เทคนิคการยิง

การตรวจตำบลกระสุนตกและการปรับการยิง

ก. การตรวจตำบลกระสุนตก คือการปฏิบัติของพลยิงเพื่อตรวจดูว่าลูกระเบิดตกระเบิดที่ใด ห่างจากเป้าหมายเท่าใด การตรวจนี้จะทำทั้งทางระยะและในทางทิศ

๑. การตรวจทางระยะ มีดังนี้ หลัง, หน้า, สงสัย, ตรงเป้าหมาย การตรวจควรจะกระทำให้ได้ใกล้ที่สุดในระยะ ๕ เมตร

๒. การตรวจทางทิศ มีดังนี้ ขวา, ซ้าย, หรือตรงทิศ ทำการตรวจใกล้ที่ในระยะ ๕ เมตร

ข. การปรับการแก้ ถ้าปรากฏว่าลูกระเบิดไปตกหลังหรือหน้าเป้าหมายมากกว่า ๒๕ เมตร จะต้องปรับเลื่อนมุมสูงที่ตั้งทางระยะศูนย์หลัง เพื่อจะให้กระสุนนัดต่อไปถูกเป้าหมาย การแก้เปลี่ยนศูนย์มักจะกระทำครั้งละ๒๕เมตรเสมอ ถ้าเครื่องยิงได้ปรับศูนย์ไว้ถูกต้องแล้ว ความคลาดเคลื่อนทางทิศจะเกิดขึ้นน้อยมาก จะเกิดปัญหาเพียงแต่ลมพัดแรงพอที่จะให้ลูกระเบิดยิงเฉออกนอกวิถีตามปกติเท่านั้น การปฏิบัติสำหรับการยิงปืนในสนาม ลมอาจมีลักษณะดังต่อไปนี้

๑. ลมพัดปานกลาง - ความเร็ว ๑๐ ไมล์/ชั่วโมง

๒. ลมพัดแรง - ความเร็ว ๒๐ ไมล์/ชั่วโมง

ค่าของลมซึ่งควรจะนำมาใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติการปรับต่อตำบลในระยะยิงต่าง ๆ ดังนี้


ก) ประมาณการปรับการเล็งในเมื่อลมพัดในทิศทางเดียวกันกับทิศทางแล่นหรือทวนกับทิศทางแล่นของลูกระเบิดยิง

ข) ประมาณการปรับการเล็งในเมื่อลมพัดขวางทิศทางยิง