การฝึกหีบเล็ง

การฝึกหีบเล็ง

การฝึกหีบเล็ง จะต้องกระทำภายหลังการฝึกคานเล็งเสมอ การฝึกหีบเล็งเป็นการทดสอบของครูฝึกว่า ผู้รับการฝึกมีความละเอียดในการเล็งศูนย์พอดี ศูนย์นั่งแท่น มากน้อยเพียงใด ฉะนั้นผู้รับการฝึกต้องมีความละเอียด มีความประณีตจึงจะได้ภาพเล็งที่ถูกต้อง การฝึกหีบเล็งต้องประกอบกับเครื่องช่วยฝึกที่เป็นของจริง คือศูนย์ปืน และเป้าจำลองที่คล้ายกับของจริง

ก. การดำเนินการก่อนการฝึก ก่อนที่จะถึงการฝึกของผู้รับการฝึก ครูฝึกต้องแสดงตัวอย่างการเล็งศูนย์พอดีและศูนย์นั่งแท่น ให้ผู้รับการฝึกดูก่อน ต่อไปให้ผู้รับการฝึกมาดูภาพการเล็งที่ถูกต้องและจดจำไว้

ข. การจัดวางอุปกรณ์การฝึก อุปกรณ์การฝึก ต้องจัดวางให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ดังต่อไปนี้

- วางหีบปิดเป้าที่ติดกระดาษสำหรับจุดตำบลเล็งไว้เรียบร้อยแล้วเป็นแถวหน้ากระดาน ระยะห่างระหว่างแต่ละหีบ ประมาณ ๒ - ๓ ก้าว โดยให้ด้านยาวตั้งขึ้นหันด้านที่ติดกระดาษไปทางตำบลที่จะวางหีบพาดปืนนำช้อนเล็ง ดินสอดำวางไว้บนหีบปิดเป้า

- วางหีบพาดปืน เป็นแถวหน้ากระดานตรงกับหีบปิดเป้า ห่างประมาณ ๕๐ ฟุต ด้านที่มีรอยบากสำหรับพาดปืน ตั้งขึ้น ด้านบากที่ตื้นอยู่ด้านหน้า

- วาง ปลย.เอ็ม.๑๖ ในช่องพาดปืนบนหีบพาดปืน หันปากลำกล้องไปทางหีบปิดเป้าตั้งศูนย์ ปลย.เอ็ม.๑๖ให้มุมสูง ๑๒ คลิ๊ก มุมทิศ ๑๗ คลิ๊ก

ค. การดำเนินการฝึก

ครูฝึกเรียกผู้รับการฝึกทั้งหมดแถวหลังพานท้ายปืน ห่างประมาณ ๑๐ ก้าว โดยจัดให้แถวผู้รับการฝึกสัมพันธ์กับจำนวนของเครื่องช่วยฝึกที่มีอยู่ จัดผู้รับการฝึกเป็นชุด ๆ ละ ๒ แถว โดยแถวแรกเป็นชุดที่ ๑สองแถวต่อไปเป็นชุดที่ ๒,๓ และ ๔ ต่อ ๆ ไปตามลำดับ แถวหน้าของแต่ละชุดกำหนดให้หมายเลข ๑ ทำหน้าที่ เป็นพลเล็ง แถวหลังของแต่ละชุดกำหนดให้เป็นหมายเลข ๒ ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยพลเล็ง (คนจดเป้า)

ครูฝึกเรียกชุดฝึกเข้าประจำที่ คำบอกคำสั่ง "ชุดที่...ประจำที่" ผู้รับการฝึกชุดที่ถูกเรียกจะทำขวาหัน วิ่งไปประจำที่หมายเลข ๑ เลี้ยวซ้ายไปประจำหลังพานท้ายปืนห่างจากหลังพานท้ายปืนประมาณ ๒ ก้าวแต่ละคนหยุดให้ตรงกับเครื่องช่วยฝึก หมายเลข ๒ วิ่งตรงไป และเลี้ยวซ้ายหลังหีบปิดเป้าไปประจำหีบปิดเป้าห่างประมาณ ๑ ก้าว แต่ละคนหยุดให้ตรงกับเครื่องช่วยฝึกคนสุดท้ายของหมายเลข ๑ เป็นผู้สั่งขวาซ้าย - หันทั้ง ๒ แถว หันหน้าเข้าหาเครื่องช่วยฝึก

ครูฝึกสั่ง "นอน - เตรียมยิง" หมายเลข ๑ ทำท่านอนยิง โดยไม่กระทบกับตัวปืน มือซ้ายเท้าคางแขนขวาท่อนล่างตั้งฉากกับพื้น หันฝ่ามือเข้าหาปืนแก้มเกือบจะสัมผัสพานท้ายปืนให้นัยตาอยู่ห่างจากศูนย์หลังเท่าหรือใกล้เคียงในขณะประทับปืนยิงจริง ๆ หมายเลข ๒ ก้าวเท้าซ้ายไปหยิบช้อนเล็งด้วยมือซ้ายมือขวาหยิบดินสอและนั่งคล่อมบนหีบปิดเป้านำช้อนเล็งวางทาบประมาณกึ่งกลาง กระดาษที่หีบปิดเป้าหมายเลข ๑ ทำการเล็งศูนย์ พอดี ไปยังกระดาษปิดเป้าและมือขวาให้สัญญาณหมายเลข ๒ เลื่อนเป้าที่ช้อนเล็ง (สัญญาณเลื่อนเป้าที่ช้อนเล็ง ให้ใช้ฝ่ามือเป็นหลัก) จนกระทั้งได้ศูนย์นั่งแท่นที่ถูกต้องเมื่อเล็งศูนย์นั่งแท่นได้แล้ว ให้สัญญาณ"หยุด" โดยกำ มือขวา หมายเลข ๒ หยุดช้อนเล็งอยู่กับที่ห้ามขยับ ต่อไปหมายเลข ๑ ลุกขึ้นยืนยกมือขวารายงาน "พร้อม" และก้าวไปทางซ้าย ๒ ก้าว

ครูฝึกเข้ามาตรวจการเล็งศูนย์นั่งแท่นของผู้รับการฝึก และแนะนำข้อบกพร่อง ถ้ามีข้อบกพร่องจะให้ ผู้รับการฝึกทำซ้ำจนมั่นใจว่าผู้รับการฝึกเข้าใจ

เมื่อครูฝึกมั่นใจว่า ผู้รับการฝึกเข้าใจในการเล็งศูนย์พอดี ศูนย์นั่งแท่นดีแล้ว ให้ผู้รับการฝึกทำการเล็ง ที่หมาย ๓ จุด โดยใช้วิธีการเช่นเดียวกับครั้งแรกการเล็งจุดที่ ๑ เมื่อหมายเลข ๑ ให้สัญญาณ "หยุด"และ หมายเลข ๒ หยุดช้อนเล็งอยู่กับที่สอดปลายดินสอเข้าไปในช่องที่เป้าบนช้อนเล็งและจุดไว้บนกระดาษเอาช้อนเล็งออก แล้วเขียนหมายเลข ๑ กำกับไว้ การเล็งจุดที่ ๒,๓ ปฏิบัติเช่นเดียวกันกับ การเล็งจุดที่๑เมื่อได้ ๓ จุดแล้ว หมายเลข ๑ ลุกขึ้นยืนยกมือขวารายงาน "พร้อม" ครูฝึกไปตรวจที่เป้าพร้อมกับหมายเลข ๑และแนะนำข้อบกพร่อง ถ้ามีข้อบกพร่องให้ผู้รับการฝึกทำการฝึกซ้ำจนครูฝึกมั่นใจว่าผู้รับการฝึกมีความเข้าใจมี ความประณีตในการเล็งศูนย์พอดีและศูนย์นั่งแท่น ผู้รับการฝึกผู้ใดเสร็จแล้วให้ลุกขึ้นยืนอยู่ในท่าตรงเหมือนกับครั้งแรกที่วิ่งเข้ามาประจำที่ ครูฝึกเห็นว่าผู้รับการฝึกในชุดเดียวกันฝึกจบหมดแล้ว ครูฝึกจะสั่งให้ผู้รับการฝึกเปลี่ยนตำแหน่ง คำบอกคำสั่ง "เปลี่ยนตำแหน่ง" หมายเลข ๑ วิ่งไปที่หีบปิดเป้า โดยวิ่งออกไปทางด้านซ้ายของหีบพาดปืนเข้าไปประจำที่แทนหมายเลข ๒ หมายเลข ๒ วิ่งไปที่หลังพานท้ายปืน โดยวิ่งออกไปทางซ้ายของหีบปิดเป้าเข้าไปประจำที่แทนหมายเลข ๑ คนสุดท้ายของหมายเลข ๑ สั่ง "กลับหลัง - หัน" ทั้ง ๒ หมายเลขกลับหลังหันเข้าหาเครื่องช่วยฝึก การดำเนินการฝึกต่อไปเช่นเดียวกันกับการฝึกข้างต้นที่กล่าวมา

เมื่อทั้ง ๒ หมายเลข ฝึกเสร็จ และอยู่ในท่าตรงหมดแล้วต่อไปจะเป็นการเปลี่ยนชุดที่ยังไม่ได้รับการฝึก เข้าทำการฝึกแทน คำบอกคำสั่ง "ชุดที่...ประจำที่" ชุดที่ฝึกเสร็จสิ้นแล้วหมายเลข ๑ ทำซ้ายหันหมายเลข ๒ ทำขวาหัน วิ่งกลับเข้าแถว ชุดที่จะฝึกต่อไปเข้ามาประจำที่แทน การดำเนินการฝึกต่อไปเช่นเดียวกันกับชุดแรก


ยอดศูนย์หน้าไม่สัมผัสกับเส้นแบ่ง วงกลมดำ

ครึ่งวงกลมศูนย์หลังทางระดับ ไม่สัมผัสกับศูนย์หน้า

ชนิดความคลาดเคลื่อนทั้ง ๒ นี้ จะทำให้เกิดกลุ่มการเล็ง ๓ จุด ทำนองรูป ๑ ข้างบน (ก.หรือ ข.)


ยอดศูนย์หน้าไม่กึ่งกลางเส้นแบ่ง วงกลมดำสัมผัสกับยอดศูนย์หน้าไม่ตรง

ครึ่งวงกลมศูนย์หลังทางดิ่ง จุดกึ่งกลาง

ชนิดความคลาดเคลื่อนทั้ง ๒ นี้ จะทำให้กลุ่มการเล็ง ๓ จุดเป็นไปทำนองรูป ๒ ข้างบน (ค.หรือ ง.)

รูปที่ ๑ ความคลาดเคลื่อนซึ่งทำให้เกิดกลุ่มการเล็ง ๓ จุด ที่ใช้ไม่ได้

ให้ทหารสังเกตดูว่ากลุ่มการเล็ง ๓ จุดที่ใช้ไม่ได้นั้นมีลักษณะกว้างมากหรือไม่ก็สูงมาก (ดังในรูป)

ก. กลุ่มการเล็ง ๓ จุด ที่สูงและแคบเกินจากการเล็งศูนย์พอดีไม่ถูกต้องในทางดิ่ง หรือวงกลมดำอยู่สูงหรือต่ำกว่ายอดศูนย์หน้า (ดูในรูปหมายเลข ๑)

ข. กลุ่มการเล็ง ๓ จุด ที่ตั้งสูงและกว้างออกทางข้างเกิดจากการเล็งศูนย์พอดีไม่ถูกต้องในทางระดับหรือวงกลมดำไม่อยู่กึ่งกลางยอดศูนย์หน้า (ดูในรูปหมายเลข ๒)

ค. กลุ่มการเล็ง ๓ จุด ที่ตั้งสูงและกว้างเกิดจากความคลาดเคลื่อนรวมกันทั้งหมดที่ได้กล่าวแล้วข้างบน

ง. ตามรูป (หมายเลข ๒) กลุ่มการเล็ง ๓ จุดยาวไปทางระดับเช่นนี้เกิดจากความคลาดเคลื่อนในประการใดประการหนึ่งของ ๒ ประการดังนี้ คือ ยอดศูนย์หน้าเยื้องทางขวาหรือทางซ้ายไม่อยู่กึ่งกลางเส้นแบ่งครึ่งทางดิ่งหรือไม่ก็วงกลมดำไม่อยู่บนกึ่งกลางยอดศูนย์หน้าแต่เยื้องไปอยู่ทางริมซ้าย หรือริมขวา

ข้อสำคัญในการเล็ง จงจำไว้ว่า

(ก) ต้องให้ยอดศูนย์หน้าตั้งอยู่กึ่งกลางวงกลมศูนย์หลังพอดี ข้อนี้เป็นหลักสำคัญที่สุดของการเล็ง

(ข) ขณะเล็งใช้เทคนิคการหายใจอย่างถูกต้อง ตามที่ได้เรียนมาแล้ว

(ค) วงกลมดำต้องอยู่บนกึ่งกลางยอดศูนย์หน้าและให้มองเห็นว่า สัมผัสกับยอดศูนย์หน้าเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

(ง) การเล็งครั้งสุดท้ายให้มองที่ยอดศูนย์หน้าทั้งนี้เพื่อที่จะให้เห็นยอดศูนย์หน้าได้ชัดเจนในขณะเดียวกับที่วงกลมดำจะได้สัมผัสอยู่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น

การรมดำศูนย์

ก. ทหารจะต้องทำความสะอาดและรมดำที่ศูนย์หน้าและศูนย์หลังของปืนก่อนที่จะใช้ฝึกเล็งเพื่อให้มองเห็นศูนย์และวงกลมดำได้ชัดเจนทำความสะอาดโดยเช็ดรอยน้ำมันที่จับและสิ่งสกปรกออกให้หมดศูนย์ที่สกปรกและไม่รมดำจะทำให้ทหารไม่สามารถใช้เล็งศูนย์พอดี และศูนย์นั่งแท่นให้ถูกต้องได้ศูนย์ที่สกปรกจะทำให้เล็งต่ำกว่าที่หมายเพราะเหตุว่าวงกลมดำจะตั้งอยู่บนสิ่งสกปรกซึ่งจับอยู่บนยอดศูนย์หน้าแทนที่จะตั้งอยู่บนยอดศูนย์หน้าจริง ๆ ความสะอาดและรมดำศูนย์ทั้ง ๒ จะทำให้การเล็งมองเห็นได้ชัดเจนศูนย์ที่ทำความสะอาดแล้วไม่ได้รมดำเวลาเล็งทำให้เกิดแสงสะท้อนเข้าตามองเห็นได้ยากและในที่นี้จะได้อธิบายถึงวิธีรมดำศูนย์หน้าและศูนย์หลังและตรงลำกล้องใกล้ ๆ กับศูนย์หน้า

ข. วิธีรมดำศูนย์ใช้ตะเกียงที่มีควันดำ ถ้าตะเกียงไม่มีอาจใช้ เทียนไข เศษไม้สนเล็ก ๆ เขม่าดินหม้อหรือไม้ขีดก็ใช้ได้ การรมดำใช้เวลาประมาณ ๒ - ๓ วินาที พอให้ควันดำจับเนื้อเหล็ก

ค. การเตรียมรมดำที่ศูนย์ให้ได้ผลดีนั้น ให้ผสมเขม่าไฟกับชะแล๊คใส ส่วนผสมใช้จำนวนของเขม่าน้อยกว่าชะแล๊ค การผสมให้ได้ดีที่สุดนั้นก็ด้วยการทดลองทำดู ชะแล๊คดำนี้ใช้ทาศูนย์ทั้งสองด้วยแปรงเล็ก ๆ