การเล็งและการยิงเป้าหมาย

ตอนที่ ๔ การเล็งและการยิงเป้าหมาย


ก. การเล็ง

           ศูนย์หลังของเครื่องยิง ทั้งหมดจะเป็นใบศูนย์หน้าเป็นแบบศูนย์ใบมีด ซึ่งมีแว่นแก้วพลาสติกติดอยู่ที่ใบของ ศูนย์ ซึ่งศูนย์ของเครื่องยิงนี้ได้รับการปรับความประณีตมาแล้วทั้งสิ้น

           ๑. ศูนย์หลัง จะติดตั้งอยู่ในตำแหน่งมั่นคงเมื่อเครื่องยิงเปิด จะมีก้านศูนย์สำหรับยิงเครื่องและ อัตโนมัติในสภาพอากาศอุณหภูมิไม่คงที่อยู่ด้วย

           ๒. ศูนย์หน้า คล้ายกับใบศูนย์หลัง ใบศูนย์หน้าสามารถหมุน/หัน โดยอัตโนมัติเข้าสู่ตำแหน่งยิงได้ เมื่อ ต่อท่อยิงเข้าด้วยกัน ใบศูนย์หน้าทำด้วยแผ่นพลาสติกใส และมีแผ่นกระจกแว่นแก้ว (แผ่นมาตรา) ติดอยู่ด้วยแผ่นกระจกแว่นแก้วจะมีส่วนประกอบต่าง ๆ ดังนี้ (ดูรูปที่ ๖)

                  ก) เส้นประทางดิ่ง (จะบอกระยะตั้งแต่ระยะ ๕๐ - ๓๕๐ ม.)

                  ข) กากบาทอ่านระยะ

                  ค) เส้นขีดนำทับกากบาท

                  ง) เส้นประมุมดักแนวโค้ง

           เส้นประทางดิ่งจะบอกระยะจาก ๕๐ - ๓๕๐ เมตร และจะมีเส้นบอกระยะเพิ่ม ๒๕ เมตร ใน ระหว่าง ๕๐ - ๑๐๐ เข้าไว้ด้วยทุก ๆ ระยะ ศูนย์หน้าจะถูกเคลือบไว้ด้วยสารเคมี ขีดนำบอกระยะของ ๑๐๐ เมตรและ ๑๕๐ เมตร ซึ่งจะช่วยบอกระยะสำหรับทำการยิงในเวลากลางคืนไว้เป็นสีเหลือง  ส่วนขีดนำอื่นจะ ทาสีแดงไว้

หมายเหตุ คจตถ.ทุกกระบอกจะมีข้อแนะนำการใช้ยิงในเวลากลางคืนติดไว้ด้านนอกของท่อทุกอันรวมทั้งใบศูนย์ หน้าจะมีกากบานนำทั้งขวาและซ้ายของเส้นกึ่งกลางกากบาทนี้จะใช้สำหรับยิงเป้าเคลื่อนที่

ข. การยิงเป้าหมาย

           ๑. เป้าหมายอยู่กับที่

                  ก) กะระยะเป้าหมายด้วยสายตาโดยประมาณหรือใช้เครื่องมือวัดระยะ

                  ข) ปรับระยะเครื่องหมายบนเส้นดิ่ง โดยให้อยู่ตรงจุดกึ่งกลางของเป้าหมายและยิง (ดูรูปที่ ๗)

รูปที่ ๗ เป้าหมายอยู่กับที่ อยู่ห่างจากพลยิง ๑๗๕ เมตร


           ๒. เป้าหมายเคลื่อนที่

                  ก) ประมาณความเร็วของเป้าหมายที่ผ่านหน้า โดยคิดความเร็ว "ช้า" (ประมาณ ๕ กม./ชม. หรือน้อยกว่า) หรือความเร็ว "เร็ว" (เกินกว่า ๕ กม./ชม.)

                         ๑) ถ้าเป้าหมายเคลื่อนที่ตรงหน้าเข้าหาหรือออกไป ให้คิดความเร็วเป็นศูนย์ และให้เป้าหมาย อยู่กับที่

                         ๒) ถ้าเป้าหมายด้านหน้าหรือด้านหลังมากกว่าด้านข้าง (เป้าหมายเคลื่อนที่เข้าหรือออกไปจาก ทิศ ๑๑ หรือ ๑ นาฬิกา) ให้คิดเป็นเป้าหมายความเร็วช้า

                  ข) ประมาณระยะถึงเป้าหมาย เช่นเดียวกับเป้าหมายอยู่กับที่

                  ค) เป้าหมายเคลื่อนที่ช้า เพราะฉะนั้นกำหนดระยะบนเส้นแนวดิ่งให้เครื่องหมายกากบาทนำตรง ตามระยะนั้นอยู่ตรงกึ่งกลางของเป้าหมายและยิง (ดูรูปที่ ๘)

 

หมายเหตุ ให้แน่ใจว่าจุดกึ่งกลางของเส้นดิ่งอยู่ตรงหน้าของเป้าหมาย ถ้าไม่มีเครื่องหมายนำที่จะให้ ใช้วิธีกะ ระยะโดยลากเส้นผ่านเครื่องหมายกากบาทนำนั้น

รูปที่ ๘ เป้าหมายเคลื่อนที่ช้า อยู่ห่างจากพลยิง ๑๗๕ เมตร

 

                  ง) เป้าหมายเคลื่อนที่เร็ว  เพราะฉะนั้นกำหนดระยะบนเส้นแนวดิ่งให้เครื่องหมายกากบาทนำตรง ตามระยะนั้น อยู่ตรงหน้าของขอบเป้าหมายและยิง (รูปที่ ๙

รูปที่ ๙ เป้าหมายเคลื่อนที่เร็ว อยู่ห่างจากพลยิง ๑๗๕ เมตร