การปรับศูนย์และการแก้ทิศทางลม

การปรับศูนย์ และการแก้ทิศทางลม ปลย.เอ็ม.๑๖

กล่าวนำ

ถึงแม้ว่าจะเรียนเรื่องอาวุธศึกษามาอย่างเชี่ยวชาญแล้วก็ตาม แต่ไม่รู้จักใช้อาวุธนั้นก็ไร้ประสิทธิภาพอาวุธจะพาไปให้ข้าศึกยิง ไม่ใช้นำอาวุธไปยิงข้าศึก อาวุธจะเกิดประสิทธิภาพก็ต่อเมื่อรู้จักใช้และที่สำคัญคือต้องรู้จักการปรับศูนย์และการแก้ทิศทางลม เพื่อปรับตำบลกระสุนให้ถูกเป้าหมายที่เราต้องการ

๑. ศูนย์ปืน

ศูนย์ของปืน ปลย.เอ็ม.๑๖ เป็นศูนย์ที่สามารถปรับเลื่อนได้ทั้งมุมสูงและมุมทิศการปรับเลื่อนมุมทิศปรับที่ ศูนย์หลัง ส่วนการปรับเลื่อนมุมสูงปรับที่ศูนย์หน้า

ก. ศูนย์หลัง ประกอบด้วยช่องเล็ง ๒ ช่อง และมีควงมุมทิศพร้อมด้วยเดือยบังคับ ช่องเล็งศูนย์หลังที่มี เครื่องหมาย " L " ใช้สำหรับระยะยิงตั้งแต่ ๓๐๐ เมตรขึ้นไป และช่องเล็งศูนย์หลังที่ไม่มีเครื่องหมายสำหรับ ระยะยิงตั้งแต่ ๐ ถึง ๓๐๐ เมตร การปรับทางทิศ กระทำได้โดยการกดเดือยบังคับด้วยวัตถุปลายแหลมและหมุน ควงมุมทิศทางที่ต้องการให้ตำบลกระสุนถูกเปลี่ยนไป การหมุนตามเข็มนาฬิกา ๑ คลิ๊ก ตำบลกระสุนจะถูกเปลี่ยน ไปทางขวา ๒.๘ ซม. ทุก ๆ ๑๐๐ เมตร ของระยะยิง

ข. ศูนย์หน้า ประกอบด้วยแท่นศูนย์หน้าชนิดหมุนได้และเดือยบังคับ กดเดือยบังคับด้วยวัตถุที่แหลมหมุนแท่นศูนย์หน้าไปในทิศทางที่ยกขึ้น หรือทำให้ตำบลกระสุนต่ำลง การหมุนแท่นศูนย์ไปในทิศทางเครื่องหมายลูกศร" UPจะยกตำบลกระสุนถูกให้สูงขึ้น แต่ละคลิ๊กของแท่นศูนย์ที่หมุนจะทำให้ตำบลกระสุนถูกเปลี่ยนไป ๒.๘ ซม. ทุก ๆ๑๐๐ เมตร ของระยะยิง

๒. การตั้งศูนย์ตามระยะยิง

เริ่มแรกให้ดำเนินการตั้งศูนย์ทางช่างเสียก่อน คือ ศูนย์หน้า หมุนแท่นศูนย์หน้าให้เสมอกับฐานแท่นศูนย์,ศูนย์หลังหมุนควงมุมทิศทวนเข็มนาฬิกาจะทำให้ช่องเล็งศูนย์หลังเลื่อนไปทางซ้ายให้หมุนต่อไปจนกระทั่งสุดระยะเสร็จแล้วให้หมุนควงมุมทิศกลับ (หมุนตามเข็มนาฬิกา) ไปจำนวน ๑๗ คลิ๊ก มุมทิศจะอยู่กึ่งกลางเมื่อตั้งศูนย์ทางช่างได้ เรียบร้อยแล้ว ให้ตั้งศูนย์ตามระยะยิงดังนี้

ก. ระยะ ๑๘๓ เมตร (๒๐๐ หลา) ตั้งมุมสูง ๒๔ คลิ๊ก (แท่นศูนย์หน้าให้เสมอกับฐานแท่นศูนย์) ที่ศูนย์หน้าศูนย์หลังปรับให้มีค่าเป็นศูนย์ทางช่าง (กึ่งกลาง)ขั้นการปรับศูนย์เริ่มแรกควรจะเริ่ม จากระยะยิงนี้การแก้ทางทิศถ้าไม่จำเป็นแล้วไม่ควรปรับเกินกว่า ๖ คลิ๊ก การเล็งให้ใช้จุดเล็งที่ ๖ นาฬิกา

ข. ระยะ ๒๗๔ เมตร (๓๐๐ หลา) การตั้งศูนย์คงกระทำเช่นเดียวกันกับระยะ ๑๘๓ เมตร แต่ตำบลเล็งให้เล็งที่กึ่งกลาง

ค. ระยะ ๔๖๐ เมตร (๕๐๐ หลา) การตั้งศูนย์คงกระทำเช่นเดียวกับระยะ ๑๘๓ เมตร แต่ยกช่องเล็งระยะไกลขึ้น และตำบลเล็งจับบริเวณคอ หรืออกของภาพเงาดำ

การปรับศูนย์

การปรับศูนย์ คือ การปรับเส้นยิงเข้าหาเส้นเล็ง เส้นยิง คือ เส้นที่กระสุนวิ่งจากปืนไปถึงตำบลกระสุนถูกเส้นเล็ง คือ เส้นจาก ตา - ศูนย์ - ที่หมาย การปรับศูนย์เป็นการตั้งมุมสูงมุมทิศที่สามารถยิงไปถูกที่หมายในขณะที่ไม่มีลมพัด การปรับศูนย์มี ๒ วิธี คือ

วิธีที่ ๑ ยิงกระสุนครั้งละ ๓ นัด ให้ตั้งศูนย์หน้าและศูนย์หลังโดยไม่เปลี่ยนศูนย์เล็ง ตำบลเล็งเดียวกันกระสุนจะถูกเป้าเป็นกลุ่มแล้วปรับศูนย์เพื่อให้กลุ่มกระสุนเข้าหาเป้าหมายแล้วยิงต่อไปอีก ๓ นัด ทำแบบเดียวกับครั้งแรก ถ้ายังไม่ถูกเป้าหมายก็ปรับศูนย์อีกจนกว่ากระสุนจะถูกเป้าหมาย

วิธีที่ ๒ ยิงกระสุนนัดเดียวแล้วแก้ศูนย์ เพื่อเลื่อนกระสุนนัดต่อไปให้เข้ากึ่งกลางวงกลมดำแล้วยิงกระสุนนัดต่อไปอีก ทำเช่นนี้ต่อไปเรื่อย ๆ จนกว่ากระสุนจะเข้ากึ่งกลางวงกลมดำ วิธีที่ ๒ นี้ไม่เหมาะสำหรับผู้ที่ฝึกยิงปืนใหม่ การปรับศูนย์หน้า ศูนย์หลัง ใช้การคำนวณจากระยะยิง และระยะห่างของตำบลกระสุนถูกแล้วนำไปปรับที่ศูนย์หน้า ศูนย์หลัง

ศูนย์ปืนเป็นเรื่องของปืนแต่ละกระบอก แต่ละบุคคล ปืนกระบอกเดียวกันคนหนึ่งยิงเป้าหมายได้ดีอีกคนหนึ่งอาจจะยิงไม่ถูกเลยก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสายตาของแต่ละบุคคล การวางแก้ม การเล็ง การประทับปืนไม่เหมือนกัน

การปรับศูนย์หน้า คือ การปรับทางระยะจะมีผลทำให้ตำบลกระสุนสูงขึ้น หรือ ต่ำลง ถ้าปรับศูนย์หน้าให้ ต่ำลง ๑ คลิ๊ก จะทำให้ตำบลกระสุนถูกสูงขึ้น ๒.๘ ซม. ทุก ๆ ระยะ ๑๐๐ เมตร ถ้าปรับศูนย์หน้าให้สูงขึ้น ๑ คลิ๊ก จะทำให้ตำบลกระสุนถูกต่ำลง ๒.๘ ซม. ทุก ๆ ระยะ ๑๐๐ เมตร การตั้งศูนย์ครั้งแรกให้หมุนศูนย์หน้า เสมอกับแท่นศูนย์หน้า (มุมสูงมีค่า ๒๔ ) ควรทำเครื่องหมายไว้ เพื่อป้องกันการสับสนในการปรับศูนย์ครั้งต่อไป เมื่อได้ทำการหมุนศูนย์หน้าลงไปเท่าใดก็เท่ากับจำนวนคลิ๊กเท่านั้นและบันทึกไว้ในสมุดบันทึกแต้ม

การปรับศูนย์หลัง คือ การปรับทางทิศ จะมีผลทำให้ตำบลกระสุนเปลี่ยนไปทางขวาหรือซ้ายถ้าปรับศูนย์หลังไปตามเข็มนาฬิกา ๑ คลิ๊ก จะทำให้ตำบลกระสุนถูกเปลี่ยนไปทางขวา ๒.๘ ซม. ทุก ๆระยะ๑๐๐เมตรถ้าปรับศูนย์หลังทวนเข็มนาฬิกา ๑ คลิ๊ก จะทำให้ตำบลกระสุนถูกเปลี่ยนไปทางซ้าย ๒.๘ ซม. ทุก ๆ ระยะ ๑๐๐เมตร การตั้งศูนย์ครั้งแรกให้หมุนศูนย์หลังชิดขอบด้านซ้ายและหมุนกลับ ๑๗ คลิ๊ก ที่จานศูนย์หลังจะมีเลข ๑,๒,๓,๔,๕ ให้บันทึกลงในสมุดบันทึกแต้มว่า ๑๗ คลิ๊ก เลขอะไรตรงกับเครื่องหมายที่ด้ามหิ้วเพื่อป้องกันการสับสนในการปรับศูนย์ครั้งต่อไป

เป้าสำหรับยิง ปลย.เอ็ม.๑๖

ในการปรับศูนย์ จำเป็นจะต้องรู้ขนาดของเป้าด้วยเพื่อจะได้คำนวณการปรับศูนย์ได้ถูกต้องเป้าสำหรับยิงปลย.เอ็ม.๑๖ มีอยู่ ๓ อย่าง คือ

๑. เป้าแบบ ก. มีขนาด ๔X๖ ฟุต ใช้ยิงช้าในระยะ ๒๐๐,๓๐๐ หลา

- วงกลมดำ มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๒" มีค่า ๕ แต้ม

- วงใน มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๒๔" มีค่า ๔ แต้ม

- วงนอก มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๓๖" มีค่า ๓ แต้ม

- พ้นขอบวง ๓ แต้ม ทุกด้าน มีค่า ๒ แต้ม


๒. เป้าแบบ ข. มีขนาด ๖X๖ ฟุต ใช้ยิงช้าในระยะ ๕๐๐ หลา

- วงกลมดำ มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๒๐" มีค่า ๕ แต้ม

- วงใน มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๔๐" มีค่า ๔ แต้ม

- วงนอก มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๖๐" มีค่า ๓ แต้ม

- พ้นขอบวง ๓ แต้ม ทุกด้าน มีค่า ๒ แต้ม


๓. เป้าแบบ ค. มีขนาด ๖X๖ ฟุต ใช้ยิงเร็วในระยะ ๒๐๐,๓๐๐ หลา

- วงดำ มีเส้นความกว้าง ๒๖" สูง ๑๕" มีค่า ๕ แต้ม

- วงใน มีเส้นความกว้าง ๓๔" สูง ๓๗" มีค่า ๔ แต้ม

- วงนอก มีเส้นความกว้าง ๕๐" สูง ๔๐" มีค่า ๓ แต้ม

- พ้นขอบวง ๓ แต้ม ทุกด้าน มีค่า ๒ แต้ม

การใช้มุมสูง และมุมทิศ

ก่อนที่จะปรับศูนย์จำเป็นจะต้องรู้ ๒ อย่าง คือ ๑. ระยะยิง ๒. ระยะห่างจากตำบลกระสุนถูกถึงกลางวงกลมดำ

ในขณะทำการยิงผู้ยิงสามารถที่จะกะระยะระหว่าง ตำบลกระสุนถูก กับกึ่งกลางวงกลมดำได้โดยการกะระยะของผู้ยิงว่ากระสุนถูกห่างออกไปเท่าใดสิ่งที่ช่วยให้การกะระยะได้ใกล้เคียง คือต้องรู้ขนาดของเป้าในขณะทำการยิง เมื่อผู้ยิงทราบขนาดของเป้ากะระยะห่างของตำบลกระสุนถูกผู้ยิงก็คำนวณว่า จะปรับศูนย์กี่คลิ๊กจึงจะเลื่อนตำบลกระสุนเข้ากึ่งกลางวงกลมดำได้

ตัวอย่างการปรับศูนย์

๑. วิธีรายงานตำบลลั่นไกโดยใช้ระบบนาฬิกา สมมุติให้เป้าวงกลมเป็นหน้าปัทม์นาฬิกา

- ด้านบนของเป้า คือ ๑๒ นาฬิกา

- ด้านขวา คือ ๓ นาฬิกา

- ด้านล่าง คือ ๖ นาฬิกา

- ด้านซ้าย คือ ๙ นาฬิกา

จุดอื่น ๆ ของตำบลกระสุนถูกตามหมายเลขของหน้าปัทม์นาฬิกา



๒. ปัญหาที่ ๑ ระยะยิง ๒๐๐ หลา ตำบลกระสุนถูก ๙ นาฬิกา แต้มได้ ๔ แต้ม จะต้องปรับศูนย์อย่างไร

- ตำบลกระสุนถูก ๙ นาฬิกา แต้มได้ ๔ แต้ม

- ความห่างระหว่างตำบลกระสุนถูกถึง กึ่งกลางเป้าประมาณ

๙ นิ้ว เท่ากับ ๒๒.๕๐ ซม.

- ระยะ ๒๐๐ หลา ปรับ ๑ คลิ๊ก ประมาณ ๕.๖๐ ซม. ฉะนั้น

๒๒.๘๖ ซม.จึงปรับศูนย์หลังไปทางขวา ๔ คลิ๊ก


๓. ปัญหาที่ ๒ ระยะยิง ๓๐๐ หลา ตำบลกระสุนถูก ๖ นาฬิกา แต้มได้ ๓ แต้ม จะต้องปรับศูนย์อย่างไร

- ตำบลกระสุนถูก ๖ นาฬิกา แต้มได้ ๓ แต้ม

- ความห่างระหว่างตำบลกระสุนถูกถึง กึ่งกลางเป้าประมาณ ๑๕ นิ้ว เท่ากับ ๓๗.๕๐ ซม.

- ระยะ ๓๐๐ หลา ปรับ ๑ คลิ๊ก กระสุนเปลี่ยนไปประมาณ ๘.๔๐ ซม.ฉะนั้น ๓๗.๕๐ ซม.จึงปรับศูนย์หน้าลง ๔ คลิ๊ก


๔. ปัญหาที่ ๓ ระยะยิง ๕๐๐ หลา ตำบลกระสุน ๒ นาฬิกา จำนวน ๓ นัด แต้มได้ ๔ แต้ม จะต้องปรับศูนย์ อย่างไร

- ตำบลกระสุนถูก ๒ นาฬิกา แต้มได้ ๔ แต้ม

- ความห่างระหว่างตำบลกระสุนถูกถึง กึ่งกลางเป้าประมาณ

๑๕ นิ้ว เท่ากับ ๓๗.๕๐ ซม.กระสุนสูงจากเส้นผ่าศูนย์กลาง เป้าประมาณ ๗ นิ้ว เท่ากับ ๑๗.๕๐ ซม.

- ระยะ ๕๐๐ หลา ปรับ ๑ คลิ๊ก กระสุนเปลี่ยนไปประมาณ

๑๔ ซม. ฉะนั้นจึงปรับศูนย์หลังไปทางซ้าย ๓๗.๕ หารด้วย ๑๔ เท่ากับ ๓

คลิ๊ก ปรับศูนย์หน้าขึ้น ๑๗.๕ หารด้วย ๑๔ เท่ากับ ๑ คลิ๊ก



หมายเหตุ

- ๑ นิ้ว เท่ากับ ๒.๕๐ ซม.

- ปรับศูนย์หน้า และศูนย์หลัง ๑ คลิ๊ก ตำบลกระสุนจะเปลี่ยนไปประมาณ ๒.๘ ซม. ทุก ๆ ระยะ ๑๐๐ หลา

ทิศทางลม

ลมมีผลต่อการยิง ปลย.เอ็ม.๑๖ โดยขึ้นอยู่กับทิศทางที่ลมสัมพันธ์กับทิศทางยิงโดยใช้ "ระบบนาฬิกา"ดังนี้

- ลมพัดมาตรงหน้า เรียกว่าลม ๑๒ นาฬิกา

- ลมพัดตรงเข้ามาจากข้างหลัง เรียกว่าลม นาฬิกา

- ลมพัดตรงมาจากทางขวา เรียกว่าลม นาฬิกา

- ลมพัดตรงมาจากทางซ้าย เรียกว่าลม นาฬิกา

- ลมพัดมาจากทิศทางอื่น ๆ เรียกตามหมายเลขหน้าปัทม์นาฬิกาที่ได้สมมุติขึ้น เช่น ลม ๑ นาฬิกา ลม ๗ นาฬิกา


ความเร็วลม

เมื่อทราบทิศทางลมแล้วทหารยังจะต้องรู้ความเร็วลมวัดเป็นไมล์ต่อชั่วโมงอีกด้วย สามารถหาความเร็วลมได้ โดยประมาณความเร็วได้ ๒ วิธี

วิธีที่ ๑ เมื่อเวลาผู้ยิงอยู่ในสนามยิงปืน ให้สังเกตุธงประจำสนามยิงปืน ขณะลมพัดผืนธงจะปลิวสบัดออกทำมุมกับเสาธงให้กะมุมระหว่างชายผืนธงกับเสาธงเป็นองศาแล้วหารด้วย ๔ ผลลัพธ์ที่ได้เป็นความเร็วโดยประมาณเป็น ไมล์ต่อชั่วโมง

วิธีที่ ๒ การยิงปืนในสนามหรือในเวลาทำการรบอาจใช้หญ้าแห้ง เศษผง ใบไม้แห้ง ๆ หรือเศษกระดาษชิ้นเล็ก ๆ ก็ได้ หยิบมาถือไว้สูงเสมอแนวไหล่ แต่อย่าให้ตัวบังทิศทางลมแล้วปล่อยให้ตกกับพื้นดินเหยียดแขนแล้วชี้ไปทางจุดที่ของนั้นตกอยู่ตอนนี้แขนจะทำมุมกับลำตัวกะมุมนี้เป็นองศาแล้วหารด้วย ๔ ผลที่ได้เป็นความเร็วลมคิดเป็น ไมล์ต่อชั่วโมง

ตัวอย่าง การหาความเร็วลม

๑. ลมพัดผืนธงกางออกจากเสาธงเป็นมุม ๔๐ องศา เท่ากับ ๔๐ หาร ๔ เท่ากับ ๑๐ ไมล์/ชม.

๒. ลมพัดผืนธงกางออกจากเสาธงเป็นมุม ๘๐ องศา เท่ากับ ๘๐ หาร ๔ เท่ากับ ๒๐ ไมล์/ชม.

๓. ลมพัดทำให้หญ้าปลิวไปทำมุมกับลำตัว ๖๐ องศา เท่ากับ ๖๐ หาร ๔ เท่ากับ ๑๕ ไมล์/ชม.


การแก้ลม

ก. เมื่อมีลมพัดผ่านทางยิง แรงของลมจะปะทะเข้ากับลูกกระสุนเริ่มตั้งแต่ลูกกระสุนพ้นจากปากลำกล้องไปแล้ว ลมจะพัดให้ลูกกระสุนเฉออกนอกเส้นทางเดิมตามความแรงของลมและทิศทางที่ลมพัด ถ้าผู้ยิงไม่ทำการแก้ ลม ลูกกระสุนก็จะไม่ถูกที่หมายตามต้องการลมที่พัดจากทางซ้ายจะทำให้กระสุนไปทางขวาลมที่พัดจากทางขวา จะทำให้กระสุนไปทางซ้าย

ข. การแก้ลมนี้มีลมที่จะต้องแก้อยู่ ๓ ชนิด คือ

๑. ลมที่จะต้องแก้เต็ม คือ ลมที่พัดจาก ๒,๓,๔ และ ๘,๙,๑๐ นาฬิกา ซึ่งมีผลทำให้การวิ่งของกระสุนเปลี่ยนแปลงเต็มที่ ลมเหล่านี้เป็นลมที่ต้องแก้เต็ม

๒. ลมที่แก้ครึ่ง คือ ลมที่พัดจาก ๑,๕,๗ และ ๑๑ นาฬิกา เป็นลมที่พัดเฉียง ซึ่งมีผลทำให้การวิ่งของลูกกระสุนเปลี่ยนแปลงประมาณครึ่งหนึ่ง ลมเหล่านี้เป็นลมที่แก้ครึ่ง

๓. ลมที่ไม่ต้องแก้ ลมที่พัดจาก ๖ และ ๑๒ นาฬิกา ซึ่งไม่มีผลที่จะทำให้การวิ่งของลูกกระสุนเปลี่ยนแปลงในระยะที่ผู้ยิงจะทำการยิง

กฎการแก้ลม

เมื่อผู้ยิงได้ทราบความเร็วของลมและทิศทางของลมแล้วก็ใช้กฎการแก้ลมคำนวณหาจำนวนคลิ๊กที่จะปรับศูนย์หลัง การปรับศูนย์หลังจะต้องปรับไปในทิศทางที่ลมพัดมาเสมอ กฎการแก้ลมมีดังนี้

ระยะยิง X ความเร็วของลม เท่ากับ จำนวนคลิ๊กสำหรับการแก้เต็ม

๑๐

ระยะยิง คือ จำนวนเต็ม เป็น ๑๐๐ เช่น ๒๐๐,๓๐๐ ให้ใช้ ๒,๓

ความเร็วลม คือ ความเร็วลมเป็น ไมล์/ชั่วโมง

๑๐ คือ ค่าคงที่

ถ้าทิศทางลมพัดที่มีผลต่อการแก้ครึ่งให้หารจำนวนคลิ๊กที่หามาได้ด้วย ๒ หลังจากนั้นจึงนำผลลัพธ์ไปปรับศูนย์หลัง

ตัวอย่างที่ ๑ ระยะยิง ๒๐๐ หลา ความเร็วของลม ๓๐ ไมล์/ชม. ลมพัดมาจาก ๒ นาฬิกา

กฎการแก้ลม = ระยะยิง X ความเร็วของลม เท่ากับ จำนวนคลิ๊ก

๑๐

๒ X ๓๐ เท่ากับ ๖ คลิ๊ก

๑๐

ต้องปรับศูนย์หลังไปทางขวา ๖ คลิ๊ก (แก้เต็ม)

ตัวอย่างที่ ๒ ระยะยิง ๕๐๐ หลา ความเร็วของลม ๑๒ ไมล์/ชม. ลมพัดมาจาก ๑๑ นาฬิกา

กฎการแก้ลม = ระยะยิง X ความเร็วของลม เท่ากับ จำนวนคลิ๊ก

๑๐

๕ X ๑๒ เท่ากับ ๖ คลิ๊ก

๑๐

ลมพัดมาจาก ๑๑ นาฬิกา เป็นลมที่ต้องแก้ครึ่ง เท่ากับ ๖ หาร ๒ เท่ากับ ๓ คลิ๊ก ต้องปรับศูนย์หลังไปทางซ้าย ๓ คลิ๊ก

หมายเหตุ เนื่องจากไม่สามารถปรับศูนย์หลัง ๑/๒ คลิ๊กได้ ดังนั้น การปรับศูนย์ที่มีเศษ ๑/๒ ให้ปรับเพิ่มขึ้นไปอีก ๑ คลิ๊ก เช่น ๔ ๑/๒ คลิ๊ก นับเป็น ๕ คลิ๊ก

ในการยิงแต่ละวันให้บันทึก ความเร็วลม และทิศทางลมและจำนวนคลิ๊กที่แก้ลมไว้ในการยิงของวันต่อไป ถ้าทิศทางลมและความเร็วลมเปลี่ยนไปจะต้องนำค่าความเปลี่ยนแปลงนี้ไปแก้ที่ศูนย์หลัง

แสงสว่าง

ก. แสงสว่าง ชัดเจน มีหมอก หรือมืดมัว ไม่ทำให้การวิ่งของกระสุนเปลี่ยนแปลงแต่มีผลกระทบถึงการเล็งของผู้ยิง ไม่ว่าทัศวิสัยจะเป็นอย่างไรผู้ยิงจะต้องปรับศูนย์หน้าไม่เกิน ๑ คลิ๊ก ในแสงสว่างขนาดเดียวกันไม่จำเป็นต้องปรับทุกคน

ข. ในเวลามืดมัวผู้ยิงส่วนมากมักเล็งต่ำลงเล็กน้อยโดยไม่รู้สึกตัวมากกว่าเล็งในเวลาที่มีแสงสว่างชัดเจนดังนั้นเมื่ออากาศมืดมัว จึงจำเป็นต้องตั้งมุมสูงมากขึ้นเล็กน้อยเหตุที่ในเวลาเล็งทำให้เล็งต่ำก็เพราะว่าในเวลามืดมัวและไม่เห็นขอบวงกลมดำได้ถนัดและชัดเจนนับเป็นกฎอันหนึ่งได้ว่าเวลามืดมัว หรือหมอกลงและในวันที่มี แสงแดดร้อนจัดมาก จนกระทั้ง ความร้อนระเหยเป็นระลอกคลื่นขึ้นไปจากพื้นดินจะทำให้เส้นเล็งไม่ตรงที่หมายแน่นอน สภาพอากาศที่ดีที่สุดสำหรับการยิงได้แม่นยำนั้น คือเมื่อท้องฟ้ามีเมฆบังแดดบ้างตามปกติโดยทั่วไป และมีแสงสว่างพอที่จะมองเห็นที่หมายได้ชัดเจน

ค. แสงสว่างที่ส่องมาทางข้าง ก็ทำให้การเล็งของทหารคลาดเคลื่อนไปเหมือนกันเพราะว่ายอดศูนย์หน้าบางส่วนถูกแสงแดดจะมองเห็นชัดเจนกว่าและมักจะฝืนเอาทางข้างนั้นไปอยู่ตรงกึ่งกลางส่วนล่างของวงกลมดำ สำหรับแสงสว่างชนิดนี้ การแก้ศูนย์ต้องไม่เกินกว่า ๑ คลิ๊ก วิธีการปรับศูนย์ให้หมุนศูนย์หลังมาทางด้าน พระอาทิตย์ส่อง