุนบนคานส่ายชุดป้อนลูกระเบิดยิง (2)

(ใช้น้ำมัน ๒-๓ หยด) และที่ขอบผิวเคลือบบนลาดบังคับลุกระเบิดยิง (1)

๑๔. การทำความสะอาด การตรวจ และการหล่อลื่นคานส่ายชุดเลื่อนลูกระเบิดยิง ตัวที่สอง (Secondary Drive Lever)

๑๔.๑ การทำความสะอาด

- เช็ดหรือปัดสิ่งสกปรกออกให้หมด นำไปจุ่ม

น้ำมันทำความสะอาด(ถ้ามี)แล้วเช็ดให้แห้ง

๑๔.๒ การตรวจ

- แหวนรอง (Retaining)(1) ยึดแน่นและไม่หลุด

หายไปจากแกนหมุน

- แกนหมุน (2) ไม่มีรอยบิ่น

- ตอนปลายคานส่าย (3) ไม่มีรอยบิ่น

๑๔.๓ การหล่อลื่น

- ชะโลมน้ำมันบาง ๆ บริเวณพื้นที่เฉพาะเช่น แกนหมุน (2) และที่ชุดเลื่อนลูกระเบิดยิง


๑๕. การทำความสะอาด การตรวจ และการหล่อลื่นชุดเลื่อนลูกระเบิดยิง (Feed Slide Assembly) และ ถาดป้อนลูกระเบิดยิง (Feed Tray)


๑๕.๑ การทำความสะอาด

- เช็ดหรือปัดสิ่งสกปรกออกให้หมด นำไปจุ่มน้ำมันทำความสะอาด(ถ้ามี)แล้วเช็ดให้แห้ง

๑๕.๒ การตรวจ

- ขอเลื่อนลูกระเบิดยิง (Feed Pawls) (1) หรือขอเลื่อนบนถาดป้อนลูกระเบิดยิง (Feed Tray Pawls) (2) จะต้องไม่มีรอยบิ่นหรือหลุดออกจากร่องขัด

- ร่องรางเลื่อนบนถาดชุดเลื่อนลูกระเบิดยิง (3) ไม่มีรอยบิ่น

๑๕.๓ การหล่อลื่น

- ชะโลมน้ำมันบาง ๆ บริเวณพื้นที่เฉพาะเช่น บนขอเลื่อนลูกระเบิดยิงแต่ละตัว (1) ขอเลื่อน บนถาดป้อนลูกระเบิดยิง (2) และร่องรางเลื่อนบนถาดชุดเลื่อนลูกระเบิดยิง (3)

๑๖.การทำความสะอาด การตรวจ และการหล่อลื่นชุดฝาครอบห้องลูกเลื่อน

๑๖.๑ การทำความสะอาด

- เช็ดหรือปัดสิ่งสกปรกออกให้หมด และ ชะโลมด้วยน้ำมันทำความสะอาด (ถ้ามี) แล้วเช็ดให้แห้ง

๑๖.๒ การตรวจ

- ตัวเรือนฝาครอบห้องลูกเลื่อน(1) แตกร้าวเป็นสนิมหรือไม่ กลอนยืด (2) หลวมคลอน หลุดจากแง่ขัดหรือไม่

๑๖.๓ การหล่อลื่น

- ชะโลมน้ำมันบางๆ บริเวณพื้นที่เฉพาะเช่น ที่กลอนยืด (2) ขยับกลอนไปมาเพื่อให้น้ำมันกระจายได้ทั่ว อย่าลืมชะโลมน้ำมันที่สลักแกนต่างๆ (3) และรูใส่สลักด้วย ทาไขข้นบางๆ ที่แผ่นรอง (4) ด้านในของฝาครอบห้องลูกเลื่อนและชุดแผ่นปิดท้ายห้องลูกเลื่อน

๑๗. การทำความสะอาด การตรวจ การหล่อลื่นชุดลูกเลื่อนและแผ่นปิดท้ายปืน (Bolt And Back Plate Assembly)

ข้อควรระวัง

ห้ามจุ่มชุดลูกเลื่อนลงในน้ำมันทำความสะอาดเพราะจะไปเจือจางไขมันที่บรรจุไว้ในลูกปืนต่างๆ

๑๗.๑ การทำความสะอาด

- ดูข้อควรระวังข้างบน เช็ดหรือปัดสิ่งสกปรกออกจากชิ้นส่วนต่างๆหยดน้ำมันทำความสะอาด ลงที่เศษผ้าหรือแปรง ที่ใช้ทำความสะอาดเท่านั้น แล้วเช็ดผิวของชิ้นส่วนต่างๆให้แห้ง

๑๗.๒ การตรวจ

- คันขึ้นนก (1) ว่าแตกหรือสึกที่ปลายด้านหลังหรือไม่

- ก้านแหนบรับแรงถอย (2) งอหรือขัดตัวหรือไม่

- แหนบรับแรงถอย (3) อ่อนหรือไม่ (ทดสอบก้านแหนบและแหนบโดยจับปลายลูกเลื่อนกดกับพื้นที่เรียบแข็งแล้วกดชุดฝาปิดท้ายขึ้นและลง การกระทำเช่นนี้อาจจะกระทำได้ เมื่อประกอบชุดฝาปิดท้ายเข้ากับ ห้องลูกเลื่อนแล้ว)

- ตรวจสลักฝาปิดท้าย (4) ว่าแหนบรองสลักหายหรือไม่

- ลวดนิรภัย (5) หลวมหรือหายไปหรือไม่

๑๗.๓ การหล่อลื่น

- ชะโลมชิ้นส่วนที่สามารถเข้าได้ทุกชิ้นบาง ๆ ด้วยน้ำมันในพื้นที่เฉพาะเช่น หน้าลูกเลื่อน (6) กระเดื่องไกลูกเบี้ยว (7) ก้านแหนบรับแรงถอย (2) แหนบรับแรงถอย(3)รางลูกเลื่อน (8) ลูกเบี้ยวบังคับลูกเลื่อน (9)

๑๘. การทำความสะอาด การตรวจ และการหล่อลื่นอุปกรณ์ประกอบเครื่องยิงฯ (Auxilary Equipment)

๑๘.๑ เปลปืน

- ทำความสะอาดเปลปืนให้ทั่ว ทำการตรวจและการหล่อลื่นชิ้นส่วนของเปลปืน MK64

๑๘.๒ ชุดกล้องเล็ง AN/TVS – 5 SIGHT ASSEMBLY

- ดูรายละเอียดคู่มือสำหรับผู้ใช้กล้องเล็งเวลากลางคืน TM 11 – 5855 – 214 - 10











บทที่ ๕

ลูกระเบิดยิงอุปกรณ์และเครื่องมือทำความสะอาด

๑. ลูกระเบิดยิง M 383 HE (ระเบิดแรงสูง)

ให้ใช้ลูกระเบิดยิงที่ได้มาตรฐานหรือได้รับการรับรองแล้วเท่านั้น

- เป็นลูกระเบิดยิงชนิดแรงสูง

- ออกแบบมาเพื่อทำให้เกิดการบาดเจ็บและล้มตายแก่บุคคล

- ประกอบเข้าเป็นข้อต่อร้อยติดกัน เป็นสาย ๑ สาย มีลูกระเบิดยิง ๕๐ ลูก

- ใช้ชนวน PD,M533 (กระทบแตก)

- ดินระเบิด RDX,COMPOSITION A 5

- ระยะอันตราย ๑๘ ถึง ๓๖ เมตร

- รัศมีการระเบิด ๑๕ เมตร


ข้อควรระวัง

- เก็บลูกระเบิดยิงไว้ในที่แห้ง สะอาด และปลอดจากการถูกแสงแดดโดยตรง

- ห้ามโยนหรือกระแทก หรือทำลายลูกระเบิดยิงด้วยเครื่องมือกล

- เปิดฝาหีบ บรรจุลูกระเบิดยิงต่อเมื่อ ต้องการนำลูกระเบิดยิงไปทำการยิงเท่านั้น

- ปลอกลูกระเบิดยิงเป็นอลูมิเนียมบุบได้ง่าย หากมีการ บุบสลายให้ส่งคืนสรรพาวุธ


คำเตือน

จงจำไว้ว่า การนำลูกระเบิดยิงไม่ถูกต้องมาใช้อาจจะเป็นการทำลายชีวิตท่านเองได้ ดังนั้นควรจะใช้ลูกระเบิดยิงที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ได้เท่านั้น


๒. ลูกระเบิดฝึกยิงM385 E 4 และ M 385 TP

- เป็นลูกระเบิดฝึกยิง ใช้ดินขับเพื่อให้ลูกระเบิดยิง ยิงออกไปได้

- ดินขับ : M 2

- ความเร็วของลูกระเบิดฝึกยิง ๒๔๔ เมตรต่อวินาที

- ระยะยิงไกลสุด ๒,๒๐๐ เมตร

ลูกระเบิดยิงฝึกบรรจุ M 922 (Dummy)

- เป็นลูกระเบิดยิงที่ไม่มีดินระเบิด

- ใช้เพื่อตรวจสอบการทำงานของปืนและการฝึกของพลประจำปืน

- แจกจ่ายให้ช่างสรรพาวุธเท่านั้น

๓. ลูกระเบิดยิง M 430 HEDP

- เป็นลูกระเบิดยิงชนิดระเบิดแรงสูง การทำงานสองลักษณะ

- ออกแบบมาเพื่อให้สามารถเจาะเกราะหนา ๒ นิ้วที่มุมกระทบ ศูนย์องศาและทำให้บุคคล

บาดเจ็บล้มตาย

- การพิสูจน์ทราบ : สีกากีแกมเขียวกับเคลือบเหลืองและตัวอักษรสีเหลือง

- ชนวน : PIBD , M 549 (กระทบแตก ถ่วงเวลา)

- ดินระเบิด COMPOSITION B

- อันตราย ๑๘–๓๐ เมตร

- รัศมีการสังหาร ประมาณ ๕ เมตร

- รัศมีการทำให้บาดเจ็บ ประมาณ ๑๕ เมตร


ระยะอันตรายของลูกระเบิดยิง M 383 และ M 430


คำเตือน

ห้ามยิงลูกระเบิดยิงไปยังเป้าในระยะที่ต่ำกว่า ๒๐๐ เมตร/หลา (ระหว่างฝึก) หรือระยะ ๗๕ เมตร/หลา (ระหว่างการรบ) เนื่องจากสะเก็ดระเบิดสามารถไปไกลถึงพลยิงได้ในระยะเกือบ ๒๐๐ เมตร/หลา

๔. อุปกรณ์และน้ำมันทำความสะอาด

๔.๑ อุปกรณ์

รายการอุปกรณ์ทำความสะอาดของปืนกลยิงลูกระเบิด MK19 MOD3 ที่แสดงไว้จะช่วยในการใช้งานและ การดูแลรักษาปืนให้อยู่ในสภาพดี และอุปกรณ์ต่าง ๆ เหล่านี้จะต้องอยู่กับปืนตลอดเวลา ถึงแม้ว่าจะเปลี่ยนหน่วย ครอบครองก็ตาม รูปภาพที่แสดงนี้จะช่วยในการจดจำอุปกรณ์ทำความสะอาดที่แจกจ่ายมาพร้อมกับปืน

(๑) ถุงพลาสติกกันน้ำได้ จำนวน ๒ ใบ

(๒) กระเป๋าใส่อุปกรณ์กันน้ำมัน จำนวน ๑ ใบ

(๓) แปรงทำความสะอาดขนาดเล็ก จำนวน ๑ อัน

(๔) แปรงทำความสะอาดขนาดใหญ่ จำนวน ๑ อัน

(๕) คู่มือสำหรับผู้ใช้ จำนวน ๑ เล่ม

(๖) แส้ทำความสะอาด จำนวน ๑ อัน

(๗) ดอกแส้ทำความสะอาดลำกล้อง จำนวน ๑ ดอก

(๘) สมุดประวัติ จำนวน ๑ เล่ม

๔.๒ น้ำมันทำความสะอาด

(๑) น้ำมันหล่อลื่น ขนาด ๘ ออนซ์ จำนวน ๑ กระป๋อง

(๒) น้ำมันทำความสะอาด จำนวน ๑ แกลลอน

(๓) น้ำมันชำระลำกล้อง (RBC) ขนาด ๖ ออนซ์ จำนวน ๑ กระป๋อง

(๔) ไขข้น จำนวน ๑ ควอร์ต

(๕) ผ้าทำความสะอาด จำนวน ๑ กล่อง