บทที่ ๓ ลูกระเบิดยิงและชนวน

บทที่ ๓

ลูกระเบิดยิงและชนวน

กล่าวทั่วไป

           เครื่องยิงลูกระเบิดขนาด ๘๑ มม. นั้น ใช้ยิงด้วยลูกระเบิดยิงขนาด ๘๑  มม.ลูกระเบิดยิงนี้เรียกชื่อเต็มว่า "ลูกระเบิดยิงเครื่องยิงลูกระเบิดขนาด ๘๑ มิลลิเมตร" หรือเรียกย่อ ๆ  ว่า"ลย./ค.๘๑ มม." ลูกระเบิดยิงนี้จ่ายให้หน่วยระดับกรมกองในลักษณะกระสุนครบนัด(COMPLETE-ROUND) ลย./ค.๘๑ มม. เป็นกระสุนมีหาง  อยู่ในประเภทกึ่งรวม  (SEMI-AMMUNITION) สามารถเปลี่ยนส่วนบรรจุและชนวนหัวได้ตามต้องการแต่ในการบรรจุเข้าลำกล้องคงบรรจุกระสุนทั้งนัด (ครบนัด)

๑. ลูกระเบิดยิงประเภทต่าง ๆ

           การแบ่งประเภทของ  ลย./ค.๘๑ มม.นั้น ถือเอาความมุ่งหมายในการใช้เป็นเกณฑ์ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น  ๔ ประเภท คือ

           - ประเภทรบ (SERVICE AMMUNITION)

           - ประเภทซ้อมยิง (PRACTICE AMMUNITION)

           - ประเภทฝึกยิง (TRAINING AMMUNITION)

           - ประเภทฝึกหัดบรรจุ (DUMMY AMMUNITION)

๒. ลย./ค.๘๑ มม.ประเภทรบ

           ลย./ค.๘๑ มม.ประเภทรบ หมายถึง ลย.ที่ใช้ยิงหวังผลในการรบ ผลและอำนาจของ ลย.ประเภทนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของ ลย.ซึ่งแบ่งออกได้เป็น

           - ชนิดสังหาร (SHELL H.E.LIGHT)

           - ชนิดทำลาย (SHELL H.E.HEAVY)

           - ชนิดควัน (SHELL,SMOKE)

           - ชนิดส่องแสง (SHELL,ILLUMINATION)

           ก. ลย./ค.๘๑ มม.สังหาร  (รูปที่ ๑๔)

           ลย./ค.๘๑ มม.สังหารนี้บรรจุดินระเบิดแรงสูง ใช้ชนวนกระทบแตกไว ใช้ยิงสังหารฝ่ายตรงกันข้าม

           ข. ลย./ค.๘๑ มม.ทำลาย  (รูปที่ ๑๔)

           ลย./ค.๘๑ มม.ทำลายนี้ บรรจุดินระเบิดแรงสูง ถ้าใช้ชนวนกระทบแตกไวและชนวนรวม  (ชนวนแตกอากาศกับชนวนกระทบแตกไว) ใช้ยิงสังหารฝ่ายตรงกันข้าม  แต่ถ้าใช้ถ่วงเลาใช้ยิงเพื่อทำลายที่หมายหรือที่มั่นซึ่งมีความแข็งแรงปานกลาง

ค. ลย./ค.๘๑ มม. ควัน

           ชนิดฟอสฟอรัสขาวและซัลเฟอร์ไตรออกไซด์มีลักษณะในการสร้างเหมือนกัน และลักษณะภายนอกของ ลย./ค.๘๑ มม. ทั้งสองชนิดนี้เหมือนกับลักษณะภายนอกของ ลย./ค.๘๑ มม.ทำลายแบ่งแยกออกได้อีก ๒ ชนิด คือ.-

           - ฟอสฟอรัส (WP)  (รูปที่๑๕)

           - ซัลเฟอร์ไตรออกไซด์ (FS)

                ๑) ลย./ค.๘๑ มม. ควัน ฟอสฟอรัสขาว  บรรจุฟอสฟอรัสขาวอยู่ภายในใช้ชนวนกระทบแตกไวหรือชนวนรวม (ชนวนแตกอากาศกับชนวนกระทบแตกไว) ใช้ยิงหวังผลในการทำฉากควัน  ม่านควันใช้ยิงส่งสัญญาณตามที่นัดหมายกันไว้ นอกจากนั้นยังหวังผลในการเผาผลาญและทำอันตรายฝ่ายตรงข้ามโดยอาศัยเศษฟอสฟอรัสที่แตกปลิวออกไป

                ๒) ลย./ค.๘๑ มม. ควัน ชนิดซัลเฟอร์ไตรออกไซด์ บรรจุซัลเฟอร์ไตรออกไซด์ใช้ชนวนกระทบแตกไวอย่างเดียว ใช้ยิงหวังผลในการทำฉากควันม่านควัน และใช้ยิงส่งสัญญาณตามที่นัดหมายกันไว้

           ง. ลย./ค.๘๑ มม.ส่องแสง (รูปที่ ๑๖)

           ลย./ค.๘๑  มม.-ส่องแสงนี้ ใช้ยิงในเวลากลางคืน  เพื่อมุ่งหมายที่จะอาศัยแสงสว่างที่เกิดขึ้นจากวัตถุให้แสงภายในลูกระเบิดยิงนี้ในการตรวจการณ์ หรือส่งสัญญาณตามที่นัดหมายกันไว้

 

๓. ลย./ค.๘๑ มม. ประเภทซ้อมยิง

           ลย./ค.๘๑ มม. ประเภทซ้อมยิงนี้ มีลักษณะและส่วนประกอบตลอดจนน้ำหนักและชีปนะวิธีเหมือน  ลย./ค.๘๑ มม.สังหารทุกประการ เว้นแต่ภายในลูกระเบิดยิงนี้บรรจุวัตถุปรับน้ำหนัก (Inert  Fille)ซึ่งไม่ใช้วัตถุระเบิดและสารเคมี ลย./ค.๘๑ มม.ประเภทซ้อมยิงนี้ ใช้ยิงเพื่อซ้อมความแม่นยำ  ลย./ค.๘๑ มม. ประเภทซ้อมยิง ที่ใช้อยู่ในเวลานี้คือ ลย./ค.๘๑ มม.ประเภทซ้อมยิง M ๔๓ A.๑

 

๔. ลย./ค.๘๑ มม.ประเภทฝึกยิง (รูปที่๑๗)

           ลย./ค.๘๑ มม.ประเภทฝึกยิงเป็นลูกระเบิดยิงที่ใช้ในการฝึกหักยิงเพื่อให้ทหารคุ้นเคยกับการยิงลูกระเบิดยิงประเภทนี้ต่างกับประเภทซ้อมยิง  คือ  ไม่มีชนวนหัวลูกระเบิดและวัตถุระเบิดบรรจุอยู่เลยคงมีแต่ปลอกดินจุดและเครื่องเริ่มจุด (ส่วนบรรจุหลัก) ซึ่งทำหน้าที่ขับลูกระเบิดออกจากลำกล้องไปเท่านั้น ระยะยิงของลูกระเบิดฝึกยิงจะใกล้ และเมื่อยิงไปแล้วครั้งหนึ่งสามารถนำมายิงต่อไปอีกได้โดยเพียงแต่เปลี่ยนส่วนบรรจุหลักเสียใหม่ ลย./ค.๘๑ มม.ประเภทฝึกยิง ที่ใช้อยู่ในเวลานี้คือ ลย./ค.๘๑ มม.ฝึกยิง M.๖๘


๕. ลย./ค.๘๑ มม. ประเภทฝึกหัดบรรจุ

           ลย./ค.๘๑ มม.ประเภทฝึกหัดบรรจุ ใช้เฉพาะฝึกหัดบรรจุเท่านั้น  จะยิงออกจากลำกล้องไปไม่ได้เพราะไม่มีดินส่งกระสุน  ลย./ค.๘๑ มม.ประเภทฝึกหัดบรรจุ ที่ใช้อยู่ในเวลานี้ทำด้วยไม้แต่อาจจะใช้ ลย./ค.๘๑ ฝึกยิง M๖๘ ซึ่งถอดปลอกดินส่งกระสุนและชนวนท้ายออกแล้วแทนกันได้

๖. งวดงานลูกระเบิดยิง (Ammuntion Lot Number)

           เมื่อได้สร้างลูกระเบิดยิงเสร็จแล้ว จะให้หมายเลขแสดงงวดงานของลูกระเบิดยิงงวดงานของลูกระเบิดยิงนี้จะพิมพ์ติดไว้บนหีบลูกระเบิดยิง กล่องลูกระเบิดยิง และที่วัตถุระเบิดยิง งวดงานลูกระเบิดยิงนี้เป็นสิ่งที่จะต้องอ้างถึงเพื่อบันทึกประวัติ แบ่งขั้นการใช้และรายงานสภาพของลูกระเบิดยิง การทำงานของลูกระเบิดยิง  อุปัทวเหตุและเหตุการณ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวกับลูกระเบิดยิงลูกระเบิดยิงที่ไม่มีเลขงวดงานกำกับไม่ควรนำมาใช้ยิง นอกจากกรณีคับขันหรือจำเป็นจริง ๆ

๗. เครื่องหมายของลูกระเบิดยิง

           เครื่องหมายบอกชนิดและแบบต่าง ๆ ตลอดจนงวดงานของลูกระเบิดยิงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับลูกระเบิดยิงซึ่งสามารถบอกให้ทราบลักษณะและคุณสมบัติของลูกระเบิดยิงนั้น ๆ ได้ในที่นี้จะได้กล่าวถึงเครื่องหมายต่างบนกล่องบรรจุลูกระเบิดยิง (กล่องไฟเบอร์) และเครื่องหมายต่าง ๆ บนตัวลูกระเบิดยิงด้วย

๘. เครื่องหมายบนกล่องลูกระเบิดยิง

           ตามปกติในการเก็บลูกระเบิดยิงนี้ เก็บไว้ในกล่องกระดาษแข็งสีดำและกล่องกระดาษแข็งนี้บรรจุในหีบโลหะหรือเป็นหีบไม้อีกชั้นหนึ่ง กล่องบรรจุลูกระเบิดยิงนี้มีแถบกันน้ำเข้าพันอยู่รอบ ๆ  รอยต่อของฝากล่องนอกจากนั้นภายในกล่องยังมีสักหลาดวางปิดอยู่ที่ท้ายลูกระเบิดยิง รายละเอียดต่าง ๆ ของลูกระเบิดยิงมักจะใส่ไว้ในกล่องนี้ด้วย เช่น ตารางยิง  ภายนอกของกล่องบรรจุลูกระเบิดยิงนี้มีตัวอักษรเขียนไว้ด้วยสีขาวซึ่งเป็นเครื่องหมายที่บอกให้ทราบถึง  แบบ ชนิด ขนาด และงวดงานของลูกระเบิดยิง ภายในกล่องแถบกันน้ำเข้ามีสีต่าง ๆ เพื่อบอกชนิดของลูกระเบิดยิงภายในกล่องนั้นด้วย

๙. เครื่องหมายบนลูกระเบิดยิง  (Marking On Round)

           ก. เครื่องหมายบนชนวนหัว บนด้านข้างของชนวนหัวได้ต่อตัวอักษรเป็นเครื่องหมายแสดง.-

                - ชนิดและแบบของชนวน

                - งวดงานของชนวน

                - ปีที่ทำ

                - ชนิดการทำงานของชนวน

           ข. เครื่องหมายบนลูกระเบิดยิงมีดังนี้.-

                ๑) สีต่าง ๆ ลูกระเบิดยิงทุกนัดทาสีไว้เพื่อป้องกันสนิม และนอกจากนั้นสีที่ทาไว้ยังเป็นเครื่องหมายที่บอกให้ทราบชนิดของลูกระเบิดยิงชนิดต่าง ๆ ด้วย ดังตารางข้างล่างนี้

๒) การอ่านตัวอักษรต่าง ๆ บนลูกระเบิดยิง ตัวอักษร (เครื่องหมายต่าง ๆ ) บนลูกระเบิดยิงมีความหมายดังได้แสดงไว้ในรูปที่ ๑๘ คือ.-

                     ก) ขนาดของลูกระเบิดยิง เช่น ๘๑ หมายความว่า ๘๑ มม.

                     ข) ชนิดของวัตถุที่บรรจุภายใน (Filler) เช่น TNT. หมายความว่ามี ที เอ็น ที บรรจุอยู่  WP หมายความว่าฟอสฟอรัสขาว,FS  หมายความว่าซัลเฟอร์ไตรออกไซด์   COMP.B  หมายความว่าวัตถุระเบิดที่บรรจุภายในเป็น  COMPOSITION B

                     ค) แบบของลูกระเบิดยิง เช่น (Shell M ๕๖ ) หมายความว่าเป็น ลย./ค.๘๑  แบบ ๕๖

                     ง) งวดงานของลูกระเบิดยิง เช่น (Lot ๓๔-๕) หมายความว่างวดงานที่ ๓๔-๕

รูปที่ ๑๘ เครื่องหมายต่าง ๆ บน ลย./ก.

การระมัดระวังในการยิง

 

ข้อควรระวังต่าง ๆ เกี่ยวกับ ลย./ค.๘๑ มม. ชนิดต่าง ๆ

           ก. เมื่อยังไม่ต้องการใช้ ลย./ค.๘๑ มม. ในขณะนั้นก็ยังไม่ควรนำออกจากกล่อง นอกจากนั้นไม่ควรจะทำลาย แถบกระดาษกันน้ำเข้า ซึ่งพันผนึกฝากล่องนั้น

           ข. ลย./ค.๘๑ มม. ที่นำออกจากกล่องแล้ว แต่ยังไม่ได้ยิงตามทที่คาดหมายไว้ในครั้งนั้น ๆ จะต้องนำเก็บใส่กล่องไว้ตามเดิมทุกครั้ง  ก่อนเก็บต้องเช็ดสิ่งสกปรกที่เปรอะเปื้อนหรือฝุ่นออกให้หมดและจะต้องผนึกฝากล่องด้วยแถบกันน้ำเข้าให้สนิทเหมือนเดิมทุกประการ

           ค. ถึงแม้ว่า ลย./ค.๘๑ มม.  จะได้เก็บไว้ในกล่องอย่างมิดชิดก็ตามแต่ไม่ควรจะทิ้งตากแดดตากฝนเพราะกล่องบรรจุลูกระเบิดยิงไม่สามารถทนต่อสภาพ ที่ตรากตรำนั้นตลอดไป

           ง. การจับถือหรือขนย้าย ลย./ค.๘๑ มม. ควรจะได้กระทำด้วยความระวังตลอดเวลาเพราะชิ้นส่วนต่างๆ ของเครื่องเริ่มจุดชนวนหัวลูกระเบิดยิงนั้นไวอยู่แล้ว ถ้าถูกกระแทกกระเทือนโดยแรงก็จะทำงานซึ่งจะเกิดอันตรายขึ้นได้

           จ. อย่าได้พยายามถอดชิ้นส่วนต่าง ๆ ของชนวนเป็นอันขาด (เว้นสลักนิรภัย)  ซึ่งจะอนุญาตให้ถอดได้เมื่อจะทำการยิง

           ฉ. พยายามระมัดระวังและป้องกันอย่าให้ลูกระเบิดยิงเปรอะเปื้อนดินทราย โคลน  น้ำและสิ่งสกปรกต่างโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อจะทำการยิงจะต้องเช็ดสิ่งสกปรกเหล่านั้นออกให้หมดเสียก่อนแต่ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าจะต้องขัดลูกระเบิดยิงให้เป็นเงาเพื่อความสวยงาม

           ช. อย่าปล่อยให้ ลย./ค.๘๑ มม.ตากแดดอยู่เป็นเวลานาน ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถุงดินเพิ่มทั้งนี้เพราะว่าถ้า ลย./ค.๘๑ มม.ที่ใช้ยิงมีอุณหภูมิต่างกันจะทำให้อาการกระจายมากขึ้น

           ซ. ถึงแม้ว่า ถุงเซลโลเฟน  ซึ่งห่อหุ้มถุงดินเพิ่มอยู่นั้นจะมีคุณสมบัติกันน้ำเข้าแต่ไม่ควรจะปล่อยถุงดินเพิ่มให้เปียกน้ำเปียกฝน เพราะเท่าที่ปรากฏมาแล้วดินเพิ่มที่เปียกน้ำทำให้ระยะยิงใกล้เข้า

           ฌ. อย่าทำลายถุงเซลโลเฟน ที่ห่อหุ้มดินเพิ่มเป็นอันขาด

           ญ. การถอดสลักนิรภัยออกจากชนวนหัวของลูกระเบิดยิง  ให้ถอดเมื่อจะบรรจุลูกระเบิดยิงเข้าลำกล้องเท่านั้นและอย่าได้ถอดสลักนิรภัยออกทั้ง ๆ ที่ยังไม่ต้องการใช้ลูกระเบิดยิงนั้นทำการยิง

           ฎ. ลูกระเบิดยิงนัดใด ๆ ที่ได้ถอดสลักนิรภัยออกแล้วแต่บังเอิญไม่ได้ทำการยิงตามที่คาดหมายไว้ให้สอดสลักนิรภัยเข้าที่อย่างเดิมก่อนที่จะเก็บลูกระเบิดยิงนั้นใส่กล่อง

           ฏ.ลูกระเบิดยิงนัดใดที่ได้ถอดถุงดินเพิ่มออกเพื่อเตรียมส่วนบรรจุให้ตรงตามคำบอกยิงแต่บังเอิญไม่ได้ทำการยิงตามที่คาดหมายไว้ ให้ใส่ถุงดินเพิ่มเข้าที่เดิมและควรระวังว่าจะต้องใส่ให้แน่นก่อนที่จะเก็บลูกระเบิดยิงนั้น ๆ ลงในกล่อง

           ฐ. ต้องระลึกเสมอว่าลูกระเบิดยิงซึ่งได้ยิงออกจากลำกล้องไปแล้วแต่ไม่ระเบิดนั้นชนวนพร้อมที่จะทำงานอยู่ตลอดเวลา ฉะนั้น ห้ามมิให้จับต้อง ขนย้าย  หรือเคลื่อนไหวลูกระเบิดนั้นเพราะอาการสะเทือนเพียงเล็กน้อยอาจจะทำให้ชนวนทำงานทันทีและเกิดอันตรายขึ้นได้

           ฑ. เมื่อทำการฝึก ค.๘๑ ถ้าปรากฏว่าลูกระเบิดยิงนัดใดที่ลั่นออกมาจากลำกล้องไปแล้วไม่ระเบิดให้ทำเครื่องหมายบอกตำบลกระสุนตกไว้ แล้วจึงรีบติดต่อให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายสรรพาวุธทราบเพื่อจัดการทำลายต่อไป

การเตรียมการในการใช้ลูกระเบิดยิง

 

๑. ลูกระเบิดยิงขนาด ๘๑ มม.ชนิดต่าง ๆ ลย./ค.๘๑  มม.ชนิดต่าง ๆ จะได้แสดงไว้ในตารางในหน้าต่อไปนี้ บางชนิดอาจไม่มีจ่ายให้ในอัตราปกติแต่ที่ต้องการนำมากล่าวไว้ในที่นี้ด้วย ก็เพื่อให้ผู้ใช้ได้ทราบว่ามีลูกระเบิดยิงชนิดใดบ้างที่อาจจะมาใช้กับ  ค.๘๑ มม.ได้

๒. ส่วนต่าง ๆ ของ ลย./ค.๘๑ มม.

           ลย./ค.๘๑ มม.หนึ่งนัดประกอบด้วยส่วนสำคัญต่อไปนี้ คือ

           - ชนวนหัวลูกระเบิดยิง

           - ตัวลูกระเบิดยิง

           - หางลูกระเบิดยิง

           - ปลอกดินจุด

           - ถุงดินเพิ่ม

           ก. ชนวนหัวลูกระเบิดยิง (Point Detonating Fuze) ชนวนที่ใช้ประกอบกับ  ลย./ค.๘๑ มม.นี้ เป็นชนิดชนวนหัวกระสุนทั้งสิ้น ลย./ค.๘๑ มม.ชนิดต่าง ๆ ใช้ชนวนแบบต่าง ๆ ตามที่ได้แสดงไว้แล้วในตารางท้ายบทนี้มีลักษณะเฉพาะและการทำงานของชนวนแบบต่าง ๆ จะได้แยกกล่าวไว้ในบทที่หนึ่งต่างหาก

           ข. ตัวลูกระเบิดยิง (Shell Body) ตัวลูกระเบิดยิงมีลักษณะรูปร่างต่าง  ๆ กัน แล้วแต่ชนิดของลูกระเบิดยิงนั้น ๆ ที่ตอนหัวลูกระเบิดยิงมีช่องเพื่อรับกับชนวนหัวลูกระเบิดยิงสำหรับ ลย./ค.๘๑ มม.ชนิดสังหาร ชนิดทำลาย ชนิดควัน ชนิดซ้อมยิงนั้น ที่ตอนหัวเรียวลงตอนกลางทำเป็นบ่าเพื่อประคองไม่ให้ลูกระเบิดยิงแกว่งในขณะเคลื่อนที่อยู่ในลำกล้องและช่วยลดความฝืดระหว่างลูกระเบิดและลำกล้องให้น้อยลงสำหรับลักษณะของตัวลูกระเบิดยิงชนิดส่องแสงและฝึกนั้นแตกต่าง ออกไปจากที่กล่าวแล้ว คือ ลูกระเบิดยิงชนิดส่องแสงมีรูปร่างเป็นทรงกระบอกกลม ตอนปลายล่างเรียวถึงหาง  ลูกระเบิดยิงชนิดฝึกนั้นมีรูปคล้ายหยดน้ำตา (Tear Drop Shape)หัวป้านมนภายในของลูกระเบิดยิงทุกชนิดมีที่ว่างไว้สำหรับบรรจุวัตถุระเบิดแรงสูง สารเคมี หรือวัตถุปรับน้ำหนัก

           ค. หางลูกระเบิดยิง (Fin Assembly) หางลูกระเบิดยิงมีไว้เพื่อรักษาอาการทรงตัวของลูกระเบิดยิงในวิถีหรือในขณะที่ลูกระเบิดยิงวิ่งไปในอากาศ ลักษณะของหางลูกระเบิดยิงแตกต่างกันออกไปตามชนิดและประเภทของลูกระเบิดยิงนั้น ๆ  แต่หางลูกระเบิดยิงทุก ๆ ชนิดจะต้องมีแฉกหาง มีช่องสำหรับบรรจุปลอกดินจุดและเครื่องเริ่มจุด

           ง. ปลอกดินจุด (Cartridge Ignition) ปลอกดินจุด เป็นส่วนบรรจุที่จะต้องใช้เสมอไปไม่ว่าจะทำการยิงด้วยส่วนบรรจุเพิ่มใด ๆ  ก็ตามลักษณะของปลอกดินจุดคล้ายกับกระสุนปืนลูกซอง  คือ เป็นปลอกกระดาษกลวง  ภายในบรรจุดินส่งกระสุนตอนท้ายของปลอกนี้มีช่องรับเครื่องเริ่มจุด สำหรับปลอกดินจุดแบบใหม่ ๆ นั้น ไม่ได้รวมเครื่องเริ่มจุดไว้กับตัวปลอก แต่แยกกันอยู่เมื่อเวลาจะใช้จึงรวมเข้าด้วยกัน ขนาดของปลอกดินจุดต้องสวมพอดีกับช่องที่หางลูกระเบิดยิงปลอกดินจุดที่ใช้กับ ลย./ค.๘๑ มม.ชนิดต่าง ๆ ได้แสดงไว้ในตารางหมายเลข ๓  แต่ต่อไปนี้จะอธิบายเฉพาะปลอกดินจุดที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน

                ๑) ปลอกดินจุด M๓ (รูปที่ ๒๐) ปลอกดินจุด M๓ ใช้กับ ลย./ค.๘๑ มม.-ฝึกยิง M๖๘ ปลอกดินจุดนี้ผิดกับปลอกดินจุด M๖ คือเครื่องเริ่มจุดและปลอกดินจุด  M๓ ติดเป็นชิ้นเดียวกันตลอด แต่ของปลอกดินจุด M๖ นั้นแยกเป็นคนละชิ้น (รูปที่  ๒๐) ปลอกดินจุด M๖ มีส่วนประกอบคือ ตัวปลอกกับเครื่องเริ่มจุดสำหรับตัวปลอกนั้นทำด้วยกระดาษแข็งม้วนกลมเหมือนลูกกระสุนปืนลูกซองแต่เครื่องเริ่มจุดเป็นจานทองเหลืองกลมสวมติดอยู่กับท้ายปลอกกระดาษแข็งนั้น ที่ตอนกลางของจานกลมนี้มีรูสำหรับสอดจอกกระทบแตกเข้าไป   การบรรจุดินส่งกระสุนเข้าไปในปลอกดินจุดบรรจุเข้าทางปลายหน้า  เมื่อบรรจุดินเรียบร้อยแล้วก็ใส่กระดาษแข็งปิดหน้าดินและหมอน ๓ อัน  แล้วจึงเม้มปากปลอกให้กดหมอนไว้ ต่อจากนั้นก็นำปลอกดินจุดนี้ไปจุ่มในพาราฟีนเหลวดินส่งกระสุนที่บรรจุอยู่ภายในปลอกดินจุด M๓ นี้ หนัก ๑๒๐ เกรน

รูปที่ ๒๐ ปลอกดินจุด และเครื่องเริ่มจุด

๒) ปลอกดินจุด M๖ (รูปที่ ๒๐) มีลักษณะเป็นปลอกสองชั้นปิดหัวปิดท้ายภายในบรรจุดินส่งกระสุน  มีความยาว ๒.๑๓ นิ้ว โต ๐.๗๙๖ นิ้ว ปลอกดินจุด M๖ ประกอบด้วยส่วนสำคัญต่าง ๆ คือ.-

                     - ปลอกชั้นนอก  (Outer tube)

                     - ปลอกชั้นใน  (Inner tube)

                     - จานปิดท้ายปลอก  (Dise)

                     - กระดาษแข็งท้ายปลอก

                     - กระดาษแข็งรองจานปิดท้ายปลอก

                     - กระดาษแข็งปิดหน้าดิน

                     - จานปิดปากปลอก

                จานปิดปากปลอก และกระดาษแข็งท้ายปลอก ตลอดจนกระดาษแข็งปิดหน้าดินนี้ติดอยู่กับที่ได้โดยเม้มปากของปลอกดินจุดชั้นนอกให้ยึดอยู่แน่น เมื่อได้ประกอบจานปิดท้ายปลอกและกระดาษแข็งท้ายปลอกแล้วก็บรรจุดินส่งกระสุนเข้าไปในปลอก ๑๒๐ เกรน เมื่อบรรจุดินแล้วจึงสวมกระดาษแข็งปิดหน้าดินและจานปิดปากปลอก  ปลอกดินจุด  M ๖ นี้ ยาว ๒.๒๓ นิ้ว (เมื่อเม้มปากแล้ว) และมีขนาดโต ๐.๗๙๕ นิ้ว

                ๓) ปลอกดินจุด M ๖๖ A๑ (รูปที่ ๑๕) มีลักษณะเป็นปลอก ๒ ชั้นปิดหัวปิดท้ายคล้ายกับแบบ M๖  ด้านในเป็นกระดาษแข็งอาบน้ำยา ด้านนอกเคลือบด้วยแผ่นพลาสติก ปลอกดินจุดแบบ M ๖๖ A๑ นี้สามารถป้องกันน้ำและความชื้นได้ภายในบรรจุดินส่งกระสุนมีความยาว ๒.๑๓ นิ้ว โต ๐.๗๙๖ นิ้ว ปลอกดินจุดประกอบด้วยส่วนสำคัญ ๆ คือ.-

                     - ปลอกชั้นนอก  (Outer tube)

                     - ปลอกชั้นใน  (Inner tube)

                     - จานปิดท้ายปลอก  (Disc)

                     - กระดาษแข็งท้ายปลอก

                     - กระดาษแข็งรองจานปิดท้ายปลอก

                     - กระดาษแข็งปิดหน้าดิน

    - จานปิดปากปลอก 

รูปที่ ๒๑ ปลอกดินจุด M๖๖ A๑ และเครื่องเริ่มจุด M๗๑ A๒

จ. เครื่องเริ่มจุด (Primer) เครื่องเริ่มจุดเป็นเครื่องเริ่มจุดดินส่งกระสุนที่บรรจุอยู่ภายในปลอกดินจุด ซึ่งคิดเป็นชิ้นเดียวกับปลอกดินจุด M ๓ ดังได้กล่าวมาแล้วในข้อ ง. แต่ปลอกดินจุด M ๖ นั้นใช้เครื่องเริ่มจุดแบบ M ๓๔ เครื่องเริ่มจุดแบบ  M ๓๔ และปลอกดินจุด M ๖ นี้ ต้องใช้ร่วมกันเมื่อเวลาจะประกอบเข้ากับลูกระเบิดยิง การประกอบให้ใส่ปลอกดินจุด  M ๖ เข้าไปในที่ช่องหางลูกระเบิดยิงก่อนแล้วจึงใส่เครื่องเริ่มจุด M ๓๔ ตามเข้าไปและขันเกลียวของตัวเรือนให้ยึดแน่นกับเกลียวภายในช่องที่หางลูกระเบิดยิง เครื่องเริ่มจุด M ๓๔ และปลอกดินจุด M ๖  ซึ่งใช้ร่วมกันนี้ รวมเรียกว่า ส่วนบรรจุหลักของลูกระเบิดยิงนั้น ๆ

                ๑) เครื่องเริ่มจุด M ๓๔ มีส่วนประกอบสำคัญ ๆ คือ.-

                     - ตัวเรือน  (Head)

                     - ฆ้อน  (Fixing plug)

                     - เรือนจอกกระทบแตก  (Housing)

                     - จอกกระทบแตก  (Primer)

                     - ทั่ง  (Anvil)

                     - ดินทวีเพลิง

                     - จานกระดาษปิดดินจอกกระทบแตก  (Disc)

                ๒) ขนาดของชิ้นส่วนต่าง ๆ มีดังนี้คือ.-

                     - ตัวเรือนขนาด  (เส้นผ่าศูนย์กลาง)            นิ้ว

                     - ตัวเรือนสึก                                        ๐.๖๐   นิ้ว

                     - เรือนจอกกระทบแตกขนาด                  ๐.๕๖ นิ้ว

                     - เรือนจอกกระทบแตกยาว                ๐.๔๐ นิ้ว

                     - จานกระดาษปิดดินจอกกระทบแตก       ๐.๕๐ นิ้ว

                     - ฆ้อนทองเหลืองหนา                           ๐.๒๕๗  นิ้ว

                ๓) ลักษณะของเครื่องเริ่มจุด M ๓๔ เหมือนกับเครื่องเริ่มจุด M ๓๒ ที่ใช้กับลูกระเบิดยิง ขนาด  ๖๐ มิลลิเมตร  ทุกประการ  เว้นแต่ขนาดต่าง ๆ ของชิ้นส่วนเท่านั้นที่ไม่เท่ากันซึ่งขนาดต่าง  ๆ  ของชิ้นส่วนของเครื่องเริ่มจุด M ๓๔ ได้แสดงไว้ตามรูปที่ ๒๐ ลักษณะของเครื่องเริ่มจุด M ๓๔ มีดังนี้

                ๔) ตัวเรือนทำด้วยเหล็กกล้า มีลักษณะดังในรูปที่ ๒๐ คือด้านนอกของตัวเรือนนี้ทำเป็นเกลียวไว้เพื่อสวมยึดกับเกลียวภายในช่องที่หางลูกระเบิดยิงที่ด้านท้ายของตัวเรือนทำเป็นรูไว้สองรู สำหรับรับปากประแจ ในเวลาที่จะขันตัวเรือนเข้าไปหรือคลายออก ตอนกลางของตัวเรือนมีช่องซึ่งเป็นที่อยู่ของฆ้อนทองเหลือง เมื่อทำการยิงเข็มแทงชนวนของเครื่องยิงจะกระแทกที่ท้ายฆ้อนทองเหลืองนี้โดยแรง ทำให้หัวฆ้อนซึ่งมีลักษณะเป็นปลายตุ่มเคลื่อนที่ไปแทงจอกกระทบแตกอีกทอดหนึ่ง การที่สร้างฆ้อนทองเหลืองนี้เพิ่มเข้ามาก็เพื่อที่จะเพิ่มพื้นที่ที่จะรับการกระแทกจากเข็มแทงชนวนของเครื่องยิงมากขึ้น เรือนจอกกระทบแตกติดอยู่กับตัวชนวนนี้ ดังในรูปที่  ๒๐ ภายในเรือนจอกกระทบแตกนี้มีจอกกระทบแตก M ๓๕ และดินทวีเพลิงบรรจุอยู่ ดินทวีเพลิงนี้เป็นดินดำหนัก  ๑.๖๕ เกรน มีหน้าที่ทวีเพลิงของจอกกระทบแตก จอกกระทบแตก M๓๕ นี้อยู่ถัดเข้ามาจากปลายฆ้อนทองเหลือง และอยู่ใกล้กับปลายฆ้อนนั้น ภายในจอกกระทบแตก M ๓๕ มีดินจอกกระทบแตกหนัก ๐.๓๗ เกรน จานกระดาษปิดดินจอกกระทบแตก ซึ่งเป็นกระดาษชุบแชลแล็ค เมื่อปลายตุ่มของฆ้อนทองเหลืองวิ่งมากระทบจอกกระทบแตกซึ่งทำด้วยทองเหลืองจนจอกนี้เปลี่ยนรูปจะทำให้ดินจอกกระทบแตกบุบตัวเข้าหาปลายทั่งที่อยู่ข้างหน้าโดยแรงและเกิดเสียดสีขึ้นจนระเบิดเป็นเปลวไฟ ๆ นี้ก็จะไปจุดดินส่งกระสุนภายในปลอกดินจุดต่อไป

                ๕) เครื่องเริ่มจุดระเบิด M ๗๑ A๒ มีลักษณะดังรูปที่ ๒๑ ซึ่งผิดกันแบบ M ๓๔ คือ  ตัวเรือนจะยาวกว่าและมีขนาดเล็กกว่าบรรจุดินทวีเพลิงแทนจอกกระทบแตกมากกว่าส่วนประกอบภายนอกด้านนอกของตัวเรือนนี้ทำเป็นเกลียวไว้เพื่อสวมยึดกับเกลียวภายในของช่องที่หางลูกระเบิดยิงที่ด้านท้ายของตัวเรือนทำเป็นรอยเว้าไว้ ๒ รอย สำหรับรับปากประแจในเวลาที่จะขันตัวเรือนเข้าไปหรือคลายออก ตอนกลางของตัวเรือนมีช่องเป็นที่อยู่ของฆ้อน เมื่อทำการยิงเข็มแทงชนวนของเครื่องยิงจะกระแทกที่ท้ายฆ้อนนี้โดยแรงทำให้ตัวฆ้อนซึ่งมีลักษณะเป็นปลายตุ่มเคลื่อนที่ไปแทงจอกกระทบแตกอีกทอดหนึ่ง ภายในเรือนจอกกระทบแตกนี้จะมีจอกกระทบแตกและดินทวีเพลิงบรรจุอยู่ ดินทวีเพลิงนี้เป็นดินดำมีหน้าที่ทวีเพลิงของจอกกระทบแตก จอกกระทบแตกนี้อยู่ถัดเข้ามาจากปลายฆ้อนและอยู่ใกล้กับปลายฆ้อนนั้น ภายในจอกกระทบแตกจะมีดินจอกกระทบแตกบรรจุอยู่จานกระดาษปิดดินจอกกระทบแตกซึ่งเป็นกระดาษชุบแชลแล็ด เมื่อปลายตุ่มของฆ้อนวิ่งมากระทบจอกกระทบจอกกระทบแตกซึ่งทำด้วยทองเหลืองจนจอกกระทบแตกนี้เปลี่ยนรูปจะทำให้ดินจอกกระทบแตกบุบตัวเข้าหาปลายทั่งที่อยู่ข้างหน้าโดยแรงและเกิดการเสียดสีขึ้นจนระเบิดเป็นเปลวไฟ ๆ นี้ก็จะไปจุดดินส่งกระสุนภายในปลอกดินจุดต่อไป

 

                ๖) เครื่องเริ่มจุด M ๗๑ A๒ มีส่วนประกอบสำคัญ ๆ คือ.-

                     - ตัวเรือน  (Head)

                     - ฆ้อน  (Fixing Plug)

                     - เรือนจอกกระทบแตก  (Housing)

                     - จอกกระทบแตก  (Primer)

                     - ทั่ง  (Anvil)

                     - ดินทวีเพลิง

                     - จานกระดาษปิดดินจอกกระทบแตก  (Disc)

           ฉ. ถุงดินเพิ่ม (Propellant increment charge) ดินส่งกระสุนที่ใช้กับ ลย./ค.๘๑ มม. ชนิดต่าง ๆ  นั้นนอกจากจะบรรจุไว้ในปลอกดินจุดแล้วยังทำขึ้นอีก  ๒ ชนิด คือ แบบเป็นแผ่นแบ่งออกเป็นส่วนบรรจุต่าง ๆ หรือแบบเป็นเม็ดบรรจุอยู่ในถุงเล็ก  ๆ การที่บรรจุดินไว้เป็นแผ่น หรือเป็นถุงนั้นก็เพื่อสะดวกสำหรับเจ้าหน้าที่ผู้ใช้สามารถเลือกจำนวนของถุงดินเพิ่มให้เหมาะสมกับการยิงเป้าหมายในระยะต่าง ๆ นอกจากนั้นยังเป็นการรักษาดินส่งกระสุนไว้ไม่ให้ถูกความชื้นอีกด้วย สำหรับดินส่งกระสุนที่ใช้กับ ลย./ค.๘๑ มม. ได้แสดงไว้ในตารางหมายเลข ๓

                ๑) ถุงดินเพิ่ม M๑ A๑ เป็นถุงเซลโลเฟนบรรจุดินส่งกระสุน M๑ อยู่ในถุงนั้น ดินส่งกระสุน M๑ เป็นดิน Double Base มีลักษณะเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมจัตุรัสมีรูตรงกลางภายในถุงดิน ถุงหนึ่งมีดินส่งกระสุน M๑ หลายๆ แผ่น เย็บติดกันอยู่รูที่ตอนกลางของแผ่นดินส่งกระสุนมีไว้เพื่อให้ผิวไหม้ (Burning Surface)ของดินนั้นมากขึ้นดินส่งกระสุน M๑ บางแผ่นอาจจะตัดมุม  หรือทำร่องที่ด้านข้างไว้ทั้งนี้เพื่อปรับน้ำหนักของดินให้ถูกต้องตามความต้องการ ถุงดินเพิ่ม M๑ A๑ นี้ ประกอบด้วยส่วนบรรจุ ๖ ส่วน จะใช้กับ ลย./ค.๘๑ มม.สังหารชุด M ๔๓

                ๒) ถุงดินเพิ่ม M๒ A๑  เป็นถุงเซลโลเฟน ภายในบรรจุดินส่งกระสุน  M ๒  ซึ่งเป็นดินส่งกระสุนDouble Base มีลักษณะเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมผืนผ้ายาวกว่าถุงดินส่งกระสุน M๑ ที่แผ่นของถุงดินส่งกระสุน  M๒ นี้มีรูเจาะไว้สองรู  รูทั้งสองนี้คงมีประโยชน์ในการเพิ่มพื้นผิวการเผาไหม้ให้มากขึ้นภายในถุงดินเพิ่ม M๒  A๑  ถุงหนึ่ง ๆ นั้นมีถุงดินเพิ่ม M๒ หลาย ๆ แผ่นเย็บติดกันอยู่ ถุงดินเพิ่ม M๒ A๑ ประกอบด้วยส่วนบรรจุ ๔ ส่วนจะใช้กับ  ลย./ค.๘๑  มม.ควัน M๕๗  ลย./ค.๘๑ มม.ส่องแสง M๓๐๑ A๑ และ  ลย./ค.๘๑  มม. ส่องแสง M๓๐๑ A๒

                ๓) ถุงดินเพิ่ม M ๕ เป็นดินชนิดเกล็ดเล็ก ๆ  บรรจุอยู่ในถุงผ้าฝ้ายเคลือบด้วยขี้ผึ้งพาราฟีนแต่ละถุงจะบรรจุดินอยู่ถุงละ  ๑๖๐ เกรน ถุงดินเพิ่ม M ๕ นี้ประกอบด้วยส่วนบรรจุ ๘  ส่วนที่ถุงของแต่ละส่วนบรรจุจะมีรูกลมอยู่ทางปลายถุง การนำถุงส่วนบรรจุติดกับตัว ลย./ค. กระทำโดยเอารูกลมที่ปลายถุงสอดเข้าไปในเหล็กยึดส่วนบรรจุรูปเม็ดถั่ว ถุงดินเพิ่ม M ๕ นี้จะใช้กับ ลย./ค.๘๑ มม.สังหาร ชุด M ๓๖๒ และใช้กับ  ลย./ค.๘๑ มม.ควัน M ๓๗๐

                ๔) ถุงดินเพิ่ม M ๙๐ เป็นดินชนิดเกล็ดเล็ก ๆ บรรจุอยู่ในถุงผ้าฝ้ายกันน้ำได้ ถุงดินเพิ่ม M ๙๐ นี้ประกอบด้วยส่วนบรรจุ ๙ ส่วน ส่วนบรรจุ A ประกอบด้วยแผ่นดินส่ง M ๙ จำนวน ๑๘๔ เกรน ส่วนบรรจุอื่น ๆ  อีก ๘ ส่วน B ประกอบด้วยแผ่นดินส่ง M ๙ ๑๖๘ เกรน ที่ถุงของแต่ละส่วนบรรจุจะมีรูกลมอยู่ปลายทั้งสองข้างการติดถุงส่วนบรรจุเหล่านี้เข้ากับ ลย./ค.กระทำโดยสอดรูตรงปลายของถุงเข้ากับเหล็กยึดส่วนบรรจุรูปเม็ดถั่ว  ส่วนบรรจุ A นั้นจะใช้พันรอบ ๆ เรือนปลอกดินจุดและอยู่ภายใต้ส่วนบรรจุอื่น ๆ B อีก ๘ ส่วน ถุงดินเพิ่ม M ๙๐ นี้ จะใช้กับ ลย./ค.๘๑ มม.สังหาร ชุด M ๓๗๔ และ ลย./ค.๘๑ มม.ควัน M ๓๗๕

                ๕) ถุงดินเพิ่ม M ๙๐ A๑ มีลักษณะเหมือนกันกับถุงดินเพิ่ม M ๙๐  ทุกประการแตกต่างกันที่ถุงดินเพิ่ม M ๙๐ A ๑ ใช้ถุงดินสองชั้น ถุงชั้นในที่ห่อหุ้มดินเป็นถุงพลาสติก ส่วนถุงชั้นนอกเป็นถุงผ้าฝ้ายห่อหุ้มถุงพลาสติกอีกชั้นหนึ่ง  ดังนั้นถุงดินเพิ่ม M ๙๐  A ๑ จึงสามารถป้องกันน้ำและความชื้นได้ดีกว่าถุง M ๙๐ ถุงดินเพิ่ม M  ๙๐ A ๑ นี้ใช้กับ ลย./ค.๘๑ มม.สังหาร M ๓๗๔ A๒ ลย./ค.๘๑ มม.ควัน M ๓๗๕ A๒

                ๖) ถุงดินเพิ่ม M ๑๘๕ ประกอบด้วยดินเกล็ดเล็ก ๆ  บรรจุอยู่ภายในถุงผ้าฝ้ายสีเหลืองกันน้ำได้ถุงดินเพิ่ม M ๑๘๕ นี้ประกอบด้วยส่วนบรรจุ ๘ ส่วน ที่ถุงของแต่ละส่วนบรรจุจะมีรูกลมอยู่ปลายทั้งสองข้างการติดถุงส่วนบรรจุเข้ากับ ลย./ค. กระทำโดยเอารูกลมที่ปลายถุงสอดเข้ากับเหล็กยึดส่วนบรรจุรูปเม็ดถั่วถุงดินเพิ่ม M ๑๘๕ นี้ใช้กับ ลย./ค.๘๑ มม.ส่องแสง M ๓๐๑ A ๓

                ๗) ดินส่งกระสุนของกระสุนฝึก ใช้ปลอกดินจุด M ๓ หรือ M ๖ รวมกับเครื่องเริ่มจุด M ๓๔ เป็นดินส่งกระสุนของกระสุนฝึก

๘) การติดถุงดินเพิ่ม การติดถุงดินเพิ่มไว้กับส่วนหางของ ลย./ค. นั้นกระทำได้ดังนี้.-

                     - ติดถุงดินเพิ่มโดยสอดมุมเข้าไปในร่องที่แฉกหาง

                     - ติดถุงดินเพิ่มโดยใช้ลวดหนีบถุงดินเพิ่ม

                     - ติดถุงดินเพิ่มโดยการสอดรูกลมที่เจาะอยู่ที่ปลายทั้งสองข้างของถุงดินเข้าไปในแหวนโลหะสำหรับยึดถุงดินเป็นรูปเม็ดถั่วแล้วพับแหวนโลหะลง

กระสุน ค.๘๑ มม. ชนิดต่าง ๆ

 

๑. กระสุน ๘๑ มม. ระเบิดแรงสูง M 56 A 1

           ก. กล่าวทั่วไป กระสุน M 56 A 1  เป็นกระสุนระเบิดแรงสูงใช้สำหรับยิงต่อพัสดุและบุคคล โดยให้ผลทั้งสะเก็ดระเบิดและแรงระเบิด

           ข. ลักษณะรายละเอียด กระสุนครบนัดประกอบด้วยตัวกระสุนเหล็กกล้ากลวงมีผนังค่อนข้างบางบรรจุประจุระเบิดทำด้วย TNT ติดชนวนหัวกระทบแตกหรือชนวนเวลาชุดหาง M 4 A 1 พร้อมด้วยส่วนประกอบของส่วนบรรจุ M 2 A 1 ปลอกดินจุด M 6 และเครื่องเริ่มจุดกระทบแตกแบบ M 34 ชนวนนั้นจะติดอยู่ที่ช่องปลายกระสุนมาตั้งแต่เมื่อสร้างมาจากโรงงานชุดหางจะติดอยู่กับแกนหางที่สอดเข้าไปติดแน่นกับตัวกระสุนตรงแกนหางที่ติดหางเป็นแกนเหล็กกลวงสำหรับใส่ปลอกดินจุดและเครื่องเริ่มจุดแบบกระทบแตกและแกนนี้มีรูเจาะไว้รอบ ๆ ด้วยเพื่อให้เพลิงจากดินจุดออกมาไหม้ดินส่งกระสุน ส่วนประกอบดินส่งกระสุนจะห่อด้วยกระดาษใสสอดเข้าไว้ในแต่ละช่องของแพนหางและมีแหนบยึดยึดไว้ ส่วนประกอบเหล่านี้แต่ละอันหรือทุกอันสามารถนำออกเพื่อจัดเป็นส่วนบรรจุที่ใช้ยิงได้ โดยดึงส่วนประกอบออกมาจากแหนบยึด

           ค. การทำงาน กระสุนจะทำงานด้วยการระเบิดบนหรือเหนือเป้าหมายแล้วแต่ชนิดของชนวนที่ใช้และจะให้ผลทั้งสะเก็ดระเบิดและแรงระเบิด

           คำเตือน ขณะที่ดึงลวดนิรภัยออกจากชนวนหรือเมื่อนำลวดนิรภัยออกจากชนวนแล้ว ถ้าได้ยิงเสียงหึ่งดังขึ้นห้ามใช้กระสุนนัดนั้นทำการยิงแต่กระสุนดังกล่าวนี้ยังคงปลอดภัยพอที่จะจับถือหรือขนส่งไปมาได้ถ้าหากได้สอดสลักนิรภัยกลับเข้าที่แล้วและปุ่มยันลำกล้องยังอยู่กับที่

           ง. ตารางมาตรทานต่าง ๆ

                (๑) ลักษณะทั่วไป

                     กระสุนครบนัดพร้อมชนวน

                     น้ำหนัก (ปอนด์)------------------- ๑๑.๔๐

                     ความยาว (นิ้ว) ------------------- ๒๔.๔๕

                (๒) ลักษณะทางขีปนวิธี

                                 ส่วนบรรจุ                               ระยะยิงไกลสุด  (หลา)

                     ๑  (ปลอกดินจุดกับหนึ่งส่วนประกอบ)                  ๘๐๐

                     ๒  (ปลอกดินจุดกับสองส่วนประกอบ)                  ๑,๔๐๐

                     ๓  (ปลอกดินจุดกับสามส่วนประกอบ)                  ๑,๙๐๐

                     ๔  (ปลอกดินจุดกับสี่ส่วนประกอบ)                  ๒,๔๘๖

                (๓) ส่วนประกอบอื่น ๆ

                     หาง----------------------------- M 4 A 1

                     ดินส่งกระสุน------------------ M 2 A 1

                     เครื่องเริ่มจุด------------------- M 34

                     ปลอกดินจุด------------------- M 6

           จ. มาตรทานการเข้าหีบห่อ  กระสุนหนึ่งนัดต่อกล่องไฟเบอร์หนึ่งกล่องหีบไม้หนึ่งหีบบรรจุกล่องกระสุนหลายกล่อง

 

๒. กระสุน ๘๑ มม. ระเบิดแรงสูง M 56

           กระสุน M 56แตกต่างจากกระสุน M 56 A 1 เฉพาะที่ใช้ชุดหาง M 4 ชุดหาง M 4 แตกต่างกับชุดหาง M 4 A 1 ตรงที่ทำด้วยอลูนิเนียมหล่อและบุด้วยเหล็กส่วนชุดหาง M 4 A 1 นั้นทำด้วยอลูนิเนียม หล่อแต่ไม่มีบุด้วยเหล็กและมีแกนกาหลั่ยอลูนิเนียมอยู่ภายในคำเตือนนั้นให้นำมาใช้กับกระสุนชนิดนี้ด้วย

 

๓. กระสุน ๘๑ มม. ระเบิดแรงสูง M 362 A 1

           ก. กล่าวทั่วไป กระสุนนี้ใช้สำหรับยิงต่อเป้าหมายที่เป็นพัสดุขนาดเบาและต่อบุคคลด้วยการใช้ทั้งสะเก็ดระเบิดและอำนาจแรงระเบิด

           ข. ลักษณะรายละเอียด กระสุนครบนัดประกอบด้วยตัวกระสุนทำด้วยเหล็กธรรมดาบรรจุประจุระเบิดทำด้วยดิน Comp B ใช้ชนวนหัวหรือชนวนแตกอากาศเหมาะและชุดหาง M 141 พร้อมด้วยดินส่งกระสุน (ได้แก่ส่วนประกอบของส่วนบรรจุ ๘ ส่วนเครื่องเริ่มจุดและปลอกดินจุด) ตัวกระสุนไม่มีไหล่กระสุนกันก๊าซรั่วเหมือนกับกระสุนชนิดนี้แบบเก่า ตัวกระสุนมีดิน Comp B ประมาณ ๒.๑๐ ปอนด์ ชุดหาง M 141 ประกอบด้วย เรือนปลอกดินจุด หางและแหนบยึดส่วนประกอบบรรจุ เรือนปลอกดินจุดทำด้วยอลูมิเนียมและข้างในกลวงมีปลอกดินจุดสอดอยู่ข้างในตอนหน้าและหางติดอยู่ตอนปลายหลังเรือนนี้เจาะรูไว้ข้าง ๆ เพื่อให้แสดงเพลิงจากดินจุดพุ่งไปไหม้ดินส่งกระสุน รูตรงกลางเจาะไว้เพื่อให้เปลวเพลิงจากเครื่องเริ่มจุดไปไหม้ดินจุดหางทำด้วยกาหลั่ยอลูมิเนียมหล่อและที่แกนหางจะมีช่องรับเครื่องเริ่มจุดกระทบแตกแบบ M 71 A 1 (M71E1)มีลวดเหล็กทำเป็นแหนบสำหรับยึดส่วนประกอบของส่วนบรรจุลวดยึดนี้อันหนึ่งติดอยู่ระหว่างเรือนปลอกดินจุดกับตัวกระสุนส่วนอันอื่น ๆ ติดอยู่ระหว่างเรือนปลอกดินจุดกับหาง ปลอกดินจุด M 6 ที่ใช้กับกระสุนชนิดนี้ ประกอบด้วยดินจุด M 9 จำนวน ๑๑๕ เกรน ปลอกดินจุดนี้จะสอดเข้าไปอยู่ในเรือนโดยให้ปลายด้านสีแดงชี้ไปทางเครื่องเริ่มจุด ดินส่งกระสุน M 5 ประกอบด้วยส่วนประกอบ ๘ ส่วน แต่ละส่วนประกอบบรรจุดิน M 9 จำนวน๑๖๐ เกรน ส่วนประกอบเหล่านี้บรรจุอยู่ในถุงผ้าและมีรูกลมอยู่ทางแต่ละปลายของถุง การนำถุงส่วนบรรจุนี้ติดเข้ากับตัวกระสุน กระทำโดยเอารูกลมที่ปลายถุงดินส่งสอดเข้าไปในลวดยึดส่วนบรรจุ

           คำเตือน ๑ เมื่อทำการยิงกระสุน M 362 A 1 ด้วยเครื่องยิงขนาด ๘๑ มม.แบบ M 1 ห้ามมิให้ใช้ส่วนบรรจุเกินส่วนบรรจุที่ ๖ จะมีป้ายเขียนข้อห้ามนี้ติดไว้กับตัวกระสุน

           คำเตือน ๒ ขณะที่ดึงลวดนิรภัยออกมาจากชนวนหรือเมื่อดึงลวดนิรภัยออกจากชนวนแล้ว ถ้าได้ยินเสียงหึ่งเกิดขึ้นห้ามมิให้ใช้กระสุนนัดนั้นทำการยิงแต่กระสุนดังกล่าวนี้ยังปลอดภัยพอที่จะจับถือและนำไปมาได้ หากว่าได้สอดสลักนิรภัยกลับเข้าที่แล้วและปุ่มยันลำกล้องอยู่กับที่

           หมายเหตุ กระสุนที่นำมาในตอนแรกอาจมีป้ายผูกบอกไว้ว่าเมื่อทำการยิงด้วย ค.M1 แล้วให้ใช้ส่วนบรรจุได้ไม่เกินส่วนบรรจุที่ ๖ ก็ได้ ก็ให้ดึงป้ายทิ้งเสีย เพราะห้ามไม่ให้ยิงเกินส่วนบรรจุที่ ๕ อยู่แล้ว

           ค. การทำงาน กระสุนจะระเบิดบนหรือเหนือเป้าหมายทั้งนี้แล้วแต่ชนิดของชนวนที่ใช้และให้ผลทั้งด้านสะเก็ดระเบิดและแรงระเบิด

 

           ง. ตารางมาตรทานต่าง ๆ

                (๑) ลักษณะทั่วไป

                     กระสุนครบนัดพร้อมด้วยชนวน

                     น้ำหนัก (ปอนด์)-----------------------๙.๔๒

                     ความยาว (นิ้ว)------------------------๒๐.๘๐

                (๒) ลักษณะทางขีปนวิธี

                              ส่วนบรรจุ                                  ระยะยิงไกลสุด  (หลา)

                     ๐  (ปลอกดินจุดโดยเฉพาะ) -------------------------------๓๐๐

                     ๑  (ปลอกดินจุดกับหนึ่งส่วนประกอบ)--------------------๗๐๐

                     ๒  (ปลอกดินจุดกับสองส่วนประกอบ)------------------๑,๓๐๐

                     ๓  (ปลอกดินจุดกับสามส่วนประกอบ)------------------๑,๘๕๐

                     ๔  (ปลอกดินจุดกับสี่ส่วนประกอบ)---------------------๒,๓๕๐

                     ๕  (ปลอกดินจุดกับห้าส่วนประกอบ)--------------------๒,๙๒๐

                         (เป็นส่วนบรรจุสูงสุดที่อนุมัติให้ใช้เมื่อยิงด้วย ค.)


๖  (ปลอกดินจุดกับหกส่วนประกอบ)--------------------๓,๒๐๐

                     ๗  (ปลอกดินจุดกับเจ็ดส่วนประกอบ)-------------------๓,๖๐๐

                     ๘  (ปลอกดินจุดกับแปดส่วนประกอบ)------------------๓,๙๘๗

                (๓) ส่วนประกอบอื่น ๆ

                     หาง--------------------------M 141

                     ดินส่งกระสุน---------------M 5

                     เครื่องเริ่มจุด----------------M 71 A 1 (M 71 E 1)

                     ปลอกดินจุด----------------M 66

           จ. มาตรทานการเข้าหีบห่อ หนึ่งนัดต่อกล่องไฟเบอร์หนึ่งกล่อง หีบไม้หรือหีบโลหะหนึ่งหีบบรรจุกล่องกระสุนหลายกล่อง

 

๔. กระสุน ๘๑ มม. ระเบิดแรงสูง M 362

           กระสุนนี้คล้ายกับกระสุน M 362 A 1  เว้นแต่ตัวกระสุนทำด้วยเหล็กกล้าเหนียวแทนที่จะทำด้วยเหล็กธรรมดา คำเตือนนั้นต้องมาใช้กับกระสุนชนิดนี้ด้วย

 

๕. กระสุน ๘๑ มม.ระเบิดแรงสูง M 374

           ก. กล่าวทั่วไป กระสุนระเบิดแรงสูง M 374  เป็นกระสุนที่มีระยะมากกว่าแม่นยำและให้ผล ณ ปลายทางมากกว่ากระสุนชุด M 362 ซึ่งเป็นกระสุนแรงสูงด้วยกัน

           ข. ลักษณะรายละเอียด ตัวกระสุนทำด้วยเหล็กธรรมดาบรรจุดิน Comp B ประมาณ ๒.๑๐ปอนด์ ตอนหลังของส่วนไหล่กระสุนมีปลอกอุดก๊าซทำด้วยโลหะผสมและร่องที่เซาะไว้รอบ ๆ ชุดหาง M 149 ทำด้วยอลูมิเนียมประกอบด้วยเรือนปลอกดินจุดและแพนหาง ๖ อัน ติดอยู่ตอนท้ายของตัวกระสุนเรือนปลอกดินจุดและแพนหางนี้ทำให้กลวงและเจาะรูไว้รอบ ๆ รูปทรงกระบอกและตอนหน้าสอดเข้าไปติดกับตัวกระสุนเรือนนี้บรรจุปลอกดินจุดและแผ่นเหล็กกั้นอยู่ตอนหน้าของปลอกดินจุด การที่เจาะรูไว้รอบ ๆ เรือนปลอกดินจุดนี้เพื่อให้เพลิงจากดินจุดออกมาไปไหม้ดินส่งกระสุนมีเหล็กยึดส่วนประกอบของส่วนบรรจุรูปเม็ดถั่วติดอยู่รอบ ๆ เรือนปลอกดินจุด ชุดหางที่ติดอยู่ตอนท้ายของเรือนปลอกดินจุดประกอบด้วยแพนหาง ๖ ใบ ติดเอียง ๕ ทำหน้าที่ทำให้กระสุนทรงตัวในขณะแล่นไปในอากาศมีเครื่องเริ่มจุดแบบกระทบแตกติดอยู่ภายในแกนชุดหางและมีท่อนำเพลิงจากเครื่องเริ่มจุดนี้ไปยังปลอกดินจุด ดินส่งกระสุน M 90 ที่ใช้กับกระสุนนี้ประกอบด้วยส่วนประกอบ ๙ ส่วน ซึ่งใช้แผ่นดินส่งแบบ M 9 ส่วนประกอบ A ประกอบด้วยดินจำนวน ๑๘๔ เกรน ๑ ส่วนประกอบอื่น ๆ อีก ๘ ส่วน (B) ประกอบด้วยดินส่วนละ ๑๖๘ เกรน ส่วนประกอบแต่ละส่วนบรรจุอยู่ในถุงผ้ากันน้ำและมีรูอยู่ที่ปลายทั้งสองข้างการติดถุงส่วนประกอบเหล่านี้เข้ากับกระสุนกระทำโดยสอดรูตรงปลายของส่วนประกอบเข้ากับเหล็กยึดส่วนประกอบรูปเม็ดถั่ว ส่วนประกอบ A นั้น ใช้พันรอบๆเรือน ปลอกดินจุดและอยู่ภายใต้ส่วนประกอบอื่น ๆ (B) อีก ๘ ส่วน กระสุนนี้ใช้กับชนวนกระทบแตกหรือชนวนแตกอากาศเหมาะ


คำเตือน ๑ เมื่อใช้กระสุนระเบิดแรงสูง M 374 ด้วยเครื่องยิง ๘๑ มม.แบบ M 1 ห้ามมิให้ยิงด้วยส่วนบรรจุที่มากกว่าส่วนบรรจุที่ ๕ จะมีป้ายเขียนคำเตือนนี้ติดไว้กับตัวกระสุนเมื่อทำการยิงกระสุนนี้ด้วยส่วนบรรจุสูงสุดจากเครื่องยิง ๘๑ มม. แบบ M 29 ไปแล้ว ๑๐ นัด แล้วต่อไปอัตราเร็วในการยิงจะต้องไม่เกิน ๑๐ นัด ต่อนาที

           คำเตือน ๒ กระสุนที่ติดด้วยชนวนหัวกระทบแตก M 519 นั้นต้องไม่ใช้ยิงข้ามศีรษะทหารฝ่ายเดียวกัน

           คำเตือน ๓ ขณะที่ดึงลวดนิรภัยออกจากชนวนหรือเมื่อนำลวดนิรภัยออกจากชนวนแล้ว ถ้าได้ยินเสียงหึ่งดังขึ้น ห้ามใช้กระสุนนัดนั้นทำการยิงแต่กระสุนดังกล่าวนี้ยังคงปลอดภัยสำหรับการจับถือและการขนส่งไปมา ถ้าหากว่าได้สอดลวดนิรภัยคืนกลับเข้าที่และปุ่มยันลำกล้องยังอยู่กับที่

           หมายเหตุ ๑ เมื่อยิงกระสุนระเบิดแรงสูง M 374 ติดชนวนหัวกระทบแตก B 526 แล้วอัตราการด้านจะมีสูงกว่าการยิงด้วยชนวนอื่น

           หมายเหตุ ๒ เมื่อยิงกระสุนระเบิดแรงสูง M 374 ด้วยส่วนบรรจุต่ำจะเป็นผลให้มีรูปอาการกระจายมากกว่าทีระบุไว้ในตารางยิง

           ค. การทำงาน กระสุน M 374 ทำงานอย่างเดียวกับกระสุน M 362 A 1 เว้นแต่กระสุน M 374 มีระยะยิงไกลกว่าและอำนาจสังหารมากกว่า

           ง. ตารางมาตรทานต่าง ๆ

                (๑) ลักษณะทั่วไป

                     กระสุนครบนัดพร้อมชนวน

                     น้ำหนัก (ปอนด์)--------------------  ๙.๓๔

                     ความยาว (นิ้ว)-------------------- ๒๐.๗๗

                (๒) ลักษณะทางขีปนวิธี

                              ส่วนบรรจุ                                  ระยะยิงไกลสุด (หลา)

                     ๐ (เฉพาะปลอกดินจุดเท่านั้น ---------------------    ๓๐๐

                     ๑ (ปลอกดินจุดกับหนึ่งส่วนประกอบ)------------     ๗๐๐

                     ๒ (ปลอกดินจุดกับสองส่วนประกอบ)------------   ๑,๓๐๐

                     ๓ (ปลอกดินจุดกับสามส่วนประกอบ)------------   ๑,๘๕๐

                     ๔ (ปลอกดินจุดกับสี่ส่วนประกอบ)----------------   ๒,๓๕๐

                     ๕ (ปลอกดินจุดกับห้าส่วนประกอบ)-------------   ๒,๙๒๐

                         (ส่วนบรรจุสูงสุดที่อนุมัติให้ใช้กับ ค ๘๑ มม.M1)

                     ๖ (ปลอกดินจุดกับหกส่วนประกอบ)--------------  ๓,๒๐๐

                     ๗ (ปลอกดินจุดกับเจ็ดส่วนประกอบ)------------- ๓,๖๐๐

                     ๘ (ปลอกดินจุดกับแปดส่วนประกอบ)------------- ๓,๙๘๗

                (๓) ส่วนประกอบอื่น ๆ

                     หาง------------------------- M 141

                     ดินส่งกระสุน-------------- M 5

                     เครื่องเริ่มจุด--------------- M 71 หรือ M 71 E1

                     ปลอกดินจุด--------------- M 66

                     ดินระเบิด (ดิน RDX ๔๐ ออนซ์)M 47

                จ. มาตรทานการเข้าหีบห่อ หนึ่งนัดต่อหนึ่งกล่องไฟเบอร์ หีบไม้หนึ่งหีบบรรจุกล่องกระสุนหลายกล่อง

๖. กระสุน ๘๑ มม. ระเบิดแรงสูง เอ็ม 374 เอ 2

           ลักษณะรายละเอียดและการทำงานเหมือนกับ ลย./ค.๘๑ มม. เอ็ม 374 ทุกประการ แต่ได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้นจากเดิมดังนี้.-

           ก. ลดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางที่บริเวณอุ้งกระสุนจากเดิม ๐.๐๑๐ นิ้ว

           ข. ใช้ปลอกดินจุดชนิดกันน้ำและป้องกันความชื้น (เอ็ม 66 เอ 1)

           ค. บริเวณเรือนปลอกดินจุดของชุดหางที่เจาะรูไว้รอบ ๆ เพื่อให้เพลิงจากปลอกดินจุดออกไปเผาไหม้ถุงดินเพิ่ม เดิม ลย./ค.๘๑ มม. สังหาร เอ็ม 374 ให้ชุดหาง เอ็ม 149 ซึ่งเจาะรูขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๐.๑๙๖ นิ้ว จำนวน ๒๐ รู ส่วน ลย.ค.๘๑ มม. สังหาร เอ็ม 374 เอ 2 ใช้ชุดหาง เอ็ม 170 ซึ่งได้ลดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของรูลงเหลือ ๐.๑๒๕ นิ้ว และเพิ่มจำนวนรูมากขึ้น เป็น ๒๔ รู

           ง. ใช้ถุงดินเพิ่ม เอ็ม 90 เอ 1 ซึ่งประกอบด้วยถุงดิน ๒ ชั้น ถุงพลาสติกห่อหุ้มดินด้านใน ส่วนถุงด้านนอกเป็นถุงผ้าฝ้ายห่อหุ้มถุงพลาสติกอีกชั้นหนึ่ง ดังนั้นเพิ่ม เอ็ม 90 เอ 1 จึงสามารถป้องกันน้ำและความชื้นได้ดี


หมายเหตุ ลย./ค.๘๑ ระเบิดแรงสูง ทส./ก.๒ นั้นรูปร่างและลักษณะของตัว ลย.เหมือนกับ ลย./ค.๘๑ มม. เอ็ม 374 เอ 2 แตกต่างกันที่ชนวน 

ลย./ค.๘๑ มม. ระเบิดแรงสูง เอ็ม 374 เอ 3 ชนวน พีดี เอ็ม 567 (กระทบแตก-ถ่วงเวลา)

๗. กระสุน ๘๑ มม.ควัน ฟอสฟอรัสขาว M375

           ก. กล่าวทั่วไป กระสุนควันฟอสฟอรัสขาว M375  เป็นกระสุนประเภทเดียวกันกับกระสุนระเบิดแรงสูง M374  กล่าวคือเป็นกระสุนควันฟอสฟอรัสขาวชนิดมีระยะยิง ความแม่นยำและประสิทธิผล ณ เป้าหมายมากกว่ากระสุนควันฟอสฟอรัสขาว M370

           ข. ลักษณะรายละเอียด กระสุนนี้เหมือนกับกระสุนระเบิดแรงสูง M374 ที่อธิบายไว้ นอกจากตัวกระสุนบรรจุด้วยฟอสฟอรัสขาว ประมาณ ๑.๖ ปอนด์ และมีหลอดบรรจุดินระเบิดทำด้วยอลูมิเนียมชิ้นเดียว (M158) สอดอยู่ข้างใน หลอดนี้บรรจุดิน RDX สอดอยู่ในเรือนหลอดดินระเบิด

           ค. การทำงาน กระสุนควัน M375 ทำงานเช่นเดียวกับกระสุนควัน M370 เว้นแต่กระสุนควัน M 375 มีระยะยิงไกลกว่าและมีประสิทธิผล ณ เป้าหมายมีมากกว่า

           คำเตือน ๑ ในระหว่างที่กำลังดึงสลักนิรภัยออกจากชนวนและเมื่อดึงสลักนี้ออกจากชนวนแล้วนั้น ถ้าได้ยินเสียงหึ่งดังขึ้น อย่าใช้กระสุนนัดนั้นทำการยิงแต่กระสุนดังกล่าวนี้ยังปลอดภัยพอที่จะจับถือหรือขนส่งไปมาได้ ถ้าหากได้สอดสลักนิรภัยกลับเข้าที่และปุ่มยันลำกล้องยัง

           คำเตือน ๒ เมื่อยิงกระสุน ฟอสฟอรัสขาว M375 ด้วยส่วนบรรจุต่ำ (ต่ำกว่าส่วนบรรจุที่๓) แล้ว กระสุนจะมีโอกาสตกในระยะน้อยกว่าระยะยิงจริงประมาณ ๗% ของระยะยิงจริง

ลย./ค.๘๑ มม. ควันฟอสฟอรัสขาว M375

หมายเหตุ ๑ เมื่อใช้กระสุนฟอสฟอรัสขาว M375 ทำการยิงด้วยชนวนหัว M524 A5 แล้วจะมีอัตราการด้านของกระสุนมากกว่าที่ใช้ยิงกับชนวนที่ได้รับอนุมัติชนิดอื่น

           หมายเหตุ ๒ การยิงกระสุนฟอสฟอรัสขาว M375 ด้วยส่วนบรรจุต่ำ (ต่ำกว่าส่วนบรรจุที่ ๓) แล้ว จะทำให้แบบอาการกระจายของกระสุนมีมากกว่าที่บ่งไว้ในตารางยิง

           ง. ตารางมาตรทานต่าง ๆ

                (๑) ลักษณะทั่วไป

                     กระสุนครบนัดพร้อมชนวน

                     น้ำหนัก (ปอนด์)-------------------- ๙.๓๔

                     ความยาว (นิ้ว)-------------------- ๒๐.๘๐

                (๒) ลักษณะทางขีปนวิธี

                                 ส่วนบรรจุ                               ระยะยิงไกลสุด (หลา)   (เมตร)

                     ๐ (เฉพาะปลอกดินจุด)--------------------------       ๔๔๒               ๔๐๓

                     ๑ (ปลอกดินจุดกับหนึ่งส่วนประกอบ)--------     ๑,๐๙๕               ๑,๐๐๑

                     ๒ (ปลอกดินจุดกับสองส่วนประกอบ)--------      ๑,๖๗๔              ๑,๕๒๙

                     ๓ (ปลอกดินจุดกับสามส่วนประกอบ)--------     ๒,๑๗๕               ๑,๙๘๘

                     ๔ (ปลอกดินจุดกับสี่ส่วนประกอบ)------------     ๒,๗๑๐              ๒,๔๗๕

                     ๕ (ปลอกดินจุดกับห้าส่วนประกอบ)---------      ๓,๒๓๗               ๒,๙๕๕

                         (ส่วนบรรจุสูงสุดที่อนุมัติให้ใช้ยิงด้วย ค.M1)

                     ๖ (ปลอกดินจุดกับหกส่วนบรรจุ)-------------       ๒,๗๔๐              ๓,๔๑๖

                     ๗ (ปลอกดินจุดกับเจ็ดส่วนบรรจุ)------------       ๔,๑๙๐              ๒,๘๓๑

                     ๘ (ปลอกดินจุดกับแปดส่วนบรรจุ)-----------      ๔,๕๙๘               ๔,๑๙๗

                     ๙ (ปลอกดินจุดกับเก้าส่วนบรรจุ)------------       ๔,๙๓๒              ๔,๕๐๐

                หมายเหตุ ส่วนประกอบที่ใช้เป็นส่วนบรรจุที่ ๑ นั้น เมื่อยิงด้วยส่วนบรรจุสูงกว่าต้องใช้ส่วนประกอบนี้ประกอบด้วยเสมอ

                (๓) ส่วนประกอบอื่น ๆ

                     ชุดหาง------------------------------------M149

                     ดินส่งกระสุน-----------------------------M90

                     เครื่องเริ่มจุด------------------------------M71 A1 (M71 E1)

                     ปลอกดินจุด------------------------------M66

                     ดินระเบิด (ดิน RDX ๔๑ ออนซ์)-------M47

                จ. มาตรทานการเข้าหีบห่อ หนึ่งนัดต่อหนึ่งกล่องไฟเบอร์ หีบไม้หนึ่งหีบบรรจุกล่องกระสุนหลายกล่อง

 

๘. กระสุน ๘๑ มม.ควันเอ็ม ๓๗๕ เอ ๒

           ลักษณะรายละเอียดและการทำงานเหมือนกับ ลย./ค.๘๑ มม.ควัน เอ็ม ๓๗๕ ทุกประการแต่ได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้นจากเดิมดังนี้

           ๑) ลดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางที่บริเวณอุ้งกระสุนลงจากเดิม ๐.๐๑๐ นิ้ว

           ๒) ใช้ปลอกดินจุดชนิดป้องกันน้ำและความชื้น (เอ็ม๖๖ เอ ๑)

           ๓) บริเวณเรือนปลอกดินจุดของชุดหางที่เจาะรูไว้รอบ ๆ เพื่อให้เพลิงจากดินจุดออกไปเผาไหม้ถุงดินเพิ่ม เดิม ลย./ค.๘๑ มม.ควัน เอ็ม ๓๗๕ ใช้ชุดหาง เอ็ม ๑๔๙ ซึ่งเจาะรูขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๐.๑๙๖ นิ้ว จำนวน ๒๐ รู ส่วน ลย./ค.๘๑ มม.ควัน เอ็ม ๓๗๕ เอ ๒ ใช้ชุดหาง เอ็ม ๑๗๐ ซึ่งลดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของรูลงเหลือ ๐.๑๒๕ นิ้ว และเพิ่มจำนวนรูมากขึ้นเป็น ๒๔ รู

           ๔) ใช้ถุงดินเพิ่ม เอ็ม ๙๐ เอ ๑ ซึ่งประกอบด้วยถุงดินเพิ่ม เอ็ม ๙๐ เอ ๑ จึงป้องกันน้ำและความชื้นได้ดี

 

๙. กระสุน ๘๑ มม. ส่องแสง M ๓๐๑ A ๒

           ก. กล่าวทั่วไป กระสุน M 301 A 2 นั้นออกแบบคล้ายกับกระสุนส่องแสงขนาด ๖๐ มม.ชุด M83 ใช้สำหรับทำแสงสว่าง ณ จุด หรือพื้นที่ที่ต้องการ

           ข. ลักษณะรายละเอียด กระสุนครบนัดประกอบด้วยชนวนเวลา ตัวกระสุนทำด้วยเหล็กกล้ารูปทรงกระบอกผนังบาง ชุดร่มชูชีพที่บรรจุอยู่ในกรวยท้าย กระสุนที่ทำด้วยเหล็กกล้า ชุดหาง M4 อันประกอบด้วยส่วนประกอบส่วนบรรจุ M2 A1 ปลอกดินจุด M6 และเครื่องเริ่มจุด M34 มีเกลียวปรับชนวนติดอยู่ตอนหน้าของตัวกระสุน กรวยท้ายสอดอยู่ติดกับตัวกระสุนด้วยสลักผ่าสี่ตัว ตอนท้ายของกระสุนมีเกลียวปรับสำหรับสวมชุดหาง ชุดสารทำแสงประกอบด้วยสารเริ่มจุดและสารทำแสงบรรจุอยู่ในกล่องมีชุดร่มชูชีพติดอยู่กับกล่องสารส่องแสงด้วยสายร่มชูชีพยาว ๓๐นิ้ว

           ค. การทำงาน กระสุนนี้ออกแบบไว้สำหรับยิงด้วยส่วนประกอบส่วนบรรจุอย่างน้อยที่สุดสองส่วนและไม่อนุมัติให้ใช้ส่วนประกอบน้อยกว่า สองส่วน ทำการยิง นอกจากที่กล่าวมาแล้วนี้ การทำงานของดินส่งกระสุนก็เหมือนของกระสุนเครื่องยิงขนาด ๘๑ มม.อื่น ๆ เมื่อชนวนทำงาน ดินขับของชนวนจะขับชุดส่องแสงและชุดร่มชูชีพออกมาทางท้ายของกระสุน ในขณะเดียวก็จะจุดดินจุดไวทำให้ไปจุดสารเริ่มจุดของสารส่องแสงส่วนประกอบของสารส่องแสงจะลุกไหม้อยู่ประมาณ ๗๕ วินาที และให้แสงสว่างอย่างน้อย ๕๐๐,๐๐๐ แรงเทียน อัตราการลอยลงประมาณ ๑๒ ฟุต ต่อวินาที

           ง. ตารางมาตรทานต่าง ๆ

                (๑) ลักษณะทั่วไป

                     กระสุนครบนัดพร้อมชนวน

                     น้ำหนัก (ปอนด์)------------------๑๐,๗๑

                     ความยาว (นิ้ว)-------------------๒๒,๔๘

                (๒) ลักษณะทางขีปนวิธี

                (๓) ส่วนประกอบต่าง ๆ

                     หาง-------------------------------M4

                     ดินส่งกระสุน--------------------M2 A1

                     เครื่องเริ่มจุด---------------------M34

                     ปลอกดินจุด---------------------M6

           จ. มาตรทานการเข้าหีบห่อ หนึ่งนัดต่อกล่องไฟเบอร์หนึ่งกล่อง หีบไม้หนึ่งหีบบรรจุกล่องกระสุนหลายกล่อง

ลย./ค.๘๑ มม.ส่องแสง M301 A 2

๑๐. กระสุน ๘๑ มม. ส่องแสง เอ็ม ๓๐๑ เอ ๑

           กระสุนส่องแสง M301 A1 คล้ายกับกระสุน M301 A2 นอกจากมีไหล่กระสุนเป็นที่อุดก๊าซและมีส่วนโลหะมีขนาดแตกต่างกันเล็กน้อย


๑๑. กระสุน ๘๑ มม.ส่องแสง เอ็ม ๓๐๑ เอ ๓

           ก. กล่าวทั่วไป ลย./ค.๘๑ มม.ส่องแสง เอ็ม ๓๐๑ เอ ๓ นั้นออกแบบคล้ายกับ ลย./ค.๖๐ มม.ส่องแสง ชุด เอ็ม ๘๓ ใช้สำหรับทำแสงสว่าง ณ จุด หรือพื้นที่ที่ต้องการ

           ข. ลักษณะรายละเอียด ลย./ค.๘๑ มม.ส่องแสง เอ็ม ๓๐๑ เอ ๓ ครบนัดประกอบด้วยชนวนเวลา ตัว ลย.ทำด้วยเหล็กกล้ารูปทรงกระบอกผนังบาง,ชุดร่มที่บรรจุอยู่ในกรวยท้าย ลย./ค.ที่ทำด้วยเหล็กกล้า,ชุดหาง เอ็ม ๑๕๘ อันประกอบด้วยถุงดินเพิ่ม เอ็ม ๑๘๕ ปลอกดินจุด เอ็ม ๖๖ และเครื่องเริ่มจุด เอ็ม ๗๑ เอ ๒ มีเกลียวปรับชนวนติดอยู่ตอนหน้าของตัว ลย.กรวยท้ายสอดอยู่ติดกับตัว ลย.ด้วยสลักผ่า ๔ ตัว ตอนท้ายของ ลย.มีเกลียวปรับสำหรับสวมชุดหาง ชุดสารทำแสงประกอบด้วยสารเริ่มจุดและสารทำแสงบรรจุอยู่ในกล่อง มีชุดร่มติดอยู่กับกล่องสารส่องแสงด้วยสายร่มยาว ๓๐ นิ้ว

           ค. การทำงาน ลย.นี้ออกแบบไว้สำหรับยิงด้วยส่วนบรรจุอย่างน้อยที่สุด ๒ ส่วนบรรจุและไม่อนุมัติให้ใช้ส่วนบรรจุน้อยกว่า ๒ ส่วนทำการยิง การทำงานของถุงดินเพิ่มเหมือนกับ ลย./ค.๘๑ ชนิดอื่น ๆ เมื่อชนวนทำงานดินขับของชนวนจะขับชุดส่องแสงและร่มออกมาทางท้ายของ ลย.ในขณะเดียวกันก็จะจุดดินจุดไวทำให้ไปจุดสารเริ่มจุดของสารส่องแสง ส่วนประกอบของสารส่องแสงจะลุกไหม้อยู่เป็นเวลาอย่างน้อย ๖๐ วินาที และให้แสงสว่างอย่างน้อย ๕๐๐,๐๐๐ แรงเทียน อัตราการตกประมาณ ๖ เมตร/วินาที

           ง. ตารางมาตรทานต่าง ๆ

                ๑) ลักษณะทั่วไป

                     - กระสุนครบนัดพร้อมชนวน หนัก (ปอนด์)…………..๑๐.๑

                     - ความยาว  (นิ้ว)……………………………………๒๔.๗๔

                ๒) ลักษณะทางขีปนวิธี  (ตารางหมายเลข ๖)

                ๓) ส่วนประกอบต่าง ๆ

                     หาง……………………….เอ็ม ๑๕๘

                     ถุงดินเพิ่ม…………………เอ็ม ๑๘๕

                     เครื่องเริ่มจุด………………เอ็ม ๗๑ เอ ๒

                     ปลอกดินจุด………………เอ็ม ๖๖

           จ. มาตรทานการเข้าหีบห่อ ๑ นัด/กล่องไฟเบอร์ ๑ กล่อง


ประแจตั้งชนวน (Fuze Setters)

 

ก. ประแจตั้งชนวน M 25

           ประแจตั้งชนวน M25 ใช้สำหรับตั้งชนวนเวลาชุด M 84 ของ ลย/ค.๘๑ ส่องแสง ชุด M 301 ปากประแจมีร่อง ๖ ร่อง สำหรับจับสันทั้ง ๖ สัน ที่จานตั้งชนวน เมื่อตั้งชนวนด้วยประแจตั้งชนวน M25 ให้ปฏิบัติดังนี้

           - สวมประแจตั้งชนวนลงไปบนชนวน

           - จัดให้ร่องทั้ง ๖ ร่อง ของปากประแจจับสันทั้ง ๖ สันของชนวน

           - หมุนประแจตั้งชนวนไปทวนเข็มนาฬิกา จนกระทั่งขีดหลักสำหรับตั้งขบวนตรงกับขีดมาตราเวลาชนวนที่ต้องการ

           - เมื่อได้ตั้งชนวนเรียบร้อยแล้วถึงจะยกประแจออกต้องระวังไม่ให้มาตราเวลาชนวนเคลื่อนผิดไปจากที่ตั้งไว้

           - การถอดสลักนิรภัย ให้ถอดภายหลังที่ได้ตั้งชนวนเรียบร้อยแล้ว

ข. ประแจตั้งชนวน M 18

           ประแจตั้งชนวน M 18 ลักษณะภายในคล้ายประแจแหวนส่วนที่กว้างที่สุดสำหรับตั้งชนวนกะกำหนดมีขนาด ๒.๑๖ นิ้ว และส่วนอื่น ๆ มีขนาด ๒.๐๔ นิ้ว ใช้สำหรับตั้งชนวนกะกำหนดแบบ M 517 M 532 ปลายอีกข้างหนึ่งของประแจตั้งชนวน M 18 มีลักษณะเหมือนไขควงใช้สำหรับตั้งชนวนแบบ M 524 A5 M524 A6

           วิธีการถอดชนวนกะกำหนด M517 และ M532

           ๑) ใช้ประแจตั้งชนวน M18 หมุนจุกอุดออก หรือให้ถอดชนวนที่ติดมากับ ลย/ค.ดังต่อไปนี้

           หมายเหตุ การถอดชนวนให้ใช้เจ้าหน้าที่ ๒ นาย คนหนึ่งใช้ประแจยึดอีกคนหนึ่งใช้ประแจตั้งชนวน M18

           ข้อควรระมัดระวัง ให้เอากล่อง ลย/ค. สวมเข้ากับชุดหางของ ลย/ค.เพื่อกันมิให้เสียหาย

                ก) สอดสายแถบผ้าของประแจยึดเข้าไปในห่วงของมัน ทำให้เป็นบ่วงให้ด้านหยาบอยู่ข้างใน

                ข) นำ ลย/ค.วางลงบนที่รอง โดยให้ด้านติดชนวนออกไปจากตัวของผู้ปฏิบัติ

                ค) นำเอาบ่วงผ้าสวมกับตัว ลย/ค.แล้วรัดให้แน่น

                ง) ใช้มือหนึ่งจับ ลย/ค.ไว้ อีกมือหนึ่งจับด้านประแจยึดแล้วบีบด้ามประแจนี้ไว้

                จ) ใช้ประแจตั้งชนวน M18 ขันชนวนออกจาก ลย/ค.โดยขันไปในทิศทางที่มีลูกศรชี้

           ๒) ให้ตรวจดูในช่องสวมชนวนว่ามีสิ่งแปลกปลอมเข้าไปอยู่หรือไม่ให้นำสิ่งที่หลุดอยู่ในช่องนี้ออกให้หมด

           ข้อควรระวัง ถ้าปรากฏว่ามีดินระเบิดแรงสูงใด ๆ อยู่ที่บริเวณเกลียวของช่องสวมชนวนแล้วให้แยก ลย/ค.นัดนั้นออกไว้ต่างหากและนำไปให้เจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่ทำลาย ทำลายเสีย

           ๓) ตรวจดูชนวนและเกลียวของชนวน ถ้าพบว่าเกลียวชำรุดหรือเสียหายให้ส่งคืนหน่วยสนับสนุนโดยตรงต่อไป

           ๔) จัดแหวนสปริงกันคลายให้อยู่ในที่ที่เหมาะสมของมันแล้วหมุนชนวนกะกำหนดเข้าไปใน ลย/ค.ด้วยมือ ถ้ามีการขัดข้องให้ตรวจดูชนวนและเกลียวของช่องสวมชนวนที่ ลย/ค. ถ้าพบสิ่งเสียหายส่งคืนหน่วยสนับสนุนโดยตรงต่อไป

           ๕) ใช้ประแจตั้งชนวน M18 ขันชนวนจนกระทั่งแหวนสปริงกันคลายถูกอัดอย่างสมบูรณ์ไม่มีช่องว่างระหว่างตัว ลย/ค. กับชนวน

           คำเตือน อย่ายิง ลย/ค.ที่ติดชนวนไม่แนบสนิท เพราะถ้าเกิดมีช่องว่างระหว่างไหล่ของชนวนกับปลายของ ลย/ค.แล้ว ไม่ว่าจะเป็นชนวนประเภทใด เมื่อใช้ ลย/ค.ชนิดนี้ยิงออกไป ลย/ค.อาจจะระเบิดก่อนกำหนดอันจะเป็นสาเหตุให้กำลังพลตายหรือบาดเจ็บ และยุทโธปกรณ์เกิดการเสียหายได้

กระถอดชนวนหัว ลย./ค.๘๑ ในสนาม

คุณลักษณะเฉพาะของลูกระเบิดยิงจากเครื่องยิงลูกระเบิด

ขนาด ๘๑ มิลลิเมตร ชนิดระเบิด แบบ ทส/ก.๒

๑. ความมุ่งหมายในการใช้งาน ลูกระเบิดยิงจากเครื่องยิงลูกระเบิด (ลย./ค.)ขนาด ๘๑ มิลลิเมตร ชนิดระเบิด แบบ ทส./ก.๒ เป็นกระสุนที่ใช้ยิงด้วยเครื่องยิงลูกระเบิด แบบ ๙๓ ขนาด ๘๑ มิลลิเมตร (ตามมาตรฐานกองทัพสหรัฐฯ เรียกว่าแบบเอ็ม ๑)และเครื่องยิงลูกระเบิด ขนาด ๘๑ มิลลิเมตร แบบเอ็ม ๒๙ ตามมาตรฐานกองทัพสหรัฐ ฯ เพื่อสังหารและทำลาย

๒. ลักษณะการใช้งาน

           ๒.๑ เป็นลูกระเบิดยิง กระสุนวิถีโค้งใช้ยิงโดยวิธีเล็งจำลอง

           ๒.๒ ใช้ยิงต่อที่หมายเป็นพื้นที่ โดยใช้เครื่องยิงลูกระเบิด แบบ ๙๓ ขนาด ๘๑ มิลลิเมตร (ตามมาตรฐานกองทัพสหรัฐ ฯ เรียกว่าแบบเอ็ม ๑) และเครื่องยิงลูกระเบิดขนาด ๘๑ มิลลิเมตร แบบเอ็ม ๒๙ ตามมาตรฐานสหรัฐ ฯ

๓. ข้อมูลทางเทคนิค

           ๓.๑ เส้นผ่าศูนย์กลางของลูกระเบิดยิง……………..๘๑   มม.

           ๓.๒ ความยาวของลูกระเบิดยิงทั้งนัด…………….๕๑๕   มม.

           ๓.๓ น้ำหนักของลูกระเบิดยิง…………...๔,๓๑๐+๑๐๐  กรัม

           ๓.๔ ชนวนหัว เป็นชนวนชนิดกระทบแตกไวและจัดถ่วงเวลาได้ (ชกตวถ.)เมื่อจัดตั้งแบบถ่วงเวลา ลย./ค. จะระเบิดหลังจากกระทบที่หมายเป็นเวลา ๐.๐๕ วินาที (๑/๒๐ วินาที)

๔. ข้อมูลทางขีปนะวิธี

           ๔.๑ ความเร็วต้น

                ส่วนบรรจุ  ๐ (ใช้เฉพาะส่วนบรรจุหลัก)                             ๖๔.๐ ม./วินาที

                ส่วนบรรจุ  ๑ (ใช้ส่วนบรรจุหลัก กับ ๑ ส่วนบรรจุเพิ่ม เอ)           ๑๐๖.๒ ม./วินาที

                ส่วนบรรจุ  ๒ (ใช้ส่วนบรรจุหลักและ ๑ ส่วนบรรจุเพิ่ม ชุด เอ

                                 กับ ๑ ส่วนบรรจุเพิ่ม ชุด บี)                                ๑๓๐.๔ ม./วินาที

                ส่วนบรรจุ  ๓ (ใช้ส่วนบรรจุหลักและ ๑ ส่วนบรรจุเพิ่ม ชุด เอ

                                 กับ ๒ ส่วนบรรจุเพิ่ม ชุด บี)                                ๑๕๓.๗ ม./วินาที

                ส่วนบรรจุ  ๔ (ใช้ส่วนบรรจุหลักและ ๑ ส่วนบรรจุเพิ่ม ชุด เอ

                                 กับ ๓ ส่วนบรรจุเพิ่ม ชุด บี)                                ๑๗๔.๖ ม./วินาที

                ส่วนบรรจุ  ๕ (ใช้ส่วนบรรจุหลักและ ๑ ส่วนบรรจุเพิ่ม ชุด เอ

                                 กับ ๔ ส่วนบรรจุเพิ่ม ชุด บี)                                ๑๕๔.๐ ม./วินาที

                คำเตือน  ห้ามใช้เกินส่วนบรรจุ ๕ เมื่อใช้ยิงด้วยเครื่องยิงลูกระเบิด แบบ๙๓

                                 (ตามมาตรฐานสหรัฐ ฯเรียกว่า เครื่องยิง แบบ เอ็ม ๑)

                ส่วนบรรจุ  ๖ (ใช้ส่วนบรรจุหลักและ ๑ ส่วนบรรจุเพิ่ม ชุด เอ

                                 กับ ๕ ส่วนบรรจุเพิ่ม ชุด บี)                                ๒๐๒.๐ ม./วินาที

                ส่วนบรรจุ  ๗ (ใช้ส่วนบรรจุหลักและ ๑ ส่วนบรรจุเพิ่ม ชุด เอ

                                 กับ ๖ ส่วนบรรจุเพิ่ม ชุด บี)                                ๒๒๔.๐ ม./วินาที

                ส่วนบรรจุ  ๘ (ใช้ส่วนบรรจุหลักและ ๑ ส่วนบรรจุเพิ่ม ชุด เอ

                                 กับ ๗ ส่วนบรรจุเพิ่ม ชุด บี)                                ๒๔๕.๑ ม./วินาที

                ส่วนบรรจุ  ๙ (ใช้ส่วนบรรจุหลักและ ๑ ส่วนบรรจุเพิ่ม ชุด เอ

                                 กับ ๘ ส่วนบรรจุเพิ่ม ชุด บี)                                ๒๖๐.๖ ม./วินาที

           ๔.๒ ระยะยิง             ใกล้สุด           ไกลสุด

                ส่วนบรรจุ ๐         ๗๐               ๔๐๑

                ส่วนบรรจุ ๑         ๑๘๑             ๑,๐๓๗

                ส่วนบรรจุ ๒         ๒๖๓             ๑,๕๐๘

                ส่วนบรรจุ ๓         ๓๔๘             ๑,๙๘๑

                ส่วนบรรจุ ๔         ๔๓๒             ๒,๔๖๖

                ส่วนบรรจุ ๕         ๕๑๓             ๒,๙๒๔

                คำเตือน   ห้ามใช้เกินส่วนบรรจุ ๕ เมื่อใช้ยิงด้วยเครื่องยิงลูกระเบิดแบบ = ๙๓

                              (ตามมาตรฐานสหรัฐ ฯเรียกว่าเครื่องยิงแบบ เอ็ม ๑)

                ส่วนบรรจุ ๖         ๕๔๒             ๓,๓๓๔

                ส่วนบรรจุ ๗         ๖๖๘             ๓,๘๐๒

                ส่วนบรรจุ ๘         ๗๔๑             ๔,๒๐๙

                ส่วนบรรจุ ๙         ๘๑๑             ๔,๕๙๕

๕. ข้อห้าม

           ๕.๑ เมื่อยิง ลย./ค.แบบนี้โดยใช้เครื่องยิงลูกระเบิดแบบ ๙๓ (ตามมาตรฐานสหรัฐ ฯ เรียกว่าเครื่องยิงแบบ เอ็ม ๑) ห้ามใช้เกินส่วนบรรจุ ๕

           ๕.๒ เมื่อทำการยิงต่อเนื่องด้วยส่วนบรรจุ ๙ โดยใช้เครื่องยิงแบบเอ็ม ๒๙ ห้ามยิงเกินกว่า ๑๒ นัด ต่อนาที

๖. กระสุน (ลย.)และชนวน ค.๘๑ มม.

           กล่าวทั่วไป การแบ่งประเภทและลักษณะการใช้งานของกระสุน (ลย.)ค.๘๑ มม.มีลักษณะเช่นเดียวกับรายการที่แสดงไว้ในเรื่อง ค.๖๐ มม.กระสุน (ลย.) ค.๘๑ มม.ที่ใช้ในปัจจุบันได้แก่ กระสุนจริงกระสุนซ้อมยิง และกระสุนฝึกหัด

           กระสุนจริง คือกระสุนตามข้อ ก,ข,ค, ดังนี้

                ก. กระสุนระเบิดแรง (HE)

                ข. กระสุนควันสีขาว

                ค. กระสุนส่องแสง


๑. ชนวนหัวแบบ เอ ๒

           ๒. สลักนิรภัย

           ๓. สลักตั้งชนวน

           ๔. ปลอกรับชนวนหัว

           ๕. ดินขยายการระเบิด

           ๖. คำเตือนการใช้ส่วนบรรจุเพิ่ม

           ๗. เปลือก ลบ/ค.

           ๘. แหวนกันแก๊ส

           ๙. วัตถุระเบิดแรงสูง ที.เอ็น.ที.(ไทรไนโตรโทลูอิน)

           ๑๐. เครื่องหมาย

           ๑๑. ส่วนบรรจุเพิ่ม

           ๑๒. ส่วนบรรจุหลัก

           ๑๓. ชนวนท้าย

           ๑๔. ครีบหางนำทิศ

กระสุน และชนวน

ที่ผลิตโดย รง.กสย.ศอว.ทบ.

กล่าวทั่วไป

           ค.๘๑ มม.ศอว.ทบ.ใช้ยิงด้วยลูกระเบิดยิงขนาด ๘๑ มิลลิเมตร ซึ่งเป็นลูกระเบิดแบบสำเร็จรูปชนิดกึ่งรวมลูกระเบิดยิงนี้เรียกชื่อเต็มว่า "ลูกระเบิดยิงเครื่องยิงลูกระเบิด" ขนาด ๘๑ มิลลิเมตร หรือเรียกย่อว่า "ลย./ค. ๘๑ ลูกระเบิดยิงนี้จ่ายให้ในลักษณะกระสุนครบนัด (COMOLETE-ROUND)ลย./ค.๘๑ เป็นกระสุนมีหางแต่สำหรับส่วนบรรจุนั้นสามารถแยกออกได้ การที่จัดเข้าไว้เป็นประเภทแยกบรรจุเพราะสามารถเปลี่ยนแปลงส่วนบรรจุได้เหมือนกระสุนแยก เวลายิงใช้บรรจุลงไปในเครื่องยิงรวมกันเป็นหน่วยเดียว (ครบนัด)แต่สำหรับส่วนบรรจุนั้นแยกออกได้ก่อนจะทำการบรรจุโดยใช้ยิงไปตามระยะที่ต้องการตามตารางยิง

เริ่มผลิตได้ปี ๒๕๒๖ และเป็นประเภทที่ ๒ ที่ รง.กสย.ผลิตได้จึงได้กำหนดให้เป็นแบบ CTG-262(ประเภทที่ ๒,ประเภทรบ :ชนิดสังหาร)

           รายละเอียดของแต่ละส่วนประกอบ

           ชนวน

                ก. ชนวนที่ รง.กสย.ผลิตได้มี ๒ แบบคือ แบบ M ๑๑๑ A ๒ และแบบ M ๑๑๑ A ๓ ทั้งสองแบบมีการทำงานเหมือนกันคือสามารถตั้งการทำงานได้ทั้งยิงแบบกระทบแตกไวทันทีและยิงแบบกระทบแตกไว-ถ่วงเวลา ซึ่งจะทำงาน ๐.๐๕ วินาทีหลังจากกระทบหากแต่ว่าชนวน M ๑๑๑ A ๓ มีความไวมากกว่าแบบ M ๑๑๑ A ๒ เท่านั้

ข. การปฏิบัติก่อนทำการยิง

                     - ตั้งการทำงานของชนวนหัวก่อนคือ ถ้าต้องการให้ทำงานแบบกระทบแตกไวทันทีก็ให้หมุนรอยบากสลักตั้งชนวนให้ชี้ตรงอักษร SQ หากต้องการให้ทำงานแบบกระทบแตกไว-ถ่วงเวลาก็ให้จัดรอยบากสลักตั้งชนวนให้ชี้ตรงอักษร D (ดี)

                     - ก่อนทำการยิงจะต้องถอดสลักนิรภัยที่ชนวนหัวออกทุกครั้ง

                ค. ลักษณะทั่ว ๆ ไป

                         สี              - สีเทา

                         น้ำหนัก     - A ๒ หนัก = ๒๐๑ + ๑๐ กรัม

                                             - A ๓ หนัก = ๒๐๘ + ๑๐ กรัม

        ๒. ตัวลูกระเบิด

                ก. ขนาดยาว                      = ๒๒๒.๘๑ + ๐.๘ มิลลิเมตร

                ข. ตัวกระสุนหนัก                = ๒๙๒๐ + ๕๐ กรัม

                ค. บรรจุดินระเบิดหนัก         = ๕๔๐ กรัม

                ง. รวมตัวกระสุน + ดินระเบิด = ๓๔๖๐ + ๕๐ กรัม

                จ. ลักษณะทั่ว ๆ ไป

                     - สีกากีแกมเขียว

                     - มีอักษรที่ตัวระเบิดดังนี้คือ

                     - ๘๑ MM. (หมายถึงลูกระเบิดนี้ใช้ยิงกับเครื่องยิงลูกระเบิดขนาด ๘๑ มิลลิเมตร)

                     -TNT (หมายถึงภายในบรรจุดินระเบิด TNT)

                     -CTG-M ๒๖๒(หมายถึงแบบลูกระเบิดยิง M-๒๖๒ คือ ผลิตในปี ๒๕๒๖ และเป็นลูกระเบิดประเภทที่ ๒ ที่ รง.กสย.ผลิตได้)

                     -LOT AAP-๘๑๐๑-๐๓-๒๘ (หมายถึงงวดงานของกระสุนที่ผลิตจาก รอ.กสย.)

           ๓. หางลูกระเบิด

                ก. วัสดุที่ใช้ทำเป็นอลูมิเนียมมีขนาดยาว = ๑๗๖.๓ - ๒.๗ มิลลิเมตร

                ข. สีดำ

                ชนวนท้าย ทำหน้าที่จุดระเบิด

                ส่วนบรรจุหลัก บรรจุไว้ภายในหาง ลย./ค.๘๑ มม.

                ส่วนบรรจุเพิ่ม มี ๗ ส่วนบรรจุเริ่มตั้งแต่ บจ. ๑,๒,๓,๔,๕,๖,๗  มาตรทานต่าง ๆ

           ๔. ลักษณะทั่วไป

                     - กระสุนครบนัดพร้อมหัวชนวน

                         น้ำหนัก     = ๓๙๐๐ กรัม

                         ความยาว   = ๓๗.๐ เซนติเมตร

           ๕. ขีปนวิธี

                     ส่วนบรรจุ       ระยะยิงไกลสุด (เมตร)

                         ๐                          ๔๓๕

                         ๑                          ๘๕๐

                         ๒                         ๑,๒๕๐

                         ๓                         ๒,๑๐๐

                         ๔                         ๒,๗๐๐

                         ๕                         ๓,๓๕๐

                         ๖                          ๓,๙๐๐

                         ๗                         ๔,๔๕๐


           ๖. การบรรจุหีบห่อ ลังสำหรับลูกระเบิดยิงทำด้วยไม้บรรจุลูกระเบิดยิงลังละ ๒ นัด ลูกระเบิดยิงแต่ละนัดบรรจุอยู่ในกล่องกระดาษดำกันน้ำและมีผ้ายางกันความชื้นปิดรอบฝากล่องอยู่ด้วย

           ๗. การระมัดระวังความปลอดภัยและการเก็บรักษา วัตถุระเบิดทั้งหลายย่อมจะเสื่อมคุณภาพเนื่องจากถูกความชื้นและความร้อนสูง ๆ เพราะฉะนั้นเพื่อเป็นการรักษาให้สามารถใช้งานได้นาน ๆ ควรจะได้มีการระวังป้องกันและการเก็บรักษาลูกระเบิดยิงดังนี้

                ๑) อย่าเอาผ้ายางกันความชื้นที่พันฝากล่องออกจนกว่าจะใช้ลูกระเบิดยิงทำการยิง

                ๒) ป้องกัน ชนวน,ส่วนบรรจุหลัก,ส่วนบรรจุเพิ่มมิให้ถูกความร้อนสูงหรือรับแสงอาทิตย์ที่ฉายมาตรง ๆ การยิงจะได้ผลดียิ่งขึ้นเมื่อลูกระเบิดยิงมีอุณหภูมิอยู่ในระดับเดียวกัน

                ๓) อย่าถอดสลักนิรภัยออกจากชนวนหัวจนกว่าจะทำการยิงลูกระเบิดยิงนั้น

                ๔) ความชื้นจะทำให้ระยะยิงลดลง เป็นเหตุให้เกิดอันตรายจากลูกระเบิดยิงตกในระยะใกล้กว่าปกติ ดังนั้นจะต้องป้องกันมิให้ลูกระเบิดยิงเปียกหรือเกิดความชื้นได้

                ๕) เมื่อต้องการวางลูกระเบิดยิงไว้ในที่โล่ง ไม่มีสิ่งปกปิด ให้วางอยู่บนสิ่งรองรับที่ทำด้วยไม้สูงจากพื้นดินอย่างน้อย ๑๕ เซนติเมตร และคลุมด้วยผ้าใบชุบน้ำมัน ๒ ชั้น แล้วขุดร่องน้ำรอบกองลูกระเบิดยิงเพื่อป้องกันน้ำไหลเข้าใต้กองกระสุน

                ๖) ก่อนที่จะบรรจุลูกระเบิดยิงในเครื่องยิงต้องแน่ใจว่า ไม่มีสิ่งอื่น ๆ ติดอยู่กับลูกระเบิดยิง เช่น ทราย โคลนหรือไขมัน เป็นต้น

                ๗) เพื่อป้องกันส่วนบรรจุเพิ่มของลูกระเบิดยิงในระหว่างเตรียมการยิง ให้ถอดเอาฝากล่องของลูกระเบิดยิงครอบไว้ตอนท้ายของลูกระเบิดยิง

                ๘) การเก็บลูกระเบิดยิงเข้ากล่อง หลังจากได้เตรียมการไว้แต่มิได้ยิง การเก็บรักษาเข้าที่เดิมนั้นมีหลักอยู่ว่า ให้อยู่ในลักษณะเดิม โดยใส่สลักนิรภัยนำใส่กล่องเดิม ให้ตรวจดูชนวนหัวอีกครั้งก่อนนำเข้ากล่อง

                ๙) อย่าถือหรือหยิบลูกระเบิดยิงที่ด้านเพราะชนวนอาจทำงานได้อย่าลืมว่าลูกระเบิดยิงที่ด้านนั้นมีอันตรายมาก อย่าไปเคลื่อนที่หรือหมุนเล่นอาจเกิดอันตรายขึ้นได้

 

คำแนะนำสำหรับการใช้ ลย./ค.ขนาด ๘๑ มม.เอ็ม ๒๖๒

           ๑. ลย./ค.ขนาด ๘๑ มม.เอ็ม ๒๖๒ สามารถใช้ยิงกับเครื่องยิงลูกระเบิดขนาด ๘๑ มม. ที่มีใช้อยู่ใน ทบ.ได้ทุกแบบ โดยมีระยะยิงแต่ละส่วนบรรจุดังนี้

                ๑.๑ ส่วนบรรจุ ๐                ระยะยิง          ๑๕๐  -   ๔๓๕  เมตร

                ๑.๒ ส่วนบรรจุ ๑                ระยะยิง          ๓๐๐  -   ๘๕๐  เมตร

                ๑.๓ ส่วนบรรจุ ๒        ระยะยิง      ๖๕๐  -  ๑๒๕๐  เมตร

                ๑.๔ ส่วนบรรจุ ๓                ระยะยิง         ๑๒๐๐  -  ๒๑๐๐  เมตร

                ๑.๕ ส่วนบรรจุ ๔                ระยะยิง         ๑๙๐๐  -  ๒๗๐๐  เมตร

                ๑.๖ ส่วนบรรจุ ๕                ระยะยิง         ๒๕๐๐  -  ๓๓๕๐  เมตร

                ๑.๗ ส่วนบรรจุ ๖                ระยะยิง         ๓๐๕๐  -  ๓๙๐๐  เมตร

                ๑.๘ ส่วนบรรจุ ๗                ระยะยิง         ๓๕๐๐  -  ๔๔๕๐  เมตร

           ๒. ชนวนหัวของ ลย./ค.ขนาด ๘๑ มม.เอ็ม ๒๖๒ เป็นชนวนหัวอบบ ดีเอ็ม ๑๑๑ เอ ๒ สามารถ ตั้งชนวนหัวได้ทั้งยิงแบบกระทบแตกไวทันทีหรือยิงแบบกระทบแตกไวถ่วงเวลาซึ่งจะระเบิดในเวลา ๐.๐๕ วินาที หลังจากกระทบที่หมาย โดยให้จัดรอยบากสลักตั้งชนวนหัว ดังนี้

                ๒.๑ กระทบแตกไวทันที จัดรอยบากสลักตั้งชนวนให้ชี้ตรงอักษร SQ หรือคือการจัดรอยบากสลักตั้งชนวนอยู่ในแนวขนานกับ ลย./ค. นั่นเอง

                ๒.๒ กระทบแตกไวถ่วงเวลา จัดรอยบากสลักตั้งชนวนให้ชี้ตรงอักษร D หรือคือ การจัดรอยบากสลักตั้งชนวนอยู่ในแนวขนานกับ ลย./ค. นั่นเอง

           ๓. ก่อนทำการยิงจะต้องถอดสลักนิรภัยภายนอกที่ชนวนหัวออกทุกครั้ง

           ๔. การเก็บรักษา ลย./ค.ขนาด ๘๑ มม.เอ็ม ๒๖๒ นั้น จะต้องมีการเก็บรักษาเช่นเดียวกันกับการเก็บรักษา ลย./ค.ขนาด ๘๑ มม.แบบอื่น ๆ เมื่อยังไม่ใช้ทำการยิงให้เก็บรักษาไว้ภายในกล่องสำหรับเก็บ ลย./ค.ขนาด ๘๑ มม.เอ็ม ๒๖๒ เพื่อป้องกันความชื้นและอย่าให้ถูกแสงแดดจัด ลย./ค.ขนาด ๘๑ มม. เอ็ม ๒๖๒ จะทำงานได้อย่างสมบูรณ์ เมื่อทำการยิงในอุณหภูมิของอากาศระหว่าง -๔๐ องศา C. ถึง +๕๐ องศา C.

 

คำแนะนำสำหรับการใช้ตารางยิง

           ๑. หากระยะยิงที่จะใช้ทำการยิงที่หมายสามารถเลือกใช้ส่วนบรรจุและมุมยิง ทำการยิงได้มากกว่า ๑ ส่วนบรรจุและมากกว่า ๑ มุมยิงแล้ว ให้เลือกใช้ส่วนบรรจุซึ่งจะสามารถทำการยิงได้ครอบคลุมระยะยิงได้ไกลกว่า โดยไม่ต้องเปลี่ยนส่วนบรรจุเป็นส่วนบรรจุที่จะใช้ทำการยิง อาทิเช่น ระยะยิง ๒๐๐๐ เมตร ให้เลือกใช้ส่วนบรรจุ ๔ มุมยิง ๑๑๕๘ มิลเลียม ทำการยิง เป็นต้น

           ๒. สำหรับการยิงต่อที่หมายที่จะต้องมีการปรับการยิง ให้เลือกส่วนบรรจุที่สามารถใช้ยิงได้ครอบคลุมระยะที่ต้องการปรับการยิง อาทิเช่น ต้องการปรับการยิงที่หมาย ระยะระหว่าง ๑๙๐๐ - ๒๑๐๐ เมตร ให้เลือกใช้ส่วนบรรจุ ๔ และใช้มุมยิงที่เหมาะสมกับระยะที่ต้องการยิง ทำการยิงเป็นต้น

           ลย./ค.ขนาด ๘๑ มม.เอ็ม ๒๖๒ ผลิตขึ้นโดย รง.กสย.ของ ศอว.ทบ. อาจจะยังมีข้อบกพร่องต่าง ๆ ที่จะต้องแก้ไข รง.กสย.รู้สึกมีความยินดีและขอขอบคุณเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ใช้จะกรุณาแจ้งผลการใช้ ข้อบกพร่องของ ลย./ค.ขนาด ๘๑ มม.เอ็ม ๒๖๒  ตลอดจนข้อเสนอแนะไปให้ รง.กสย.ได้ทราบ เพื่อ รง.กสย. จะได้นำข้อบกพร่องและข้อเสนอแนะต่าง ๆ เหล่านั้น ไปดำเนินการแก้ไขปรับปรุง ลย./ค.ขนาด ๘๑ มม.ที่จะผลิตขึ้นมาใหม่ให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้น โดยขอให้ส่งผลการใช้ ข้อบกพร่องและข้อเสนอแนะไปที่

 

                                                                     ผอ.รง.กสย.

                                                                     ตู้ ป.ณ.๗๗ อ.เมืองลพบุรี

                                                                     ลพบุรี ๑๕๐๐๐


การปรนนิบัติบำรุงกระสุนและชนวน

 

การระวังรักษา

           ๑. ตามปกติกระสุนที่เก็บไว้ในสนามรบ จะถูกนำมาใช้เมื่อมีสถานการณ์เกิดขึ้น ดังนั้นควรระมัดระวังกล่องใส่กระสุนอย่าให้แตก ชำรุดหรือเสียหาย

           ๒. ต้องระมัดระวังอย่าให้กระสุนและชนวนหัวถูกความชื้น ความเย็นจัดและความร้อนจัดอย่าให้กระสุนเปรอะเปื้อนดิน ทราย โคลน และน้ำมัน ฯลฯ

           ๓. อย่าทำลายแถบกระดาษกันน้ำเข้าและป้องกันความชื้น ซึ่งพันผนึกที่กล่องนั้น จนกว่าจะนำกระสุนออกมากทำการยิง

           ๔. ห้ามมิให้ทำการยิงลูกระเบิดยิงชนิดสังหาร ทำลาย หรือลูกระเบิดยิงชนิดควันฟอสฟอรัสขาวข้ามศีรษะหน่วยทหารฝ่ายเดียวกัน เว้นแต่หน่วยทหารนั้นจะอยู่ในรถถังห่างจากแนวเส้นยิง ๑๐๐ หลา (๙๐ เมตร) หรือมากกว่า

           ๕. ลูกระเบิดยิงที่เตรียมไว้ทำการยิง จะต้องวางไว้บนหีบไม้และให้มีกล่องบรรจุของมันครอบส่วนหางของมันไว้จนกระทั่งถึงเวลายิง

การเคลื่อนย้าย

           ๑. ระหว่างการเคลื่อนย้าย ต้องระมัดระวังอย่าให้กระสุนตกหล่นหรือเกิดการกระแทกแรง ๆ

           ๒. ระหว่างการเคลื่อนย้าย ต้องระมัดระวังอย่าให้ถุงดินเพิ่มถูกน้ำและความชื้น อย่าให้ถุงดินเพิ่มแตกฉีกขาด

           ๓. ตลอดเวลาระหว่างการเคลื่อนย้าย ต้องระมัดระวังอย่าให้ชนวนหัวและเครื่องเริ่มจุดเกิดการกระทบหรือกระแทก

           ๔. ระหว่างการเคลื่อนย้ายชนวนหัวอย่าให้สลักนิรภัยหลุดออกจากรูได้

           ๕. กระสุนที่ติดชนวนกะกำหนดนั้น อาจจะจับถือหรือบรรทุกขนส่งไปได้ในระยะทางใกล้ ๆ ได้อย่างปลอดภัย แต่ควรจะขนส่งไปในระยะพอสมควรเท่านั้น ถ้าต้องขนส่งไปในระยะทางไกล ๆ แล้วควรจะถอดใส่กล่องเดิมของมันดีกว่า ควรนำเอาถุงดินเพิ่มและชนวนเดิมหรือจุกอุด (พร้อมด้วยที่รองและปลอกกั้น) ใส่เข้ากับกระสุนอย่างเดิม ให้แน่ใจว่าได้นำเอาถุงดินเพิ่มใส่ไว้ในลักษณะที่ถูกต้อง

           การบรรจุหีบห่อ ลังสำหรับลูกระเบิดยิงทำด้วยไม้ บรรจุลูกระเบิดยิงลังละ ๓ นัด ลูกระเบิดยิงแต่ละนัดบรรจุอยู่ในกล่องกันน้ำ และมีผ้ายางกันความชื้นปิดรอยต่อฝากล่องอยู่ด้วย

การปรนนิบัติบำรุง

           ๑. ลำดับในการปรนนิบัติบำรุง

                ๑.๑ ตรวจหีบใส่กระสุนทุกวันโดยไม่ต้องเปิด ถ้าปรากฏสิ่งที่แสดงให้เห็นว่ากระสุนอาจจะสกปรกหรือเสื่อมสภาพ จึงควรเปิดหีบใส่กระสุนออกตรวจ

                ๑.๒ กระสุนที่ถูกเปิดหีบแล้ว ให้ตรวจสภาพของกระสุนและส่วนประกอบอื่น ๆ ทุกวันโดยไม่ต้องแกะกล่องกระสุนที่ผนึกไว้

                ข้อพึงระวัง อย่าขัดกระสุนเพื่อทำให้เกิดความสวยงาม

                ๑.๓ เช็ดน้ำสิ่งสกปรกและสนิมบาง ๆ ออกจากตัวกระสุนให้สะอาด

                ๑.๔ กระสุนที่ตรวจแล้วปรากฏว่าเป็นสนิมมาก ดินส่งกระสุนสกปรกและเปียกชื้นใช้การไม่ได้ ไม่ควรจะนำกระสุนชนิดนี้มาใช้งาน เว้นแต่ในกรณีฉุกเฉินเท่านั้น

                ๑.๕ กระสุนที่นำออกมากจากกล่องแล้วไม่ได้ทำการยิงให้ใส่กลับเข้าไว้ในกล่องตามเดิม ก่อนใส่ต้องตรวจให้แน่ใจว่ากระสุนแห้งสนิทและสะอาดเรียบร้อย ถ้ากล่องเดิมชำรุดให้ใช้กล่องอื่นใส่แทน และเขียนป้ายบอกรายละเอียดไว้ให้ชัดเจน

           ๒. กระสุนหรือส่วนประกอบอื่น ๆ ของกระสุนที่เตรียมไว้สำหรับยิงแต่ไม่ได้ใช้ยิง

                ๒.๑ ใส่จุกปิดหัวชนวน (ใส่ปะเก็นด้วย) หรือใส่ชนวนเข้ากับตัวกระสุน ให้อยู่ในสภาพเดิมพร้อมที่จะนำเก็บเข้าคลัง

                ๒.๒ ตรวจอุปกรณ์นิรภัยให้อยู่ในตำแหน่งเดิม

                ๒.๓ เก็บกระสุนและ/หรือชนวน เข้าไว้ในกล่องเดิม ตัวอักษรและเครื่องหมายต่าง ๆ ที่ทำไว้บนกล่องจะต้องชัดเจนและครบถ้วนเหมือนเดิมทุกประการ

           ๓. กระสุนที่ใช้การไม่ได้

                ๓.๑ เก็บกระสุนไว้ในกล่องเดิม แต่ถ้ากล่องเดิมชำรุดให้ใช้กล่องอันอื่นแทน แต่ต้องเขียนป้ายบอกรายละเอียดพร้อมเครื่องหมายต่าง ๆ ไว้ให้ครบถ้วน และให้เขียนข้อความว่า "กระสุนใช้การไม่ได้" ไว้ทุกกล่อง

                ๓.๒ ส่งกระสุนที่ใช้การไม่ได้คืนให้กับเจ้าหน้าที่ส่งกำลังเพื่อทำลายต่อไป

 

การเก็บรักษา

           กระสุนที่ตากแดดหรือเก็บไว้ในที่เก็บที่ไม่มีการระบายอากาศ วางกลางแจ้งมีรั้วลวดหนามล้อมรอบ วางบนชั้นวางของบนรถบรรทุกที่ตากแดดนั้น อุณหภูมิอาจสูงเกินกว่าที่กำหนดที่จะสามารถเก็บกระสุนได้ ฉะนั้นจงพยายามหลีกเลี่ยงการเก็บกระสุนและส่วนประกอบกลางแสงแดด

           ๑. อุณหภูมิที่กำหนด

                ๑.๑ อุณหภูมิต่ำกว่ากำหนดคือต่ำกว่า - ๖๒ องศา C. เก็บกระสุนไว้ได้ไม่เกิน ๓ วันและอุณหภูมิสูงกว่ากำหนดคือสูงกว่า + ๗๑ องศา C. เก็บกระสุนได้ไม่เกิน ๔ ชม.

                ๑.๒ การเก็บรักษาและการเคลื่อนย้ายกระสุนที่ประกอบด้วยฟอสฟอรัสขาว (WP.) นั้น กระทำที่อุณหภูมิต่ำกว่าจุดละลายของฟอสฟอรัสขาว คือ + ๑๑๑.๔ องศา F. (ประมาณ ๔๔ องศา C.)

                คำเตือน อย่าเก็บกระสุนไว้ใต้ต้นไม้หรือใกล้กับปล่องไฟ หรือใกล้กับสิ่งปลูกสร้างที่อาจจะถูกฟ้าผ่าได้ง่าย

           ๒. สถานที่เก็บ เมื่อจำเป็นต้องเก็บกระสุนไว้กลางแจ้ง ให้เลือกสถานที่ที่ห่างจากสายแมนไฟฟ้าหรือสถานที่ที่จะทำให้เกิดการระเบิดและติดไฟได้ง่าย จะต้องไม่อยู่ใกล้กับอ่างเก็บน้ำ คลอง หรือท่อระบายน้ำ พื้นจะต้องเรียบและได้ระดับตลอดจนมีการระบายน้ำที่ดี

           ๓. การจัดวาง

                ๓.๑ ใช้ฟางหนา ๆ ปูพื้นดินข้างใต้กองกระสุนเพื่อป้องกันกระสุนจมดิน

                     พื้นดินที่เป็นหินดินปนกรวดและทรายนั้นไม่จำเป็นต้องใช้ฟางมากนักใต้กองกระสุนจะต้องสูงจากพื้นดินอย่างน้อย ๖ นิ้ว (>>๑๕ ซม.) เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้ ขุดร่องระบายน้ำล้อมรอบกองกระสุนเพื่อป้องกันน้ำไหลเข้าไปใต้กระสุน

                ๓.๒ ใช้ผ้าใบคลุมกองกระสุนโดยให้มีช่องว่างระหว่างผ้าใบกับกระสุนประมาณ ๑๘ นิ้ว (ประมาณ ๔๖ ซม.) และให้ริมของผ้าใบตอนล่างสูงจากพื้นดิน ๖ นิ้ว (ประมาณ ๑๕ ซม.) เพื่อให้มีการถ่ายเทอากาศได้

                ๓.๓ เก็บกระสุนฟอสฟอรัสขาว โดยให้หัวตั้งขึ้นข้างบน

                ๓.๔ วางหีบกระสุนตั้งให้ถูกต้องตามทิศทางที่ตัวอักษรหรือเครื่องหมายกำหนดไว้ที่หีบกระสุน

 

การทำลายเครื่องยิงลูกระเบิด และ ลูกระเบิดยิง

 

           ๑. ความมุ่งหมาย เครื่องยิงลูกระเบิดขนาด ๘๑ มม. ทุกแบบที่อยู่ในสภาวะใกล้ถูกยึด หรือมีความจำเป็นต้องสละทิ้งในเขตพื้นที่การรบ ผู้บังคับหน่วยจะออกคำสั่งให้ทำลาย โดยต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือก่อน การทำลายอาวุธยุทโธปกรณ์ของฝ่ายเรา ก็เพื่อป้องกันไม่ให้ข้าศึกนำไปใช้ได้อีก โดยกระทำให้ระบบที่สำคัญต่าง ๆ ของเครื่องยิงลูกระเบิดเสียหายเกินกว่าจะซ่อมได้ สำหรับความเร่งด่วนในการทำลายนั้น ควรทำลายชิ้นส่วนที่ยากต่อการสับเปลี่ยนตามลำดับ ดังนี้ ชุดเครื่องเล็ง,ชุดลั่นไก (ถ้ามี),เข็มแทงชนวน ประการสำคัญจะต้องทำลายชิ้นส่วนที่เหมือนกันของเครื่องยิงทุกระบบ เพื่อไม่ให้ข้าศึกนำไปใช้แทนกันได้

           ๒. การทำลายเครื่องยิงลูกระเบิดขนาด ๘๑ มม. กระทำดังนี้

                ก. ใช้ดินระเบิดทำลายลำกล้อง โดยใช้ดินระเบิด ทีเอ็นที ประมาณ ๑/๒ ปอนด์ ใส่ภายในลำกล้องของเครื่องยิงลูกระเบิด

                ข. การเผา โดยใช้น้ำมัน หรือระเบิดเพลิง

                ค. ใช้ปืนยิง เฉพาะส่วนประกอบสำคัญ ๆ ให้เสียหายจนไม่สามารถใช้ได้

                ง. ทำลายทางเชิงกล ด้วยการใช้วัสดุหนัก ๆ ทุบส่วนประกอบของเครื่องยิง

           ๓. การทำลายลูกระเบิดยิง กระทำดังนี้

                ก. วางกองรวม ๆ กันไว้เอาน้ำมันเชื้อเพลิงราดแล้วใช้ไฟจุดเผา พลประจำปืนต้องรีบเข้าที่กำบัง

                ข. ใช้ดินระเบิด ทีเอ็นที เป็นตัวระเบิดนำ โดยนำลูกระเบิดยิงมากองไว้แล้วใช้การระเบิดนำจากดินระเบิด

                ค. ถ้า ลย.บรรจุอยู่ในลังไม้ ก็ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับข้อ ก.หรือข้อ ข.

                ง. หากสามารถกระทำได้ การทำลาย ลย.นั้นวิธีที่ดีที่สุดคือการยิงเข้าไปยังข้าศึก หรือพื้นที่เขตปฏิบัติการของข้าศึกให้มากที่สุด