การบำรุงรักษาความสะอาด

การบำรุงรักษาความสะอาด

ก. กล่าวทั่วไป

         ความแน่นอนในการทำงานของเครื่องกลไก ความแม่นยำ และอายุของปืนนั้นขึ้นอยู่กับการบำรุงรักษา ความสะอาดเป็นส่วนใหญ่ การบำรุงรักษาความสะอาดของปืนเป็นหน้าที่ของผู้ใช้โดยตรง นอกจากนั้นผู้บังคับ บัญชาควรจะได้สอดส่องดูแลให้การบำรุงรักษาความสะอาดของปืนเป็นไปด้วยความเรียบร้อยสมบูรณ์และถูกต้อง ตามวิธีการด้วย เพราะเท่าที่ปรากฏมาแล้วปืนชำรุดเนื่องมาจากความบกพร่องในการบำรุงรักษาความสะอาด มากกว่าชำรุดเพราะการยิง

ข. น้ำมันและวัตถุที่ใช้ทำความสะอาดปืน

         ๑. ในการทำความสะอาด ปก.๙๓ นั้น ให้ใช้น้ำมันและวัตถุทำความสะอาดซึ่งจะได้กล่าวต่อไปส่วน วัตถุที่มิได้อนุญาตให้ใช้ ห้ามนำมาใช้ในการทำความสะอาด

         ๒. น้ำมันและวัตถุทำความสะอาดมีดังต่อไปนี้.-

              ก) น้ำมันชำระลำกล้อง

              ข) โซดาผง (โปแตสเซียมไฮดรอกไซด์)

              ค) สบู่

              ง) น้ำมันใส

              จ) น้ำมันข้นปานกลาง

              ฉ) น้ำมันใสพิเศษ

              ช) น้ำมันกัดสนิมอย่างใส

              ซ) น้ำมันทำความสะอาด

              ฌ) ยาทำลายล้างไอพิษ

              ญ) น้ำ

              ๑) น้ำมันชำระลำกล้อง ใช้สำหรับชำระลำกล้องภายหลังจากการยิง และนอกจากนั้นยังมีคุณสมบัติป้องกันได้ชั่วระยะ เวลาสั้น ๆ อีกด้วย แต่ถึงแม้ว่าน้ำมันชำระลำกล้องนี้จะมีคุณสมบัติป้องกันสนิมได้ชั่วคราวก็จริงแต่ไม่ควรใช้น้ำมัน นี้ป้องกันสนิม เมื่อชำระลำกล้องด้วยน้ำมันชำระลำกล้องแล้ว ให้รีบแยงลำกล้องด้วยเศษผ้าสะอาดให้แห้งทีนที แล้วใช้น้ำมันพิเศษชโลมบาง ๆ

              น้ำมันชำระลำกล้องจะแข็งตัวเมื่ออุณหภูมิต่ำกว่า ๓๒ องศาฟาเรนไฮด์ ฉะนั้นเมื่อใช้น้ำมันนี้ ในขณะที่อุณหภูมิต่ำกว่า ๓๒ องศาฟาเรนไฮด์ แล้วจะต้องอุ่นให้ละลายและคนหรือเขย่าให้เข้ากันดีเสียก่อนอนึ่ง การเก็บน้ำมันนี้ไว้ในภาชนะหรือกระป๋องที่มีฝาปิดสนิท ไม่ควรใส่น้ำมันไว้จนเต็มกระป๋องหรือภาชนะนั้น เพราะถ้าน้ำมันชำระลำกล้องแข็งตัวจะทำให้กระป๋องแตก ทางที่ดีควรใส่น้ำมันไว้ประมาณ ๓/๔ ของกระป๋องเท่านั้น

              ๒) โซดาผง มีลักษณะเป็นผงสีขาว ไม่มีกลิ่นละลายน้ำได้ดี โซดาผงนี้ใช้ชำระลำกล้องภายหลังจากการ ยิงแทนน้ำมันชำระลำกล้องได้ในเมื่อไม่มีน้ำมันชำระลำกล้อง ก่อนที่จะใช้จะต้องละลายโซดาผงด้วยน้ำร้อนเสีย ก่อน ส่วนผสมที่ใช้ได้ผลดีคือ โซดาผง ๑/๒ ปอนด์ น้ำร้อน ๑ แกลลอน ในเมื่อไม่มีน้ำร้อนอาจใช้น้ำเย็นละลาย โซดาผงก็ได้

              ๓) น้ำสบู่ ในเมื่อไม่มีน้ำมันชำระลำกล้องและโซดาผง ให้ใช้น้ำสบู่ชำระลำกล้องภายหลังจากการยิง ได้ส่วนผสมของน้ำสบู่คือ ๑/๔ ปอนด์ น้ำร้อน ๑ แกลลอน การใช้น้ำสบู่ชำระลำกล้องนี้ต้องใช้น้ำสบู่ร้อนแต่ถ้า หากมีความจำเป็นจริง ๆ อาจใช้สบู่เย็นก็ได้

              ๔) น้ำมัน ใช้สำหรับหล่อลื่นชิ้นส่วนที่เคลื่อนที่และป้องกันมิให้โลหะเป็นสนิมได้ในระยะสั้นอีกด้วยคุณ สมบัติในการป้องกันสนิมเกิดจากกการจับฝาบาง ๆ อยู่บนผิวโลหะประการหนึ่ง และส่วนประกอบของน้ำมันใสซึ่ง มีคุณสมบัติในการป้องกันมิให้ เกิดสนิมโดยตรงประการหนึ่งเมื่อใช้น้ำมันใสชโลมชิ้นส่วนที่เคลื่อนที่นั้น จะต้อง ชโลมให้จับเป็นฝาบาง ๆ อยู่บนผิวพื้นของชิ้นส่วนที่เคลื่อนที่เสมอ จึงจะเป็นการเพียงพอสำหรับหล่อลื่นชิ้นส่วนที่ เคลื่อนที่ ถ้าหากน้ำมันใสหมดให้ใช้น้ำมันพิเศษแทนได้

              ๕) น้ำมันข้นปานกลาง น้ำมันนี้ข้นกว่าน้ำมันใส และมีคุณสมบัติในการป้องกันสนิมดีกว่า ในเมื่อใช้กับสรรพาวุธที่ถูก ไอเค็มเนื่องจากน้ำมันข้นปานกลางนี้ข้นกว่าน้ำมันใส ฉะนั้นเมือทาปืนแล้ว น้ำมันข้นปานกลางจึงลอยเป็นฝาอยู่บน ผิวโลหะหนากว่าน้ำมันใส ด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้สามารถต้านทานมิให้ละอองน้ำกระเซ็นมาถูกปืน ชะน้ำมน หลุดออกไปจากผิวโลหะได้ คุณสมบัตินี้เองทำให้น้ำมันข้นปานกลางเหมาะสำหรับทาปืนก่อนยกพลขึ้นบก นอกจาก นั้นในการทาปืนเพื่อป้องกันสนิมในระยะสั้น ๆ แล้วน้ำมันข้นปานกลางยังป้องกันสนิมได้ดีกว่าน้ำมันใส

              ๖) น้ำมันใสพิเศษ น้ำมันชนิดนี้ใสมาก ใช้ชโลมเพื่อช่วยไล้ลื่นได้ทุกอุณหภูมิ แลชะสามารถป้องกันมิให้เกิดสนิม ได้ในระยะเวลาสั้นในถิ่นที่มีอากาศเย็นจัด น้ำมันใสพิเศษนี้ใช้สำหรับชโลมลำกล้องในขณะหยุดยิง และชโลม หลังจากทำความสะอาดลำกล้องแล้ว

              ๗) น้ำมันกันสนิมอย่างใส ใช้สำหรับป้องกันโลหะมิให้เป็นสนิมในระยะเวลานาน ๆ เช่นในกรณีที่จะเก็บคงคลังไว้เป็น เวลานานโดยบรรจุเข้าหีบห่อ ถ้าจะใช้น้ำมันในอุณหภูมิสูงกว่า ๖๐ องศาฟาเรนไฮด์ ให้ใช้แปรงทา  ถ้าหาก อุณหภูมิต่ำกว่า ๖๐ องศาฟาเรนไฮด์ ให้อุ่นน้ำมันเสียก่อน การใช้น้ำมันที่มีอุณหภูมิสูงกว่า ๖๐ องศาฟาเรนไฮด์ จะเป็นการหมดเปลืองเกินกว่าความจำเป็น

              ๘) น้ำมันทำความสะอาด น้ำมันทำความสะอาด เป็นตัวทำลายจำพวก ปิโตเลียม ซึ่งใช้เป็นตัวทำลายของสบู่ซักแห้ง น้ำมันนี้ไม่กัดโลหะ ใช้สำหรับล้างไขน้ำมันใส น้ำมันข้นและน้ำมันกันสนิม ที่ทำไว้ตามส่วนต่าง ๆ ของปืน น้ำมัน ทำความสะอาดนี้เป็นสารไวไฟ ฉะนั้นห้ามมิให้สูบบุหรี่หรือจุดไฟในบริเวณใกล้เคียง เมื่อทำความสะอาดชิ้นส่วน เล็ก ๆ ให้จุ่มชิ้นส่วนนั้นลงไปในน้ำมัน ถ้าชิ้นส่วนนั้นใหญ่ให้ใช้ผ้าชุบน้ำมันทำความสะอาดเช็ด เมื่อได้ทำความ สะอาดแล้วให้เช็ดชิ้นส่วนนั้น ๆ ให้แห้งสนิทเมื่อเช็ดแล้ว  ควรใส่ถุงมือเสียก่อนมิฉะนั้นเหงื่อมือจะเปรอะชิ้นส่วน นั้นได้ ถุงมือก็ต้องเป็นผ้าเพราะน้ำมันทำความสะอาดกัดยาง

              ๙) ยาทำลายล้างไอพิษ

                  (ก) ผงฟอกสี ผงฟอกสีเป็นผงสีขาวมีคลอรีนผสมอยู่ประมาณ ๓๕ %สามารถจะสังเกตได้ง่ายโดยมี กลิ่นของคลอรีน ถึงแม้ว่าผงฟอกสีจะกัดโลหะก็ตามแต่ยังนิยมใช้เป็นตัวยาทำลายไอพิษอยู่มาก ผงฟอกสีนี้ใช้ สำหรับทำลายล้างไอพิษมัสตาด ลิววัสไซท์เอททีลีนได้ โดรอาร์ซีนและไนโทรเจนมัสตาดโดยการเติม ออ๊กซิเจ่น และคลอลีนให้แก่ไอพิษนั้นวิธีใช้แบ่งออกได้ ๒ อย่างคือ ใช้ผสมกับน้ำอย่างหนึ่งผสมกับดินอย่างหนึ่งวิธีผสมกับดิน นั้นควรใช้กับไอพิษที่ตกค้างอยู่กับพื้นดิน ไม่ควรนำมาใช้ทำลายล้างไอพิษที่จับเกาะอยู่ตามผิวและชิ้นส่วนต่าง ๆ ของปืนวิธีใช้ให้ผสมผงฟอกสี ๑ ส่วน กันกับน้ำ ๑ ส่วน โดยน้ำหนัก

                      (ข) น้ำยา ดี เอ เอ็น ซี (DANC) น้ำยานี้เป็นน้ำยาที่มีภาพกัดโลหะในการที่เรียกน้ำยานี้ว่า (DANC) เพราะเหตุว่าเป็น ชื่อย่อของ (CECONTAMINATING AGENT NON CORRESIVE) น้ำยานี้มี ๒ ชนิดด้วยกันคือ ชนิด เอ็ม.๓  (M 3) และเอ็ม.๔ (M 4) น้ำยาเอ็ม.๓ ได้มาจากการละลายผล ดี เอ เอ็น ซี ชนิดสีน้ำตาลอ่อน (ซึ่งมีชื่อรหัสว่า (C.C No.1) ในอาแซทีลีนเตตราคลอไรด์ ส่วนผสมน้ำมันชนิด เอ็ม.๔ ได้มาจากการละลายผง  ดี  เอ เอ็น ซีชนิดสีน้ำตาลอ่อน (ซึ่งมีรหัสว่า RH - 195) ลงในอาแซทีลีน เตตราคลอไรด์

              ๑๐) น้ำ น้ำที่จะใช้ละลายโซดาผงหรือสบู่นั้น ควรใช้น้ำธรรมชาติที่สะอาดและบริสุทธิ์ ถ้าสามารถหาได้

ค. การทำความสะอาด

         - การทำความสะอาดประจำวัน

         - การทำความสะอาดประจำสัปดาห์

         - การทำความสะอาดเพื่อเก็บ

         - การทำความสะอาดเมื่อรับปืนจากคลัง

         - การทำความสะอาดก่อนการยิง

         - การทำความสะอาดหลังการยิง

         - การทำความสะอาดในถิ่นที่มีสภาพอากาศไม่ปกติ

         - การทำความสะอาดภายหลังจากการโจมตีด้วยไอพิษ

         ๑. การทำความสะอาดประจำวัน มันเป็นสิ่งจำเป็นเมื่อใช้ทำการฝึกอยู่ทุกวัน เพราะชิ้นส่วนภายนอกจะต้องสัมผัสกับเหงื่อไคลฝุ่นผง ดินทราย และสิ่งอื่น ๆ ในขณะทำการฝึก แต่สำหรับชิ้นส่วนภายในที่ไม่ได้ถูกจับต้องก็ไม่ต้องทำความสะอาดทุกวัน อนึ่งในตารางการฝึกประจำวันควรจะกำหนดเวลาเผื่อไว้สำหรับการทำความสะอาดด้วย

              การทำความสะอาดประจำวันให้ปฏิบัติดังนี้

              ก) เช็ดชิ้นส่วนภายนอกที่ถูกจับต้องหรือเปรอะเปื้อนให้สะอาด แล้วทาน้ำมันใสบาง ๆ ถ้าหากถอด ปืนเพื่อฝึกการถอดคุมหรือสับเปลี่ยนชิ้นส่วน ให้เช็ดชิ้นส่วนนั้น ๆ ให้แห้งสะอาดแล้วทาน้ำมันใสบาง ๆ

              ข) ทำความสะอาดลำกล้องโดยถอดลำกล้องออกจากตัวปืนใช้เศษผ้าสะอาดสอดเส้นและแยง ลำกล้อง ทำจนเศษผ้าไม่สกปรก

              ค) ใช้แปรงเล็ก ๆ แปรงสิ่งสกปรกที่ค้างอยู่ตามรอยฝาหูหมุดเกลียวและตามร่องต่าง ๆ

              ง) นอกจากการทำความสะอาดแล้วผู้บังคับบัญชาจะต้องกำหนดระยะเวลาสำหรับตรวจความ เรียบร้อยและความสะอาดของปืน

         ๒. การทำความสะอาดประจำสัปดาห์ ควรจะมีในวันเสาร์หรือวันรุ่งขึ้นจะหยุดราชการ แต่ทำเฉพาะชิ้นส่วยที่ถอดคุมปกติเท่านั้นแต่ให้มีการ รับตรวจจากผู้บังคับบัญชาชิ้นส่วนต่าง ๆ ต้องเช็ดให้แห้งภายในและภายนอกรังเพลิงต้องเช็ดให้สะอาด ปราศจากฝุ่นละอองภายในลำกล้องต้องแส้แยงจนขาวสะอาดชิ้นส่วนที่ถอดคุมปกตินั้นต้องหาให้แห้งและ ปราศจากฝุ่นละอองจริง ๆ เมื่อทำความสะอาดเรียบร้อยแล้ว ผู้บังคับบัญชาต้องทำการตรวจชิ้นส่วนต่าง ๆ อีก ครั้งหนึ่ง จึงยอมให้ชโลมน้ำมันได้ การชโลมน้ำมันให้ชโลมหนาชิ้นกว่าการทำความสะอาดประจำวัน โดยเฉพาะ ภายในลำกล้องและรังเพลิงต้องชโลมน้ำมันให้หนาพอที่จะจะทำให้น้ำมันไม่แห้งในระหว่างวันหยุดนั้น

         ๓. การทำความสะอาดเพื่อเก็บ

              ก) น้ำมันข้นปานกลางเป็นน้ำมันที่เหมาะสำหรับใช้ทาปืนที่จะเก็บไว้ในระยะเวลาอันสั้น ๆ น้ำมันใส ทาได้ แต่จะต้องไม่เกิน ๓๐ วัน แต่ตรวจทุก ๕ วัน ถ้าจำเป็นก็ชโลมใหม่ ถ้าต้องการเก็บปืนนาน ๖๐ วันแต่ไม่ เกิน ๑ ปี ให้ใช้น้ำมันกันสนิมอย่างใส

              ข) วิธีทำต้องเช็ดผิวพื้นภายนอกของปืน และชิ้นส่วนต่าง ๆ ให้สะอาดและแห้งด้วยเศษผ้าห้ามจับ ด้วยมือเปล่าและทาด้วยน้ำมันกันสนิมอย่างใส หรือข้นปานกลาง สุดแล้วแต่นานหรือไม่

              ค) ห้ามอุดลำกล้อง เพราะสิ่งที่อุดลำกล้องจะกันความชื้นไว้ให้อยู่ในลำกล้องจนเกิดสนิม

         ๔. การทำความสะอาดเมื่อรับปืนจากคลัง มักจะเป็นปืนที่เก็บไว้นาน ๆ และชโลมน้ำมันหรือน้ำมันกันสนิมไว้ ด้วยจะต้องชำระน้ำมันเหล่านออก ให้หมด เพราะถ้าหากขืนทิ้งไว้น้ำมันเหล่านี้จะทำให้ปืนทำงานไม่สะดวก และเวลาปืนร้อนน้ำมันเหล่านี้จะไหล เยิ้มออกมา ทำให้เปรอะเปื้อน ฉะนั้นก่อนที่จะนำปืนออกใช้จึงจำเป็นต้องทำความสะอาดเสียก่อน สิ่งที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษก็คือ เรือนแหนบและในร่องต่าง ๆ ที่แหนบกลอนหรือกระเดื่อง ๆ ทำงาน เมื่อได้เอาสนิมออก แล้ว ให้เช็ดส่วนต่าง ๆ ให้แห้ง แล้วให้ชโลมน้ำมันตามวิธีทำความสะอาดประจำวัน

         ๕. การทำความสะอาดก่อนทำการยิง

              ก) ถอดปืนออกตามวิธีถอดคุมชั้นที่ ๑ และทำความสะอาดและชโลมน้ำมันใส แต่อย่าชโลมน้ำมันใน ลำกล้องและรังเพลิง

              ข) ใช้ไขควงปรับเครื่องรับแรงสะท้อนถอยหลังเข้าไปจนสุด แล้วคลายออกมา ๑/๒ รอบ

              ค) ตรวจการปรับหน้าลูกเลื่อน

              ง) ทำความสะอาดขาหยั่ง และปรับให้ถูกต้อง

              จ) ตรวจเครื่องอะไหล่ว่ามีครบหรือไม่ แล้วทำความสะอาด

              ฉ) ตรวจดูกระสุนว่าบรรจุเข้าสายกระสุนถูกต้องเรียบร้อยหรือไม่

         ๖. การทำความสะอาดหลังจากการยิง

              ก) หลังจากการยิงแล้ว ให้ถอดปืนออกทำความสะอาดและชโลมน้ำมันทันที หลังจากนั้นให้ทำความ สะอาดติดต่อกันอีก ๓ วัน จนกระทั่งไม่ปรากฏว่ามีคราบสนิมเกิดขึ้นในลำกล้อง

              ข) วิธีทำความสะอาดลำกล้อง

                  - ภายหลังการยิงแล้วจะต้องทำความสะอาดด้วยน้ำมันชำระลำกล้อง เพื่อล้างเกลือของชนวนออก จากลำกล้องให้หมด แต่ถ้าหากไม่มีน้ำมันชำระลำกล้องให้ใช้

                  - โซดา ๑/๒ ปอนด์ ผสมน้ำร้อน ๑ แกลลอน หรือ สบู่กรดอย่างดี ๑/๔ ปอนด์ ผสมน้ำร้อน ๑ แกลลอน (น้ำสบู่นี้ใช้เมื่อไม่มีน้ำมันชำระลำกล้องและโซดาผงเท่านั้น)

              ค) วิธีใช้น้ำมันชำระลำกล้องทำความสะอาดลำกล้อง ให้ใช้เศษผ้าจุ่มลงไปในน้ำมันชำระลำกล้อง แล้วสอดเข้าไปในปลายแส้แยงลำกล้อง จนลำกล้องแห้งแล้วจึงค่อยชโลมน้ำมัน

              ง) วิธีใช้โซดาหรือน้ำสบู่ชำระลำกล้องภายหลังจากการยิงให้ปฏิบัติดังนี้.-

                  - วางปลายลำกล้องลงในถังที่บรรจุน้ำโซดาหรือน้ำสบู่และตั้งลำกล้องให้ตรง

                  - ใช้เศษผ้าแยงลำกล้องประมาณ ๓-๔ ครั้ง เพื่อแปรงโลหะที่ติดค้างอยู่ในลำกล้องออกเวลา แยงลำกล้องด้วยดอกแส้ ให้ดึงออกมาจนพ้นลำกล้องเสียก่อนแล้วสอดเข้าไปใหม่ แยงกลับทางทั้งที่แปรงยังอยู่ใน ลำกล้อง จะทำให้แปรงชำรุด

                  - ใช้เศษผ้าแห้งแยงลำกล้องจนแห้ง

                  - เสร็จแล้วแยงลำกล้องด้วยน้ำมันใสบาง ๆ

              จ) ทำความสะอาดในส่วนอื่น ๆ แล้วทาน้ำมัน

              ฉ) เมื่อทำความสะอาดเสร็จแล้วให้คุมปืน และตรวจการปรับหน้าลูกเลื่อนและการปรับสะพานไก

         ๗. การทำความสะอาดในถิ่นที่มีอากาศไม่ปกติ

              ก) ในถิ่นที่มีอากาศหนาวจัด

                  (ก) ในที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าน้ำแข็ง จะต้องชโลมน้ำมันให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้เพราะเหตุว่าถ้า หากน้ำมันมากน้ำมันจะแข็ง ทำให้เครื่องกลไกทำงานไม่สะดวก

                  (ข) ก่อนที่จะใช้ปืนในที่ ๆ มีอุณหภูมิต่ำกว่า ๐ องศาฟาเรนไฮด์ ให้ถอดปืนออกและทำความ สะอาดส่วนต่าง ๆ ด้วยน้ำมันทำความสะอาด ถ้าหากชิ้นส่วนที่เคลื่อนที่ของปืนแสดงให้เห็นว่าสึกหรอไปแล้วให้ใช้ เศษผ้าชุบน้ำมันใสพอหมาด ๆ ทา

                  (ค) ถ้าหากจะใช้ปืนในที่ ๆ มีอุณหภูมิต่ำกว่า ๐ องศาฟาเรนไฮด์ ให้ใช้ผ้าชุบน้ำมันหมาด ๆ ถูชิ้นส่วนที่เป็นโลหะ

                  (ง) เมื่อนำปืนเข้าไปในอาคารจะต้องรอให้อุณหภูมิของปืนเท่ากับอุณหภูมิในอาคารนั้น ๆ เสีย ก่อนแล้วจึงถอดปืนออกเช็ดละอองน้ำมันที่เกาะติดอยู่บนผิวพื้นโลหะออกให้หมด แล้วใช้น้ำมันใสพิเศษทา การกระทำเช่นนี้จะต้องปฏิบัติทุกครั้ง ๆ ภายหลังจากนำปืนเข้าในอาคาร ถ้าหากสามารถจะทำได้ให้เก็บปืนไว้ในที่ เย็นเพื่อป้องกันมิให้ไอน้ำในอากาศรวมตัวเป็นน้ำเกาะอยู่ตามผิวพื้นที่เป็นโลหะ

                  (จ) ถ้าหากนำปืนเข้าไปในอาคารหลังจากยิง จะต้องรีบทำความสะอาดแล้วทาปืนด้วยน้ำมันทัน ทีภายในลำกล้องให้แยงด้วยผ้าชุบน้ำมันบาง ๆ เมื่ออุณหภูมิของปืนสูงเท่ากับอุณหภูมิของห้องแล้วให้ทำความ สะอาดแล้วทา น้ำมันอีกครั้ง

                  (ฉ) ก่อนที่จะทำการยิงต้องทำความสะอาดชิ้นส่วนต่าง ๆ และเช็ดน้ำมันออกให้หมดภายใน ลำกล้องและรังเพลิง ต้องปราศจากน้ำมันอย่างแท้จริง

              ข) ในถิ่นที่มีอากาศร้อน และชุ่มชื้น

                  (ก) ในถิ่นที่มีอุณหภูมิและความชื้นสูง หรือมีไอน้ำทะเลอยู่ในอากาศมาก จะต้องหมั่นถอดชิ้นส่วน ใหญ่ ๆ ของปืนออกตรวจดูอยู่เสมอ ชิ้นส่วนต่าง ๆ ของปืนไม่เปียกชื้น และมีน้ำมันทาอยู่เสมอ

                  (ข) ชิ้นส่วนที่อยู่ภายนอกจะต้องสะอาดและมีน้ำมันทาอยู่เสมอ

              ค) ในถิ่นที่มีอากาศร้อนและแห้งแล้ง

                  (ก) ซึ่งฝุ่นและผงมีโอกาสที่จะเข้าไปในเครื่องกลไก และลำกล้องปืนได้ง่ายแล้วจะต้องทำ ความสะอาดเช็ดทุกเว้นโดยใช้เศษผ้าชุบน้ำมันใสพิเศษ แล้วบิดให้หมาดแยงลำกล้อง

                  (ข) เมื่อนำปืนออกนอกประเทศที่มีฝุ่นทรายมาก ให้ทำความสะอาดและชโลมน้ำมันทันที

                  (ค) การชโลมน้ำมันอย่าชโลมหนามากนัก เพราะฝุ่นผงจะเข้าเกาะติดอยู่กับน้ำมันและในขณะที่ เครื่องกลไกทำงาน ฝุ่นผงนั้นจะกัดชิ้นส่วนที่เคลื่อนที่

                  (ง) เหงื่อไคลนับว่าเป็นปัจจัยอันสำคัญในการที่จะทำให้ปืนเป็นสนิมได้ เพราะเหงื่อมีกรดเป็น ส่วนประกอบอยู่ด้วย ฉะนั้นเมื่อปืนถูกเหงื่อไคลจะต้องเช็ดทันที ให้แห้งอยู่เสมอ

                  (จ) ในเมื่อเกิดพายุทรายหรือพายุฝุ่น จะต้องใช้ผ้าคลุมปากลำกล้องและรังเพลิงให้มิดชิด

             ๘. การทำความสะอาดหลังจากการโจมตีด้วยไอพิษ หรือคาดว่าจะถูกโจมตีด้วยไอพิษให้ปฏิบัติเป็นชั้นดังนี้

              - ป้องกัน

              - ทำความสะอาด

              - ทำลายล้างไอพิษ

              - ข้อควรระวังในการทำลายล้างไอพิษ

              ก) ป้องกัน ในเมื่อคาดว่าจะถูกโจมตีด้วยไอพิษจะต้องเตรียมการป้องกันมิให้ปืนและเครื่องมือเครื่องใช้ถูก ไอพิษได้ ดังต่อไปนี้

                  ๑) ถ้าหากสามารถทำได้ ให้คลุมปืน กระสุน เครื่องมือเครื่องใช้ เครื่องอะไหล่ด้วยผ้ากันน้ำ

                  ๒) ใช้น้ำมันข้นหรือคอสโมสินท์ทาภายนอกของปืนและขาหยั่ง  ไว้ให้ทั่วชิ้นส่วนั้นแล้วใช้น้ำมันใส พิเศษทาภายใน

                  ๓) ในกรณีฉุกเฉินที่ไม่สามารถจัดการอย่างหนึ่งอย่างใดได้ ให้ใช้ขี้ฝึ้งป้องกันไอพิษ (PROTEC- TIVE OINTMENT 1774) และปล่อยทิ้งไว้ประมาณ ๑๕ นาที ขี้ผึ้งนี้ต้องเช็ดออกโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้

              ข) ทำความสะอาด

                  ๑) หลังจากถูกโจมตีด้วยไอพิษแล้วปรากฏว่าปืนไม่ถูกไอพิษเลย ให้ใช้น้ำมันทำความสะอาดทำ ความสะอาดปืน

                  ๒) สิ่งที่ถูกไอพิษอื่น ๆ นอกจากลิววิสไซท์ หรือ มัสตาด ให้ทำความสะอาดด้วยน้ำมันทำความ สะอาดหรือแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ โดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้

                  ๓) ถ้าหากปืนถูกไอพิษนั้น ให้ทาน้ำมันหรือไขไว้ ถูกไอพิษลิววิสไซท์ หรือมัสตาดแล้วให้ใช้ผ้าชุบ น้ำมันทำความสะอาดเช็ดไขหรือน้ำมันออกให้หมดเสียก่อน แล้วจึงทำลายล้างไอพิษต่อไป

              ค) ทำลายล้างไอพิษ

                  ๑) เช็ดถูบริเวณที่ถูกไอพิษ โดยใช้ผ้าพสันปลายไม้ถูหรือใช้ไม้ขูดออก อย่าใช้มือจับเป็นอันขาด เศษผ้าหรือเศษไม้ที่ใช้ในการขูดไอพิษนั้น ให้เผาหรือฝังเสียโดยเร็ว

                  ๒) พื้นพลหะที่ทาสีนั้น ต้องล้างไอพิษออกด้วยน้ำยาของผงฟอกสี โดยผสมผงฟอกสีแคลเซี่ยมไอ โปคลอไรด์) ๑ ส่วน กับน้ำ ๑ ส่วน แล้วใช้น้ำยาผงฟอกสีนี้ทาผิวโลหะให้ทั่ว แล้วล้างให้สะอาดด้วยน้ำ เสร็จแล้วเช็ดให้แห้ง และทาน้ำมันจนทั่ว

                  ๓) ชิ้นส่วนทุกชิ้นและเครื่องมือต่าง ๆ ซึ่งถูกแก๊สมัสตาดและลิววิสไซท์จะต้องล้างด้วยน้ำยาล้างไอพิษที่ไม่มีฤทธิ์ กัดกร่อน โดยผสมยาทำลายไอพิษ ๑ ส่วน กับตัวทำลาย (อเซทลีนเททตราคลอไรด์) ๑๕ ส่วนถ้ายาทำลายล้างไอพิษไม่มีจะต้องล้างด้วยสบู่เล็นซ์ต่าง ๆ นั้น ต้องใช้กระดาษเช็ดเล็นซ์ชุบแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ทา

                  ๔) ถ้าหากไม่มีผงฟอกสี จะต้องล้างชั่วคราวด้วยน้ำร้อน แต่ต้องหลาย ๆ ครั้งและใช้น้ำร้อน เป็นจำนวนมาก การล้างวิธีนี้ไอพิษมัสตาด จะคงค้างอยู่ตามข้อต่อต่าง ๆ และตามซอกของผ้าหรือหนัง ไอพิษที่ ตกค้างอยู่นี้สามารถทำอันตรายได้ตลอดเวลาจนกว่าผ้าหรือหนังนี้จะได้รับการทำลายล้างอย่างถูกต้อง ไอพิษ มัสตาดที่ถูกต้องล้างด้วยน้ำร้อนนี้จะละลายไหลลงสู่พื้นดินในบริเวณนั้น และยังไม่เสื่อมคุณสมบัติ ผู้ที่ทำการล้างไอ พิษจะต้องทำเครื่องหมายให้ทราบว่าบริเวณนั้นมีไอพิษมัสตาดตกค้างอยู่ก่อนที่จะจากบริเวณนั้นไป

                  ๕) กระสุนที่ถูกไอพิษจะต้องทำความสะอาดให้หมดก่อนที่จะทำการยิงต่อไป การล้างควรล้าง ด้วยน้ำยาป้องกันไอพิษชนิดไม่กัดกร่อน ถ้าหากไม่มีควรใช้สบู่แก่ ๆ ล้าง เมื่อล้างกระสุนเสร็จแล้วให้ใช้ผ้า สะอาดเช็ดกระสุนให้แห้ง อย่างใช้ผงฟอกสีล้างไอพิษที่ติดอยู่บนกระสุนเพราะเหตุว่าเมื่อผงฟอกสีถูกกับแก๊ส มัสตาด จะทำให้เกิดเปลวเพลิงขึ้นอีก

 

------------------------------